เลือด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชีวิต (10) ดัชนีบ่งชี้การทำงานของตับ
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ในตอนนิ้จะเป็นภาคต่อของการตรวจวิเคราะห์ ทางห้องปฎิบัติการเทคนิคการแพทย์ เพี่อบ่งชี้ สภาวะการทำงานของตับ (Liver function test) ซึ่งในตอนนี้ มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่บ่งชี้เกี่ยวกับอันตรายที่ เกิดขึ้นกับเซลล์ตับ ได้แก่ AST และ ALT และอีกกลุ่ม เป็นการวิเคราะห์ว่ามีภาวะการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดีหรือไม่ ได้แก่ Alkaline Phosphatase และ Gamma GT
มาเริ่มกันจากเอนไซม์ 2 ตัวแรกทีชื่อว่า
Aspartate aminotransferase (AST) หรือในใบขอส่งตรวจอาจเรียกว่า SGOT (Serum glutamic oxaloacetic transaminase) โดยเอนไซม์ AST นี้ จะพบมากในเซลล์หัวใจ กล้ามเนื้อ ตับ ไต และปอด
ส่วน Alanine aminotransferase (ALT) หรือ SGPT (Serum glutamic pyruvic transaminase) เป็นเอนไซม์ที่พบมากในเซลล์ตับ ดังนั้น หากมีการทำลาย หรือมีการอักเสบเกิดขึ้นที่เซลล์ตับ อาทิ ตับแข็ง (Hepatic cirrhosis) ตับอักเสบจากการติตเขึ้อไวรัส (Viral hepatitis) เนื้องอกในตับ (Liver tumor) ตับถูกทำลายจากพิษของยา สารเคมี หรือแอลกอฮอล์ ซึ่งจะมีผลให้เกิดการรั่วของเอนไชม์ ALT ในปริมาณที่มากจากเซลล์ตับออกสู่กระแสเลือด นอกจากนั้น ยังมีการปลดปล่อยเอนไซม์ AST ออก มาร่วมด้วย ส่งผลทำให้มีระดับเอนไซม์ทั้งสองที่สูงขึ้น โดยค่าปกติของเอนไซม์ AST และ ALT จะน้อยกว่า 40 ยูนิต ต่อปริมาณเลือด 1 ลิตร (ในใบรายงานผลจะเขียนว่า น้อย กว่า 40 U/L) โดยหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น จะมีค่าของเอนไซม์เปลี่ยนแปลง ดังนี้
1) กรณีโรคตับอักเสบเรื้อรังหรือตับแข็ง จะพบว่า มีการเพิ่มขึ้นของระดับเอนไซม์ AST ประมาณ 2 - 3 เท่าจากค่าปกติเท่านั้น หรือในบางครั้งอาจอยู่ในระดับปกติ เพราะตับแข็งที่มีสาเหตุจากพิษสุราเรื้อรัง จะมีการดำเนินของโรคอย่างช้าๆ ทำให้เซลล์ตับมีการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย อีกทั้งจะพบว่าระดับของเอนไซม์ ALT จะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าค่าของ AST ดังนั้น ในบางกรณี อาจนำค่าอัตราส่วนระหว่าง AST ต่อ ALT เข้ามาช่วยวิเคราะห์ได้ โดยเมื่อนำค่า AST มาหารด้วยค่า ALT จะมีอัตราส่วนประมาณ 2 - 2.5
2) กรณีที่มีการอักเสบของตับอย่างเฉียบพลันจากไวรัส ระดับของเอนไซม์ทั้งสองชนิดจะสูงขึ้นไปจนถึงหลักร้อยหรือหลักพันยูนิต โดยจะสูงอยู่นาน 2 - 3 สัปดาห์แรกจากที่เริ่มเป็น และอัตราส่วนของ AST : ALT จะเท่ากับ 1 หรือน้อยกว่า 1 อนึ่ง นอกเหนือไปจากการตรวจวิเคราะห์ระดับเอนไซม์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นกับตับแล้ว การตรวจระตับเอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้ ยังใช้ในการติดตามผลการรักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัส โดยตรวจติดตามการลดลงของค่าเอนไซม์เมื่อร่างกายดีขึ้นได้อีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม อย่างที่กล่าวตั้งแต่ช่วงต้นว่า เอนไซม์ AST นั้นไม่จำเพาะกับเซลล์ตับ ดังนั้น สภาวะที่ร่างกายมีการทำลายเซลล์อื่นๆ มากผิดปกติ เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การอักเสบของตับและไต รวมถึงมีการออกกำลังกายอย่างหนัก ก็จะมีผลทำไห้เอนไซม์นื้เพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับการตรวจวิเคราะห์ภาวะการอุดตันของท่อทางเดินนํ้าดี ทั้งในส่วนของท่อนํ้าดีใหญ่ และขนาดเล็กๆ ในตับนั้น ซึ่งมีผลทำให้เกิดการคั่งของน้ำดีในตับหรือในท่อน้ำดีจะอาศัยการตรวจวิเคราะห์ระดับเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส (Alkaline Phosphatase) และเอนไซม์ Gamma Glutamyl Transpeptidase (Gamma GT; GGT) โดยเอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้จะมีค่าที่สูงขึ้นมากในกรณีมีการอุดกั้นของท่อทางเดินนํ้าดีใหญ่บางส่วนหรือทั้งหมดอันมีผลมาจากนิ่วหรือเนื้องอก โดยค่าปกติของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอลฟาเทส จะอยู่ระหว่าง 30 - 110 ยูนิตต่อเลือด 1 ลิตร และค่าปกติของ GGT คือ 8 - 61 และ 5 - 36 U/L สำหรับผู้ชาย และผู้หญิง ตามลำดับ ทว่า เอนไซม์อัลคาไลน์ฟอลฟาเทสเป็นเอนไซม์ที่พบได้ทั้งใน ตับ กระดูก ไต และลำไส้ ในขณะที่ เอนไซม์ GGT จะพบมากในตับ ดังนั้น การตรวจพบว่ามีระดับของเอนไซม์ อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสควบคู่กับเอนไซม์ GGT ที่สูงขึ้น จะเป็นการช่วยยืนยันว่าร่างกายมีปัญหาที่ตับหรือท่อทางเดินนํ้าดี เนื่องจาก หากเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับกระดูกหรือลำไส้นั้น ค่าของ GGT จะไม่เพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง ในทางตรงกันข้าม หากมีระดับ GGT ที่สูงขึ้นเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของค่าเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส มักเกิดจากผลของแอลกอฮอล์
ต่อไป เราจะมาทำความเข้าใจกันเกี่ยวกับรายการตรวจวิเคราะห์ที่เหลีอ และการขยายความเกี่ยวกับข้อมูลที่หลายท่านเคยได้ยินมาเกี่ยวกับ ตัวเหลือง ตาเหลือง ขึ้น ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจในส่วนนี้กันต่อไปนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น