ขอบข่ายวิชาที่ใช้สอบความถนัดทางสถาปัตยกรรมประกอบด้วยหัวข้อที่นักเรียนต้องเรียน มีดังนี้
1. ส่วนประกอบที่สำคัญในการออกแบบ (ELEMENTS OF DESIGN) ได้แก่เรื่องเส้น (Line) ทิศทาง (Direction) รูปทรงและรูปร่าง (Form & Shape) ขนาดและสัดส่วน (Size & Proportion) วัสดุและพื้นผิว (Material & Yexture) สีและค่าน้ำหนักอ่อนแก่ (Color & Tone) มวล (Mass) และที่ว่าง (Space)
2. หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์และหลักการออกแบบพื้นฐาน (COMPOSITION & BASIC DESIGN) ประกอบด้วยเรื่องดุลยภาพ (Balance) เรื่องเอกภาพ (Unity) เรื่องจังหวะ (Rhythm) เรื่องความกลมกลืน (Harmony) ความขัดแย้ง (Contrast) และเรื่องจุดเด่นในการจัดภาพ (Dominance)
3. ความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนมนุษย์กับการออกแบบ (Human Scale) ความเข้าใจสัดส่วนของส่วนประกอบของอาคารพื้นฐาน เช่นสัดส่วนของบันได ประตู หน้าต่าง ทางเดินเท้า หรือเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป โดยให้ศึกษาเปรียบเทียบกับสัดส่วนในการใช้งานของมนุษย์
4. ความรู้พื้นฐานเรื่องการจัดสวนและพันธุ์ไม้ ควรศึกษาเรื่องประเภทของพันธุ์ไม้ที่ใช้ในการจัดสวน เช่น ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ในร่ม ไม้แดด ไม้พุ่ม ไม้ในร่มเงา ฯลฯ
5. โครงสร้างอาคารพื้นฐาน (Basic Construction) เช่นส่วนประกอบของฐานราก พื้น หลังคา บันได ประตู หน้าต่าง ฯลฯ
6. ลักษณะของเรือนไทย (Thai Arch.) ประกอบด้วยเรื่อง โครงสร้างของเรือนไทย เหตุผลตามสภาพภูมิอากาศและประโยชน์ใช้สอยของสถาปัตยกรรมแบบไทย
7. สถาปัตยกรรมเมืองร้อน (Tropical Arch.) ประกอบด้วยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมในเขตเมืองร้อน ได้แก่ ความร้อนและแสงแดด กระแสลม และการระบายอากาศ แสงสว่าง เสียง ความชื้น และฝุ่นละออง ควรศึกษาถึงลักษณะของสภาพแวดล้อมเหล่านี้ และการแก้ปัญหาในการลอกแบบสถาปัตย์
8. ประวัติศาสตร์และสถาปัตย์ตะวันตก ควรศึกษาลักษณะของสถาปัตยกรรมยุคสมัยต่าง ๆ เช่น ยุคก่อนประวัติศาสตร์, สมัยอียิปต์, สมัยเมโสโปเตเมีย, สมัยกรีก, สมัยโรมัน, สมัยคริสเตียน, สมัยไปเซนไทน์, สมัยโรมาเนสก์, สมัยโกธิค, สมัยเรอเนซองค์, สมัยบารอค รอคโคโค และการเข้ายุคใหม่
9. ประวัติศาสตร์ศิลปและสถาปัตย์ของไทย แบ่งเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ไทย (ทราราวดี, ศรีวิชัย และ ลพบุรี) และยุคประวัติศาสตร์ไทย (เชียงแสน, สุโขทัย, อู่ทอง, อยุธยา และรัตนโกสินทร์)
10. ทฤษฎีสี รวมเรื่องจิตวิทยาของสี และการใช้สีในงานสถาปัตยกรรม และงานออกแบบทั่วไป
11. การเขียนแบบพื้นฐาน ได้แก่ การเขียนภาพไอโซเมตริค (Isometric) การเขียนแบบแสดงรูปด้าน (Orthographic Projection) และการเขียนแบบทัศนียภาพ (Perspective)
12. การวาดเส้นและการลงน้ำหนักแสงเงา รวมถึงการใช้ลายเส้น หรือทีของดินสอ ในการแสดงแบบทางสถาปัตย์
13. หลักการเขียน ทัศนียภาพ และการเขียน PRESENTATION ต้องมีความเข้าใจเรื่องการจัดองค์ประกอบและมุมมองของภาพ และฝึกเขียนสิ่งที่ช่วยเสริมบรรยากาศ (Presentation) ให้ภาพดูมีชีวิตชีวา สมจริง ในแบบ (Style) ของงานสถาปัตยกรรม เช่น การเขียน คน รถยนต์ ต้นไม้
14. ฝึกทำข้อสอบ โดยใช้ข้อสอบเก่าของปีก่อน ๆ เพื่อให้รู้แนวทางของข้อสอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น