วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

รวมข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย สังคมศึกษา 3

รวมข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย สังคมศึกษา 3
1 .คำกล่าวที่ว่า "พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมาย" ข้อใดมีความหมายถูกต้องที่สุด
          1. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาของกฎหมาย
          2. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขรัฐ ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้
          3. พระมหากษัตริย์ไม่อาจที่จะกล่าวหาหรือฟ้องร้องได้
          4. พระมหากษัตริย์ไม่จำต้องทำตามบัญญัติของกฎหมาย
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          คำกล่าวที่ว่า "พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมาย" มีความหมายตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในมาตรา 9 ที่บัญญัติไว้ว่า "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้"
*********************************************
2. การที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากโครงการพัฒนาของรัฐมาชุมนุมกันเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาความเดือดร้อน ข้อใดถูกต้องที่สุดตามหลักนิติรัฐ
          1. เป็นการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานตามบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
          2. เป็นการกระทำที่ชอบธรรมเพื่อกดดันรัฐบาลให้เร่งแก้ปัญหา
          3. เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายเพื่อตรวจสอบความชอบธรรมของรัฐบาล
          4. เป็นการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายอาญาเพราะก่อความวุ่นวายเดือดร้อนให้กับผู้อื่น
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          การที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากโครงการพัฒนาของรัฐบาลมาชุมนุมกันเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาความเดือดร้อนนั้น ข้อความที่ถูกต้องตามหลักนิติรัฐคือ การใช้สิทธิขั้นพื้นฐานตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในมาตรา 59 ที่บัญญัติไว้ว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูลคำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานราชการ รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือท้องถิ่น......."
          ดังนั้นคำตอบข้อ 2 และ 4 ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการกระทำที่ละเมิดบทบัญญัติของกฎหมาย และถือเป็นความผิดอาญา ส่วนข้อ 3 เป็นการกระทำอันต่อเนื่องจากการใช้สิทธิพื้นฐานตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
*********************************************
3. การที่สามีทำร้ายร่างกายภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย อันเนื่องมาจากความขัดแย้งภายในครอบครัว จะมีผลตามประมวลกฎหมายอาญาอย่างไร
          1. ไม่เป็นความผิด เพราะเป็นเรื่องภายในครอบครัว
          2. ไม่เป็นความผิด เพราะสามีในฐานะหัวหน้าครอบครัวย่อมมีสิทธิที่จะสั่งสอนภรรยาได้
          3. เป็นความผิด เพราะไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดไว้
          4. เป็นความผิด แต่มีเหตุอันควรบรรเทาโทษ เพราะเป็นเรื่องภายในครอบครัว
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          การที่สามีทำร้ายร่างกายภรรยาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งภายในครอบครัว ถือว่าการกระทำนี้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย โดยกระทำผิดต่อร่างกาย คือการทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยเจตนา เป็นความผิดที่ยอมความกันไม่ได้ และกฎหมายมิได้ยกเว้นความผิดไว้
*********************************************
4. กฎหมายที่ใช้บังคับเฉพาะภายในเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย คือข้อใด
          1. เทศบัญญัติ ข้อบังคับ ข้อกำหนด
          2. ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ เทศบัญญัติ
          3. เทศบัญญัติ ข้อบังคับ ข้อกฎหมาย
          4. ข้อกำหนด เทศบัญญัติ ข้อกฎหมาย
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          กฎหมายที่ใช้บังคับเฉพาะภายในเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยคือ ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ และเทศบัญญัติ
          - ข้อบัญญัติ เป็นลักษณะรูปกฎหมายที่ใช้ในการปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เขตการปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
          - ข้อบังคับ เป็นลักษณะรูปกฎหมายที่ใช้ในองค์การบริหารส่วนตำบล
          - เทศบัญญัติ เป็นลักษณะรูปกฎหมายที่ใช้ในเขตเทศบาล
*********************************************
5. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คือข้อใด
          1. ตำรวจ อัยการ ศาล พนักงานบังคับคดี
          2. อัยการ พนักงานคุมประพฤติ ศาล พนักงานบังคับคดี
          3. ตำรวจ อัยการ พนักงานคุมประพฤติ ศาล
          4. ตำรวจ ทนายความ ศาล พนักงานบังคับคดี
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ได้แก่
          1. ประชาชน ซึ่งอาจเป็นผู้กระทำผิด หรือผู้เสียหาย
          2. พนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจ พนักงานฝ่ายปกครองคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง มีอำนาจสืบสวน จับกุม ป้องกันผู้กระทำความผิด
          3. พนักงานอัยการ หรือทนายแผ่นดิน เป็นผู้ดำเนินคดีทั้งหลายในนามของรัฐ มีหน้าที่สั่งฟ้องคดีต่าง ๆ 
          4. ทนายความ เป็นนักกฎหมายที่จดทะเบียนเป็นทนายความ แล้วทำหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงจากโจทย์หรือจำเลยเสนอต่อศาล
          5. ศาลยุติธรรม มีหน้าที่พิจารณาคดี ทั้งคดีแพ่งและอาญา
          6. พนักงานบังคับคดี ทำหน้าที่ปฏิบัติงานเมื่อคดีสิ้นสุดแล้ว โดยคดีแพ่งจะสิ้นสุดที่พนักงานบังคับคดี ส่วนคดีอาญาจะไปสิ้นสุดที่พนักงานราชทัณฑ์
*********************************************
6. ศาลในข้อใดจัดอยู่ในกลุ่มที่ถูกต้องตามลำดับชั้นของศาล
          1. ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลรัฐธรรมนูญ
          2. ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลรัฐธรรมนูญ
          3. ศาลล้มละลาย ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา
          4. ศาลปกครอง ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ลำดับชั้นของศาลแบ่งเป็น 3 ชั้นคือ
          1. ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลคดีเด็กและเยาวชน ศาลล้มละลาย ฯลฯ
          2. ศาลอุทธรณ์ เป็นศาลชั้นกลาง ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาที่อุทธรณ์มาจากศาลชั้นต้น
          3. ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุด ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีอำนาจพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาคดีไปแล้ว คดีที่ศาลฎีกาได้พิพากษาไปแล้วถือเป็นที่สุด
*********************************************
7. ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทใด ซึ่งบุคคลสามารถได้มาโดยไม่ต้องจดทะเบียนเพื่อคุ้มครองสิทธิ
          1. ลิขสิทธิ์
          2. สิทธิบัตร
          3. อนุสิทธิบัตร
          4. เครื่องหมายการค้า
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ได้มาจากการไปขอต่อสิทธิบัตรจากคนที่ได้จดทะเบียน เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิ และผู้ที่ได้รับสิทธิบัตรอาจจะยกเลิกอนุสิทธิบัตรเมื่อใดก็ได้
*********************************************
8. น่านน้ำที่เป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทยมีระยะทางยาวเท่าไรนับจากทะเลอาณาเขต
          1. 3 ไมล์ทะเล
          2. 12 ไมล์ทะเล
          3. 120 ไมล์ทะเล
          4. 188 ไมล์ทะเล
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          น่านน้ำ คือ พื้นน้ำที่อยู่ติดกับพื้นดิน โดยวัดออกไป 12 ไมล์ทะเล ส่วนเขตเศรษฐกิจจำเพาะเป็นเขตที่ต่อเนื่องออกไปจากทะเลอาณาเขต มีความกว้างนับจากเส้นฐานไม่เกิน 200 ไมล์ทะเล ดังนั้นน่านน้ำที่เป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทย จะมีระยะยาว 188 ไมล์ทะเล ซึ่งนับออกไปจากเขตน่านน้ำ
*********************************************
9. ข้อใดไม่ใช่การปกครองโดยคนส่วนน้อย
          1. คอมมิวนิสต์
          2. คณาธิปไตย
          3. อภิชนาธิปไตย
          4. สมบูรณาญาสิทธิราชย์
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          การปกครองโดยคนส่วนน้อย ได้แก่ 
          คอมมิวนิสต์ ซึ่งปกครองโดยกลุ่มพรรคการเมืองของคนส่วนน้อย 
          คณาธิปไตย เป็นการปกครองเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มคน 
          และอภิชนาธิปไตย เป็นการปกครองโดยกลุ่มคนส่วนน้อยที่มีฐานะสูงกว่าคนส่วนใหญ่ในสังคม 
          ซึ่งการปกครองทั้ง 3 ลักษณะนี้เป็นการปกครองโดยคนส่วนน้อย ส่วนการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ผู้มีอำนาจเพียงพระองค์เดียว
*********************************************
10. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ยึดถือหลักการตามข้อใด
          1. มนุษย์เกิดมาเพื่อรัฐ
          2. รัฐเกิดมาเพื่อมนุษย์
          3. มนุษย์เป็นเครื่องมือของรัฐ
          4. รัฐมีความสำคัญเท่าเทียมกับมนุษย์
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ยึดถือประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ ถือว่าประชาชนเป็นแหล่งที่มาของอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยผ่านสภาบันสภาผู้แทนราษฎร และพรรคการเมือง โดยยึดหลักเสียงข้างมาก หลักกฎหมายเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชน ดังนั้นความสัมพันธ์จึงเป็นในลักษณะที่รัฐเกิดมาเพื่อประชาชน (มนุษย์)
*********************************************
11. การปฏิวัติครั้งใดที่ไม่มีผลต่อแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงของไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 
          1. การปฏิวัติฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
          2. การปฏิวัติอเมริกา
          3. การปฏิวัติของซุน ยัดเซ็น
          4. การปฏิวัติของเหมา เจ๋อตุง
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          การปฏิวัติของเหมา เจ๋อตุง ไม่มีผลต่อแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 เพราะลักษณะการปกครองของเหมา เจ๋อตุง เป็นการปกครองที่ใช้ระบบคอมมิวนิสต์ซึ่งแตกต่างจากการปฏิวัติฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และการปฏิวัติของอเมริกา ซึ่งไทยได้นำแนวคิดในด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญมาใช้เป็นแนวทางในการปกครองแบบประชาธิปไตย ส่วนแนวคิดของ ดร.ซุน ยัดเซ็น ซึ่งรับมาจากสหภาพโซเวียต เป็นรูปแบบการปกครองแบบสังคมนิยม จึงไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง
*********************************************
12. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร แสดงให้เห็นถึงหลักการของระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยข้อใด
          1. หลักความเสมอภาคในทางการเมือง
          2. หลักสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
          3. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
          4. หลักภราดรภาพในทางการเมือง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แสดงให้เห็นถึงหลักการของระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยคือ หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นอำนาจที่มาจากประชาชน ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจในการปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเองโดยการออกเสียงเลือกตั้งตัวแทนที่อาสาจะเป็นผู้บริหารประเทศแทนประชาชนส่วนใหญ่ ตามระยะเวลาการเลือกตั้งที่แน่นอน
*********************************************
13. รัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบันกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามแบบใด
          1. 400 คน จากการแบ่งเขตเลือกตั้ง และ 100 คน จากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
          2. 400 คน จากการแบ่งเขตเลือกตั้ง และ 200 คน จากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
          3. 500 คน จากการแบ่งเขตเลือกตั้ง และ 100 คน จากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
          4. 500 คน จากการแบ่งเขตเลือกตั้ง และ 200 คน จากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          รัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบันกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 แบบด้วยกันคือ 
          1. การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 400 คน โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถลงคะแนนเสียงเลือกผุ้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งได้เขตละ 1 คน
          2. การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง โดยใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถลงคะแนนเสียงเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้นพรรคการเมืองละ 1 บัญชี ไม่เกินบัญชีละ 100 คน ถ้าหากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใดได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนคะแนนเสียงรวมทั้งประเทศ จะถือว่าไม่มีผู้ใดในบัญชีรายชื่อนั้นได้รับการเลือกตั้ง การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองจะเลือกจำนวน 100 คน
*********************************************
14. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะร่วมของมนุษย์กับสัตว์สังคมชนิดอื่น
          1. มีการจัดระเบียบทางสังคม
          2. มีระบบการสื่อสารระหว่างสมาชิก
          3. มีการกระทำระหว่างกันทางสังคม
          4. มีการจำแนกตำแหน่งหน้าที่ของสมาชิก
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ถึงแม้จะมีสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่ถือว่าเป็นสัตว์สังคมเช่นเดียวกับมนุษย์ แต่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากสัตว์อื่น ตรงที่มนุษย์มีความสามารถในการสร้างสรรค์ระเบียบทางสังคมขึ้นมาและดำเนินชีวิตตามระเบียบแบบแผนที่สร้างขั้นนั้น
*********************************************
15. ข้อใดไม่ใช่สถาบันสังคม
          1. ระบบความสัมพันธ์ของคนในสังคม
          2. กลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันเป็นเวลายาวนาน
          3. แบบแผนที่สังคมกำหนดขึ้นเพื้อเป็นแนวทางให้สมาชิกประพฤติปฏิบัติ
          4. ชุดของกฎเกณฑ์ที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ของบทบาทต่าง ๆ ในสังคม
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          สถาบันทางสังคม หมายถึง แนวทางปฏิบัติอันมีระเบียบแบบแผน ซึ่งบุคคลส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับปฏิบัติเพื่อประโยชน์ร่วมกันในสังคม โดยสถาบันทางสังคมจะเป็นบรรทัดฐานแห่งความคิดและการกระทำของสมาชิกในสังคมด้วย และสมาชิกในสังคมจะมีหน้าที่ดำเนินกิจกรรมหรือรักษาสถาบันให้คงอยู่ต่อไป
          ดังนั้นคำตอบข้อ 1, 2 และ 3 มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสถาบันทางสังคม ส่วนข้อ 4 ไม่ถูกต้อง เพราะชุดของกฎเกณฑ์ที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ของบทบาทต่าง ๆ ในสังคมเป็นสถานภาพและบทบาท มิใช่สถาบันทางสังคม
*********************************************
16. ข้อความใดเป็นหน้าที่โดยตรงของสถาบันศาสนา
          1. กำหนดสถานภาพและชนชั้นทางสังคม
          2. ทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
          3. ควบคุมสมาชิกให้ปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม
          4. ถ่ายทอดความรู้และวัฒนธรรมสำหรับการดำรงชีวิตร่วมกัน
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          สถาบันศาสนา เป็นสถาบันที่สำคัญต่อชุมชนมาก ควบคู่กับสถาบันครอบครัว เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในสังคม ทำหน้าที่คล้ายสถาบันครอบครัว คือมีส่วนในการอบรมสั่งสอนคนในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องความสงบสุขของสังคม
          ข้อ 1 ไม่ถูกต้อง เพราะสิ่งที่กำหนดสถานภาพและชนชั้นทางสังคมคือ สถาบันครอบครัว
          ข้อ 2 ถูกต้องที่สุด
          ข้อ 3 ไม่ถูกต้อง เพราะกฎหมายเป็นสิ่งที่ควบคุมสมาชิกให้ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม
          ข้อ 4 ไม่ถูกต้อง เพราะสถาบันการศึกษาเป็นสถาบันที่ทำให้คนรู้จักบรรทัดฐานของสังคม เรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในสังคม ถ่ายทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง
*********************************************
17. ปัจจัยในข้อใดมีบทบาทในการจัดระดับชนชั้นของสังคมไทยปัจจุบันน้อยที่สุด
          1. ชาติกำเนิด
          2. ระดับการศึกษา
          3. ความมั่งคั่งร่ำรวย
          4. ตำแหน่งหน้าที่การงาน
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ปัจจัยที่มีบทบาทในการจัดระดับชนชั้นของสังคมไทยมีหลายประการ นับตั้งแต่ชาติกำเนิด (วงศ์สุกล) ความมั่งคั่งร่ำรวย ระดับการศึกษา และหน้าที่การงาน แต่ปัจจัยที่มีบทบาทน้อยที่สุดก็คือ ชาติกำเนิด เพราะในอดีตเราอาจยกย่องในชาติกำเนิดวงศ์ตระกูล แต่เมื่อการศึกษาเข้ามามีบทบาทสำคัญ จึงช่วยในการยกระดับหน้าที่การงานและฐานะของบุคคลในสังคมให้ดีขึ้น
*********************************************
18. ข้อใดไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน
          1. ความสัมพันธ์เชิงพันธะสัญญา
          2. ความสัมพันธ์เฉพาะด้าน
          3. ความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ
          4. ความสัมพันธ์แบบทุติยภูมิ
เฉลยช้อ 3 เหตุผล
          ข้อความที่ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนคือ ความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ เพราะถ้าหากเป็นความสัมพันธ์ลักษณะนี้ จะต้องเป็นกลุ่มสมาชิกที่สนิทสนมคุ้นเคยกัน มีความผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น มีการพึ่งพาอาศัยกัน ร่วมทุกข์สุขด้วยกัน เช่น กลุ่มเพื่อน คนในครอบครัวเดียวกัน สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน เป็นความสัมพันธ์แบบทุติยภูมิ มีการติดต่อแบบเป็นทางการ สมาชิกติดต่อกันตามสถานภาพทางสังคม
*********************************************
19. ข้อใดเป็นลักษณะเฉพาะของสังคมชนบทไทย
          1. มีการกำหนดเขตการใช้พื้นที่
          2. มีลักษณะเป็นครอบครัวเดียว
          3. มีการลดลงของภาวะเจริญพันธุ์
          4. มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันของประชากร
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ลักษณะเฉพาะของสังคมชนบทไทยคือ มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันของประชากร กล่าวคือ ในชนบทเป็นสังคมเกษตรกรรม เพราะสมาชิกของสังคมส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบท และประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ทำให้วิถีชีวิตของคนชนบทส่วนใหญ่ยังคงผูกพันกับธรรมชาติ สมาชิกมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันฉันท์เครือญาติ
*********************************************
20. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยปัจจุบัน เนื่องมาจากสาเหตุในข้อใดมากที่สุด
          1. การปฏิรูปทางการเมือง
          2. การปฏิรูปทางการศึกษา
          3. บทบาทของสื่อมวลชน
          4. การรับวัฒนธรรมต่างชาติ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยในปัจจุบัน เกิดเนื่องมาจากการรับเอาวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาทำให้มีผลกระทบต่อสังคมไทยในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง และวิทยาการต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย และมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ
*********************************************
21. ข้อใดไม่ใช่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
          1. การไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
          2. การไม่นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้
          3. การปรับปรุงสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่เสื่อมโทรม
          4. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          การอนุรักษ์ หมายถึง การนำไปใช้ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ในระยะเวลาที่ยาวนานที่สุด โดยทำให้เกิดการสูญเปล่าน้อยที่สุด
          ดังนั้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจึงควรถนอมรักษาธรรมชาติดั้งเดิมไว้โดยใช้วิธีการแบบนิเวศพัฒนา โดยการรู้จักใช้ธรรมชาติอย่างเหมาะสม พยายามทำให้ธรรมชาติสูญเสียน้อยที่สุด และถ้ามีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องใช้ให้เกิดประโยชน์ที่คุ้มค่าที่สุด อีกทั้งจะต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่เสื่อมโทรมให้ฟื้นคืนสภาพ เช่น การปลูกป่าทดแทน การปรับปรุงคุณภาพของดิน น้ำ และอากาศ ฯลฯ ให้ดีขึ้น
*********************************************
22. เรื่องใดที่ศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีความเชื่อร่วมกัน
          1. อาตมัน
          2. พรหมลิขิต
          3. สังสารวัฏ
          4. การกลับชาติมาเกิด
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ยอมรับในเรื่องกรรมและการเกิดใหม่ เช่นเดียวกับศาสนาพราหมณ์แต่ข้อแตกต่างซึ่งทำให้เห็นจุดแยกของ 2 ศาสนานี้ได้ดีคือ มุมมองของศาสนาพราหมณ์ยอมรับว่าอาตมันใหญ่เป็นบ่อเกิดของชีวาตมัน (วิญญาณ) และเป็นจุดหมายของสิ่งทั้งปวง ส่วนศาสนาพุทธมีทัศนะในการมองโลกโดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักของไตรลักษณ์
*********************************************
23. การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หมายความว่าอย่างไร
          1. เพื่อให้เป็นผู้ประกาศศาสนา
          2. เพื่อช่วยเหลือผู้มีความทุกข์
          3. ทุกยุคทุกสมัยย่อมมีศาสนาเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
          4. มนุษย์มีศักยภาพสามารถรู้ความเจริญของธรรมชาติได้
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับมนุษย์ปุถุชนโดยทั่วไป แต่การที่พระองค์ทรงรู้จักใช้ปัญญาในการแสวงหาความรู้จริงของชีวิตและธรรมชาติจนสำเร็จมรรคผลนิพพาน ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการช่วยเหลือมนุษย์และผู้มีความทุกข์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์ ดังนั้นข้อที่ใกล้เคียงที่สุดคือ คำตอบข้อ 2
*********************************************
24. สำนวนข้อใดตรงกับความหมายของสัมมาทิฐิ
          1. ไม่เชื่ออย่าลบหลู่
          2. คนดีตกน้ำไม่ไหล
          3. สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ
          4. คนรวยทำอะไรก็ไม่น่าเกลียด
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          สัมมาทิฐิ เป็นส่วนหนึ่งของมรรค 8 อันเป็นแนวทางปฏิบัติไปสู่การดับทุกข์ ซึ่งหมายถึง การมีความรู้ถูกต้อง โดยเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวง และมิอาจทำดีโดยหวังผลจากบุคคล ไม่เป็นผู้มองสิ่งใดอย่างผิวเผิน แต่มีความคิดเป็นระบบ ตลอดจนมีสติสัมปชัญญะ ซึ่งน่าจะตรงกับการเป็นคนดี ซึ่งสามารถใช้สติปัญญาให้ผ่านพ้นอุปสรรคและอันตรายต่าง ๆ ได้
*********************************************
25. บาปกำเนิดในศาสนาคริสต์ หมายถึงอะไร
          1. ชาติก่อนทำบาปไว้ ชาตินี้จึงรับผลกรรม
          2. พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อชีวิตของเราทุกคนที่เกิดมา
          3. ทุกคนเกิดมาก็มีบาปแล้ว เพราะทุกคนมีกิเลส
          4. บรรพบุรุษของเราทำพฤติกรรมไม่ดีไว้ เราจึงได้รับผลไปด้วย
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          เรื่องบาปกำเนิดในศาสนาคริสต์ (Original Sin) เป็นความเชื่อของชาวคริสต์ที่เชื่อว่า หากบรรพบุรุษของเราทำพฤติกรรมไม่ดี หรือกระทำในสิ่งผิด (บาป = การกระทำผิดหลักคำสอนหรือข้อห้ามในศาสนา ความชั่ว ความมัวหมอง) บาปจะติดตัวเรา และส่งผลกับตัวเรา เราจะได้รับผลบาปนั้นไปด้วย และถ้าหากเราจะรอดพ้นจากบาปกำเนิดได้ จะต้องปฏิบัติตามคำสอนของพระเจ้าที่บัญญัติไว้ในไบเบิล หรือการปฏิบัติตามศีลศักดิ์สิทธิ์ (Sacrament) อันเป็นสื่อสัมพันธ์โดยองค์พระบุตรของพระเจ้า หรือองค์เยซู
*********************************************
26. นิกายซุนนีในศาสนาอิสลาม ถือว่าข้อใดสำคัญที่สุด
          1. อาลีบุตรเขยของพระมุฮัมมัด
          2. การปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามคำสอน
          3. พระอัลลอฮฺองค์เดียว
          4. การประกอบพิธีกรรม
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          นิกายซุนนี เป็นนิกายหนึ่งของศาสนาอิสลาม ซึ่งในภาษาอาหรับเรียกนิกายนี้ว่า "อะหฺลุสซฺนนะหฺวัลญะมาอะหฺ" แต่ในประเทศไทยเรียกสั้น ๆ ว่า ซุนนี ซึ่งมาจากคำว่า "ซุนนะหฺ" ซึ่งหมายถึง "จารีตที่นับถือกันมาแต่เดิม" อันได้แก่ จริยวัตร และคำพูด รวมทั้งคำชี้ขาดในปัญหาใดปัญหาหนึ่งของศาสดาซึ่งท่านรับรอง นิกายนี้จึงมีลักษณะแบบอนุรักษ์นิยม ดังนั้นการถือปฏิบัติตามคำสอนอย่างเคร่งครัดจึงถือว่าสำคัญที่สุดของนิกายซุนนีของศาสนาอิสลาม
*********************************************
27. สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือข้อใด
          1. ความไม่สมดุลระหว่างความต้องการกับจำนวนทรัพยากร
          2. การที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเอกชน
          3. การที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของประชากรได้
          4. ความขัดแย้งในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจเกิดจากความต้องการในการใช้ทรัพยากรของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด ในขณะที่ทรัพยากรนั้นมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างความต้องการของคนกับปริมาณทรัพยากร
*********************************************
28. การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคจะทำให้บุคคลมีความรู้ในเรื่องใด
          1. การผลิตโดยใช้ต้นทุนต่ำที่สุด
          2. การอธิบายสาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อได้
          3. การเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          4. การกำหนดราคาและปริมาณการผลิตที่จะทำให้ได้กำไรสูงสุด
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macro Economic Theory) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจมวลรวมระดับประเทศ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด รายได้ประชาชาติ อัตราการจ้างงานของประเทศ ดังนั้นบุคคลจะมีความรู้ในเรื่องการอธิบายสาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อได้
*********************************************
29. การตัดสินใจเลือกซื้อตู้เย็นแทนการไปเที่ยว ถือเป็นการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์เพราะเหตุใด
          1. ผู้บริโภคมีเงินจำนวนจำกัด
          2. ตู้เย็นเป็นของใช้ที่จำเป็นสำหรับครอบครัว
          3. การไปเที่ยวเป็นการใช้เงินที่ไม่เกิดประโยชน์
          4. ตู้เย็นใช้งานได้นานหลายปีเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          การตัดสินใจเลือกซื้อตู้เย็นแทนการไปเที่ยว ถือเป็นการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ที่ถูกต้อง เพราะตู้เย็นสามารถใช้งานได้นานหลายปี เป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากกว่าการไปเที่ยว ซึ่งเป็นการใช้เงินเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน เป็นการตอบสนองความพอใจของบุคคลเท่านั้น
*********************************************
30. ข้อใดไม่เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
          1. นาย ข. ซื้อจีวรไปถวายพระ
          2. นาย ค. นำผลไม้ไปแลกข้าวของนาย ง.
          3. นาย ก. ปลูกพืชผักสวนครัวหลังบ้าน
          4. นาย จ. ให้อุปกรณ์การศึกษาแก่นักเรียนยากจน
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          กระบวนการทางเศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมของมนุษย์ในการจัดสรรทรัพยากรอันมีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อการดำรงชีพที่เหมาะสม กิจกรรมทางเศรษฐกิจประกอบด้วยการผลิต การบริโภค การกระจาย และการแลกเปลี่ยน ดังนั้นคำตอบข้อ 1,2 และ 3 ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
*********************************************
31. โรงงานฟอกหนังแห่งหนึ่งก่อให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศ ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงได้รับความเดือดร้อน รัฐจะต้องดำเนินการอย่างไร เพื่อสวัสดิการที่ดีของสังคม
          1. สั่งปรับโรงงานเท่ากับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับสังคม
          2. สั่งปิดโรงงานอย่างถาวร แม้จะทำให้มีคนว่างงานเพิ่มขึ้นบ้างก็ตาม
          3. ปล่อยให้โรงงานทำการผลิตต่อไป โดยรัฐช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายตามความเป็นจริง
          4. สั่งปิดโรงงานชั่วคราว เพื่อให้โรงงานติดตั้งเครื่องกรองอากาศก่อน จึงจะให้ทำการผลิตต่อไปได้
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          เมื่อโรงงานฟอกหนังแห่งหนึ่งก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษทางอากาศ ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงได้รับความเดือดร้อน รัฐจะต้องดำเนินการสั่งปิดโรงงานชั่วคราว เพื่อให้โรงงานติดตั้งเครื่องกรองอากาศก่อน จึงจะให้ทำการผลิตต่อไปได้ นับว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการแก้ไขเพื่อให้เจ้าของกิจการมีความระมัดระวังในการประกอบกิจการ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม
*********************************************
32. ถ้าซื้อเส้นไหมมูลค่า 10,000 บาท มาทอเป็นผ้าไหม โดยเสียค่าใช้จ่ายในการทอ 2,000 บาท ทำให้ได้ผ้าไหมมูลค่า 15,000 บาท มูลค่าเพิ่มของการผลิตผ้าไหมคือข้อใด
          1. 2,000 บาท
          2. 3,000 บาท
          3. 5,000 บาท
          4. 7,000 บาท
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ในการผลิตผ้าไหม โดยมีปัจจัยการผลิตในทางเศรษฐศาสตร์คือ ทุน (หมายถึง เครื่องจักร วัตถุดิบ ในที่นี้คือการซื้อวัตถุดิบคือเส้นไหม) มูลค่า 10,000 บาท และแรงงาน (ประกอบด้วย แรงงานด้านแรงงานกายและกำลังสมอง) โดยเสียค่าแรงงานในการทอ 2,000 บาท ทำให้ราคาต้นทุนในการผลิตคือ 12,000 บาท ได้ผ้าไหมมีมูลค่า 15,000 บาท ดังนั้นมูลค่าเพิ่มของการผลิตผ้าไหมคือ 3,000 บาท
*********************************************
33. พืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด 4 ชนิดของประเทศไทย คือข้อใด
          1. ข้าว ยางพารา ข้าวโพด มันสำปะหลัง
          2. ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย
          3. อ้อย ข้าวโพด ยางพารา ข้าว
          4. มันสำปะหลัง อ้อย ข้าว ยางพารา
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          พืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย 4 อันดับ ได้แก่
          1. ข้าว 22.7%
          2. ยางพารา 28.4%
          3. ข้าวโพด 0.1%
          4. มันสำปะหลัง 9.2%
          (ข้อมูลการส่งออกสูงสุดของปี พ.ศ. 2539)
*********************************************
34. ตามกฎของอุปสงค์ ข้อใดคือปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผ้าไหมไทยของนางสาวฟ้า
          1. ราคาผ้าไหมไทย
          2. รายได้ของนางสาวฟ้า
          3. ความนิยมของสังคมที่มีต่อไหมไทย
          4. ความพอใจในผ้าไหมไทยมากกว่าผ้าชนิดอื่น
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ตามกฎของอุปสงค์ ถ้าราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ความต้องการซื้อสินค้าและบริการจะลดน้อยลง ถ้าราคาสินค้าและบริการลดลง ความต้องการซื้อสินค้าและบริการจะสูงขึ้น ดังนั้นปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผ้าไหมไทยของนางสาวฟ้าจึงขึ้นอยู่กับราคาของผ้าไหมไทยเพราะตามกฎราคาของสินค้าย่อมมีผลของอุปสงค์
*********************************************
35. เส้นอุปสงค์ต่อสินค้าจะบอกให้รู้สิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
          1. ราคาสูงสุดที่ผู้บริโภคยินดีจ่ายสำหรับสินค้าแต่ละหน่วย
          2. จำนวนสินค้าที่ผู้บริโภคซื้อได้จากเงินทั้งหมดที่มีอยู่
          3. จำนวนเงินที่ผู้บริโภคต้องจ่ายสำหรับการซื้อสินค้าแต่ละจำนวน
          4. ความพอใจสูงสุดที่ผู้บริโภคได้รับจากสินค้าแต่ละหน่วย
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          เส้นอุปสงค์ต่อสินค้า สามารถบอกให้ทราบถึงสิ่งต่าง ๆ ในคำตอบข้อ 1, 2 และ 3 คือ ราคาสินค้าจะแปรผกผันกับอุปสงค์ จำนวนสินค้าหรือปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคซื้อจากเงินทั้งหมดที่มีอยู่ และจำนวนเงินที่ผู้บริโภคจะต้องจ่ายสำหรับการซื้อสินค้าแต่ละจำนวน ส่วนคำตอบข้อ 4 เส้นอุปสงค์ไม่สามารถบอกให้ทราบถึงความพอใจของผู้บริโภคที่ได้รับจากสินค้า
*********************************************
36. ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบจากการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาล
          1. อุปทานสินค้ามีแนวโน้มลดลง
          2. อุปสงค์สินค้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
          3. อุปทานแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
          4. อุปสงค์แรงงานมีแนวโน้มลดลง
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ผลกระทบจากการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาลคือ ทำให้อุปทานสินค้าเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากแรงงานได้รับค่าจ้างแรงงานมากขึ้น ก็ย่อมมีอุปสงค์ต่อสินค้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากระดับรายได้กับปริมาณของอุปสงค์ย่อมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนอุปทานก็ย่อมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะประชาชนอยากทำงานมากขึ้น ในขณะที่อุปสงค์แรงงาน หรือปริมาณความต้องการแรงงานในตลาดมีแนวโน้มลดลงอันเนื่องมาจากอัตราค่าจ้าง
*********************************************
37. ถ้ารายได้จากการลงทุนในต่างประเทศของคนไทยน้อยกว่ารายได้ของชาวต่างประเทศที่มาลงทุนในประเทศไทยจะเกิดผลอย่างไร
          1. ประเทศไทยจะมี GDP ลดลง
          2. ประเทศไทยจะมี GDP สูงกว่า GNP 
          3. ประเทศไทยจะมีการลงทุนในประเทศสูงขึ้น
          4. ประเทศไทยจะมีดุลบัญชีทุนสูงกว่าดุลบัญชีเดินสะพัด
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ถ้ารายได้จากการลงทุนในต่างประเทศของคนไทยน้อยกว่ารายได้ของชาวต่างประเทศที่มาลงทุนในประเทศไทย จะส่งผลให้ประเทศไทยมี GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งหมายถึงรายได้ของคนไทยและคนต่างชาติในประเทศจะสูงกว่า GNP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หมายถึงรายได้ของคนไทยในประเทศไทย และรายได้ของคนไทยในต่างประเทศจะแสดงให้เห็นว่ารายได้ของคนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (GNP) น้อยกว่ารายได้ของชาวต่างประเทศที่มาลงทุนในไทย
*********************************************
38. ข้อใดไม่ใช่ผลจากการที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
          1. การกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น
          2. ค่าครองชีพของประชาชนสูงขึ้น
          3. อำนาจซื้อของเงิน 1 หน่วยลดลง
          4. ลูกหนี้ที่ทำสัญญากู้เงินระยะยาวจะเสียเปรียบเจ้าหนี้
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ผลจากการที่ระดับสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราค่าครองชีพของประชาชนในการใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตสูงขึ้น ทำให้อำนาจการซื้อของเงิน 1 หน่วยลดลง นั่นคือ เงินหน่วยเดิมไม่สามารถซื้อสินค้าในปริมาณเดิมได้ แต่สังคมในกรณีของลูกหนี้ที่สัญญากู้เงินระยะยาวจะได้เปรียบเจ้าหนี้
***********************************************************************************
39. ถ้าดุลการค้าและดุลบริการขาดดุล แต่ดุลการชำระเงินเกินดุล ข้อใดถูกต้อง
          1. เงินตราต่างประเทศไหลออกมากขึ้น
          2. ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น
          3. บัญชีเดินสะพัดและบัญชีเงินบริจาคเกินดุล
          4. ยอดรวมทางด้านเดบิตในบัญชีเดินสะพัดและบัญชีทุนสูงกว่ายอดรวมทางด้านเครดิตของบัญชีทั้งสอง
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ถ้าดุลการค้าและดุลบริการขาดดุล แต่ดุลการชำระเงินเกินดุล ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วย ตามเหตุผลที่ว่าดุลการชำระเงินกับทุนสำรองระหว่างประเทศจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันเสมอ
*********************************************
40. มาตรการใดไม่ใช่มาตรการที่รัฐใช้แก้ปัญหาการที่ธนาคารพาณิชย์มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงถึงร้อยละ 60 ของปริมาณหนี้ทั้งหมด
          1. ให้กันสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน
          2. แยกการบริหารสินเชื่อที่ไม่ดี และสินเชื่อที่ดีออกจากกัน
          3. ให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นกรณีพิเศษ
          4. ให้ธนาคารพาณิชย์ทำการประนอมหนี้กับลูกหนี้ที่มีปัญหา
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          มาตรการที่รัฐใช้แก้ปัญหาการที่ธนาคารพาณิชย์มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงถึงร้อยละ 60 ของปริมาณหนี้ทั้งหมดคือ การแยกบริหารสินเชื่อที่ไม่ดีและสินเชื่อที่ดีออกจากกัน ซึ่งได้มีการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติขึ้นมา ตลอดจนการให้ธนาคารพาณิชย์ทำการประนีประนอมกับลูกหนี้ที่ก่อปัญหา ยกเว้นการใช้มาตรการให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
*********************************************
41. เหตุใดแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง ชี และมูล จึงมีโค้งตวัดมาก
          1. เพราะไหลผ่านพื้นดินตะกอนเก่า การกัดกร่อนด้านลึกมีมากกว่าด้านข้าง
          2. เพราะไหลผ่านพื้นดินร่วน การกัดกร่อนด้านข้างมีมากกว่าด้านลึก
          3. เพราะไหลผ่านที่ราบที่มีระดับความสูงใกล้ระดับทะเลปานกลาง
          4. เพราะไหลผ่านที่ราบ การกัดกร่อนด้านข้างมีมากกว่าด้านลึก
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง ชี และมูล เป็นแม่น้ำที่มีโค้งตวัดมาก ทั้งนี้เพราะกระแสน้ำในแม่น้ำที่อยู่ในพื้นที่ราบจะไหลช้ากว่ากระแสน้ำในแม่น้ำที่มีพื้นที่ลาดชัดกว่า เป็นผลให้แม่น้ำเกิดการคดเคี้ยวมากขึ้น และการคดโค้งของแม่น้ำยังเกิดจากการกัดเซาะด้านนอกของโค้งแม่น้ำจนนำมาทับถมด้านในของแม่น้ำจนเป็นรอยโค้งที่มีลักษณะคล้ายห่วง
*********************************************
42. ปรากฏการณ์ทางกายภาพใดที่ทำให้ฝนตกในชุมชนเมืองของประเทศไทยมากกว่าชนบทโดยรอบ
          1. การยกตัวของอากาศในชุมชนเมือง
          2. การจมตัวของอากาศเหนือชุมชนเมือง
          3. เมืองมีอาคารสูงทำให้เกิดฝนแบบปะทะภูเขา
          4. เมืองมีฝุ่นละอองมากทำให้ไอน้ำกลั่นตัวได้ง่าย
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ปรากฏการณ์ทางกายภาพที่ทำให้ฝนตกในชุมชนเมืองของประเทศไทยมากกว่าชนบทโดยรอบ เพราะชุมชนเมืองมีความหนาแน่นของผู้คน สิ่งมีชีวิต ตึกรามบ้านช่อง รถราต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มปริมาณความร้อนในอากาศ ทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 3 - 5 องศาเซลเซียส และก่อให้มีลักษณะหลังคาฝุ่น (Dust Dome) อนุภาคของฝุ่นจะเป็นแกนทำให้หยดน้ำเล็ก ๆ ในอากาศมายึดเกาะ จึงทำให้ปริมาณของฝนที่ตกในตัวเมืองมีมากกว่าชนบทโดยรอบ ซึ่งชนบทจะมีความสะอาดของน้ำฝนมากกว่าฝนที่ตกในเมือง
*********************************************
43. ภูมิประเทศบนโครงสร้างหินแกรนิต หินปูน และหินทราย มีรูปทรงแบบใดตามลำดับ
          1. เขารูปโดมลาดนูน เขายอดป้าน เขายอดแหลมหลายยอด
          2. เขายอดป้าน เขารูปโดมลาดเว้า เขายอดแหลมหลายยอด
          3. เขารูปโดมลาดนูน เขายอดแหลมหลายยอด เขายอดป้าน
          4. เขารูปโดมหลายยอด เขารูปโดมลาดเว้า เขายอดป้าน
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          - ภูเขารูปโดม (Domed Mountains) เป็นภูเขาไฟชนิดหนึ่ง มักเกิดเป็นลูกโดดซึ่งเกิดจากการดันตัวของหินหนืดไม่พ้นผิวโลกก็เย็นตัวลงเสียก่อน เวลาผ่านไปทำให้ภูมิประเทศสึกกร่อนลดระดับลง แต่ภูเขารูปโดมเป็นหินอัคนี ทำให้ยากแก่การสึกกร่อน จึงมีลักษณะแบบกองหินลาดนูน เป็นภูเขาโดดหรือหินโผล่ (Rock Out Crop)
          - ภูเขายอดแหลมหลายยอด เป็นภูเขาหินปูนซึ่งโดนตัวกระทำคือน้ำฝนที่มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ กัดกร่อนจนยอดเขาเว้าแหว่งเป็นยอดแหลมหลาย ๆ ยอด
          - ภูเขายอดป้าน เป็นภูเขาหินทรายซึ่งมีชั้นหินวางตัวในแนวนอน ต่อมาพื้นที่โดยรอบถูกตัวการธรรมชาติ เช่น ลม แม่น้ำ กัดเซาะทำให้สูญเสียพื้นที่โดยรอบ ทำให้เกิดเป็นภูเขายอดป้าน
*********************************************
44. ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุมเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ใดในประเทศไทยมากที่สุด
          1. การเปลี่ยนอุณหภูมิตามอิทธิพลลมมรสุม
          2. ช่วงฝนตกชุกในเดือนพฤษภาคมและเดือนกันยายน
          3. การได้รับแสงอาทิตย์เข้มข้นในเดือนเมษายนและเดือนสิงหาคม
          4. การเปลี่ยนแปลงทางเดินของพายุหมุนจากมหาสมุทรแปซิฟิกสลับมหาสมุทรอินเดีย
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุม (Monsoon Trough) หรือแนวปะทะลมร้อน (Intertropical Convergence Zone) เกิดขึ้นจากการปะทะกันระหว่างมวลอากาศจากมรสุมฤดูร้อน และมวลอากาศมรสุมฤดูหนาว ทำให้เกิดเป็นร่องหรือแนวของอากาศสองกระแส ซึ่งมีความกว้างเปลี่ยนแปลงไปตามความแรงของลมทั้งสองทิศทาง หากลมทั้งสองด้านมีกำลังพัดรุนแรง ร่องนี้จะแคบทำให้เกิดอากาศแปรปรวนมีเมฆฝนมาก และถ้ามวลอากาศทั้งสองด้านมีกำลังอ่อนด้วยกัน การปะทะของกระแสลมก็ไม่รุนแรง มีแนวกว้าง ร่องมรสุมนี้จะพาดผ่านมายังประเทศในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม - กลางเดือนตุลาคม
*********************************************
45. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับแร่ดีบุก
          1. มีมากที่สุดในภาคเหนือ รองลงมาคือภาคใต้
          2. ภาคตะวันตกมีมากที่จังหวัดกาญจนบุรี และมีปริมาณการผลิตสูงสุดต่อปีเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น
          3. ในภาคใต้ แร่ดีบุกส่วนใหญ่แทรกอยู่ในชั้นหินแปร
          4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกไม่มีแหล่งแร่ดีบุก
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          แร่ดีบุก พบมากในภาคใต้ทุกจังหวัด กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี อุทัยธานี กำแพงเพชร ตาก เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย และแม่ฮ่องสอน แต่ไม่พบแร่ดีบุกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก
*********************************************
46. ข้อใดถูกต้องสำหรับเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนปากมูล
          1. เขื่อนทั้งสองมีบันไดปลาโจน
          2. เขื่อนศรีนครินทร์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าเขื่อนปากมูล
          3. ชุมชนเหนือเขื่อนศรีนครินทร์ประสบอุทกภัยบ่อยครั้งกว่าเขื่อนปากมูล
          4. เกิดมลพิษทางน้ำจากชุมชนเหนือเขื่อนทั้งสอง
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          คำตอบข้อ 2 ถูกต้อง เพราะลักษณะของเขื่อนศรีนครินทร์เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ สามารถกักเก็บน้ำไว้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณปีละ 1,320 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง ส่วนเขื่อนปากมูลเป็นเขื่อนดินมีลักษณะเป็นเขื่อนทดน้ำ เพื่อใช้ในการชลประทาน แต่ก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณปีละ 560 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง
*********************************************************
47. การแพร่กระจายของดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นผลจากกิจกรรมใดของมนุษย์
          1. การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ภาวะน้ำท่วมขยายตัว
          2. การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากเกินไป ทำให้ผิวดินทรุดตัว
          3. การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ ทำให้ระดับน้ำใต้ดินสูงขึ้น
          4. การใช้ที่ดินผิดวิธี ทำให้น้ำระเหยจากผิวดินมากขึ้น
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          การแพร่กระจายของดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีชั้นเกลืออยู่ใต้ผิวดิน และผลจากการทำนาเกลือด้วยวิธีการตาก ทำให้น้ำเกลือไหลลงสู่ดินทำให้เกิดดินเค็ม อีกทั้งผลของการจัดระบบชลประทานเช่น การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำโดยไม่ศึกษาให้ดี เนื่องจากการสร้างอ่างเก็บน้ำในบริเวณแหล่งเกลือหิน ทำให้น้ำซึมลงไปในชั้นเกลือที่อยู่ใต้ดินเพื่อไปละลายเกลือ น้ำที่มีเกลือผสมอยู่นี้จะดันให้น้ำใต้ดินมีระดับสูงขึ้น พร้อมกับนำเอาเกลือที่ละลายมาสู่ผิวดิน เมื่อน้ำระเหยดินก็จะกลายเป็นดินเค็ม
*********************************************
48. ข้อใดถูกต้องสำหรับป่าไม้ผลัดใบในประเทศไทย
          1. ภาคใต้ไม่มีป่าไม้ผลัดใบ เพราะฝนตกชุก
          2. ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่มีป่าไม้ผลัดใบ เพราะฝนตกหนักเป็นช่วง
          3. ภาคใต้มีป่าไม้ผลัดใบ เพราะมีช่วงแล้งสั้น ๆ 
          4. ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่มีไม้ผลัดใบ เพราะมีภูเขาสูง
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ป่าไม้ผลัดใบในประเทศไทย มักพบในพื้นที่ที่มีฤดูฝนและฤดูแล้งชัดเจน เพราะไม้ในป่าจะผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง ลักษณะของป่าไม้ผลัดใบจะเป็นป่าโปร่ง ต้นไม้ไม่ขึ้นหนาทึบ ป่าผลัดใบจะพบในป่าไม้ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันตก แต่จะไม่พบป่าผลัดใบในภาคใต้และภาคตะวันออก เพราะภูมิอากาศมีความชุ่มชื้น และปริมาณฝนตกชุกตลอดปี
*********************************************
49. ในเขตร้อนชื้นดินมีการสูญเสียธาตุอาหารเร็วเกินไปเนื่องจากสาเหตุใด
          1. ฝนตกชุก หน้าดินถูกชะล้างอย่างรวดเร็ว
          2. ฝนตกชุก ดินกรดถูกชะล้างอย่างรวดเร็ว
          3. ซากพืชทับถมย่อยสลายช้า ถูกน้ำพัดพาไปจากหน้าดิน
          4. ซากพืชทับถมย่อยสลายช้า ถูกแสงแดดทำลายธาตุอาหารบริเวณหน้าดิน
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงเกือบตลอดปี แต่จะมีฝนตกมาก จะช่วยให้การสลายอินทรีย์วัตถุเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็ทำให้เกิดการชะล้างแร่ธาตุต่าง ๆ บริเวณผิวดินลงสู่ชั้นใต้ดิน ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
*********************************************
50. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับประชากรของประเทศ
          1. ภาคเหนือ จังหวัดส่วนใหญ่มีประชากรน้อยกว่า 5 แสนคน
          2. ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก มีจำนวนประชากรใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่ย้ายถิ่นมาจากภาคกลาง
          3. ภาคใต้ มีการย้ายถิ่นอยู่เสมอ เนื่องจากมีอุทกภัยบ่อยครั้ง
          4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนจังหวัดที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคนมากที่สุด
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประชากรประมาณ 21 ล้านคน ซึ่งจังหวัดที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคนคือ 9 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด อุดรธานี บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และสุรินทร์
          - ภาคเหนือ มีประชากรประมาณ 6 ล้านคน จังหวัดที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน มี 2 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ และเชียงราย
          - ภาคกลาง มีประชากรหนาแน่นต่อพื้นที่มากที่สุดกว่าทุกภาค ประชากรจะอาศัยอยู่มากบริเวณที่ราบลุ่มทางตอนล่างของภาคในเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยา ซึ่งกรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุด
          - ภาคใต้ มีประชากรประมาณ 8 ล้านคน หรือร้อยละ 13 ของประเทศ ความหนาแน่นของประชากร 114 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชมีประชากรมากที่สุด
*********************************************
51. การเปลี่ยนแปลงของครอบครัวชนบทไทยเป็นผลมาจากปัจจัยใดมากที่สุด
          1. ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในชนบทลดลงอย่างมาก
          2. การย้ายถิ่นของแรงงานชนบทเข้าไปหางานทำในชุมชนเมือง
          3. นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมกว้านซื้อที่ดินในชนบท
          4. รัฐบาลมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศในภาคอุตสาหกรรมและชุมชนเมืองมากเกินไป
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          การเปลี่ยนแปลงของครอบครัวชนบทไทย เป็นผลมาจากรัฐบาลให้ความสำคัญและมุ่งเน้นกับการพัฒนาประเทศในด้านอุตสาหกรรมและชุมชนเมืองมากเกินไป ทำให้มีการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีชาวชนบทอพยพมาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมและในเมือง โดยเฉพาะคนวัยหนุ่มสาวที่เข้ามาขายแรงงาน ทำให้ชนบทขาดแคลนแรงงานทางเกษตร ปล่อยให้ผู้สูงอายุและเด็กต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว
*********************************************
52. ปัจจัยหลักที่ทำให้ภาคตะวันออกเป็นเขตปลูกไม้ผล คือข้อใด
          1. เป็นที่ราบลอนลาด มีดินอุดมสมบูรณ์
          2. อุณหภูมิเฉลี่ยในระดับปานกลางตลอดปี
          3. เป็นที่ราบดินตะกอนน้ำทะเลที่มีอาหารพืชสูง
          4. มีฝนตกชุก น้ำไม่ท่วมขัง
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ปัจจัยหลักที่ทำให้ภาคตะวันออกเป็นเขตปลูกไม้ผลคือ ลักษณะภูมิประเทศในบริเวณเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ และที่ราบลูกฟูก มีลักษณะเป็นที่ราบดินตะกอนที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นที่มีเขตฝนตกชุก สำหรับผลไม้ที่นิยมปลูกคือ เงาะ ทุเรียน ลางสาด ขนุน ฯลฯ
*********************************************
53. ลักษณะการประกอบอาชีพของประชากรในภาคใดถูกต้อง
          1. ภาคใต้ไม่สามารถปลูกพืชไร่ได้ เพราะฝนตกชุกและฤดูฝนยาวนาน
          2. ภาคตะวันตกนิยมปลูกพืชไร่ และมีรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอันดับรอง
          3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีดินเลวไม่เอื้อต่อการเพาะปลูก การเกษตรแบบยังชีพจึงเป็นทางเลือกที่ดี
          4. ภาคเหนือมีพื้นที่เพาะปลูกจำกัด อาชีพของประชากรส่วนใหญ่จึงเน้นการท่องเที่ยว
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ภาคตะวันตก มีภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะสำหรับการทำเกษตรแบบพืชไร่ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด และข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ปลูกได้มากที่สุดในบริเวณภาคตะวันตก และในภาคตะวันตกยังมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญซึ่งทำรายได้เป็นอันดับรองลงมาจากการทำการเกษตร เช่น สะพานข้ามแม่น้ำแคว ปราสาทเมืองสิงห์ พระนครคีรี ตลาดน้ำดำเนินสะดวก น้ำตกเอราวัณ น้ำตกไทรโยค เขื่อนเขาแหลม ฯลฯ
*********************************************
54. ขั้นตอนใดสำคัญที่สุดตามระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์
          1. วิเคราะห์ข้อเท็จจริง
          2. ทดลองและทดสอบความถูกต้อง
          3. ตั้งข้อสังเกตจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ
          4. กำหนดสมมติฐานเพื่ออธิบาปรากฏการณ์
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญดังนี้
          1. การตั้งปัญหา
          2. การตั้งสมมติฐาน
          3. การค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
          4. การทำการทดลอง
          5. การสรุปผล
          ในการได้มาซึ่งความรู้ใหม่จะต้องใช้กระบวนการสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้อย่างมีขั้นตอนและสำหรับขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือ การทดลองและตรวจสอบความถูกต้องของสมมติฐานที่ตั้งไว้ เช่น การค้นพบกฎแห่งความโน้มถ่วงของเซอร์ ไอแซค นิวตัน
*********************************************
55. เหตุการณ์ใดเริ่มทำให้โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคใหม่
          1. การปฏิวัติวิทยาศาสตร์
          2. การปฏิวัติเกษตรกรรม
          3. การปฏิวัติอุตสาหกรรม
          4. การปฏิวัติคอมพิวเตอร์
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ทำให้มนุษย์เริ่มตระหนักถึงลักษณะของความรู้ที่ไม่มีขอบเขต ความเชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ และการจะเชื่อถือสิ่งใดที่เป็นวิทยาศาสตร์จะต้องผ่านการตรวจสอบ โดยใช้วิธีการสังเกตและทดลอง มีการค้นพบและการประยุกต์วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ จนทำให้เกิดการศึกษาค้นคว้าความรู้แนวใหม่ ๆ ในช่วงนี้จึงมีผู้ให้สมญานามว่า เป็นยุคแห่งอัจฉริยะ ทำให้การค้นคว้าวิทยาศาสตร์ขยายตัวก้าวหน้าอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
*********************************************
56. ข้อใดไม่ใช่ผลงานของกาลิเลโอ
          1. พบดาวบริวารของดาวเสาร์
          2. พิสูจน์กฏแห่งความโน้มถ่วงของโลก
          3. สร้างกล้องโทรทัศน์ที่มีประสิทธิภาพ
          4. เผยแพร่ทฤษฎีสุริยจักรวาล
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          กาลิเลโอ กาลิเลอี เป็นผู้พิสูจน์ให้เห็นกฏแห่งความโน้มถ่วง และสามารถสร้างกล้องโทรทรรศน์ได้สำเร็จ ทำให้ขอบเขตความรู้ของมนุษย์เกี่ยวกับโลกและจักรวาลกว้างขวางยิ่งขึ้น และเป็นการยืนยันความถูกต้องของระบบสุริยจักรวาลที่โคเปอร์นิคัสค้นพบ ในการสร้างกล้องโทรทรรศน์เพื่อศึกษาทางดาราศาสตร์จนพบข้อเท็จจริงใหม่ ๆ เช่น ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี และวงแหวนของดาวเสาร์
*********************************************
57. ประเทศด้อยพัฒนาให้ความสำคัญในเรื่องใดน้อยที่สุด
          1. การสร้างอำนาจทางการเมือง
          2. การพัฒนาทางเทคโนโลยี
          3. การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ
          4. การสร้างความมั่นคงทางการทหาร
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          แนวทางในการพัฒนาประเทศ มุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยี ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และมุ่งสร้างดุลยภาพทางการเมืองภายในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ไม่เน้นการสร้างความมั่นคงทางการทหาร
*********************************************
58. ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลกระทบต่อองค์ประกอบด้านประชากรของไทยอย่างไร
          1. เพิ่มจำนวนคนว่างงาน
          2. ลดจำนวนคนภาคเกษตรกรรม
          3. สัดส่วนคนมีความรู้มากขึ้น
          4. สัดส่วนผู้สูงอายุมีมากขึ้น
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลกระทบต่อองค์ประกอบด้านประชากรของไทยอันจะทำให้อัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรในประเทศไทยลดลง ทำให้มีสัดส่วนประชากรในวัยเด็กและผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
*********************************************
59. ยุทธศาสตร์ทางการเมืองของโลกในรูปแบบ 3 ขั้วอำนาจนั้น คำว่า 3 ขั้วอำนาจก่อนสหภาพโซเวียตจะล่มสลายหมายถึงประเทศใด
          1. สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต อังกฤษ
          2. อังกฤษ สหภาพโซเวียต เยอรมนี
          3. สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต สาธารณรัฐประชาชนจีน
          4. สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต สหภาพยุโรป
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          โลกในยุคสงครามเย็น เป็นภาวะที่ประเทศมหาอำนาจฝ่ายโลกเสรี (สหรัฐอเมริกา) กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ (สหภาพโซเวียต) ต้องเผชิญหน้ากัน มีปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ และความแตกต่างทั้งหมดทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม และสาเหตุที่สงครามเย็นสิ้นสุดลงก็เพราะการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในค่ายคอมมิวนิสต์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำของสหภาพโซเวียตประกอบกับมีการแข่งขันกันทางด้านเศรษฐกิจ เพราะประเทศสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตต่างประสบปัญหาความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยลดงบประมาณด้านการทหาร การล่มสลายของสหภาพโซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์ยุโรปตะวันออกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขนานใหญ่ในค่ายคอมมิวนิสต์ นับตั้งแต่การรวมเยอรมนีให้เป็นประเทศเดียวกัน การแยกตัวเป็นเอกราชของรัฐต่าง ๆ ในสหภาพโซเวียต และการสิ้นสุดอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกเป็นผลให้อำนาจของฝ่ายคอมมิวนิสต์ลดลงแม้แต่สหภาพโซเวียต ซึ่งหันมาปฏิรูปบ้านเมืองตามแนวทางประชาธิปไตย ได้พยายามสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศโลกเสรีมากขึ้น ทำให้ยุคของสงครามเย็นสิ้นสุดลง
*********************************************
60. อังค์ถัด (UNCTAD) มีหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องใดขององค์การสหประชาชาติ
          1. จัดประชุมว่าด้วยการค้าและการพัฒนาระหว่างประเทศ
          2. จัดประชุมแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงระหว่างประเทศ
          3. จัดประชุมแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงระหว่างประเทศในเอเชียและแปซิฟิก
          4. จัดประชุมว่าด้วยการค้าและการพัฒนาระหว่างประเทศในเอเชียและแปซิฟิก
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและพัฒนา หรืออังค์ถัด (United Nation Conference on Trade and Development : UNCTAD) ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1964 เพื่อปกป้องประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกัน วางหลักการและนโยบาย เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางความร่วมมือทางการค้าของรัฐบาลต่าง ๆ 
*********************************************
61. ประเทศไทยจะต้องพัฒนาการเมืองให้สอดคล้องกับการแข่งขัน และการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศในยุคปัจจุบันอย่างไร
          1. มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
          2. เสริมกำลังทหารให้เข้มแข็งเพื่อถ่วงดุลเพื่อนบ้าน
          3. สามารถใช้กำลังทหารได้เมื่อประชาธิปไตยถูกคุกคาม
          4. มีการเลือกตั้งในทุกระดับทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ประเทศไทยจะต้องพัฒนาการเมืองให้สอดคล้องกับการแข่งขันและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศในยุคปัจจุบันได้โดยการแสวงหาแนวทางป้องกัน และการสร้างดุลอำนาจระหว่างประเทศเพื่อป้องกันมิให้ชาติหนึ่งใช้กำลังทหารเข้ารุกรานชาติอื่น
*********************************************
62. ข้อความใดไม่ถูกต้อง
          1. ปัญหาความขัดแย้งไม่จำเป็นต้องเกิดจากความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
          2. ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่สำคัญหลายกรณีเกิดจากความแตกต่างทางศาสนา
          3. ความขัดแย้งทางการเมืองที่สำคัญเกิดจากการยึดมั่นในอุดมการณ์
          4. ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมเกิดจากความแตกต่างทางเชื้อชาติ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ความขัดแย้งเกิดจากหลายสาเหตุดังนี้
          1. ด้านเศรษฐกิจ เกิดจากการแก่งแย่งแข่งขัน ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดและไม่เพียงพอกับความต้องการของประเทศ
          2. ด้านการเมือง เกิดจากการยึดมั่นในอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศขึ้น
          3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม เกิดจากความแตกต่างในเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ภาษา และความเชื่อทางศาสนา
          4. ด้านจิตวิทยา เกิดจากความต้องการของผู้นำที่จะขยายอำนาจของตนออกไปให้กว้างใหญ่ไพศาล
*********************************************
63. เหตุผลใดสำคัญที่สุด ที่ทำให้เกิดความแตกต่างทางความเชื่อใน "บริเวณวัฒนธรรม" ที่แตกต่างกัน
          1. สภาพภูมิศาสตร์
          2. เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์
          3. รูปแบบทางเศรษฐกิจ
          4. การสั่งสมความรู้จากบรรพบุรุษ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          บริเวณวัฒนธรรม (Culture Area) หมายถึง พื้นที่หนึ่งซึ่งมีวัฒนธรรมเด่นเฉพาะตัวที่เรียกว่ามีลักษณะเฉพาะ หรือเป็นเอกลักษณ์ครอบคลุมอยู่ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความแตกต่างทางความเชื่อใน "บริเวณวัฒนธรรม" ที่แตกต่างกันคือ การได้รับการสั่งสมความรู้จากบรรพบุรุษ
*********************************************
64. ความขัดแย้งทางความเชื่อและค่านิยมก่อให้เกิดผลอย่างไร
          1. ทำให้คนยอมรับเสรีภาพทางความคิดมากขึ้น
          2. มีการประสานประโยชน์ต่อกันหลังจากเกิดความขัดแย้ง
          3. กระทบต่อความมั่นคงของชาติและความสามัคคีของคนในชาติ
          4. มีความหลากหลายทางความคิดและได้แนวคิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ความเชื่อ หมายถึง สิ่งที่มนุษย์แต่ละคนหรือแต่ละสังคมยึดถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด ซึ่งมักจะแสดงออกในรูปของความเชื่อทางศาสนาที่นับถือแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้วความเชื่อจะฝังอยู่ในจิตใจของมนุษย์แต่ละคน ดังนั้นความเชื่อจึงเป็นสิ่งที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดของตนเองและสังคม จนเป็นความยึดมั่นและยอมรับ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็ได้
          ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สนใจหรือปรารถนาจะได้ ซึ่งมักจะเป็นรูปแบบของความคิดที่ติดอยู่ในใจของคนไทยในสังคม และเป็นแนวทางที่มนุษย์ยึดถือไว้เพื่อประพฤติปฏิบัติตาม ดังนั้นค่านิยมของสังคมจึงเป็นตัวกำหนดว่าสิ่งนั้นถูกหรือสิ่งนั้นผิด เป็นต้น ค่านิยมโดยทั่วไปแบ่งออก 2 ชนิด ได้แก่ ค่านิยมส่วนตัว และค่านิยมของสังคม ซึ่งบุคคลแต่ละคนจะมีทั้งค่านิยมส่วนบุคคลและค่านิยมของสังคมอยู่ด้วยกันเสมอ
          ผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งทางความเชื่อและค่านิยม ทำให้มีผลต่อความมั่นคงของประเทศได้แก่ ความขัดแย้งในค่านิยมทางการเมือง ทำให้สูญเสียงบประมาณของประเทศ และเกิดการแบ่งแยกของผู้คนในสังคมไทย เช่น ความเชื่อทางศาสนา การเมือง ค่านิยมที่ฟุ้งเฟ้อ ทำให้เกิดช่องว่างทางชนชั้น และผู้คนแบ่งเป็นฝักฝ่าย
*********************************************
65. ผลกระทบทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยจากการเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมคือข้อใด
          1. เกิดปัญหาความยากจนในชนบท
          2. เกิดการย้ายถิ่นของประชากรจากชนบทเข้าสู่เมือง
          3. เกิดวิถีชีวิตแบบสมัยใหม่ซ้อนขึ้นในวิถีชีวิตแบบเก่า
          4. เกิดช่องว่างในการกระจายรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจน
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ผลกระทบทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเศรษฐกิจเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมคือ ทำให้เกิดวิถีชีวิตแบบสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรมที่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย เช่น นิยมวัฒนธรรมด้านวัตถุ ความฟุ้งเฟ้อหรูหรา การนิยมใช้ชีวิตแบบแนวตะวันตก เป็นต้น
*********************************************
66. ถ้าอัตราเพิ่มของประชากรไทยคงที่เท่าปัจจุบัน ข้อใดคือแนวโน้มของโครงสร้างอายุของประชากรใน พ.ศ. 2550
          1. สัดส่วนของวัยเด็กจะเท่ากับร้อยละ 25
          2. สัดส่วนของวัยทำงานจะเท่ากับร้อยละ 40
          3. สัดส่วนของวัยชราจะเท่ากับร้อยละ 35
          4. สัดส่วนของวัยเด็กและวัยทำงานจะเท่ากับร้อยละ 65
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ถ้าอัตราเพิ่มของประชากรไทยคงที่เท่าปัจจุบัน แนวโน้มของโครงสร้างอายุของประชากรใน พ.ศ. 2550 จะพบว่าสัดส่วนของวัยทำงานเพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 40 ทั้งนี้เป็นผลจากการพยายามลดอัตราการเพิ่มของประชากรในปัจจุบัน ทำให้สัดส่วนของประชากรในวัยเด็กและวัยชราน้อยกว่าวัยทำงาน
*********************************************
67. เมืองที่รายล้อมราชธานีถูกลดฐานะจากเมืองลูกหลวงลงเป็นหัวเมืองชั้นในในสมัยใด
          1. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง)
          2. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
          3. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
          4. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมืองลูกหลวง (หน้าด่าน) ซึ่งรายล้อมราชธานีทั้ง 4 ทิศ ลดฐานะลงเป็นเมืองจัตวา และแต่งตั้ง "ผู้รั้ง" ไปปกครอง นอกจากนี้ได้แบ่งหัวเมืองออกเป็นหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก และแบ่งหัวเมืองใหญ่เล็กตามลำดับความสำคัญ คือหัวเมืองชั้นในและชั้นนอก และแบ่งหัวเมืองใหญ่เล็กตามลำดับความสำคัญ คือหัวเมืองเอก โท ตรี และจัตวา
*********************************************
68. เพราะเหตุใดพ่อค้าชาวตะวันตกจึงไม่พอใจกับสภาพการค้าของไทยก่อนการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง
          1. มีการค้าผูกขาดโดยพระคลังสินค้า
          2. มีการเก็บภาษีขาเข้าในอัตราสูง
          3. ไทยไม่เข้าใจธรรมเนียมการค้าของชาวตะวันตก
          4. ไทยให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ชาวตะวันออกมากกว่าชาวตะวันตก
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          พ่อค้าชาวตะวันตกไม่พอใจกับสภาพการค้าของไทยก่อนการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง เป็นเพราะรัฐบาลในสมัยนั้นผูกขาดการค้าโดยพระคลังสินค้าเป็นผู้ซื้อขายสินค้าได้แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งทำให้ประเทศที่เข้ามาค้าขายไม่พอใจ และได้พยายามส่งทูตเข้ามาเจรจาทำสนธิสัญญาหลายฉบับ
*********************************************
69. การเปลี่ยนแปลงด้านใดตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาที่ส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ช้าที่สุด
          1. ด้านสังคม
          2. ด้านเศรษฐกิจ
          3. ด้านวัฒนธรรม
          4. ด้านการปกครอง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการค้าต่างประเทศอย่างสำคัญในปี พ.ศ. 2398 นั่นคือไทยได้ลงนามในสัญญาการค้าสำคัญที่มีชื่อว่า สนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใหญ่หลวง ซึ่งผลกระทบนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทำให้ไทยสามารถดำรงรักษาเอกราชไว้ได้ เศรษฐกิจและสังคมมีความเจริญก้าวหน้า แต่ไทยต้องเสียเอกราชทางการศาลและศุลกากร เป็นต้น
*********************************************
70. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุสำคัญของการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
          1. ความวุ่นวายภายในประเทศ
          2. ความเสื่อมของระบบมูลนาย - ไพร่
          3. ภัยคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตก
          4. โครงสร้างการปกครองล้าสมัย
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          สาเหตุสำคัญของการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ
          1. เพื่อดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
          2. เพื่อลดอำนาจขุนนางและเจ้าเมืองท้องถิ่น
          3. การปกครองแบบเดิมล้าสมัยและขาดประสิทธิภาพ
          4. อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยม และการล่าอาณานิคม
          5. ผลจากการเสด็จประพาสดูงานในยุโรป
          6. ความเสื่อมของระบบมูลนาย - ไพร่
*********************************************
71. ไทยถูกเรียกร้องให้ดำเนินการอย่างไรหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง
          1. บริจาคข้าวจำนวนหนึ่งแก่อังกฤษ
          2. เสียเงินค่าปฏิกรรมสงครามให้ฝ่ายสัมพันธมิตร
          3. ยอมให้บริษัทต่างชาติเข้ามาควบคุมธุรกิจภายใน
          4. ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเกาหลี
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          เมื่อเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม ทางฝ่ายไทยโดยการนำของเสรีไทย (ผู้นำคือ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) ได้ประกาศว่าการประกาศสงครามที่ไทยถูกญี่ปุ่นบังคับให้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นโมฆะ แต่ทางอังกฤษไม่ยินยอม และทำให้ไทยต้องส่งข้าว 1.5 ล้านตันให้แก่อังกฤษและเงินจำนวน 1,500,000 ปอนด์ เพื่อซื้อทางรถไฟสายมรณะ และชดใช้ค่าเสียหายให้แก่อินเดียและอังกฤษ
*********************************************
72. ระบบราชการจีนโบราณตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นเป็นต้นมา มีลักษณะพิเศษอย่างไร
          1. เป็นระบบที่ยึดถือคุณธรรมเป็นหลัก
          2. เป็นระบบที่ยึดถือหลักการอาณัติแห่งสวรรค์
          3. เป็นระบบที่ใช้การสอบวัดความรู้หลายระดับ
          4. เป็นระบบที่อาศัยชาติวุฒิและวัยวุฒิ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ในสมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสต์กาล - ค.ศ. 220) มีระบบราชการจีนโบราณซึ่งมีลักษณะพิเศษ เรียกว่า ระบบจอหงวน หรือการสอบเข้ารับราชการ โดยคัดเลือกคนที่มีความสามารถจริง ๆ เข้ามาทำงาน และโปรดให้มีการจัดตั้งโรงเรียนเพื่อฝึกอบรมเตรียมตัวผู้ที่จะรับราชการต่อไปด้วย
*********************************************
73. แมกนาคาร์ตา ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก มีสาระสำคัญในเรื่องใด
          1. มนุษย์ทุกคนเกิดมาอิสระ จึงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
          2. ประชาชนมีเสรีภาพในการพูดและการนับถือศาสนา
          3. อำนาจการปกครองแบ่งเป็น 3 ส่วนเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
          4. อำนาจของกษัตริย์มีขอบเขตจำกัด ต้องคำนึงถึงบทบาทของรัฐสภาด้วย
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          แมกนาคาร์ตา เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก ซึ่งถือเป็นกฏบัตรที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1215 ซึ่งมีสาระสำคัญในการพยายามควบคุมและจำกัดการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์ ให้สามารถใช้อำนาจอย่างมีขอบเขต และต้องคำนึงถึงบทบาทของรัฐสภาด้วย
*********************************************
74. "ไม่เสียภาษี ถ้าไม่มีผู้แทน" เป็นการประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรมที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในข้อใด
          1. การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789
          2. การปฏิวัติของเลนินในรัสเซีย
          3. การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษ
          4. การปฏิวัติเพื่อเอกราชของสหรัฐอเมริกา
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          "ไม่เสียภาษี ถ้าไม่มีผู้แทน" เป็นการประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติเพื่อเอกราชของสหรัฐอเมริกา แต่เดิมสหรัฐอเมริกาเป็นเมืองอาณานิคมของอังกฤษ ถูกปกครองโดยไม่ได้รับความยุติธรรม และไม่มีสิทธิทางการเมือง ชาวอเมริกันจึงไม่พอใจการบีบบังคับของอังกฤษหลายครั้ง จึงก่อสงครามอิสรภาพ (ค.ศ. 1776 - 1783) และประสบชัยชนะ จึงนับเป็นการประกาศเอกราชโดยสมบูรณ์จากอังกฤษ
*********************************************
75. ข้อใดไม่ใช่ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
          1. ประเทศในยุโรปทั้งผู้แพ้และผู้ชนะต่างได้รับความเสียหายอย่างหนัก
          2. อาณานิคมส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในการเรียกร้องเอกราช
          3. ดุลอำนาจของโลกเปลี่ยนจากประเทศในยุโรปมาเป็นสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
          4. สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเดียวที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ประเทศในยุโรปและญี่ปุ่นเสียหายอย่างหนัก ภัยที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมหาศาลไม่ว่าฝ่ายแพ้หรือฝ่ายชนะ มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ และสิ้นสุดลัทธิล่าอาณานิคม ทำให้เกิดประเทศใหม่ ๆ ที่ได้รับเอกราชและประเทศต่าง ๆ ที่เคยเป็นเมืองขึ้นได้พากันเรียกร้องเอกราชจากเมืองแม่จนสำเร็จ และโลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็น (Cold War) ทั้งนี้เป็นเพราะความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ 2 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา กับ สหภาพโซเวียต ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง
*********************************************
76. องค์การระหว่างประเทศองค์การใดที่คนไทยได้รับเลือกเป็นผู้บริหารสูงสุด
          1. องค์การการค้าโลก
          2. องค์การอนามัยโลก
          3. องค์การยูเนสโก
          4. องค์การยูนิเซฟ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          องค์การระหว่างประเทศที่คนไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้บริหารสูงสุด คือ องค์การการค้าโลก หรือ WTO (World Trade Organization) โดยผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานองค์การการค้าโลกคือ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งในปี ค.ศ. 2002
*********************************************
77. สงครามเกาหลีมีความคล้ายคลึงกับสงครามเวียดนามในประเด็นใด
          1. การมีบทบาทของสหประชาชาติ
          2. ความยืดเยื้อของสงคราม
          3. การเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น
          4. การแบ่งประเทศหลังสงครามยุติ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ลักษณะของสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนามมีความคล้ายคลึงกัน โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น ทั้งนี้เพราะเป็นสงครามที่เกิดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งและความแตกต่างกันในเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ ระหว่างเสรีประชาธิปไตยและสังคมนิยม
*********************************************
78. การได้เอกราชของติมอร์ตะวันออก ส่งผลกระทบที่สำคัญที่สุดในข้อใด
          1. ออสเตรเลียมีอิทธิพลมากขึ้นในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
          2. ประธานาธิบดีซูฮาร์โตถูกโค่นอำนาจลง
          3. อินโดนีเซียประสบปัญหาความมั่นคงภายใน
          4. ประเทศในกลุ่มอาเซียนเกิดความคิดเห็นไม่ลงรอยกัน
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          การได้รับเอกราชของประเทศติมอร์ตะวันออก อันเนื่องมาจากประเทศอินโดนีเซียประสบปัญหาความไม่มั่นคงภายในประเทศ ส่งผลทำให้เกิดความคิดเห็นไม่ตรงกันกับกลุ่มประเทศในอาเซียน ซึ่งในบางประเทศเห็นด้วยกับการให้เอกราชกับติมอร์ตะวันออก จึงได้ส่งกองกำลังเข้าไปร่วมกับกองกำลังของสหประชาชาติ เพื่อช่วยรบในประเทศติมอร์ตะวันออก ทำให้ประเทศติมอร์ตะวันออกได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 2002
*********************************************
79. สาเหตุสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับปากีสถานไม่ราบรื่น คือข้อใด
          1. ความขัดแย้งทางศาสนา
          2. ปัญหาดินแดนแคชเมียร์
          3. ต่างฝ่ายต่างมีมหาอำนาจสนับสนุน
          4. การแข่งขันกันพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          กรณีความขัดแย้งจนเกิดเป็นสงครามระหว่างอินเดียกับปากีสถาน เกิดจากการแย่งชิงอำนาจกันในแคว้นแคชเมียร์ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับปากีสถานไม่ราบรื่นนัก ครั้งที่ 2 เป็นการสู้รบที่เกิดขึ้นที่ชายแดนระหว่างแคว้นอัสสัมของอินเดียกับปากีสถานตะวันออก (ปัจจุบันคือ บังกลาเทศ) และครั้งที่ 3 เป็นสงครามที่อินเดียให้การสนับสนุนปากีสถานตะวันออกให้แยกตัวออกจากปากีสถานตะวันตก ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียและปากีสถานไม่สู้ดีนัก เกิดกรณีพิพาทกันอยู่บ่อยครั้ง
*********************************************
80. แนวคิดและผลงานของใครที่ทำให้มนุษย์มีความเข้าใจวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตมากขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาด้านพันธุวิศวกรรมศาสตร์
          1. ชาร์ลส์ ดาร์วิน และหลุยส์ ปาสเตอร์
          2. เกรเกอร์ เมนเดล และเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์
          3. ชาร์ลส์ ดาร์วิน และเกรเกอร์ เมนเดล
          4. เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ และหลุยส์ ปาสเตอร์
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นผู้เสนอแนวคิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในทฤษฎีที่ว่า ผู้ที่แข็งแรงสามารถมีชีวิตอยู่รอด และดำรงชีวิตอยู่ได้
          เกรเกอร์ เมนเดล ชาวออสเตรีย สามารถตั้งกฎเกณฑ์เกี่ยวกับพันธุกรรม โดยเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตจะมีลักษณะต่าง ๆ ถ่ายทอดทางเซลล์สืบพันธุ์
          หลุยส์ ปาสเตอร์ ค้นพบวิธีทำลายบักเตรี และวิธีป้องกันโรคต่าง ๆ ของมนุษย์และสัตว์ พืช โรคระบาด และโรคร้ายต่าง ๆ เช่น ไข้ทรพิษ ฝีดาษ อหิวาต์ วัณโรค โรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
          เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ เป็นผู้ค้นพบวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ
*********************************************