ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเชิงดอยสุเทพ
CHOENGDOISUTHEP WILDLIFE AND NATURE EDUCATION CENTERกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ก่อนถึงประตูทางเข้า จะมีลานที่ยังไม่เสร็จเรียบร้อย พร้อมองค์พระ
เข้ามาแล้วข้างลานจอดรถ จะมีกรงสำหรับสัตว์ปีก
เจ้าไอซ์ เมื่อก่อนเดินไปมาในป่า แต่ระยะหลังมายืนข้างๆ ป้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว
ทางเดินเท้าเข้าชมป่า หรือจะขี่มอเตอร์ไซค์เข้าชมก็ได้ แต่ไปได้แค่วัดร้างเท่านั้น
แอบส่องฝูงกวาง ละมั่ง
สถานที่นี้อยู่บนเส้นทางที่เราสามารถเดินทางไปวัดอุโมงค์, บ้านข้างวัด, วัดร่ำเปิง เป็นการชมธรรมชาติที่เราสามารถเข้าใกล้ชิดสัตว์ได้ในระยะเผาขนกันเลยทีเดียว เว้นเสียแต่สัตว์ปีกที่มีโอกาสบินหายไปได้ ก็จะอยู่ในกรง สัตว์บางประเภทจะถูกแบ่งโซนการอยู่อาศัยกึ่งกำหนดพื้นที่ แต่ก็ยังอยู่สภาพป่าเปิดให้เราเข้าชมได้
โอกาสสัมผัสสัตว์ต่างๆ มีมากครับ แต่เจ้าหน้าที่จะแนะนำว่า กรุณาอย่าสัมผัสสัตว์โดยตรง เพราะอาจเกิดอันตรายได้
สิ่งที่เราสามารถสัมผัสได้ในบรรยากาศการมาเยี่ยมชมที่ศูนย์ฯ นี้ ก็คือ การให้อาหารสัตว์
เราสามารถหาซื้อผักสด ผลไม้สด ซึ่งเราสามารถหาซื้อได้จากตลาดใกล้ๆ หรือจากที่ไหนก็ได้ แล้วสามารถหอบหิ้วเข้าไปให้อาหารสัตว์ได้ แต่ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ก็ให้คำแนะนำว่า ควรระมัดระวังและไม่ใกล้ชิดสัตว์จนน่าจะเกิดอันตรายได้ เพราะสัตว์อาจเดินเข้ามาใช้เขาเข้าเบียดเราได้ (เขาสัตว์คมมากๆ ครับ)
อีกทางหนึ่งก็คือ เราอาจขอติดรถขนผักที่เจ้าหน้าที่ขนมาให้อาหารสัตว์ เพื่อไปชมสัตว์ใกล้ๆ แล้วเราอาจสมทบผักสด หรือ ผลไม้สด ไปร่วมด้วยกับรถนี้ก็ได้ครับ
ในการขนผักสดนี้ ได้สอบถามเจ้าหน้าที่ พบว่าแต่ละคันรถกระบะ (เก่าๆ) ราคาเที่ยวละ 200 บาท โดยรับซื้อมาจากตลาดวโรรส (กาดหลวง) ซึ่งในการนี้ ก็อยากเป็นกระบอกเสียงให้ผู้สนใจทั้งหลาย เข้าร่วมทุนในการดูแลสัตว์ได้ ณ ศูนย์ฯ แห่งนี้ได้เลยครับ
...... วัดพระธาตุแสงจันทร์ (ร้าง)
เป็นหนึ่งในวัดร้างอรัญญิกนอกเมืองเชียงใหม่ด้านตะวันตก
ประกอบด้วย เจดีย์ประธานซึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังบนฐานแปดเหลี่ยม
มีวิหารตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเจดีย์ประธาน วิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ทางทิศเหนือเป็นอาคารขนาดเล็ก 2 หลัง มีกำแพงกั้นกลางระหว่างพื้นที่แต่ละส่วน
และปรากฏกำแพงแก้วล้อมรอบอาคารทั้งหมด ประตูทางเข้าอยู่ทิศตะวันออก
ด้วยพื้นที่ของวัดพระธาตุแสงจันทร์ที่ตั้งอยู่บนเนินเขา ถูกจำกัดลักษณะสภาพภูมิประเทศ
แผนผังของวัดจึงไม่เป็นไปตามรูปแบบแผนผังของวัดในล้านนาโดยทั่วไป ที่วิหารจะตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธาน
...... จากการดำเนินงานทางโบราณคดี วัดพระธาตุแสงจันทร์ (ร้าง)
สันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา
และน่าจะมีการปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-24 เป็นต้นมา
วัวแดง (Banteng)
..........ลักษณะคล้ายวัวบ้าน แต่มีรูปร่างใหญ่กว่า ขนตามลำตัวมีสีน้ำตาลแดงจนถึงน้ำตาลดำในตัวที่อายุมาก และมีหนังห้อยลงมาใต้คอ มีสีขาวที่วงรอบตา รอบปาก รอบจมูก และรูปใบโพธิ์ที่ก้น ขาทั้งสีข้างมีสีขาวตั้งแต่หัวเข่าจนถึงกีบตีน หากินเป็นฝูง ในฝูงมีตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูง ตัวเมียและตัวผู้ที่ยังไม่โตเต็มวัย ส่วนตัวผู้ที่โตเต็มวัยจะออกหากินตามลำพังและจะกลับมาที่ฝูงในฤดูผสมพันธุ์ ชอบกินหญ้ามากกว่าใบไม้ และกินโป่งเป็นประจำ ตั้งท้องนาน 270-300 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว อายุยืน 20-30 ปี ถิ่นอาศัย ป่าโปร่ง ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง
เนื้อทราย (Hog deer)
.........รูปร่างคล้ายกวางป่า แต่มีขนาดลำตัวเล็กกว่าและสีของลำตัวค่อนข้างจะมีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปมีสีน้ำตาลจนถึงน้ำตาลเข้ม มีเขาเฉพาะตัวผู้ ลักษณะเหมือนเขากวางป่าแต่เล็กกว่า สีเขาของเนื้อทรายจะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล ออกหากินเวลากลางคืน ชอบกินหญ้ามากกว่าใบไม้ ตั้งท้องนาน 240 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ถิ่นอาศัย พบบริเวณป่าที่ราบลุ่ม ริมลำธาร ในอดีตพบชุกชุมบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ไก่ฟ้าหลังขาว (จัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง)
..........ไก่ฟ้าหลังขาวเป็นนกขนาดกลาง-ใหญ่ ความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง ประมาณ 50-125 เซนติเมตร ในประเทศไทย พบ 2 ชนิดย่อยคือ ไก่ฟ้าหลังขาวและไก่ฟ้าหลังขาวจันทรบูร ตัวผู้มีขนาดหงอนบนหัวสีน้ำเงินแก่ยาวคลุมท้ายทอย ใบหน้ามีแผ่นหนังสีแดง ขนตอนบนของลำตัวส่วนใหญ่และปีกสีขาววาวเหมือนเงิน มีลายเป็นเส้นบางๆ สีดำเป็นรูปตัว V อยู่บนขน ตัวเมียมีขนหงอนบนหัวสีน้ำเงินแก่ แต่มีเพียงเล็กน้อยพอสังเกตเห็นเท่านั้น ขนาดตามตัวส่วนใหญ่สีน้ำตาลคล้ำ แข้งสีแดง ไม่มีเดือย
การสืบพันธุ์- เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 3 ปี วางไข่ครั้งละ 4-6 ฟอง ระยะเวลาในการฟักไข่นาน 23-24 วัน โดยตัวเมียฟักไข่เพียงตัวเดียว
อาหาร-อาหารได้แก่ เมล็ดพืช ดอกหญ้า ใบไม้ แมลง ตัวหนอน ไข่มด
ถิ่นอาศัย-อาศัยตามป่าเบญจพรรณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น