วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่-จากขุนเขาสู่...ศิลปาชีพ

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

..........หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ภายในได้จัดแบ่งพื้นที่อาคารด้านหน้าเป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวร อาคารด้านหลังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม นิทรรศการหมุนเวียน ห้องจำหน่ายของที่ระลึก ห้องนิทรรศการศิลปกรรมล้านนา ห้องสารสนเทศ และห้องภัณฑารักษ์ เปิดทำการวันอังคาร - วันอาทิตย์ เวลา 08.00 - 17.00 น. ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
มีจำนวน 3 หอ

1. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (Chiang Mai City Arts & Culturat Centre) เป็นสถานที่เพื่อให้คนในท้องถิ่นรู้ถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่น

2. หอประวัติศาสตร์ (Chiang Mai Hostoric Centre) จึงได้จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ นับแต่สร้างเมืองเชียงใหม่จนถึงปัจจุบัน

3. พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (Lanna Folklite Museum) ได้รวบรวมและจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้คนในล้านนา

ที่ตั้ง ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

จากขุนเขาสู่...ศิลปาชีพ
Crafts from the Hands of the Hills....to the Hands of The Queen

นิทรรศการศิลปกรรมสื่อผสม หัตถกรรมผ้าชาวไทยภูเขาผสมผสานงานปักแบบร่วมสมัย แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ร่วมันสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายของชาวไทยภูเขาจากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เพื่อร่วมเป็นกำลังใจให้ชาวไทยภูเขาได้สร้างสรรค์งานฝีมือที่งดงามให้คงอยู่สืบไป 1 กันยายน - 19 พฤศจิกายน 2560

ชื่อภาพ : สว่างบนมืด รอยยิ้มแห่งรัตนโกสินทร์ที่ 9

เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
แนวคิด : เมื่อเรามีความรักและพากเพียรในหน้าที่ แม้ชีวิตอยู่ในความมืดมิดสักเพียงใด พระราชดำรัสจะเป็นดังแสงส่องนำทาง และจะทรงแย้มพระสรวลให้กับความพากเพียรของเราเสมอ

ชื่อภาพ : "สายธารจากทักษิโณทก"

เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา : "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ปฐมบรมราชโองการอันเป็นคำมั่นสัญญา จากพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอุทิศเสียสละเวลาทั้งพระชนม์ชีพเพื่อความสุขของปวงชนชาวไทย

ชื่อภาพ : แผ่นดินทองของเฮา

เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา : ต่างชนเผ่า ต่างเชื้อชาติ ศาสนา และความเชื่อ แต่ทุกชีวิตบนดอยสามารถอยู่ได้อย่างอบอุ่นใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารบนแผ่นดินทองของไทย

ชื่อภาพ : แผ่นดินทองของเมี่ยน

เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา : ต่างชนเผ่า ต่างเชื้อชาติ ศาสนา และความเชื่อ แต่ทุกชีวิตบนดอยสามารถอยู่ได้อย่างอบอุ่นใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารบนแผ่นดินทองของไทย

ชื่อภาพ : ลิงเก็บอาหาร ชลประทานเก็บน้ำ

เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา : แก้มลิง คือ พื้นที่เก็บกักน้ำเพื่อบรรเทาความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วม เป็นโครงการชลประทานประเภทหนึ่งที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรมีพระราชดำริขึ้น โดยทรงสังเกตว่า เมื่อลิงได้อาหารมากมักจะนำไปอมไว้ในกระพุ้งแก้มก่อน แล้วค่อยนำมาเคี้ยวกลืนภายหลัง โครงการแก้มลิงจึงใช้หลักการเดียวกัน คือจัดหาพื้นที่เก็บกักน้ำส่วนหนึ่งไว้ในยามที่ทางน้ำสาธารณะมีระดับน้ำสูง เมื่อระดับน้ำลดลงแล้วจึงค่อย ๆ ระบายน้ำในแก้มลิงออกมาสู่ทางน้ำสาธารณะต่อไป แก้มลิงมีหลายขนาดตั้งแต่อ่างเก็บน้ำ ลำคลอง หนองบึง ไปจนถึงสนามในบ้านของประชาชนก็สามารถใช้เป็นแก้มลิงได้

ชื่อภาพ : หอมเอื้องแซะ

เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา : เอื้องแซะเป็นกล้วยไม้พื้นเมืองของไทยที่มีดอกสวยงามและกลิ่นหอม พบมากในป่าทางภาคเหนือ แต่ปัจจุบันกำลังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากป่าถูกทำลาย และมีการลักลอบเก็บต้นเอื้องแซะไปขายคราวละมาก ๆ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 โปรดกลิ่นหอมของเอื้องแซะอย่างยิ่ง จึงมีพระราชดำริให้หน่วยงานต่าง ๆ ช่วยกันขยายพันธุ์เอื้องแซะเพื่อทดลองผลิตเป็นน้ำหอม รวมทั้งสนับสนุนให้ราษฎรขยายพันธุ์เอื้องแซะ เพื่อนำกลับคืนสู่ป่าธรรมชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น