วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

สรุปเนื้อหาสำคัญ 8 วิชาหลัก สำหรับเตรียมสอบเพื่อขอขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น 1

สรุปเนื้อหาสำคัญ 8 วิชาหลัก สำหรับเตรียมสอบเพื่อขอขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น 1
.................................................................
โรคจิตเภท (Schizophrenia)
..........เป็นความผิดปกติที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการในช่วงวัยรุ่น เมื่อเป็นแล้วมักไม่หายขาด ส่วนใหญ่มีอายุการกำเริบเป็นช่วง ๆ โดยมีอาการหลงเหลืออยู่บ้างในระหว่างนั้น อาการในช่วงกำเริบ จะเป็นกลุ่มอาการด้านบวก เช่น ประสาทหลอน หลงผิด และในระยะหลังส่วนใหญ่มีกลุ่มอาการด้านลบ เช่น พูดน้อย เฉื่อยชา แยกตนเอง

ลักษณะอาการทางคลินิก
..........อาการแสดงของโรคจิตเภทอาจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาการด้านบวก และกลุ่มอาการด้านลบ
..........1. กลุ่มอาการด้านบวก (Positive Symptoms) แสดงออกในด้านความผิดปกติของความคิด การรับรู้ การติดต่อสื่อสาร และพฤติกรรม ซึ่งแบ่งตามลักษณะออกเป็น 2 ด้านใหญ่
..........1.1 Psychotic dimension อาการหลงผิด และอาการประสาทหลอน
..........1.2 Disorganization dimension ได้แก่ disorganized Behavior และ disorganized speech
..........1. กลุ่มอาการด้านบวก (Positive Symptoms) ได้แก่
..........- อาการหลงผิด (Delusion)
..........- อาการประสาทหลอน (Hallucination) ที่พบบ่อยเป็น auditory hallucination
..........- Disorganized speech ผู้ป่วยไม่สามารถรวบรวมความคิดให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันได้ตลอด
..........- Disorganized behavior เป็นพฤติกรรมที่ผิดไปจากปกติอย่างมาก
..........2. กลุ่มอาการด้านลบ (Negative Symptoms) เป็นภาวะที่ขาดในสิ่งที่คนทั่ว ๆ ไปควรมี เช่น ในด้านความรู้สึก ความต้องการในสิ่งต่าง ๆ อาการเหล่านี้ได้แก่
..........- Alogia พูดน้อย
..........- Affective flattening การแสดงออกทางด้านอารมณ์ลดลงมาก หน้าตาเฉยเมยไม่ค่อยสบตา
..........- Avolition ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชาลง ไม่สนใจเรื่องการแต่งกาย ผู้ป่วยอาจนั่งอยู่เฉย ๆ ทั้งวันโดยไม่ทำอะไร
..........- Asociality เก็บตัว เฉย ๆ ไม่ค่อยแสดงออก หรือไม่มีกิจกรรมที่สนุกสนาน ในระยะอาการกำเริบ อาการสำคัญส่วนใหญ่จะเป็นอาการในกลุ่มอาการด้านบวก ส่วนกลุ่มอาการด้านลบนั้นมักพบในระยะหลังของโรค และไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษายาเหมือนกลุ่มอาการด้านบวก

ชนิดของโรคจิตเภท
1. Disorganized Type (Hebephenic) 
..........ผู้ป่วยจะมีอาการของความคิด และคำพูดไม่สอดคล้องกัน (incoherence) อารมณ์เฉยเมย ไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ ผู้ป่วยพวกนี้เริ่มมีอาการตั้งแต่อายุยังน้อย และเกิดขึ้นช้า ๆ ผู้ป่วยมักมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพอย่างมากมาก่อน โรคจิตเภทชนิดนี้มักเป็นเรื้อรัง ไม่ค่อยหาย และเป็นภาระของสังคม

2. Catatonic Type 
..........ผู้ป่วยมีอาการสำคัญ คือ มีความผิดปกติที่พฤติกรรมการเคลื่อนไหว อาจเป็นได้ทั้งแบบเฉยทื่อ (stupor) หรือ ปฏิเสธต่อต้าน (negativism) หรือ ยืนกราน (rigidity) หรือตื่นเต้นวุ่นวาย (excitement)

3. Paranoid Type 
..........ผู้ป่วยจะมีอาการหวาดระแวง หลงผิด มีอาการโกรธง่าย ก้าวร้าว ชอบทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น ผู้ป่วยประเภทนี้ การดำเนินชีวิตไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก อาการค่อนข้างคงที่ การพยากรณ์โรคมักจะดีกว่าโรคจิตเภทชนิดอื่น ๆ

4. Residual Type 
..........ผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิดนี้ จะเคยเป็นโรคจิตเภทชนิดใดชนิดหนึ่งมาก่อนแล้วอาการดีขึ้น แต่ยังมีอาการบางอย่างหลงเหลืออยู่ เช่น ชอบนั่งแยกตัวอยู่คนเดียว สีหน้าเฉยเมย ขาดความคิดริเริ่ม มักคิดและพูดอะไรแปลก ๆ ไม่มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน มักกลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง

5. Undifferentiate Type 
..........ผู้ป่วยประเภทนี้มีอาการของโรคจิตเภทไม่ชัดเจน ไม่สามารถจัดเข้าประเภทอื่น ๆ ได้ มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน ความคิดไม่ปะติดปะต่อกัน

การบำบัดรักษา
การบำบัดที่ได้ผลและมักนิยมใช้มีดังนี้
..........1. Psychotherapy Individual Group Behavioral Supportive Family Therapy อาจเลือกใช้ตามความเหมาะสม
..........2. Milieu Therapy เน้นที่การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ลดภาวะเครียด พัฒนาความสามารถในการปรับตัวรายบุคคล
..........3. Ghemotherapy การรักษาด้วยยา เช่น ยา Antiparkinson agents อาจต้องเตรียมไว้เพื่อลดอาการ extrapyramidal side effect ของ psychotropic drug
..........4. Somatic or Electroconvulsive Therapy ใช้ในราย Severe Schizophrenia หรือผู้ป่วยรายที่ใช้ยาไม่ได้ผล

การพยาบาล
เป้าหมายของการพยาบาล คือ
..........1. เสริมสร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจ
..........2. ลดความวิตกกังวล
..........3. รักษาสมดุลด้านชีววิทยา
..........4. ใช้ความคงเส้นคงวา และชัดเจนในการติดต่อสื่อสาร
..........5. ใช้หลักสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
..........6. นำผู้ป่วยเข้าสู่ความเป็นจริง โดยการจัดให้มีกิจกรรมบำบัดที่เหมาะสม
..........7. ระมัดระวังอันตรายที่จะเกิดกับผู้ป่วย และผู้ที่อยู่ข้างเคียง ในช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการ

Anxiety Disorders
..........ความหมาย
..........ความวิตกกังวลเป็นสภาวะทางอารมณ์ของบุคคลที่มีความรู้สึกหวาดหวั่น หวาดกลัว อึดอัดไม่สบายใจ เกรงว่าจะมีสิ่งร้ายหรือเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นกับตน
..........- ลักษณะของความวิตกกังวล ประกอบด้วย
..........- ความรู้สึกหงุดหงิดไม่สบายใจสภาพการณ์ที่ไม่แน่ใจ
..........- ความรู้สึกหวาดหวั่น หวั่นเกรงจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับตน
..........- สภาวะกระสับกระส่าย อึดอัดไม่สบายใจ
..........- ความรู้สึกตระหนก ตกใจ กลัวบางสิ่งบางอย่างที่บอกไม่ได้
..........- ความรู้สึกไม่มั่นใจในเหตุการณ์ล่วงหน้า
..........- ความรู้สึกเครียดที่ไม่สามารถบอกสาเหตุได้

กระบวนการเกิดความวิตกกังวล เกิดจาก
..........1. ความต้องการของบุคคลมีสิ่งขัดขวาง ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ
..........2. บุคคลเกิดอารมณ์ไม่สบายใจ ไม่แน่ใจ กระวนกระวายใจ ท้อแท้ไม่สามารถขจัดความไม่สบายต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
..........3. มีภาวะอื่นตามมาเพื่อลดความวิตกกังวลและป้องกันตนเอง เช่น ภาวะโกรธ ก้าวร้าว ตำหนิผู้อื่น
..........4. พลังความวิตกกังวลถูกเปลี่ยนเป็นพลังอื่น

โรคในกลุ่ม Anxiety Disorders
..........1. Panic Disorders
..........2. Phobic Disorders
..........3. Generalize Anxiety disorders (GAD)
..........4. Obsessive Compulsive disorders
..........5. Post Traumatic disorders

กระบวนการพยาบาลในผู้ป่วย Anxiety
1. การประเมินสภาพปัญหาและความรุนแรง
..........1.1 Mild anxiety เป็นปกติในบุคคล ถ้าเกิดขึ้นเป็นสิ่งดี เพราะจะช่วยให้บุคคลแก้ปัญหา และทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และกระตุ้นให้บุคคลตื่นตัวในการแก้ปัญหาการเจ็บป่วยหรือทำให้บุคคลพยายามทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ
..........1.2 Moderate anxiety บุคคลจะเกิดการรับรู้เรื่องต่าง ๆ แคบลง บุคคลจะสนใจเฉพาะปัญหาที่จะทำให้ตนเองสบายใจ พยายามควบคุมตนเองมากขึ้น
..........1.3 Severe anxiety บุคคลจะมีความวิตกกังวลสูงสภาพการรับรู้แคบลง สมาธิในการรับฟังปัญหาและข้อมูลต่าง ๆ ลดลง เพราะมีความคิดหมกมุ่นไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
..........1.4 Panic Anxiety บุคคลมีความกังวลสูงสุด บุคคลจะอยู่ในภาวะตื่นตระหนก สับสนวุ่นวาย หวาดกลัวสุดขีด ควบคุมตัวเองไม่ได้ อาจมีอาการประสาทหลอน แบบขาขยับไมได้ เป็นลมหมดสติ

2. การวางแผนการพยาบาล
2.1 เป้าหมายระยะสั้น
..........- ลดความวิตกกังวลจนถึงปกติ
..........- สามารถปฏิบัติหน้าที่ประจำวันได้
2.2 เป้าหมายระยะยาว
..........- เน้นการถึงเหตุและผลของความวิตกกังวล
..........- รู้จักวิธีการลดความวิตกกังวล
..........- ลดความถี่การเกิดความวิตกกังวล
..........- ปรับบุคลิกภาพและใช้กลไกทางจิตที่เหมาะสม
..........- ขจัดความขัดแย้ง และบรรเทาประสบการณ์ที่เจ็บปวด
3. หลักการช่วยเหลือผู้ที่วิตกกังวล
..........3.1 แสดงการยอมรับ
..........3.2 อยู่เป็นเพื่อน
..........3.3 ให้ความมั่นใจว่าจะได้รับการช่วยเหลือ
..........3.4 จัดสภาพแวดล้อมให้สงบและลดสิ่งกระตุ้นวุ่นวาย
..........3.5 ดูแลความต้องการด้านร่างกาย อาหาร น้ำ ความสะอาด
..........3.6 ให้บุคคลได้ระบายความวิตกกังวล
..........3.7 ให้ได้รับยา
.........................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น