วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เที่ยวเส้นทางอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

เที่ยวเส้นทางอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
การเดินทาง
..........การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 ถนนเชียงใหม่-ฝาง ระยะทาง 35 กิโลเมตร จากตัวเมืองเชียงใหม่สามารถขึ้นรถสองแถว (สีเหลือง) จากตัวเมืองเชียงใหม่ได้ที่สถานีขนส่งช้างเผือก บริการตั้งแต่เวลา 05.30-17.30 น. เที่ยวพิเศษ 19.30 น. รถออกทุก 30 นาที

สถานที่ท่องเที่ยว
ห้วยตึงเฒ่า
..........เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่ในบริเวณสำนักส่งเสริมการท่องเที่ยว มีร้านอาหารบริการ อ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร.053-121119
..........เป็นพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชประสงค์จะพัฒนาอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่าให้เป็นพื้นที่หมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง และพัฒนาไปสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเขตเมืองบนเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่
..........ทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ ประชาชนทั้งในและนอกจังหวัดเชียงใหม่จะพาครอบครัวมาพักผ่อนหย่อนใจที่ห้วยตึงเฒ่าเป็นจำนวนมาก ผู้มาเยือนสามารถนั่งรับประทานอาหารในบรรยากาศสบาย ๆ ตามร้านรอบ ๆ อ่างเก็บน้ำ แถมมีกิจกรรมให้ทำไม่รู้เบื่อ ทั้งการปั่นจักรยานน้ำ ลงเล่นน้ำที่บริเวณหาดทรายขาว และหาดสำราญ นั่งตกปลาริมสันเขื่อน เมื่อรู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ก็ยังมีร้านนวดตัวและนวดเท้าไว้คอยบริการในราคาประหยัด
..........สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการทำกิจกรรมเชิงผจญภัยโดยเฉพาะที่นี่ก็มี "เกมโซน" เตรียมไว้ให้สนุกกับกิจกรรมจากประเทศนิวซีแลนด์ เช่น "สปริงจี้" มีลักษณะเป็นยางยืดผูกไว้กับตัวผู้เล่น ทำให้เด้งขึ้นลงและหมุนอยู่กลางอากาศอย่างสนุกสนาน นับเป็นการฝึกการทรงตัวที่ยอดเยี่ยมเช่นเดียวกับ "แทรมโพลีน" มีลักษณะเป็นเตียงทรงกลมที่ขึงผ้ายึดเอาไว้ ผู้เล่นสามารถกระโดดเด้งขึ้นลงตามจังหวะที่ต้องการได้
..........นอกจากนี้ยังมีการยิงเพนต์บอล ขี่รถ ATV ตะลุยทางวิบาก รวมไปถึงการวิ่งออกกำลังกายปั่นจักรยานเสือภูเขาในสวนสาธารณะ และกิจกรรมกลุ่มอย่างกระโดดหอสูง 34 ฟุต ก็มีให้ลองด้วยเช่นกัน
..........สำหรับผู้ที่ต้องการพักค้างคืนที่ห้วยตึงเฒ่าก็สามารถเลือกได้ทั้งแบบนอนกางเต็นท์ อิงแอบแนบชิดธรรมชาติ หรือจะเลือกบ้านพักเป็นหลัง ๆ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน


พิพิธภัณฑ์ พระตำหนักดาราภิรมย์
..........ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายดารารัศมี อำเภอแม่ริม เปิดให้เข้าชม วันอังคาร-วันอาทิตย์ เปิดตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก, นักศึกษาในเครื่องแบบ 10 บาท พระสงฆ์และนักเรียนในเครื่องแบบเข้าชมฟรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.053-299175

สวนกล้วยไม้และฟาร์มผีเสื้อ
..........เลี้ยวซ้ายบริเวณสามแยกแม่ริม-สะเมิง มีสวนกล้วยไม้ ฟาร์มผีเสื้อ อยู่หลายแห่ง อาทิ
          สายน้ำผึ้งพิพิธภัณฑ์กล้วยไม้ไทย
          ค่าเข้าชม เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท มีบริการอาหารและเครื่องดื่ม เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. โทร. 053-298771-2 โทรสาร. 053-297892
          แม่แรมออร์คิด
          ค่าเข้าชม เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท มีบริการอาหารและเครื่องดื่ม เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. โทร. 053-298801
          สวนบัวแม่สาออร์คิด
          ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท เด็ก 25 บาท เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 07.30-16.30 น. โทร. 053-298564
          ออร์คิดแอนด์บัตตเตอร์ฟลายฟาร์ม
          ค่าเข้าชม เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท มีบริการอาหารและเครื่องดื่ม (รองรับได้ประมาณ 200 ท่าน) เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 07.30-17.00 น. โทร. 053-299588, 053-299222
          โรงเรียนสอนลิง
          ตั้งอยู่ถัดจากแม่แรมออร์คิดมีการแสดงความสามารถพิเศษของลิง เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่ 09.00-16.15 น.
          ฟาร์มงู
          ตั้งอยู่ประมาณกิโลเมตรที่ 3 เส้นทางแม่ริม-สะเมิง เปิดให้เข้าชมทุกวัน โทร. 053-860719
          พิพิธภัณฑ์บ้านคำอูน
          ตั้งอยู่ประมาณกิโลเมตรที่ 4 เป็นแหล่งรวบรวมของศิลปะวัตถุโบราณของหายากยุคบ้านเชียงจนถึงปัจจุบัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 10.00-16.00 น. โทร. 053-298068

น้ำตกแม่สา
..........แยกเข้าซ้ายมือตรงกิโลเมตรที่ 7 เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงของอำเภอแม่ริม

ปางช้างแม่สา
..........เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-15.00 น. รอบการแสดงช้าง 08.00 น. 09.40 น. 13.30 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 120 บาท โทร. 053-206247-8

X-Centre
..........มีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายอย่าง ได้แก่ BungyJump, Indoor olrKarts, Trail Bike, Offroad Buggy, Paintball, Xorb, Sports Bar and Restaurant Extreme Sports Centre Co.,ltd. www.chiangmai-xcentre.com โทร. 053-297700, 087-8336655

สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์
..........ตั้งอยู่ประมาณกิโลเมตรที่ 12 ถนนสายแม่ริม-สะเมิง เปิดบริการทุกวัน ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 40 บาท ค่ามอเตอร์ไซค์เข้า 30 บาท

ความเป็นมา
..........สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2536 มีเนื้อที่ประมาณ 6,500 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณชายเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ทำหน้าที่เป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้ไทยเพื่อการอนุรักษ์ ขยายพันธุ์ ศึกษาวิจัย และการบริการความรู้ทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอันมีค่าของประเทศ รวมทั้งทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการการศึกษาและทัศนนิเวศน์
..........ในปี พ.ศ. 2537 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาต ให้ใช้ชื่อสวนพฤกษศาสตร์สากลแห่งแรกของประเทศไทยแห่งนี้ว่า "สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์"

Background
..........The garden was established in 1993 by the Botanical Garden Organization (BGO) under the ministry of the Natural Resources and Environment. The garden in situated at the foothills of Doi Suthep-Pui, Mae Rim, Chiangmai Province, covering an area of about 1,000 hectares.
..........The main objective of the garden are to serve as a center of Thai flora for botanicalstudy and research, to render services concerning biodiversity and environmental conservation, as well as to provide an aesthetic place for the general public.
..........In 1994, the BGO received a great honor from H.M. Queen Sirikit to grant a royal permission to name the garden after Her Majesty's name "Queen Sirikit Botanic Garden"


..........Canopy Walks (ทางเดินเหนือเรือนยอดไม้) ความยาวประมาณ 369 เมตร และมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 20-25 เมตร

This Canopy Walks covers 369 meters and a height of around 20-25 meters. Get a birdeye view and discover the forest canopy.

บ้านม้งแม่สาใหม่
..........เลี้ยวซ้ายมือตรงกิโลเมตรที่ 12 เข้าไปอีก 7 กิโลเมตร

ปางช้างโป่งแยง
..........ทางเข้าไร่กังสดาล กิโลเมตรที่ 18

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย
..........ตั้งอยู่ประมาณกิโลเมตรที่ 7-8 บนถนนสายแม่ริม-สะเมิง ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม
< < <   ชิมชาสดรสเลิศ แหล่งเกิดตำนานขุนหลวงฯ   > > >


การเดินทาง
..........ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปตามทางหลวงหมายเลข 107 ถึงอำเภอแม่ริม เลี้ยวซ้ายที่กิโลเมตร 17 เข้าสู่ทางหลวงสายแม่ริม-สะเมิง หมายเลข 1096 ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 15 เลี้ยวขวาไปอีก 7 กิโลเมตร จะถึงศูนย์ฯ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที
คนพื้นถิ่น
..........ชนเผ่าม้ง คนเมือง และมีจีนฮ่อ ลีซอ เย้า อาศัยอยู่บ้าง
ประเภทของการท่องเที่ยว
......ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
..........ชมชีวิตความเป็นอยู่ของ ม้ง เย้า ลีซอ จีนฮ่อ และคนเมือง ใน 5 หมู่บ้าน คือ บ้านสามหลัง บ้านหนองหอยเก่า บ้านแม่ชิ และบ้านปางไฮ สิ่งที่น่าสนใจของศูนย์ฯ คือ เรื่องของขุนหลวงวิลังคะที่ม่อนล่อง และวิถีชีวิตของม้ง
......เทศกาลงานประเพณี
..........ปีใหม่ม้ง ในเดือนธันวาคม มีการไหว้ผีบรรพบุรุษ การเล่นโยนลูกช่วง (ลูกบอลผ้า) ระหว่างชายหญิง และการแข่งขันตีลูกข่างของผู้ชาย
..........กินข้าวใหม่ ในเดือนพฤศจิกายน
..........ประเพณีอยู่กรรม เป็นการสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา ทำในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ของทุกปี
......ท่องเที่ยงเชิงเกษตร
..........แปลงผัก หรือดอยผัก ที่ชาวบ้านใช้พื้นที่ทั้งดอยหลายม่อนดอย ปลูกบริเวณบ้านหนองหอยเก่า และบ้านหนองหอยใหม่
..........แปลงพัฒนาพืชผักและสมุนไพรของโครงการหลวง ปลูกเป็นขั้นบันไดตามไหล่เขา และปลูกในโรงเรือน
..........แปลงเกษตรหมู่บ้านสามหลัง ชมแปลงปลูกผักและดอกไม้ลดหลั่นกันตามไหล่เขาเป็นแบบขั้นบันได
..........แปลงพืชผักของบ้านแม่ชิ ชมพืชผัก และดอกไม้ปลูกในโรงเรือน
......ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ
..........เส้นทางม่อนล่อง (Rock Tower) หน้าผาสูง มองไปไกล ๆ จะเห็นเมืองลำพูน เล่ากันว่าเป็นที่ฝังศพขุนหลวงวิลังคะ ปัจจุบันมีศาลขุนหลวงวิลังคะอยู่ จากจุดนี้จะมองเห็นทิวทัศน์กว้างไกล
..........เส้นทางบ้านสามหลัง ห่างจากศูนย์ฯ 1 กิโลเมตร มองเห็นทิวทัศน์บ้านม้งแม่สาใหม่ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และโป่งแยง
..........เส้นทางม่อนดอย ใกล้บ้านหนองหอยใหม่ ระหว่างทางปลูกพืชเมืองหนาว และปลูกผักแบบขั้นบันได
..........เส้นทางบ้านแม่ชิ-ปางไฮ ชมการปลูกผักในโรงเรือนของคนเมือง และชาวม้ง จากนั้นแวะชมน้ำตกวังฮาง และน้ำตกตาดหมอก
อาหาร
..........มีร้านค้า และร้านอาหารในศูนย์ฯ
..........ชิมชาสดทำจากสมุนไพรไทย จีน ฝรั่ง 7 ชนิด ได้แก่ แจแปนนิสมินท์ มินท์ดำ ชาหอม (โอ้ม) คาร์โมมายด์ หญ้าหวาน เลมอนทายม์ เลมอนบาล์ม
ของฝาก
..........สินค้าหัตถกรรม ชมภูมิปัญญาของชาวเขาเผ่าม้งในการทำเครื่องดนตรี เช่น ขลุ่ย แคน กลอง การปักผ้าของหญิงชาวม้ง กระเป๋าใส่มือถือ ตุ๊กตา เสื้อ กระโปรง และมีด จอบ
..........สินค้าเกษตรกรรม เยี่ยมชม และอุดหนุนพืชผักผลไม้ และดอกไม้จากศูนย์ฯ ทั้งบ๊วย พีช พลับ อาโวกาโด องุ่น เสาวรส กาแฟ
สถานที่พัก
บ้านพักภายในศูนย์ฯ
..........บ้านพัก 1 ห้องนอน พักได้ 3-6 คน (พร้อมเครื่องนอน ชุดรับแขก เครื่องทำน้ำอุ่นและโทรศัพท์ภายใน)
..........บ้านพัก 2 ห้องนอน พักได้ 4-8 คน นอกจากนี้มีเต้นท์พร้อมถุงนอนและหมอนให้เช่า
บริการพิเศษ
..........มัคคุเทศก์ท้องถิ่น
..........จัดนันทนาการ มีการแสดงของเผ่าม้ง สนใจติดต่อล่วงหน้า

ม่อนแจ่ม
..........ตั้งอยู่ประมาณกิโลเมตรที่ 7-8 บนถนนสายแม่ริม-สะเมิง (outing-Camping-Meeting) เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ภายใต้การดูแลของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย มีบริการที่พักและร้านอาหาร

วัดพระพุทธบาทสี่รอย
..........ตั้งอยู่ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม เลี้ยวซ้ายจากเส้นทาง 107 ที่ปากทางสะลวงไปตามทางถนนลาดยางที่แคบ วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยซ้อนกันอยู่ 4 รอย

ข้อมูลท่องเที่ยวเชียงใหม่-เทศบาลนครเชียงใหม่

ข้อมูลท่องเที่ยวเชียงใหม่-เทศบาลนครเชียงใหม่
แผนที่วงแหวนรอบนอกเมืองเชียงใหม่
แผนที่อำเภอเมืองเชียงใหม่

วัดเชียงมั่น
..........ตั้งอยู่บนถนนราชภาคินัย เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดภายในตัวเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อพญามังรายมหาราชทรงยกพระตำหนักที่ประทับชื่อตำหนักเชียงมั่น ถวายเป็นพระอารามให้ชื่อว่าวัดเชียงมั่นเมื่อ พ.ศ.1839 วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระเสตังคมณี หรือ พระแก้วขาว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่ มีสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลมฐานช้างล้อม พระอุโบสถ และหอไตร 

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
..........ตั้งอยู่บนถนนสามส้าน เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานอยู่ในวิหารลายคำ เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ชาวเมืองจะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้แห่ไปตามถนนรอบเมืองเพื่อให้ประชาชนสรงน้ำโดยทั่วถึงกัน สถาปัตยกรรมของวัดนี้ได้แก่ วิหารลายคำที่มีจิตรกรรมฝาผนังงดงาม พระอุโบสถ หอไตรที่มีปูนปั้นรูปเทวดาประดับและเจดีย์ทรงกลม

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
..........ตั้งอยู่บนถนนพระปกเกล้า วัดที่มีเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่คือวัดเจดีย์หลวง ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางเมือง หน้าประตูทางเข้าวิหารมีบันไดนาคเลื้อยลงมางดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาแต่เดิม ได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ


หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
..........เป็นอาคารเก่าแก่ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมงดงามสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2467 เคยใช้เป็นหอคำศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพ และศาลาว่าการจังหวัดเชียงใหม่ ภายในหอศิลป์ได้จัดแบ่งพื้นที่อาคารด้านหน้าเป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวร อาคารหลังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม นิทรรศการหมุนเวียน ห้องจำหน่ายของที่ระลึก ห้องนิทรรศการล้านนา ห้องสารสนเทศ และห้องภัณฑารักษ์ เปิดทำการวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 08.30-17.00 น. ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ปิดทำการวันจันทร์และวันหยุดเทศกาลสงกรานต์)

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (ศาลแขวงเก่า)
..........จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของเมือง และเรื่องราวสำคัญแต่ครั้งอดีต การนำเสนอความงดงามด้านศิลปศาสตร์ของภูมิปัญญาล้านนาจากศิลป์ของชาวบ้าน ทั้งเครื่องจักสาน การแต่งกายเสื้อผ้าเครื่องประดับ คีตนาฏศิลป์ ของใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาและศิลปะล้านนาร่วมสมัย

หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่
..........จัดแสดงประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ตั้งแต่สมัยก่อนราชวงศ์มังราย ยุคราชวงศ์มังราย ยุคการปกครองโดยพม่า ยังมีส่วนของห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดพื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่

วันเวลาเปิดทำการ
..........เวลา 08.30-17.00 น. วันอังคาร ถึง วันอาทิตย์ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ปิดทำการวันจันทร์และวันหยุดเทศกาลสงกรานต์)
อัตราค่าเข้าชม
..........คนไทยผู้ใหญ่ 20 บาท เด็กไทย 10 บาท
..........ชาวต่างชาติผู้ใหญ่ 90 บาท เด็กต่างชาติ 40 บาท
ตั๋วชุดเข้าชมพิพิธภัณฑ์ทั้ง 3 แห่ง (หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่, หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่, พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา) ใช้ได้ภายใน 7 วัน
อัตราค่าเข้าชม
..........คนไทยผู้ใหญ่ 40 บาท เด็กไทย 20 บาท
..........ชาวต่างชาติผู้ใหญ่ 180 บาท เด็กต่างชาติ 80 บาท

ถนนคนเดินวัวลาย มีเป็นประจำทุกวันเสาร์ คล้าย ๆ กับถนนคนเดินท่าแพ เรียกว่าหากเราสะดวกไปเดินวันเสาร์ หรือวันอาทิตย์ ก็ตามสะดวกครับอยู่ไม่ไกลกันนัก ทั้ง 2 ถนนคนเดินนี้ หากนำรถยนต์ส่วนตัวไปคงไม่สะดวกนักในเรื่องที่จอดรถครับ ใช้รถสาธารณะ หรือรถมอเตอร์ไซค์สะดวกกว่าครับ

ตารางเวลาเดินรถไฟ

ตารางเวลาเดินรถไฟ

กำหนดเวลาเดินรถไฟสายเหนือ




กำหนดเวลาเดินรถไฟสายใต้

 



กำหนดเวลาเดินรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ



กำหนดเวลาเดินรถสายตะวันออก


กำหนดการจัดงาน ประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2560

กำหนดการจัดงาน ประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2560

ข้าวต้มหัวหงอก ขนมชนิดหนึ่งของชาวล้านนา

ข้าวต้มหัวหงอก
ข้าวต้มหัวหงอก เป็นขนมชนิดหนึ่งของชาวล้านนา ปัจจุบันก็ยังนิยมรับประทาน และมีขายทั่วไปในท้องตลาด

ข้อมูลจากวารสารเทศบาลนครเชียงใหม่ เวียงพิงค์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 209 ประจำเดือนกันยายน 2560 หน้า 9

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แป้งแดง

แป้งแดง
..........แป้งแดง......เป็นอาหารพื้นเมืองประเภทอาหารคาว มีเครื่องจิ้ม แป้งแดงมี 2 ชนิด คือ แป้งแดงปลา (ทำด้วยเนื้อปลา) และแป้งแดงหมู (ทำด้วยเนื้อหมู) การหมักต้องอาศัยข้าวคั่วช่วย และเมื่อปรุงเสร็จแล้วจะมีลักษณะข้นและมีสีแดงอมชมพู จึงเรียกว่า "แป้งแดง"

.........วิธีหมัก......เตรียมเนื้อหมูสดหรือปลาสด ถ้าเป็นปลาตัวเล็ก ๆ ก็ใช้ทั้งตัว ถ้าเป็นปลาตัวใหญ่หรือเนื้อหมู ควรหั่นเป็นชิ้นขนาดประมาณ 1.5 x 2 นิ้ว แล้วล้างให้สะอาดใส่ตะแกรงพักให้สะเด็ดน้ำ ใช้เนื้อที่เตรียมไว้คลุกเกลือให้ทั่ว ใส่ภาชนะประเภทที่ไม่มีสารละลายเจือปน (เช่น อ่างดินเผา หม้อเคลือบ ขวดโหล) หมักทิ้งไว้ 1 คืน แล้วจึงล้างเกลือออกให้หมด นำข้าวคั่ว (ใช้ข้าวเหนียวคั่วพอเหลืองหอม) ป่นพอหยาบ ๆ และใช้น้ำตาลปีบ (ไม่ใช่น้ำตาลทราย) คลุกเข้าด้วยกัน เติมดินประสิวที่ป่นละเอียดเล็กน้อย และใส่สีพองาม (ควรจะเป็นสีอ่อน) คลุกให้เข้ากันดีอีกครั้ง แล้วใช้ภาชนะเดิมใส่ปิดฝาให้มิดชิด หมักทิ้งไว้ประมาณ 4 - 6 วัน ก็จะได้แป้งแดงดิบเพื่อนำไปปรุงเป็นอาหารต่อไป

..........วิธีปรุง......เมื่อได้แป้งแดงดิบที่หมักเรียบร้อยแล้ว อาจนำมาปรุงให้สุกได้ 2 วิธี คือ ปรุงแบบหลนและปรุงแบบนึ่ง

..........วิธีปรุงแบบหลน......แบ่งแป้งแดงดิบตามจำนวนที่ต้องการใส่ภาชนะ ปรุงรสด้วยตะไคร้หั่นฝอย หอมซอย พริกขี้หนูเด็ดเป็นท่อน ๆ หัวกะทิ ต่อยไข่ใส่คนพอแตก ตั้งไฟขนาดปานกลาง สังเกตพอไข่สุกปลาสุก ชิมและปรุงรสตามชอบ แล้วใช้รับประทานได้

..........วิธีปรุงแบบนึ่ง......ปรุงรสและทำอย่างเดียวกับแบบหลน แล้วนำไปนึ่งในลังถึง ให้น้ำเดือดจัดประมาณ 15 นาที ก็ใช้รับประทานได้

..........การรับประทานแป้งแดง......นิยมรับประทานคู่กับผักจิ้ม ซึ่งใช้ผักสดได้ทุกชนิด ได้แก่ประเภท ผล หัว แง่ง และใบ เช่น กะหล่ำปลี ขมิ้นขาว มะเขือเปราะ แตงกวา สะตอ ยอดและฝักกระถินอ่อน ฯลฯ
(ข้อมูลจากสารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ หน้า 2125 - 2126 โดย คุณอุบล จิตต์ธรรม การศึกษาบัณฑิต (คหกรรมศาสตร์) วิทยาลัยครูสงขลา )