11. เซลล์ใดต่อไปนี้สามารถทำงานได้ ถึงแม้ว่าตายไปแล้ว
1. เทรคีด
2. ซีฟทิวบ์
3. เซลล์คอมพาเนียน
4. เซลล์พาเรนไคมา
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
เทรคีดเป็นท่อลำเลียงน้ำและเกลือแร่ ถึงแม้จะตายไปแต่ยังทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงได้
**********************************************
12.
จากรูป แสดงวิธีการทดลองของมึนซ์ (Munch) ท่านสามารถบอกได้หรือไม่ว่า ก, ข และ ค อาจเปรียบเทียบได้กับส่วนไหนของต้นพืชทั่ว ๆ ไป
1. ก คือ ราก, ข คือ ใบ, ค คือ ลำต้น
2. ก คือ ราก, ข คือ ใบ, ค คือ โฟลเอม
3. ก คือ ใบ, ข คือ ลำต้น, ค คือ ราก
4. ก คือ ใบ, ข คือ ราก, ค คือ โฟลเอม
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
จากวิธีการทดลองของมึนซ์ (Munch) (ก) ควรเป็นใบ เพราะใบสังเคราะห์ด้วยแสง แล้วให้ความเข้มข้นของน้ำตาลสูง จะส่งน้ำตาลผ่านไปตามท่อโฟลเอม (ค) ไปยังราก (ข) ซึ่งมีความเข้มข้นของน้ำตาลน้อยกว่า
**********************************************
13. โดยเฉลี่ยแล้ว อัตราการลำเลียงสารทางโฟลเอมเมื่อเทียบกับการลำเลียงสารในไซเลมจะมีอัตรา
1. เร็วกว่า 1 เท่า
2. เร็วกว่า 10 เท่า
3. เท่ากัน
4. ช้ากว่า
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
โดยเฉลี่ยแล้วอัตราการลำเลียงทางโฟลเอม เมื่อเทียบกับการลำเลียงสารในไซเลมแล้วจะมีอัตราช้ากว่าการลำเลียงน้ำและเกลือแร่ในไซเลมประมาณ 1 ใน 10
**********************************************
14. ธาตุใดที่พืชต้องการในปริมาณมาก และพืชทั่วไปได้ธาตุเหล่านี้จากน้ำและอากาศ
1. คาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน
2. ไนโตรเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน
3. ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน
4. คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมาก และพืชทั่วไปได้ธาตุเหล่านี้จากน้ำและอากาศ
**********************************************
15. เมื่อพืชแก่ลง จะมีการขนย้ายสารอาหารบางชนิดออกจากใบแก่นี้ ส่งไปยังใบอ่อนโดยผ่านทางใด
1. ไซเลม
2. เวสเซล
3. เทรคีด
4. โฟลเอม
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
เมื่อพืชใบแก่จะมีการขนย้ายสารอาหารบางชนิด ออกจากใบแก่นี้ ไปยังใบอ่อนโดยผ่านทางโฟลเอม
**********************************************
16. น้ำสามารถแพร่จากดินเข้าสู่รากได้ เนื่องจาก
1. ค่าของวอเตอร์โพเทนเชียลของน้ำในราก สูงกว่าของน้ำในดิน
2. ค่าของวอเตอร์โพเทนเชียลของน้ำในราก ต่ำกว่าของน้ำในดิน
3. ค่าของวอเตอร์โพเทนเชียลของน้ำในราก เท่ากันกับของน้ำในดิน
4. เกิดจากกระบวนการอิมบิบิชันของราก
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การที่น้ำแพร่ได้จะขึ้นกับค่าของวอเตอร์โพเทนเชียล น้ำจะแพร่จากบริเวณที่น้ำมีค่าวอเตอร์โพเทนเชียลสูงไปยังบริเวณที่มีค่าวอเตอร์โพเทนเชียลต่ำ ดังนั้น น้ำสามารถแพร่จากดินเข้าสู่รากได้ เนื่องจากค่าวอเตอร์โพเทนเชียลของน้ำในรากต่ำกว่าของน้ำในดิน
**********************************************
17. พืชจะดูดน้ำเข้าสู่รากได้มาก ถ้า
1. มีรากขนาดใหญ่
2. มีปริมาณน้ำในดินมาก
3. มีอัตราการคายน้ำสูง
4. ดินร่วนปนทราย
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
พืชจะดูดน้ำเข้าสู่รากได้มาก ถ้าพืชนั้นมีอัตราการคายน้ำสูง เพราะพืชต้องดูดน้ำเข้าไปทดแทนในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน
**********************************************
18. การที่พืชที่มีขนาดใหญ่สูง 40-50 เมตร สามารถที่จะดูดน้ำขึ้นสู่ลำต้นได้ เนื่องจากแรงจากข้อใดมากที่สุด
1. แรงดันมาก
2. คะปิลลารี่แอกชัน
3. โคฮีชัน
4. ทรานสปิเรชันพูล
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การที่พืชที่มีขนาดสูง 40-50 เมตร สามารถดูดน้ำขึ้นสู่ลำต้นได้ เพราะมีแรงทรานสปิเรชันพูลเนื่องจากการคายน้ำดูดน้ำเข้าแทนที่
**********************************************
19. ข้อใดเป็นเซลล์ที่มีการแบ่งตัวตลอดเวลา
1. เทรคีด
2. ไฟเบอร์
3. พาเรนไคมา
4. วาสคิวลาร์ แคมเบียม
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
วาสคิวลาร์ แคมเบียม (Vascular cambium) เป็นเซลล์เนื้อเยื่อเจริญที่แบ่งตัวตลอดเวลา
**********************************************
20. สิ่งมีชีวิตสามารถรักษาระดับความเข้มข้นของไฮโดรเจนอิออนภายในและภายนอกเซลล์ให้คงที่ได้ หรืออาจเปลี่ยนแปลงแต่เพียงเล็กน้อย โดยอาศัย
1. การควบคุมการแพร่ของน้ำเข้า-ออกจากเซลล์
2. การปรับอัตราการหายใจในเซลล์
3. การทำงานของเอนไซม์ในเซลล์
4. การทำงานของสารละลายบัฟเฟอร์ในเซลล์
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
สิ่งมีชีวิตสามารถรักษาระดับความเข้มข้นของไฮโดรเจนอิออนภายในและภายนอกเซลล์ให้คงที่ได้หรืออาจเปลี่ยนแปลงได้เพียงเล็กน้อยโดยอาศัยการทำงานของสารละลายบัฟเฟอร์ในเซลล์ การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของไฮโดรเจนอิออน ยังอาจพบจากกลไกการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอดและกลไกการขับถ่ายทางไต
**********************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น