1. ข้อใดไม่ใช่ส่วนของลำต้น
1. ขิง, หัวมันฝรั่ง
2. มันแกว, ต้นหอม
3. หัวเผือก, หน่อไม้
4. ข่า, ตะบองเพชร
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
หัวมันแกวไม่ใช่ส่วนของลำต้น แต่เป็นส่วนของราก
ต้นหอมก็ไม่ใช่ลำต้น แต่เป็นส่วนของใบ
**********************************************
2. ในเวลากลางวัน พืชคายน้ำน้อยที่สุดในสภาพแวดล้อมใด
1. ดินมีค่าชลศักย์ -10 บาร์ อุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียส อากาศนิ่ง
2. ดินมีค่าชลศักย์ -2 บาร์ อุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียส อากาศนิ่ง
3. ดินมีค่าชลศักย์ -5 บาร์ อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส อากาศนิ่ง
4. ดินมีค่าชลศักย์ -2 บาร์ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีกระแสลมอ่อน
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ในเวลากลางวันพืชคายน้ำน้อยที่สุดในสภาพแวดล้อม ที่มีอุณหภูมิต่ำ อากาศนิ่ง ดินมีค่าชลศักย์สูง
**********************************************
3. ในลำต้นของอ้อยจะพบน้ำตาลอยู่ในกลุ่มเซลล์ใดบ้าง
1. ซิฟทิวบ์เมมเบอร์, โฟลเอมพาเรนไคมา
2. เวสเซล, คอมพาเนียนเซลล์
3. เทรขีด, แคมเบียม
4. ซีฟทิวบ์เมมเบอร์
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
ในลำต้นของอ้อย จะพบน้ำตาลอยู่ในกลุ่มเซลล์ของท่อลำเลียงอาหารหรือโฟลเอม ซึ่งได้แก่ซีฟทิวบ์เมมเบอร์และโฟลเอมพาเรนไคมา
**********************************************
4. โครงสร้างใดไม่เกี่ยวข้องกับการคายน้ำของพืช
1. ไฮดาโธด
2. เซลล์คุม
3. เลนติเซล
4. ไฮโพเดอร์มิส
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ไฮโพเดอร์มิสไม่เกี่ยวข้องกับการคายน้ำของพืช
**********************************************
5. จากรูป
1 = เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด
2, 3 = ใบอ่อนที่ยังไม่แผ่กางเต็มที่มีสีเขียวอ่อน
4, 5, 6, 7 = ใบที่โตเต็มที่มีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูง
8, 9 = ใบแก่เริ่มเหลือง อาหารสะสมและคลอโรฟิลล์เริ่มสลายตัว
10 = รากสะสมอาหาร
จากรูปที่แสดง ข้อสรุปเกี่ยวกับการลำเลียงทางโฟลเอมข้อใดไม่ถูกต้อง
1. มีการลำเลียงน้ำตาลจาก 4, 5, 6, 7 ไปยัง 1 และ 10
2. มีการลำเลียงน้ำตาลจาก 1, 2, 3 ไปยัง 8 และ 9
3. มีการลำเลียงอิออนของแมกนีเซียมจาก 8 และ 9 ไปยัง 1, 2 และ 3
4. เซลล์ของใบ 4, 5, 6 และ 7 มีความเข้มข้นของน้ำตาลสูงกว่าเซลล์ของ 1 และ 10
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ใบ 8 และ 9 เป็นใบแก่ที่เริ่มเหลือง อาหารสะสมและคลอโรฟิลล์เพิ่มสลายตัว จะมีการขนและลำเลียงอาหารและเกลือแร่ ไปยังใบอ่อนไม่ใช่ลำเลียงจากใบอ่อนมายังใบแก่
**********************************************
6. กระบวนการที่มีส่วนสำคัญที่สุดสำหรับการลำเลียงน้ำจากรากไปในท่อไซเลมสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืชที่อยู่สูงมาก ๆ ได้แก่
1. กัตเตชัน
2. โคฮีชัน
3. ทรานสปิเรชันพูล
4. แรงดันราก
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
กระบวนการที่มีส่วนสำคัญที่สุดสำหรับการลำเลียงน้ำจากรากไปในท่อไซเลมสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืชที่อยู่สูงมาก ๆ ได้แก่ ทรานสปิเรชันพูล หรือแรงดึงจากการคายน้ำ
**********************************************
7. ในสภาพสิ่งแวดล้อมเดียวกัน ท่านคิดว่าพืชพวกจิมโนสเปอร์มและพืชดอก พวกใดจะเจริญเติบโตได้ดีกว่ากัน เพราะเหตุใด
1. จิมโนสเปอร์ม เพราะเป็นพืชที่มีท่อลำเลียงน้ำและอาหารขนาดใหญ่
2. จิมโนสเปอร์ม เพราะท่อลำเลียงน้ำมีแต่เทรคีด
3. พืชดอก เพราะท่อลำเลียงน้ำมีแต่เวสเซล
4. พืชดอก เพราะท่อลำเลียงน้ำมีเทรคีดและเวสเซล
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ในสภาพแวดล้อมชนิดเดียวกัน พืชดอกเจริญเติบโตได้ดีกว่าพืชพวกจิมโนสเปิร์มซึ่งมีท่อลำเลียงเฉพาะเทรคีด ในขณะที่พืชดอกท่อลำเลียงมีเทรคีดและเวสเซล
**********************************************
8. ถ้าพืชขาดธาตุ Mg พืชจะดึง Mg จากแหล่งที่มีมาก ไปยังแหล่งที่ต้องการใช้ทางใด
1. ไซเลม
2. โฟลเอม
3. เทรคีด
4. ไฟเบอร์
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ในกรณีที่พืชขาด Mg พืชจะดึง Mg ที่มีมากจากแหล่งอื่น ๆ ของพืชโดยผ่านทางโฟลเอม
**********************************************
9. แรงดันราก (Root pressure) มีประโยชน์ต่อพืชในแง่ใดมากที่สุด
1. ช่วยดึงน้ำจากรากขึ้นไปยังยอดพืชที่อยู่สูง ๆ ได้
2. ช่วยในการคายน้ำของพืช
3. ทำให้เกิดปรากฏการณ์กัตเตชัน
4. ช่วยซ่อมแซมสายน้ำที่ขาดตอนในท่อไซเลม ในช่วงที่พืชคายน้ำมากกว่าดูดน้ำ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
แรงดันราก (Root pressure) มีประโยชน์ต่อพืชในแง่การช่วยดึงและดันน้ำจากรากขึ้นไปยังยอดพืชที่อยู่สูง ๆ ได้
**********************************************
10. เซลล์คู่ใดต่อไปนี้ที่ต้องทำงานร่วมกัน ขาดเซลล์ใดเซลล์หนึ่งไม่ได้
1. เอปิเดอร์มิส - คอร์เทกซ์
2. เอนโดเดอร์มิส - เพอริไซเคิล
3. เทรคีด - เวสเซล
4. ซีฟทิวบ์ - เซลล์คอมพาเนียน
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
เซลล์ซีฟทิวบ์ เซลล์คอมพาเนียน เป็นเซลล์คู่ที่ต้องทำงานร่วมกันโดยจะขาดเซลล์ใดเซลล์หนึ่งไม่ได้ เพราะทั้งคู่ช่วยกันทำหน้าที่ลำเลียงอาหารทางโฟลเอม ซีฟทิวบ์เป็นเซลล์ที่ไม่มีนิวเคลียสต้องอาศัยนิวเคลียสของเซลล์คอมพาเนียน
**********************************************
ข้อ9.ไม่ได้ตอบ4.หรอคะ
ตอบลบ