สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
เป็นการศึกษาที่เน้นให้มีความรู้ ทัศนคติ ทักษะของวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ในการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของคน ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ระบบสวัสดิการ การพัฒนาสังคม รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับนักวิชาการ นักวิชาชีพอื่นได้อย่างเหมาะสม
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ภาควิชา คือ
ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
และภาควิชาการพัฒนาชุมชน
สำหรับภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์นั้น ยังแบ่งออกเป็น 5 สาขาวิชา คือ
1. สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
2. สาขาสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
3. สาขาสังคมสงเคราะห์ทางการศึกษา
4. สาขาสังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรม
5. สาขาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ควรเป็นผู้มีใจรักและเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ มองโลกในแง่ดี มีจิตใจเสียสละ มีจิตสำนึกที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่อสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถเป็นมิตรและปรับตัวเข้ากับคนทั่วไปได้โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ยิ่งกว่านั้นยังต้องเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งกายและใจ มีคุณธรรม และจริยธรรม มีจิตใจเยือกเย็น และมีความอดทนเป็นเลิศเหมาะสมกับการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคม
แนวทางในการประกอบอาชีพ
สามารถประกอบอาชีพ
ในภาครัฐ เช่น กรมประชาสงเคราะห์ กรมการพัฒนาชุมชน กรมตำรวจ โรงพยาบาล ฯลฯ
และภาคเอกชน เช่น ธนาคาร บริษัท เป็นต้น
ซึ่งอาจได้บรรจุในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ หรือตำแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่น เช่น นักสวัสดิการสังคม นักแรงงาน ผู้ประสานงานโครงการ พนักงานฝ่ายบุคคล และวิเคราะห์สินเชื่อ เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วยังสามารถนำความรู้ทางด้านสังคมสงเคราะห์ไปประยุกต์ในการประกอบอาชีพอื่น ๆ และอาชีพอิสระได้อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น