วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เคมี แบบฝึกหัด อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ข้อ 11-20

เคมี แบบฝึกหัด อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ข้อ 11-20

11. ให้บอกว่าข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูก และข้อใดผิด ถ้าผิดให้บอกว่าผิดอย่างไร
      ก. การเติมตัวเร่งลงในระบบของปฏิกิริยาเคมี จะช่วยเพิ่มความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ที่สมดุล
      ข. อัตราของปฏิกิริยาขึ้นกับสมการปริมาณสัมพันธ์รวมของปฏิกิริยาเท่านั้น
      ค. ค่าคงที่อัตราเป็นสัดส่วนคงที่ระหว่างอัตราของปฏิกิริยากับผลคูณของความเข้มข้นระหว่างสารที่มีผลต่ออัตรา
      ง. คำที่มีความหมายเหมือนกันสำหรับอันดับของปฏิกิริยาคือ โมเลกุลาริตีของปฏิกิริยา
      จ. ขั้นกำหนดอัตราในกลไกของปฏิกิริยาใด ๆ คือ ขั้นที่เกิดช้าที่สุด
เฉลย
      ก. ผิด ที่ถูกคือ การเติมตัวเร่งลงไปในระบบของปฏิกิริยาเคมี จะช่วยอัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าและผันกลับเท่านั้น ไม่ช่วยเพิ่มความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ที่สมดุล
      ข. ผิด ที่ถูกคือ อัตราของปฏิกิริยาขึ้นกับความเข้มข้นของสาร อุณหภูมิ พื้นผิวสัมผัส ตัวเร่ง ธรรมชาติของสาร และธรรมชาติของตัวทำละลาย
      ค. ถูกต้อง
      ง. ผิด อันดับของปฏิกิริยาและโมเลกุลาริตีของปฏิกิริยามีความหมายไม่เหมือนกัน (ดูในเฉลยข้อ 10)
      จ. ถูกต้อง


13. จากความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าชนกันของโมเลกุลกับอัตราของปฏิกิริยา จงอธิบายว่า
      ก. ทำไมจึงไม่สามารถใช้อัตราของปฏิกิริยาคำนวณค่าความถี่ของการเข้าชนกันเพียงอย่างเดียวได้
      ข. ทำไมอัตราของปฏิกิริยาจึงอาจเพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ขณะที่ความถี่ของการเข้าชนกันเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
      ค. ทำไมการเติมตัวเร่งเข้าไปในส่วนผสมของปฏิกิริยาจึงเพิ่มอัตราของปฏิกิริยาได้มาก แม้ว่าอุณหภูมิจะคงที่
เฉลย
จากความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าชนกันของโมเลกุลกับอัตราของปฏิกิริยา
      ก. เราไม่สามารถใช้อัตราของปฏิกิริยาคำนวณค่าความถี่ของการเข้าชนกันเพียงอย่างเดียวได้ เพราะการชนกันทุกครั้งไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเสมอไป การชนที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยานั้นจะต้องเป็นการชนอย่างมีประสิทธิภาพ
      ข. อัตราของปฏิกิริยาอาจเพิ่มขึ้นอย่างมาก ขณะที่ความถี่ของการเข้าชนกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเกิดจากการเข้าชนกันของโมเลกุลที่มีพลังงานจลน์เฉลี่ยสูงขึ้นกว่าปกติที่เพียงพอในการเกิดปฏิกิริยา จึงมีผลต่ออัตราของปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นอย่างมาก
      ค. การเติมตัวเร่งเข้าไปในส่วนผสมของปฏิกิริยา ทำให้เพิ่มอัตราของปฏิกิริยาได้มาก แม้ว่าอุณหภูมิจะคงที่ เป็นเพราะตัวเร่งปฏิกิริยาไปลดค่าพลังงานก่อกัมมันต์ให้มีค่าต่ำลง จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้น




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น