วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

100 ความเข้าใจผิดเรื่องโภชนาการ - ใกล้หมอ


100 ความเข้าใจผิด เรื่องโภชนาการ

ทุกวันนี้เรามีคำแนะนำมากมายเรื่องของการเลือกรับประทานอาหารชนิดต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายหรือเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย เงื่อนไขในการรับประทาน หรือไม่รับประทานอาหารชนิดนั้น ชนิดนี้ ถูกบอกกล่าวกันมามากมาย คุณคงเคยได้ยินข้อห้าม เช่น ห้ามรับประทานไข่เมื่อมีแผล เพราะแผลจะบวม ไม่ควรรับประทานกะทิมากเพราะมีคอเลสเตอรอล
ความเชื่อเหล่านี้ มีมานาน และเชื่อถือปฏิบัติตามกันมาหลายต่อหลายชั่วคน บ้างปฏิบัติแล้วก็เห็นจริงตามนั้น บ้างก็ไม่แน่ใจ บทความนี้จะนำศาสตร์ของโภชนาการมาตอบความเชื่อเหล่านี้ คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ อธิบายความเชื่อเหล่านั้นอย่างไร ค้นพบคำตอบได้ ใน 100 ความเข้าใจผิด

Part 1 : พื้นฐานโภชนาการ

ทุกวันนี้เรามีคำแนะนำมากมายเรื่องของการเลือกรับประทานอาหารชนิดต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายหรือเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย เงื่อนไขในการรับประทาน หรือไม่รับประทานอาหารชนิดนั้น ชนิดนี้ ถูกบอกกล่าวกันมามากมาย คุณคงเคยได้ยินข้อห้าม เช่น ห้ามรับประทานไข่เมื่อมีแผล เพราะแผลจะบวม ไม่ควรรับประทานกะทิมากเพราะมีคอเลสเตอรอล
ความเชื่อเหล่านี้ มีมานาน และเชื่อถือปฏิบัติตามกันมาหลายต่อหลายชั่วคน บ้างปฏิบัติแล้วก็เห็นจริงตามนั้น บ้างก็ไม่แน่ใจ บทความนี้จะนำศาสตร์ของโภชนาการมาตอบความเชื่อเหล่านี้ คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ อธิบายความเชื่อเหล่านั้นอย่างไร ค้นพบคำตอบได้ ใน 100 ความเข้าใจผิด

บทที่ 1 พื้นฐานของหลากโภชนาการ
เราจำเป็นที่จะต้องกินอาหารเลริมหรือไม่?
แล้วเรากินไขมัน และคอเลสเตอรอลมากเกินไปหรือเปล่า? 
กินแค่ไม่ถึงเรียกว่าเสี่ยง?
อาหารบางอย่างเป็นอาหารขยะจริงหรือเปล่า? 
เราควรจะเปลี่ยนไปทานมังสวิรัติดีไหม?
ถ้าคุณยังสับสนกับคำถามเหล่านี้อยู่ว่าอะไรที่เราควรจะกิน อะไรไม่ควร ต้องไม่พลาดอ่านบทนี้ เพราะว่าเราจะทำให้คุณเข้าใจได้มากขึ้น
มีงานวิจัยมานานกว่า 40 ปีแล้วพบว่าการที่จะมีสุขภาพที่ดีนั้นต้องมาจากการทานอาหารที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผัก ผลไม้และควบคู่กับการออกกำลังกายเพื่อทั้งป้องกัน และทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายๆ ในช่วงชีวิตเรานี้ คุณรู้ไหมว่าเราจะได้กินอาหารประมาณ 70,000 ชนิดเป็นจำนวนประมาณ 60 ตันเลยทีเดียวเรามาเริ่มด้วยการพูดคร่าวๆ ถึงสารอาหารต่างๆ กันก่อน คุณอาจจะคุ้นเคยกับตำต่างๆ เหล่านี้บ้างแล้ว ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน (ไขมันที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องและน้ำมันที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง) โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่รวมถึงน้ำอีกหนึ่งอย่างที่ทำให้อาหารหลักของเรา มี 6 หมู่
สารอาหารสามารถแบ่งตามหน้าที่ออกได้เป็น 3 หน้าที่ใหญ่ๆ คือ 
1. เป็นแหล่งของพลังงานหลักของร่างกาย (ซึ่งมักจะพูดกันเป็นหน่วยกิโลแคลอรี) 
2. เป็นแหล่งที่ใช้เพื่อการเจริญเติบโตและบำรุงรักษาให้คงไว้ดังเดิม 
3. เป็นแหล่งที่ใช้เพี่อคงไว้ให้ร่างกายทำงานเป็นปกติบางชนิดก็มีการ เหลื่อมล้ำหน้าที่การทำงานกันบ้างซึ่งพลังงานที่ได้จากสารอาหารนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสัดส่วนมากที่สุดในอาหารจานนั้นๆ


ทีนี้เราก็มาดูกันทั้ง 6 หมู่ ทีละอย่างเลยดีกว่า

คาร์โบโฮเดรต
ประกอบด้วยคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งของพลังงานหลักของร่างกาย ให้พลังงานเฉลี่ย 4 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม โครงสร้างเล็กๆ ที่ประกอบกันเป็นคาร์โบไฮเดรต คือ น้ำตาล เช่น น้ำตาลที่เราทานนั่นเอง แต่น้ำตาลที่เราทานนั้นประกอบด้วยกลูโคส และฟรุกโตส นอกเหนือจากความสุขกับรสชาติ เรายังต้องการน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตอื่นๆ ในอาหารของเราเพื่อให้ได้พลังงานที่จำเป็นแก่ร่างกาย กลูโคสเป็นสิ่งที่ร่างกายสร้างและต้องการมากที่สุด เมี่อร่างกายได้รับกลูโคสไม่เพียงพอจะมีการเปลี่ยนโปรตีนเป็นคาร์โบไฮเดรต
การย่อยจะเริ่มตั้งแต่ในปาก ดำเนินไปเรื่อยๆ จนถึงลำไส้เล็กจนกว่าคาร์โบไฮเดรตเปลี่ยนเป็นสตาร์สแล้วเปลี่ยนเป็นกลูโคสออกมา แต่คาร์โบไฮเดรตบางประเภท เช่น ใยอาหารก็ไม่สามารถย่อยได้เนื่องจากร่างกายไม่มีเอนไซม์มาย่อย

ไขมัน
ไขมัน (ไขมันที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องและน้ำมันที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้องเกือบทั้งหมด) ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจน แต่ก็มีออกซิเจนอยู่ด้วย แต่น้อยกว่าคาร์บอน การแบ่งชนิดของไขมันส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดที่อิ่มตัวและไม่อิ่มตัว ซึ่งเราสามารถแยกได้ง่ายๆ โดยดูลักษณะของน้ำมันว่าเป็นไขหรือไม่ที่อุณหภูมิห้อง ไขมันสัตว์ส่วนใหญ่จะอุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัว ส่วนไขมันพืชส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบของไขมันไม่อิ่มตัว แต่ก็มีบางชนิดเช่น น้ำมันปาล์มที่มีไขมันอิ่มตัวมากกว่า
มีไขมันไม่อิ่มตัวสายยาวอยู่สองตัวที่ร่างกายต้องการที่ได้มาจากอาหารเท่านั้น ร่างกายต้องการเพื่อนำมาใช้หลายๆ อย่าง เช่นช่วยควบคุมความดันโลหิต แต่อย่างไรก็ดีเราต้องการไขมันทั้งสองชนิดนี้ในปริมาณที่น้อยประมาณไม่กิ่ช้อนชาของน้ำมันที่มีขายตามท้องตลาด เช่น น้ำมันดอกทานตะวันเราก็ได้ไขมันที่จำเป็นทั้งสองตัวนี้ครบแล้ว

โปรตีน
โปรตีนเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรต และไขมัน โปรตีนก็ประกอบไปด้วย คาร์บอนออกซิเจน และไฮโดรเจน แต่ที่แตกต่างไปจากตัวอื่นคือโปรตีนมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบด้วย โปรตีนเป็นองค์ประกอบหลังของโครงลร้างร่างกายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเลือดและภูมิคุ้มกันของร่างกายและยังเป็นส่วนประกอบของกระดูก กล้ามเนื้อ
โปรตีนประกอบไปด้วยกรคอะมิโนมาต่อเข้ากัน มีกรดอะมิโน 20 ชนิดหลักที่หาทานได้จากอาหารทั่วไป 9 ชนิดมีความจำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ และอีก 1 ชนิดสำหรับเด็กอ่อน

วิตามิน
วิตามิน พบในโครงสร้างทางเคมี มีองค์ประกอบของ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจนออกซิเจน และอื่นๆ แตกต่างกันออกไปตามชนิดของวิตามิน หน้าที่หลักของวิตามินคือ คงไว้ยังปฏิกิริยาเคมีของร่างกาย บางชนิดช่วยให้เกิดการนำโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไปใช้ได้ดีขึ้น แต่จำไว้เลยว่าตัววิตามินนี้ไม่ได้ให้พลังงานแก่ร่างกาย
วิตามินทั้ง 13 ชนิดสามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ที่ละลายน้ำได้ (วิตามิน เอ ดี อี และเค) กับที่ละลายนํ้าไม่ได้ (วิตามิน ซีและบี ทุกตัว)

เกลือแร่
ตัวอื่นๆ ที่พูดไปเป็นสารอินทริย์ แต่เกลือแร่นี้เป็นสารอนินทรีย์ ง่ายๆ คือ อนินทรีย์นั้นจะไม่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
เกลือแร่ทำงานหลากหลายหน้าที่ เช่น Na+, K+ ควบคุมของเหลวเข้าผ่านเซลล์โครงสร้างของเกลือแร่มีความเสถียรต่อความร้อนแต่ก็สูญเสียได้ถ้าเกิดการละลายออกไปกับน้ำที่ใช้ประกอบอาหาร
เกลือแร่มีอยู่ 16 ชนิด ทั้ง 16 ชนิดเป็นเกลือแร่ที่จำเป็นต้องได้จากอาหารเพื่อให้เรามีสุขภาพที่ดี เกลือแร่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับความต้องการของร่างกาย คือ กลุ่มที่มีความต้องการปริมาณมากและที่ต้องการปริมาณเพียงเล็กน้อย โดยที่ถ้าเกลือแร่ตัวไหนที่ร่างกายต้องการน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม จะจัดอยู่ในกลุ่มเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการปริมาณน้อย

น้ำ
ถึงแม้ว่าบางครั้งจะดูไม่เหมือนเป็นสารอาหารแต่ทว่าน้ำ เป็นสารอาหารที่ร่างกายมีความต้องการมากและต้องการในปริมาณที่มากที่สุด ร่างกายใช้น้ำในหลายๆ อย่าง เช่น เป็นตัวทำละลายเป็นสารหล่อลื่นลดการเสียดสี เป็นตัวกลางในการนำพาสารไปยังปลายทางและนำของเสียไปทิ้ง


บทที่ 2 การย่อยอาหารและการดูดซึมของร่างกาย
การกินอาหารเพียงอย่างเดียวหรือชนิดเดียวแน่นอนว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการของคุณ เราจะต้องมีการย่อยอาหารก่อน หรือเรียกอีกอย่างก็คือทำให้อาหารนั้นกลายเป็นส่วนเล็กๆ อยู่ในลักษณะที่ร่างกายสามารถนำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ได้โดยจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตแต่นั่นก็อาจมีการขัดขวางไม่เกิดการดูดซึมจากทั้งอวัยวะตลอดจนสารอาหารตัวอื่น
คุณอาจจะไม่เคยคิดถึงมันเลยแม้แต่นิดเดียวว่าถ้ากินเข้าไปแล้วคงมีแต่ได้กับได้เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว
งั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าร่างกายของเรานั้นมีการย่อยและดูดซึมสารอาหารตัวไหนที่บริเวณไหนบ้าง แล้วมีตัวช่วยให้ดูดซึมมากขึ้นหรือขัดขวางหรือเปล่า
ในระบบทางเดินอาหารของเรานั้นเริ่มต้นตั้งแต่ปากจนกระทั่งไปสิ้นสุดที่ทวารหนักคือตำแหน่งที่อาหารเข้าสู่ร่างกาย และตำแหน่งที่ของเสียออกไปจากร่างกาย








หมายเหตุบางครั้งการดูดซึมของวิตามินเคและไบโอตินก็เกิดขึ้นที่บริเวณลำไส้ใหญ่ด้วย ส่วนสารอาหารอื่นๆ ส่วนใหญ่ แล้วที่ละลายในไขมันจะถูกดูดซึมผ่านเส้นเลือดดำไปยังตับ
จะเห็นได้ว่ามีสารอาหารหลายตัวที่ถูกดูดซึมบริเวณเดียวกัน เช่น แคลเซียมแมกนีเซียม และเหล็ก ที่ถูกดูดซึม บริเวณลำไส้เล็กตอนต้น การดูดซึมหลายๆ สารอาหารพร้อมๆ กันที่บริเวณเดียวนั้น เกิดขึ้นได้น้อยนั่นแสดงให้เห็น ถึงว่าถ้าสารใดที่สามารถถูกดูดซึมได้ดีกว่าก็จะเข้าสู่ร่างกายได้ก่อนกล่าวคือมีการขัดขวางกันเองระหว่างสารอาหารด้วยกันและนอกจากนี้ลักษณะของสารที่เข้าสู่ร่างกาย ก็มีผลต่อการดูดซึมเช่นกัน เช่น แคลเซียมในรูปของแคลเซียมออกซาเลตและแคลเซียมออกซาเลตจากงาดำและแคลเซียมจากพืชอื่นๆ ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลงได้ แต่ถ้าเป็นแคลเซียมจากนมร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่ายกว่า เป็นต้น



บทที่ 3 
เมตาบอลิซึมของร่างกาย

เมตาบอลิชึมเป็นปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นรวมถึงการรักษาชีวิต รวมเข้าไว้กับทุกปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในร่างกาย ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เซลล์สามารถปล่อยหรือใช้พลังงานที่ได้จากอาหารแล้วเปลี่ยนไปเป็นสารอื่นและมีการเตรียมของเสียเพื่อขับออกจากร่างกาย
กระบวนการนี้จะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ การสลายเพื่อให้มีขนาดเล็กลง (Catabolic) เช่น การสลายกลูโคสอย่างสมบูรณ์จะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไชด์ และน้ำ
พลังงานที่ปล่อยออกมาบางครั้งอวัยวะต่างๆ อาจนำไปใช้โดยตรงหรือไม่ก็สูญเสียไปเป็นความร้อน และการสร้างสารขึ้นมาใหม่ (anabolic) เช่น การสังเคราะห์กรดไขมัน โปรตีน จะต้องมีพลังงานเข้าไปใช้เพื่อให้ได้โปรตีนออกมา เป็นต้น

การสร้างพลังงานไว้ใช้เกิดขึ้น 3 ระยะ ในระยะแรก อาหารที่มีขนาดใหญ่ได้แก่ โปรตีน สตาร์ทและไตรกรีเซอไรด์ ถูกทำให้เล็กลงขณะย่อยและถูกดูดซึมเป็นหน่วยที่เล็กลงเช่น
กรดอะมิโน โมโนแซคคาไรด์ และกรดไขมัน ในระยะที่สองสารที่ผ่านระยะแรกแล้วจะถูกแยกเอาคาร์บอนที่อยู่ในพันธะออกได้เป็นกรดอะซิติกที่เหมือนกรดในน้ำส้มสายชูเและในระยะสุดท้ายกรดอะซิติกจะถูกสลายกลายเป็นน้ำกับคาร์บอนไดออกไซด์พลังงานบางส่วนในช่วงการสลายสารนี้ จะถูกนำไปสร้างเป็นอะดีโนซีน ไตรฟอสเฟต (ATP) ซึ่ง ATP นี้เป็นพลังงานที่ทุกเซลล์ต้องการเพื่อนำไปใช้
พลังงานที่ร่างกายนำไปใช้
พลังงานที่ร่างกายนำไปใช้นี้มาจากพันธะของปฏิกิริยาเคมี ระหว่างอะตอมในโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และ แอลกอฮอล์พลังงานนี้เริ่มแรกเลยสร้างมาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชเมื่อพืชใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาสร้างเป็นกลูโคสและสารอื่นปฏิกิริยาเคมีในการสังเคราะห์แสงให้พลังงานมากกว่าแค่คาร์บอนไดออกไชด์และน้ำ แต่ยังสร้างสารอื่นอีก สารที่ได้จากกระบวนเมตาบอลิซึม ได้แก่ คาร์บอนไดออกไชด์ น้ำ และความร้อน
ดังนั้น การหายใจของมนุษย์เริ่มตั้งแต่สสารมารวมกันเป็นสารประกอบเช่น กลูโคส เป็นต้น แล้วก็ไปผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อนขึ้นเพื่อเปลี่ยนให้ได้ผลิตภัณฑ์สุดท้าย เช่น น้ำและคาร์บอนไดออกไชด์ในกระบวนการนี้มีการส่งถ่ายพลังงานจากอาหารไปสู่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายในทางกลับกันก็สามารถใช้เส้นทางของความต้องการพลังงานจากอวัยวะ ไปยังหน้าที่ต่างๆ ได้เช่นกันเพื่อให้ได้พลังงานปฎิกิริยาเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในร่างกายนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าขาดพลังงานที่จะได้จากพลังงานภายนอกที่ได้จากอาหาร พลังงานภายนอกนี้อนุญาตให้สารประกอบเช่น กรดอะมิโน สามารถถูกนำไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้เช่น กลูโคส และเช่นเดียวกันกรดอะมิโนและโมเลกุลของกลูโคสเองก็มี

บทที่ 4 
สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย

คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานพื้นฐานของร่างกายเช่น ในระบบประสาทและการสร้างเม็ดเลือดแดงกล้ามเนื้อเป็นแหล่งสามารถเก็บและนำคาร์โบไฮเดรตออกมาใช้ได้ตลอด ในการรองรับความต้องการพลังงานของร่างกายคาร์โบไฮเดรตเฉลี่ย 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรีคาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานสำหรับการสร้างน้ำตาลในเลือด และเก็บสะสมไว้ยังที่ตับและในกล้ามเนื้อเก็บในรูปของไกลโคเจน คาร์โบไฮเดรตที่เก็บไว้ในตับสามารถนำมาใช้เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อเวลาที่อาหารที่ทานมีไม่เพียงพอต่อความต้องการการรับประทานคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่ปกตินั้นมีความสำคัญเพราะว่าไกลโคเจนในตับจะหมด ภายในเวลาประมาณ 18 ชม.หลังจากที่เราไม่ได้ทาน คาร์โบไฮเดรตเข้าไปหลังจากนั้นร่างกายจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานจากที่อื่นเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด เช่นจากโปรตีนและนี่ก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพได้
เรามีปุ่มรับสัมผัสบนลิ้นของเราเพื่อรับรสความหวานของคาร์โบไฮเดรตมีนักวิจัยคาดเดาว่าความหวานตรงนี้เป็นตัวบ่งชี้ถึงว่าวันเป็นแหล่งพลังงานที่ปลอดภัยของมนุษย์ตั้งแต่ยุคแรกๆ และหลังจากนั้นทำให้คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย
พื้นฐานโดยทั่วไปเราต้องเลือกแหล่งของคาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพให้มากที่สุดในขณะเดียวกันก็ต้องมีการทานอาหารอย่างอื่นร่วมด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุลของสารอาหารที่ร่างกายต้องการ
โครงสร้างของคาร์โบไฮเดรตประกอบไปด้วย คาร์บอน ออกชิเจน และไฮโดรเจนดังที่กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้รูปแบบของคาร์โบไฮเดรต คือ (CH2O)n เมื่อ n หมายถึงจำนวนอัตราส่วนของ CH2O ที่มาเรียงต่อกันรูปแบบอย่างง่ายของคาร์โบไฮเดรต คือ น้ำตาลและส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในรูปน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวกับน้ำตาลโมเลกุลคู่ และถ้าเป็นโครงสร้างที่มีคาร์โบไฮเดรตหลายๆ โมเลกุลจำนวนมากๆ เราเรียกว่า โพลีแซคคาไรด์จะเป็นพวกแป้ง หรือ ใยอาหารถ้าเป็นน้ำตาลสองตัวเราจะเรียกว่า ไดแซคคาไรด์ มีอยู่สามชนิดที่มักจะพบในธรรมชาติ ได้แก่ น้ำตาลมอลโตส ซูโคส และแลคโตส การทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมเช่นกลูโคส หรือน้ำตาลอื่นๆ หรือแป้ง มีความจำเป็นต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของไขมันเพื่อเปลี่ยนไปเป็นคาร์บอนไดออกไชด์ และน้ำในร่างกายถ้าร่างกายมีการได้รับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่น้อยทำให้ฮอร์โมนอินซูลินลดลงส่งผลให้เกิดความไม่สมบูรณ์ของการสลายไขมันในตับ ส่งผลให้เกิดกรดในร่างกายขึ้นเราจะต้องทานคาร์โบไฮเดรตมากเท่าไหร่จึงจะเพียงพอ
จากสารอาหารที่แนะนำให้คนไทยบริโภคสำหรับคนไทย อายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป (Thai RDI) เราควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 60 ของความต้องการพลังงานของร่างกาย 2000 กิโลแคลอรีหรือประมาณ 300 กรัม และ นอกจากนี้เราควรรับประทานใยอาหารอย่างน้อยวันละ 25 กรัม อีกด้วย จึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ไขมัน
ร่างกายคนเรามีความต้องการไขมันเพียงเล็กน้อยในการทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ แต่ในความเป็นจริงการรับประทานไขมันในแต่ละวันของเรานั้นแค่ 2 ถึง 4 ช้อนโต๊ะของน้ำมันพืชจากอาหารและอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งทานกรดไขมันจากปลา เช่น ปลาทูน่า หรือปลาแชลมอนจะทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันที่จำเป็นเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว
ไขมันเป็นกลุ่มของปฎิกิริยาเคมี ชึ่งมีส่วนที่แสดงลักษณะสำคัญของไขมันก็คือ ไม่สามารถละลายได้ในน้ำ แต่สามารถละลายได้ในสารละลายอินทรีย์ต่างๆ (ที่ไม่มีขั้วเหมือนไขมัน) ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ไขมันส่วนใหญ่จะมีกรดไขมันอิ่มตัวสูงเช่นไขมันสัตว์ ที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง ไขมันไก่เป็นกึ่งของแข็งที่อุณหภูมิห้องเพราะว่ามีกรดไขมันอิ่มตัวอยู่น้อย เป็นต้น

กรดไขมันเป็นหน่วยที่มีอยู่ในไขมันทั่วไป ทั้งในร่างกายและในอาหารกรดไขมันเป็นการเรียงตัวของธาตุคาร์บอนโดยที่ปลายด้านหนึ่งเป็น methyl group อีกด้านหนึ่งเป็น catboxyl group ความยาวของ C มีได้หลายตัวหากมีความยาวน้อยกว่า 6 เรียก Short chains หากมี C มากกว่า 12 เรียก long chain fatty acid กรดไขมันเป็นอาหารของกล้ามเนื้อ หัวใจ อวัยวะภายในร่างกาย กรดไขมันส่วนที่เหลือใช้จะถูกสะสมในรูป triglyceride (ใช้กรดไขมัน 3 ตัวรวมกับ glycerol) ซึ่งจะสะสมเป็นไขมันในร่างกาย
กรดไขมัน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของไตรกลีเซอไรด์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายและกรดไขมันที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย

1. กรดไขมันที่จำเป็น เนื่องจากร่างกายสร้างเองไม่ได้ เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated fatty acid. PUFA) เป็นไขมันที่ช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือดได้ดี ป้องกันการสะสมไขมันบนผนังหลอดเลือด ป้องกันภาวะหลอดเลือดแข็ง และตีบ กรดไขมันในกลุ่มนี้ ที่สำคัญ คือ
1.1 ไลโนเลอิก (Linoleic acid) มีในน้ำมันพืชหลายชนิด เช่น ดอกคำฝอยถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน ข้าวโพด มีฤทธิ์ในการลดโคเลสเตอรอล และ LDL-C อย่างเด่นชัด สิ่งควรระวังคือ กรดไขมันชนิดนี้ไม่คงตัว มีโอกาสเกิดปฎิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ เกิดสารอนุมูลอิสระ (Free radical) ซึ่งก่อให้เกิดโรคหัวใจ มะเร็ง และต้อกระจกได้ น้ำมันพืชแต่ละประเภท มีปริมาณไลโนเลอิกมากน้อยไม่เท่ากัน เช่น 70-80% ในน้ำมันดอกคำฝอย 60-65% ในนํ้ามันเมล็ดทานตะวัน 50-55% ในน้ำมันถั่วเหลือง และเพียง 10% ในนํ้ามันปาล์มโอเลอิน
1.2 แอลฟ่าไลโนเลนนิก (alpha-Linolenic acid) มีในน้ำมันพืชบางชนิดจะถูกร่างกายนำไปสร้างกรดไขมันอะแรคคิโดนิก (Arachidonic acid) มีฤทธิ์ส่งเสริมการเกิดลิ่มเลือด เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว กลุ่มโอเมกา 6 นอกจากนี้ยังพบไลโนเลนนิกในปลาทะเล ชึ่งจะนำไปสร้างกรดไขมันไม่อิ่มตัว ในกลุ่มโอเมกา 3 คืออีพีเอ (Eicosapentaenoic acid. EPA) และ ดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid. DHA) มีฤทธิ์ทำให้โพรสตาแกรนดิน (Prostaglandin) กลุ่มที่ทำให้เลือดไม่แข็งตัวออกมาจากเนื้อเยื่อ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด

2) กรดไขมันที่ไม่จำเป็น (ร่างกายสร้างเองได้) แบ่งเป็น 2 ชนิค คือ
2.1 กรดไขมันอิ่มตัว มีมากในน้ำมันสัตว์และน้ำมันมะพร้าวซึ่งจะเพิ่มโคเลสเตอรอล และ LDL-C ก่อให้เกิดเส้นเลือคตีบ
2.2 กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (Monounsa turated fatty acid, MUFA) มีความคงตัวสูง ทำปฎิกิริยากับออกชิเจนในอากาศน้อย เกิดสารอนุมูลอิสระไม่มากไม่ใคร่เหม็นหืน ทนความร้อนได้สูงเหมาะใช้ปรุงอาหารประเภททอดหรือผัดที่ใช้เวลานานๆ ตัวอย่าง MUFA เช่น โอเลอิก (Oleic acid) ชึ่งพบมากในน้ำมันพืชต่อไปนี้ คือ มะกอก, คาโนลา, ถั่วลิสง, งา, ปาล์มโอเลอิน(สกัดจากเนื้อปาล์ม มิใช่เมล็ดปาล์ม), ดอกคำฝอยแปลง และเมล็ดทานตะวันแปลง MUFA นี้ช่วยลดโคเลสเตอรอล ลด LDL-C และเพิ่ม HDL-C ป้องกันเส้นเลือดตีบได้เช่นเดียวกับกรดไขมันไลโนเลอิก
ในปัจจุบันมีเป็นไขมันที่เตรียมจากนำน้ำมันพืชเช่นน้ำมันข้าวโพดไปทำให้ร้อน เพื่อทำให้น้ำมันมีอายุใช้งานได้นานขึ้น และทำให้น้ำมันข้นขึ้นจนเป็นของแข็งมากขึ้น เพราะว่าสะดวกในการเก็บและการนำไปใช้ ซึ่งการรับประทานน้ำมันชนิดนี้มากจะทำให้ไขมัน LDL ในเลือดเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
จาก Thai RDI แนะนำให้คนไทยรับประทานไขมันทั้งหมดไม่เกิน 65 กรัมซึ่งไขมันอิ่มตัวต้องไม่เกิน 20 กรัม และคอเลสเตอรอลไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน

โปรตีน
คำว่า "โปรตีน" มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกที่แปลว่า "สิ่งสำคัญอันดับแรก" โปรตีนเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกาย 1 ใน 5 ส่วนของน้ำหนักตัวผู้ใหญ่คือโปรตีน และส่วนของโปรตีนในร่างกายจะพบในกล้ามเนื้อ 1/5 ส่วนพบในกระดูกและกระดูกอ่อน และ 1/10 ส่วนพบในผิวหนัง ส่วนที่เหลือพบในเนื้อเยี่อต่างๆ ของเหลวในร่างกาย เช่น เลือด ต่อมต่างๆ เซลล์ภูมิคุ้มกันและเนื้อเยื่อประสาทแม้กระทั่งเส้นผม เล็ก เอ็นไชม์ และฮอร์โมน ล้วนแต่มีโปรตีนเป็นองค์ ประกอบทั้งสิ้นโปรตีนและกรดอะมิโน
หากเปรียบโปรตีนคือสายโช่ กรดอะมิโนก็คือห่วงโซ่ซึ่ง แต่ละห่วงที่มาประกอบเป็นโซ่สายยาวคือโปรตีนนั่นเอง กรดอะมิโนจะมีหลากหลายชนิดแตกต่างกันโปรตีน 1 โมเลกุลประกอบด้วยกรดอะมิโนที่แตกต่างกันได้ตั้งแต่ 100 หรือ 1,000 กรดอะมิโนกรดอะมิโนแต่ละชนิดสามารถต่อกันได้ด้วยพันธะโคเวเลนท์ที่มีชื่อเฉพาะว่า พันธะเพปไทด์ (peptide bond) โครงสร้างชึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนที่ต่อกันเป็นสายนี้เรียกว่า เพปไทด์ กรดอะมิโนสามารถแบ่งออกได้ เป็นสองประเภทตามความต้องการของร่างกาย คือกรดอะมิโนจำเป็นและกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น

กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้นได้แก่ ฮีสติดีน ไอโซลิวซีน ลิวซีน ไลซีน เมไทโอนีน ฟีนิวอะลานีน ทีโรอีนและวาลีน และกรดอะมิโนที่ต้องได้รับจากแหล่งอื่น ได้แก่ อะลานิน อาร์จินีน แอสปาราจีน กรดแอสปาติก ซีสเตอีน ซีสตีน กรดกลูตามิก กลูตามีน ไกลซีนโปรลีน เซอรีน ทีโอนีน
โปรตีนมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย แต่ยังพบว่ามีประชากรเป็นจำนวนมากที่มีภาวะขาดโปรตีนชึ่งโดยมากมักจะพบการขาดกรดอะมิโนเมไธโอนีน ทริพโตเฟน และไลซีน
อาหารโปรตีนนั้น ก่อนที่จะเข้าสู่ร่างกายนั้น มักจะผ่านความร้อนให้สุกก่อนเสมอเพื่อป้องกันสารพิษ พยาธิจนถึงเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจปนเปื้อนมาได้ความร้อนที่ให้นี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นของโครงสร้างโปรตีนทำให้เอนไซม์ในร่างกายสามารถย่อยได้ง่ายขึ้น ดังนั้นร่างกายจะได้รับสารอาหารได้ดีขึ้นและนอกจากนี้ความร้อนยังทำลายสารหลายๆ อย่าง ที่ร่างกายไม่ต้องการ เช่น สารต้านการดูดซึมวิตามินบี 1 เป็นต้น
จาก Thai RDI เราจำเป็นต้องได้รับโปรตีนอย่างน้อย 50 กรัมต่อวัน ดังนั้นเราควรเลือกรับประทานอาหารโปรตีนให้ เพียงพอต่อความต้องการซึ่งเนื้อสัตว์เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีของร่างกายเพราะว่ามีกรดอะมิโนครบถ้วนแต่ทว่าพืชก็มีกรดอะมิโนแตกต่างกันออกไป ถ้าเราเลือกรับประทานให้เหมาะสมจะทำให้เราได้รับโปรตีนครบถ้วนต่อความต้องการของร่างกายได้ เช่นกัน



บทที่ 5 สารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย

วิตามินและเกลือแร่เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ร่างกายมีความจำเป็นในการใช้สองตัวนี้ เพื่อควบคุมกระบวนการต่างๆ ให้สมบูรณ์

วิตามิน
วิตามินเป็นสารอินทรีย์ที่ร่างกายสามารถสร้างเองบางชนิด ได้แก่ วิตามินดีและเคที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง แต่วิตามินส่วนใหญ่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้ต้องได้รับจากอาหาร ร่างกายเราต้องการวิตามินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น วิตามินมีส่วนสำคัญในการควบคุมการทำงาน การเจริญเติบโตของเซลล์ วิตามินมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ เช่น การเจริญเติบโตระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท และต่อต้านเชื้อโรค วิตามินยังมีบทบาทในการเปลี่ยนอาหารไปเป็นพลังงานโดยขบวนการทางเคมี

วิตามินแบ่งออกเป็น

1. วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี ไบโอติน และ วิตามินบีทั้ง 7 ตัวคือ วิตามินบี 1 (ไทอามีน) วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน) วิตามินบี 3 (ไนอาซิน) วิตามินบี 5 (กรดแพนโทเทนิก) วิตามินบี 6 (ไพรอกซิดีน) วิตามินบี 9 (กรดโฟลิก) และวิตามินบี 12 (โคบาลามิน)

2. วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี และ เค วิตามินเหล่านี้จะเก็บในไขมัน หากรับมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดพิษโดยเฉพาะวิตามินเอ และดี ส่วนวิตามินอี และเค มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด

วิตามินบางตัวเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชึ่งป้องกันเซลล์มิให้ถูกทำลาย ชะลอความแก่ ป้องกันมะเร็ง โดยอนุมูลอิสระสมัยก่อนเชื่อว่าหากรับประทานอาหารได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินเสริม แต่ปัจจุบันได้มีรายงานว่าการรับวิตามินเกินความต้องการของร่างกายอาจจะทำให้ป้องกันโรคได้ เช่น โรคหัวใจ แต่บางท่านเชื่อว่าวิตามินและเกลือแร่บางส่วนอาจถูกทำลายจากการปรุงอาหาร การถนอมอาหาร หรือ จากการรับประทานอาหารไม่ครบถ้วน เช่น ควบคุมน้ำหนัก หรือ รับประทานอาหารซ้ำๆ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือรับประทานอาหารให้หลากหลายประเภท วิตามิน บี เป็นหนึ่งในวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ โดยจะมีวิตามินบีหนึ่งบีสอง บีหก ไนอาซีน กรดแพนโทเธนิก ไบโอติน โฟลาซีน และบีสิบสอง บางทีเรียกรวมกันว่า วิตามิน บี รวม มีความสำคัญในการเป็นตัวเร่งปฎิกิริยาหรือทำให้ปฎิกิริยาต่างๆ ในร่างกายดำเนินไปได้

วิตามิน บี 1
---------- แหล่ง มีมากในเนื้อหมู และถั่ว
---------- หน้าที่ เกี่ยวกับปฎิกิริยาการเปลี่ยนแปลงของคาร์โบไฮเดรต
---------- อาการเมื่อขาด การขาดจะทำให้เกิดโรคเหน็บชา อาการเริ่มแรกอาจอ่อนเพลียเบื่ออาหาร และ ชาตามปลายมือปลายเท้า

วิตามิน บี 2 
---------- แหล่ง มีมากในตับ หัวใจ ไข่ นม และผักใบเขียว
---------- หน้าที่ มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการทำให้เกิดพลังงานในร่างกาย
---------- อาการเมื่อขาด การขาดจะทำให้เป็นโรคปากนกกระจอก มีแผลที่มุมปาก ริมฝีปากแตกและลิ้นอักเสบได้

วิตามิน บี 3
---------- แหล่ง มีมากในเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ นอกจากนี้ร่างกายยังสร้างได้เองบางส่วนด้วย
---------- หน้าที่ มีหน้าที่เกี่ยวกับปฎิกิริยาการเผาผลาญทำให้เกิดพลัง และการสร้างไขมันในร่างกาย
---------- อาการเมื่อขาด จะทำให้ผิวหนังอักเสบบริเวณที่ถูกแดด ท้องเดิน ประสาทเสื่อมและความจำเลอะเลือน

วิตามิน บี 6 
---------- แหล่ง พบมากในเนื้อสัตว์ กล้วย ผักโขม
---------- หน้าที่ มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย
---------- อาการเมื่อขาด การขาดจะทำให้เกิดชา และซีดได้

วิตามิน บี 12
---------- แหล่ง พบมากในอาหารจากสัตว์ เช่น ตับ ไต และน้ำปลา
---------- หน้าที่ มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะไขกระดูก ระบบประสาทและทางเดินอาหารทำหน้าที่สัมพันธ์กับโพลาซิน
---------- อาการเมื่อขาด จะมีอาการซีด ชนิดเม็ดเลือดแดงโตและมีความผิดปกติของระบบประสาท

โดยสรุป สำหรับวิตามิน บี จะเห็นได้ว่ามีทั้งในสัตว์และพืช ดังนั้นถ้าท่านรับประทานอาหารให้ครบหมู่ ภาวะการขาดวิตามิน บี คงจะไม่เกิดขึ้น

วิตามิน ซี
---------- แหล่ง ผลไม้รสเปรี้ยว สตรอเบอรี่ ผักใบเขียว
---------- หน้าที่ ใช้ในการสร้างและบูรณะสารโปรตีนซึ่งยึดเซลล์ในเนื้อเยื่อชนิดเดียวกันในร่างกายคน ที่สำคัญได้แก่ เนื้อเยื่อหลอดเลือดฝอย กระดูกฟันและพังผืด การหายของบาดแผลในร่างกายมนุษย์ นอกจากนี้พบว่าวิตามินซียังช่วยป้องกันปฎิกิริยาออกซิเดชั่นที่จะเป็นตัวทำลายสารสำคัญบางอย่างในอาหารที่ร่างกายได้รับเข้าไป และมีส่วนสำคัญในการสร้างฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ผู้ที่ได้รับวิตามินซีเข้าไปในร่างกายไม่เพียงพอจะทำให้มีเลือดออกตามไรฟัน และอาจมีเลือดออกในที่ต่างๆ ของร่างกาย เช่น ข้อเข่า และใต้ผิวหนัง เป็นต้น
---------- อาการเมื่อขาด ทำให้แผลที่เกิดขึ้นหายยาก ติดเชื้อกระแสโลหิต

วิตามิน ดี
---------- แหล่ง มีมากในสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา ปลากระป๋อง ไข่แดง ตับ เนย และนม ในพืชเกือบไม่มีเลย คงมีบ้างในเห็ด และยีสต์
---------- หน้าที่ ความสำคัญในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส จากลำไส้และช่วยให้เกลือแร่ทั้งสองนี้จับกันเข้าเป็นกระดูก และฟัน
---------- อาการเมื่อขาด ในเด็ก ถ้าขาดวิตามินดีจะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนขาจะโก่งหรือถ่าง เนื่องจากไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ตัวจะเตี้ย ฟันงอกช้ากว่าปกติ กระดูกเชิงกรานจะแคบ มีปุ่มตรงซี่โครงบริเวณหน้าอกที่เป็นรอยต่อระหว่างกระดูกแข็งและกระดูกอ่อนทำให้แลดูเหมือนใส่ลูกประคำคอ ในผู้ใหญ่ จะทำให้เกิดโรคกระดูกเปราะเพราะแคลเซียมและฟอสฟอรัส จะสลายออกมาจากกระดูก

วิตามิน เอ
---------- แหล่ง มีอยู่เฉพาะในสัตว์เท่านั้น สำหรับในพืชจะอยู่ในรูปของโปรวิตามิน คือ พวกแคโรตีน ในสัตว์ ได้แก่ น้ำมันตับปลา ตับ ลำไส้ น้ำนมแม่แรกคลอด เนยและไข่แดง ในพืช ในรูปของแคโรตีน ได้แก่ ผัก ผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น มันเทศ ฟักทอง กล้วย ข้าวโพด บวบ ถั่วฝักยาว และบร็อคโคลี่
---------- หน้าที่ มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับดวงตา การเจริญเติบโตของกระดูกการเจริญของเซลล์ชนิดหนึ่งที่ผิวหนัง และเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์
---------- อาการเมื่อขาด กระดูกและฟันจะไม่เจริญตามปกติ ทำให้ร่างกายไม่เติบโตและฟันผุ ผิวหนังจะแห้งและเป็นเม็ดๆ เหมือนกระดาษทราย ในด้านระบบสืบพันธุ์ของผู้ชายพบว่าจะเป็นหมัน เพราะเซลล์ของต่อมที่สร้างเชื้ออสุจิจะไม่ทำงาน

วิตามิน เค
---------- แหล่ง ตับวัว ผักใบเขียว เช่น ผักกาดหอม กระหล่ำปลี นอกจากนี้แบคทีเรียในลำไส้ของคนยังช่วยสังเคราะห์วิตามินเคขึ้นได้เองนอกเหนือจากที่ได้จากอาหารทะเล
---------- หน้าที่ มีความสำคัญในการสร้างโปรตีน ที่มีส่วนสำคัญในการแข็งตัวของเลือด ทำให้เวลาเลือดออกจะหยุดง่าย
---------- อาการเมื่อขาด

วิตามิน อี
---------- แหล่ง มีมากในพวกน้ำมันพืช เช่น น้ำมันรำ น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันทานตะวัน ถั่วเปลือกแข็ง และถั่วเปลือกอ่อน คนทั่วไปมักจะไม่มีภาวะขาดวิตามินอี
---------- หน้าที่ ความสำคัญในการเป็นตัวป้องกันของต่างๆไม่ให้เกิดปฎิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น โดยตัววิตามินอีเองจะเข้าไปทำปฎิกิริยาแทนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผนังของเซลล์ในปอด เซลล์ของเม็ดเลือดแดงที่สัมผัสกับออกซิเจนจำนวนมากๆ ตลอดจนเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งมีส่วนสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย นอกจากนี้วิตามินอีมีส่วนช่วยในการทำงานของเส้นประสาท
---------- อาการเมื่อขาด หากขาดจะพบว่ามีอาการซีด โดยเฉพาะในเด็กคลอดก่อนกำหนด

เกลือแร่
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน และยังควบคุมการไหลเวียนของน้ำในร่างกาย และการทำงานของเส้นประสาท แบ่งเป็นสองกลุ่ม
1. เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการเป็นจำนวนมาก ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียม ซัลเฟอร์ และคลอรีน ซึ่งร่างกายต้องการมากกว่าวันละ 250 มิลลิกรัม
2. เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการวันละเพียงเล็กน้อย ได้แก่ โครเมียม คอเปอร์ฟลูออลีน ไอโอดีน แมกนีเซียม เหล็ก แมงกานีส โมลิบดินัม เซเลเนียม และสังกะสี โดยทั่วไปร่างกายต้องการวันละไม่เกิน 20 มิลลิกรัม อาหารที่เรารับประทานจะให้ทั้งพลังงาน เกลือแร่ และวิตามิน อาหารที่เรารับประทานจะมีส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น ส้มให้ทั้งวิตามินซี แคโรทีนซึ่งเป็นวิตามินเอ และมีใยอาหาร

แคลเซียม 
เป็นเกลือแร่ที่พบมากที่สุดในร่างกาย
---------- แหล่งพบมากในอาหารจำพวกนม ถั่วต่างๆ ผักใบเขียว และไข่
---------- หน้าที่ แคลเซียมช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ และ ประสาทนอกจากนั้นยังเสริมสร้างกระดูกและฟัน ทำให้ฟันแข็งแรง
---------- อาการเมื่อขาด ถ้าขาดแคลเซียม ทำให้เป็นโรคกระดูกอ่อน และเปราะ ฟันผุ

ฟอสฟอรัส
---------- แหล่ง มีมากในอาหารจำพวกนม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วต่างๆ และผักใบเขียว
---------- หน้าที่ ฟอสฟอรัสทำหน้าที่ร่วมกับแคลเซียมในการสร้าง กระดูกและฟัน
---------- อาการเมื่อขาด ถ้าขาดฟอสฟอรัส จะมีอาการคล้ายกับการขาดแคลเซียม

โซเดียม
---------- แหล่ง มีมากในเกลือ และอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือ เช่น น้ำปลา กะปิ
---------- หน้าที่ โชเดียมช่วยควบคุมความสมดุลของน้ำภายในและภายนอกเชลล์
---------- อาการเมื่อขาด ถ้าขาดโชเดียม ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ความดันโลหิตต่ำ และเป็นตะคริวง่าย

เหล็ก
---------- แหล่ง พบมากในเครื่องในสัตว์ ไข่แดง ตับ และผักใบเขียวต่างๆ
---------- หน้าที่ เหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง
---------- อาการเมื่อขาด ถ้าขาดเหล็ก ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

ไอโอดีน
---------- แหล่ง พบมากในอาหารทะเลทุกชนิด
---------- หน้าที่ ไอโอดีนช่วยควบคุมการเผาผลาญของอาหารให้เกิดพลังงาน
---------- อาการเมื่อขาด ถ้าขาดไอโอดีน ทำให้เป็นโรคคอหอยพอก

ฟลูออไรด์
---------- แหล่ง พบมากในอาหารทะเล และน้ำที่มีฟลูออไรด์
---------- หน้าที่ ฟลูออไรด์เป็นโครงสร้างของฟันและกระดูก ทำให้ฟันแข็งแรง
---------- อาการเมื่อขาด ถ้าขาดฟลูออไรด์ ทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่าย


Part 2 : ความเข้าใจผิดเรื่องโภชนาการ

A : เรื่องของไขมันและคอเลสเตอรอล

1. น้ำมันมะพร้าวไม่ดีจริงหรือ
น้ำมันมะพร้าวเป็นแหล่งของไขมันประเภทหนึ่งซึ่งได้มาจากพืช การบอกว่าน้ำมันมะพร้าวไม่ดีก็อาจจะถูกต้องและไม่ถูกต้องซะทีเดียว เนื่องจากการบริโภคน้ำมันมะพร้าวนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย กล่าวคือ นั้ามันมะพร้าวเป็นแหล่งของไขมัน ร่างกายคนเราต้องการไขมัน และน้ำมันมะพร้าวไม่มีคอเลสเตอรอลซึ่งพืชทุกชนิดไม่มีอยู่แล้ว ถึงจะไม่มีคอเลสเตอรอลแต่ก็มีไขมันอิ่มตัวอยู่สูง มีการศึกษาวิจัยจำนวนมาก ในเรื่องผลของกรดไขมันในอาหาร ต่อ ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด กรดไขมันอิ่มตัวในอาหาร จะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลรวมในเลือด และเพิ่มระดับ LDL cholesterol ซึ่งถือว่าเป็นคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี อาหารประเภทไขมันมีส่วนสำคัญ ที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งขาคความยืดหยุ่น อันจะนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน มีผลทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ดังนั้นหลีกเลี่ยงทานน้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูงจะดีกว่า เช่น น้ำมันถั่วเหลือง

2. น้ำมันพืช แช่เย็นแล้วไม่เป็นไข ดีต่อสุขภาพจริงหรือเปล่า
น้ำมันพืชที่ไม่เป็นไขนี้เพราะว่ามีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว โดยที่จะมีสองชนิดคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน การรับประทานอาหารไขมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ทดแทนไขมันอิ่มตัวจะช่วยลดระดับ LDL Cholesterol ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดีก่อให้เกิดโรคหลอดเลือด อาหารที่มีไขมันชนิดกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ได้แก่ อะโวคาโด ถั่ว น้ำมันมะกอก แต่ถ้ารับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนแทนไขมันอิ่มตัว จะไม่เพิ่มระดับไขมันในร่างกาย อาหารที่มีไขมันชนิดกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ได้แก่ น้ำมันพืชทั้งหลาย เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง
ดังนั้นการเลือกซื้อน้ำมันที่แช่เย็นไม่เป็นไขก็ดีต่อสุขภาพถ้าเลือกซื้อน้ำมันให้ถูกชนิดนะ

3. กะทิไม่ใช่น้ำมันมะพร้าว ดังนั้นรับประทานไค้จริงหรือไม่
กะทิไม่ใช่น้ำมันมะพร้าวเพราะมีลักษณะแตกต่างกันก็จริง แต่ว่าองค์ประกอบของกรดไขมันก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก
พบว่ากะทิและน้ำมันมะพร้าวต่างก็ไม่มีคอเลสเตอรอล แต่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งกล่าวไปแล้วว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัวนี้สามารถเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลรวมในเลือด และเพิ่มระดับ LDL cholesterol ซึ่งถือว่าเป็นคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี ดังนั้นอาจทำให้เกิดหลอดเลือดแข็ง ขาดความยืดหยุ่น อันจะนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน มีผลทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ดังนั้นควรรับประทานแต่เพียงเล็กน้อย ถ้าเป็นไปไค้ควรหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดโรคต่างๆ ในอนาคตได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดและหัวใจ ควรงดจะดีกว่า

4. ถ้าไขมันในเลือดสูงจะเลือกทานเนยหรือมาการีน ได้หรือไม่
เนยหรือมาการีน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณไขมันอยู่สูง และยังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวด้วย นอกจากนี้มาการีนเป็นผลิตภัณฑ์ดัดแปลงไขมันทำให้สามารถอยู่ในรูปของแข็งได้ที่อุณหภูมิห้องจากเดิมที่มีสถานะเป็นของเหลว ทำให้เมื่อทานเข้าไปทั้งสองตัวนี้ ส่งผลให้เกิดปริมาณคอเลสเตอรอลทั้งหมดเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง

5. ทานกล้วยวันละ 2 ผล แล้วจะทำให้ไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจริงหรือ
กล้วยเป็นผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมสูง ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมสมดุลการเข้าออกของสารร่วมกับโซเดียม หรือที่เรียกว่า สารอิเล็กโตรไลด์ โดยที่จะทำงานตรงข้ามกัน ถ้าร่างกายมีปริมาณโพแทสเซียมสูง จะทำให้ความเข้มข้นของเลือดลดลง ทำให้การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบลดลง

6. ทาน chocolate 3 ชิ้นต่อเดือน จะทำให้อายุยืนขึ้นจริงหรือ
มีงานวิจัยพบว่า สารในช็อกโกแลต สามารถลดระดับ LDL คอเลสเตอรอลได้ ทำให้ลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจได้

7. เปลี่ยนไส้แซนวิชของคุณจากแฮม เป็นทูน่า อาทิตย์ละ 2 ครั้ง ช่วยลดการเกิดโรคได้จริงหรือ
แฮมมีปริมาณของโซเดียมและไขมันสูงกว่าทูน่า และนอกจากนี้ทูน่ายังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็น ที่สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วย ดังนั้นการทานแซนวิชไส้ทูน่าลดอัตราการเกิดโรคได้

B : เรื่องของวิตามินและแร่ธาตุ

8. หากรับประทานวิตามินเกินกำหนดจะมีโทษหรือไม่ 
วิตามินโดยทั่วไปหากรับประทานมากเกินไปไม่มีอันตราย ร่างกายจะขับออก แต่มีวิตามินบางชนิดหากได้รับมากจะต้องได้รับสารอื่นด้วย เช่น หากได้รับวิตามิน C มากต้องได้แร่ทองแดง ดังนั้นไม่ควรได้รับวิตามินเกินกว่าที่กำหนด ตัวอย่างวิตามินที่หากได้รับเกินขนาดแล้วเกิดปัญหาต่อสุขภาพ

วิตามินเอ ----- หากได้รับประทานมากกว่า 25,000 ไอยู จะทำให้ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ผิวแห้ง คันและผมร่วง หากได้มากขึ้น ตับม้ามจะโต และปวดกระดูก หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรได้รับเกิน 10,000 ไอยู ถ้ามากกว่านี้อาจทำให้เกิดเด็กพิการ
วิตามินดี ----- หากได้รับเกิน 50,000 ไอยู จะทำให้เกิดเบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องร่วง น้ำหนักลด หิวน้ำ เหงื่อออกมาก และมีพิษต่อตับ
วิตามนอี ----- หากได้รับมากเกินไปจะทำให้การดูดซึมของวิตามินเค เอ และดี ลดลงได้
วิตามินบี 3 ----- ถ้ารับประทานขนาดต่ำทำให้เกิดร้อนตามตัว ถ้าขนาดสูงจะทำให้ท้องร่วง คลื่นไส้ และเป็นพิษกับตับ
วิตามินบี 6 ----- ถ้าใช้นานอาจทำให้เกิดชาตามแขนและขา ขนาดที่เป็นพิษคือเกิน 500 มิลลิกรัม
วิตามินซี ----- โดยทั่วไปไม่มีพิษ แต่หากใช้เกิน 1 กรัมจะทำให้เกิด คลื่นไส้ ท้องร่วง ตะคริว และเกิคนิ่วที่ไต
วิตามินบี 9 ----- ไม่มีพิษหากได้รับเพิ่มควรได้รับวิตามินบี 12 เพิ่ม แคลเซียม หากได้รับมากอาจทำให้เกิดท้องผูก
ทองแดง ----- ไม่มีพิษนอกจากผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับออก ได้รับขนาดสูงจะทำให้อาเจียน
ฟลูออรีน ----- ขนาดที่มีผลต่อสุขภาพคือเกิน 2.5 มิลลิกรัมในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ขวบหากได้รับฟลูออรีน โดยที่ได้รับ แคลเซียม ไม่พออาจทำให้ฟันเปลี่ยนสี
ธาตุเหล็ก ----- หากได้รับขนาดสูงจะระคายกระเพาะ และท้องผูก
เซเลเนียม ----- หากได้มากกว่า 2000 ไมโครกรัมจะมีผลต่อตับ ระบบประสาท ผิวหนัง เล็บและฟัน
โซเดียม ----- เกลือ หากได้รับเกินจะเป็นความดันโลหิตสูง
สังกะสี ----- หากได้รับเกินจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน และ หลอดเลือด

9. วิตามินกินตอนหลังอาหารหรือก่อนอาหารดีกว่ากัน
การทานวิตามินเสริมอาหารนั้นถ้าถามว่าควรทานตอนก่อนหรือหลังทานอาหารนั้น ก็ขึ้นอยู่กับตัววิตามินเอง ว่าเป็นวิตามินประเภทใด ถ้าเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ เช่น วิตามินบีและซี เป็นต้น เราสามารถทานไปกับนั้าทั้งก่อนหรือหลังก็ได้ เพราะว่าน้ำเป็นตัวละลายวิตามินได้ แต่ทว่าการดูดซึมวิตามินนั้น ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น ความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร และอาหารอื่นๆ ว่ามีการขัดขวางการดูดซึมหรือไม่ แต่ถ้าเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน แน่นอนว่าถ้าเราทานไปกับน้ำอย่างเดียวไม่เกิดผลแน่ ต้องทานอะไรก็ได้ที่มีไขมันเป็นองค์ประกอบด้วย เพื่อเป็นตัวละลายไขมัน
เราสามารถทานวิตามินได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร ถ้าเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำเราสามารถทานก่อนอาหารได้ แต่ถ้าเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน การทานหลังอาหารจะดีกว่า เพราะว่าจะมีไขมันเป็นตัวละลายวิตามินออกมา แต่ปัจจุบันวิตามินส่วนใหญ่จะมีการเพิ่มสารที่ช่วยในการดูดซึมวิตามินรวมอยู่ด้วย คราวหน้าถ้าจะชื้อวิตามินก็ดูให้ดีๆ

10. กินน้ำแร่มีประโยชน์ต่อร่างกายจริงหรือไม่
น้ำแร่ คือ น้ำที่มีเกลือแร่หลายๆ ชนิดอยู่ ซึ่งเกลือแร่เหล่านี้ร่างกายมีความจำเป็นในการใช้ควบคุมกระบวนการต่างๆ แต่ว่าการทานน้ำแร่เพียงอย่างเดียวนั้น ร่างกายได้รับเกลือแร่ต่างๆ ไค้น้อยมาก เพราะว่าการดูดซึมเกลือต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ อย่าง ดังนั้น ถ้าจะให้ได้ผลดี ควรทานน้ำแร่ร่วมกับอาหารจะให้ประโยชน์ดีที่สุดต่อร่างกาย

11. การดื่มไวน์แดงที่มาจากชิลีแทนที่จะเป็นฝรั่งเศสดีกว่าจริงหรือ
ไวน์ที่ปลูกในประเทศชิลีนั้นมีรายงานว่าพบสารต้านอนุมลอิสระมากกว่าไวน์ที่ปลูกในประเทศฝรั่งเศส ได้แก่สารฟลาโวนอย ทำให้สามารถลคอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ ไค้


12. การเพิ่มสารอาหารจำพวกวิตามินและแร่ธาตุจะมีผลต่อระดับสติปัญญาหรือไอคิวของเด็กหรือไม่
ผลงานวิจัยของเดวิด เบนตัน และกวิลีม โรเบิร์ตส์ มีเป้าหมายหลักเพื่อศึกษาว่า การเพิ่มสารอาหารจำพวกวิตามิน และแร่ธาตุจะมีผลต่อระดับสติปัญญาหรือไอคิวของเด็กหรือไม่ จากผลการวิจัยได้ข้อสรุปว่า สารอาหารจำพวกวิตามินและแร่ธาตุ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเพิ่มระดับสติปัญญาหรือความฉลาดของคนเรา สำหรับเด็กๆ ที่กำลังเจริญเติบโต อาหารเพื่อสุขภาพคือ อาหารที่มีสารอาหาร ครบทุกหมวดหมู่ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา ควรรับประทานพืชผักผลไม้ที่ให้เส้นใยอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายทุกวัน อย่างน้อยวันละ 20 ถึง 30 กรัม ต่อวันจะเป็นปริมาณที่เหมาะสม

13. หลังจากออกกำลังกายอย่างหนัก ให้ทานวิตามินซีจะลดความเสี่ยงในการที่จะเป็นหวัคลงได้จริงหรือ
การทานวิตามินซีนั้นจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่การทานก่อนหรือหลังการออกกำลังกายนั้นไม่ให้ผลแตกต่างกันแต่อย่างใด

14. เครื่องดื่มที่ผสมสาร "แอล คาร์นิทีน" โดยใช้คำพูดว่าดื่มแล้วอย่าอยู่เฉย สารตัวนี้ คืออะไร แล้วการทำกิจกรรมต่างๆ หลังจากดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของสารนี้ทำให้เกิดผลดีต่อร่างกายอย่างไร
สารแอล คาร์นิทีนนี้เป็นสารที่ทำให้เกิดการนำพลังงานของร่างกายไปใช้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเผาผลาญสารอาหารมากขึ้น การรับประทานสารนี้แล้วทำกิจกรรมจะทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดีขึ้น

15. รับประทานส้มวันละ 2 กิโลกรัม ช่วยให้หายจากอาการหวัดจริงหรือ
ส้มอุดมไปด้วยวิตามินซี ดังนั้น การรับประทานส้มก็เหมือนกับการรับประทานวิตามินซี ที่จะไปช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ดีขึ้น สามารถลดอาการจากหวัดได้

C: เรื่องของอาหาร ผักและผลไม้ (การเลือกกิน)

16. กินอาหารไหม้เกรียม เป็นมะเร็งจริงหรือ
อาหารที่ผ่านความร้อนจนไหม้เกรียมนั้น ทำให้เกิดสารเคมีที่เชื่อว่าเป็นสารก่อมะเร็งขึ้น ชื่อว่าเฮเทอโรไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ซึ่งมีการทดลองกับสัตว์ทดลองแล้วว่า ทำให้เกิดมะเร็งขึ้นในสัตว์ทดลอง และในคนมีผลการสำรวจพบว่าคนที่เป็นมะเร็งส่วนใหญ่ มีการทานอาหารปิ้ง ย่างบ่อยๆ

17. กินทุเรียนแล้วต้องกินมังคุดเป็นการล้างกันจริงหรือ 
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ทานแล้วทำให้เกิดความร้อนขึ้นภายในร่างกายเนื่องจากมีปริมาณของโพแทสเซี่ยมสูงเมื่อเทียบกับผลไม้อื่นๆ ทำให้มีคำแนะนำว่าควรรับประทานผลไม้ที่ช่วยลดความร้อนหรือทำให้เกิดเย็นขึ้น โดยที่กลุ่มของผลไม้ที่สามารถช่วยลดความร้อนได้แก่ ผลไม้ที่มีปริมาณน้ำสูงๆ เช่น แตงโม ส้ม มังคุด เป็นต้น
ดังนั้นการทานมังคุดก็สามารถช่วยลดดวามร้อนที่เกิดจากการทานทุเรียนได้

18. กุ้งฝอย แช่แข็งนานๆ มีผลเสียอะไรมั้ย
การแช่แข็ง หรือเก็บอาหารไว้นานๆ จะเกิดการสูญเสียของสารอาหารบางชนิด ได้แก่ วิตามิน ส่วนโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่นั้นไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
ดังนั้นกุ้งที่แช่แข็ง เรายังได้รับ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่อยู่ เพียงแต่ได้รับวิตามินลดลง

19. นมแพะทานได้หรือไม่
นมแพะเป็นนมจากสัตว์อีกชนิดหนึ่ง ที่ปัจจุบันเริ่มมีผู้รับประทานกันมากขึ้น นมแพะมีองด์ประกอบของสารอาหารไม่แตกต่างจากนมวัวมากนัก พบว่านมแพะนั้นมีปริมาณไขมันมากกว่านมวัว แต่โปรตีนในนมแพะร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ง่ายกว่านมวัว
เราสามารถทานนมแพะได้เนื่องจากมีคุณค่าของสารอาหารครบถ้วน แต่ไม่ควรทานนมแพะดิบ หรือที่ไม่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนเสียก่อน เพราะจะทำให้เกิดโรคได้


20. กินผักบุ้งแล้วตาหวานจริงหรือไม่
ผักบุ้งเป็นแหล่งของวิตามินเอ ชึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเยื่อบุที่ลูกตา ดังนั้นการรับประทานผักบุ้งเป็นการบำรุงรักษาดวงตาของเรานั่นเอง ชึ่งอาจพูดว่าทานผักบุ้งแล้วตาสวยก็ได้

21. รับประทานผัก หรือใยอาหารมากทำให้ท้องอืดจริงหรือไม่
การรับประทานผัก หรือใยอาหารเป็นปริมาณมาก ๆ ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยได้ การสะสมอยู่มากๆ โดยที่ไม่มีการย่อยจะทำให้ท้องอืดได้ ชึ่งเกิดจากการไปรวมตัวกันมากๆ ในกระเพาะอาหารก่อนส่งต่อไปยังลำไส้ แล้วขับออกนั่นเอง

22. ผักต้ม ไม่มีคุณประโยชน์จริงหรือ 
ผักต้มหมายถึงผักที่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนแล้ว หลายๆ คนอาจคิดว่าผักที่ผ่านความร้อนแล้วนั้นจะมีการสูญเสียคุณค่าทางอาหารไปเกือบทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงพบว่า วิตามินและเกลือแร่บางชนิดเท่านั้นที่สลายไปในช่วงที่โดนความร้อนนานๆ นี้ เช่น วิตามินซี แต่ว่าวิตามินส่วนใหญ่จะละลายออกมาอยู่ในน้ำต้มผักด้วย ดังนั้น การทานผักต้มให้ได้ประโยชน์สูงสุด เราควรทานน้ำที่ต้มผักด้วย

23. การกินผักต้มควรกินน้ำด้วยหรือไม่
ผักที่ผ่านกระบวนการปรุงที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ทั้งต้ม ลวก นั้น เวลารับประทานให้ทานน้ำด้วย เพราะว่าวิตามินที่ละลายน้ำได้ส่วนใหญ่จะถูกละลายออกมากับน้ำที่ต้ม ดังนั้นการทานน้ำต้มผักด้วยเป็นการได้รับสารอาหารจากผักที่มีอยู่ได้เกือบทั้งหมด

24. การทิ้งผักหรืออาหารที่ปรุงสุกแล้วให้เย็นทำให้คุณค่าสารอาหารหมดไปจริงหรือ
การทิ้งผักหรืออาหารที่ปรุงสุกแล้วให้เย็น ระยะเวลาที่เก็บไว้นานๆ ทำให้เกิดการเสื่อมสลายของวิตามิน โดยเฉพาะการสัมผัสกับอากาศ แสง ทำให้คุณค่าสารอาหารบางชนิดสูญหายไปจากการเก็บ เช่น วิตามินซี ถ้ายังคงมีอยู่ สามารถถูกทำลายได้ด้วยแสง ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่ปรุงเลร็จใหม่ๆ เพื่อที่จะได้คุณค่าสารอาหารที่ดีกว่า

25. แครอท ต้มได้ประโยชน์มากกว่าจริงหรือ
แครอทต้มต่างจากแครอทสดตรงที่ผ่านความร้อน แครอทเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นวิตามินเอ ความร้อนจะทำให้เนื้อของแครอทถูกทำให้นุ่มขึ้น ทำให้วิตามินเอหลุดออกมาจากแครอทง่ายขึ้น จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินเอมากขึ้นกว่ากินแครอทสด

26. กะหลํ่าปลี กินมากเป็นมะเร็งจริงหรือเปล่า และปริมาณที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไหร่
กะหล่ำปลีเป็นผักที่ไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งหากทานปริมาณมากๆ แต่ยังมีคุณประโยชน์อีกต่างหาก จากงานวิจัยของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าพืชตระกูลกะหล่ำ สามารถป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ส่วนปลายกระเพาะอาหาร และอวัยวะระบบทางเดินหายใจได้อีกด้วย ดังนั้นควรทานพืชในตระกูลนี้ อันได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บรอคโคลี่ ฯลฯ

27. กะหล่ำปลีสีม่วง มีสารอาหารมากกว่ากะหลํ่าปลีสีขาว จริงหรือเปล่า
จริงๆ แล้วกะหล่ำปลีทั้งสองชนิดนี้มีปริมาณสารอาหารใกล้เคียงกัน เพียงแต่ว่ามีสารให้สีแตกต่างกันเท่านั้นเอง

28. ทานอาหารที่ค้างคืน จะไม่สบายได้หรือเปล่า 
อาหารที่ปรุงไว้เป็นระยะเวลานานพอสมควร ทำให้เชื้อโรคสามารถเจริญเติบโตได้ ดังนั้นควรเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำ เช่น ในตู้เย็นและการนำกลับมารับประทานใหม่ควรมีการให้ความร้อนก่อนทุกครั้ง เพื่อที่จะทำลายเชื้อที่อาจตกค้างอยู่ได้

29. ชาเขียว มีประโยชน์ต่อร่างกายจริงหรือไม่อย่างไร 
ชาเขียวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อร่างกายได้รับจะช่วยป้องกันปฎิกิริยาต่างๆ ที่ไม่ดีได้ เช่น การเกิดมะเร็ง เป็นต้น และนอกจากนี้มักจะมีน้ำตาลฟรุกโตสซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทันทีเมื่อทานจะรู้สึกสดชื่น

30. ชาเขียว ดื่มในปริมาณเท่าไหร่จึงจะพอ 
ชาเขียวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใครก็รู้จักกันไปหมดแล้วในยุคนี้ว่าดีต่อสุขภาพ สามารถช่วยลดการเกิดมะเร็งได้ ลดอัตราการเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ และอื่นๆ อีกมากมาย
แต่รู้ไหมว่าไม่ว่าอะไรนั้นมักจะมีสองด้าน คือ ประโยชน์และโทษ ชาเขียวเองก็อาจทำให้เกิดโทษได้ เช่น การแพ้ขณะที่ในบางคนที่บริโภคชาเขียวมากเกินไปเป็นระยะเวลานานอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งในหลอดอาหารและอาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อยอื่นๆ เกิดขึ้นได้เช่นกัน นอกจากชาเขียวจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงในบางคนแล้วยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ควรบริโภคชาเขียว หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภค ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นโรคไต ไฮเปอรไทรอยด์ ผู้ที่กังวลง่ายหรือมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติหรือมีการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ หรือผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยาละลายลิ่มเลือด และนอกจากนี้ยังมีคาเฟอีน และมีน้ำตาลอยู่มากเพราะว่าปกติแล้วชามีรสขมทำให้การผลิตน้ำชาเขียวนั้นจะต้องมีการเติมน้ำตาลชนิดต่างๆ มากกว่าปกติ ถ้าเราทานมากๆ แล้วนอกจากได้คาเฟอีนมาก ยังแถมอาจจะก่อให้เกิดโรคอ้วนได้
แต่ถ้าเป็นคนปกติสามารถทานได้ แต่ต้องสังเกตที่ข้างฉลากด้วยว่ามีปริมาณคาเฟอีนเท่าไหร่ โดยปกติไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 ขวด แต่ถ้าจะให้ดีดื่มน้ำเปล่าดีกว่า ดี่มได้มากกว่าตั้งเยอะ

31. ส้ม ต้านหวัดได้จริงหรือเปล่า
การรับประทานส้มนั้น สามารถต้านหวัดได้ โดยที่วิตามินซีจะไปช่วยการทำงานของเม็ดเลือดขาว (Leukocyte) ที่ทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคต่างๆ เพราะว่าส้มนั้นมีปริมาณวิตามินซีอยู่สูง พบว่าในน้ำส้มมีปริมาณวิตามินซีอยู่ถึง 49 มิลลิกรัมต่อส้ม 100 กรัม เลยทีเดียว

32. กินส้มต้องกินใยส้มด้วยจึงจะมีประโยชน์จริงไหม 
การทานผลไม้ใดๆ นั้นเราหวังที่จะได้รับอยู่ 3 อย่างคือ วิตามิน เกลือแร่ และใยอาหาร เพราะว่าผักและผลไม้นั้น ส่วนใหญ่เป็นแหล่งของใยอาหารที่มีคุณค่า (Dietary fiber) ซึ่งใยอาหารเรานี้ถึงแม้ว่าร่างกายไม่มีความต้องการที่จะนำไปใช้ เพราะร่างกายเราไม่มีเอนไชม์ที่จะไปย่อยได้ แต่ทว่ามันก็มีประโยชน์ต่อลำไส้นั้น ซึ่งมีผลดีต่อการทำงานของลำไส้ เมื่อร่างกายไม่สามารถย่อยผักได้ ผักก็จะกลายเป็นกากอาหาร โดยถูกขับออกจากร่างกายผ่านลำไส้ต่างๆ ในระบบขับถ่ายไปสู่นอกร่างกายในที่สุด และเจ้ากากอาหารหรือใยอาหารนี้เองที่ทำหน้าที่กวาดเอาของที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ออกไปนั่นเอง จึงเกิดการระบายช่วยให้ไม่เกิดการสะสมของอาหารที่ย่อยแล้วและลดการเกิดอาการท้องผูกอีกด้วย

33. ชาขาว คืออะไร ทำหน้าที่อะไรให้กับร่างกายบ้าง 
ชาขาวคือ ส่วนของยอดอ่อนใบชาไม่ใช่ยอดอ่อนของชาเขียว เป็นคนละชนิดกัน ชึ่งชาขาวมี 2 ชนิด ชนิดแรกเป็น "แป๊ะม้อเก๊า" หรือ "ชาขนลิงขาว" ชึ่งมีลักษณะเป็นเกล็ดฝอยๆ ที่ผลิตจากยอดใบไม้ที่มีสีอมขาว ส่วนอีกชนิดมีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่เป็นชาคนละชนิด คือ "เล็งแจ้แต้" ชาขาวมีราคาแพงมาก เนื่องจากต้นชาขาวมีน้อยมาก อีกทั้งยังผลิตจากยอดของใบชาที่เกี่ยวได้เพียงฤดูใบไม้ร่วงและใบไม้ผลิเท่านั้น สรรพคุณของชาขาวโดยทั่วไปคือช่วยขับของเสีย จำพวกไขมันออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ กระตุ้นหัวใจ อย่างไรก็ตาม การดื่มชา ควรจำกัดปริมาณการดื่ม เพราะอาจทำให้นอนไม่หลับได้ เนื่องจากในชามีคาเฟอีนผสมอยู่ด้วย
ขณะที่สถาบันค้นคว้าวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยคลีฟแลนด์ ระบุถึงผลการวิจัยชาขาวว่า ชาขาวมีสารแอนติออกซิแดนต์ในปริมาณสูงกว่าชาเขียวถึง 3 เท่า สารสกัดจากใบชาขาวจะมีปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยหยุดยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและไวรัส ป้องกันมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งช่องท้องและมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมทั้งโรคที่เกิดจากแบคทีเรียในกลุ่มสเตร็ปโตค็อกคัส และโรคปอดบวม ชะลอความแก่ ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุทำให้ผิวเกิดริ้วรอย และป้องกันการเกิคมะเร็งในผิวหนัง

34. น้ำ ดื่มมากเกินไปไม่ดีจริงหรือ
การทานน้ำมากเกินไปอาจเกิดผลเสียได้ โดยที่ถ้าเราทานน้ำในปริมาณมากๆ ทันที จะทำให้เกิดความไม่สมดุลของสารอิเล็กโตรไลซ์ ที่ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของน้ำเข้าสู่บริเวณต่างๆ ของร่างกาย ถ้าขาดสมดุล จะทำให้เกิดความเป็นพิษขึ้น และทำให้น้ำเข้าสู่ภายในบริเวณอวัยวะต่างๆ มากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณโปแทสเซียมไอออนในอวัยวะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดอาการ ปวดศีรษะ มึนงง ตระคิว เกิดขึ้นได้ และถ้าทานน้ำปริมาณมากๆ จะเกิดอาการบวมน้ำได้


D: โรคต่างๆ 

เบาหวาน

35. ทำไมเป็นเบาหวานจึงห้ามทานเค็ม 
อาหารที่มีเกลือมากมีผลต่อความดันโลหิตสูง คนที่เป็นเบาหวานมักจะมีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม

36. ผู้เป็นเบาหวานควรมีลูกอมติดตัวไว้จริงหรือ
ผู้เป็นเบาหวานต้องใช้อินซูลินควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือผู้ที่กินยาอย่างเข้มงวด ควรมีลูกอมหรือน้ำตาลติดตัวกันไว้เสมอ เนื่องจากอาจเกิดกรณีร่างกายมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมากเกินไปอาจทำให้หมดสติได้

37. กินวุ้นเส้นแทนข้าวช่วยควบคุมน้ำตาลได้ดีกว่าจริงหรือ 
การกินวุ้นเส้นที่ทำจากถั่วเขียวแท้ 100% จะทำให้ร่างกายดูดซึมได้ช้ากว่าข้าวขาว จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นได้ช้ากว่า

38. คนเป็นเบาหวานรับประทานผลไม้ได้หรือไม่
คนเป็นเบาหวานสามารถรับประทานผลไม้ได้ แต่ควรเลือกผลไม้ที่ไม่หวานจัค เช่น ฝรั่ง มะม่วงดิบ เป็นต้น และควรรับประทานเพียงแค่ 1 ส่วนต่อครั้งที่รับประทาน เช่น ฝรั่ง 1/2 ผล เพราะผลไม้ส่วนใหญ่มีน้ำตาลในรูปของฟรุกโตส การกินผลไม้มากๆ จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้

39. ถ้าลูกรับประทานขนมหวานบ่อยๆ มีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวานมากกว่าเด็กปกติหรือไม่
การรับประทานขนมหวานชึ่งมีส่วนประกอบของน้ำตาลสูงนั้น จะทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดสูง การทำงานของตับอ่อนจะเพิ่มขึ้นในการสร้างอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าเกิดลักษณะนี้เรื่อยๆ อาจส่งผลให้เกิดความบกพร่องของอินซูลิน และทำให้เกิดโรคเบาหวานในเด็กได้ ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะดูแลเรื่องการรับประทานขนมของลูกๆ ไม่ให้ทานแต่พวกขนมที่มีแป้ง น้ำตาลมากเกินไป

40. อาหารที่มี GI (ดัชนีชี้วัดระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ) ดีต่อเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานจริงหรือ
จริงๆ แล้วอาหารที่มี GI ต่ำเหล่านี้ไม่ได้ดีเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานเท่านั้น ถ้าหากเราไม่ได้เป็นโรคเบาหวานแล้ว รับประทานอาหารพวกนี้ ก็จะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือด ไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วยลดการทำงานหนักของตับอ่อนในการลร้างอินซูลิน และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานในอนาคตได้อีกด้วย ดังนั้นทุกคนต้องหันมาทานอาหารที่มี GI ต่ำกันให้มากๆ ยิ่งขึ้น

ความดันเลือดสูง และหัวใจ

41. ผู้ที่เป็นความดันเลือดสูงหรือโรคไตร่วมด้วย ทำไมไม่ควรรับประทานรสเค็มจัด
เพราะว่าความเค็มเกิดจากโซเดียมซึ่งทำให้เกิดความเข้มข้นในของกระแสโลหิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความดันเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการควรจะลดอาหารเค็ม

42. รับประทานเกลือทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น 
การรับประทานเกลือซึ่งเป็นแหล่งของโชเดียม เจ้าโซเดียมนี้เองที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการผ่านเข้าออกของสารภายในร่างกาย โดยที่จะทำงานร่วมกับโพแทสเซียม ถ้าร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณสูงจะทำให้ความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้นเพราะว่าเกิดการผ่านเข้าสู่เซลล์ของโซเดียมมากขึ้น ทำให้ความเข้มข้นของกระแสโลหิตเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงส่งผลให้ความดันโลหิตสูงด้วยเช่นกัน

43. อาหารประเภทไขมันมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งและโรคหัวใจ
มีการศึกษาวิจัยจำนวนมาก ในเรื่องผลของกรดไขมันในอาหารต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด กรดไขมันอิ่มตัวในอาหาร จะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลรวมในเลือด และเพิ่มระดับ LDL cholesterol ชึ่งถือว่าเป็นคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี อาหารประเภทไขมันมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็ง ขาดความยืดหยุ่น อันจะนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน มีผลทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ดังนั้นหลีกเลี่ยงทานน้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูงจะดีกว่า เช่น น้ำมันถั่วเหลือง

E: เรื่องของความเชื่อต่างๆ

44. ช่วงประจำเคือนมา ไม่ควรรับประทานน้ำมะพร้าวจริงหรือ
ช่วงที่ประจำเดือนมานั้นเกิดจากการลอกหลุดของผนังมดลูกที่ไม่มีตัวอ่อนของไข่ที่ผสมแล้วไปฝังตัว สำหรับทุกๆ รอบเดือนจะเกิดปรากฎการณ์นี้ขึ้น แล้วคุณผู้หญิงมักมีอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อท้องและบริเวณมดลูก เนื่องจากเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณนั้น
การรับประทานน้ำมะพร้าวนั้น ส่วนใหญ่แล้วเรารับประทานแบบเย็นๆ ความเย็นจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นหดตัวมากยิ่งขึ้น จึงเป็นสาเหตุว่า ทำไมช่วงที่มีรอบเดือน ไม่ควรทานน้ำมะพร้าว ไม่เกี่ยวกับสารอาหารที่มีในน้ำมะพร้าวแต่อย่างใด

45. รับประทานไข่แล้วทำให้แผลเป็นบวมปูด หายช้า จริงหรือไม่
การรับประทานไข่ซึ่งเป็นโปรตีนนั้น ร่างกายมีความต้องการอย่างยิ่งในขณะที่เกิดการบาดเจ็บขึ้นเพราะโปรตีนเป็นส่วนสำคัญในการซ่อมแซมบริเวณที่เกิดแผลหรือบาดเจ็บขึ้น การกล่าวอ้างว่าการรับประทานไข่แล้วทำให้แผลเป็นบวมปูดนั้นไม่เป็นความจริง

46. เป็นโรคเก๊าท์ ทำไมต้องห้ามกินหน่อไม้ดอง
โรคเก๊าท์เกิดจากกระบวนการใช้ และขับถ่ายสารพวกพิวรีนของร่างกายผิดปกติไป พิวรีนเป็นธาตุอาหารที่พบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ (ตับ, เซี่ยงจี้) รวมทั้งหน่อไม้ดองด้วย ซึ่งพิวรีนนี้จะถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี สำหรับบางรายที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้า หรือเร็วก็ตามจะทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในข้อกระดูกหรือรอบๆ ข้อกระดูก ซึ่งโรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์

47. โรคหัวใจ ดื่มชาเขียว เป็นประจำช่วยป้องกันโรคหัวใจได้จริงหรือ
สารในชาเขียวช่วยปัองกันไม่ไห้ไขมันไปจับตัวตามผนังหลอดเลือด ทำให้ลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ แต่ต้องระวังอย่ารับประทานมากเกินไปอาจจะก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ได้

48. คนเป็นเบาหวานกินอาหารประเภทเส้นแล้วดีจริงหรือ 
อาหารประเภทเส้นเมื่อเทียบกับข้าวหรือขนมปังรวมทั้งน้ำตาลแล้ว จะพบว่ามีค่าดัชนีวัดระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าทำให้เมื่อรับประทานเข้าไปการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดจะช้า อินซูลินสามารถทำงานได้ดีกว่าการที่น้ำตาลในเลือดขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะคนที่เป็นโรคเบาหวานมีความผิดปกติกับการควบคุมอินซูลิน

49. ทำไมคนเป็นโรคไตที่ต้องฟอกเลือดจึงห้ามรับประทานปลาที่ไม่มีเกล็ด
คนที่เป็นโรคไตคุณหมอจะแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนน้อยลงเพราะว่า ไตจะเป็นอวัยวะที่มีการกำจัดยูเรียที่มาจากโปรตีน การลดการบริโภคอาหารโปรตีนจะช่วยให้ไตไม่ต้องทำงานหนัก

50. ทานอาหารเช้าทุกวันลดนั้าหนักได้จริงหรือ
การรับประทานอาหารเช้าทำให้ความรู้สึกหิวหรืออยากอาหารในมื้อถัดไปน้อยลง ทำให้เราบริโภคอาหารได้น้อยลง โดยเฉพาะความอยากอาหารจำพวกไขมันลดลงอีกด้วย ส่งผลให้มีน้ำหนักตัวลดลง จะเห็นได้จากงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าชายที่งดทานอาหารเช้านั้นทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น และรับประทานอาหารมากขึ้นโดยเฉพาะในมื้อถัดไป

51. ดื่มน้ำเย็นวันละ 4.5 ลิตรทุกวัน ลดน้ำหนักลงได้ 0.50 กิโลกรัม ทุกๆ 4 สัปดาห์ จริงหรือ
ในการดื่มน้ำแต่ละครั้ง ร่างกายของเราจะใช้พลังงาน 516 kilojules ในการทำให้น้ำดื่มมีอุณหภูมิเป็น 22.70 องศาเซลเซียส ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิภายในร่างกายของเรา เมื่อเราดื่มเข้าไปทำให้เกิดการใช้พลังงานขึ้น แต่พลังงานที่ลดลงไปนั้นก็น้อยมากถ้าเทียบกับวิธีอื่นๆ เช่น การออกกำลังกาย

52. บ้วนปากทันทีทุกครั้ง หลังทานอาหารลดการเกิดฟันผุ ได้จริงหรือ
การบ้วนปากเป็นการล้างเอาเศษอาหารที่ติดอยู่ภายในช่องปากออกไปบางส่วน ซึ่งสามารถลดแบคทีเรียในช่องปากลงได้และที่สำคัญที่สุดคือ ช่วยลดความเสี่ยงของฟันผุได้อีก

53. ทานแอปเปิ้ลวันละ 2 ลูกแทนอาหาร 1 มื้อ ลดน้ำหนักได้จริงหรือ
แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่มีเส้นใยและให้พลังงานต่ำ การทานแอปเปิ้ลแทนอาหารหนึ่งมื้อนั้นทำให้ร่างกายได้รับพลังงานที่น้อยลงมากทำให้น้ำหนักลดลงได้ แต่ว่าแอปเปิ้ลนั้นมีกรดอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารของเราได้

54. คนที่เป็นเบาหวานกินข้าวกล้องดีกว่าข้าวขาวจริงหรือ 
ข้าวกล้องเป็นอาหารที่มีใยอาหารสูง ซึ่งร่างกายย่อยและดูดซึมได้ช้ากว่าข้าวขาว จึงช่วยผ่อนแรงในการทำงานของตับอ่อนในการสร้างอินซูลิน

55. เมื่อคุณทานเบอร์เกอร์ควรดื่มเบียร์มากกว่าดื่มน้ำอัดลมจริงหรือ
มีรายงานการวิจัยพบว่าสารในเบียร์จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งจากเนื้อที่ผ่านความร้อน โดยที่มีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ แต่ทางที่ดีเราไม่ควรทานอาหารที่ไหม้เกรียม

56. แม่ขาดธาตุเหล็กตอนท้อง ลูกจะไม่ฉลาคจริงหรือ 
ธาตุเหล็กมีความสำคัญต่อการพัฒนาสมองของลูก ซึ่งถ้าแม่ขณะตั้งครรภ์ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพออาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด แท้ง ตกเลือด ทารกมีน้ำหนักน้อยได้ โดยเฉพาะการพัฒนาของสมองจะช้ากว่าเด็กที่ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอจากแม่
ดังนั้นกล่าวได้ว่าการขาดธาตุเหล็กส่งผลให้ระดับของสติปัญญาของเด็กน้อยกว่าเด็กปกติทั่วไป

57. น้ำมันปลาดีจริงหรือ
น้ำมันปลาเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว แต่มีส่วนประกอบแตกต่างไปจากไขมันพืช คือ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงกลุ่มหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า กรดไขมันโอเมก้าสาม ที่จำเป็นในการรวมตัวของเกล็ดเลือด นอกจากนี้ยังมีผลดี คือ ช่วยลดปริมาณไขมันตัวร้าย (Cholesterol LDL) และลดความดันโลหิต

58. ควรกินน้ำมันปลาเสริมหรือไม่ ถ้าควร ควรกินเท่าไหร่
น้ำมันตับปลามีคุณค่าอย่างที่กล่าวไปแล้วในข้อก่อนหน้านี้ แต่ว่าเราสามารถได้รับสารตัวนี้ได้จากอาหารปกติทั่วไป โดยเฉพาะในน้ำมันพืช และปลาทะเลน้ำลึก แค่สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าต้องการทานเสริมน้ำมันอย่างเดียวทีละมากๆ อาจเกิดพิษจากวิตามินเอและวิตามินดีได้ และไม่ควรรับประทานมากเกินวันละ 1 ช้อนโต๊ะ

59. มีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคืออะไร 
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นอาหารเสริมนอกเหนือจากอาหารมื้อหลัก เพื่อป้องกันและดูแลสุขภาพ โดยที่ผู้ใช้ส่วนมากเป็นผู้ที่มีสุขภาพปกติ ไม่ใช่ผู้ป่วย
รายการอาหารเสริมที่ อย. ให้ข้อมูลความรู้ ได้แก่ กระเทียม กากใย โยเกิรต์ รำข้าว บริเสอร์ยีสต์ เห็ดหอม โมลาส สาหร่ายเกลียวทอง สาหร่ายทะเล เลซิติน จมูกข้าวสาลี น้ำมันจมูกข้าวสาลี โฮลวีท น้ำผึ้ง เกสรดอกไม้ โสม สมุนไพร พืชผักไทย นม นมผึ้ง รวงผึ้ง วิตามินวิตามินเอวิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 กรดโฟลิก วิตามินบี 12 ไบโอติน วิตามินซี เกลือแร่ แคลเซียม คลอไรด์ แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม โซเดียม ซัลเฟอร์ โครเมียม โคบอลต์ คอปเปอร์ ฟลูออไรด์ ไอโอดีน ไอรอน แมงกานีส โมลิบดินัม เซเลเนียม ซิลิคอน ซิงค์


60. ถ้าอยากมีสุขภาพดีต้องทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจริงหรือ
แม้ว่าร่างกายของมนุษยเราไม่สามารถผลิตสารอาหารที่จำเป็นต่อระบบชีวิตได้ทุกอย่าง แต่เราสามารถทดแทนการขาดสารอาหารจำเป็นบางตัวได้ด้วยการรับประทานอาหารเข้าไป เมื่อลองนำมาพิจารณาดู เราจะพบว่าใน หนึ่งมื้ออาหาร เราได้รับคุณค่าพร้อมความอร่อยไปแล้วมากมาย ดังนั้นจึงพบว่าเราไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารเพิ่มจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ทั้งมีราคาแพง และไม่ได้มีรสชาติดีเหมือนกับอาหาร
แต่ถ้าคุณมีปัญหาสุขภาพ พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานหนัก คุณอาจทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ แต่อย่างนี้ย่อมไม่ใช่การแก้ปัญหาสุขภาพที่ถูกต้อง ทางที่ดีแบ่งเวลาให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แค่นี้คุณก็จะมีสุขภาพดีได้โดยไม่ต้องกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้เปลืองเงิน

61. กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากๆ หรือทุกวัน จะทำให้ไตพังจริงหรือ
จากผลการสำรวจของวารลารฉลาดซื้อเผยผลทดสอบปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป พบว่าส่วนใหญ่มีปริมาณโซเดียมที่สูงมากกว่าร้อยละ 50-100 ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน การบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากกว่า 1 ซองหรือถ้วยต่อวันโดยใช้เครื่องปรุงทั้งซอง จะทำให้ผู้บริโภคได้รับโซเดียมมากเกินต้องการทั้งจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและจากอาหารมื้ออื่นที่มีโซเดียมผสมอยู่ ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้
หากร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินจะมีผลต่อระบบการทำงานของไต ไตต้องทำงานหนักเพื่อที่จะขับโซเดียมส่วนเกินออกไป หรือคนที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว ก็จะเกิดปัญหาการคลั่งของโซเดียมอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาความดันโลหิตสูง

62. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกินอย่างไรให้ปลอดภัยและได้คุณค่า 
เวลาทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปควรต้มให้สุก ไม่ควรรับประทานแบบเปล่าๆ เพราะบะหมี่จะไปพองตัวในกระเพาะ ทำให้เกิดอาการจุกแน่นได้ และจะทำให้ได้รับโซเดียมสูง หากใช้เครื่องปรุงรสร่วมด้วย เครื่องปรุงของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปส่วนใหญ่จะมีโซเดียมสูงประมาณ 50-100 % ขึ้นไป ที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นเวลาปรุงควรใช้เครื่องปรุงรสแค่ ครึ่งซองหรือน้อยกว่านั้น และหากห่วงเรื่องความเข้มข้นของรสชาติก็ให้ใช้น้ำร้อนลดลงมาครึ่งหนึ่งเช่นกัน วิธีนี้จะทำให้ร่างกายรับโซเดียมน้อยลงมาอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ในขณะที่รสชาติไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก (แม้ว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบางรส บางยี่ห้อจะมีการเพิ่มคุณค่ามากขึ้น โดยการเสริมสารอาหาร 3 ชนิด ในเครื่องปรุง คือ วิตามินเอ ไอโอดีน และธาตุเหล็ก แต่อันตรายจากโซเดียมที่มากเกินไปทำให้เราไม่สามารถได้รับสารอาหารทั้งสามอย่างเต็มที่ได้ ดังนั้นเพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนควรเติมไข่ หรือเนื้อสัตว์และผักลงไปทุกครั้ง

63. ทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปติดต่อกันนานๆ ไม่ดีจริงหรือ 
ไม่ควรกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปติดต่อกันเป็นประจำนานๆ ซึ่งถือว่าเป็นการกินอาหารที่ซ้ำซาก ควรกินสลับกับอาหารประเภทแป้งอื่นๆ โดยเฉพาะควรกินข้าวเป็นอาหารหลัก การกินอาหารที่ผ่านขบวนการผลิตซ้ำซากจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการสะสมสารพิษบางชนิดในร่างกาย และทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน หรือได้รับอย่างใดอย่างหนึ่งมากจนเกินไป
หากร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไปจะมีผลต่อระบบการทำงานของไต ไตต้องทำงานหนักเพื่อที่จะขับโซเดียมส่วนเกินออกไป หรือคนที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว ก็จะเกิดปัญหาการคั่งค้างของโซเดียมอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาความดันโลหิตสูง ทางที่ดีไม่ควรกินบะหมี่สำเร็จรูปเกินวันละ 1 ซอง และควรต้มให้สุก อย่ารับประทานแบบเปล่าๆ เพราะบะหมี่จะไปพองตัวในกระเพาะทำให้เกิดอาการจุกแน่นได้

64. แป๊ะก๊วย รักษาโรคได้จริงหรือ 
แป๊ะก๊วยถูกนำมาใช้ในทางยาในตำราของจีน ในปัจจุบันมีการผลิตในรูปแบบของสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย เพื่อช่วยในการรักษาโรค ปัจจุบันแป๊ะก๊วยมีการขึ้นทะเบียนกับ อย. ไว้ 3 แบบ โดยต้องทานขนาดความแรงของสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย 40 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 3-4 เม็ด สามารถรักษาโรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ การไหลเวียนของเลือดส่วนขอบผิดปกติ รวมทั้งโรคของเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน การไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังผิดปกติ
แต่มีข้อควรระวัง พบว่ามีผลต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ดังนั้นจึงมีข้อห้ามใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) และสารสกัดบางตัวมีผลต้านฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ ซึ่งเชื่อกันว่าสารอนุมูลอิสระเป็นต้นเหตุของความชราและความเจ็บป่วย ทำให้เกิดอาการแพ้ คือ anacardic acid และ ginkolic acid

65.ไคโตซาน ดีจริงหรือ
เป็นสารธรรมชาติที่มีอยู่ในสัตว์ประเภทกุ้ง กั้งและปู โดยจะพบสารเหล่านี้บริเวณเปลือก กระดองแข็ง และส่วนขาที่เป็นปล้องๆ ไคโตซานมีความสามารถในการดักจับพวกไขมันจากอาหาร นั่นคือ ถ้าเรากินไคโตซานไปพร้อมกับอาหารมันก็จะไปเกาะจับกับไขมันและรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ชึ่งยากต่อการย่อยสลาย ร่างกายจึงไม่สามารถที่จะดูดซึมไขมันเหล่านี้ไปใช้ได้ และสุดท้ายจะถูกขับออกมาพร้อมกับอุจจาระในที่สุด
ในขณะเดียวกันวิตามินจากอาหารที่ต้องอาศัยไขมันเป็นตัวละลายที่ร่างกายสามารถดูดชึมไปใช้ได้ ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค ก็จะถูกขับถ่ายออกมาด้วย เราจึงไม่ได้ประโยชน์จากวิตามินในอาหารที่เรากินร่วมกับไคโตซานและยังมีผลข้างเคียงคือ เมื่อใช้ไปในปริมาณมากหรือบ่อยเกินไป จะไม่สามารถควบคุมการถ่ายอุจจาระ หรือมีไขมันซึมออกมาได้

66. ซุปไก่สกัดทานแล้วได้อะไร 
ซุปไก่สกัด แท้ที่จริงได้จากการนำไก่ไปนึ่งเป็นเวลานานๆ จนมีนํ้าออกมาจากตัวไก่ แล้วนำน้ำที่ได้ไปเคี่ยวให้เข้มข้น แล้วเอาไขมันออก กลายมาเป็นชุปไก่สกัดนอกจากนี้ยังได้มีความพยายามที่จะปรับปรุงสูตรโดยมีการเติมวิตามิน เกลือแร่และสมุนไพรลงไป อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งราคาและคุณค่าทางโภชนาการของซุปไก่เมื่อเทียบกับไข่ไก่และนมสด ชึ่งเป็นอาหารที่เราบริโภคกันเป็นปกติประจำวันหาง่ายและราคาไม่แพง จะเห็นได้ว่าเมื่อเทียบราคา ถ้าเรามีเงิน 30 บาท ชื้อชุปไก่ได้ 1 ขวด เราจะสามารถซื้อไข่ไก่ 15 ฟอง หรือ ชื้อนมสด (250 มิลลิลิดร) 3 กล่อง และเมื่อเทียบคุณค่าทางโภชนาการแล้วโปรตีนในชุปไก่ 1 ขวด เท่ากับโปรตีนใน ไข่ไก่ 1/2 ฟอง และ โปรตีนในนมสด 1/3 กล่อง ยิ่งไปกว่านี้เมื่อพิจารณาสารอาหาร อื่นๆ โดยรวมแล้วในชุปไก่จะมีน้อยกว่าไข่ไก่ 1/2 ฟอง และนมสด 1/3 กล่องมากทีเดียว

67. สาหร่ายเกลียวทองดีจริงหรือ 
สาหร่ายเกลียวทองเป็นอาหารเสริมสุขภาพชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยม สาหร่ายนั้นถูกมองว่าจะเป็นแหล่งโปรตีนเพื่อทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ทั้งนี้เพราะสามารถผลิตได้ในปริมาณมาก และมีปริมาณโปรตีนสูง สาหร่ายจัดเป็นพืชที่มีคลอโรฟิลล์จึงสามารถสังเคราะห์แสงได้ สร้างอาหารได้ด้วยตัวเอง ได้มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของสาหร่ายทั้งเซลล์เดียว (Chlorella) และสาหร่ายหลายเซลล์ สไปรูลินา (Spirulina) พบว่า สาหร่ายมีโปรตีนปริมาณสูง คือมีปริมาณโปรตีนคิดเป็นร้อยละ 60 ในขณะที่ถั่วเหลืองมีร้อย ละ 34 เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ไก่ หมู เนื้อวัว ปลา มีโปรตีน ร้อยละ 18-20 แต่โปรตีนที่มีมากนี้เมื่อเทียบคุณภาพแล้วยังด้อยกว่าโปรตีนจากสัตว์ ในด้านสารอาหารไขมันแล้วจัดว่ามีปริมาณตํ่าคือคิดเป็นร้อยละ 6-11 ในขณะที่ถั่วเหลืองมีร้อยละ 18 และถั่วลิสงมีร้อยละ 45 ส่วนของวิตามินและเกลือแร่ พบว่ามีค่อนข้างสูง ได้แก่ บี12, เอ, เบต้าแคโรทีน หรือที่เรียกว่าสารตั้งต้นของไวตามิน เอ และพบว่า มีกรดนิวคลีอิก (nucleic acid) ได้แก่ RNA และ DNA มากถึงร้อยละ 5-6 โดยเฉพาะกรดนิวคลีอิกพบมากในสาหร่ายสไปรูลิน่า ในขณะที่คลอเรลลาพบในปริมาณที่ต่ำกว่าคุณค่าเมื่อเทียบกับราคา
ถ้าบริโภคสาหร่ายอัดเม็ดปริมาณน้อยที่สุดที่แนะนำคือ 15 เม็ด (3 กรัม) จะต้องจ่ายเงินอย่างต่ำที่สุดคือ 35 บาท เปรียบเทียบ คุณค่ากับอาหารโปรตีนอื่นๆ เมื่อจ่ายเงินเท่าๆ กัน ดังนั้นจะเห็นว่า แม้สาหร่ายจะมีโปรตีนปริมาณสูงถึงร้อยละ 60 แต่ในการบริโภคจริง เราบริโภคสาหร่ายเพียง 3 กรัม ซึ่งจะได้โปรตีนน้อยกว่า 2 กรัม จากตารางที่ 3 จะแสดงให้เห็นถึงปริมาณโปรตีนจากแหล่งอาหารต่างๆ เมื่อจ่ายเงินเท่ากัน คือ 35 บาท เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นว่าการบริโภคเนื้อสัตว์หรือไข่จะได้โปรตีนมากกว่าบริโภคสาหร่ายถึง 50 เท่า หรือบริโภคนมสดจะได้โปรตีนมากกว่าเกือบ 25 เท่า
หรืออีกนัยหนึ่ง ปริมาณโปรตีนที่มีในสาหร่ายอัดเม็ด 15 เม็ดนั้นประมาณเท่ากับนมสด 50 มล. หรือไข่ไก่น้อยกว่า 1/3 ฟอง หรือเนื้อสัตว์ประมาณ 9 กรัม
นอกจากนี้ โปรตีน ที่ได้จากเนื้อสัตว์ นม ไข่ ก็เป็นโปรตีนคุณภาพดีกว่าโปรตีน ที่ได้จากสาหร่ายซึ่งเป็นโปรตีนจากพืช การนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกายก็ย่อมจะดีกว่า
สำหรับในแง่สารอาหารอื่นที่มีมากในสาหร่าย เช่น วิตามินบี 12 และเบต้าแคโรทีน ก็มีในแหล่งอาหารอื่นๆ อยู่มาก เช่น ในเนื้อสัตว์ และพืช ผักผลไม้ที่มีสีเหลืองส้มและเขียวเข้ม เช่น แครอท ฟักทอง มะม่วง มะละกอสุก ผักตำลง ผักบุ้ง เป็นต้น

68. รังนกดีจริงหรือ
เชื่อกันว่าชาวจีนนิยมกินรังนกกันมานานกว่า 2,000 ปี เพราะเชื่อว่ารังนกสามารถรักษาโรคทางเดินหายใจ บำรุงสุขภาพเด็กที่ไม่แข็งแรงจากสรรพคุณที่เชื่อกันดังกล่าวแล้ว บวกกับความยากลำบากในการเก็บรังนก ทำให้รังนกมีราคาแพงอย่างที่เห็นกันอยู่ รังนกมีส่วนประกอบอะไรบ้าง
จากการวิเคราะห์หาส่วนผสมของรังนกนางแอ่นโดยสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบว่า ประกอบด้วย น้ำร้อยละ 5.11 โปรตีนร้อยละ 60.9 แคลเซียมร้อยละ 0.85
โปแตสเซียมร้อยละ 0.03 สำหรับรังนกสำเร็จรูป พร้อมบริโภคที่จำหน่ายในท้องตลาดซึ่งประกอบไปด้วย รังนกร้อยละ 1 น้ำตาลกรวดประมาณร้อยละ 12 นั้น เมื่อสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลนำมาวิเคราะห์ พบว่ามีส่วนประกอบดังนี้
จากผลการวิเคราะห์สารอาหารของรังนกสำเร็จรูปทั้ง 2 ยี่ห้อที่มีขายในท้องตลาด จะเห็นว่าพลังงานที่ได้จากรังนกสำเร็จรูปนี้ ได้จากน้ำตาลกรวดที่เติมลงไปและมีปริมาณน้อยกว่าไข่ไก่ 1 ฟอง หรือประมาณ 1 ใน 3 ของนม 1 กล่อง
ในแง่โปรตีน ถ้าต้องการได้โปรตีนเท่ากับไข่ไก่ 1 ฟอง จะต้องรับประทานรังนกถึง 26 ขวด (เป็นเงินกว่า 3,000 บาท) หรือถ้าจะให้ได้โปรตีนเท่ากับนม 1 กล่อง จะต้องรับประทาบรังนกถึง 34 ขวด (เป็นเงินกว่า 4,000 บาท) หรือ อีกนัยหนึ่งปริมาณโปรตีนในรังนกสำเร็จรูป 1 ขวด (70-75 มิลลิลิตร) เท่ากับนมสดประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ หรือถั่วลิสง 2 เมล็ด หรือไข่นกกระทาน้อยกว่า 1 ฟอง


69. หญ้าปักกิ่ง กินแล้วกล้ามเนื้อลีบ-ไตพังจริงหรือ? 
จากข่าวที่เห็นตามหน้าหนังสือหลายๆ ฉบับ ที่มีรายงานว่าถ้ามีการกินหญ้าปักกิ่งต่อเนื่องนานๆ แล้วแขนขาหมดเรี่ยวแรง ถึงขั้นเดินไม่ได้ แถมถ้ากินสดๆ มีผลทำลายไตอีกด้วย
จริงๆ แล้วนั้น มีคุณสมบัติเป็น "หยิน" คือฤทธิ์เย็นจัด มีงานวิจัยของไทยเคยระบุว่า มีคุณสมบัติลดอาการอักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ โดยให้รับประทานเป็นระยะ ห้ามรับประทานต่อเนื่อง แต่ผู้ป่วยไม่ค่อยทราบข้อมูลส่วนนี้ หลายคนรับประทานต่อเนื่องเป็นปี ทำให้เกิดผลข้างเคียง ร่างกายขาดน้ำ กล้ามเนื้อไม่มีแรง ชึ่งเมื่อหยุดรับประทาน อาการเหล่านี้ก็จะหายไป

70. ผงชูรสทำให้ตาบอดจริงหรือ
กรณีงานวิจัยล่าสุดจากประเทศญี่ปุ่น พบว่าการบริโภคผงชูรสจำนวนมากในสัตว์ทดลอง มีอันตรายอาจทำให้ตาบอดได้ ดังนั้นกันไว้ก่อนดีกว่า

71. กินอาหารอย่างไรให้ได้ธาตุเหล็กสูง
การกินอาหารโดยเลือกสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมการดูดซึม คือ วิตามินซี และอาหารที่มีเนื้อสัตว์อยู่ด้วย และลดส่วนสารที่ขัดขวางการดูดซึม ได้แก่ ไฟเตท ในธรรมชาติและถั่วเมล็ด และสารแทนนิน ชึ่งพบในพืชบางชนิด ในน้ำชา กาแฟ แค่นี้ร่างกายเราก็ได้รับธาตุเหล็กมากขึ้นอีก

72. ดื่มน้ำรักษาโรคได้จริงหรือ
เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยในประเทศจีนได้ทำการทดลอง และเปิดเผยผลการทดลองว่า การดื่มน้ำรักษาโรคสามารถรักษาโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ ท้องผูก ปวดหัว เวียนศีรษะ โลหิตจาง โรคประสาท ความดันโลหิตสูง อัมพาตทั้งกาย เป็นลมปากเบี้ยว โรคปวดตามข้อ โรคอ้วนพี ปวดในกระดูก เส้นเอ็นปวดเมื่อย หูอื้อ ใจเต้น มือเท้าอ่อนเพลีย โรคไอ โรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ วัณโรค เยื่อสมองอักเสบ โรคตับ โรคไต เป็นนิ่ว กรดเปรี้ยวในกระเพาะอาหารมากเกินควร กระเพาะยืด กระเพราะอาหารเป็นแผลเน่าเรื้อรัง โรคริดสีดวงทวารหนัก โรคเบาหวาน สายตาอ่อน โรคต่างๆ ตาออกเลือด สตรีประจำเดือนไม่ปกติ มะเร็งในมดลูก ระดูขาว มะเร็งเต้านม จมูกอักเสบ เจ็บคอ โรคผิวหนังต่างๆ ผู้ดื่มน้ำควรทราบว่าดื่มน้ำสุกดีที่สุด หากดื่มน้ำประปาควรใส่ขวดไว้แรมคืนให้ตกตะกอนเสียก่อน ป้องกันไม่ให้ท้องร่วงเวลารับประทานอาหารดื่มน้ำได้ตามปกติ แต่หลังอาหาร 2 ชั่วโมง ไม่ควรดื่มน้ำอีก ก่อนเข้านอนไม่ควรรับประทานอาหาร โดยเฉพาะน้ำผลไม้

73. เด็กติดนมรสหวาน เป็นอันตรายหรือไม่ 
มีรายงานของนักวิชาการจากกรมอนามัยและสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลแนะเด็กไทยควรลคการดื่มนมรสหวานและหันมาดื่มนมจืดเพื่อหลีกเลี่ยงโรคฟันผุ โรคอ้วน และโรคเบาหวาน ชี้รัฐและผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็กได้ดื่มนมรสจืดตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อเด็กจะได้ไม่ติดรสหวานและเกิดอันตรายต่อสุขภาพในอนาคตได้
การที่เด็กดื่มนมรสหวานมากเกินไปจะส่งผลทำให้เด็กติดรสหวานได้ง่าย และนำไปสู่การรับประทานขนมหวานและอาหารหวานอื่นๆ มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกอิ่มและไม่รับประทานอาหารอื่นๆ อีก และพฤติกรรมการติดหวานนี้ จะต่อเนื่องมาถึงช่วงโตและอาจนำไปสู่สาเหตุของโรคอ้วน โรคเบาหวานได้
ดังนั้นทางที่ดีเราควรเฝ้าระวังไม่ให้ลูกหลานของเราทานนมรสหวานกันมากเกินไป

74. นมเปรี้ยวดีกว่านมสดจริงหรือ 
การดื่มนมเปรี้ยวนั้นผู้บริโภคจะได้คุณค่าทางโภชนาการเพียงครึ่งเดียวของการดื่มนมปกติแต่ราคาของนมเปรี้ยวกลับสูงกว่า และการโฆษณาที่แสดงให้เห็นว่าการดื่มนมเปรี้ยวไม่ทำให้อ้วนนั้นอาจทำให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะสตรีวัยรุ่นเข้าใจผิดได้เพราะในนมเปรี้ยวนั้นแม้จะใช้นมพร่องมันเนย แต่ก็มีการเติมน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมเข้าไปในปริมาณมาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วนได้เช่นกัน ข้อมูลจากวารสารฉลาดซื้อของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พบว่านมเปรี้ยวส่วนใหญ่จะมีการปรุงแต่งรสชาติโดยเติมน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมเพิ่มเข้าไป ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการเติมน้ำตาลเข้าไปร้อยละ 10-15 ของปริมาตรทั้งหมด ซึ่งมากกว่าน้ำตาลที่ใช้เติมในนมปรุงแต่งรสหวาน 3-5 เท่าตัว ในขณะที่ปริมาณนมสดที่ได้รับต่อหน่วยกลับมีอยู่เพียงร้อยละ 50-60 เท่านั้น

75. อาหารฟาส์ตฟู้ดไม่ดีใช่หรือไม่
การรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดเป็นประจำจะเกิดการสะสมของไขมัน และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหา โรคหัวใจ เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ไขมันอุดตันและโรคอ้วนเพิ่มขึ้น กลุ่มวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตทางร่างกายอย่างรวดเร็ว มีการสะสมไขมันในร่างกายมากกว่าวัยเด็กโดยเฉพาะเพศหญิง เด็กจะหิวเก่ง กินไม่เลือก ง่วงนอนง่าย เป็นระยะกำลังกิน กำลังนอน และด้วยความที่เป็นเด็กในเมืองมีอาหารการกิน ที่พรั่งพร้อมหลายรูปแบบ ทั้งที่คุณค่าสมดุลแล:ไม่สมดุล แนวโน้มก็คือเด็กจะได้รับอาหารที่มีไขมันและพลังงานมากเกินไป พบว่า อาหารฟาสต์ฟู้ดส่งผลให้เด็กกรุงเทพฯ มีภาวะโภชนาการเกินถึงร้อยละ 20 กลุ่มวัยรุ่นจึงเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงในเรื่องความเสี่ยงต่อโรคอ้วนจากการโภชนาการ

76. ทำอย่างไรเมื่อต้องการทานอาหารฟาสต์ฟู้ด
1. อย่ารับประทานเป็นของว่างหรือขนม เพราะอาหารฟาสต์ฟู้ดมีแคลอรี่สูงเทียบเท่ากับอาหารเต็มมื้อ
2. เลือกขนาดเสิร์ฟก่อนรับประทานและรับประทานให้น้อยลง เช่น พิซซ่า 1 ที่ ควรรับประทานไม่เกินครึ่งที่ หรือ รับประทานแฮมเบอร์เกอร์ โดยไม่มีมันฝรั่งทอด ก็จะลดปริมาณไขมันลงได้
3. ระวังการสั่ง ถ้ากำลังระวังเรื่องเกลือก็อาจสั่งไม่ใส่เกลือ หรือไม่ควรสั่งเนยโรยหน้าพิชซ่ามากเป็นพิเศษเพราะอาจทำให้ได้ไขมันมาไปด้วยเช่นกัน
4. ควรเลือกชนิดของอาหารอย่างถ้วนถี่ เพราะอาหารบางชนิดมีปริมาณไขมันมากกว่าชนิดอื่น
5. ไม่ควรรับประทานซ้ำชนิด จำเจ
6. อย่ารับประทานเกินสัปดาห์ละ 1.2 ครั้ง

77. นมแต่ละประเภทเก็บไม่เหมือนกันจริงหรือ 
นมพร้อมดื่มแด่ละประเภทมีวิธีการเก็บรักษาไม่เหมือนกัน
ถ้าเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ สามารถเก็บได้นานประมาณ 10 วัน ที่อุณหภูมิไม่เกิน 8 นมสเตอริไลส์ (กระป๋อง) เก็บได้นานประมาณ 12 เดือน โดยไม่ต้องแช่เย็น
นมยูเอชทีเก็บได้นานประมาณ 6 เดือน โดยไม่ต้องแช่เย็นเช่นกัน
ส่วนนมเปรี้ยวนั้นเก็บได้นานกว่านมประเภทอื่นเพราะมีรสเปรี้ยวจากกรดแลกติกช่วยในการถนอมอาหาร ดังนั้นนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม จะเก็บได้นานถึง 21 วัน พาสเจอร์ไรส์ ถ้าเก็บในอุณหภูมิ 10-12 นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม ยูเอชที เก็บได้ประมาณ 8 เดือน ดังนั้นเราควรจัดเก็บนมไว้ในที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการเสื่อมอายุก่อนกำหนด

78. ไข่ทานได้วันละหลายฟองหรือไม่ 

ไข่เป็นอาหารที่มีคุณค่ามากให้สารอาหารที่เกือบครบถ้วน ในขณะที่ราคาถูกกว่าอาหารอื่นๆ ที่มีคุณค่าทางอาหารเท่ากัน สามารถทำเป็นอาหารได้หลายชนิด
ในวงการแพทย์มีความกังวลในคลอเรสเตอรอลที่มีอยู่ในไข่ ที่อาจจะเป็นต้นเหตุของไขมันในเลือดสูง ซึ่งจะก่อปัญหาให้กับอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด แต่ในงานวิจัยที่พบภายหลัง พบว่าคลอเรสเตอรอลในไข่มีผลทำให้คลอเรสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นความกลัวคลอเรสเตอรอลในไข่เริ่มลดลง โดยสมาคมหัวใจของสหรัฐอเมริกา (AHA) ได้เปลี่ยนคำแนะนำในการทานไข่ ซึ่งจากเดิมไม่ควรเกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ เป็นวันละไม่เกิน หนึ่งฟอง ในคนทั่วไป การทานไข่วันละฟองถือว่าไม่มากเกินไป โดยเฉพาะในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต และในผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องฟันที่ไม่สามารถทานอาหารโปรตีนอื่นได้ แนะนำให้ทานไข่เป็นแหล่งของโปรตีนแทนเนื้อสัตว์ ในคนสูงอายุถ้ามีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูง ในบางมื้ออาจหลีกเลี่ยงการทานไข่แดง ทานเฉพาะไข่ขาวเท่านั้น คนที่ไม่ควรทานไข่มากเกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์คือ คนที่มีไขมันในเลือดสูง และจำเป็นต้องควบคุมไขมันในเลือด ผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่ก็คงต้องงดทานเพื่อไม่ให้เกิดอาการแพ้

79. น้ำส้มสายชูหมักดีกว่าน้ำส้มสายชูกลั่นจริงหรือ
น้ำส้มสายชูหมักเกิดจากน้ำส้มสายชูหมักจากผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น แอปเปิ้ล มีส่วนประกอบของธาตุต่างๆ เช่น โพแทสเซียมสูง ชึ่งธาตุโพแทสเซี่ยม มีคุณสมบัติช่วยในการแบ่งเซลล์ ถ้าร่างกายขาดธาตุนี้ ร่างกายจะมีอาการผิดปกติคือ เติบโตช้า แก่เกินวัย ผมร่วง และ ยังประกอบด้วยธาตุอาหารกว่า 30 ชนิด มีวิตามินมากกว่า 6 ชนิด มีกรดอะมิโน และสารเพ็คติน ล้วนแต่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายทั้งสิ้น ส่วนน้ำส้มสายชูกลั่นเป็นการนำกรดน้ำส้มมากลั่นให้ได้ความเข้มข้นของกรดร้อยละ 5 จึงไม่มีประโยชน์เท่ากับน้ำส้มสายชูหมัก

80. การดื่มแอลกอฮอล์มากๆ จะทำให้เป็นโรคมะเร็งจริงหรือ
ดื่มแอลกอฮอล์จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก ช่องคอ กล่องเสียง และหลอดอาหาร เพราะว่าแอลกอฮอล์ทำให้เกิดการระคายเคืองต่ออวัยวะดังกล่าวได้

81. กินเนื้อสัตว์ดิบได้หรือไม่
เนื้อสัตว์ดิบๆ อาจมีการปนเปื้อนของสารพิษเชื้อโรคต่างๆ ได้ เราควรจะรับประทานเนื้อสัตว์ที่ผ่านความร้อนแล้ว ทั้งนี้เนื้อสัตว์ดิบยังทำให้การดูดซึมวิตามินบี 1 ลดลงอีกด้วย และโปรตีนที่ไม่ผ่านความร้อนทำให้ร่างกายนำไปใช้ได้ยาก ต้องใช้เวลานานในการย่อย ไม่เหมือนกับโปรตีนที่ถูกความร้อนบ้างแล้วซึ่งร่างกายจะย่อยได้ง่ายขึ้น

82. อาหารญี่ปุ่นดีต่อสุขภาพจริงหรือ
ถ้าบอกว่าอาหารญี่ปุ่นคือปลาดิบ ก็คงต้องบอกว่าไม่ดีจริงด้วยเหมือนผลเดียวกับข้อ 81 แต่ทว่าอาหารญี่ปุ่นนี้มีปริมาณไขมันต่ำกว่าอาหารประเภทอื่นๆ เช่น อาหารปิ้งย่าง หรืออาหารฟาสต์ฟู้ด ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นก่อนไปทานอาหารญี่ปุ่นคิดให้ดีๆ

83. กาแฟออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจจริงหรือไม่
กาแฟนั้นเป็นแหล่งของคาเฟอีน ซึ่งสารคาเฟอีนเป็นสารออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ทำให้เกิดการบีบตัวของหัวใจมากขึ้น ดังนั้นการรับประทานกาแฟก็จะทำให้เกิดอาการใจสั่นได้ เนื่องจากการออกฤทธิ์ของสารคาเฟอีนนี้เอง

84. ห้ามรับประทานทุเรียนร่วมกับเครื่องดี่มที่มีแอลกอฮอล์จริงหรือ
ทุเรียนมีแร่โพแทสเซียมสูง การทานทุเรียนจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นภายในร่างกาย และเมื่อทานทุเรียนร่วมกับทานแอลกอฮอล์ ซึ่งแอลกอฮอล์นั้นสามารถถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ง่ายทำให้เกิดความร้อนขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการทานทั้งสองอย่างร่วมกันแน่นอนว่าจะส่งผลให้ยิ่งเกิดความร้อนมากขึ้น การที่ร่างกายมีความร้อนภายในสูงขึ้น อาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการเป็นไข้ ตัวร้อนสูงได้ หรือถ้ารับประทานเข้าไปมากๆ จะทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองแตกได้

85. ดื่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมหรือโซดาในปริมาณมาก ทำให้กระดูกพรุนจริงหรือ
การดื่มน้ำอัดลมซึ่งมีส่วนผสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไชต์แล้ว นอกจากนี้ยังมีแร่โพแทสเซียมสูงอีกต่างหาก ซึ่งโพแทสเซียมจากน้ำอัดลมนี้ถ้าร่างกายได้รับเข้าไปมาก จะไปทำให้เกิดการละลายของกระดูกที่สะสมอยู่ในโพรงกระดูกออกมาสู่กระแสโลหิตได้ เพื่อควบคุมระดับของสารต่างๆ ในร่างกาย ให้เกิดความสมดุล
ดังนั้นการดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำอาจจะทำให้คุณเป็นโรคกระดุกพรุนได้

86. เมื่อป่วยเป็นไข้ ทำไมจึงห้ามดื่มน้ำเย็น ทั้งที่น้ำเย็นช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายลงได้
เมื่อเป็นไข้ร่างกายจะมีอุณหภูมิภายในสูงขึ้น ดังนั้นเมื่อเราทานน้ำเย็นเข้าไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับของอุณหภูมิภายในอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ทำให้เรามีอาการไม่สบายมากยิ่งขึ้น

87. เมื่อป่วยเป็นไข้ ห้ามรับประทานฝรั่ง เพราะจะทำให้ชัก รวมทั้งกล้วยหอม ละมุด และขนุนด้วย
เมื่อเราเป็นไข้ร่างกายจะมีอุณหภูมิภายในสูงขึ้น การรับประทานอาหารที่มีแร่โพแทสเซียมสูง เช่น กล้วยหอม ละมุด ทุเรียน ขนุน และฝรั่ง จะส่งผลให้เกิดอาการไม่สบายยิ่งขึ้น ซึ่งการรับประทานผลไม้เหล่านี้ ไม่รุนแรงถึงขั้นที่จ:ทำให้เกิดอาการชักได้ เพราะว่าอาการชักนั้นอาจเกิดได้จากการได้รับแร่โพแทสเซียมในปริมาณที่สูงมากๆ เช่น ต้องทานขนุนลูกใหญ่ๆ ประมาณ 2-3 ลูก เป็นต้น จึงจะเกิดอาการ ขอแค่ระวังในการเลือกรับประทานอาหารเมื่อไม่สบายก็พอ

88. เป็นแผลห้ามรับประทานอาหารที่มีไข่เป็นส่วนประกอบ เพราะจะทำให้แผลปูดขึ้นมาจนเป็นคีโตนจริงหรือไม่
คีโตนเป็นสารประกอบที่เกิดจากการสลายไขมันไปเป็นน้ำตาล ยามที่ร่างกายขาดน้ำตาล ซึ่งสารนี้ไม่เกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับโปรตีน และการที่บอกว่าเวลามีแผลไม่ควรรับประทานอาหารที่ปรุงจากไข่ จะทำให้แผลปูดบวมไม่หาย ซึ่งก็ไม่เป็นความจริงเนื่องจากเมื่อร่างกายเกิดแผล ร่างกายต้องการโปรตีนเป็นอย่างยิ่งในการนำไปใช้เพื่อซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บใดๆ ควรทานอาหารโปรตีน เนื้อสัตว์ นม ไข่

89. คนโบราณเชื่อว่าเวลาลมหนาวมาจะพา "ไข้หัวลม" มาด้วย หรือไข้ต้นลมหนาวนั่นเอง มักนิยมรับประทานแกงส้มดอกแคแก้ไข้หัวลม ได้ผลจริงหรือไม่
การรับประทานแกงส้มดอกแคนั้น ซึ่งเวลาที่เรารับประทานนั้นจะนิยมรับประทานแบบร้อน เนื่องจากอาหารร้อนนี้เอง จึงทำให้เชื่อว่าสามารถแก้หนาวได้ เพราะว่าความร้อนจากอาหารจะทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายไม่ต่ำลงไปอีก เนื่องจากอากาศภายนอกที่หนาวเย็น ส่งผลให้เราไม่เป็นไข้ได้

90. คนโบราณให้ผู้ที่ป่วยไข้ รับประทานแต่ข้าวต้มกับปลาเค็มหรือถั่ว เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารแสลง มีเหตุผลทางโภชนาการรองรับหรือไม่
การรับประทานข้าวต้มกับปลาเค็มหรือถั่วเมื่อไม่สบายนั้น สารอาหารที่อยู่ในอาหารนั้นก็เพียงพอ คือ มีทั้งคาร์โบไฮเดรต และที่สำคัญคือโปรตีน แต่การหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารอย่างอื่น เพราะกลัวแสลงนั้น ต้องพิจารณาจากอาหารที่จะเลือกรับประทาน เพราะว่าอาหารแต่ละชนิดนั้นให้สารอาหารแตกต่างกัน ดังนั้นอย่าเชื่อว่า อาหารนั้น อาหารนี้ แสลง แต่ต้องดูว่าขณะนั้นร่างกายของเราเป็นแบบไหน ต้องการ หรือควรหลีกเลี่ยงสารอาหารอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า

91. เด็กๆ ห้ามรับประทานแตงโมก่อนนอนเพราะจะทำให้ฉี่รดที่นอนจริงหรือ
หนึ่งในสามของแตงโมคือน้ำ การทานแตงโมก่อนเข้านอน ก็เช่นเดียวกับการทานน้ำนั่นเอง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงถ้าเด็กมีพฤติกรรมฉี่รดที่นอนบ่อยๆ

92. ขณะเป็นไข้ห้ามรับประทานของหมักดองจริงหรือไม่ 
อาหารหมักดองนั้นส่วนใหญ่เกิดการย่อยสลายของสารอาหารต่างๆ ไปเกือบหมดแล้ว และโดยเฉพาะมีกรดจำนวนมาก ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารขณะเป็นไข้ ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ เป็นต้น

93. ใบแปะก๊วยช่วยให้ความจำดีขึ้นจริงหรือ
แปะก๊วยถูกนำมาใช้ในทางการยาในตำราของจีน การทานใบแปะก๊วยนั้นไม่ได้ช่วยให้สติปัญญาดีนั้น แต่ทว่าช่วยในเรื่องของการแข็งตัวของเกล็ดเลือด สามารถลดโรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอการไหลเวียนของเลือดส่วนขอบผิดปกติ รวมทั้งโรคของเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน การไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังผิดปกติ ดังนั้นการทานใบแปะก๊วยไม่ได้ช่วยให้สติปัญญาดีขึ้น

94. อาหารเสริมพริมโรส ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน ได้ผลจริงหรือไม่
พริมโรสเป็นกรดไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย การรับประทานอาหารเสริมพริมโรสนั้น ช่วยส่งเสริมการทำงานอวัยวะต่างๆ ให้ดีขึ้น แต่ไม่ได้ช่วยให้เกิดอาการปวดประจำเดือนลดลง เพราะว่าอาการปวดประจำเดือนเกิดจากสาเหตุอื่น

95. ถั่วขาว คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และให้ผลตามคำโฆษณาจริงหรือ
ถั่วขาวเป็นถั่วชนิดหนึ่งซึ่งมีสารต่อต้านการดูดซึมของคาร์โบไฮเดรต ดังนั้นการรับประทานถั่วขาวจะทำให้ร่างกายไม่ได้รับคาร์โบไฮเดรต เพราะว่าคาร์โบไฮเดรตไม่ถูกย่อย ดังนั้นหมายความว่าทางโภชนาการ เราไม่ถือว่ามันมีประโยชน์ เพราะร่างกายไม่ได้อะไรเลยกับต้องเสียคาร์โบไฮเดรตไปอีกต่างหาก แถมยังมีราคาแพงด้วย

96. การปรุงอาหารโดยใช้กระทะที่ทำจากเหล็ก ช่วยเพิ่มธาตุเหล็กให้กับร่างกายจริงหรือไม่ แล้วธาตุเหล็กที่ร่างกายนำไปใช้ได้อยู่ในรูปแบบเดียวกับธาตุเหล็กจากกระทะจริงหรือไม่
การปรุงอาหารจากกระทะเหล็ก ทำให้เหล็กสามารถหลุคออกมาได้ในอาหาร แต่ไม่ได้หมายความว่าร่างกายจะนำไปใช้ได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับชนิดของเหล็กที่หลุดออกมาว่า เป็นอย่างไรค้วย แต่ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงดีกว่า

97. รับประทานพริกขิ้หนูมากๆ จะมีผลต่อสายตา ทำให้ตาบอดจริงหรือ
ยังไม่มีรายงานว่าการรับประทานพริกขี้หนูมากๆ ทำให้ตาบอด แต่อาจเนื่องจากความร้อนที่เกิดจากสารในพริก อาจส่งผลให้เราร้อนมากๆ แล้วเอามือไปขยี้ตา จนทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้มากกว่า

98. กระเทียม และหอยนางรม ทำให้เพิ่มพลังทางเพศจริงหรือไม่
กระเทียมและหอยนางรมอุดมไปด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและฮอร์โมนเอสเทอโรน ว่ากันว่า ฮอร์โมนนี่เองที่จะรักษาภาวะการเสื่อม หรือการลดลงของฮอร์โมนเพศชาย ในวัยกลางคนและชายวัยทองได้ ทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศได้

99. รับประทานช็อกโกแลต ทำให้เกิดสิวจริงหรือไม่
สิว คือ ความผิดปกติอย่างหนึ่งของผิวหนัง เกิดขึ้นเมื่อไขมันที่ถูกผลิตออกมามาก ไปรวมกับเซลล์ผิวที่ตายแล้วอุดตันรูขุมขนจนกระทั่งเป็นสิว ซึ่งการรับประทานช็อกโกแลตจะไม่ทำให้เกิดสิวเพิ่มมากขึ้น

100. รับประทานตาปลาทำให้ไม่เป็นตาปลาจริงหรือ 
ตาปลาเป็นแหล่งของวิตามินต่างๆ หลายชนิด เช่น วิตามิน เอ กรดไขมันต่างๆ โดยเฉพาะกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ โอเมก้า 3 การรับประทานตาปลา จะช่วยให้ความจำดีขึ้น ดังนั้นคราวหน้าห้ามพลาดนะคะ

100 ความเข้าใจผิด เรื่อง โภชนาการ
100 เรื่องราวของ ข้อห้าม ความเชื่อ ทั้งจากการบอกต่อ และการโฆษณาต่างๆ คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า...
ชาเขียว มีประโยชน์จริงไหม
ปวดประจำเดือนแล้วห้ามกินน้ำเย็นเพราะอะไร
เป็นแผลแล้วห้ามกินไข่...จริงหรือ
อาหารญี่ปุ่นทำไมจึงดีต่อสุขภาพ???

อะไรจริง อะไรไม่จริง หาคำตอบได้ในบทความนี้
พร้อมทั้งพื้นฐานความเข้าใจเรื่องโภชนาการ อธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
เพื่อให้คุณเข้าใจร่างกายตัวเองอย่างถ่องแท้








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น