วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

กระเจี๊ยบแดงคู่แข่งเบอร์รี่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa L
ชื่อสามัญ กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ผักเก็งเก็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ส้มปู

ภญ.วัจนา ตั้งความเพียร

กระเจี๊ยบแดงจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กที่มีประโยชน์มากมายทั้งในการใช้เป็นเครื่องดี่มและสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพ

ส่วนที่ใช้ของกระเจี๊ยบแดงคนทั่วไปมักแยกว่า ดอกกระเจี๊ยบนั้นแท้จริงแล้วคือส่วนของกลีบเลี้ยงหรือฐานรองดอก ที่อุดมไปด้วย Anthrocyanin เป็นสารที่ทำให้กระเจี๊ยบมีสีแดง และเป็นกลุ่มเดียวกับที่พบในผลไม้ตระกูลเบอรี่แต่ต้องบอกว่าประโยชน์ของกระเจี๊ยบเหนือกว่าหลายเท่าตัวนัก ไม่ว่าจะเป็นมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ปกป้องตับจากการถูกทำลาย ปกป้องไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว รวมถึงการปกป้องโรคหัวใจขาดเลือดได้ นํ้าต้มกระเจี๊ยบมีรสเปรี้ยวอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอสูง มีคุณสมบัติที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าช่วยขับปัสสาวะ ขับยูริค ป้องกันนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และลดความดันโลหิต

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เริ่มมีอาการความดันโลหิตสูงหรือรับประทานยาลดความดันไม่เกิน 2 ชนิด หากรับประทานกระเจี๊ยบร่วมด้วยก็มีประโยชน์ให้ควบคุมความดันโลหิตสูงได้ดียิ่งขึ้น ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ควบคุมน้ำหนักสำหรับคนที่มีนํ้าหนักตัวเกินมาตรฐาน

จากการศึกษาในหนูอ้วนที่ได้รับนํ้าต้มกระเจี๊ยบ ป้อนให้กินต่อเนื่องเป็นเวลา 2 เดีอน พบว่าช่วยให้นํ้าหนักตัวของหนูลดลงได้ โดยไม่มีผลต่อตับและไต และหากท่านเป็นผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง หรือ Metabolic syndrome (หมายถึง ผู้ที่มีภาวะดี้อต่ออินซูลิน ภาวะอ้วน รอบพุงใหญ่ ซึ่งมักมีระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย) การรับประทานกระเจี๊ยบจะมีผลดีอย่างมาก โดยผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าการรับประทานกระเจี๊ยบต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน ระดับนํ้าตาลในเลือดลดลง ระดับไขมันในเลีอดทั้งคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ LDL ลดลง และยังเพิ่มไขมันชนิดดีคือ HDL ได้ด้วย

วิธีรับประทานก็ใช้กระเจี๊ยบสดหรือแห้ง ราว 5 - 10 กรัม ต้มกับน้ำประมาณ 300 ซีซี อาจใช้วิธีการชงแบบชาหรือต้มรับประทานวันละ 2 - 3 ครั้ง

เป็นข้อมูลสนับสนุนสำหรับสมุนไพรที่ตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพในโลคยุคดิจิตอล 'กระเจี๊ยบแดง' อีกทางเลือกเพื่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น