วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ตะลุยคลังข้อสอบ หลักภาษาไทย ชุดที่ 1

ตะลุยคลังข้อสอบ หลักภาษาไทย ชุดที่ 1
ข้อ 1. ข้อใดไม่มีเสียงสระประสม
          1. ศาสนาสอนสั่งให้ ประพฤติดี
          2. หนี่งยุติธรรมไป่มี เลือกผู้
          3. ประพฤติเพื่อประโยชน์ศรี สวัสดิ์ทั่ว กันแล
          4. สามสิ่งควรรอบรู้ เคารพเรื้องเจริญคุณ
เฉลยข้อ 1. เหตุผล 
สระประสม คือ เอียะ เอีย เอีอะ เอือ อัวะ อัว
          ข้อ 1. ไม่มีเสียงสระประสม
          ข้อ 2. คำที่มีเสียงสระประสม คือ เลือก
          ข้อ 3. คำที่มีเสียงสระประสม คือ เพื่อ ทั่ว
          ข้อ 4. คำที่มีเสียงสระประสม คือ ควร เรื้อง
************************************************************
2. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดมากที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ำ)
    ก. จงรู้จักรักษาคุณค่าหญิง
    ข. อย่าทอดทิ้งทางงามทุกความหมาย
    ค. แม้นราคีมีหมองต้องเสียดาย
    ง. จะอับอายออกนามคนหยามเรา
          1. ข้อ ก.
          2. ข้อ ข.
          3. ข้อ ค.
          4. ข้อ ง.
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อ 1. มีเสียงพยัญชนะสะกด 3 เสียง คือ ง ก น
          ข้อ 2. มีเสียงพยัญชนะสะกด 5 เสียง คือ ด ง ม ก ย
          ข้อ 3. มีเสียงพยัญชนะสะกด 3 เสียง คือ ง ย น
          ข้อ 4. มีเสียงพยัญชนะสะกด 6 เสียง คือ ป ย ก ม น ว
***********************************************
3. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ไม่ครบทุกเสียง
          1. เวลานี้เธออยู่ที่ไหนหนอ
          2. ยังจำได้สายลมแห่งความรัก
          3. น้ำค้างหยดแตะแต้มบนแก้มหญ้า
          4. ข้าเก็บดอกหญ้ามาทัดหู
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1. เวลานี้เธออยู่ที่ไหนหนอ มีเสียงวรรณยุกต์เรียงตามลำดับดังนี้
                    สามัญ สามัญ ตรี สามัญ เอก โท จัตวา จัตวา (มีครบ 5 เสียง)
          ข้อ 2. ยังจำได้สายลมแห่งความรัก มีเสียงวรรณยุกต์เรียงตามลำดับดังนี้
                    สามัญ สามัญ โท จัตวา สามัญ เอก สามัญ ตรี (มีครบ 5 เสียง)
          ข้อ 3. น้ำค้างหยดแตะแต้มบนแก้มหญ้า มีเสียงวรรณยุกต์เรียงตามลำดับดังนี้
                    ตรี ตรี เอก เอก โท สามัญ โท โท (ไม่มีเสียงจัตวา)
          ข้อ 4. ข้าเก็บดอกหญ้ามาทัดหู มีเสียงวรรณยุกต์เรียงตามลำดับดังนี้
                    โท เอก เอก โท สามัญ ตรี จัตวา (มีครบ 5 เสียง)
*****************************************
4. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง
          1. บรรจงปลูกแต่ต้นยังน้อยนิด
          2. จะหอมกลิ่นลั่นทมที่ถูกใจ
          3. ต้องเตรียมใจรอดอกเจ้าร่วงมา
          4. ผ่านร้อนหนาวกี่คราวครั้งยังยืนต้น
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อ 1. มีเสียงวรรณยุกต์ดังนี้ สามัญ สามัญ เอก เอก โท สามัญ ตรี ตรี
          ข้อ 2. มีเสียงวรรณยุกต์ดังนี้ เอก จัตวา เอก โท สามัญ โท เอก สามัญ
          ข้อ 3. มีเสียงวรรณยุกต์ดังนี้ โท สามัญ สามัญ สามัญ เอก โท โท สามัญ
          ข้อ 4. มีเสียงวรรณยุกต์ดังนี้ เอก ตรี จัตวา เอก สามัญ ตรี สามัญ สามัญ โท
*********************************************
5. ข้อใดประกอบด้วยคำหรือพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะต้นเดี่ยวทั้งหมด
          1. ผูกงูด้วยมนตรา
          2. วิทยาอาคมหมาย
          3. ผูกสารบ่เคลื่อนคลาย
          4. ด้วยเชือกบาศกระสันพัน
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ภาษาไทยมีเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นเสียงพยัญชนะเดี่ยว 21 เสียง
          ข้อ 1 มีพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะต้นสองเสียง คือ ตรา
          ข้อ 2 มีพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเดี่ยวทั้งหมด คือ ว ท ย อ ค ม
          ข้อ 3 มีพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะต้นสองเสียง คือ เคลื่อนคลาย
          ข้อ 4 มีพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะต้นสองเสียง คือ กระ
*******************************************
6. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดน้อยที่สุด (นับทุกเสียง)
          1. ฉันชอบนั่งดูดาวพราวรังสี
          2. อันเป็นที่ชื่นชมอารมณ์ฉัน
          3. รัศมีสีแสงแข่งตะวัน
          4. ในสวรรค์สงสัยว่าไม่มี
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะสะกด คือ ฉัน ชอบ นั่ง ดาว พราว รัง(สี)
          ข้อ 2 พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะสะกด คือ อัน เป็น ชื่น ชม (อา)รมณ์ ฉัน
          ข้อ 3 พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะสะกด คือ รัศ(มี) แสง แข่ง (ตะ)วัน
          ข้อ 4 พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะสะกด คือ
                   ใน(เสียง ย สะกด) (ส)วรรค์ สง สัย ไม่(เสียง ย สะกด)
***************************************
7. ข้อใดไม่มีสระประสม
          1. พิเคราะห์น้ำสมคำบุราณกล่าว
          2. หอมควันธูปเทียนตรลบอยู่อบอาย
          3. ตาข่ายแก้วปักกรองเป็นกรวยห้อย
          4. บ้างกอบปรายเบี้ยโปรยอยู่โกรยกราว
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          สระประสม คือ เอีย เอือ อัว
          ข้อ 1 มีเสียงสระ คือ อิ เอาะ อะ โอะ อุ อา
          ข้อ 2 คำที่มีสระประสม คือ เทียน (สระเอีย)
          ข้อ 3 คำที่มีสระประสม คือ กรวย (สระอัว)
          ข้อ 4 คำที่มีสระประสม คือ เบี้ย (สระเอีย)
********************************************
8. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบทุกเสียง
          1. ประเทืองฟ้าบ่าฝันนิรันดร
          2. นิรมิตวิจิตรกรรมร่ำเฉลย
          3. ระยับร้อยพลอยเพชรเกล็ดมณี
          4. เปล่งลำแสงสีทองปองเป้าหมาย
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1 มีเสียงวรรณยุกต์ดังนี้ เอก สามัญ ตรี เอก จัตวา ตรี สามัญ สามัญ
          ข้อ 2 มีเสียงวรรณยุกต์ดังนี้ ตรี ตรี ตรี ตรี เอก สามัญ โท เอก จัตวา
          ข้อ 3 มีเสียงวรรณยุกต์ดังนี้ ตรี ตรี ตรี สามัญ ตรี เอก ตรี สามัญ
          ข้อ 4 มีเสียงวรรณยุกต์ดังนี้ เอก สามัญ จัตวา จัตวา สามัญ สามัญ โท จัตวา
*******************************************
9. ข้อใดประกอบด้วยพยางค์คำตายทั้งหมด
          1. กฎเกณฑ์
          2. ผลลัพธ์
          3. พิษสง
          4. อุกฤษฎ์
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          คำตาย หมายถึง พยางค์ที่มีสระเสียงสั้นในแม่ ก กา
                             หรือ พยางค์ที่มีพยัญชนะสะกดในมาตรา กก กด กบ
          ข้อ 1 มีพยางค์คำตาย 1 พยางค์ คือ กฎ
          ข้อ 2 มีพยางค์คำตาย 1 พยางค์ คือ ลัพธ์
          ข้อ 3 มีพยางค์คำตาย 1 พยางค์ คือ พิษ
          ข้อ 4 มีพยางค์คำตาย 2 พยางค์ คือ อุกฤษฎ์
**********************************************
10. ข้อใดมีพยางค์คำเป็นน้อยที่สุด
          1. ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม          เจือน้ำส้มโรยพริกไทย
          2. โอชาจะหาไหน          ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง
          3. เทโพพื้นเนื้อท้อง          เป็นมันย่องล่องลอยมัน
          4. เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ          แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          คำเป็น หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงสระยาวในแม่ ก กา
                            หรือ พยางค์ที่มีพยัญชนะสะกดในมาตรา กง กน กม เกย เกอว
          ข้อ 1 มีพยางค์คำเป็น 7 พยางค์
                   คือ หล่อน ต้ม เจือ น้ำ ส้ม โรย ไทย
          ข้อ 2 มีพยางค์คำเป็น 8 พยางค์
                   คือ โอ ชา หา ไหน ไม่ มี มือ นาง
          ข้อ 3 มีพยางค์คำเป็น 11 พยางค์
                   คือ เท โพ พื้น เนื้อ ท้อง เป็น มัน ย่อง ล่อง ลอย มัน
          ข้อ 4 มีพยางค์คำเป็น 10 พยางค์
                   คือ เรือ ม้า หน้า มุ่ง น้ำ แล่น เฉื่อย ฉ่ำ ลำ หง
**********************************************
11. คำในข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนกันทั้งสองคำ
          1. ตั้งร้าน
          2. ข้างขึ้น
          3. คล่องแคล่ว
          4. ทรุดโทรม
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 ตั้ง ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว สระเสียงสั้น
                         มีตัวสะกดวรรณยกต์รูปโท เสียงตรี
                   ร้าน ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว สระเสียงยาว
                           มีตัวสะกดวรรณยุกต์รูปโท เสียงตรี
          ข้อ 2 ข้าง ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว สระเสียงยาว
                           มีตัวสะกดวรรณยกต์รูปโท เสียงโท
                   ขึ้น ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว สระเสียงสั้น
                         มีตัวสะกดวรรณยุกต์รูปโท เสียงโท
          ข้อ 3 คล่อง ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้น 2 เสียง สระเสียงยาว
                              มีตัวสะกดวรรณยกต์รูปเอก เสียงโท
                   แคล่ว ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้น 2 เสียง สระเสียงยาว
                             มีตัวสะกดวรรณยุกต์รูปเอก เสียงโท
          ข้อ 4 ทรุด ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว สระเสียงสั้น
                           มีตัวสะกด ไม่มีรูปวรรณยกต์ เสียงตรี
                   โทรม ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว สระเสียงยาว
                             มีตัวสะกด ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เสียงสามัญ
************************************************
ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 12 -14
"ทั้งนอกเมืองในเมืองเนืองมา    พร้อมกันยังหน้าศาลากลาง"
12. คำประพันธ์ข้างต้นมีเสียงสระเดี่ยวกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
          1. 3 เสียง
          2. 4 เสียง
          3. 5 เสียง
          4. 6 เสียง
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          คำประพันธ์ที่ยกมามีเสียงสระเดี่ยว 3 เสียง คือ อะ อา ออ
          คำที่มีเสียงสระ อะ คือ ทั้ง ใน กัน ยัง
          คำที่มีเสียงสระอา คือ มา หน้า ศาลากลาง
          คำที่มีเสียงสระออ คือ นอก พร้อม
          ส่วนเสียงสระเอือ เป็นเสียงสระประสม
************************************************
13. คำประพันธ์ข้างต้นมีเสียงพยัญชนะท้ายกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
          1. 4 เสียง
          2. 5 เสียง
          3. 6 เสียง
          4. 7 เสียง
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          คำประพันธ์ที่ยกมามีเสียงพยัญชนะท้าย 5 เสียง คือ
          เสียง /ก/ คือ นอก
          เสียง /ง/ คือ ทั้ง เมือง ยัง เนือง กลาง
          เสียง /น/ คือ กัน
          เสียง /ม/ คือ พร้อม
          เสียง /ย/ คือ ใน
************************************************
14. คำประพันธ์ข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์ใดบ้าง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
          1. สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
          2. สามัญ โท ตรี จัตวา
          3. เอก โท ตรี จัตวา
          4. สามัญ เอก ตรี จัตวา
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          คำประพันธ์ที่ยกมามีเสียงวรรณยุกต์ ดังนี้
          เสียงสามัญ คือ เมือง ใน เนือง มา กัน ยัง ลา กลาง
          เสียงโท คือ นอก หน้า
          เสียงตรี คือ ทั้ง พร้อม
          เสียงจัตวา คือ ศา
******************************************
15. ข้อใดมีโครงสร้างพยางค์ต่างกับข้ออื่น
          1. ขึ้น
          2. คับ
          3. ซึ้ง
          4. นก
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ขึ้น ประกอบด้วยพยัญชนะต้น ตัวสะกด เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์โท
          คับ, ซึ้ง, นก ประกอบด้วยพยัญชนะต้น ตัวสะกด เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ตรี
******************************************
16. ข้อใดมีจำนวนพยางค์ที่ประกอบด้วยสระลดรูปมากที่สุด
          1. กวนขนม ทุ่มทุน ทางขนาน
          2. ปลดปลง ปกป้อง ครบครัน
          3. ตกใจ สิ้นเคราะห์ กราบกราน
          4. เกรี้ยวกราด กลบเกลื่อน เกรงกริ่ง
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1 มีจำนวนพยางค์ที่ประกอบด้วยสระลดรูป 4 พยางค์
                   คือ กวน ขนม (2 พยางค์) ข (นาน)
          ข้อ 2 มีจำนวนพยางค์ที่ประกอบด้วยสระลดรูป 4 พยางค์
                   คือ ปลด ปลง ปก ครบ
          ข้อ 3 มีจำนวนพยางค์ที่ประกอบด้วยสระลดรูป 1 พยางค์
                   คือ ตก
          ข้อ 4 มีจำนวนพยางค์ที่ประกอบด้วยสระลดรูป 1 พยางค์
                   คือ กลบ
          โจทย์ถามจำนวนพยางค์มากที่สุด
          จึงควรตอบข้อ 2 เพราะข้อ 1 มีพยางค์ซ้ำกัน
*******************************************
17. ข้อใดมีคำตายมากที่สุด
          1. นักธุรกิจต่างแลกนามบัตรกัน
          2. ใฝ่ใจศึกษาเพื่ออนาคตอันรุ่งโรจน์
          3. แมวน้อยนอนบิดขี้เกียจอย่างเป็นสุข
          4. หลบหลีกให้ห่างจากคนพาลสันดานหยาบ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          คำตาย ได้แก่ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา
                         และ พยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่กก กด กบ
          ข้อ 1 มีคำตาย 6 พยางค์ คือ นัก ธุรกิจ (3 พยางค์) แลก บัตร
          ข้อ 2 มีคำตาย 4 พยางค์ คือ ศึก อ(นา) คต โรจน์
          ข้อ 3 มีคำตาย 3 พยางค์ คือ บิด เกียจ สุข
          ข้อ 4 มีคำตาย 4 พยางค์ คือ หลบ หลีก จาก หยาบ
*******************************************
18. ข้อใดเป็นคำยืมทุกคำ
          1. จงกรม จงอาง จรณะ
          2. ดรุณ ตรุษ ตฤณ
          3. ทำเล ทำลาย ทำเนา
          4. ไต่คู้ ไต้ฝุ่น ไตรเพท
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1 จงกรม หมายถึง อาการที่เดินไปมาในที่ที่กำหนด
                                             อย่างพระเจริญกรรมฐานเดิน
                                             เป็นคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต
                   จงอาง หมายถึง งูพิษชนิดหนึ่ง
                                             พจนานุกรมไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นคำยืม
                   จรณะ หมายถึง ความประพฤติ
                                            เป็นคำยืมจากภาษาบาลี
          ข้อ 2 ดรุณ หมายถึง หนุ่ม อ่อน วัยรุ่น
                                           เป็นคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต
                   ตรุษ หมายถึง เทศกาลเนื่องในงานสิ้นปี
                                          ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 4
                                          พจนานุกรมไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นคำยืม
                                          แต่ลักษณะของคำเป็นคำควบกล้ำ
                                          ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา จึงไม่ใช่คำไทยแท้
                   ตฤณ หมายถึง หญ้า
                                           เป็นคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต
          ข้อ 3 ทำเล หมายถึง ถิ่นที่
                                           พจนานุกรมไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นคำยืม
                   ทำลาย หมายถึง ทำให้พัง
                                              (แผลงมาจากทลาย ทลายเป็นคำยืมจากภาษาเขมร)
                   ทำเนา หมายถึง ช่างเถิด ตามมี
                                             พจนานุกรมไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นคำยืม
          ข้อ 4 ไต่คู้ หมายถึง เครื่องหมายชนิดหนึ่ง
                                          พจนานุกรมไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นคำยืม
                   ไต้ฝุ่น หมายถึง ชื่อพายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด
                                            เป็นคำยืมจากภาษาจีน
                   ไตรเพท หมายถึง ชื่อคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์
                                                เป็นคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต
*****************************************
19. ข้อความต่อไปนี้มีคำยืมภาษาเขมรและภาษาจีนกี่คำ
ห้างสรรพสินค้าที่เพิ่งเปิดใหม่จำหน่ายสินค้ามีคุณภาพสูง เช่น เสื้อผ้า เครื่องใช้ เครื่องเรือนพวกตู้ โต๊ะ เก้าอี้ และนาฬิกาหลายยี่ห้อ ฉันอยากไปซื้อเสื้อสักตัวไว้ใส่แทนเสื้อตัวโปรดที่ใช้จนเก่าแล้ว
          1. ภาษาเขมร 3 คำ ภาษาจีน 4 คำ
          2. ภาษาเขมร 2 คำ ภาษาจีน 3 คำ
          3. ภาษาเขมร 2 คำ ภาษาจีน 2 คำ
          4. ภาษาเขมร 1 คำ ภาษาจีน 3 คำ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          คำที่ยืมมาจากภาษาเขมร คือ จำหน่าย โปรด
          คำที่ยืมมาจากภาษาจีน คือ ห้าง เก้าอี้ ยี่ห้อ
************************************************
20. ข้อใดใช้ "ซึ่ง" ได้ถูกต้อง
          1. นมชนิดพร่องมันเนยไม่เหมาะกับเด็กซึ่งอยู่ในวัยเจริญเติบโต
          2. ผู้ประสงค์จะเข้าอบรมโปรดแจ้งความจำนงล่วงหน้าซึ่งรายละเอียดการฝึกปฏิบัตินั้น จะได้แจ้งให้ทราบภายหลัง
          3. ราคาข้าวของชาวนาไทยตกต่ำทุกปีซึ่งไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนต่างก็เคยประสบปัญหานี้มาแล้วทั้งสิ้น
          4. เด็กสมัยนี้มีพัฒนาซึ่งเร็วกว่าสมัยก่อนมาก ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้หรือการแสดงออกทางความคิด
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ประโยคนี้เป็นประโยคความซ้อน
          มีประโยคหลัก คือ นมชนิดพร่องมันเนยไม่เหมาะกับเด็ก
          ประโยคย่อย คือ (เด็ก) อยู่ในวัยเจริญเติบโต
          "ซึ่ง" ใช้แทนคำนาม "เด็ก" ที่อยู่ข้างหน้า
******************************************
21. ข้อใดใช้คำเชื่อมได้ถูกต้อง
          1. บริษัทจะจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานขายประมาณปลายเดือนนี้
          2. เขาได้รับเชิญให้บรรยายเรื่องเทคนิคการสมัครงานต่อนักศึกษาชั้นปีที่ 4
          3. การสัมมนาครั้งนี้เป็นประโยชน์แก่อาจารย์และนักศึกษาที่เข้าฟังอย่างยิ่ง
          4. ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ของหน่วยงานของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          กับ ใช้เมื่อแสดงอาการร่วม,
          แก่ ใช้แสดงรับอาการที่กระทำ,
          ต่อ ใช้แสดงการติดต่อ
               ข้อ 1 "กับ" ควรใช้ "แก่"
               ข้อ 2 "ต่อ" ควรใช้ "แก่"
               ข้อ 3 ใช้ "แก่" เหมาะสมแล้ว
               ข้อ 4 "ต่อ" ควรใช้ "กับ"
******************************************
22. ข้อความต่อไปนี้มีคำประสมและคำสมาสกี่คำ (ไม่นับคำซ้ำ)
ในบรรดาเครื่องปรุงรส สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถขาดได้เลยในครัวของเราก็คือ "น้ำปลา" เรารู้จักน้ำปลากันดี แต่คงมีไม่กี่คนนักที่จะทราบว่า น้ำปลาดีมีคุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการเป็นอย่างไร ส่วนกรรมวิธีในการผลิตก็มีส่วนทำให้รสของน้ำปลาแตกต่างกันด้วย
          1. คำประสม 2 คำ   คำสมาส 4 คำ
          2. คำประสม 3 คำ   คำสมาส 3 คำ
          3. คำประสม 4 คำ   คำสมาส 3 คำ
          4. คำประสม 5 คำ   คำสมาส 2 คำ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อความนี้มีคำประสม คือ เครื่องปรุงรส น้ำปลา การผลิต
          ข้อความนี้มีคำสมาส คือ คุณภาพ โภชนาการ กรรมวิธี
*********************************************
23. ข้อใดเรียงลำดับประเภทของคำดังนี้ : คำประสม, คำซ้อน, คำสมาส
          1. แสวงหา สนใจ สุดกวี
          2. พิษภัย บทบาท บริโภค
          3. จุดหมาย เบิกบาน อรรถคดี
          4. อ้างอิง ตกต่ำ เสรีภาพ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 แสวงหา เป็นคำซ้อน, สนใจ เป็น คำประสม, สุดกวี เป็นคำสมาส
          ข้อ 2 พิษภัย เป็น คำซ้อน, บทบาท เป็น คำประสม, บริโภค เป็น คำสมาส
          ข้อ 3 จุดหมาย เป็น คำประสม, เบิกบาน เป็น คำซ้อน, อรรถคดี เป็น คำสมาส
          ข้อ 4 อ้างอิง เป็น คำซ้อน, ตกต่ำ เป็น คำซ้อน, เสรีภาพ เป็น คำสมาส
**********************************************
24. คำซ้ำคู่ในข้อใดมีความหมายเปลี่ยนไป
          1. เขาอยู่ด้วยกันอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ
          2. เขาเบื่องานจึงทำ ๆ หยุด ๆ
          3. เขากังวลว่าจะตกรถไฟจึงหลับ ๆ ตื่น ๆ
          4. คนไทยส่วนใหญ่มีนิสัยกินทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ลุ่ม หมายถึง ต่ำ ใช้แก่ลักษณะพื้นดินซึ่งรับน้ำที่ไหลท่วมได้
          ดอน หมายถึง ที่สูงซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกับที่ลุ่ม
          ลุ่ม ๆ ดอน ๆ หมายถึง ไม่สม่ำเสมอ
***********************************************
25. ข้อความต่อไปนี้มีคำซ้อนจำนวนกี่คำ
มารดาอบรมปริญญามาอย่างดีเลิศ เขามีมารยาทที่ขัดเกลามาเป็นอย่างดี เมื่อมาทำงานเขาจึงไม่ล่วงเกินผู้ใหญ่ ไม่เกี่ยงงอนในการทำงานกับมิตรสหาย
          1. 3 คำ
          2. 4 คำ
          3. 5 คำ
          4. 6 คำ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อความนี้มีคำซ้อน คือ ดีเลิศ ขัดเกลา ล่วงเกิน มิตรสหาย
***********************************************
26. คำในข้อใดเป็นคำประสมทุกคำ
          1. แผงลอย โอดครวญ เสื้อนอน ผักดอง
          2. เรือนแพ เผ็ดร้อน ไขมัน โหยหวน
          3. มืออาชีพ หอบหิ้ว กล่องข้าว ป่าวร้อง
          4. เดินหน้า ข้องใจ ร่างทรง อ่อนโยน
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อ 1 โอดครวญ เป็นคำซ้อน คำอื่น ๆ เป็นคำประสม
          ข้อ 2 โหยหวน เป็นคำซ้อน คำอื่น ๆ เป็นคำประสม
          ข้อ 3 หอบหิ้ว ป่าวร้อง เป็นคำซ้อน คำอื่น ๆ เป็นคำประสม
          ข้อ 4 เป็นคำประสมทุกคำ
                   เดินหน้า หมายถึง ทำต่อไป
                   ข้องใจ หมายถึง ติดใจสงสัย
                   ร่างทรง หมายถึง ผู้ที่ใช้ร่างเป็นที่เชิญเจ้าเข้าสิง
                   อ่อนโยน หมายถึง มีกิริยาวาจานิ่มนวล
*****************************************
27. คำว่า "ทิ้ง" ในข้อใดเป็นความหมายนัยตรงทุกคำ
          1. ทิ้งจดหมาย ทิ้งท้าย ทิ้งไพ่
          2. ทิ้งทาน ทิ้งกระจาด เททิ้ง
          3. ผ้าเนื้อทิ้ง ทิ้งทวน ทิ้งธุระ
          4. ทิ้งเพื่อน ทิ้งขว้าง ทิ้งตา
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ทิ้ง หมายถึง ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ
                               เช่น โยนทิ้ง ขว้างทิ้ง เททิ้ง
                               หรือเรียกผ้าเนื้อหนักที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง
                              โดยปริยายหมายความว่า
                              ปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น
                              เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งเพื่อน
          ข้อ 1 ทิ้งจดหมาย หมายถึง ส่งจดหมายทางไปรษณีย์
                                       หรืออาจหมายถึง
                                       ทำให้จดหมายหลุดจากมือ (ความหมายนัยตรง)
                   ทิ้งท้าย หมายถึง ปล่อยทีเด็ดตอนลงท้าย
                   ทิ้งไพ่ หมายถึง ปล่อยไพ่ตัวที่ไม่ต้องการให้แก่มือล่าง
                                            หรืออาจหมายถึงทำให้ไพ่หลุดจากมือ
                                            (ความหมายนัยตรง)
          ข้อ 2 ทิ้งทาน หมายถึง ให้ทานด้วยวิธีหว่านหรือโปรยสตางค์
                   ทิ้งกระจาด หมายถึง ประเพณีทางพุทธศาสนาแบบหนึ่งของชาวจีน
                                                    หรือญวน
                                      หรืออาจหมายถึง ทำให้กระจาดหลุดจากมือ
                                                                  (ความหมายนัยตรง)
                   เททิ้ง หมายถึง อาการเท (ความหมายนัยตรง)
          ข้อ 3 ผ้าเนื้อทิ้ง หมายถึง ผ้าเนื้อหนักที่มีลักษณะทิ้งตัวลง
                                                  (ความหมายนัยตรง)
                   ทิ้งทวน หมายถึง ทำจนสุดความสามารถ
                                               หรืออาจหมายถึง ทำให้ทวนหลุดจากมือ
                                                                           (ความหมายนัยตรง)
                   ทิ้งธุระ หมายถึง ปล่อยธุระไว้ไม่ทำ (ความหมายนัยตรง)
          ข้อ 4 ทิ้งเพื่อน หมายถึง ปล่อยเพื่อนไว้ (ความหมายนัยตรง)
                   ทิ้งขว้าง หมายถึง ไม่เอาใจใส่ดูแล พรากหนีไป
                   ทิ้งตา หมายถึง สายตาชำเลืองอย่างพึงพอใจ
****************************************
28. คำในข้อใดทุกคำมีความหมายทั้งความหมายโดยตรงและความหมายเชิงอุปมา
          1. อินทรี ปล่อยแก่ กันเปื้อน เดินสาย
          2. ตีนแมว วาดภาพ ตีปีก ซื้อเสียง
          3. ไข่แดง เสือหิว ม้วนเสื่อ แจกหมอน
          4. จับกบ ลมเย็น ตรายาง ลบเหลี่ยม
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ไข่แดง ความหมายโดยตรง หมายถึง ส่วนของไข่สัตว์มีสีเหลืองหรือแดง
                      ความหมายเชิงอุปมา หมายถึง พรหมจารีของหญิงสาว
          เสือหิว ความหมายโดยตรง หมายถึง เสือที่อยากข้าวอยากน้ำ
                      ความหมายเชิงอุปมา หมายถึง คนที่อยากได้ประโยชน์โดย
                                                                       ไม่เลือกว่าควรหรือไม่ควร
          ม้วนเสื่อ ความหมายโดยตรง หมายถึง การทำอาการหมุนพันเสื่อ
                        ความหมายเชิงอุปมา หมายถึง เสียการพนันจนหมดตัว
                                                                         เลิกกิจการเพราะขาดทุน
          แจกหมอน ความหมายโดยตรง หมายถึง ให้หมอน
                            ความหมายเชิงอุปมา หมายถึง น่านอน น่าเบื่อ
*********************************************
29. เขาเข้าไปในร้านเครื่องหนัง หากระเป๋าถือให้แม่ได้แล้วซื้อกระเป๋าสตางค์แบบที่พ่ออยากได้ หลังจากนั้นไปร้านขายของเล่นได้ตุ๊กตาแบบที่น้องชอบ แวะร้านขายหนังสือ ได้หนังสือแปลให้ตัวเอง
ข้อความข้างต้นมีค่าที่มีความหมายกว้าง ความหมายแคบจำนวนกี่คำ
          1. ความหมายกว้าง 1 คำ   ความหมายแคบ 4 คำ
          2. ความหมายกว้าง 2 คำ   ความหมายแคบ 3 คำ
          3. ความหมายกว้าง 3 คำ   ความหมายแคบ 4 คำ
          4. ความหมายกว้าง 4 คำ   ความหมายแคบ 3 คำ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          คำที่มีความหมายกว้าง คือ เครื่องหนัง ของเล่น หนังสือ
          คำที่มีความหมายแคบ คือ กระเป๋าถือ กระเป๋าสตางค์ ตุ๊กตา หนังสือแปล
***********************************************
30. คำคู่ใดต้องใช้เป็นคำซ้ำเท่านั้น
          1. งก ๆ เงิ่น ๆ
          2. ชั่ว ๆ ดี ๆ
          3. ข้าง ๆ คู ๆ
          4. หลบ ๆ ซ่อน ๆ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 อาจใช้ว่า งก ๆ เงิ่น ๆ หรือ งกเงิ่น
                   หมายถึง มีอาการประหม่าตัวสั่นจนทำอะไรไม่ถูก
          ข้อ 2 อาจใช้ว่า ชั่ว ๆ ดี ๆ หรือ ชั่วดี
                   หมายถึง ร้ายและดี
          ข้อ 3 ถ้าใช้ว่า ข้าง ๆ คู ๆ
                   หมายถึง ออกนอกแนวนอกเรื่องอย่างไม่สมเหตุสมผล
                   ถ้าใช้ว่า ข้างคู หมายถึง ริมร่องน้ำ
          ข้อ 4 อาจใช้ว่า หลบ ๆ ซ่อน ๆ หรือหลบซ่อน หมายถึง แอบในที่ลับตา
************************************************
31. คำซ้อนทุกคำในข้อใดมีโครงสร้างเช่นเดียวกับคำซ้อน "ใหญ่โตโอฬาร"
          1. ร้องรำทำเพลง          ปวดหัวตัวร้อน
          2. แก้วแหวนเงินทอง          ข้าทาสบริวาร
          3. เหล้ายาปลาปิ้ง          แม่น้ำลำคลอง
          4. ภูตผีปิศาจ          เยื่อใยไมตรี
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ใหญ่โตโอฬาร เป็นคำซ้อนที่เกิดจากการนำคำที่มีความเหมือนกันมาซ้อนกัน
                                  และมีเสียงสัมผัสกัน โอฬาร หมายถึง ใหญ่โต
          ข้อ 4 ภูตผีปิศาจ เยื่อใยไมตรี มีลักษณะเช่นเดียวกับใหญ่โตโอฬาร
                   ภูต หมายถึง ผีชนิดหนึ่ง
                   ผี หมายถึง เรียกคนที่ตายไปแล้ว
                   ปิศาจ หมายถึง ผี
                   เยื่อใย หมายถึง ความเกี่ยวพัน
                   ไมตรี หมายถึง ความเป็นเพื่อน
******************************************
32. ดาราเป็นนักข่าวที่รับผิดชอบต่อหน้าที่ เธอจะติดตามไปถึงที่มาของแหล่งข่าวอย่างต่อเนื่อง โดยไม่หวาดหวั่นต่ออันตรายใด ๆ เธอจึงได้รางวัลผู้สื่อข่าวดีเด่น
ข้อความข้างต้นมีจำนวนคำประสมและคำซ้อนตามข้อใด
          1. คำประสม 7 คำ   คำซ้อน 3 คำ
          2. คำประสม 6 คำ   คำซ้อน 4 คำ
          3. คำประสม 5 คำ   คำซ้อน 5 คำ
          4. คำประสม 4 คำ   คำซ้อน 6 คำ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          คำประสม 6 คำ คือ นักข่าว รับผิดชอบ หน้าที่ ที่มา แหล่งข่าว ผู้สื่อข่าว
          คำซ้อน 4 คำ คือ ติดตาม ต่อเนื่อง หวาดหวั่น ดีเด่น
******************************************
33. คำซ้อนในข้อใดมีวิธีประกอบคำต่างกับข้ออื่น
          1. ตื้นลึกหนาบาง ข้าเจ้าบ่าวนาย ปู่ย่าตายาย
          2. เกิดดอกออกผล เก็บภาษีเรียกอากร จุดไต้ตามไฟ
          3. ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน ล้มหมอนนอนเสื่อ ก่อร่างสร้างตัว
          4. กู้หนี้ยืมสิน ทำไร่ไถนา อุ้มลูกจูงหลาน
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ข้อ 1 นำคำที่มีความหมายตรงข้ามกันมาซ้อนกัน
          ข้อ 2, ข้อ 3 และข้อ 4 นำคำที่มีความหมายใกล้เคียงมาซ้อนกัน
*********************************************
34. ข้อใดมีคำสมาสและคำประสมจำนวนเท่ากัน
          1. อดิเรก ถ่ายทอด ประทานพร อำนาจรัฐ
          2. ฆาตกรรม สมัยนิยม สามัญชน เบญจวรรณ
          3. วิทยุสาร ชัยเภรี กลโกง มารสังคม
          4. สัจนิยม อัฐทิศ ภัยธรรมชาติ ขัติยนารี
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 คำสมาสมีสนธิ คือ อดิเรก
                   คำประสม คือ ถ่ายทอด ประทานพร อำนาจรัฐ
          ข้อ 2 เป็นคำสมาสทั้ง 4 คำ
          ข้อ 3 คำสมาส คือ วิทยุสาร ชัยเภรี
                   คำประสม คือ กลโกง มารสังคม
          ข้อ 4 คำสมาส คือ สัจนิยม อัฐทิศ ขัติยนารี
                   คำประสม คือ ภัยธรรมชาติ
**********************************************
35. ข้อความตอนใดมีคำยืมภาษาต่างประเทศน้อยที่สุด
เมื่อพูดกับบุคคลที่เรายกย่อง (1)
ต้องเลือกใช้คำพูดที่สุภาพ แสดงว่าให้เกียรติ (2)
เมื่อพูดกับผู้ที่มีฐานะทางสังคมเท่า ๆ กัน (3)
อาจใช้คำแสดงความเป็นกันเองได้ (4)
          1. ตอนที่ 1
          2. ตอนที่ 2
          3. ตอนที่ 3
          4. ตอนที่ 4
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ข้อ 1 คำยืม คือ บุคคล
          ข้อ 2 คำยืม คือ สุภาพ แสดง เกียรติ
          ข้อ 3 คำยืม คือ ฐานะ สังคม
          ข้อ 4 คำยืม คือ อาจ แสดง
***********************************************
36. ข้อใดไม่ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ
          1. โรงเรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมผู้ปกครองครั้งนี้รายละ 300 บาท
          2. ในอดีตแหล่งน้ำของไทยมีอยู่อย่างเพียงพอต่อการใช้ประโยชน์
          3. การท่องเที่ยวของไทยในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนไปสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
          4. ปัจจุบันโทรศัพท์ได้วิวัฒนาการให้มีความสามารถในการใช้ที่ทันสมัยขึ้น
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ "ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม"
          ข้อ 2 ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ "มีอยู่อย่างเพียงพอต่อการใช้ประโยชน์"
          ข้อ 3 ใช้สำนวนภาษาได้เหมาะสมกว่าข้ออื่น
          ข้อ 4 ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ "ให้มีความสามารถในการใช้ที่ทันสมัยขึ้น"
*********************************************
37. ข้อใดใช้คำถูกต้องตรงตามความหมาย
          1. เธองอนเขาจนเกินเลย
          2. เขาปอกมะพร้าวมากจนเกินแกง
          3. เขาทำงานได้ปริมาณเกินหน้ากว่าทุกครั้ง
          4. น้องสาวของฉันทำงานหนักจนเกินตัว
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อ 1 ใช้คำไม่ถูกต้องตรงความหมาย
                   เกินเลย หมายถึง แสดงกิริยาวาจาต่อผู้อื่นโดยขาดสัมมาคารวะ
          ข้อ 2 ใช้คำไม่ถูกต้องตรงความหมาย
                   เกินแกง หมายถึง มีมากกว่าหรือยิ่งกว่ากำหนด
                                               ควรใช้ว่า เกินไป คือ เกินพอดี
          ข้อ 3 ใช้คำไม่ถูกต้องตรงความหมาย
                   เกินหน้า หมายถึง เด่นกว่า
          ข้อ 4 ใช้คำถูกต้องตรงความหมาย
                   เกินตัว หมายถึง เกินกำลังความสามารถ
***********************************************
38. ข้อใดใช้คำว่า "น้อง" ในความหมายตรง
          1. น้อง น้อง ห้องน้ำอยู่ไหนคะ
          2. คุณอาแดงเป็นน้องของพ่อเรา
          3. น้องนุ่นได้รับรางวัลเรียนดีทุกปี
          4. ริจะเป็นโจรมันก็อย่างนี้แหละน้อง ต้องเจอตำรวจบ่อย
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1, ข้อ 3 และข้อ 4 น้อง เป็นคำเรียกคนที่มีอายุคราวน้อง
          ข้อ 2 น้อง หมายถึง ผู้ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน และเกิดทีหลัง
***********************************************
39. คำที่อยู่ในวงเล็บ () คู่ใดทำหน้าที่ทางไวยากรณ์ต่างกัน
 (การศึกษาที่ดี (1)) และการสำเร็จในกิจการต่าง ๆ ที่อาจทำให้เราเป็นคนใหญ่โตในภายหน้า
ไม่ใช่แต่จะไปอยู่ (มหาวิทยาลัย (2)) อย่างเดียว ผู้ที่มี (การศึกษาที่ดี (1)) ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับโอกาส
ไปเรียนตาม (มหาวิทยาลัย (2)) แต่เป็นผู้ที่สามารถจะเรียนได้ไม่ว่า (ที่ไหน (3))
ผู้ที่ไม่ต้องมี (ครู (4)) ผู้ที่มีความสามารถมีสมองที่จะเรียนได้ด้วยตนเอง
ไม่ว่าจะอยู่ (ที่ไหน (3)) โดยใช้หนังสือเป็นมัคคุเทศก์แทน (ครู (4))
          1. คู่ที่ 1 การศึกษาที่ดี
          2. คู่ที่ 2 มหาวิทยาลัย
          3. คู่ที่ 3 ที่ไหน
          4. คู่ที่ 4 ครู
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ข้อ 1 "การศึกษาที่ดี" คำแรก ทำหน้าที่เป็นประธาน
                   "การศึกษาที่ดี" คำที่สองไม่ได้ทำหน้าที่เป็นประธาน
          ข้อ 2 "มหาวิทยาลัย" ทั้งสองคำทำหน้าที่ขยายกริยา
          ข้อ 3 "ที่ไหน" ทั้งสองคำทำหน้าที่ขยายกริยา
          ข้อ 4 "ครู" ทั้งสองคำทำหน้าที่ขยายกริยา
************************************************
40. คำที่อยู่ในวงเล็บข้อใดเป็นคำกริยาอกรรม
          1. บริเวณป่ารอบตัวมืด (สนิท)
          2. น้ำหวานเหนียวข้น (กระเซ็น) ติดฝามุมห้อง
          3. เราต่างถอดรองเท้า (ออก) วางไว้ข้างบันได
          4. สายลมแรง (โยก) กิ่งก้านต้นไม้ให้ไหวเอน
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1 สนิท เป็นคำวิเศษณ์
          ข้อ 2 กระเซ็น หมายถึง อาการที่ของเหลวกระเด็นเป็นฝอย
                   กระเซ็น เป็นอกรรมกริยา
          ข้อ 3 ออก เป็นคำกริยา ทำหน้าที่ขยาย
          ข้อ 4 โยก เป็นสกรรมกริยา
*********************************************
41. คำที่อยู่ในวงเล็บในข้อใดเป็นคำบุพบท
          1. แสงอาทิตย์ส่องกระทบแหวน (ที่) เธอสวมอยู่
          2. ผมเห็นเด็กชายถือขนมปัง (และ) ขนมแป้งอบ
          3. สาวน้อยนางหนึ่งยืนอยู่ (ริม) ลำธาร
          4. นกสาลิกาดง (จาก) เราไปแล้ว
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 "ที่" เป็นประพันธสรรพนาม
          ข้อ 2 "และ" เป็นคำสันธาน
          ข้อ 3 "ริม" เป็นคำบุพบท บอกตำแหน่งที่สาวน้อยยืนอยู่
          ข้อ 4 "จาก" เป็นคำกริยา
********************************************
42. ข้อใดมีคำพ้องที่เป็นทั้งคำนามและคำกริยา
          1. มันชนิดนี้เป็นมันที่อร่อยกว่ามันชนิดอื่น
          2. เขาปีนเขาได้แสดงว่าเขาแข็งแรง
          3. แม่ขันน้องจนขันตกจากมือก็ยังไม่หายขัน
          4. ถ้ากันไปด้วยก็คงจะกันแกไม่ให้ไปตีกันกับเขา
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 มัน ทั้ง 3 คำ เป็นคำนาม
                         หมายถึง หัวมันที่ใช้เป็นอาหารได้
          ข้อ 2 เขา คำที่ 1 และคำที่ 3 เป็นคำสรรพนาม
                          หมายถึง คำที่ใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดถึง
                   เขา คำที่ 2 เป็นคำนาม
                          หมายถึง เนินที่สูงขึ้นไปเป็นจอมเด่น
          ข้อ 3 ขัน คำที่ 1 และคำที่ 3 เป็นคำกริยา
                         หมายถึง หัวเราะ
                   ขัน คำที่ 2 เป็นคำนาม
                         หมายถึง ภาชนะสำหรับตักน้ำ
          ข้อ 4 กัน คำที่ 1 เป็นคำสรรพนาม
                         หมายถึง คำที่ใช้แทนชื่อผู้พูด
                   กัน คำที่ 2 เป็นคำกริยา
                         หมายถึง กีดขวาง ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป
                   กัน คำที่ 3 เป็นคำวิเศษณ์
                         เป็นคำประกอบท้ายกริยาของผู้กระทำตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
                         แสดงการกระทำร่วมกัน อย่างเดียวกัน
**********************************************
43. ข้อใดไม่เป็นคำสมาสทุกคำ
          1. วีรบุรุษ ทุนทรัพย์ นาฏศิลป์
          2. เอกชน ปาฐกถา วาตภัย
          3. ภาพยนตร์ บุตรทาน วิศวกรรม
          4. โจรภัย ปิยมหาราช มยุรฉัตร
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ทุนทรัพย์ ไม่ใช่คำสมาส แต่อ่านออกเสียงอย่างคำสมาส
          ทุน ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต
*************************************************
44. ข้อใดมีคำซ้ำที่ใช้เป็นคำเดี่ยวไม่ได้
          1. กำลังเดิน ๆ อยู่ฝนก็ตก
          2. เรื่องนี้เกิดขึ้นจริง ๆ เชื่อเถอะ
          3. นักมวยฝ่ายแดงทำหน้างง ๆ เมื่อถูกจับแพ้
          4. เปิดพัดลมเบา ๆ เดี๋ยวจะเป็นหวัด
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อ 1 กำลังเดิน ๆ ,  กำลังเดิน หมายถึง กำลังยกเท้าก้าวไป
          ข้อ 2 เกิดขึ้นจริง ๆ , เกิดขึ้นจริง หมายถึง เกิดขึ้นแน่ ไม่โกหก
          ข้อ 3 ทำหน้างง ๆ , ทำหน้างง หมายถึง ทำหน้าฉงน คิดไม่ออก
          ข้อ 4 เปิดพัดลมเบา ๆ เดี๋ยวจะเป็นหวัด หมายถึง ไม่ให้เปิดพัดลมแรง
                   เปิดพัดลมเบาเดี๋ยวจะเป็นหวัด หมายถึง ถ้าเปิดพัดลมเบาจะเป็นหวัด
*********************************************
45. คำประสมทุกคำในข้อใดมีส่วนประกอบเหมือนคำว่า "คนพิมพ์ดีด"
          1. เครื่องตัดหญ้า รถลอยฟ้า
          2. คนเก็บขยะ นักการเมือง
          3. หัวก้าวหน้า ผู้ใจบุญ
          4. ห้องนั่งเล่น ผ้ากันเปื้อน
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          คนพิมพ์ดีด ประกอบด้วย คำนาม + คำกริยา + คำกริยา
          ข้อ 1 เครื่องตัดหญ้า ประกอบด้วย คำนาม + คำกริยา + คำนาม
                   รถลอยฟ้า ประกอบด้วย คำนาม + คำกริยา + คำนาม
          ข้อ 2 คนเก็บขยะ ประกอบด้วย คำนาม + คำกริยา + คำนาม
                   นักการเมือง ประกอบด้วย คำนาม + คำนาม + คำนาม
          ข้อ 3 หัวก้าวหน้า ประกอบด้วย คำนาม + คำกริยา + คำนาม
                   ผู้ใจบุญ ประกอบด้วย คำนาม + คำนาม + คำนาม
          ข้อ 4 ห้องนั่งเล่น ประกอบด้วย คำนาม + คำกริยา + คำกริยา
                   ฟ้ากันเปื้อน ประกอบด้วย คำนาม + คำกริยา + คำกริยา
**************************************************
46. ข้อความต่อไปนี้มีคำซ้อนกี่คำ
ธรรมชาติสรรค์สร้างสิ่งดี ๆ ให้มวลมนุษย์ แต่มนุษย์เป็นผู้ทำลายจนโลกเปลี่ยนแปลงจึงต้องตักเตือนกันให้นำโลกเข้าสู่สภาพเดิมโดยเร็วไว
          1. 2 ค
          2. 3 คำ
          3. 4 ค
          4. 5 คำ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          คำซ้อน เป็นคำที่ประกอบด้วยคำเคียงกันอยู่ 2 คำ
                       แต่ละคำอาจมีความหมายใกล้เคียงกัน หรือตรงข้ามกัน
          ข้อความนี้มีคำซ้อน 3 คำ คือ สรรค์สร้าง เปลี่ยนแปลง เร็วไว
               สรรค์สร้าง หมายถึง สร้างให้มีให้เป็นขึ้น
               สรรค์ หมายถึง สร้างให้มีให้เป็นขึ้น
               สร้าง หมายถึง ทำให้มีขึ้น
               เปลี่ยนแปลง หมายถึง ทำให้ลักษณะต่างไป
                        เปลี่ยน หมายถึง เอาสิ่งหนึ่งเข้าแทนอีกสิ่งหนึ่ง
                        แปลง หมายถึง เปลี่ยนสิ่งเดิมให้ผิดแปลกออกไป
               เร็วไว หมายถึง ทำให้รวดเร็ว
                        เร็ว หมายถึง ไว, รีบด่วน
                       ไว หมายถึง กระทำได้คล่องแคล่วรวดเร็ว
**************************************************
47. ข้อใดสะกดถูกทุกคำ
          1. เที่ยวประพาสในพนมพนาสัณฑ์
          2. ทิศประจิมริมฐานมนฑปนั้น
          3. ประณมหัตถ์ทักษิณเกษมสันต์
          4. กระแสสินธ์สายชลเป็นวนวัง
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ข้อ 1 ประพาส แปลว่า ไปเที่ยว,
                   พนม แปลว่า ภูเขา,
                   พนาสัณฑ์ แปลว่า ป่า
          ข้อ 2 คำที่สะกดผิด คือ มนฑป
                   คำที่ถูกต้องคือ มณฑป แปลว่า เรือนยอดที่มีรูปสี่เหลี่ยม
          ข้อ 3 คำที่สะกดผิด คือ ประณม แปลว่า การน้อมไหว้
                   คำที่ถูกต้องควรใช้ว่า ประนม แปลว่า ยกมือขึ้นกระพุ่ม
          ข้อ 4 คำที่สะกดผิด คือ สินธ์
                   คำที่ถูกต้อง คือ สินธุ์ แปลว่า แม่น้ำ
**********************************************
48. คำประพันธ์ข้อใดมีคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤตน้อยที่สุด
          1. พระแต่งองค์เป็นพราหมณ์งามลออ      เอาเพลิงจ่อจุดเผาสำเภายนต์
          2. สองพระองค์อันดำรงอยุธเยศ      กระเดื่องเดชเลิศลบจบสถาน
          3. ชำระพักตร์หยิบสบู่มาถูล้าง      เสร็จสำอางคลาไคลเหมือนใจหมาย
          4. เมื่อพระองค์ยังทรงพระพิโรธ      ที่ไหนจะโปรดยกโทษให้
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 คำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต ได้แก่ พระ องค์ พราหมณ์ ยนต์
          ข้อ 2 คำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต ได้แก่ พระ องค์ อยุธเยศ เดช สถาน
          ข้อ 3 คำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต ได้แก่ พักตร์
          ข้อ 4 คำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต ได้แก่ พระ องค์ พิโรธ โทษ
*************************************************
49. ข้อใดไม่มีคำยืมจากภาษาต่างประเทศ
          1. พ่อแม่ควรสอนลูกว่ายาเสพย์ติดและเครื่องดื่มมึนเมาเผยแพร่กันอย่างไร
          2. การยกตัวอย่างจากรายการโทรทัศน์เพื่อสอนให้ลูกเข้าใจอันตรายเป็นวิธีที่ดี
          3. ในกรณีที่ลูกอายุต่ำกว่า 10 ขวบ พ่อแม่ควรอธิบายสั้น ๆ ให้เข้าใจง่าย
          4. ถ้าสอนอะไรยาว ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เด็กไม่รู้จัก เด็กจะเบื่อและสับสน
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อ 1 คำยืมจากภาษาต่างประเทศ ได้แก่ เสพย์
          ข้อ 2 คำยืมจากภาษาต่างประเทศ ได้แก่ โทรทัศน์ อันตราย วิธี
          ข้อ 3 คำยืมจากภาษาต่างประเทศ ได้แก่ กรณี อธิบาย
          ข้อ 4 ไม่มีคำยืมจากภาษาต่างประเทศ
*************************************************
50. ข้อใดต้องใช้คำกริยา "ขัน"
          1. ช่างประปาคงใช้คีม ... ฝาท่อไม่ออก เลยยังไม่ซ่อม
          2. ก๊อกน้ำเกลียวหวาน ... ไม่อยู่ น้ำยังหยด
          3. ผนังปูน ... ตะปูไม่อยู่ ปูนร่วงมาก
          4. เชือกหลุดทำให้ ... รอก ปิดหลังคาไม่ได้
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1 คีม ต้องใช้กับคำกริยา คีบ
                   หมายถึง เอาปลายสิ่งที่เป็นง่ามจับสิ่งอื่นให้อยู่
          ข้อ 2 เกลียวก๊อกน้ำ ต้องใช้กับคำกริยา ขัน
                   หมายถึง ทำให้แน่นด้วยวิธีหมุนกวดเร่งเข้าไป
          ข้อ 3 ตะปู ต้องใช้กับคำกริยา ตอก
                   หมายถึง เอาค้อนตีตะปูให้เข้าไป
          ข้อ 4 รอก ต้องใช้กับคำกริยา ชัก
                   หมายถึง ดึงสายเชือกที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
                                  เพื่อให้สิ่งนั้นเคลื่อนไหวไปตามต้องการ
**************************************************
51. คำกริยาที่อยู่ในวงเล็บในข้อใดไม่ใช่กริยาอกรรม
          1. ตัวละคร (ผ่าน) ออกมาทางประตูนี้
          2. นางกินรี (พำนัก) อยู่ที่เขาไกรลาส
          3. พระสุธน (ตาม) นางมโนราห์ไป
          4. ผู้แสดง (ร่ายรำ) ด้วยท่วงท่าเข้ากับทำนองเพลง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล 
          อกรรมกริยา คือ กิริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ ก็ได้ความหมายสมบูรณ์
          ข้อ 1 ผ่าน เป็น อกรรมกริยา
          ข้อ 2 พำนัก เป็น อกรรมกริยา
          ข้อ 3 ตาม ไม่ใช่อกรรมกริยา เพราะมีกรรมมารับ คือ นางมโนราห์
          ข้อ 4 ร่ายรำ เป็น อกรรมกริยา
************************************************
52. คำเชื่อมในข้อใดใช้เติมในช่องว่างได้อย่างถูกต้อง
"แผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 .................. จะเลอเลิศขนาดไหน ............. คนไทยไม่ช่วยกันจริง มัวแต่เลื่อยขากันเอง ............... ประโยชน์ส่วนตัวแล้ว ................ จะทำให้ขาดความเชื่อมั่น .............. ขาดความเชื่อมั่นเมื่อไรประเทศไทยล้มแน่นอน"
          1. ถึง ... หาก ... โดย ... คง ... ซึ่ง
          2. แม้ว่า ... หาก ... ก็ ... จึง ... พอ
          3. แม้ ... ถ้า ... เพื่อ ... ก็ ... หาก
          4. ถึง ... ถ้า ... สำหรับ ... ที่ ... เมื่อ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          แม้ หมายถึง ผิว่า หากว่า
          ถ้า เป็นคำแสดงความคาดหมาย คาดคะเน
          เพื่อ หมายถึง เหตุด้วย เพราะว่า
          ก็ หมายถึง ย่อม จึง
          หาก หมายถึง ถ้า แม้
************************************************
53. ข้อใดไม่ใช้โครงสร้างประโยคแบบภาษาต่างประเทศ
          1. เรื่องนี้ง่ายต่อการเข้าใจ
          2. งานเขียนของเขาเป็นที่สนใจของคนหมู่มาก
          3. แม่มีลูกถึง 7 คน จึงต้องรู้จักวิธีบริหารเงิน
          4. ทุกสิ่งทุกอย่างจบลงด้วยความตายของตัวเอก
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 ควรใช้ว่า เรื่องนี้เข้าใจง่าย
          ข้อ 2 ควรใช้ว่า คนหมู่มากสนใจงานเขียนของเขา
          ข้อ 3 เป็นประโยคความรวม
                  ประกอบด้วยประโยคความเดียว 2 ประโยค คือ
                  แม่มีลูกถึง 7 คน (แม่) ต้องรู้จักวิธีบริหารเงิน
                  คำเชื่อมคือ จึง ประโยคเรียงตามลำดับคือ ประธาน กริยา กรรม
          ข้อ 4 ควรใช้ว่า เมื่อตัวเอกตายทุกสิ่งทุกอย่างก็จบลง
***********************************************
54. ประโยคใดใช้คำกริยาถูกต้องตรงตามความหมาย
          1. หลังจากผ่าตัดได้เพียง 1 อาทิตย์ ดาราชื่อดังก็ฟื้นตัวดีขึ้นมาก
          2. รัฐบาลอนุมัติเงินงบประมาณ 300 ล้านบาท ให้ฟื้นฟูบาทวิถีในกรุงเทพฯ
          3. สะพานนี้ชำรุดแล้ว ทางจังหวัดกำลังเตรียมรื้อฟื้นต้นเดือนหน้านี้
          4. ชาวบ้านสามารถพลิกฟื้นแผ่นดินที่แห้งแล้งแห่งนี้ให้อุดมสมบูรณ์ได้
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อ 1 ฟื้นตัว หมายถึง กลับดีขึ้น มักใช้ทางด้านเศรษฐกิจ
           ควรใช้ มีอาการดีขึ้น อาการ หมายถึง สภาพ ความเป็นไป
          ข้อ 2 ฟื้นฟู หมายถึง ทำให้กลับเจริญงอกงาม
           ควรใช้ ปรับปรุง หมายถึง แก้ไขให้เรียบร้อยยิ่งขึ้น
          ข้อ 3 รื้อฟื้น หมายถึง เอาขึ้นมาทำใหม่
           ควรใช้ ซ่อมแซม หมายถึง แก้ไขเพิ่มเติมของที่ชำรุดให้คืนดี
          ข้อ 4 พลิกฟื้น หมายถึง พลิกกลับขึ้นมา เช่น ฟื้นดิน
***************************************************
55. ประโยคใดวางส่วนขยายถูกต้อง
          1. ห้ามเด็ดขาดนั่งหลังคารถไฟ
          2. การอ่านเป็นปุ๋ยอย่างดีที่บำรุงสมองเด็ก
          3. ครูเป็นทรัพยากรบุคคลในการส่งเสริมการศึกษาที่สำคัญ
          4. เขาเริ่มพัฒนาอย่างเร่งรีบเรื่องสาธารณูปโภคในหมู่บ้าน
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1 ควรแก้ไขเป็น ห้ามนั่งหลังคารถไฟเด็ดขาด
          ข้อ 2 วางส่วนขยายได้ถูกต้องแล้ว
          ข้อ 3 ควรแก้ไขเป็น ครูเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญในการส่งเสริมการศึกษา
          ข้อ 4 ควรแก้ไขเป็น เขาเริ่มพัฒนาเรื่องสาธารณูปโภคในหมู่บ้านอย่างเร่งรีบ
**************************************************
56. ประโยคคู่ใดสื่อความหมายได้ทั้งเหมือนและต่างกัน
          1. เขาซื้อจานทองเหลืองใส่คลิปพร้อมปากกาทอง
              เขาซื้อปากกาทองพร้อมจานใส่คลิปทองเหลือง
          2. ทำไมไม่ช่วยเขาล่ะ น่าสงสารออก
              ช่วยเขาหน่อยสิ เขาน่าสงสารออก
          3. ผมได้ขายแหวนคุณสุดาไปแล้ว
              ผมได้ขายแหวนให้คุณสุดาไปแล้ว
          4. ทำไมถามอยู่ได้ น่ารำคาญ
              ถามตั้งหลายครั้งแล้ว รำคาญจริง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ผมได้ขายแหวนคุณสุดาไปแล้ว
               อาจหมายถึง ผมได้ขายแหวนของคุณสุดาไปแล้ว
                             หรือ ผมได้ขายแหวนให้คุณสุดาไปแล้ว
**************************************************
57. ข้อใดมีส่วนประกอบของประโยคเหมือนประโยคตัวอย่าง
"ดอกไม้เหี่ยวในแจกันดูน่าเกลียด"
          1. แมวน้อยสีขาวตัวอ้วนนอนหลับสนิท
          2. ผู้หญิงแก่ข้างบ้านให้อาหารหมาจรจัด
          3. คนกวาดถนนผู้หญิงทำงานอย่างคล่องแคล่ว
          4. พนักงานหนุ่มหน้าร้านขี้เกียจมาก
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          "ดอกไม้เหี่ยวในแจกันดูน่าเกลียด"
           ประกอบด้วย ประธาน ส่วนขยายประธาน กริยา และส่วนขยายกริยา
          ข้อ 4 "พนักงานหนุ่มหน้าร้านขี้เกียจมาก"
           มีส่วนประกอบของประโยคเหมือนประโยค
          ตัวอย่าง
                    พนักงาน - ประธาน
                    หนุ่ม, หน้าร้าน - ส่วนขยายประธาน
                    ขี้เกียจ - กริยา
                    มาก - ส่วนขยายกริยา
**************************************************
58. ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
          1. คนที่มีสุขภาพดีมาจากคนที่กินอาหารดีถูกหลักโภชนาการ
          2. การทำงานให้สำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพมิได้อยู่ที่คนเพียงคนเดียว
          3. ขณะนี้ถึงเวลาที่ทุกคนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติอย่างจริงจัง
          4. ความมีน้ำใจที่แท้ไม่ได้มาจากความจำเป็น หากมาจากความต้องการที่จะให้
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1, 3 และ 4 ไม่ใช่ประโยคความเดียว เพราะมีเนื้อความมากกว่าหนึ่ง
          ข้อ 2 เป็นประโยคความเดียว
                   ภาคประธาน คือ การทำงานให้สำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ
                   ภาคแสดง คือ มิได้อยู่ที่คนเพียงคนเดียว
******************************************
59. ข้อใดเป็นประโยคสมบูรณ์
          1. สภาพของโลกาภิวัฒน์ที่มีความเข้มข้นและจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนมีผลกระทบอย่างจริงจังต่อการอุดมศึกษาไทยในอนาคต
          2. ปัจจุบันองค์กรปกป้องท้องถิ่นที่นับว่าสำคัญมากที่สุดของประเทศไทยที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุด
          3. ดังนั้นการมองดูสภาพแห่งโลกาภิวัฒน์ที่จะมีผลต่อการอุดมศึกษาไทยจึงน่าจะเป็นจุดสำคัญในการหล่อหลอมปรัชญาและความหมายของการอุดมศึกษาไทยในอนาคต
          4. ถึงแม้ว่าขณะนี้หลายหน่วยงานจะได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจให้ดำเนินควบคู่ไปกับการรักษาและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1, 2 และ 4 ไม่เป็นประโยค ความยังไม่สมบูรณ์
                                  โดยเฉพาะข้อ 2 ไม่มีภาคแสดง
          ข้อ 3 เป็นประโยค
                   ภาคประธาน คือ การมองดูสภาพแห่งโลกาภิวัฒน์ที่จะมีผลต่อการอุดมศึกษาไทย
                   ภาคแสดง คือ น่าจะเป็นจุดสำคัญในการหล่อหลอมปรัชญาและความหมายของการอุดมศึกษาไทยในอนาคต
                   คำว่า ดังนั้น จึง แสดงให้เห็นว่าประโยคนี้เป็นข้อความสรุปที่ต่อมาจากข้อความที่สนับสนุน ถ้าใช้ตามลำพังก็ไม่ควรมี ดังนั้น จึง
********************************************
60. ข้อใดมีส่วนประกอบของประโยคเหมือนประโยคตัวอย่าง "เทศบาลเร่งปลูกต้นไม้ใหม่"
          1. แดงไปเที่ยวตามสวนสาธารณะต่าง ๆ
          2. น้องชอบอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น
          3. แม่ครัวมักซื้อผลไม้ร้านประจำ
          4. แม่กำลังตรวจบัญชีรายจ่ายของบ้าน
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ประโยค "เทศบาลเร่งปลูกต้นไม้ใหม่"
          ประกอบด้วย บทประธาน บทกริยา (กริยาแท้ 2 ตัว) บทกรรม และบทขยายกรรม
          ข้อ 1 ไม่มีบทกรรม
          ข้อ 2 บทประธาน คือ น้อง บทกริยา (กริยาแท้ 2 ตัว) คือ ชอบอ่าน
                   บทกรรม คือ การ์ตูน บทขยายกรรม คือ ญี่ปุ่น
          ข้อ 3 มีกริยาแท้เพียงตัวเดียว คือ ซื้อ
          ข้อ 4 มีกริยาแท้เพียงตัวเดียว คือ ตรวจ

*****************************************
61. สำนวนในข้อใดเป็นวลี
          1. เรือใหญ่คับคลอง
          2. ปากไม่สิ้นกลี่นน้ำนม
          3. หวานเป็นลมขมเป็นยา
          4. ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อ 1 เป็นประโยค ภาคประธาน คือ เรือใหญ่ ภาคแสดง คือ คับคลอง
          ข้อ 2 เป็นประโยค ภาคประธาน คือ ปาก ภาคแสดง คือ ไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม
          ข้อ 3 เป็นประโยค ภาคประธาน คือ หวาน ขม ภาคแสดง คือ เป็นลม เป็นยา
          ข้อ 4 เป็นวลี ไม่มีภาคแสดง
**************************************
62. ข้อใดไม่ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ
          1. ชาวต่างชาติมักจะกล่าวว่าวิชาภาษาไทยยากแก่การเรียน
          2. รัฐบาลพยายามประชาสัมพันธ์ให้คนไทยช่วยกันประหยัดอย่างจริงจัง
          3. คณะกรรมการชมรมนักเรียนเก่าชุดนี้ถูกจับตามองจากสมาชิกตลอดเวลา
          4. การนำชาวบ้านมาชุมนุมประท้วงครั้งนี้ทำให้ประเทศได้รับความเสียหายมาก
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1 ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ "ภาษาไทยยากแก่การเรียน"
          ข้อ 2 ไม่ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ
          ข้อ 3 ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ "ถูกจับตามองจากสมาชิกตลอดเวลา"
          ข้อ 4 ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ "การนำชาวบ้านมาชุมนุมประท้วงครั้งนี้"
**********************************************
63. ข้อความใดมีความหมายเหมือนกัน
      ก. แนวทางการสร้างงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ
      ข. แนวทางการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา
      ค. แนวทางที่มีคุณภาพในการสร้างงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา
      ง. แนวทางของสถาบันอุดมศึกษาในการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพ
          1. ก. และ ค.
          2. ข. และ ค.
          3. ก. และ ง.
          4. ข. และ ง.
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อความต่อไปนี้มีความหมายกล่าวถึงสิ่งที่มีคุณภาพแตกต่างกัน
          ข้อความ ก ข้อความกล่าวถึง สถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ
          ข้อความ ข ข้อความกล่าวถึง แนวทางการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพ
          ข้อความ ค ข้อความกล่าวถึง แนวทางที่มีคุณภาพในการสร้างงานวิจัย
          ข้อความ ง ข้อความกล่าวถึง แนวทางในการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพ
          ข้อความ ข และข้อความ ง มีความหมายเหมือนกัน
********************************************
64. ข้อใดเป็นประโยคสมบูรณ์
          1. การประหยัดทรัพยากรธรรมชาติเป็นกระแสของคนรุ่นใหม่
          2. การเสนอผลงานวิจัย ที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีนี้
          3. การเอ่ยถึงสวรรค์บนดิน ซึ่งห่างไกลจากเมืองเจ้าพ่อ
          4. การทำความรู้จักรากเหง้าของบรรพบุรุษของเรา
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ข้อ 1 ภาคประธาน คือ "การประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ"
                   ภาคแสดง คือ "เป็นกระแสของคนรุ่นใหม่"
          ข้อ 2, ข้อ 3 และข้อ 4 ไม่ใช่ประโยค เพราะไม่มีภาคแสดง
*******************************************
65. ข้อใดเป็นประโยคชนิดเดียวกับประโยคต่อไปนี้
"ที่โรงพยาบาลของเรา เราให้ความสำคัญยิ่งยวดในการบำบัดฟื้นฟูจิตใจของผู้สูงอายุ"
          1. คุณจะได้พบกับศูนย์กายภาพบำบัดในบรรยากาศของบ้านใจกลางเมือง
          2. เราสร้างสรรค์สถานที่อันร่มรื่น สะอาด ทันสมัย เพื่อการพักผ่อนอย่างแท้จริง
          3. กิจกรรมสันทนาการทั้งในและนอกสถานที่ทำให้การบำบัดรักษาได้ผลดีอย่างยิ่ง
          4. เราคือโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศที่บริการผู้ป่วยอย่างเต็มที่ตลอด 24 ชั่วโมง
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          "ที่โรงพยาบาลของเรา เราให้ความสำคัญยิ่งยวดในการบำบัดฟื้นฟูจิตใจของผู้สูงอายุ" เป็นประโยคความเดียว
          ภาคประธานคือ เรา
          ภาคแสดงคือ ให้ความสำคัญยิ่งยวดในการบำบัดฟื้นฟูจิตใจของผู้สูงอายุที่โรงพยาบาลของเรา
          ข้อ 1 เป็นประโยคความเดียว
                   ภาคประธานคือ คุณ ภาคแสดงคือจะได้พบกับศูนย์กายภาพบำบัดในบรรยากาศของบ้านใจกลางเมือง
          ข้อ 2, 3 และข้อ 4 เป็นประโยคความซ้อน
*******************************************
66. คำที่อยู่ในวงเล็บในข้อใดเป็นคำกริยาสกรรม
          1. พวกตัดไม้ยัง (ตัด) กันไม่หยุด
          2. วัวแดงตัวนั้น (ล้มจม) พงหญ้า
          3. ขบวนเรือ (ถึง) วัดตอนดึกเกือบห้าทุ่ม
          4. ไม้สักต้นกำลังงาม (ขึ้นปน) กับไม้แดงไม้ยาง
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ข้อ 1 ตัด หมายถึง ทำให้ขาดด้วยของมีคม
                   เป็นสกรรมกริยา ในที่นี้คือตัดไม้ แต่ละกรรมไว้
          ข้อ 2, ข้อ 3 และข้อ 4 เป็นอกรรมกริยา
********************************************
67. ข้อความใดประกอบด้วยประโยคที่ละทั้งคำที่ทำหน้าที่ประธานและกรรม
          1. ฉันไม่ชอบซื้อปลาที่ตลาดสด เพราะไม่อยากเห็นปลาถูกฆ่าต่อหน้าต่อตา
          2. วันนี้แม่จะกลับบ้านเย็นคงไม่มีเวลาทำกับข้าว พ่อจะทำเอง
          3. บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ คุณน่าจะเลิกสูบเพื่อสมาชิกในครอบครัว
          4. รัฐกำลังดำเนินการเวนคืนที่ดิน เราจะถูกเวนคืนที่ดินบ้างหรือเปล่าก็ไม่รู้
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1 "ไม่อยากเห็นปลาถูกฆ่าต่อหน้าต่อตา" ละประธาน "ฉัน"
          ข้อ 2 "คงไม่มีเวลาทำกับข้าว" ละประธาน "แม่"
                   "พ่อจะทำเอง" ละกรรม "กับข้าว"
          ข้อ 3 "คุณน่าจะเลิกสูบ" ละกรรม "บุหรี่"
          ข้อ 4 "ก็ไม่รู้" ละประธาน "เรา"
******************************************
68. ข้อใดไม่ใช่ประโยค
          1. ร่วมกันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อโลกใบใหญ่ของเรา
          2. ธรรมชาติต่างผูกพันด้วยสายใยแห่งชีวิตอันละเอียดอ่อน
          3. จากอยุธยาสู่เมืองจันท์ ตามรอยทัพกู้ชาติพระเจ้าตากสินมหาราช
          4. 80 ปีอุโมงค์รถไฟถ้ำขุนตาน สถานที่อนุรักษ์ทรัพยากรด้านป่าไม้ของกรมป่าไม้
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อความนี้ไม่มีภาคแสดง มีแต่ภาคประธาน จึงยังไม่ใช่ประโยค
******************************************
69. ข้อใดเป็นได้ทั้งวลีและประโยค
          1. สถานีสูบน้ำพระโขนง
          2. เด็กส่งของ
          3. นักเรียนมาสาย
          4. ผู้จัดการมรดก
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1 เป็นวลี เพราะไม่มีภาคแสดง
          ข้อ 2 เป็นได้ทั้งวลี คือ เด็กส่งของ (เด็กที่ทำหน้าที่ส่งของ)
                   เป็นประโยคมีภาคประธาน คือ เด็ก ภาคแสดง คือ ส่งของ
          ข้อ 3 เป็นประโยค มีภาคประธาน คือ นักเรียน ภาคแสดง คือ มาสาย
          ข้อ 4 เป็นวลีเพราะไม่มีภาคแสดง
****************************************
70. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
          1. สมชายวางมือจากกิจการทุกอย่างที่บริษัท
          2. แม่ใส่นาฬิกาเรือนใหม่ที่พ่อให้
          3. คุณยายไปถือศีลแปดที่วัดทุกวันพระ
          4. วันนี้พ่อประชุมที่ทำงานตลอดวัน
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1, ข้อ 3 และข้อ 4 เป็นประโยคความเดียว
          ข้อ 2 เป็นประโยคความซ้อน
                   ประโยคหลัก คือ แม่ใส่นาฬิกาเรือนใหม่
                   ประโยคย่อย คือ (นาฬิกา) พ่อให้ "ที่" ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม
*******************************************
71. ข้อใดเป็นประโยคความรวม
          1. สุดาร้องเพลงไทยเก่งมาก
          2. สมชายกับเพื่อนนัดซ้อมฟุตบอลทุกเย็น
          3. ฐานะการเงินของเขาตกต่ำลงอย่างมาก
          4. นักกีฬาพิการได้รับคำชมในความอดทน
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1, ข้อ 3 และข้อ 4 เป็นประโยคความเดียว
****************************************
72. ข้อใดเป็นประโยคความรวม
          1. แม่นอนซมตลอดวันเพราะพิษไข้
          2. ขณะนี้เราลดค่าใช้จ่ายได้หลายอย่าง
          3. คุณตาออกกำลังกายด้วยการเดินทุกเช้า
          4. เราคงซื้อหนังสือตอนเขาลดราคาเท่านั้น
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          มีใจความ 2 ใจความ คือ เราคงซื้อหนังสือ, เขาลดราคา
          คำเชื่อมคือ ตอน
********************************************
73. ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
          1. สมบัติขึ้นรถไฟไปเที่ยวทางใต้ทุกปี
          2. คุณยายตื่นขึ้นมาทำอะไรกุกกักตอนดึกบ่อย ๆ
          3. เรื่องสั้นของ "วินทร์" มักจะจบแบบหักมุม
          4. ตอนเด็ก ๆ เขาว่ายน้ำไปเกาะเรือโยงเสมอ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ภาคประธาน คือ เรื่องสั้นของ "วินทร์"
          ภาคแสดง คือ มักจะจบแบบหักมุม
*****************************************
74. ข้อใดไม่ใช่ประโยค
          1. เด็กที่นั่งรถไฟมากับฉันเป็นน้องชายของเพื่อน
          2. คณะกรรมการพิจารณาแผนพัฒนาสมาคมสตรี
          3. สถานีวิทยุกระจายเสียงทุกแห่งออกอากาศพร้อมกัน
          4. สัมมนาเรื่องการพัฒนาสื่อมวลชนของนักข่าวหนังสือพิมพ์
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อ 1 ภาคประธาน คือ เด็กที่นั่งรถไฟมากับฉัน
                   ภาคแสดง คือ เป็นน้องชายของเพื่อน
          ข้อ 2 ภาคประธาน คือ คณะกรรมการ
                   ภาคแสดง คือ พิจารณาแผนพัฒนาสมาคมสตรี
          ข้อ 3 ภาคประธาน คือ สถานีวิทยุกระจายเสียงทุกแห่ง
                   ภาคแสดง คือ ออกอากาศพร้อมกัน
          ข้อ 4 ภาคประธาน คือ สัมมนาเรื่องการพัฒนาสื่อมวลชนของนักข่าวหนังสือพิมพ์
                   ภาคแสดงไม่มี
***********************************************
75. "งานจะสำเร็จได้ทุกคนต้องร่วมปรึกษาหารือกัน ร่วมทำงานกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ ถ้าเป็นเช่นนี้ย่อมประสบความสำเร็จได้ยาก"
การทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จตรงกับสำนวนในข้อใด
          1. พายเรือคนละที
          2. พายเรือทวนน้ำ
          3. พายเรือในหนอง
          4. พายเรือในอ่าง
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ข้อ 1 พายเรือคนละที หมายถึง ทำงานไม่ประสานกัน
          ข้อ 2 พายเรือทวนน้ำ หมายถึง ทำด้วยความยากลำบาก
          ข้อ 3 พายเรือในหนอง หมายถึง พูดวกวนกลับไปกลับมา
          ข้อ 4 พายเรือในอ่าง หมายถึง พูดวกวนกลับไปกลับมา
****************************************
76. ความหมายของสำนวนคู่ใดไม่เป็นไปในทำนองเดียวกัน
          1. ขิงก็รา ข่าก็แรง - ขนมผสมน้ำยา
          2. ยุให้รำ ตำให้รั่ว - เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน
          3. ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ - ตำข้าวสารกรอกหม้อ
          4. แกว่งเท้าหาเสี้ยน - เอามือซุกหีบ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 ขิงก็รา ข่าก็แรง หมายถึง ต่างไม่ยอมลดละกัน
                   ขนมผสมน้ำยา หมายถึง พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันไม่ได้
          ข้อ 2 ยุให้รำ ตำให้รั่ว หมายถึง ยุให้ผิดใจกัน
                   เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน หมายถึง ยุยงให้ทะเลาะกัน
          ข้อ 3 ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หมายถึง ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน
                   ตำข้าวสารกรอกหม้อ หมายถึง หาเพียงแค่พอกินไปมื้อหนึ่ง ทำพอให้เสร็จไปชั่วครั้งหนึ่ง ๆ
          ข้อ 4 แกว่งเท้าหาเสี้ยน หมายถึง รนหาเรื่องเดือดร้อน
                   เอามือซุกหีบ หมายถึง หาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัวโดยใช่ที่
******************************************
77. ข้อใดใช้สำนวนไทยถูกต้อง
          1. ลูกสาวเธอโชคดีนะตกถังข้าวสาร ได้แต่งงานกับเศรษฐีที่ดินสบายไปเลย
          2. แกงชามนี้เติมเกลือแล้วรสดีขึ้นมาก เห็นไหมล่ะแกงจืดจึงรู้คุณเกลือ
          3. คนบ้านใกล้เรือนเคียง ต้องมีน้ำใจไมตรีแบ่งปันกันแบบหมูไปไก่มา
          4. เชิญคุณเลือกทำเลและแบบบ้านเองดีกว่าครับ เพราะเดี๋ยวจะเข้าตำราปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 สำนวนที่ถูกต้องคือ หนูตกถังข้าวสาร หมายถึง ผู้ชายที่มีฐานะไม่ค่อยดีได้แต่งงานกับผู้หญิงที่รวย
          ข้อ 2 แกงจืดจึงรู้คุณเกลือ หมายถึง เมื่อขาดของสิ่งนั้น จึงรู้ค่า
          ข้อ 3 หมูไปไก่มา หมายถึง ลักษณะของการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันด้วยการให้สิ่งของแลกเปลี่ยน หรือตอบแทนซึ่งกันและกัน
          ข้อ 4 ปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย หมายถึง จะทำอะไรคิดให้รอบคอบ เพราะถ้าผิดพลาดจะแก้ไขยาก มักใช้กับการเลือกคู่ครองผิด
******************************************
78. สำนวนใดใช้กล่าวเพื่อเตือนสติ
          1. เงาตามตัว
          2. ไว้เนื้อเชื่อใจ
          3. คอขาดบาดตาย
          4. บ้านเมืองมีขื่อมีแป
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อ 1 เงาตามตัว หมายถึง ผู้ที่ไปไหนด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย
          ข้อ 2 ไว้เนื้อเชื่อใจ หมายถึง ไว้ใจ
          ข้อ 3 คอขาดบาดตาย หมายถึง เรื่องร้ายแรงมาก
          ข้อ 4 บ้านเมืองมีขื่อมีแป หมายถึง บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฎหมายคุ้มครอง สำนวนนี้มักใช้ในการตักเตือน ไม่ให้ทำอะไรตามใจชอบ
********************************************
79. ข้อใดใช้สำนวนไทยได้ถูกต้อง
          1. เด็กคนนี้เอางานเอาการ ท่าทางเป็นโล้เป็นพายดีมาก
          2. ตำรวจที่ดีต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ไม่คิดหาเศษหาเลยจากหน้าที่
          3. เป็นลูกผู้หญิงต้องเดินเหินให้เรียบร้อยสง่างามไม่เดินมือห่างตีนห่าง
          4. พนักงานพวกนี้พอเจ้านายไม่อยู่ก็ไม่ทำงานทำตัวเป็นลิงหลอกเจ้าอยู่ได้
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1 เป็นโล้เป็นพาย หมายถึง เอาการเอางาน เข้าท่าเข้าทางดี มักใช้ในทางปฏิเสธ
          ข้อ 2 หาเศษหาเลย หมายถึง หาประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ
          ข้อ 3 มือห่างตีนห่าง หมายถึง สุรุ่ยสุร่าย
          ข้อ 4 ลิงหลอกเจ้า หมายถึง หยอกล้อผู้ใหญ่เวลาผู้ใหญ่เผลอ
******************************************
80. สำนวนใดไม่สามารถใช้ได้ในตัวอย่างสถานการณ์ต่อไปนี้
"ตั้งแต่เจ้าโตเป็นหนุ่มมักทำความเดือดร้อนและสร้างปัญหาให้ฉันแสนสาหัสทุกวัน ฉันอยากจะ ............. ไปเลยจะได้พ้นทุกข์พ้นร้อนเสียที"
          1. ตัดเชือก
          2. ตัดหางปล่อยวัด
          3. ตัดไฟต้นลม
          4. ตัดเป็นตัดตาย
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 ตัดเชือก หมายถึง ตัดความสัมพันธ์ไม่ยอมให้ความช่วยเหลืออีกต่อไป
          ข้อ 2 ตัดหางปล่อยวัด หมายถึง ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป
          ข้อ 3 ตัดไฟต้นลม หมายถึง ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป
          ข้อ 4 ตัดเป็นตัดตาย หมายถึง ตัดขาดจากกันอย่างเด็ดขาด
********************************************
81. ข้อใดใช้ราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง
          1. สมาคมได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในแนวทางซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้ประทานไว้
          2. คณะนิติศาสตร์จัดงานครั้งนี้เพื่อเทิดพระเกียรติพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หรือพระนามเดิมพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์
          3. อธิการบดีได้ถวายปริญญาบัตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
          4. มีพิธีวางพวงมาลาที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          อธิการบดีได้ถวายปริญญาบัตร ........... ควรใช้ว่า อธิการบดีได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาบัตร
ทูลเกล้าฯ คือ ทูลเกล้าทูลกระหม่อม
**********************************************
82. "ข้าพเจ้าคือปุถุชนธรรมดา พระราชดำรัสจริง ๆ เป็นอย่างไรไม่ทราบ เพราะวาสนาน้อย ไม่อาจได้ฟังจากพระโอษฐ์ แต่เพียงเท่านี้ก็เกินพอแล้วที่ทำให้รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น"
บุคคลที่ผู้พูดกล่าวถึงมิใช่พระราชวงศ์ระดับใด
          1. สมเด็จพระบรมราชินี
          2. สมเด็จพระยุพราช
          3. สมเด็จพระบรมราชกุมารี
          4. สมเด็จเจ้าฟ้า
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          พระราชดำรัส หมายถึง คำพูด
          พระราชดำรัส ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมราชกุมารี ถ้าเป็นพระราชวงศ์ระดับสมเด็จเจ้าฟ้า ควรใช้ว่า พระดำรัส
********************************************
83. ข้อความตอนใดใช้ราชาศัพท์ได้ถูกต้อง
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรปีนี้ ทุกสถาบันได้มีหมายกำหนดการให้มหาบัณฑิตรับพระราชทานจากพระบรมฉายาลักษณ์แทน (1) / ทั้งนี้ด้วยถือว่าได้เคยรับพระบรมราชานุเคราะห์มาครั้งหนึ่งแล้วในระดับปริญญาตรี (2) / แต่อย่างไรก็ตามบัณฑิตทุกระดับก็จะได้รับพระราชทานพระบรมราโชวาทพร้อมกัน (3) / ซึ่งก็นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งที่ทรงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสดังกล่าว (4)
          1. ตอนที่ 1
          2. ตอนที่ 2
          3. ตอนที่ 3
          4. ตอนที่ 4
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 หมายกำหนดการ ควรใช้ว่า กำหนดการ
                   หมายกำหนดการ หมายถึง เอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธี
                   กำหนดการ หมายถึง ระเบียบการที่บอกถึงขั้นตอนของงานที่จะต้องทำตามลำดับ
          ข้อ 2 พระบรมราชานุเคราะห์ ควรใช้ว่า พระมหากรุณา
                   พระบรมราชานุเคราะห์ หมายถึง พระราชทานเอื้อเฟื้อช่วยเหลือ
                   พระมหากรุณา หมายถึง พระกรุณาใหญ่หลวง
          ข้อ 3 พระบรมราโชวาท หมายถึง โอวาทของพระมหากษัตริย์
          ข้อ 4 ทรงพระราชทาน ควรใช้ว่า พระราชทาน
                  "ทรง" ไม่ใช้นำหน้ากริยาที่เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว
***********************************************
84. ข้อใดเป็นราชาศัพท์ที่ใช้กับสมเด็จพระสังฆราชได้ถูกต้อง
          1. สมเด็จพระสังฆราชฯ มีพระลิขิตแสดงพระวินิจฉัยกรณีเกี่ยวกับวินัยสงฆ์
          2. สมเด็จพระสังฆราชฯ มีลายพระหัตถ์ประทานพรประชาชนชาวไทย
          3. สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จไปเสวยภัตตาหารเพลในพระบรมมหาราชวัง
          4. สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงพระประชวร แพทย์ผู้ถวายการรักษาจึงถวายคำแนะนำให้ทรงพัก
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1 ราชาศัพท์ที่ใช้ไม่ถูกต้อง คือ พระลิขิต
                   ลิขิต หมายถึง จดหมาย หนังสือ ใช้สำหรับพระสงฆ์
          ข้อ 2 ลายพระหัตถ์ หมายถึง จดหมาย หนังสือ ใช้สำหรับพระราชวงศ์ทั่วไป และสมเด็จพระสังฆราชประทานพร หมายถึง ให้พร
          ข้อ 3 ราชาศัพท์ที่ใช้ไม่ถูกต้อง คือ ภัตตาหารเพล
          ข้อ 4 ราชาศัพท์ที่ใช้ไม่ถูกต้อง คือ ทรงพระประชวร
******************************************
85. ข้อใดใช้ราชาศัพท์ถูกต้อง
          1. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารเสด็จฯ แทนพระองค์ไปทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
          2. สมเด็จพระสังฆราชเสด็จพระราชดำเนินไปเจิมป้ายคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
          3. ก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ประชวรอยู่เป็นเวลานาน
          4. พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีในนิตยสารฉบับนี้งดงามมาก
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ข้อ 1 ใช้ราชาศัพท์ได้ถูกต้อง
                   เสด็จฯ หมายถึง เสด็จพระราชดำเนิน (ใช้กับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารได้)
                  ทรงเปิด หมายถึง เปิด
                  พระราชานุสาวรีย์ หมายถึง อนุสาวรีย์ (ใช้กับสมเด็จพระบรมราชินีได้)
          ข้อ 2 ราชาศัพท์ที่ใช้ไม่ถูกต้อง คือ เสด็จพระราชดำเนิน (ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี พระยุพราช และเจ้านายชั้นสูง)
          ข้อ 3 ราชาศัพท์ที่ใช้ไม่ถูกต้อง คือ สิ้นพระชนม์ ประชวร (ใช้กับสมเด็จพระราชาคณะไม่ได้)
          ข้อ 4 ราชาศัพท์ที่ใช้ไม่ถูกต้อง คือ พระบรมฉายาลักษณ์ (ใช้กับพระมหากษัตริย์)
**********************************************

4 ความคิดเห็น: