วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เปิดโลกหลักภาษา-คำควบกล้ำ

เปิดโลกหลักภาษา-คำควบกล้ำ
คำควบกล้ำ หมายถึง คำที่มีพยัญชนะต้น 2 ตัว เรียงกัน ออกเสียงกลืนกัน พยัญชนะกล้ำคือตัวหลัง ซึ่งมีเพียง 3 ตัว คือ ร ล ว
คำควบกล้ำ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.คำควบกล้ำแท้ คือ คำที่มีพยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน พยัญชนะตัวหลังเป็น ร ล ว ประสมสระเดียวกัน เวลาอ่านจะออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน เช่น
ร ==> กราบ ขรึม โครง พราน ปรับปรุง ตรึกตรอง นิทรา
ล ==> ขลุ่ย ปลอม คลาย กลิ่น เปลี่ยนแปลง คลอง กลึง
ว ==> ขวนขวาย คว่ำ กวาง ขวัญ กวาด ขวาน ความ
2.คำควบกล้ำไม่แท้ คือ คำที่มีพยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน ประสมสระเดียวกัน พยัญชนะตัวหลังเป็น ร ได้แก่ จร ซร ศร สร ซึ่งจะออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้าเท่านั้น ส่วน ทร ให้อ่านออกเสียง เป็น ซ ตัวอย่างคำควบกล้ำไม่แท้ เช่น
จร ==> จริง อ่านว่า จิง
ศร ==> เศร้า อ่านว่า เส้า
ซร ==> ไซร้ อ่านว่า ไซ้
สร ==> สร้อย อ่านว่า ส้อย
ทร ==> ทรุดโทรม อ่านว่า ซุด-โซม หรือ พุทรา อ่านว่า พุด-ซา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น