เปิดโลกหลักภาษา-คำสรรพนาม
คำสรรพนาม เป็นคำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้คำนามซ้ำกันไปมาในการพูดหรือเขียน คำสรรพนาม แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1.สรรพนามใช้แทนบุคคล (บุรุษสรรพนาม) มี 3 ประเภท ได้แก่
==> สรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้เรียกแทนผู้พูด เช่น ฉัน ผม ข้าพเจ้า
==> สรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้เรียกแทนผู้ฟัง เช่น ท่าน เธอ คุณ แก
==> สรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้เรียกแทนผู้ถูกกล่าวถึง เช่น เขา มัน
2.สรรพนามแสดงคำถาม (ปฤจฉาสรรพนาม) เป็นคำแทนคำนามที่ใช้เป็นคำถาม ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ไหน เช่น
==> ใครมาหาป้า
==> เธอซื้ออะไรมา
3.สรรพนามบอกชี้ซ้ำ (วิภาคสรรพนาม) มีคำว่า บ้าง ต่าง กัน เช่น
==> ต่างคนก็ต่างชอบ
==> สองคนนั้นไปเที่ยวกัน
==> ขอฉันเล่นบ้าง
4.สรรพนามบอกความไม่เจาะจง (อนิยมสรรพนาม) จะมีคำว่า ใดๆ ใครๆ สิ่งใด ผู้ใด เช่น
==> ใครๆ ก็มาเที่ยวทะเล
==> ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง
5.สรรพนามบอกการชี้ระยะ (นิยมสรรพนาม) จะมีคำว่า นี่ นี้ นั่น นั้น โน่น โน้น บอกความใกล้ ไกลออกไปตามลำดับ เช่น
==> นี่ของฉัน
==> นั่นของเธอ
==> โน่นของเขา
6.สรรพนามเชื่อมประโยค (ประพันธสรรพนาม) จะมีคำว่า ที่ ซึ่ง อัน ทำหน้าที่แทนคำนามข้างหน้า และเชื่อมคำนามนั้นกับประโยคที่ตามมา เช่น
==> ฉันกินขนมที่คุณแม่ซื้อให้
==> เพชรที่สวยงามย่อมมีราคาสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น