วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระราชยาน คานหาม เสลี่ยง เกี้ยว อธิบายความหมายคร่าวๆ

พระราชยาน คานหาม เสลี่ยง เกี้ยว อธิบายความหมายคร่าวๆ


ถ้อยคำที่ใช้เรียกพระราชยานที่ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กฏมณเฑียรบาล พระไอยการนาพลเรือน และกฏหมายสมเด็จพระบรมศพ มีต่างๆ หลากหลาย ซึ่งน่าจะจัดกลุ่มตามประเภทได้ดังนี้
===>>   -พระราชยาน พระราเชนทรยาน
===>>   -พระยานุมาศ พระยานนุมาศกลีบบัว
===>>   -ทิพยานทอง ทิพยานนาก
===>>   -เทวียานมีมกรชู ราชยานมีจำลอง
===>>   -พระเสลี่ยง พระเสลี่ยงหิ้ว พระเสลี่ยงเงิน พระเสลี่ยงงา
===>>   -เสลี่ยงงา เสลี่ยงกลีบบัว
===>>   -คานหาม คานหามเก้าอี้ คานหามเก้าอี้ทอง
===>>   -ยั่ว ยาน
สมัยรัตนโกสินทร์ พระราชยานซึ่งสร้างขึ้นเป็นเครื่องประกอบพระเกียรติยศพระบรมวงศานุวงศ์ในยุคนี้มีหลายองค์ เข้าใจว่าสร้างตามแบบแผนพระราชประเพณีสมัยอยุธยา แต่ได้ดัดแปลงและปรับปรุงให้เหมาะสมกับกาลสมัยและสภาพการใช้สอย คือ ยังคงมีลักษณะอยู่ในเครื่องยานคานหาม 4 ประเภท ได้แก่
ยานมาศ - แบกสองลำคานขึ้นบ่า
เสลี่ยง - ที่นั่งโถงหามด้วยสาแหรกผูกคาน
วอ - ลักษณะอย่างเสลี่ยงแต่มีหลังคา
คานหาม - มีคานเดียวหาม 2 คน


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในลายพระหัตถ์ที่ทรงมีถึงสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ว่า ยานคานหามต่างๆ อาจจำแนกลักษณะความแตกต่างกันด้วยเหตุ 2 ประการคือ
***************************
===>>   ยานประเภทนั่งห้อยขา
***************************
===>>   เป็นยานสำหรับบุคคลชั้นสูง ดังเช่น พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ การหามจะต้องนำลำคานขึ้นพาดบ่า และต้องคัดเลือกผู้หามที่สูงต่ำขนาดไล่เลี่ยกัน ดังเช่น พระยานมาศ พระราเชนทรยาน และคานหามเก้าอี้ เป็นต้น
***************************
===>>   ยานประเภทนั่งราบ
***************************
===>>   ลักษณะการหามต้องใช้เชือกผูกลำคานสองข้างทำเป็นสาแหรกขึ้นไปผูกกับคานน้อยอีกอันหนึ่ง คนหามๆ ปลายคานน้อยทั้งสองข้าง
ในบรรดายานทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว อาจจัดให้เข้ากับชื่อพระราชยานที่ปรากฏเข้าเป็นกลุ่มได้ดังนี้
===>>   1. ยานประเภทยานมาศ
ได้แก่ ยานที่เรียกว่า พระราเชนทรยาน ยานมาศ ยานมาศกลีบบัว คานหามเก้าอี้ทอง มีลักษณะรวม คือ
-คนขี่นั่งห้อยเท้าอย่างนั่งเก้าอี้
-คนหามแบกลำคานพาดบ่า
-ใช้เฉพาะวาระที่เป็นการเฉลิมพระเกียรติ
===>>   2.ยานประเภทเสลี่ยง
ได้แก่ ยานที่เรียกว่า ราชยาน ทิพยาน เสลี่ยง ยาน และแคร่ มีลักษณะรวม คือ
-คนขี่นั่งราบกับพื้น
-หามลำคานแบบมีสาแหรก
-เป็นที่นั่งโถงไม่มีหลังคา
-ใช้ในเวลาปกติ
===>>   3. ยานประเภทวอ 
ได้แก่ ยานที่เรียกว่า ราชยานมีจำลอง เทวียาน สีวิกา วอ และยั่ว มีลักษณะรวม คือ
-คนขี่นั่งราบกับพื้น
-หามคานแบบมีสาแหรก
-มีหลังคาและม่าน
-ใช้ในเวลาปกติทั่วไป
===>>   4. ยานประเภทคานหาม
เป็นยานที่มีตั้งแต่สมัยโบราณ และมีแบบเดียวกัน คือ
-ลักษณะเหมือนเปล คนขี่จะนั่งหรือนอนก็ได้
-คนหาม 2 คน หามปลายลำคานหัวท้ายพาดบ่าข้างละคน
-ใช้ในเวลาปกติ หรือเมื่อเดินทางไกล
---------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก
สาส์นสมเด็จ เล่ม 18 (พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา , 2505) หน้า 275-276
โดย สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
--------------------------------------------------------------------------------
***************************
คานหาม คำอ่านและความหมาย
***************************
คำอ่าน คานหาม 
ความหมาย น. ที่นั่งที่มีคานสำหรับหาม , ถ้าใช้สำหรับเจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม เรียกสั้นๆ ว่า แคร่ ก็มี ถ้าใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระราชยานคานหาม
***************************
เสลี่ยง คำอ่านและความหมาย
***************************
คำอ่าน สะเหลี่ยง
ความหมาย น. ที่นั่งมีคานหามคู่หนึ่งสอดรับ เป็นเครื่องแสดงอิสริยยศ , ถ้าหามไป เรียกว่า เสลี่ยงหาม , ถ้าหิ้วไป เรียกว่า เสลี่ยงหิ้ว .
เสลี่ยงกง
ความหมาย น. เสลี่ยงที่มีพนักโค้งเหมือนกงเรือ
เสลี่ยงกลีบบัว 
ความหมาย น. เสลี่ยงชนิดที่เชิงแคร่ที่นั่งแกะไม้เป็นลายกลีบบัวโดยรอบ
**************************
เกี้ยว 
**************************
ความหมาย น. คานหามของจีนชนิดหนึ่ง . (จ.) . เกี้ยวประทีป น. ซุ้มไฟทำเป็นรูปอย่างเกี้ยว.
--------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542
--------------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น