เลือด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชีวิต (14) ดัชนีบ่งชี้สมดุลของแร่ธาตุ
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา
คณะเทคนิคการเ[พทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตอนนี้ จะขอแนะนำรายการตรวจทางห้องปฎิบัติการเทคนิคการแพทย์ ในอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ก็คือ ดัชนีบ่งชี้สมดุล ของแร่ธาตุในร่างกาย ที่เรียกว่า อิเลกโตรไลต์ (Electrolytes) กัน นะครับ คำว่า “อิเลกโตรไลต์’’ คือ สารที่เมื่อละลายอยู่ในนํ้า หรืออยู่ในเลือด จะแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้าหรือที่เรียกว่าไอออน (Ion) โดยหากแตกตัวแล้วให้ประจุเป็นบวก เช่น Na+ (โซเดียมไอออน) K+ (โปแตสเชียมไอออน) Mg2+ (แมกนีเซียมไอออน) Ca2+ (แคลเซียมไอออน) หรือให้ประจุเป็นลบ ได้แก่ Cl- (คลอไรด์ไอออน) HC03- (ไบคาร์บอเนต) ซึ่งหากในสารละลายนั้นมีปริมาณประจุบวกและ ลบเท่าๆ กัน จะทำให้สารละลายนั้นสามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ โดยร่างกายของเราจะได้รับอิเลกโตรไลต์เหล่านี้โดยส่วนมากจาก อาหารแล้วถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งหน้าที่หลักๆ ของอิเลกโตรไลต์ ได้แก่ การควบคุมความดันออสโมติก (Osmotic pressure) ในหลอดเลือด รวมถึงควบคุมการกระจายตัว ของนํ้าไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อสร้างสภาวะสมดุล นอกจากนั้น ยังทำหน้าที่ในการควบคุมภาวะกรด-ด่างของร่างกาย ในขณะที่อิเลกโตรไลต์บางตัวยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ชนิดต่างๆ รวมทั้งการเสริมสร้างระบบการทำงานของหัวใจและการยืดหดตัวของกล้ามเนื้ออีกด้วย หากร่างกายขาดแร่ธาตุหรืออิเลกโตรไลต์ชนิดต่างๆ ก็จะมีผลต่อการทำงานของเซลล์ และส่งผลต่อสภาวะทางสุขภาพและโรคภัยต่างๆ ตามมาได้ ดังนั้น ร่างกายจึงมีกระบวนการควบคุมสมดุลของอิเลกโตรไลต์ผ่านทางฮอร์โมนชนิดต่างๆ อาทิ ฮอร์โมนเรนิน (Renin) ซึ่งผลิตจากไต ฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (Aldosterone) ผลิตจากต่อมอะดรีนัล (Adrenal gland) ฮอร์โมนแอนตี้ไดยูเรติก (Antidiuretic hormone;ADH) ผลิตจากต่อมพิทูอิทารี (Pituitary gland) และฮอร์โมนแองจิโอเทนซิน (Angiotensin) ที่มีการสั่งการมาจากอวัยวะต่างๆ เช่น สมองหรือหัวใจ ซึ่งหากมีแร่ธาตุชนิดใดตํ่าหรือสูงเกินไปจนจะเกิดอันตราย ร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนเหล่านี้ออกมา เพื่อปรับสภาวะจนมีค่าอิเลกโตรไลต์เข้าสู่สมดุลปกติต่อไป
สำหรับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์ระดับอิเลกโตรไลต์นั้น จะเห็นว่า จากใบขอตรวจจะมีรายการตรวจมากถึง 8 รายการนะครับ ซึ่งเราก็จะมาว่ากันต่อในรายละเอียดเป็นกลุ่มย่อยๆ กัน ขอเริ่มจากกลุ่มย่อยแรกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องรู้จักกันไว้ จะมีด้วยกัน 4 รายการ คือ โซเดียม (Na+) โปแตสเซียม (K+) คลอไรด์ (Cl-) และคาร์บอนไดออกไซด์ (C02) หรือเรียกว่า ไบคาร์บอเนต (HC03-) ก็ได้นะครับ โดยการตรวจวิเคราะห์หาอิเลกโตรไลตํโดยทั่วไป จะเป็นการตรวจ Na+ K+ Cl- และ HC03- ควบคู่กัน เนื่องจาก อิเลกโตรไลต์เหล่านี้ จะอยู่ในร่างกายในลักษณะที่สมดุลกัน ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงระดับของตัวใดตัวหนึ่ง ก็จะมีผลทำให้ตัวอื่นเปลี่ยนแปลงไปด้วย เอาล่ะครับ เรามาเริ่ม ทำความรู้จักกันเกี่ยวกับอิเลกโตรไลต์ตัวแรก คือ โซเดียม (Na+) กันก่อนนะครับ โดยโซเดียมนั้นจัดเป็นสารอิเลกโตรไลต์สำคัญที่ มีปริมาณมากกว่าอิเลกโตรไลต์ชนิดอื่นโดยปริมาณของโซเดียมประมาณร้อยละ 40 จะเป็นส่วนประกอบในรูปสารประกอบเชิงซ้อน ของโครงสร้างกระดูกและฟัน (ซึ่งโดยส่วนใหญ่ไม่อยู่ในรูปที่สามารถแลกเปลี่ยนกับแหล่งอื่นๆ ได้) ในขณะที่อีกร้อยละ 50 และ 10 จะอยู่ ในนํ้าภายนอกเซลล์และภายในเซลล์ ตามลำดับนั่นก็หมายความ ว่า โซเดียมมีความเข้มข้นสูงที่สุดภายนอกเซลล์และมีคุณสมบัติ ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้น้อย จึงมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยปรับแรง ดันออสโมติก และควบคุมการกระจายตัวของนํ้าในส่วนต่างๆ เพื่อ ป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียนํ้ามากเกินไป โดยในแต่ละวัน เราจะได้รับ โซเดียมจากอาหารและแร่ธาตุต่างๆ ในปริมาณที่มากเกินพอ เช่น จากนํ้าปลา ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง แหนม นํ้าพริกกะปิ เป็นต้น โดยโซเดียมเกือบทั้งหมดจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วที่บริเวณลำไล้เล็กส่วนต้น ในขณะที่การขับออกโซเดียมส่วนใหญ่จะผ่านทางปัสสาวะ จะมีการขับออกทางเหงื่อและอุจจาระอยู่บ้าง ทั้งนี้ในภาวะปกติ ไต เป็นอวัยวะที่สำคัญในการควบคุมระดับโซเดียมจากที่ได้รับจาก อาหารและการขับออกให้ใกล้เคียงกัน โดยจะมีการดูดกลับโซเดียม ที่บริเวณไตด้วย ค่าปกติของระดับโซเดียมจะอยู่ในช่วงประมาณ 137 - 145 mmol/L (หน่วยนี้เรียกว่า มิลลิโมลต่อปริมาณเลือด 1 ลิตรนะครับ ในขณะที่อาจมีการรายงานในลักษณะอื่นที่เรียกว่า mEq/L หรือมิลลิอิควิวาเลนต์ต่อลิตรก็ได้ เนื่องจากอิเลกโตรไลต์มี การแตกตัวเป็นประจุ จึงมีการนำค่าประจุมาใช้ในการคิดคำนวณ ด้วย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น