วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

วิสาขปูชา หรือ วิสาขบูชา

 วิสาขปูชา หรือ วิสาขบูชา


คืองานบูชาในเดือนหก ซึ่งชาวล้านนานิยม เรียก "ปาเวณีเดือนแปดเพง" คืองานประเพณีเพ็ญเดือนแปด (เหนือ) เป็นรูปบาลี ย่อมาจากคำว่า วิสาขาปุณณมีบูชา หรือ วิสาขาปูรณมีบูชา ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตแต่เรียกย่อๆ ว่า วิสาขปูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนหก (วันเพ็ญเดือนแปดเหนือ)

...คำว่า "วิสาขะ หรือ ไวสาขะ" เป็นชื่อของดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง เมื่อพระจันทร์ผ่านกลุ่มดาววิสาขะนี้ เรียกว่า พระจันทร์เสวยวิสาขฤกษ์ คำว่า วิสาขะ เป็นชื่อเดือนที่ ๖ หรือเดือนหกตามจันทรคติ

...วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน สามสมัยกาลร่วมกัน มีเรื่องย่อเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งสามดังต่อไปนี้

ประสูติ

...เมื่อ ๘๐ ปีก่อนพุทธศักราช ณ สวนลุมพินีวัน ซึ่งอยู่พรมแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ ปัจจุบันคือตำบลลุมมินเด แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล เจ้าชายสิทธัตถะประสูติใต้ต้นสาละในสวนนี้ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง

ตรัสรู้

...จากวันประสูตินั้นมา ๓๕ ปีบริบูรณ์ คือ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ปัจจุบันเรียกว่าพุทธคยา จังหวัดคยา แคว้นพิหาร พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้ เมื่อวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก ปีระกา เวลารุ่งอรุณ

ปรินิพพาน

...พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนศีลธรรมอยู่ ๔๕ ปี เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ ระหว่างต้นสาละคู่ในสาลวโนทยาน เมืองกุสินารา เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก ปีมะเส็ง เวลาใกล้รุ่ง

...พิธีวิสาขบูชานี้ เป็นพิธีที่นิยมทำกันมาแต่โบราณปรากฏหลักฐานจากคัมภีร์มหาวงศ์ พงศาวดารลังกาว่า ราวพุทธศักราช ๔๒๐ พระพุทธศาสนารุ่งเรืองอยู่ในเกาะลังกา พระเจ้าแผ่นดินแห่งเกาะลังกา ล้วนแต่เป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก และได้ให้ทำพิธีวิสาขบูชาเป็นการใหญ่ประจำปี

พิธีการวันวิสาขบูชาของล้านนาไทย

...พิธีการวันวิสาขบูชาสำหรับล้านนาไทยนั้น ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับวันมาฆบูชาทุกอย่าง ยกเว้นไม่มีการทานขันเข้าเท่านั้น ตอนเช้ามีการทำบุญ ตักบาตร รับศีล และตอนบ่ายผู้เฒ่าผู้แก่จะไปวัดฟังเทศน์ บางคนจะไปนอนวัด ถึงตอนค่ำนำดอกไม้ธูปเทียนไปเวียนเทียน จะมีทั้งพระสงฆ์และประชาชน พระสงฆ์เดินนำหน้าเวียนขวารอบเจดีย์ พระอุโบสถหรือวิหาร ๓ รอบ เสร็จแล้วก็เข้าโบสถ์ สวดมนต์ ฟังเทศน์เป็นเสร็จพิธี

คำบูชาในวันวิสาขบูชา

...ยมมฺหโข มยํ ภควนฺตํ สรณํ คตวา, โย โน ภควา สตฺถา ยสฺส จ มยํ ภควโต, ธมฺมํ โรเจม, อโหสิ โข โส ภควา, มชฺฌิเมสุ ชนปรเทสุ มนุสฺเสส อุปปนฺโน ขนฺติโย โคตเมน โคตฺเตน, สกฺยปุตฺโต สกฺยกุลา ปพฺพชิโต, สเทวเก โลเก สมารเก สพฺรหฺมเก, สสฺสมณ พฺราหฺมณียา ปชา สเทวมนุสฺสาย อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อภิสมฺพุทโธ, นิสฺสํสยํ โย โส ภควา, อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ, วิชฺชา จรณสมฺปนฺโน สุคโต, โลกวิทู, อนุตตโร ปริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา

...สฺวากฺขาโต โข ปน เตน ภควตา ธมฺโม, สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ

...สุปฏิปนฺโน โข ปนสฺส ภควโต สาวกสงฺโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, สามีจิ ปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคลานิ อฏฐปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ, อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส

...อยํ โข ปน ถูโป (ปฏิมา) ตํ ภคกนฺตํ อุททิสฺสกโต ยาว เทวทรสฺสเนนฺตํ ภควนฺตํ อนุสฺสริตฺถา ปสาทสํเวคปฏิลาภาย, มยํ โข เอตรหิ อิมํ วิสาขปุณฺณมีกาลํ อสฺส ภควโต ชาติสมฺโพธิ นิพฺพานกาเล สมฺมหํ (ถ้าวันอัฏฐมีเปลี่ยนเป็น วิสาขปุณณมีตปรํ อฆฐมีกาลํ) ตสฺส ภควโต สรีชญา ปนกาล สมฺมตํปตฺวา อิมํ ฐานํ สมฺปตฺตา อิเม ทณฺฑทีปธูปาทิส สกฺกาเร คเหตฺวา อตฺตโน กายํ สกฺการูปธานํ กริตฺวา, ตสฺส ภควโต ยถา กิจฺเจ คุเณ อนุสฺสรนฺตา, อินํ ถูปํ (ใช้ ปฏิมารํ ถ้าสวดหน้าพระพุทธรูป) ติกฺขตฺตํ ปทกฺขิณํ กริสฺสาม, ยถา คหิเตหิ สกฺกาเรหิ ปูชํ กุรุมานา, สาธุ โน ภนฺเต ภควา สุจิรปรินิพฺพุโตปิ ญาตพฺเพหิ คุเณหิ ออีตา รมฺมณตาย ปุญฺญายมาโน, อิเม อมฺเหหิ คหิเต สกฺกาเร ปฏิคฺครณฺหาตุ, อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น