วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ชีววิทยา-การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ชีววิทยา-การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ลักษณะทางพันธุกรรม คือ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่สามารถถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน
หน่วยพันธุกรรม คือ ยีน (Gene) หมายถึง หน่วยที่ควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต เช่น สีผิว ลักษณะผม ความสูง ฯลฯ ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้สามารถถ่ายทอดจากพ่อและแม่ไปยังลูกหลานได้ หน่วยพันธุกรรมหรือยีน จะอยู่คู่กันเป็นคู่ ๆ บนโครโมโซม ซึ่งอยู่ภายในนิวเคลียสของทุก ๆ เซลล์ หน่วยพันธุกรรมแต่ละคู่จะได้มาจากพ่อและแม่คนละครึ่ง
ลักษณะเด่น เป็นลักษณะที่มีโอกาสปรากฎออกมาได้มาก เมื่ออยู่กับลักษณะด้อยก็จะข่มลักษณะด้อย เช่น ลักษณะสูงข่มลักษณะเตี้ย
ลักษณะด้อย เป็นลักษณะที่มีโอกาสปรากฎออกมาได้น้อยครั้ง จะปรากฎออกมาได้เมื่อจับคู่กับลักษณะด้อยด้วยกัน เช่น ลักษณะเตี้ย
พันธุ์แท้ จะมีลักษณะเด่นหรือด้อยเพียงอย่างเดียว มีคู่ยีนที่เหมือนกัน เช่น T แทนลักษณะเด่น, t แทนลักษณะด้อย พันธุ์แท้จะมีคู่ยีนเป็น TT หรือ tt
พันทาง จะมีลักษณะเด่นหรือด้อยอยู่ด้วยกัน และลักษณะที่ปรากฎออกมาจะเป็นลักษณะเด่นมีคู่ยีนเป็น Tt (เมื่อ T = ลักษณะเด่น, t = ลักษณะด้อย)
ในคนปกตินี้โครโมโซมจำนวน 46 แท่ง หรือ 23 คู่ โดย 22 คู่ จะทำหน้าที่กำหนดลักษณะร่างกาย ส่วนอีก 1 คู่ จะกำหนดเพศ โดยเพศชายมีโครโมโซมเพศเป็น XY เพศหญิงมีโครโมโซม XX
การให้กำเนิดทารกเพศใดขึ้นอยู่กับโครโมโซมในอสุจิของเพศชาย ถ้าอสุจิมีโครโมโซม X ลูกที่เกิดจะมีโครโมโซมเพศเป็น XX ได้เพศหญิง ถ้าโครโมโซมของอสุจิที่ผสมกับไข่มีโครโมโซมเป็น Y ลูกที่เกิดจะมีโครโมโซมเป็น XY ได้ลูกเพศชาย
โครโมโซมของสัตว์แต่ละชนิดมีจำนวนไม่เท่ากัน และมีลักษณะเฉพาะ
ลักษณะต่าง ๆ ที่ปรากฎในลูกจะได้รับจากพ่อแลแม่คนละครึ่ง ลักษณะต่าง ๆ ที่ปรากฎให้เห็นโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ ดังนี้
1. พันธุกรรม โดยพันธุกรรมจะทำหน้าที่กำหนดลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ
2. สิ่งแวดล้อม ซึ่งได้แก่ อุณหภูมิ แสงสว่าง ความชื้น อาหาร ฯลฯ จะทำหน้าที่ร่วมกับพันธุกรรมในการกำหนดความแตกต่างในสิ่งมีชีวิต
เกรกอร์ โยฮันน์ เมนเดล (gregor Johann Mendel) บาทหลวงชาวออสเตรีย บิดาแห่งพันธุศาสตร์ได้ตั้งกฎการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมดังนี้
กฎข้อที่ 1 กฎการแยกตัว มีสาระสำคัญ คือ
ยีนที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมที่อยู่กันเป็นคู่ จะแยกจากกันเมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ทำให้เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มียีนควบคุมเพียงหนึ่งหน่วย เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ผสมกัน ยีนที่ควบคุมลักษณะพันธุกรรมก็จะกลับมาจับเป็นคู่อีก เช่น โครโมโซมเพศชายมียีนเป็น XY เมื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์จะแยกยีนเป็น X และ Y โครโมโซมเพศหญิงมียีนเป็น XX เมื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์จะแยกยีนเป็น X และ X เมื่อโครโมโซมในเซลล์สืบพันธุ์เพศชายที่มียีน X มาผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียที่มียีนเป็น X ลูกที่ได้จะมีโครโมโซมที่มียีนเป็น XX ที่แสดงเพศเป็นหญิง และได้ยีนที่อยู่เป็นคู่เหมือนพ่อ, แม่
กฎข้อที่ 2 กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ
ในเซลล์สืบพันธุ์จะมีการรวมกลุ่มของพันธุกรรมของลักษณะต่าง ๆ การรวมกลุ่มนี้เป็นไปอย่างอิสระ เช่น ลักษณะต้นสูงและมีเปลือกหุ้มเมล็ด สีเทา (มีทั้งลักษณะความสูง, เปลือกหุ้มเมล็ด, สีเมล็ด)

สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะที่จะทำให้แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ในประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด รุ่นลูก รุ่นหลาน อาจมีลักษณะคล้ายคลึงกับรุ่นพ่อแม่ รุ่นปู่ย่า หรือรุ่นตายาย แสดงว่ามีการถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้ สำหรับลักษณะที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งได้นั้นเรียกว่า ลักษณะทางพันธุกรรม ลักษณะทางพันธุกรรมนี้แยกออกได้ 2 แบบ คือ ลักษณะพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง เช่น ลักษณะความถนัด ลักษณะการม้วนลิ้น หรือหมู่เลือด เป็นต้น ส่วนอีกแบบคือ ลักษณะพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง เช่น น้ำหนัก ความสูง สีผิว IQ เป็นต้น
การถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกและรุ่นหลานนั้น ส่วนใหญ่เป็นไปตามหลักของเมนเดลซึ่งกล่าวถึงยีนที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมจะต้องอยู่กันเป็นคู่เรียกว่า แอลลีลส์ และยีนคู่นี้จะแยกออกจากกันตามกระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ยีนนี้จะแยกออกไปอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์ต่างเซลล์กัน ยีนคู่นี้จะมีโอกาสมารวมกันใหม่เมื่อเซลล์สืบพันธู์ของพ่อและแม่มาผสมกัน
แต่การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะอาจไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล รวมทั้งบางลักษณะก็ถูกควบคุมด้วยมัลติเปิลแอลลีลส์ และโพลียีน
ลักษณะที่ยีนบังคับให้แสดงออกเรียกว่า จีโนไทป์ ส่วนลักษณะที่แสดงออกเรียกว่า ฟีโนไทป์ ฟีโนไทป์บางลักษณะถูกควบคุมด้วยอิทธิพลสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง
******************************************
1. สามีภรรยาคู่หนึ่งมีบุตร 5 คนแล้วเป็นชาย 2 คน เป็นหญิง 3 คน ความเป็นไปได้ที่บุตรคนที่ 6 จะเป็นชายมีเท่าใด
          1. 1/4
          2. 5/16
          3. 1/2
          4. 3/5
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          การเกิดบุตรหญิงหรือชายมีโอกาสเท่า ๆ กัน คือ 50 : 50 ไม่ว่าจะเป็นบุตรคนที่เท่าใด
******************************************
2. ข้อใดเป็นลักษณะที่มีความแปรผันต่อเนื่องและถูกควบคุมโดยโพลียีน
          1. สีผิวของคน
          2. รูปร่างของเมล็ดถั่วลันเตา
          3. หมู่เลือด A, B, AB, O
          4. สีกลีบดอกบานเย็น
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          สีผิวคนเป็นลักษณะที่มีความแปรผันต่อเนื่องและถูกควบคุมโดย Polygene
******************************************
3. ถ้าเซลล์แบคทีเรียหนึ่งเซลล์ใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงในการแบ่งเซลล์ จะต้องใช้เวลากี่ชั่วโมงจึงจะผลิตแบคทีเรียได้ 64 เซลล์
          1. 4
          2. 5
          3. 6
          4. 16
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          จะหาจำนวนประชากรได้จากสูตร
          เมื่อ t = ระยะเวลาซึ่งต้องการหา
                N = จำนวนประชากรครั้งหลัง = 64 เซลล์
               No = จำนวนประชากรครั้งแรก = 1 เซลล์
                  k = อัตราการเจริญ = 1
******************************************
4. ลักษณะตาบอดสีถูกกำหนดโดยยีนด้อย (c) ซึ่งอยู่บนโครโมโซม X จากแผนภาพข้างล่าง อยากทราบว่าจีโนไทป์ของนางแดงเป็นอย่างไร
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          นางแดงจะมี Genotype
          ซึ่งเป็น Carrier จึงทำให้ลูกสาวตาปกติ (ชนิด Carrier) 
          ลูกสาวของนางแดงแต่งงานกับชายปกติจึงมีลูกชายตาบอดสีได้
******************************************
5. ลํกษณะตาบอดสีถูกควบคุมโดยยีนด้อยบนโครโมโซม X ส่วนตาสีฟ้าถูกควบคุมโดยยีนด้อยบนโครโมโซมร่างกาย (Autosome) ซาราห์เป็นหญิงมีตาไม่บอดสี, สีฟ้า (พ่อของซาราห์ตาบอดสี) แต่งงานกับจอห์นซึ่งมีตาไม่บอดสี, สีน้ำตาล (แม่ของจอห์นตาสีฟ้า) ถามว่าในจำนวนบุตรชายทั้งหมดของซาราห์จะมีกี่เปอร์เซนต์ที่มีตาสีน้ำตาลและไม่บอดสี
          1. 0%
          2. 25%
          3. 50%
          4. 100%
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          Genotype ของซาร่าห์ (ตาไม่บอดสี ตาสีฟ้า แต่มีพ่อตาบอดสี) คือ
          Genotype ของจอห์น (ตาไม่บอดสี ตาสีน้ำตาล แต่แม่ตาสีฟ้า) คือ XY, Bb
          คิดเรื่องบุตรชายที่เกิดจากจอห์นและซาร่าห์ที่ตาไม่บอดสี
******************************************
6. นักพันธุศาสตร์ใช้วิธีการใดทำแผนที่ยีนส์บนโครโมโซม
          1. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
          2. ศึกษากิจกรรมของเอนไซม์
          3. หาความถี่ของการเกิด Recombination
          4. การย้อมสีโครโมโซม
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          นักพันธุศาสตร์ใช้คำนวณหาความถี่ของการเกิด Recombination แล้วนำไปทำแผนที่ยีนส์บนโครโมโซม
******************************************
7. ข้อใดคือความหมายของจีโนไทป์ (Genotype)
          1. ลักษณะที่ปรากฎให้เห็นในสิ่งมีชีวิต
          2. ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่พิจารณาในระดับยีน
          3. สภาพใดสภาพหนึ่งของยีนตำแหน่งหนึ่ง
          4. การเปลี่ยนแปลงของยีนจากสภาพหนึ่งไปเป็นอีกสภาพหนึ่ง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง สภาพใดสภาพหนึ่ง เช่น TT เป็นพันธุ์แท้, Tt พันทาง, tt พันธุ์แท้
******************************************
8. AAbbCc สร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้กี่แบบ
          1. 2 แบบ
          2. 4 แบบ
          3. 6 แบบ
          4. 8 แบบ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          Genotype AAbbCc สร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้ 2 แบบ คือ AbC และ Abc
******************************************
9. ฝาแฝด 2 คน ต่างเพศกัน ฝาแฝดคู่นี้เกิดจากการผสมแบบใด
          1. ไข่ 1 เซลล์ กับ ตัวอสุจิ 1 เซลล์
          2. ไข่ 1 เซลล์ กับ ตัวอสุจิ 2 เซลล์
          3. ไข่ 2 เซลล์ กับ ตัวอสุจิ 1 เซลล์
          4. ไข่ 2 เซลล์ กับ ตัวอสุจิ 2 เซลล์
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ฝาแฝด 2 คน ต่างเพศกัน ฝาแฝดคู่นี้จะต้องมาจากไข่ 2 ใบ และอสุจิ 2 ตัว
******************************************
10. คู่แต่งงานที่สามีเลือดหมู่ AB ภรรยาเลือดหมู่ O เขาทั้งสองจะมีโอกาสมีลูกเป็นเลือดหมู่ใดบ้าง
          1. A และ B
          2. AB และ O
          3. A, B และ O
          4. A, B, AB และ O
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          สามีเลือดหมู่ AB มี Gentype AB
          ภรรยาเลือดหมู่ O มี Gentype OO
          ลูก ๆ มีโอกาสที่จะมี Genotype AO, BO หรือเลือดหมู่ A และหมู่ B
******************************************
11. ลักษณะอย่างหนึ่งของคนถูกควบคุมด้วยยีนตำแหน่งเดียวและยีนนั้นมี 3 สภาพ เรียกยีนนั้นว่าอย่างไร
          1. ทริปพลอยด์ (Triploid)
          2. ไตรโซมี (Trisomy)
          3. มัลติเปิลแอลลีลส์
          4. โพลียีน
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ลักษณะอย่างหนึ่งของคน (เช่นหมู่เลือด) ถูกควบคุมด้วยยีนตำแหน่งเดียว และยีนนั้นมี 3 สภาพ คือ A, B, O เรียกยีนนั้นว่า มัลติเปิลแอลลีลส์
******************************************
12. สัตว์ที่มีจีโนไทป์ AaBbCcDd แต่ละยีนอยู่คนละโครโมโซม จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์กี่ชนิด
          1. 4
          2. 8
          3. 12
          4. 16
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          สัตว์ที่มี Genotype AaBbCcDd เมื่อ Gene อยู่คนละโครโมโซมจะมีเซลล์สืบพันธุ์ได้ 16 ชนิด คือ
          ABCD, ABCd, ABcD, ABcd, AbCD, AbCd, AbcD, Abcd, aBCD, aBCd, aBcD, aBcd, abCD, abCd, abcD, abcd หรือคิดจาก

******************************************
13. AaBb ผสมกับ aabb ลูกที่ได้จะมีจีโนไทป์เป็นแบบใดได้บ้าง
          1. AaBb, Aabb, aaBb, aabb
          2. AABB, AaBb, aaBb, aabb
          3. AaBb, Aabb, aaBB, AAbb
          4. aaBb, AaBB, Aabb, AABb
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          AaBb ผสมกับ aabb AaBb มีเซลล์สืบพันธุ์ที่มียีนต่าง ๆ 4 ชนิด คือ AB, Ab, aB, ab ส่วน aabb มีเซลล์สืบพันธุ์ชนิดเดียวคือ ab ดังนั้น ลูกที่เกิดมาจะมี Genotype 4 ชนิด คือ AaBb, Aabb, aaBb, aabb
******************************************
14. 
ถ้าพ่อมีหมู่เลือด A มีจีโนไทป์ 
      แม่มีหมู่เลือด B มีจีโนไทป์ 
      ลูกมีหมู่เลือดใดได้บ้าง
          1. เลือดหมู่ A, B และ O
          2. เลือดหมู่ AB, B และ O
          3. เลือดหมู่ AB, A และ O
          4. เลือดหมู่ AB, A, B และ O
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          Genotype ของพ่อ
          Genotype ของแม่
          Genotype ของลูก
          หรือเลือดหมู่ AB, หมู่ B, หมู่ A, หมู่ O
******************************************
15. การถ่ายทอดลักษณะทางกรรมพันธุ์สามารถพบได้ในข้อใด
          1. เซลล์สืบพันธุ์
          2. นิวเคลียส
          3. นิวเคลียส และไซโทพลาซึม
          4. ไซโทพลาซึม
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          การถ่ายทอดทางพันธุกรรมส่วนใหญ่ถ่ายทอดทางโครโมโซม ซึ่งอยู่ในนิวเคลียส แต่สิ่งมีชีวิตบางชนิดไม่มีนิวเคลียส คือ พวก Monera การถ่ายทอดพันธุกรรมถ่ายทอดผ่านสารพันธุกรรมที่อยู่ในไซโทพลาซึม
******************************************
16. ข้อใดที่ไม่ถูกต้องตามผลงานของเมนเดล
          1. ยีนควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม
          2. การแยกกันของยีนแต่ละคู่ไปสู่เซลล์สืบพันธุ์ เป็นอิสระจากคู่อื่น ๆ และย่อมเป็นไปตามกฎแห่งการแยก
          3. ยีนที่ควบคุมลักษณะหนึ่งย่อมมีอยู่เป็นคู่ ยีนคู่นั้นอาจเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้
          4. ถ้ายีนคู่นั้นแตกต่างกันยีนเดียวกันเท่านั้นที่แสดงออกมา ส่วนอีกยีนหนึ่งยังคงแฝงอยู่
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ในยุคเมนเดลยังไม่มีคำว่ายีน (Gene) แต่ใช้หน่วยแทน
******************************************
17. ลักษณะสีผิวของคนหลายเชื้อชาติที่มียีนหลายยีนควบคุม เราเรียกยีนที่ควบคุมนี้ว่า
          1. แอลลีล
          2. มัลติเปิลแอลลีลส์
          3. โพลียีน
          4. มัลติเปิลยีน
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          สีผิวของคนหลายเชื้อชาติถูกควบคุมด้วยยีนหลายตัว เช่น
          AABBCCDD  -  สีผิวดำมาก
          aabbccdd  -  สีผิวขาวมาก
          ถือว่าเป็น  Polygene
******************************************
18. ข้อใดจัดเป็น Heterozygous gene Dominant
          1. RRBB
          2. rrbb
          3. RRbb
          4. RrBb
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          Heterozygous gene Dominant คือ RrBb
******************************************
19. ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่องและแบบไม่ต่อเนื่องคือ
          1. ความถนัดซ้าย-ขวา และการห่อลิ้น
          2. สีผิว และน้ำหนักตัว
          3. สีผิว และการม้วนลิ้น
          4. ความถนัดซ้าย-ขวา และการม้วนลิ้น
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ลักษณะความแปรผันต่อเนื่องคือสีผิว ลักษณะความแปรผันไม่ต่อเนื่องคือการม้วนลิ้น
******************************************
20. ในกรณีใดที่จะมีลูกหญิงตาบอดสี
          1. พ่อตาบอดสี แม่ตาปกติ
          2. พ่อตาปกติ แม่ตาปกติ
          3. พ่อตาปกติ แม่เป็นพาหะ
          4. พ่อตาบอดสี แม่เป็นพาหะ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ในกรณีที่จะได้ลูกผู้หญิงตาบอดสี
          ต้องมาจากพ่อตาบอดสี
          กับแม่ที่เป็นพาหะ
          หรือแม่ตาบอดสี
******************************************
21. พ่อและแม่ต้องมีเลือดหมู่ใดจึงจะทำให้ลูกที่เกิดมามีโอกาสมีหมู่เลือดได้ทั้ง 4 หมู่
          1. A x O
          2. A x B
          3. A x AB
          4. AB x O
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ถ้าต้องการให้ลูกมีเลือดครบ 4 หมู่ พ่อและแม่จะต้องมีหมู่เลือด A กับ B ซึ่งมี Genotype AO กับ BO
******************************************
22. การเพิ่มหรือลดชุดโครโมโซม พบบ่อยในพืชแต่ไม่ค่อยพบในสัตว์ ข้อใดที่ไม่ใช่เหตุผลเมื่อสัตว์เกิดการเพิ่มหรือลดชุดของโครโมโซมแล้วไม่สามารถอยู่รอดได้
          1. มักทำให้ตาย
          2. มักทำให้เกิดโรคติดเชื้อได้ง่าย
          3. มักทำให้เป็นหมัน
          4. มักทำให้ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          การทำให้เกิดโรคติดเชื้อได้ง่ายไม่ใช่เพราะการเพิ่มหรือลดโครโมโซมในสัตว์แล้วไม่สามารถอยู่รอดได้
******************************************
23. การที่คนเผือกต้องหรี่ตาเมื่อได้รับแสงเป็นเพราะ
          1. มีม่านตาที่ไม่มีรงควัตถุ
          2. มีม่านตาที่มีรงควัตถุขนาดเล็ก
          3. มีม่านตาที่มีรงควัตถุจำนวนน้อย
          4. มีม่านตาที่มีรงควัตถุจำนวนมากไป
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          คนเผือกต้องหรี่ตาเมื่อได้รับแสง เพราะม่านตาไม่มีรงควัตถุจึงไม่สามารถกั้นแสงได้
******************************************
24. ถ้านางบุญมีเลือดหมู่ B แต่งงานกับนายดีที่มีเลือดหมู่ AB ลูกที่เกิดจากนางบุญและนายดีจะมีเลือดหมู่ใดบ้าง
          1. AB เท่านั้น
          2. A, B และ AB
          3. A, B และ O
          4. A, B, AB และ O
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          เลือดหมู่ B อาจมี Genotype BB หรือ BO
          เลือดหมู่ AB มี Genotype AB
          ถ้า BB x AB ----> ลูก ๆ จะมี Genotype AB, BB คือเลือดหมู่ AB และหมู่ B
          ถ้า BO x AB ----> ลูก ๆ จะมี Genotype AB, BB, AO, BO คือเลือดหมู่ AB, B, A
******************************************
25. ถ้าใช้ถั่วเหลืองต้นสูงพันธุ์แท้ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นผสมกับถั่วเหลืองต้นเตี้ยพันธุ์แท้ ซึ่งเป็นลักษณะด้อยได้ลูกเป็นต้นสูงทั้งหมด และเมื่อเอาลูกผสมกันเองจะได้ฟีโนไทป์ของถั่วเหลืองต้นสูง และถั่วเหลืองต้นเตี้ยเป็นสัดส่วนเท่าใด
          1. 3 : 1
          2. 2 : 1
          3. 1 : 1
          4. 1 : 3
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ถั่วสูงแท้ x ถั่วต้นเตี้ย รุ่นลูกจะเป็นสูงพันทาง
          ถ้าเอาถั่วรุ่นลูกผสมกันเอง Tt x Tt ----> TT : 2Tt : tt
                                                     สูง : เตี้ย  =  3 : 1
******************************************
26. ข้อใดต่อไปนี้ที่จัดว่ามีลักษณะความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่องและความแปรผันแบบต่อเนื่อง
          1. การห่อลิ้น และ ขนตาของคนเผือก
          2. การห่อลิ้น และ ความถนัดซ้าย-ขวา
          3. ความถนัดซ้าย-ขวา และ ความสูง
          4. ความสูง และ น้ำหนัก
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ความถนัดซ้าย-ขวา เป็นความแปรผันไม่ต่อเนื่อง ส่วนความสูงเป็นความแปรผันต่อเนื่อง
******************************************
27. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่ข้อสรุปที่ได้จากผลการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะของต้นถั่วลันเตาของเมนเดล
          1. ยีนควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม
          2. ยีนที่ควบคุมลักษณะหนึ่ง ๆ ย่อมอยู่เป็นคู่ ๆ และอาจเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้
          3. ถ้ายีนคู่นั้นแตกต่างกัน ย่อมแสดงออกเท่าเทียมกัน
          4. การแยกยีนแต่ละคู่ไปสู่เซลล์สืบพันธุ์เป็นอิสระจากคู่อื่น ๆ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อนี้ผิด เพราะในสมัยเมนเดลมีการศึกษาทีละลักษณะ คือ มีลักษณะเด่นกับด้อย ดังนั้น ถ้ายีนคู่นั้นแตกต่างกันยีนเด่นเท่านั้นที่จะแสดงลักษณะ
******************************************
28. ฝาแฝดแบบที่เรียกว่าแฝดสยาม (ไซมีส ทวิน) นั้น เกิดจากการปฏิสนธิระหว่าง
          1. ไข่ 1 ใบ สเปิร์ม 1 ตัว
          2. ไข่ 1 ใบ สเปิร์ม 2 ตัว
          3. ไข่ 2 ใบ สเปิร์ม 1 ตัว
          4. ไข่ 2 ใบ สเปิร์ม 2 ตัว
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ฝาแฝดสยามนั้นเป็น Identical twin ชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากไข่ใบเดียวและสเปิร์ม 1 ตัว
******************************************
29. ข้อใดที่ไม่อยู่ในระยะโพรเฟสของการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
          1. เยื่อหุ้มนิวเคลียสหายไป
          2. โครโมโซมขดพันตัวทำให้เห็นเป็นเส้นหนา
          3. ใยสปินเดิลสร้างจากสารในไซโทพลาซึม
          4. โครโมโซมแต่ละแท่งแยกออกจากกันตามยาว
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          โครโมโซมแยกออกจากกันตามยาวนั้น อยู่ในระยะแอนาเฟส
******************************************
30. พฤติกรรมที่สำคัญที่สุดของโครโมโซมในระยะโพรเฟส-1 ที่ทำให้ผลลัพธ์ของการแบ่งเซลล์โอโอไซต์ต่างจากการแบ่งเซลล์ของผิวหนัง คือ
          1. การจับคู่กันของโฮโมโลกัสโครโมโซม
          2. การผละจากกันของโฮโมโลกัสโครโมโซม
          3. การแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของโครมาทิด
          4. การหดตัวของโครโมโซม
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          พฤติกรรมที่สำคัญที่สุดของโครโมโซมในระยะโพรเฟส-I มีการจับคู่ของโฮโมโลกัสโครโมโซม ทำให้การแบ่งเซลล์สืบพันธุ์ (เช่น โอโอไซต์) ต่างจากการแบ่งเซลล์ร่างกาย (เช่น เซลล์ผิวหนัง)
******************************************
31. ไดอะแกรมของเซลล์ 3 แบบ ข้างล่างมาจากพืชชนิดเดียวกัน
ไดอะแกรมรูปใดที่จะพบในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีสในไมโครสปอร์
          1. (1)
          2. (2)
          3. (3)
          4. ไม่ใช่ทั้ง (1), (2) และ (3)
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          การแบ่งเซลล์ไมโทซิสของไมโครสปอร์เกิดหลังจาก Microspore mother cell แบ่งเซลล์แบบ Meiosis จึงเป็นการแบ่งเซลล์หลังจากลดโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง
******************************************
32. กฎแห่งการเลือกกลุ่มอย่างอิสระของเมนเดลจะมีความสัมพันธ์กับการแบ่งนิวเคลียสระยะใด
          1. เมทาเฟส -1 และ -2
          2. แอนาเฟส -1 และ -2
          3. แอนาเฟส -1
          4. แอนาเฟส -2
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          กฎแห่งการเลือกกลุ่มอย่างอิสระของเมนเดลจะมีความสัมพันธ์กับการแบ่งนิวเคลียสในระยะแอนาเฟส -I ซึ่งเกิดการลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง
******************************************
33. ลักษณะใดไม่ใช่ความผันแปรต่อเนื่อง (Continuous variation)
          1. สีผิว
          2. การม้วนลิ้น
          3. ความสูง
          4. น้ำหนัก
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ลักษณะการม้วนลิ้นไม่ใช่ความผันแปรต่อเนื่อง เพราะลักษณะห่อลิ้นมีอยู่เพียง 2 กรณี คือ ห่อลิ้นได้หรือห่อลิ้นไม่ได้เท่านั้นไม่มีกรณีอื่น
          ส่วนสีผิว ความสูง น้ำหนัก ล้วนเป็นความแปรผันต่อเนื่อง เพราะแตกต่างกันได้ทีละน้อย ๆ หากนำประชากรจำนวนมากมาเปรียบเทียบ
******************************************
34. ในการผสมพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่มียีนส์ AaBbCcDd นั้น เซลล์สืบพันธุ์จะมีได้กี่ชนิด
          1. 2 ชนิด
          2. 4 ชนิด
          3. 8 ชนิด
          4. 16 ชนิด
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          การคิดจำนวนชนิดของเซลล์สืบพันธุ์สามารถดูจาก Genotype
          โดยใช้สูตร
          จำนวนชนิดของเซลล์สืบพันธุ์ที่สามารถสร้างขึ้น =
          เมื่อ n = จำนวนคู่ของยีนที่เป็นเฮเทอโรไซกัส (Heterozygous) (สำหรับคู่ที่เป็นโฮโมไซกัส (Homozygous) ไม่คิด)
          ดังนั้น จากจีโนไทป์ AaBbCcDd จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้
******************************************
จากข้อมูลข้างล่าง จงตอบคำถามข้อ 35-37
นายสมชายมีต้นไม้ 3 ต้น เขาทำการผสมข้ามระหว่างต้นไม้ทั้ง 3 ต้น และได้ผลดังนี้
การผสมครั้งที่ 1
          ต้นที่ 1   x   ต้นที่ 2
ลูกที่ได้มีอัตราส่วนของฟีโนไทป์  =  9  :  3  :  3  :  1
การผสมครั้งที่ 2
          ต้นที่ 1   x   ต้นที่ 3
ลูกที่ได้มีอัตราส่วนของฟีโนไทป์  =  1  :  1  :  1  :  1
35. ถ้านายสมชายผสมต้นที่ 2 และต้นที่ 3 จะได้ผลลัพธ์เป็นลูกที่มีอัตราส่วนของ
          1. ฟีโนไทป์  =  9  :  3  :  3  :  1
          2. จีโนไทป์  =  9  :  3  :  3  :  1
          3. ฟีโนไทป์เท่ากับจีโนไทป์
          4. ฟีโนไทป์ไม่เท่ากับจีโนไทป์
ข้อมูลของข้อ 35-37
          พอสรุปได้ว่า Genotype ของต้นไม้ต้นที่ 1 และต้นที่ 2 มีลักษณะเหมือนกัน คือ AaBb เหมือนกัน ลูกจึงออกมาในอัตราส่วนของ Phenotype  9  :  3  :  3  :  1
          คือ  A_B_     9
                 A_bb     3
                 aaB_      3
                 aabb       1
          ส่วนการผสมครั้งที่ 2 เกิดจากต้นที่ 1 (AaBb) กับต้นที่ 3 ให้ลูกมีอัตราส่วนของ Phenotype 1 : 1 : 1 : 1 ต้นที่ 3 มี Genotype aabb จะได้
                 A_B_     1
                 aaB_      1
                 A_bb      1
                 aabb       1
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          การผสมต้นที่ 2 กับต้นที่ 3 ได้ลูกมีอัตราส่วน Genotype = Phenotype คือ 1 : 1 : 1 : 1
          คือ   A_B_    1     =     AaBb   =  1
                  aaB_     1     =     aaBb    =  1
                  A_bb     1     =     Aabb   =  1
                  aabb      1     =     aabb    =  1
******************************************
36. จากข้อมูลข้างต้น แสดงว่า
          1. ต้นที่ 1 มีจีโนไทป์เหมือนต้นที่ 2
          2. ต้นที่ 1 มีจีโนไทป์เหมือนต้นที่ 3
          3. ต้นที่ 1 มีจีโนไทป์เหมือนต้นที่ 2 แต่จีโนไทป์ต่างกัน
          4. ต้นไม้ทั้ง 3 ต้น มีจีโนไทป์ต่างกันทั้งหมด
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ต้นที่ 1 และต้นที่ 2 มี Genotype AaBb เหมือน ๆ กัน
******************************************
37. ยีนที่เกี่ยวข้องในลักษณะที่นายสมชายศึกษาจะเป็น
          1. Complete dominance ถึง 2 คู่
          2. Incomplete dominance ถึง 3 คู่
          3. Incomplete dominance 1 คู่ และ Complete dominance 1 คู่
          4. Complete dominance ในต้นที่ 1 และ 2 แต่ Incomplete dominance ในต้นที่ 3
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ยีนของต้นไม้ที่ศึกษามี Complete dominance คือ A และ B
******************************************
38. ในการผสมต้นโหระพาดอกสีม่วงกับดอกสีขาว ปรากฎว่าโหระพารุ่นลูกมีสีม่วงหมด แต่ถ้าเอาโหระพาสีม่วงรุ่นลูกนี้ผสมกันเองจะได้โหระพารุ่นหลานที่มีทั้งสีม่วงและสีขาวในอัตราส่วน 3 : 1 ดังนั้นโหระพาดอกสีม่วงในรุ่นพ่อจะเป็น
          1. เด่นพันธุ์แท้
          2. เด่นพันธุ์ทาง
          3. ด้อยพันธุ์แท้
          4. ด้อยพันธุ์ทาง
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ในกรณีที่โหระพาดอกสีม่วงผสมกับดอกสีขาวได้โหระพารุ่นลูกดอกสีม่วงหมด แสดงว่าลักษณะดอกสีม่วงเป็นลักษณะเด่น ยิ่งนำรุ่นลูกมาผสมกันเองได้รุ่นหลาน สีม่วง : สีขาว ในอัตราส่วน 3 : 1 ยิ่งแสดงว่า ดอกสีม่วงมีลักษณะเด่นอย่างชัดเจน
          สมมติให้ P = ดอกสีม่วง     p = ดอกสีขาว
          เพราะฉะนั้น Genotype ของโหระพารุ่นพ่อแม่ คือ PP x pp
                               Genotype ของโหระพารุ่นลูก คือ Pp
                               นำรุ่นลูกผสมกันเอง PP x pp
                                ได้รุ่นหลาน  PP : Pp : pp = 1 : 2 : 1
                                หรือดอกสีม่วง : ดอกสีขาว  =  3 : 1
******************************************
39. จากข้อ 38 ดอกโหระพาสีขาวในรุ่นพ่อจะเป็นลักษณะ
          1. เด่นพันธุ์แท้
          2. เด่นพันธุ์ทาง
          3. ด้อยพันธุ์แท้
          4. ด้อยพันธุ์ทาง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          จากโจทย์ข้อ 38 จะเห็นว่าโหระพาดอกสีขาวจะเป็นลักษณะด้อยแน่นอน เนื่องจากผสมกับพันธุ์ดอกสีม่วงแล้ว รุ่นลูกจะไม่มีดอกสีขาวออกมาเลย เพราะถูกข่มไว้หมด
******************************************
40. จากข้อ 38 ดอกโหระพาสีม่วงในรุ่นหลานจะมีลักษณะ
          1. เด่นพันธุ์แท้
          2. เด่นพันธุ์ทาง
          3. ด้อยพันธุ์แท้
          4. ทั้งข้อ 1 และข้อ 2 ผสมกัน
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ในรุ่นหลานโหระพาที่มีดอกสีม่วง จะมี Genotype 2 ชนิด คือ PP และ Pp
******************************************
41. ลักษณะที่แสดงให้เห็นในสิ่งมีชีวิตเรียกว่า
          1. ฟีโนไทป์
          2. จีโนไทป์
          3. ฮีโมไทป์
          4. ไอโซไทป์
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ฟีโนไทป์ (Phenotype) เป็นลักษณะที่ปรากฎให้เห็น เช่น สูงกับเตี้ย ดำกับขาว ถึงแม้บางลักษณะจะไม่ปรากฎให้เห็นแต่ทดสอบได้ก็เรียกว่า ฟีโนไทป์ เช่น หมู่เลือด (Blood group)
******************************************
42. ในการผสมวัวตัวผู้สีแดงกับวัวตัวเมียสีขาวในรุ่นลูกจะได้วัวทั้งตัวผู้ ตัวเมีย มีสีน้ำตาลเหมือนกันหมด เมื่อนำวัวรุ่นลูกนี้ไปผสมกันเองจะได้วัวรุ่นหลานในอัตราส่วนของขนสีแดง : ขนสีน้ำตาล : ขนสีขาว = 1 : 2 : 1 แสดงว่า
          1. ขนสีแดงเป็นลักษณะเด่น
          2. ขนสีขาวเป็นลักษณะเด่น
          3. ขนสีน้ำตาลเป็นลักษณะเด่น
          4. ลักษณะสีขนข่มไม่ลงระหว่างขนสีขาวกับขนสีแดง
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ในการผสมลักษณะ 2 ลักษณะออกมาได้ลักษณะที่ 3 ในรุ่นลูก และนำรุ่นลูกมาผสมกันเอง รุ่นหลานจะมีลักษณะครบทั้ง 3 ลักษณะ แสดงว่าลักษณะเช่นนั้นเป็นลักษณะที่ข่มกันไม่ลง เช่นในกรณีวัวตัวผู้สีแดงกับวัวตัวเมียสีขาว ได้ลูกทุกตัวมีสีน้ำตาลหมดอันเป็นลักษณะที่ 3
          ดังนั้น ให้ RR = วัวขนสีแดง     WW = วัวขนสีขาว
                    วัวรุ่นลูกขนสีน้ำตาลมีจีโนไทป์ RW
                    วัวรุ่นลูกผสมกันเอง คือ RW x RW
                    จะได้รุ่นหลานมีจีโนไทป์  RR : RW : WW ในอัตราส่วน 1 : 2 : 1 หรือฟีโนไทป์ แดง : น้ำตาล : ขาว
******************************************
43. พ่อและแม่มีเลือกหมู่ AB ทั้งสองคน ในการที่จะได้ลูกคนโตมีเลือดหมู่ A จะมีกี่โอกาส
          1. 1/4
          2. 1/8
          3. 1/16
          4. 1/64
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          พ่อแม่มีจีโนไทป์ AB เหมือน ๆ กัน ดังนั้น ลูก ๆ จะมีจีโนไทป์ AA, AB, BB หรือฟีโนไทป์หมู่ A, AB, B ในอัตราส่วน 1 : 2 : 1 ดังนั้นการเกิดลูกคนโตมีเลือดหมู่ A จึงอยู่ในอัตราส่วน 1 ต่อ 4 หรือ 1/4
******************************************
ในการผสมพันธุ์กระต่ายปรากฎว่าขนสั้น (S) เป็นลักษณะเด่น ขนยาว (s) เป็นลักษณะด้อย
จงหาจีโนไทป์ของพ่อแม่ที่ให้ลูกลักษณะในข้อ 44-46
44. 1/4 ของลูกมีขนยาว พ่อแม่มาจาก
          1. SS x ss
          2. Ss x ss
          3. Ss x Ss
          4. SS x SS
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          จีโนไทป์ของลูกขนขาว คือ ss
          1/4 ของรุ่นลูกเป็น ss พ่อและแม่จะต้องมีจีโนไทป์ Ss x Ss
******************************************
45. 1/2 ของลูกมีขนยาว 1/2 ของลูกมีขนสั้น พ่อและแม่มาจาก
          1. SS x ss
          2. Ss x ss
          3. Ss x Ss
          4. SS x SS
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          จีโนไทป์ของลูกขนยาว ss, จีโนไทป์ของลูกขนสั้น S_ (ซึ่งเป็นได้ Ss หรือ SS) ดังนั้นพ่อแม่ต้องมีจีโนไทป์  Ss x ss จึงได้ลูกเป็น Ss และ ss ในอัตราส่วน 1 : 1
******************************************
46. ลูกที่ได้ทั้ง 8 ตัว มีขนสั้นหมด พ่อและแม่มาจาก
          1. SS x ss
          2. Ss x ss
          3. Ss x Ss
          4. ss x ss
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ลักษณะขนสั้นเป็นลักษณะเด่น ดังนั้นการจะให้ลูกทั้ง 8 ตัวออกมามีลักษณะเด่น คือขนสั้นทั้งหมดนั้น พ่อแม่จะมีจีโนไทป์ได้ 2 ชนิด คือ SS x ss หรือ SS x SS
******************************************
47. เมื่อผสมพืชพันธุ์ทาง โดยพิจารณาจากลักษณะที่ถ่ายทอดลักษณะเดียว การจับคู่ของ Gene ที่เกิดจะมีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุด คือ
          1. 1 แบบ
          2. 2 แบบ
          3. 3 แบบ
          4. 4 แบบ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          Genotype ของพันธุ์ทาง คือ Aa x Aa Gene ที่เกิดจากการผสมนี้จะจับคู่กันได้ 3 แบบคือ AA, Aa, aa
******************************************
48. ในการศึกษาทางพันธุกรรมควรจะเริ่มโดยการศึกษาสิ่งมีชีวิตแบบใด
          1. สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่
          2. สิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์ได้เร็ว
          3. สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็ก
          4. สิ่งมีชีวิตที่เป็นพันธุ์แท้
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ความสำคัญในการเลือกสิ่งมีชีวิตมาทดลองเกี่ยวกับพันธุกรรมที่สำคัญมากประการหนึ่ง คือ การที่สิ่งมีชีวิตนั้นสืบพันธุ์ได้เร็ว ซึ่งทำให้ได้รุ่นหลานเร็ว มีผลต่อการศึกษามาก
******************************************
49. ในการผสมหนูตะเภาสีขาวกับสีดำ และการถ่ายทอดพันธุกรรมเป็นไปตามทฤษฎีของเมนเดล จะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าหนูสีดำนั้นเป็นหนูพันธุ์แท้ ลักษณะเด่น
          1. หาหนูสีดำพันธุ์แท้มาผสม
          2. หาหนูสีขาวพันธุ์แท้มาผสม
          3. หาหนูสีดำพันธุ์ทางมาผสมกัน
          4. ไม่ต้องทดสอบก็รู้ว่าเป็นพันธุ์แท้
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          การที่จะทราบว่าสิ่งมีชีวิตใดเป็นเด่นพันธุ์แท้หรือเด่นพันธุ์ทาง ทำได้โดยการนำลักษณะด้อยเข้าผสม หากเป็นเด่นพันธุ์แท้ ลูกที่ออกมาจะได้ลูกลักษณะเด่นหมด ดัง Genotype AA x aa รุ่นลูกได้ Aa ทั้งหมด หากเป็นเด่นพันธุ์ทางผสมแล้ว จะได้ลักษณะเด่นและด้อยคละกัน แต่ถ้ามีลูกมาก ๆ ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยจะอยู่ในอัตราส่วน 1 : 1 ดัง Genotype Aa x aa รุ่นลูกได้ Aa : aa ในอัตราส่วน 1 : 1
******************************************
50. Test cross คือ
          1. การผสมพันธุ์ของรุ่น F1 ซึ่งเป็นเฮเตอโรไซกัสกับพันธุ์พ่อแม่ที่มีลักษณะเป็น Homozygous recessive
          2. การผสมเพื่อทดสอบลักษณะของยีนว่าเป็น Homozygous หรือ Heterozygous โดยเอาไปทดสอบกับตัวทดสอบที่เป็น Homozygous recessive
          3. การผสมพันธุ์ข้ามระหว่าง F1 และ F2 เพื่อทดสอบหา Genotype
          4. การทดสอบหา Phenotype ที่เกิดเนื่องจากการผสมแต่ละครั้ง
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          Test cross เป็นวิธีการทดสอบหาจีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิตที่แสดงลักษณะเด่น แต่ไม่ทราบว่าเป็นลักษณะเด่นพันธุ์แท้หรือพันธุ์ทาง ทดสอบโดยการนำเอาลักษณะด้อยผสมด้วย หากเป็นเด่นพันธุ์แท้ลูกออกมาจะมีลักษณะเด่นหมด แต่ถ้าเป็นเด่นพันธุ์ทางลูกที่ออกมาจะเป็นเด่นกับด้อยปนกัน
******************************************
51. ถ้าผสมถั่วที่มีจีโนไทป์ SsYy x SSYy จะเกิดอะไร
      ถ้า S คือ ถั่วฝักสีเหลืองเป็นลักษณะเด่น
            s คือ ถั่วฝักสีเขียวเป็นลักษณะด้อย
      และ Y คือ ถั่วฝักยาวเป็นลักษณะเด่น
               y คือ ถั่วฝักสั้นเป็นลักษณะด้อย สมมติให้เป็นการข่มกันโดยสมบูรณ์
          1. ได้จีโนไทป์ 8 ลักษณะ
          2. จะไม่ได้ถั่วฝักสีเขียวและมีลักษณะสั้นเลย
          3. เกิดเฉพาะถั่วฝักสีเหลืองและฝักยาวเท่านั้น
          4. บอกไม่ได้
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          Genotype SsYy มี Gamete ได้ 4 ชนิด คือ SY, Sy, sY, sy
          Genotype SSYy มี Gamete ได้ 2 ชนิด คือ SY, Sy
          ดังนั้น จะได้ลูกมี Genotype 8 ชนิด คือ SSYY, SSYy, SsYY, SsYy, SSyY, SSyy, sSYy, Ssyy
******************************************
52. การผสมสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมี A เป็นลักษณะเด่น a เป็นลักษณะด้อย พบว่า 75% ของจำนวนลูกทั้งหมดที่ได้มีลักษณะเด่น แสดงว่าพันธุ์พ่อแม่ที่นำมาผสมมี Genotype เป็น
          1. Aa x Aa
          2. AA x Aa
          3. AA x aa
          4. Aa x aa
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ในกรณีที่ผสมแล้วลูกออกมา 75% เป็นลักษณะเด่น ถ้าเปรียบอัตราส่วนจะได้ 3/4 เป็นลักษณะเด่นจะเกิดจากการเอาลักษณะพันธุ์ทางผสมกัน
          Aa x Aa  ---->  AA, Aa, aa  โดยมี A_ : aa  =  3 : 1 หรือ 3/4  กับ  1/4
******************************************
53. อัตราส่วน 1 : 2 : 1 ของ Genotype ลูกซึ่งเกิดจากการผสมสัตว์หรือพืชพันธุ์ทาง คือ
          1. Law of unit character
          2. Law of segregation
          3. Law of dominance
          4. Law of independent assortment
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          Law of Dominance ของเมนเดล กล่าวว่า ลักษณะเด่นจะปรากฎออกมาให้เห็น ในขณะที่ลักษณะด้อยจะถูกข่มเอาไว้และลักษณะเดิมของพ่อแม่จะปรากฎออกมาให้เห็นอีกในรุ่นหลาน โดยลักษณะเด่นและด้อยในรุ่นหลานจะเป็นสัดส่วน 3 ต่อ 1
          ส่วน Law of Unit character กล่าวว่า ลักษณะต่าง ๆ จะอยู่กันเป็นคู่
                  Law of Segregation กล่าวว่าลักษณะที่อยู่เป็นคู่ ๆ นั้นสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้
                  Law of Independent Assortment กล่าวว่า ลักษณะที่ถ่ายทอดไปนั้นเป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องกับลักษณะอื่น ๆ
******************************************
54. ในการนำดอกบานเย็นพันธุ์ดอกสีแดงผสมกับพันธุ์ดอกสีขาว ลูกที่ได้จะมีลักษณะดังนี้
          1. ดอกขาว 100%
          2. ดอกสีแดง 100%
          3. ดอกสีแดง 25% ดอกสีชมพู 50% ดอกสีขาว 25%
          4. ดอกสีชมพู 100%
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ในการผสมดอกบานเย็นสีแดงกับดอกบานเย็นสีขาวนั้นเป็นการผสมชนิดข่มกันไม่ลง (Incomplete dominant) ทำให้ได้ลักษณะที่สาม คือ ดอกสีชมพูทั้งหมดดัง Genotype ของพ่อแม่
                                      RR     x     WW
                              ดอกสีแดง      ดอกสีขาว
                                              RW
                                   ดอกสีชมพูทั้งหมด
******************************************
55. ในการผสม AaBb x AaBb ลูกจะได้ Phenotype ในอัตราส่วน
          1. 3 : 1
          2. 1 : 1
          3. 1 : 2 : 1
          4. 9 : 3 : 3 : 1
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          Genotype AaBb นั้นแยกเป็น Gamete ได้ 4 ลักษณะ คือ AB, Ab, aB, ab ดังนั้นเมื่อนำ Gamete มาผสมกันจะได้
          Phenotype จะออกมาในอัตราส่วนของ
          A_B_  9
          A_bb  3
          aaB_  3
          aabb  1
******************************************
56. ในการผสมพันธุ์ถั่วต้นสูงกับต้นเตี้ย ลูกที่ได้ทั้งหมดจำนวนครึ่งหนึ่งสูง อีกครึ่งหนึ่งเตี้ย Genotype ของพ่อแม่ที่ผสมกันควรเป็น
          1. TT x tt
          2. TT x Tt
          3. Tt x Tt
          4. Tt x tt
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ในกรณีที่พิจารณาลักษณะเดียวโดยเอาลักษณะเด่นกับลักษณะด้อยผสมกันแล้วได้ลูกออกมาในอัตราส่วนเด่น : ด้อย อย่างละเท่า ๆ กัน แสดงว่าพ่อและแม่จะต้องมาจากลักษณะเด่นพันทางผสมกับลักษณะด้อย คือ Tt x tt ลูกจะได้ Tt : tt ในอัตราส่วน 1 : 1
******************************************
57. หากลักษณะถนัดมือขวาเป็นลักษณะเด่นกว่าถนัดมือซ้าย ชายถนัดขวาแต่งงานกับหญิงถนัดซ้าย มีลูกคนหนึ่งถนัดซ้าย ข้อความต่อไปนี้ข้อใดเป็นจริง
          1. ลูกคนต่อไปของหญิงชายคู่นี้ถนัดขวา หรือซ้ายก็ได้
          2. ชายคนนี้มีพ่อหรือแม่ถนัดซ้าย
          3. หญิงคนนี้มีพ่อแม่ถนัดซ้าย
          4. ลูกมี Genotype เป็น Heterozygous
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          Genotype ของชายถนัดขวาอาจเป็น RR หรือ Rr ก็ได้ ดังนั้น จึงนิยมเขียนว่า R_ ส่วน Genotype ของหญิงถนัดซ้ายเป็น rr ลูกที่ถนัดซ้ายจะต้องมี Genotype rr
          ดังนั้น Genotype ของพ่อต้องเป็น Rr ดังนั้น Rr x rr โอกาสที่ลูก ๆ จะมีความถนัดตาม Genotype Rr : rr อย่างละเท่า ๆ กัน
******************************************
58. ลูก ๆ มีหมู่เลือดจำนวนน้อยที่สุดเท่าที่จะเกิดได้ควรมาจากพ่อแม่ที่มีหมู่เลือดดังนี้
          1. A x AB
          2. B x AB
          3. O x AB
          4. AB x AB
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          Genotype ของเลือดหมู่ O คือ OO Genotype ของเลือดหมู่ AB คือ AB ดังนั้นลูก ๆ จึงมีโอกาสเกิด Genotype ดังนี้ AO, BO จึงมีจำนวนหมู่เลือดน้อยที่สุดในรุ่นลูก
******************************************
59. สามีภรรยาคู่ใดที่ลูก ๆ จะไม่มีโอกาสมีเลือดหมู่ O เลย คือ
          1. AB x O
          2. B x O
          3. A x B
          4. A x O
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          หากพ่อแม่มีเลือดหมู่ AB x O แล้วลูก ๆ จะไม่มีโอกาสมีเลือดหมู่ O เลย เนื่องจากจะได้ลูกมี Genotype AO, BO คือ เลือดหมู่ A และหมู่ B
******************************************
60. ถ้าให้ B = ขนสีดำ  b = ขนสีขาว
          ในการผสมวัวตัวผู้ขนสีดำกับวัวตัวเมีย 3 ตัว
          แม่วัวตัวแรกมีขนสีขาวให้ลูกขนสีดำหนึ่งตัว
          แม่วัวตัวที่สองมีขนสีขาวให้ลูกขนสีขาว
          แม่วัวตัวที่สามขนสีดำให้ลูกขนสีดำหนึ่งตัว
          Genotype ของวัวตัวผู้ควรเป็น
          1. bb
          2. Bb
          3. BB
          4. เป็นได้ทั้งข้อ 2 และข้อ 3
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          Genotype ของวัวขนสีดำควรเป็น B_ ผสมกับแม่วัวตัวแรกมีขนสีขาว Genotype ของแม่วัว bb ให้ลูกขนสีดำตัวหนึ่งกับแม่วัวตัวนี้ยังบอกไม่ได้แน่ว่า Genotype ของพ่อวัวเป็น BB หรือ Bb
          เมื่อผสมกับแม่วัวตัวที่สอง ซึ่งมีขนสีขาว คือ Genotype bb แสดงว่าพ่อวัวมี Genotype Bb จึงจะให้ลูกเป็น bb
******************************************
61. จากข้อ 60 Genotype ของแม่วัวตัวที่ 2 ควรเป็น
          1. BB
          2. Bb
          3. bb
          4. ไม่แน่นอน
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          แม่วัวขนสีขาวเป็นลักษณะด้อยจึงมี Genotype ได้อย่างเดียว คือ bb
******************************************
62. ถ้าบิดาของนายสวัสดิ์มีเลือดหมู่ A มารดาของนายสวัสดิ์มีเลือดหมู่ O นายสวัสดิ์ควรจะมีหมู่เลือดใด
          1. A หรือ O
          2. A หรือ B
          3. A หรือ AB
          4. AB หรือ O
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          Genotype ของบิดานายสวัสดิ์ คือ AA หรือ AO, Genotype ของมารดานายสวัสดิ์ คือ OO ดังนั้นนายสวัสดิ์จึงมีโอกาสมี Genotype AO หรือ OO
******************************************
63. จากการทดลองพันธุกรรมตามหลักของเมนเดล พบว่า 3 ใน 4 ของจำนวนลูกทั้งหมด แสดงลักษณะเด่นออกมาแสดงว่ารุ่นพ่อแม่
          1. เป็น Homozygous dominant ทั้งคู่
          2. เป็น Recessive ทั้งคู่
          3. เป็น Heterozygous ทั้งคู่
          4. เป็น Heterozygous ฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งเป็น Homozygous dominant
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          จากการผสมตามกฎของเมนเดลแล้วได้รุ่นลูก 3/4 ของจำนวนลูกทั้งหมด มีลักษณะเด่นแสดงว่าเกิดจากการผสมลักษณะ Heterozygous เข้าด้วยกัน คือ Aa x Aa
          จะได้ A_ : aa = 3 : 1
******************************************
64. หนูตะเภาลักษณะขนสั้น (S) เด่นกว่าลักษณะขนยาว (s) ส่วนสีดำ (B) เด่นกว่าสีน้ำตาล (b) เมื่อผสมหนูตะเภาขนสั้นสีดำพันธุ์แท้กับหนูตะเภาสีน้ำตาลพันธุ์แท้ได้รุ่นลูกมีขนสั้นสีดำทุกตัว หากเอารุ่นลูกผสมกันเองจะได้รุ่นหลานมีลักษณะใดบ้างในอัตราส่วนเท่าใด
          1. ขนสั้นสีดำ : ขนสั้นสีน้ำตาล : ขนยาวสีดำ : ขนยาวสีน้ำตาล = 1 : 3 : 3 : 9
          2. ขนสั้นสีดำ : ขนสั้นสีน้ำตาล : ขนยาวสีดำ : ขนยาวสีน้ำตาล = 3 : 1 : 3 : 9
          3. ขนสั้นสีดำ : ขนสั้นสีน้ำตาล : ขนยาวสีดำ : ขนยาวสีน้ำตาล = 3 : 3 : 1 : 9
          4. ขนสั้นสีดำ : ขนสั้นสีน้ำตาล : ขนยาวสีดำ : ขนยาวสีน้ำตาล = 9 : 3 : 3 : 1
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ในการผสมหนูตะเภาขนสั้นสีดำพันธุ์แท้ กับหนูตะเภาขนยาวสีน้ำตาลพันธุ์แท้ Genotype คือ SSBB x ssbb รุ่นลูกมี Genotype SsBb หากเอารุ่นลูกมาผสมกันเอง SsBb x SsBb จะได้
          S_B_     9 - ขนสั้นสีดำ
          S_bb     3 - ขนสั้นสีน้ำตาล
          ssB_     3 - ขนยาวสีดำ
          ssbb     1 - ขนยาวสีน้ำตาล
******************************************
65. จากโจทย์ข้อ 64 นั้น เมื่อเอารุ่นลูกที่มีขนสั้นสีดำผสมกับหนูตะเภาขนยาวสีน้ำตาลจะให้ลูกมีลักษณะใดบ้างในอัตราส่วนเท่าใด
          1. ขนสั้นสีดำ : ขนสั้นสีน้ำตาล : ขนยาวสีดำ : ขนยาวสีน้ำตาล = 1 : 1 : 1 : 1
          2. ขนสั้นสีดำ : ขนสั้นสีน้ำตาล : ขนยาวสีดำ : ขนยาวสีน้ำตาล = 9 : 3 : 3 : 9
          3. ขนสั้นสีดำ : ขนสั้นสีน้ำตาล : ขนยาวสีดำ : ขนยาวสีน้ำตาล = 1 : 3 : 3 : 9
          4. ขนสั้นสีดำ : ขนสั้นสีน้ำตาล : ขนยาวสีดำ : ขนยาวสีน้ำตาล = 1 : 3 : 3 : 1
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          หากเอา SsBb x ssbb จะได้ SsBb, Ssbb, ssBb, ssBb, ssbb ในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 : 1
******************************************
จากข้อมูลข้างล่าง จงตอบคำถามข้อ 66-68
วัวในลักษณะไม่เขา (P) เป็นลักษณะเด่น ลักษณะมีเขา (p) เป็นลักษณะด้อย วัวตัวผู้ตัวหนึ่งผสมกับวัวตัวเมีย 2 ตัว คือ A กับ B เมื่อผสมกับวัวตัวเมีย A ซึ่งมีเขาได้ลูกตัวหนึ่งไม่มีเขา เมื่อผสมกับวัวตัวเมีย B ซึ่งไม่มีเขาได้ลูกตัวหนึ่งมีเขา
66. วัวตัวผู้ควรจะมี Genotype
          1. PP
          2. Pp
          3. pp
          4. ไม่แน่นอน
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          วัวตัวเมีย A มีเขาจะมี Genotype pp ลูกไม่มีเขา Genotype Pp แสดงว่าวัวตัวผู้อย่างน้อยมี Genotype P_
          วัวตัวเมีย B ไม่มีเขา Genotype P_ ลูกมีเขา Genotype pp แสดงว่าวัวตัวผู้มี Genotype Pp
******************************************
67. วัวตัวเมีย A ควรจะมี
          1. PP
          2. Pp
          3. pp
          4. ไม่แน่นอน
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          วัวตัวเมียมีเขาเป็นลักษณะด้อยจึงมี Genotype pp
******************************************
68. วัวตัวเมีย B ควรจะมี Genotype
          1. PP
          2. Pp
          3. pp
          4. ไม่แน่นอน
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          วัวตัวเมียไม่มีเขา มี Genotype P_ แต่ให้ลูก Genotype pp กับพ่อวัว Genotype Pp แม่วัวจึงต้องมี Genotype Pp ด้วย
******************************************
69. ลักษณะสีขนลำตัวในหนูตะเภามีสีดำเป็นลักษณะเด่นในขณะที่สีขาวเป็นลักษณะด้อย ถ้าใช้หนูตะเภาขนสีดำพันธุ์แท้ผสมกับหนูตะเภาขนสีขาว จำนวนหนูสีดำเป็น Heterozygous ในรุ่น F1 มีอัตราส่วนเท่าใด
          1. 1/4
          2. 1/2
          3. 1
          4. 2/3
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ให้ B = สีดำ  b = สีขาว
          ดังนั้น หนูตะเภาขนสีดำพันธุ์แท้  =  BB
                                               ขนสีขาว  =  bb
                   ขนสีดำชนิด Heterozygous  =  Bb
          ตามโจทย์  BB x bb เป็น Genotype ของพ่อแม่ Bb เป็น Genotype ของรุ่นลูก ซึ่งมีลักษณะเดียว
******************************************
70. เมื่อนำหนูตะเภาขนสีดำเพศเมียตัวหนึ่งไปทำ Test cross ผลปรากฎว่าได้หนูตะเภาขนสีดำออกมาเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วน Genotype ของหนูตัวนี้ควรจะเป็นอย่างไร
      กำหนดให้ B เป็นยีนเด่นควบคุมลักษณะขนสีดำ
                         b เป็นยีนด้อยควบคุมลักษณะสีขาว
          1. BB
          2. Bb
          3. bb
          4. เป็นไปได้ทุกข้อ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          Test cross คือการเอาตัวที่สงสัยไปผสมกับลักษณะด้อย ผลที่ได้ลูกมีขนสีดำ 2/3 นั่นคือ ขนสีดำรุ่นลูกมี Genotype B_
          Genotype ของรุ่นพ่อ ควรเป็น bb
                           ของรุ่นลูก B_  2/3
          เนื่องจากรุ่นลูกมี B อยู่ ดังนั้น แม่ควรมี B อยู่ด้วย เพราะ B นี้ต้องมาจากแม่ จะมาจากพ่อไม่ได้ เพราะพ่อมี Genotype bb อยู่แล้ว
          Gene อีกตัวของแม่ควรเป็น b เพราะถ้าแม่เป็น BB ลูก ๆ จะไม่มีโอกาสที่จะเป็นหนูตะเภาขนสีดำ 2 ใน 3  ส่วนเลย ลูก ๆ จะมีขนสีดำหมด คือ bb x BB ----> Bb
          ดังนั้น Genotype ของแม่ต้องเป็น Bb เท่านั้น
******************************************
71. b+ เป็นยีนเด่นแสดงลักษณะสีน้ำตาลที่ลำตัวของแมลงหวี่
      b เป็นยีนด้อยแสดงลักษณะสีดำที่ลำตัว เมื่อนำแมลงหวี่ตัวเมียลำตัวสีน้ำตาลไปทำ Test cross จะได้ลูกแมลงหวี่ลำตัวสีดำ 52 ตัว และลำตัวสีน้ำตาล 58 ตัว ถ้านำแมลงหวี่ F1 ตัวเมียลำตัวสีน้ำตาลไปผสมกับแมลงหวี่รุ่นเดียวกันตัวผู้ลำตัวสีดำ อยากทราบว่า อัตราส่วนของ Genotype และ Phenotype ของ F2 เป็นอย่างไร
          1. 1 : 4,  1 : 4
          2. 1 : 3,  1 : 3
          3. 1 : 2,  1 : 2
          4. 1 : 1,  1 : 1
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          Genotype ของแมลงหวี่ตัวเมียลำตัวสีน้ำตาล ควรเป็น b+_ , ส่วน Genotype ของพ่อซึ่งเป็นลักษณะด้อย คือ bb
          รุ่นลูกลำตัวสีดำมี Genotype bb จำนวน 52 ตัว
          รุ่นลูกลำตัวสีน้ำตาลมี Genotype b+b จำนวน 58 ตัว
          เมื่อนำแมลงหวี่  F1  ตัวเมียลำตัวสีน้ำตาล  x  ตัวผู้ลำตัวสีดำ
                                                                  b+b     x      bb
                                     F2                         b+b     :       bb   =  1 : 1
                                                 ลำตัวสีน้ำตาล      :       ลำตัวสีดำ  =  1 : 1
          ซึ่งในอัตราส่วน 1 : 1 ทั้ง Genotype และ Phenotype
******************************************
72. ถ้าจับหนูตะเภาขนสีดำที่มี Genotype แบบเดียวกันหลาย ๆ ตัวมาผสมกันเอง ได้ลูกขนสีดำ 29 ตัว ขนสีขาว 9 ตัว Genotype ของหนูกลุ่มนี้ควรจะเป็นอย่างไร กำหนดให้ขนสีดำเป็นลักษณะเด่น ขนสีขาวเป็นลักษณะด้อย
          1. Homozygous dominance
          2. Homozygous recessive
          3. Heterozygous
          4. อาจเป็นได้ทั้ง Homozygous dominance หรือ Heterozygous
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          หนูขนสีดำ Genotype แบบเดียวกันผสมกันควรเป็น B_ x B_ ได้ลูกขนสีดำ 29 ตัว ซึ่งจะมี Genotype เป็น B_ , ขนสีขาว 9 ตัว ซึ่งจะมี Genotype เป็น bb ในอัตราส่วนประมาณ 3 : 1 อัตราส่วน 3 : 1 ในรุ่นลูกนี้จะได้มาจากพ่อแม่ ซึ่งเป็น Heterozygous
******************************************
73. ถ้านำหนูตะเภาสีดำเพศเมียไปทำ Test cross ปรากฎว่าได้ลูกขนสีขาวอย่างน้อย 1 ตัว Genotype และ Phenotype ของหนูตะเภาที่เป็นแม่ควรเป็นอย่างไร
      กำหนดให้ B เป็นยีนเด่นควบคุมลักษณะขนสีดำ
                        b เป็นยีนด้อยควบคุมลักษณะขนสีขาว
          1. BB ขนสีดำ
          2. BB ขนสีขาว
          3. Bb ขนสีดำ
          4. bb ขนสีขาว
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          หนูตะเภาสีดำเพศเมียควรมี Genotype B_ หนูตะเภาที่ Test cross ควรมี Genotype bb ผสมแล้วได้ลูกสีขาว อย่างน้อย 1 ตัว ควรมี Genotype bb ดังนั้น Genotype ของแม่ควรเป็น Bb จึงจะทำให้ลูกขนสีขาว ซึ่งมี Genotype bb ได้
******************************************
74. จากข้อ 73. Genotype ของหนูเพศเมียที่ใช้เป็นอย่างไร
          1. Homozygous dominance
          2. Homozygous recessive
          3. Heterozygous
          4. อาจเป็นได้ทั้ง Homozygous dominance หรือ Heterozygous
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          Genotype Bb เรียกว่าเป็น Heterozygous
******************************************
75. ถ้านำหนูตะเภาสีดำเพศเมียไปทำ Test cross ปรากฎว่าได้ลูกขนสีขาวอย่างน้อย 1 ตัว Genotype และ Phenotype ของหนูตะเภาที่เป็นแม่ควรเป็นอย่างไร
      กำหนดให้ B เป็นยีนเด่นควบคุมลักษณะขนสีดำ
      กำหนดให้ b เป็นยีนด้อยควบคุมลักษณะขนสีขาว
          1. 1/4 BB : 1/2 Bb : 1/4 bb : 3/4 ดำ : 1/4 ขาว
          2. 1/4 BB : 1/4 Bb : 1/4 bb : ดำ : 1/4 ขาว
          3. 3/4 Bb : 1/4 bb : 3/4 ดำ : 1/4 ขาว
          4. Bb ทั้งหมด : ดำทั้งหมด
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          Genotype ของหนูตะเภาเพศเมียขนสีดำ = Bb, Genotype ของหนูตะเภาเพศผู้ขนสีขาว = bb ลูก F1 จะมี Genotype Bb : bb หรือขนสีดำ : ขนสีขาว ในอัตราส่วน 1 : 1 ถ้าเอา F1 ขนสีดำ Genotype ควรเป็น Bb ผสมกับแม่หนู Genotype Bb
                           Bb  x  Bb
          ลูก ๆ ที่ได้ BB ; Bb ; bb หรือ 1/4 BB ; 1/2 Bb, 1/4 bb หรือ 3/4 ดำ : 1/4 ขาว
******************************************
76. จากข้อ 75 ถ้านำ F1 ขนสีดำไปทำ Back cross กับพ่อหนูจะได้อัตราส่วนของ Genotype และ Phenotype เป็นอย่างไร
          1. B ทั้งหมด : ดำทั้งหมด
          2. Bb ทั้งหมด : ดำทั้งหมด
          3. 1/2 Bb : 1/2 bb : 1/2 ดำ : 1/2 ขาว
          4. 1/2 BB : 1/2 bb : 1/2 ดำ : 1/2 ขาว
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          Genotype ของ F1 ขนสีดำ คือ Bb, Genotype ของพ่อหนูขนสีขาว คือ bb
                       Bb x bb
          ลูก ๆ จะมี Genotype Bb : bb 1/2 Bb : 1/2 bb = 1/2 ดำ : 1/2 ขาว
******************************************
77. ในพืชชนิดหนึ่ง สีขาวของผลไม้ถูกควบคุมโดย Dominant allele (W) สีเหลืองของผลไม้ถูกควบคุมโดย Recessive allele (w) รูปร่างผลไม้ทรงแบนถูกควบคุมโดย Dominant allele (S) และรูปร่างผลไม้ทรงกลมถูกควบคุมโดย Recessive allele (s)
      ถ้าใช้ผลไม้สีขาวทรงแบนพันธุ์แท้เป็นต้นพ่อ ผสมกับผลไม้สีเหลืองทรงกลมพันธุ์แท้ จะได้ F1 ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับพ่อ ถ้าหากว่าใช้ F1 ผสมกันเองอย่างอิสระอัตราส่วนของ Phenotype ใน F2 จะเป็นอย่างไร
          1. 1/16 ขาว-แบน : 3/16 ขาว-กลม : 3/16 เหลือง-แบน : 9/16 เหลือง-กลม
          2. 9/16 ขาว-แบน : 3/16 ขาว-กลม : 3/16 เหลือง-แบน : 1/16 เหลือง-กลม
          3. 4/16 ขาว-แบน : 4/16 ขาว-กลม : 4/16 เหลือง-แบน : 4/16 เหลือง-กลม
          4. 9/16 ขาว-แบน : 7/16 เหลือง-กลม
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          Genotype ของพืชต้นพ่อ WWSS,
          Genotype ของพืชต้นแม่ wwss,
          Genotype ของลูก F1 WwSs,
          F1 ผสมกันเอง WwSs x WsSs, Genotype WwSs คือ WS, Ws, wS, ws
          Phenotype ของ F2 คือ
          9/16 ขาวแบน, 3/16 ขาวกลม, 3/16 เหลืองแบน, 1/16 เหลืองกลม
******************************************
78. ลักษณะขนสั้นในกระต่ายถูกควบคุมโดยยีนเด่น (L)
      ลักษณะขนยาวถูกควบคุมโดยยีนด้อย (I)
      ลักษณะขนสีดำในกระต่ายถูกควบคุมโดยยีนเด่น (B)
      ลักษณะขนสีน้ำตาลถูกควบคุมโดยยีนด้อย (b)
      ถ้านำกระต่ายขนสั้นสีดำ (พันธุ์ทาง) มาผสมกับกระต่ายขนสั้นสีน้ำตาลพันธุ์แท้ จงหาอัตราส่วนของ Genotype และ Phenotype ของ F1 ที่ได้
          1. 1/4 LLBb : 1/4 LIBb : 1/4 LIbb : 1/4 LLbb : 1/2 ขนสั้น-สีดำ : 1/2 ขนสั้น-สีน้ำตาล
          2. 9/16 LLBb : 3/16 LIBb : 3/16 LIbb : 1/16 LLbb : 12/16 ขนสั้น-สีดำ : 4/16 ขนสั้น-สีน้ำตาล
          3. 1/16 LLBb : 3/16 LIBb : 3/16 LIbb : 9/16 LLbb : 4/16 ขนสั้น-สีดำ : 12/16 ขนสั้น-สีน้ำตาล
          4. 4/16 LLBb : 5/16 LIBb : 3/16 LIbb : 4/16 LLbb : 9/16 ขนสั้น-สีดำ : 7/16 ขนสั้น-สีน้ำตาล
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          Genotype ของกระต่ายขนสั้นสีดำ (พันธุ์ทาง) LlBb,
          Genotype ของกระต่ายขนสั้นสีน้ำตาล (พันธุแท้) LLbb,
          ผสมกัน LlBb x LLbb Genotype ของ LLbb คือ Lb
          ดังนั้น ลูก ๆ ควรมี Genotype LLBb, LLbb, LlBb, Llbb
                      1/2 ขนสั้นสีดำ  =  1/2 ขนสั้นสีน้ำตาล
******************************************
79. จากข้อ 78 ถ้าผสมระหว่างพ่อ-แม่ที่มี Genotype เป็น LlBb กับ Llbb ตามลำดับ จงหาอัตราส่วนของ Genotype ของ F1 ที่ได้
          1. 1/8 LLBb : 1/8 LlBb : 1/8 LLbb : 2/8 llbb
          2. 1/8 LLBb : 2/8 LlBb : 1/8 llBb : 1/8 LLbb : 2/8 Llbb : 1/8 llbb
          3. 2/8 LLBb : 1/8 LlBb : 2/8 llBb : 1/8 LLbb : 1/8 Llbb : 1/8 llbb
          4. 1/8 LLBb : 1/8 LlBb : 2/8 llBb : 1/8 LLbb : 2/8 Llbb : 1/8 llbb
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          การผสมระหว่าง LlBb x Llbb,
          LlBb Gamete คือ LB, lB, lb, Lb
          ส่วน Llbb Gamete คือ Lb, lb
          Genotype ของ F1 คือ LLBb, LLbb, LlBb, Llbb, LlBb, Llbb, llBb, llbb
          หรือ 1/8 LLBb : 2/8 LlBb : 1/8 llBb : 1/8 LLbb : 2/8 Llbb : 1/8 llbb
******************************************
80. จากข้อ 79 จงหาอัตราส่วนของ Phenotype ของ F1 ที่ได้
          1. 1/8 ขนสั้น-สีดำ 3/8 ขนยาว-สีดำ 3/8 ขนสั้น-สีน้ำตาล 1/8 ขนยาว-สีน้ำตาล
          2. 3/8 ขนสั้น-สีดำ 3/8 ขนยาว-สีดำ 1/8 ขนสั้น-สีน้ำตาล 1/8 ขนยาว-สีน้ำตาล
          3. 3/8 ขนสั้น-สีดำ 1/8 ขนยาว-สีดำ 3/8 ขนสั้น-สีน้ำตาล 1/8 ขนยาว-สีน้ำตาล
          4. 1/8 ขนสั้น-สีดำ 1/8 ขนยาว-สีดำ 3/8 ขนสั้น-สีน้ำตาล 3/8 ขนยาว-สีน้ำตาล
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ขนสั้นสีดำ มี Genotype LLBb, LlBb
          ขนยาวสีดำ มี Genotype llBb
          ขนสั้นสีน้ำตาล มี Genotype LLbb, Llbb
          ขนยาวสีน้ำตาล มี Genotype llbb
******************************************
81. Multiple alleles ในกระต่ายควบคุมลักษณะต่อไปนี้
เฉลยข้อ 1 เหตุผล

******************************************
82.
เฉลยข้อ 2 เหตุผล

******************************************
83. ในสัตว์ชนิดหนึ่ง ยีน E เป็นยีนเด่นที่ควบคุมการสังเคราะห์เอนไซม์ E
      ในสัตว์ชนิดหนึ่ง ยีน F เป็นยีนเด่นที่ควบคุมการสังเคราะห์เอนไซม์ F
      และปฏิกิริยาการผลิตรงควัตถุของผิวหนังเป็นดังนี้
      Genotype แบบไหนจึงจะทำให้สัตว์มีขนที่มีสีได้
          1. EEff
          2. EeFf
          3. eeFF
          4. eeff
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          จะต้องมียีนเด่นของ E และ F อยู่อย่างน้อยอย่างละ 1 ตัว โอกาสที่จะมีทั้งหมด คือ EEFF หรือ EeFF หรือ EeFf ซึ่งจะทำให้สัตว์นั้นขนมีสีได้
******************************************
จงศึกษาข้อความและตารางข้างล่างนี้แล้วตอบคำถามข้อ 84
      จากการศึกษาลักษณะของหนูตะเภาโดยการนำหนูตะเภาที่มีลักษณะของขนต่างกันมาผสมกันได้ผลดังตารางข้างล่างนี้
84. ถ้าสมมติฐานที่ว่ายีนอยู่ในไซโทพลาซึมเป็นจริง หนูตะเภาที่ได้จากการผสมในช่อง A และ B ควรมีลักษณะอย่างไร
          1. A ขนเรียบ B ขนหยาบ
          2. A ขนหยาบ B ขนเรียบ
          3. A ขนเรียบ B ขนเรียบ
          4. A ขนหยาบ B ขนหยาบ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ถ้าสมมติฐานที่ว่า ยีนอยู่ในไซโทพลาซึมเป็นจริง หนูตะเภาที่ได้จากการผสม จะได้ลักษณะเหมือนแม่มากกว่าที่ได้จากพ่อ ดังนั้นถ้าตัวเมียขนเรียบ ลูก A จะได้ขนเรียบด้วย และถ้าตัวเมียขนหยาบ ลูก B จะได้ขนหยาบด้วย    
******************************************
85. "ยีนแต่ละยีนของยีนคู่ใดคู่หนึ่งแยกออกจากกันเมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์" เซลล์สืบพันธุ์ที่มียีนเช่นข้อใดไม่สอดคล้องกับคำกล่าวนี้ ถ้าสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ มีจีโนไทป์ AaBb
          1. AB
          2. Ab
          3. ab
          4. Aa
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          การแยกคู่ของยีนในเซลล์สืบพันธุ์ เกิดจากการแยกแท่งโครมาติดออกจากกัน ภายหลังจากที่ Homologous chromosome ถูกแยกไปอยู่คนละเซลล์ แล้วระหว่างที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์แบบ Meiosis ดังนั้นยีนที่ควบคุมลักษณะเดียวกันจะต้องแยกออกจากกัน A ต้องแยกออกจาก a และ B ต้องแยกออกจาก b
          ยีนที่อยู่คู่กันอยู่ในรูป AaBb เมื่อแยกเป็นเซลล์สืบพันธุ์ไม่มีโอกาสที่จะเกิดเป็น Aa
******************************************
86. ข้อใดเป็นหน้าที่ของออโตโซม
          1. ควบคุมการกำหนดเพศในสิ่งมีชีวิต
          2. ควบคุมการกำหนดเพศและลักษณะของสิ่งมีชีวิต
          3. ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเพศ
          4. ควบคุมในการจับคู่ของยีนหรือการจับคู่ของโครโมโซม
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          หน้าที่ของออโตโซมควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต แต่ไม่เกี่ยวข้องกับลักษณะเพศ ซึ่ง Sex chromosome ควบคุม
******************************************
87. ในการศึกษาเซลล์ของแมลงหวี่พบว่าแมลงหวี่ตัวผู้มีโครโมโซมเท่ากับ 6 + xy แมลงหวี่ตัวเมียมีโครโมโซมเท่ากับ 6 + xx ผู้ใดจะเป็นถ่ายทอดโครโมโซม y ให้กับแมลงหวี่
          1. ปู่
          2. ย่า
          3. ตา
          4. ยาย
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ในแมลงหวี่ตัวผู้เท่านั้นที่มีการถ่ายทอดโครโมโซม Y
******************************************
จงศึกษาแผนภาพและใจความข้างล่างนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 88-90
88. แผนภาพนี้ได้จากการศึกษาลักษณะสีตาของแมลงหวี่ ซึ่งทำการศึกษาจากแมลงหวี่หลายพันตัว แล้วสรุปเป็นแผนภาพ ถ้าตาสีขาวเป็นลักษณะด้อย ซึ่งควบคุมโดยยีนบนออโตโซมตามหลักการผสมของเมนเดล ข้อใดควรจะเป็นไปได้
          1. แมลงหวี่ในรุ่น F1 ตัวเมียควรจะมีตาสีขาวบ้าง
          2. แมลงหวี่ในรุ่น F2 ตัวผู้จะไม่มีตาสีแดง
          3. แมลงหวี่ในรุ่น F2 ตัวเมียควรจะมีตาสีขาวบ้าง
          4. แมลงหวี่ในรุ่น X ตัวเมียไม่ควรจะมีตาสีขาว
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          หากลักษณะตาขาวเป็นลักษณะด้อยใน F2 ควรมีทั้งตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งมีทั้งตาขาวและตาแดง ตามโจทย์จะเห็นว่าไม่มีแมลงหวี่ตัวเมียตาขาวอยู่เลย
******************************************
89. ถ้านำแมลงหวี่ตัวเมียตาสีขาวในรุ่น P มาผสมกับตัวผู้ตาสีแดงจะได้ลูกที่เป็นตัวผู้และเพศเมียในสัดส่วนเท่าใด
          1. 1 : 1
          2. 1 : 2
          3. 1 : 3
          4. 1 : 4
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          การคิดเพศเมื่อเกิดการเจริญพันธุ์ จะเกิดอัตราส่วนเพศผู้ : เพศเมีย = 1 : 1 เสมอ
******************************************
90. จากข้อ 89 ลูกที่เกิดจะมีลักษณะตาสีแดงกับตาสีขาวในสัดส่วนเท่าใด
          1. 1 : 1
          2. 1 : 2
          3. 1 : 3
          4. 1 : 4
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          จากแผนภาพของโจทย์แสดงว่าลักษณะตาสีแดงกับตาสีขาวของแมลงหวี่เป็นลักษณะที่ขึ้นกับโครโมโซมเพศ
******************************************
91. ลูกหญิงที่เกิดจากชายหญิงคู่ใดจะมีโอกาสเป็นตาบอดสีได้
          1. หญิงที่เป็นพาหะแต่งงานกับชายปกติ
          2. หญิงที่เป็นพาหะแต่งงานกับชายตาบอดสี
          3. หญิงที่ปกติแต่งงานกับชายที่ตาปกติ
          4. หญิงที่ตาบอดสีแต่งงานกับชายที่ตาปกติ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ลูกหญิงตาบอดสีจะเกิดจากชายซึ่งตาบอดสี และหญิงที่เป็นพาหะ ดังแผนภาพ
******************************************
92. แนวความคิดที่เน้นว่าการถ่ายทอดกรรมพันธุ์ที่เกิดขึ้นผ่าน Germplasm นั้นเป็นแนวความคิดของ
          1. Darwin
          2. Mendel
          3. De Vries
          4. Weismann
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          Weismann เป็นนักวิทยาศาสตร์ซึ่งอธิบายถึงการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมว่าอยู่ที่ Germ plasm ซึ่งขึ้นอยู่กับเซลล์สืบพันธุ์ไม่ใช่เซลล์ร่างกาย
          ออกัส ไวส์มาน (August Weismann 1834 - 1914) ได้เสนอความคิดคัดค้านลามาร์ค โดยกล่าวว่าลักษณะที่ถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้นั้นจะต้องเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ มิใช่จากเซลล์ร่างกาย เขาได้ทดลองตัดหางหูตัวผู้ตัวเมีย แล้วให้ผสมพันธุ์กัน ปรากฎว่าลูกหนูออกมามีหาง การทดลองนี้ทำติดต่อกันถึง 20 รุ่น หนูในรุ่นที่ 21 ก็ยังคงมีหางอยู่ ไวส์มานอธิบายว่า ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะที่ตัดหางหนูออกนั้นกระทำต่อเซลล์ร่างกาย แต่เซลล์สืบพันธุ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ลักษณะหางยังคงอยู่ไม่ว่าจะทำกี่รุ่นหนูก็ยังคงหางยาวอยู่
******************************************
93. Gene ที่แสดงลักษณะเด่นในเพศหนึ่ง แต่แสดงลักษณะด้อยอีกเพศหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากมีฮอร์โมนเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง Gene ที่กล่าวถึงนี้คือ
          1. Sex linked gene
          2. Sex limited gene
          3. Sex determination
          4. Sex influenced gene
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ยีนที่อยู่ใต้อิทธิพลของเพศ (Sex-influenced gene) หมายถึง ลักษณะซึ่งถูกควบคุมโดยยีนซึ่งแสดงลักษณะเด่นในเพศหนึ่ง แต่แสดงลักษณะด้อยในอีกเพศหนึ่งหรือยีนซึ่งควบคุมลักษณะนั้นจะแสดงความเป็น Dominance ของแอลลีลนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของเพศ เช่น ลักษณะศีรษะในคน ยีนที่ควบคุมหัวล้าน จะแสดงลักษณะเด่นในเพศชาย ดังนั้น จะพบเห็นอยู่เสมอว่าเพศชายมีศีรษะล้านมากกว่าหญิง จากการศึกษาพบว่าฮอร์โมนเพศมีส่วนสำคัญในการแสดงออกของยีน เพราะว่าเพศชายที่ถูกตัดอัณฑะออก จะไม่แสดงลักษณะศีรษะล้าน ทั้ง ๆ ที่มียีนที่ทำให้ศีรษะล้านปรากฎอยู่และลักษณะศีรษะล้านจะเกิดในเพศหญิงที่มีฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ
          Sex linked gene คือ ยีนที่อยู่บนโครโมโซมแท่งใดแท่งหนึ่ง เช่น ลักษณะตาบอดสีอยู่บนโครโมโซม X
          Sex determination เป็นการกำหนดเพศจากโครโมโซม
          หลักในการกำหนดเพศของสิ่งมีชีวิต เกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดเพศมีหลายเกณฑ์ เช่น
          1. การใช้โครโมโซมเพศแบบ XY การกำหนดเพศตามโครโมโซมเพศ XY นี้ เกิดได้ 2 แบบคือ
                1.1 ในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ส่วนใหญ่เพศผู้จะเป็นแบบ XY ส่วนเพศเมียเป็นแบบ XX
                1.2 ในผีเสื้อ ปลาบางชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก และสัตว์จำพวกนก ตัวผู้มีโครโมโซมเพศตรงข้ามกับของคน คือเป็น XX ส่วนตัวเมียเป็น XY
          2. การใช้โครโมโซมเพศแบบ XO ในกรณีนี้ตัวผู้จะมีโครโมโซมเพศ คือ X เพียงเส้นเดียว ส่วนตัวเมียจะมีโครโมโซมเพศเป็น XX เช่นพบในตั๊กแตน ตัวผู้มีโครโมโซมเป็น 22+X (จำนวนโครโมโซมทั้งหมดเป็นเลขคี่) ส่วนตัวเมียมีโครโมโซมเป็น 22+XX (จำนวนโครโมโซมทั้งหมดเป็นเลขคู่) สเปิร์มของตั๊กแตนจะมี 2 ชนิด คือ ชนิดมี X(11+X) และ ชนิดไม่มี X(11+O)
          3. การใช้จำนวนชุดของออโตโซม เช่นในพวกผึ้ง ต่อ แตน มด โดยตัวผู้มีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ (n) ส่วนตัวเมียเป็นดิพลอยด์ (2n) ในกรณีของผึ้งพบว่า ผึ้งนางพญา (Queen) มีโครโมโซม 32 เส้น (2n) เมื่อผึ้งนางพญาสร้างเซลล์สืบพันธุ์จะแบ่งเซลล์ไมโอซีส และในเซลล์สืบพันธุ์ คือ ไข่จะมีโครโมโซมลดลงเหลือ 16 เส้น (n) ส่วนผึ้งตัวผู้มีโครโมโซมเพียง 16 เส้น (n) ดังนั้น เมื่อสร้างสเปิร์มจึงมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ไม่มีการแบ่งไมโอซิส เพื่อลดจำนวนโครโมโซมอย่างในผึ้งนางพญา เมื่อผึ้งนางพญาวางไข่ ถ้าไข่นั้นได้รับการปฏิสนธิกับสเปิร์มก็จะเจริญเป็นผึ้งนางพญา มีโครโมโซม 32 เส้น (2n) ถ้าไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิไข่นั้นก็จะเจริญพัฒนาเป็นผึ้งตัวผู้ วิธีการเช่นนั้นเรียกว่า พาร์ที่โนจีนีซิส (Parthenogenesis) ดังนั้นผึ้งตัวผู้ที่เกิดขึ้นจึงมีโครโมโซมเพียง 16 เส้น (n)
          4. การใช้อัตราส่วนของโครโมโซม X ต่อจำนวนชุดของออโตโซม เช่นที่พบในแมลงหวี่ ถึงแม้จะมีโครโมโซมเพศคล้ายกับของคน แต่โครโมโซม Y ในแมลงหวี่ไม่มีสมบัติเป็นตัวกำหนดเพศโดยตรงเหมือนอย่างของคน
          ในปี ค.ศ.1916 บริดจ์ (Bridges) พบว่าถ้าแมลงหวี่ขาดโครโมโซม Y ไป (XO) แมลงหวี่ก็ยังพัฒนาเป็นตัวผู้ได้ แต่จะเป็นหมันเท่านั้น ส่วนแมลงหวี่ที่มีโครโมโซมเพศเป็น XXX จะพัฒนาเป็นเพศเมียอย่างปกติ การค้นพบดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่า โครโมโซม Y แสดงความเป็นกลาง (Neutral effect) ในการกำหนดเพศ เพราะเมื่อมีโครโมโซม X เพียงอันเดียวก็สามารถพัฒนาเป็นเพศผู้ได้ ส่วนการพัฒนาเป็นเพศเมียนั้นต้องการโครโมโซม X 2 อัน ดังนั้นจึงดูคล้ายการกำหนดชนิดของเพศนี้โครโมโซม X เท่านั้นที่มีบทบาท
          บริดจ์ได้ทำการทดลองและได้ชี้ให้เห็นว่าออโตโซมมีความสำคัญเท่า ๆ กับโครโมโซม X ในการกำหนดเพศของแมลงหวี่ ซึ่งแมลงหวี่จะแสดงเพศชนิดใดขึ้นอยู่กับสัดส่วนของออโตโซมกับโครโมโซม X กล่าวคือ ถ้าอัตราส่วนระหว่างชุดของออโตโซมกับจำนวนโครโมโซม X เท่ากับ 1.0 แมลงหวี่จะเป็นเพศเมีย ถ้าอัตราส่วนเท่ากับ 0.5 จะเป็นเพศผู้ แต่ถ้าอัตราส่วนมากกว่า 1.0 จะเป็นเพศเมียพิเศษ (Superfemale) ถ้าน้อยกว่า 0.5 จะเป็นเพศผู้พิเศษ (Supermale) และถ้ามีค่าระหว่าง 0.5-1.0 จะเป็น Intersex
          ยีนที่ถูกจำกัดโดยเพศ (Sex-limited gene) เป็นลักษณะที่เกิดเฉพาะในเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น เช่น ทั้งเพศผู้และเพศเมียในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ต่างก็มียีนควบคุมการผลิตน้ำนมแต่เฉพาะในเพศเมียเท่านั้นที่มีระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งน้ำนมสูงกว่าและสามารถผลิตน้ำนมได้ การแสดงออกของลักษณะทั้งลักษณะการที่อยู่ใต้อิทธิพลของเพศและลักษณะการที่ถูกจำกัดโดยเพศมียีนควบคุมอยู่บนออโตโซม ไม่ได้อยู่ที่โครโมโซมเพศเหมือนดังในกรณีของลักษณะที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ การแสดงออกของยีนเหล่านี้ขึ้นอยู่กับระดับฮอร์โมนภายในร่างกายเป็นสำคัญ
******************************************
94. โรคจิตทรามที่เป็นกับเด็กที่พ่อแม่ปกติและสมบูรณ์ดีเป็นโรคที่เกิดจาก
          1. สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
          2. ฮอร์โมนร่างกายมากเกินไป
          3. กรรมพันธุ์ที่เกิดจาก Gene ที่เป็น Homozygous recessive
          4. กรรมพันธุ์ที่เกิดจาก Gene ที่เป็น Homozygous dominant
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          โรคจิตทรามที่เป็นกับเด็กที่มีพ่อแม่ปกติสมบูรณ์ดีนั้น เกิดจากยีนด้อยจากพ่อและยีนด้อยจากแม่มารวมกันเป็น Homozygous recessive ในลูก จึงแสดงลักษณะจิตทราม ซึ่งไม่แสดงออกทั้งในพ่อและแม่ เนื่องจากพ่อแม่นั้นมีลักษณะปกติซึ่งเป็นลักษณะเด่นข่มไว้
******************************************
95. ลักษณะโรค Haemophilia เป็นลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีน ถ้าชายเป็นโรคนี้แต่งงานกับหญิงที่เป็น Carrier อัตราส่วนของลูกในวัยเจริญเต็มที่จะแสดงลักษณะคือ
          1. ชาย : หญิง  =  1 : 1
          2. ชาย : หญิง  =  2 : 1
          3. เป็นโรค : ปกติ  =  1 : 1
          4. เป็นโรค : ปกติ  =  2 : 1
เฉลยข้อ 3 เหตุผล

******************************************
96. ถั่วเหลืองดอกสีม่วงข่มลักษณะดอกสีขาวได้อย่างสมบูรณ์ ลักษณะใบกว้างข่มใบแคบได้ไม่สมบูรณ์ ยีนทั้งสองคู่นี้เป็นอิสระต่อกัน เมื่อถั่วเหลืองดอกสีม่วงพันธุ์แท้และใบขนาดปานกลางผสมพันธุ์กันเอง ข้อใดบอกสัดส่วนของจำนวนฟีโนไทป์ของลูกได้ถูกต้อง
          1. ดอกสีม่วง ใบกว้าง : ดอกสีม่วง ใบปานกลาง : ดอกสีม่วง ใบแคบ = 1 : 2 : 1
          2. ดอกสีม่วง ใบกว้าง : ดอกสีม่วง ใบปานกลาง : ดอกสีม่วง ใบแคบ = 1 : 1 : 1
          3. ดอกสีม่วง ใบกว้าง : ดอกสีม่วง ใบแคบ = 3 : 1
          4. ดอกสีม่วง ใบกว้าง : ดอกสีม่วง ใบแคบ = 1 : 1
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ถั่วเหลืองดอกสีม่วง (V_) ข่มลักษณะดอกสีขาว (vv) ได้อย่างสมบูรณ์ ลักษณะใบกว้าง (BB) ข่มใบแคบ (B'B') ได้ไม่สมบูรณ์ ยีนทั้งสองคู่นี้เป็นอิสระต่อกัน
          เมื่อนำถั่วเหลืองดอกสีม่วงพันธุแท้ (VV) และใบขนาดปานกลาง (BB') ผสมพันธุ์กันเองจะได้ลูกมีฟีโนไทป์ต่าง ๆ ดังนี้
          คิดเฉพาะถั่วเหลืองดอกสีม่วงพันธุ์แท้ (VV) ผสมกันเอง รุ่นลูกทุกต้นจะเป็นดอกสีม่วงพันธุ์แท้ (VV) ทั้งหมด
          คิดเฉพาะใบขนาดปานกลาง (BB') ผสมพันธุ์กันเอง BB' x BB'
          จะได้ BB : BB' : B'B' หรือ ใบกว้าง : ใบปานกลาง : ใบแคบ ในอัตราส่วน 1 : 2 : 1
          เมื่อนำถั่วเหลืองดอกสีม่วงพันธุ์แท้และใบขนาดปานกลาง (VVBB') ผสมพันธุ์กันเอง จะได้ลูกมีฟีโนไทป์
          ดอกสีม่วงพันธุ์แท้ใบกว้าง : ดอกสีม่วงพันธุ์แท้ใบปานกลาง : ดอกสีม่วงพันธุ์แท้ใบแคบ ในอัตราส่วน 1 : 2 : 1
******************************************
97. ข้อใดอธิบายผู้ที่มีคาริโอไทป์ (Karyotype) ดังภาพ
          1. เพศหญิง และมีลักษณะกลุ่มอาการดาวน์
          2. เพศชาย และมีลักษณะกลุ่มอาการดาวน์
          3. เพศหญิง และมีลักษณะกลุ่มอาการเทอร์เนอร์
          4. เพศชาย และมีลักษณะกลุ่มอาการเทอร์เนอร์
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          จากคารีโอไทป์ของโจทย์
          เป็นของหญิงที่เป็นดาวน์ซินโดรม ดูจากโครโมโซมเพศคือโครโมโซมคู่ที่ 23 ยาวเท่ากัน จึงเป็นหญิงและโครโมโซมคู่ที่ 21 มีเกินมา 1 แท่ง เป็น 3 แท่งจึงเป็นดาวน์ซินโดรม
******************************************
98. ถ้าปริมาณ DNA ของสเปิร์มเท่ากับ X ดังนั้นสเปอร์มาโทไซต์ระยะแรก (Primary spermatocyte) จะมีปริมาณ DNA เป็นเท่าใด
          1. X/2
          2. X
          3. 2X
          4. 4X
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ถ้าปริมาณ DNA ของสเปิร์มเท่ากับ X ดังนั้นสเปอร์มาโทไซต์ระยะแรก (Primary spermatocyte) จะมีปริมาณ DNA เป็นสองเท่าของเซลล์ปกติหรือสี่เท่าของสเปิร์ม
******************************************
99. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะตาบอดสีเขียวสีแดง
          1. ลูกสาวตาบอดสีต้องมีพ่อตาบอดสี
          2. แม่ตาปกติจะมีลูกสาวตาปกติเสมอ
          3. แม่ตาปกติอาจจะมีลูกชายตาบอดสี
          4. แม่ตาบอดสีจะมีลูกชายตาบอดสีเสมอ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล

******************************************
100. นักพันธุศาสตร์จะสามารถทราบได้ว่า ยีนสองคู่แยกออกจากกันได้อย่างอิสระ โดยดูจากการศึกษาลูกผสมที่เกิดจากพ่อแม่ที่มีจีโนไทป์แบบใด
          1. AABB x aabb
          2. AaBb x aabb
          3. AaBB x aabb
          4. aaBB x aabb
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          นักพันธุศาสตร์จะสามารถทราบได้ว่า ยีนสองคู่แยกกันอย่างอิสระ เช่น AaBb ดูได้จากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส จะได้จีโนไทป์ของเซลล์สืบพันธุ์ 4 ลักษณะ คือ AB, Ab, aB และ ab
          เมื่อใช้ตัวทดสอบ (Tester) ที่มีลักษณะด้อยคือ aabb จีโนไทป์ของเซลล์สืบพันธุ์ลักษณะเดียวคือ ab เข้าผสม
          จะได้ จีโนไทป์ของลูก 4 ลักษณะคือ AaBb, Aabb, aaBb และ aabb ในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 : 1
          แต่ถ้าเป็นยีนสองชนิดที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกัน (Linked gene) ของจีโนไทป์ AaBb เซลล์สืบพันธุ์จะมีเพียงสองลักษณะคือ AB และ ab ดังรูป
          ดังนั้นเมื่อใช้ตัวทดสอบ (Tester) ที่มีลักษณะด้อยคือ aabb จีโนไทป์ของเซลล์สืบพันธุ์ลักษณะเดียวคือ ab เข้าผสม จะได้ จีโนไทป์ของลูกเพียง 2 ลักษณะคือ AaBb และ aabb ในอัตราส่วน 1 : 1
******************************************
101. โรคพันธุกรรม Galactosemia ควบคุมโดยยีนด้อยในออโทโซม (Autosome) พบว่ามีความถี่ของอัลลีล A เท่ากับ 0.96 ข้อใดถูกต้อง
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          โรคพันธุกรรม Galactosemia ควบคุมด้วยยีนในออโทโซม (Autosome) ความถี่ของอัลลีล A เท่ากับ 0.96
A  =  0.96
a  = 1 - 0.96  =  0.04
เนื่องจาก
AA  =  0.96 x 0.96  =  0.9216
2Aa  =  2( 0.96 x 0.04 )  =  0.0768
aa  =  0.04 x 0.04  = 0.0016
เมื่อคิดจากประชากร 20,000 คน
จะได้ คนปกติ  =  0.9216 x 20,000  =  18,432 คน
          พาหะ  =  0.0768 x 20,000  =  1,536 คน
          เป็นโรค  =  0.0016 x 20,000  =  32 คน
******************************************
102.
จากเพดดีกรี บุคคลใดบ้างที่มีโอกาสเป็นได้ทั้งโฮโมไซโกตและเฮเทอโรไซโกต
          1. I - 1
          2. II - 3
          3. II - 4
          4. III - 2
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          จากเพดดีกรีของโจทย์ เมื่อหาจีโนไทป์ของแต่ละคนแล้วจะได้ III - 2 มีโอกาสเป็น AA หรือ Aa ดังนี้
******************************************
103. ลักษณะดอกสีแดง (A) และลักษณะเมล็ดกลม (B) ของถั่วลันเตาเป็นลักษณะเด่นข่มลักษณะดอกสีขาว (a) และเมล็ดย่น (b) ได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อทำการผสมพันธุ์ระหว่าง AaBb x AaBb โอกาสได้ลูกพันธุ์แท้ทั้งสองลักษณะเป็นเท่าใด
          1. 1/16
          2. 2/16
          3. 3/16
          4. 4/16
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ลักษณะดอกสีแดง (A) และลักษณะเมล็ดกลม (B) ของถั่วลันเตาเป็นลักษณะเด่นข่มลักษณะดอกสีขาว (a) และเมล็ดย่น (b) ได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อทำการผสมระหว่าง AaBb x AaBb จะได้เซลล์สืบพันธุ์มีจีโนไทป์ AB, Ab, aB และ ab นำไปหาจีโนไทป์ของลูกได้จาก Punnet square
          จะได้พันธุ์แท้ ดังตาราง มีจำนวน 4/16
******************************************