วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

ยารักษาเบาหวานและการตรวจวัดน้ำตาลด้วยตนเองที่บ้าน

ภาวะนํ้าตาลสูงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองนั้น อาจแบ่งออกได้เป็นระดับนํ้าตาลที่สูง ภายหลังการรับประทานอาหาร และนํ้าตาล ที่สูงแม้ในขณะที่อดอาหาร กลไกที่สำคัญของการเกิดนํ้าตาลในเลือดที่สูงนิ้เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ร่วมกับความผิดปกติของเบต้าเซลล์ที่ตับอ่อน ไม่สามารถสร้างและหลั่งอินซูลินได้เพียงพอ การรักษาในระยะแรกนั้น มุ่งเน้นที่การควบคุมอาหาร ซึ่งจะลดระดับนํ้าตาลภายหลังการรับประทานอาหารลงได้ การลดนํ้าหนักตัวลงร่วมกับการออกกำลังกายจะช่วยให้ภาวะดื้อต่ออินซูลินดีขึ้น จนทำให้ระดับนํ้าตาล ในขณะอดอาหาร (นํ้าตาลในตอนเช้า) ลดลงได้ อย่างไรก็ตามเมื่อการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายไม่เป็นผล จำเป็นต้องได้รับยาซึ่งจะออกฤทธิ๋ลดระดับนํ้าตาลในเลือด ยาต่างๆ เหล่านี้ในปัจจุบันมีมากมาย และมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันไป แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกยา ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย การเลือกใช้ยาแต่ละชนิดควรต้องพิจารณาถึงข้อบ่งชี้ของการใช้ยา ข้อห้าม รวมทั้งอาการอันไม่พึงประสงค์ต่างๆ การใช้ยาต่างๆ เหล่านี้ ควรต้องคำนึงถึงปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีโรคต่างๆ หลายอย่างร่วมด้วยการได้รับยาหลาย ๆ ชนิดรวมกันมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนการใช้ยาได้โดยง่าย

ยาชนิดรับประทานคืออะไร

• ยาเบาหวานชนิดเม็ด ใช้เพื่อลดระดับนํ้าตาล ในเลือด

• ยาเบาหวานชนิดเม็ด มิใช่อินซูลิน อินซูลินไม่สามารถใช้รับประทานได้ เนื่องจากอินซูลินเป็นโปรตีนที่ถูกทำลายได้ด้วยนํ้าย่อย เช่น โปรตีนชนิดอื่นๆ

• ยาชนิดเม็ดจะมีประสิทธิภาพเมื่อตับอ่อนยังผลิต อินซูลินได้บ้าง

สำหรับการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะด้วยตนเองที่บ้าน อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน และจะหลั่งออกมาเมื่อมีการกระตุ้นจากอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นํ้าตาลกลูโคส อินซูลินทำหน้าที่พากลูโคสเข้าสู่เซลล์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่อื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ ควบคุมระดับไขมันในเลือด เป็นต้น

โรคเบาหวานโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่ 2 เกิดจาก ร่างกายขาดอินซูลิน โดยที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินออกมาไม่เพียงพอหรืออินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยกว่าปกติ เนื่องจากเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้กลูโคสไม่ถูกพาเข้าสู่เซลล์ ทั้งสองสาเหตุทำให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงผิดปกติได้ ในระยะแรกของโรคเบาหวาน การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย รวมทั้งการใช้ยาเม็ดลดระดับนํ้าตาล จะช่วยแก้ไขภาวะเหล่านี้ได้ แต่เมื่อโรคดำเนินไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง จะพบว่า ผู้ป่วยจำนวนมาก จะเริ่มใช้ยาเม็ดไม่ได้ผล เนื่องจากตับอ่อน เสื่อมสภาพลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่สามารถสร้างและหลั่งอินซูลินออกมาได้เพียงพอ เป็นเหตุให้ระดับนํ้าตาลสูง จนควบคุมไม่ได้ เมื่อถึงระยะนี้จำเป็นต้องได้รับอินซูลินจากภายนอกเพิ่มเติม จืงจะสามารถรักษาระดับนํ้าตาลให้กลับมาเป็นปกติได้อีก

อินซูลินเป็นสารประกอบโปรตีน ไม่สามารถรับประทาน ได้เหมือนยาเม็ดทั่วไป จำเป็นต้องฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ด้วยการฉีดยาที่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น