หนังสือแววฉลาด โดย อ.ธัญ เสรีรมย์
(สำหรับ อายุ 4 - 20 ปี)
ผู้ซึ่งมีผลงาน
ผู้คิดประดิษฐ์ของเล่นประเทืองปัญญาหลายชิ้น โดยเฉพาะ
(ของเล่น "Integrate วิศวกรน้อย" ภาค 1 ได้รับ 2 รางวัลระดับชาติ
- จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
- จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม)
จาก
คำนำ ของหนังสือเล่มนี้กล่าวว่า
โลกมีความเจริญก้าวหน้าได้ทุกวันนี้ เพราะมนุษย์เป็นผู้มีเชาวน์ปัญญาเป็นเลิศ ทุกคนจะเกิดความภาคภูมิใจเมื่อลูกหลานของท่านเป็นคนฉลาด ความฉลาดสามารถฝึกได้ซึ่งหนังสือเล่มนี้มีส่วนที่จะช่วยท่านได้
เหตุจูงใจที่ทำให้ข้าพเจ้าต้องเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา เพราะข้าพเจ้าได้สัมผัสกับเด็กเป็นจำนวนมาก และพบว่า เด็กชั้น ป.6 บางคนมีความรู้ความสามารถมากกว่าเด็กชั้น ม.3 ข้าพเจ้าเชื่อว่าการศึกษาในชั้นเรียนเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ จึงเกิดความคิดที่ว่าจุดใดเป็นจุดหักเหความคิดของมนุษย์และพบว่าหลักคณิตศาสตร์นี้เองเป็นกฎของเชาวน์ปัญญาโดยแท้ มีความสัมพันธ์กับมนุษย์มาก และก็มีความสัมพันธ์กับสัตว์โลกอื่น ๆ ด้วย ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าความฉลาดนั้นสามารถพัฒนาได้ ถ้ามีวิธีการที่ดี ในหนังสือเล่มนี้ จะโยงใยสิ่งต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กันตามความคิดและประสบการณ์ของข้าพเจ้า
ข้อทดสอบเชาวน์ปัญญาในหนังสือเล่มนี้แฝงไว้ด้วยกฎของความฉลาด จะไม่มีคำบรรยาย ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้เด็กฝึกสังเกตเอาเอง
ประโยชน์ของหนังสือเล่มนี้
1. ฝึกให้เป็นนักสังเกตที่ดี เพราะความรู้ นอกจากได้รับจากการฟัง การอ่านแล้ว ยังต้องได้รับจากธรรมชาติโดยการสังเกตด้วย
2. รู้จักกฎเชาวน์ปัญญาและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
3. สามารถพัฒนาเชาวน์ปัญญาของตนให้ดีขึ้น
หมายเหตุ หนังสือเล่มนี้ซื้อไว้ราว ๆ 10 ปีที่แล้ว ต้นฉบับหลังจาก Scan เก็บไว้แล้ว ก็ทิ้งไปเนื่องจากกระดาษเก่ามาก ๆ พอดีได้ค้นหาไฟล์โน่นนี่ไปพบเข้า เลยนำมาแนะนำให้รู้จักกัน
สารบัญ
ข้อทดสอบก่อนเรียน หน้า 2
ธรรมชาติเชาวน์ปัญญา หน้า 33
กฎเชาวน์ปัญญา หน้า 38
ข้อทดสอบหลังเรียน หน้า 62
เฉลย หน้า 93
ประโชขน์ของหนังสือเล่มนี้
1. ฝึกให้เป็นนักสังเกตที่ดี เพราะความรู้ นอกจากได้รับจากการฟัง การอ่านแล้ว ยังต้องได้รับจากธรรมชาติโดยการสังเกตด้วย
2. รู้จักกฎเชาวน์ปัญญาและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
3. สามารถพัฒนาเชาวน์ปัญญาของตนให้ดีขึ้น
ข้อทดสอบก่อนเรียน (ฉบับ 1) สำหรับอายุ 4 -20 ปี เวลา 15 นาที
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด
เฉลยข้อ 3
ธรรมชาติกับเชาวน์ปัญญา
ลูกวัวกับเด็กที่เกิดได้เพียง 1 วันพร้อมกัน ถามว่า ใครฉลาดกว่ากัน
ทำไมลูกวัวที่เกิดได้เพียง 1 วันจึงฉลาดกว่าเด็กที่เกิดมาพร้อมกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี เด็กกลับฉลาดกว่าลูกวัว ที่เป็นเช่นนี้เพราะสัตว์อยู่รอดด้วยสัญชาตญาณ ส่วนมนุษย์อยู่รอดด้วยการเรียนรู้และก็ตรงกับแนวความคิดของมอนเตสซอรี่ นักวิชาการชาวอิตาลี ได้กล่าวไว้ว่า "สัญชาตญาณของสัตว์คงที่ สัญชาตญาณของมนุษญ์พัฒนาได้"
ธรรมชาติมอบความฉลาดให้กับสัตว์ต่าง ๆ ไม่เท่าเทียมกัน บางชนิดได้มาก บางชนิดได้น้อย แต่ก็ไม่มากเท่ามนุษย์ ธรรมชาติตั้งใจมอบความฉลาดให้กับมนุษย์มากกว่าสัตว์อื่นก็จริงอยู่ แต่ก็ไม่ได้ให้ง่าย ๆ จะต้องฝึกหัดก่อนจึงจะเกิดได้ เช่นเดียวกับการว่ายน้ำเป็นของมนุษย์ จะต้องฝึกหัดก่อนจึงจะว่ายเป็น และจะว่ายน้ำเป็นตลอดไป ซึ่งต่างกับสัตว์ เช่น สุนัข ลิง วัว ม้า ฯลฯ เกิดมาก็ว่ายน้ำเป็นโดยสัญชาตญาณไม่ต้องฝึกหัดมาก่อน
ส่วนตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นระหว่างลูกวัวกับเด็กนั้น ลูกวัวเกิดมาก็ฉลาดโดยสัญชาตญาณ ลูกวัวรู้ว่านี่คือแม่วัว นี่คือนมสามารถเดินไปกินได้เอง และรู้ว่าสุนัขนั้นเป็นศัตรู จะต้องคอยหลบหลีกจึงจะปลอดภัย วัวมีความฉลาดเท่านี้ เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี ความฉลาดก็ยังคงเดิมหรืออาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ต่างกับเด็กที่เกิดมา 1 วัน เด็กจะไม่รู้เรื่องอะไรทั้งสิ้น ถือได้ว่าความฉลาดนั้นเกือบเท่าศูนย์ เด็กทารกไม่รู้ว่านี่คือแม่ ไม่รู้ว่านี่คือนมแม่ ถ้าสมมติว่ามีใครเอานิ้วมือชนที่ปากเด็ก เด็กจะตอบสนองดูดทันที ไม่รู้ว่าเป็นอะไร และไม่รู้อีกว่าอะไรคือศัตรู เด็กไม่กลัวอะไรทั้งนั้น ช่วยตัวเองไม่ได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี เด็กเริ่มมีการพัฒนาทางร่างกายและสมอง เด็กมีความฉลาดเพิ่มขึ้น รู้ว่านี่คือแม่, พ่อ, นม, น้ำ รู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้มากและสามารถแสดงกิริยาอาการต่าง ๆ ที่อยู่ในใจออกมาให้เห็นได้
ความฉลาดของเด็กเริ่มฝึกตั้งแต่เมื่อใด
มร."มะสุรุ อิยูกะ" ผู้ก่อตั้งอุตสาหกรรม โซนี่ ของญี่ปุ่น ได้เขียนในหนังสือเล่มหนึ่งว่า KIDDER GARTEN IS TOO LATE "ชั้นอนุบาลก็ยังสายเกินไป"
การว่ายน้ำเป็นของมนุษย์ ถ้าไม่ยอมฝึกหัดเลยก็จะว่ายไม่เป็น แต่ถ้าเริ่มฝึกหัดว่ายน้ำเมื่อใดก็เริ่มว่ายเป็นตั้งแต่เมื่อนั้น และการพัฒนาการของเด็กจะค่อย ๆ เป็นไปทีละขั้นทีละตอน แต่ถ้าเราไม่ฝึกเด็กเลย ความฉลาดย่อมหยุดนิ่ง
การฝึกเชาวน์ปัญญาเด็กจำเป็นต้องมีอุปกรณ์การฝึก และอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายก็คือ ของเล่นประเทืองปัญญา หนังสือต่าง ๆ หรือกิจกรรมกลุ่มที่สนุกและการเล่นเกมแข่งขัน
การเพาะกายของชายงาม ช่วยกระตุ้นให้เซลล์เนื้อเยื่อเจริญได้สมบูรณ์ กล้ามเนื้อจึงสวยงาม ถ้าหยุดกิจกรรม กล้ามเนื้อจะเหี่ยว ถ้าเริ่มเมื่อวัยเยาว์กล้ามเนื้อจะสมบูรณ์ดีกว่าวัยผู้ใหญ่ เมื่อกล้ามเนื้อมากย่อมมีพลังมาก
การฝึกเด็กให้ได้คิดเป็นประจำด้วยอุปกรณ์ก็เช่นกัน ช่วยทำให้ใยประสาทภายในสมองเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ถ้าจำนวนเส้นใยประสาทมากย่อมมีพลังความคิดมาก
รู้ได้อย่างไรว่าเด็กคนนี้ฉลาด
เด็กที่สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ผลดีเยี่ยม เป็นต้นว่า ทำงานได้สำเร็จ ถูกต้อง รวดเร็ว มีวิธีทำแบบง่าย ๆ และมีความมั่นใจ ย่อมรู้ได้ว่า เด็กคนนั้นเป็นเด็กฉลาด
ทำไมเด็กฉลาดจึงเก่งกว่าเด็กทั่วไป
ถ้าตั้งคำถามนี้ให้เด็กฉลาดตอบ เด็กตอบไม่ถูก ขออธิบายว่า เด็กฉลาดนั้นมีกฎเชาวน์ปัญญาในสมองแล้ว แต่ละคนมีมากน้อยไม่เท่ากัน กฎเชาวน์ปัญญาที่ว่านี้คือกฎคณิตศาสตร์นั่นเอง เช่น กฎการเท่ากัน กฎการสมมาตร กฎการอินเวอร์ส เป็นต้น จะกล่าวถึงอย่างละเอียดในตอนต่อไป
ความฉลาดเกิดได้อย่างไร
รายงานของคณะแพทย์ญี่ปุ่นได้ทดลองความแตกต่างระหว่างคนตาบอดกับคนตาดี
ครั้งที่ 1
คณะแพทย์ได้ให้คนตาบอดคลำอักษรเบล แพทย์พบว่า เลือดที่ไปเลี้ยงสมองตรงประสาทสัมผัสนั้นไหลเวียนได้เร็วกว่าคนตาดีที่คลำอักษรเบล เพราะคนตาบอดรู้และเข้าใจอักษรเบลจึงตื่นเต้น
ครั้งที่ 2
ให้คนคนดีมองรูปภาพสวย ๆ แพทย์พบว่า เลือดที่ไปเลี้ยงสมองตรงประสาทการเห็นนั้นไหลเวียนได้เร็วกว่าคนตาบอดมองภาพ เพราะคนตาบอดมองไม่เห็นจึงเฉย ๆ
ครั้งที่ 3
ให้คนทั้ง 2 คลำอักษรที่คล้าย ๆ กับอักษรเบล พบว่าทั้ง 2 คนมีการไหลเวียนของเลือดภายในสมองปกติ เพราะทั้งคู่ไม่รู้เรื่อง
ขั้นตอนการพัฒนาการของเด็ก
- สัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์ สมองเริ่มต้นการทำงาน
- สัปดาห์ที่ 10 - 12 หลังการตั้งครรภ์ หากมีการดักฟังในสมองเด็กจะได้ยินเสียงเป็นจังหวะตลอดเวลา มันเป็นเสียงของเซลล์สมอง ที่ส่งกระแสคลื่นไฟฟ้าเพื่อติดต่อกันเป็นการเชื่อมโยงของวงจรที่ก่อตัวขึ้นในสมอง
- 6 เดือน ของการตั้งครรภ์ เด็กเริ่มแยกเสียงต่าง ๆ เพื่อใช้สร้างคำพูดของตัวเองได้ พ่อแม่ควรพูดกับลูกบ่อย ๆ และอ่านหนังสือให้ฟัง
- ตอนแรกเกิด ทารกมีเซลล์ประสาทอยู่ 100,000 ล้านเซลล์ สมองของเด็กเริ่มการจัดวางระบบการทำงาน มีจุดเชื่อมโยงเพื่อสร้างวงจรมากกว่า 10,000 ล้านจุด เด็กเริ่มมองเห็น แต่ยังไม่ชัดเจน ขาดความสัมพันธ์ระหว่างมือและสายตา พ่อแม่ควรฝึกการใช้สายตา
- ในช่วง 2 เดือนหลังคลอด เด็กเริ่มเก็บประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้สึกของตัวเอง พ่อแม่ควรให้ความรักและเอาใจใส่อย่างมีเหตุผล เด็กเอื้อมมือหยิบฉวยของที่อยู่ใกล้ ๆ ได้
- 4 เดือน หลังคลอด เด็กได้สังเกตและมองเห็น
- 12 เดือน หลังคลอด เด็กเริ่มพูดคำแรกได้
- ในช่วง 1 - 3 ปี เซลล์สมองทารกได้พัฒนาอย่างไร้ขอบเขตและประสานกัน ซึ่งก่อให้เกิดการสั่งสมประสบการณ์ในชีวิต
- ช่วงอายุ 2 ปี สมองของเด็กจะมีจุดเชื่อมโยงและต้องการพลังงานมากกว่าสมองผู้ใหญ่ถึง 2 เท่า
- ช่วงอายุ 4 ปี เด็กจะพัฒนาการเคลื่อนไหวที่ละเอียดอ่อนมากขึ้น พ่อแม่ควรให้อิสระการเคลื่อนไหวที่ไม่เป็นอันตราย ตั้งแต่หยิบ จับสิ่งของ วาดภาพ การเล่นดนตรี
- ช่วงอายุ 1 - 6 ปี การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้ดีที่สุด และหลังจากนั้นความสามารถจะค่อย ๆ ลดลง
- อายุ 10 ปี สมองของเด็กจะโตเต็มที่ จุดเชื่อมโยงที่อ่อนแอก็จะถูกทำลายเหลือแต่เพียงวงจรของสมอง ที่ได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ต่าง ๆ ก่อนหน้านี้
- อายุ 16 ปี สมองจะเกิดการอยู่ตัว เจริญช้า
- ช่วงวัยรุ่นอายุราว 18 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะแสดงออกซึ่งพรสวรรค์และพฤติกรรมอันโดดเด่นที่ได้รับจากการอบรมเลี้ยงดูและประสบการณ์ที่สั่งสมได้โดยสมองออกมาอย่างเต็มที่
กฎเชาวน์ปัญญา
11. สถิติ (Statistics)
สถิติ คือ การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลก่อนตัดสินใจ ในการกระทำสิ่งนั้น ๆ
มนุษย์ที่มีความฉลาด ก่อนทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตามจะต้องศึกษาหาข้อมูลก่อนเสมอ
ดังนั้น กิจกรรมที่ทำลงไปจึงไม่ผิดพลาดและทำสำเร็จด้วยดี
เด็กบางคน ทำข้อสอบเชาวน์ปัญญาชุดนี้ โดยมิได้ศึกษาดูข้อมูลก่อน จึงทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย
12. วิธีเรียงสับเปลี่ยน (Permutation)
วิธีเรียงสับเปลี่ยน คือ วิธีเลือกทางเดิน (หรือสิ่งของ) ต่าง ๆ ชุดแรก เพื่อต่อเชื่อมกับการเลือกทางเดิน (หรือสิ่งของ) ต่าง ๆ ของชุดหลัง เช่น สุนัขจะหาทางเดินไปเอากระดูกได้อย่างไร
การเลือกทางเดินที่มีหลายเส้นทางต่อเชื่อมกัน ครั้งแรกจะต้องลองผิดลองถูก ถ้าไม่สำเร็จ ครั้งต่อไปจะต้องเลือกทางเดินใหม่ที่ไม่ซ้ำกับแบบแรก จึงไม่เสียเวลา และในที่สุดจะสำเร็จ
13. ความน่าจะเป็น (Probability)
ความน่าจะเป็น คือ การคาดการณ์ล่วงหน้าของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นว่ามีมากน้อยเพียงใด เช่น การซื้อสลากเลขท้าย 2 ตัว มีโอกาสถูก 1/100
บริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันภัยใช้หลักการนี้
ข้อทดสอบหลังเรียน (ฉบับ 2) สำหรับ อายุ 4 - 20 ปี เวลา 15 นาที
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด
สรุป
จากการทดลองสุ่ม เด็กกลุ่มหนึ่งจำนวน 100 คน ให้ทำข้อทดสอบชุดนี้ 30 ข้อ ผลปรากฏดังนี้
พบว่าเด็กเรียนเก่ง ส่วนมากทำคะแนนได้สูงกว่าเส้นกราฟ
บรรณานุกรม
ประมวล คิดคินสัน. จิตวิทยาการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2535.
วัลลภา ไทยเหนือ. "วาไรตี้ : จุดหักเหพฤติกรรมเด็ก 3 ปีแรกของชีวิตลูกน้อย" , เดลินิวส์, 3 กันยายน 2540, หน้า 5.
TIME, FEBRUARY 24, 1997