วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข้าวเจ้าหลาม


ข้าวเจ้าหลาม

คือข้าวที่ทำให้สุกโดยเอาข้าวสารห่อใบไม้ ใส่ในกระบอกแล้วเผาไฟไห้สุก เป็นวิธีที่นิยมทำกันมากในเขตจังหวัดระนองในสมัยก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อออกป่า ปัจจุบันไม่นิยมทำเพราะหุงด้วยวิธีอื่นสะดวกกว่า
วิธีหลามข้าว
นำข้าวสารเจ้ามาล้างให้สะอาด แล้วห่อด้วยใบไม้ (นิยมห่อด้วยใบไม้พื้นเมึอง 2 ชนิดคือ ใบลูกเลือดและใบกระเส็ด เพราะจะทำให้ข้าวที่หลามไต้มีรสหอมน่ารับประทาน) ห่อแบบข้าวต้มมัด แต่ไม่ด้องผูกเชือก นำข้าวสารที่ห่อเรียบร้อยแล้ว 2 ห่อมาประกบกัน ใส่ลงในกระบอกไม้ไผ่ แต่ละกระบอกใส่ประมาณ 2 - 3 คู่ ใส่นํ้าให้ท่วมห่อคู่บนสุด แล้วนำไปหลาม คอยหมุนกระบอกไปเรื่อยๆ เพื่อให้ข้าวสุกทั่ว จนนํ้างวดเหลือประมาณครึ่งหนึ่ง เจาะก้นกระบอกไม้ไผ่ให้นํ้าหยดออกจนหมด แล้วผ่ากระบอกนำมารับประทานกับกับข้าวที่เตรียมไว้
พระบาทสมเด็จฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จประพาสแขวงอำเภอกระบุรี เมื่อ ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) ทรงเล่าไว้ในจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. 128 ว่า
"การเลี้ยงที่บกอินทนิล ท่านพระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนองเป็นผู้จัด มีของแปลกอยู่ คือ ข้าวหลามอย่างหนึ่ง ข้าวหลามนี้ไม่ใช่อย่างที่ชาวบางกอกโดยมากเข้าใจกัน คือไม่ใช่ข้าวเหนียวหลามอย่างที่กินกับตังเมหลอด นี่เป็นข้าวเจ้าหลามแล้วห่อกับใบไม้ คือใช้หลามแทนหุงข้าวนั้น รสชาติก็แปลกดี"
การหลามข้าวเจ้าแบบที่กล่าวมาแล้วนี้ ถ้าผู้หลามไม่ชำนาญพอ ใส่ข้าวสารแต่ละห่อมากเกินไป จะทำให้ข้าวเกาะเป็นก้อนแข็ง จึงต้องใส่ข้าวสารให้พอดี และเมื่อหลามเสร็จจะต้องรีบรับประทานแต่ยังร้อนๆ มิเช่นนั้นจะแข็งและค่อนข้างจืดชืด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น