วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

9 กลุ่มยาแม่ควรเลี่ยง เพื่อลูกรอด

เป็นที่ทราบดีว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งท้องทุกคนย่อมมีความปรารถนาสูงสุดที่จะเห็นลูกน้อยของตนเอง ลืมตาออกมาดูโลกพร้อมกับร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง แต่ระยะเวลาร่วม 9 เดือนก่อนจะถึงวันแห่งความฝันนั้น ถือเป็นหน้าที่ของคุณแม่ที่จะต้องคัดสรร แต่สิ่งที่ดีที่สุดเข้าสู่ร่างกาย เพี่อให้ชีวิตน้อยๆ ในท้องของคุณได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์เพี่อการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างเหมาะสม นอกจากอาหารแล้ว ยาที่คุณแม่ทั้งหลายรับประทานเข้าไปก็ถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะถึงแม้ว่ายาบางชนิดจะมีคุณในการรักษาโรค แต่ก็อาจให้โทษที่ร้ายแรงแก่ลูกในท้องอย่างคาดไม่ถึง ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาจึงยังคงเป็นที่กังวลและสงสัยกันในหมู่คุณแม่ทั้งหลายอยู่มาก ดังนั้นเพื่อช่วยคลายความกังวลดังกล่าว จึงขออาสานำข้อมูล 9 กลุ่มยาที่ได้รับการพิสูจน์และมีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่ามีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์มาบอกกล่าวให้คุณแม่ทั้งหลายได้รับทราบ และรีบถอยห่างให้ไกลโดยเริ่มกันที่กลุ่มแรกคือ

1. ยารักษาความดันโลหิต
โดยเฉพาะในส่วนที่ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง พบรายการยาที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ Nifedipine ยาความดันที่ใช้กรณีอาการรุนแรงและรักษาด้วยยาตัวอื่นไม่ได้ผล อาจส่งผลให้เกิดการยับยั้งการคลอดจึงควรหลีกเลี่ยงในระยะใกล้คลอด Propranolol ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดนี้ช่วงไตรมาส 2 - 3 เพราะจะทำให้ทารกมีนํ้าหนักตัวน้อย และ Enalapril หากใช้ ในไตรมาส 2 - 3 จะทำให้ทารกมีร่างกายผิดปกติ ความคันโลหิตตํ่าอย่างรุนแรง และการทำงานของไตบกพร่อง

2. ยาฆ่าเชื้อ

มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อแบคทีเรียและรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ อาทิ ทอนซิลอักเสบ หูอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ บิด ไทฟอยด์ พบรายชื่อยาที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่ Tetracycline ควรงดใช้ในช่วงตั้งครรภ์ 5 - 6 เดือนไปแล้ว เพราะจะทำให้กระดูกและฟันของทารกที่กำลังสร้างตัวเกิดความผิดปกติ เปลี่ยนสี และเป็นเหตุให้ทารกพิการแต่กำเนิด Indomethacin ยารักษาโรคข้อกระดูกอักเสบที่ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกิน 48 ชั่วโมง หรือหลังอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ โดยเฉพาะระยะใกล้คลอด เพราะอาจทำให้ทารกผิดปกติและส่งผลให้คลอดช้ากว่ากำหนด

3. ยาแก้ปวด

ลดอักเสบ ที่คุณแม่ทั้งหลายคงคุ้นชินในการรับประทานเพื่อระงับอาการปวดและลดการอักเสบมีชนิดยาที่ควรเลี่ยง ดังนี้ คือ Hyoscine-N-butylbromide ใช้ลดการปวดเกร็งท้องซึ่งคุณแม่ยังคงใช้ได้แต่ควรงดเมื่อใกล้คลอด เพราะจะทำให้ลูกหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ Colchicine ยารักษาข้ออักเสบจากโรคเกาด์ ที่นอกจากจะส่งผลต่อผู้ชาย ทำให้จำนวนอสุจิลดลงแล้ว ยังส่งผลต่อหญิงตั้งครรภ์โดยทำให้เกิดความผิดปกติในทารกอย่าง Down’s syndrome ได้อีกด้วย

4. ยาแก้ไอ

ที่มีทั้งชนิดนํ้าและชนิดเม็ดเหมาะสมในการใช้รักษาอาการไอที่แตกต่างกัน ตามลักษณะและความรุนแรง พบยาที่คุณแม่ควรเลี่ยง คือ Diazepam ถ้าใช้ในไตรมาสที่ 1 ทารกอาจปากแหว่ง เพดานโหว่ หากใช้ไตรมาส 2 ระบบเลือด และหัวใจอาจผิดปกติ และถ้าใช้ต่อเนื่องนานๆ ในปริมาณมากช่วงใกล้คลอด อาจทำให้กล้ามเนื้อทารกอ่อนแรง เซื่องซึม ไม่ดูดนม เกร็ง สั่น และท้องเสียได้ Actifed เป็นยาแก้ไอที่ควรงดในไตรมาสแรกเพราะอาจทำให้ระบบหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ และแท้งได้ ส่วนยาแก้ไอชนิดที่ไม่มีไอโอดีนนั้น ไม่ควรใช้เลย เพราะอาจทำไห้ทารกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมอง

5. ยาฆ่าเชื้อรา

มีฤทธิ์ในการยับยั้งและต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรค มียาที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง คือ Griseofulvin หากใช้ยาดังกล่าวในไตรมาสแรกอาจทำให้ทารกผิดปกติมากกว่าในช่วงไตรมาส 2 - 3 เช่น ทำให้หัวใจผิดปกติ และหากเป็นลูกแฝด อาจส่งผลให้เกิดการแยกตัวได้ไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะถ้าใช้ ภายใน 20 วันแรกหลังตกไข่

6. ยาขยายหลอดเลือด

เป็นยาที่ใช้รักษาเพื่อลดการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ พบชื่อยาที่อาจส่งผลต่อลูกในท้อง ดังนี้คือ Cinnarizine คุณแม่ควรเลี่ยงถ้าไม่จำเป็น เพราะการใช้ยาต้านอิสตามีนชนิดนี้ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดความผิดปกติของกระจกตาได้ Salbutamol เป็นยาที่ใช้ในคุณแม่ผู้ที่มีความดันโลหิตตํ่ารุนแรง เกิดภาวะนํ้าตาลตํ่า และ Theophylline ยาขยายหลอดลม หากมีความจำเป็นต้องใช้ควรเฝ้าระวังใกล้ชิดและควรงดการใช้ในระยะใกล้คลอด เพี่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว

7. ยารักษาเบาหวาน

มีบทบาทในการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมายด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย มีทั้งแบบชนิดรับประทานและแบบฉีดอินซูลิน ซึ่งแบบที่เป็นอันตรายต่อทารกนั้นคือแบบรับประทาน เช่น Glibenclamide, Metformin และ Glipizide ที่อาจส่งผลข้างเคียงทำให้ทารกมีระดับนํ้าตาลในเลือดตํ่า เกิดภาวะแทรกซ้อนในกรณีที่แม่ควบคุมระดับนํ้าตาลไม่คงที่และอาจส่งผลถึงขั้นพิการได้

8. ยารักษาอาการชัก

ส่วนใหญ่มักทำให้ทารกเกิดความพิการมีใบหน้าผิดปกติ จมูกแบน ตาห่าง หนังตาตก บางชนิด อาจทำให้เลือดของทารกแข็งตัวช้า เพื่อเป็นการป้องกันการส่งผลกระทบต่อลูกในท้อง คุณแม่ทั้งหลายจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเหล่านี้ ได้แก่ Phenobarbital, Phenytoin และ Carbamazepine หากมีความจำเป็นต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขการใช้ยาและควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

9. ยารักษาสิว

ที่ถึงแม้ว่าจะช่วยให้คุณแม่ที่รักสวยรักงามได้มีใบหน้าผ่องใสไร้สิว แต่พบว่ามียาบางตัวที่ไม่เหมาะ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และส่งผลให้ทารกที่เกิดมามีความผิดปกติได้ เช่น Tetracycline, Doxycycline และ Minoeyeline เป็นยากินรักษาสิวที่ใช้กันมาก แต่มีผลต่อกระดูกและฟันของเด็กอ่อนในครรภ์ ยากลุ่มวิตามินเอ พวกเรตินอยด์ หรือ Isotretinoin จะทำให้ทารกในครรภ์ปัญญาอ่อน พิการ ศีรษะโตหรือเล็กผิดปกติ ใบหน้าและตาผิดรูปได้

อธิบายกันมาจนถึงบรรทัดนี้คงพอจะทำให้คุณแม่ทั้งหลายได้มีสติและระมัดระวังการใช้ยาเพื่อรักษาโรคต่างๆ ขณะตั้งครรภ์มากยิ่งขึ้นเพราะสิ่งที่คุณแม่ควรคำนึงถึงมากที่สุดนอกจากการรักษาอาการเจ็บป่วยให้หายแล้ว ยังหมายถึง ผลกระทบต่อลูกในท้องที่ควรใส่ใจเสียตั้งแต่ตอนนี้เพื่อการเริ่มต้นอย่างสมบูรณ์แข็งแรงของชีวิตน้อยๆ ที่คุณรัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น