วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การศึกษาในหลักสูตรคณะสัตวแพทยศาสตร์

การศึกษาในหลักสูตรคณะสัตวแพทยศาสตร์
สัตวแพทยศาสตร์
เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการดูแลสุขภาพสัตว์ การบำบัดรักษา ป้องกันและการวินิจฉัยโรคสัตว์ การเพิ่มผลผลิตสัตว์อาหาร และพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งงานด้านการควบคุม และพัฒนาคุณภาพของชีวภัณฑ์และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ ตลอดจนงานสัตวแพทย์สาธารณสุข ซึ่งประกอบด้วยการป้องกันโรคสัตว์ที่ติดต่อถึงมนุษย์ และการควบคุมสุขศาสตร์อาหารที่ได้จากสัตว์

การศึกษาในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต จะใช้ระยะเวลาในการศึกษาตามหลักสูตร 6 ปี โดย
ชั้นปีที่ 1 
ศึกษาความรู้ขั้นพื้นฐานและการศึกษาทั่วไปทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ
ชั้นปีที่ 2 และ 3 
ศึกษาความรู้ทางด้านวิชาพรีคลินิก (กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา จุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน เภสัชวิทยา พยาธิวิทยา และประสิตวิทยา)
ชั้นปีที่ 4 จนถึงปีที่ 6
เป็นการศึกษากลุ่มวิชาคลินิก (อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ และรังสีวิทยา สูติศาสตร์เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์ สัตวแพทยสาธารณสุขศาสตร์) โดยการเรียนชั้นปีที่ 6 จะเป็นการศึกษาภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสัตว์

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
เป็นผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ ควรมีพื้นฐานด้านชีววิทยาเป็นอย่างดี เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่มีความพิการและโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เพราะระหว่างศึกษาจะต้องเรียนและฝึกงานอย่างมากในการรักษาสัตว์เลี้ยง และปศุสัตว์ในท้องที่ต่างจังหวัด และควรเป็นผู้มีความเมตตาต่อสัตว์

แนวทางในการประกอบอาชีพ
อาจแบ่งได้เป็น 3 สายงานหลัก คือ
1. สายงานราชการ องค์กร และรัฐวิสาหกิจ 
ได้แก่ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สวนสัตว์ ฯลฯ
2. สายงานเอกชน
ได้แก่ ธุรกิจอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ และผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ ธุรกิจ ผู้ค้าและผู้ประกอบกิจการด้านชีวภัณฑ์ เวชภัณฑ์สำหรับสัตว์และอาหารสัตว์ รวมทั้งธุรกิจฟาร์มสัตว์อาหารชนิดต่าง ๆ และสถานประกอบการบำบัดโรคสัตว์
3. ประกอบอาชีพส่วนตัว
เช่น เปิดคลินิกรักษาสัตว์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น