ศิลปกรรม - จิตรกรรม
เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาวิชาการที่เกี่ยวกับศิลปะและประยุกต์ศิลป์ โดยศึกษาทฤษฎี ประวัติ เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพ การออกแบบปั้น การพิมพ์ การเล่นดนตรีและการรำ เป็นต้น
ทั้งนี้โดยมีจุดหมายให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และอนุรักษ์ศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ รวมทั้งบุกเบิกสร้างสรรค์วิทยาการใหม่ ประกอบด้วยสาขาต่าง ๆ ดังนี้
1. สาขาทัศนศิลป์
ศึกษาศิลปะบริสุทธิ์ที่รับรู้ผ่านการมองเห็น เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย สื่อผสม โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฎีศิลปะ ประวัติศิลปะ ปฏิบัติการสร้างสรรค์ศิลปะต่าง ๆ
2. สาขานฤมิตศิลป์
ศึกษาการออกแบบเพื่อสื่อสารแนวความคิด เช่น การออกแบบกราฟฟิก เครื่องปั้นดินเผา แฟชั่น และนิทรรศการ โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฎีการออกแบบ ประวัติการออกแบบ ปรัชญาการออกแบบ และวิชาปฏิบัติการสร้างสรรค์งานออกแบบต่าง ๆ
3. สาขาดุริยางคศิลป์
แยกออกเป็น
สาขาดุริยางคศิลป์ไทย ศึกษาดนตรีไทย
และสาขาดุริยางศิลป์ตะวันตก ศึกษาดนตรีคลาสสิก
โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฎีดนตรี ประวัติดนตรี ปรัชญาดนตรี และวิชาปฏิบัติการบรรเลง ขับร้อง และประพันธ์ดนตรี
4. สาขานาฏยศิลป์
แยกออกเป็น
สาขานาฏยศิลป์ไทย ศึกษาการรำไทย
และนาฏยศิลป์ตะวันตก เป็นการศึกษาการเต้นบัลเล่ต์และการเต้นรำแบบตะวันตก
โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฎีการรำ ประวัติการรำ ปรัชญาการรำ และวิชาปฏิบัติการรำแบบต่าง ๆ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ และทักษะในการค้นคว้า และการแสดงออกทางศิลปกรรม ต้องยินดีที่จะสละเวลาฝึกฝนทักษะนอกเวลาเป็นพิเศษด้วยตนเอง ต้องไม่มีความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในสาขาวิชานั้น ๆ
แนวทางในการประกอบอาชีพ
สามารถทำงานในหน่วยงานราชการ เอกชน งานอิสระ ศิลปกรรม เป็นสาขาวิชาชีพเฉพาะทางซึ่งเป็นที่ต้องการของสังคมไทย ซึ่งกำลังมีการพัฒนาการด้านศิลปะและการออกแบบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น