******************************************
1. ข้อใดคือเกณฑ์ที่ใช้จำแนกรัฐออกเป็นรัฐเดี่ยวหรือรัฐรวม
1. อาณาเขตของรัฐ
2. จำนวนประชากรภายในรัฐ
3. จำนวนรัฐบาลภายในรัฐ
4. อำนายอธิปไตยของรัฐ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
- รัฐเดี่ยว หมายถึง รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวเป็นผู้ใช้อำนายสูงสุดในการปกครองประเทศ รัฐเดี่ยวมักเป็นรัฐขนาดเล็ก มีอาณาเขตไม่กว้างขวางนัก คนส่วนใหญ่มีวัฒนธรรมเดียวกัน เช่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ฝรั่งเศส เป็นต้น
- รัฐรวม หมายถึง รัฐที่มีการปกครองโดยรัฐบาล 2 ระดับคือ รัฐบาลกลาง และรัฐบาลมลรัฐ รัฐบาลกลางมีอำนาจควบคุมกิจการที่สำคัญของประเทศ เช่น การต่างประเทศ การทหาร ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นหรือรัฐบาลมลรัฐมีอำนาจดูแลท้องถิ่นของตนเองอย่างเต็มที่ ประเทศรัฐรวมส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่ ประชาชนมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างมากคือ สหพันธรัฐสหรัฐ หรือสหภาพ เช่น สหพันธรัฐเยอรมัน สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
******************************************
2. แนวคิดเรื่อง "โลกพระศรีอาริย์" มีลักษณะสอดคล้องกับแนวคิดของชาติตะวันตกในเรื่องใด
1. รัฐในอุดมคติ
2. รัฐสวัสดิการ
3. เสรีนิยม
4. สังคมนิยม
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
แนวคิดเรื่อง "โลกพระศรีอาริย์" เป็นความเชื่อของชาวพุทธโดยเฉพาะนิกายมหายานที่เชื่อว่าโลกพระศรีอาริย์ คือ โลกแห่งความสุขสงบ สันติสุข ทุกคนเป็นคนดี มีคุณธรรม ไม่เบียดเบียนกัน ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเสมอกัน มีชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข สามารถเปรียบได้กับรัฐในอุดมคติของโธมัส มัวร์ (Sir Thomas More) ที่เขียนเรื่องสังคมนิยมยูโทเปีย (Utopia Socialism) โดยให้ข้อคิดถึงชีวิตของชนชั้นกรรมาชีพที่ควรได้รับความสุข ความเสมอภาค ได้ผลตอบแทนที่เป็นธรรม มีความอยู่ดีกินดี ไม่มีชนชั้น
******************************************
3. ประเทศใดมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบกึ่งประธานาธิบดี
1. ฝรั่งเศส
2. อินเดีย
3. เปรู
4. อินโดนีเซีย
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
- ประเทศฝรั่งเศสมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบกึ่งรัฐสภา กึ่งประธานาธิบดี โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข มีรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
- ประเทศอินเดียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล เช่นเดียวกับประเทศอินโดนีเซีย และเปรู
******************************************
4. ระบอบการปกครองแบบเผด็จการห้ามการดำเนินการตามข้อใด
1. การเลือกตั้ง
2. การลงทุน
3. การประท้วง
4. การตั้งพรรคการเมือง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ระบอบเผด็จการ เป็นการปกครองที่ยึดถือการใช้อำนาจของผู้ปกครองเป็นสำคัญ มากกว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชน และใช้อำนาจเผด็จการควบคุมกิจกรรมและการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้ามมิให้ประชาชนกระทำการประท้วงด้วยวิธีใดก็ตามโดยเด็ดขาด
******************************************
5. ข้อใดคือระบอบการปกครองของอิตาลีสมัยมุสโสลินีเป็นผู้นำ
1. การปกครองระบอบเผด็จการอำนาจนิยม
2. การปกครองระบอบเผด็จการทหาร
3. การปกครองระบอบเผด็จการฟาสซิสต์
4. การปกครองระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ลักษณะการปกครองของอิตาลีสมัยมุสโสลินี คือ การปกครองระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ หรือเผด็จการขวาจัด ให้ความสำคัญแก่ผู้นำอย่างยิ่ง เกิดขึ้นนับตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จนสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงจึงล้มเลิกไป
******************************************
6. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการดำเนินการในข้อใดที่ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย
1. การจัดตั้งกระทรวง
2. การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล
3. การจัดตั้งดุสิตธานี
4. การเลิกทาส
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า พระองค์ทรงดำเนินการเลิกทาสเพื่อเป็นการปูพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยทรงยึดหลักเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งทรงดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยใช้เวลาทั้งหมด 31 ปี
******************************************
7. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของประชาชนที่มีต่อรัฐในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
1. ชำระภาษีอากรให้แก่รัฐ
2. เชื่อฟังคำสั่งของผู้ปกครองรัฐ
3. เข้ารับการศึกษาตามที่รัฐกำหนด
4. ตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
บทบาทและหน้าที่ของประชาชนต่อรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่
1. หน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2. หน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมาย
3. หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
4. หน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร เสียภาษีอากร สืบสานศิลป์วัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
คำตอบในข้อ 1, 3 และ 4 เป็นหน้าที่ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย แต่ข้อ 2 มิใช่แนวคิดตามระบอบประชาธิปไตย เพราะระบอบประชาธิปไตยหน้าที่ของประชาชนมีปรากฎตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีแนวทางตามกระบวนการการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชน
******************************************
8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. เลือกจากบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองได้เพียงพรรคเดียว
2. เลือกจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองต่าง ๆ รวมกันไม่เกิน 100 คน
3. เลือกจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มิใช่พรรคเดียวกันกับการเลือกแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
4. ลงคะแนนเสียงโดยไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใดเลย
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมี 2 วิธีคือ
1. การเลือกแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตละ 1 คน
2. การเลือกแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง สามารถเลือกจากบัญชีรายชื่อของพรรคแต่ละพรรค ซึ่งมีอยู่หลายพรรคการเมือง แต่ประชาชนสามารถเลือกได้เพียงพรรคเดียวเท่านั้น
******************************************
9. ข้อใดไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายอาญา
1. กฎหมายอาญาจัดอยู่ในประเภทกฎหมายมหาชน
2. กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลัง
3. การที่ผู้กระทำความผิดอาญาถึงแก่ความตายไม่ทำให้คดีอาญาระงับ
4. การห้ามประกอบอาชีพบางอย่างเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอาญา
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายมหาชน ใช้บังคับเฉพาะการกระทำผิดที่เกิดขึ้นในอาณาจักร ไม่มีผลย้อนหลัง มีพระราชบัญญัติบางประเภทเมื่อกระทำผิดแล้วต้องได้รับโทษทางอาญา เช่น กฎหมายจราจรทางบก การพนัน ป่าไม้ อาวุธปืน ยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น เมื่อมีการกระทำผิดทางอาญาจะได้รับโทษ แต่หากผู้กระทำผิดอาญาถึงแก่ชีวิตย่อมถือว่าคดีระงับ เพราะผู้กระทำผิดทางอาญาถือเป็นความผิดเฉพาะตัว
******************************************
10. คณะรัฐมนตรีมีอำนาจถวายคำแนะนำการบัญญัติกฎหมายใด
1. รัฐธรรมนูญ
2. กฎกระทรวง
3. พระราชบัญญัติ
4. พระราชกฤษฎีกา
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
พระราชกฤษฎีกา คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายบริหารของประเทศ เพื่อกำหนดการต่าง ๆ ตามที่รัฐธรรมนูญ หรือตามที่พระราชบัญญัติให้อำนาจไว้ หรือวาระระเบียบการต่าง ๆ ทางบริหาร โดยไม่ขัดขืนต่อกฎหมายอื่น
******************************************
11. นางสาวน้ำอ้อยได้ทำพินัยกรรมขณะมีอายุ 14 ปี ต่อมานางสาวน้ำอ้อยเสียชีวิตเมื่อมีอายุ 21 ปี พินัยกรรมที่ทำขึ้นมีผลใช้ได้หรือไม่
1. พินัยกรรมเป็นโมฆะ เพราะอายุไม่ครบที่จะทำพินัยกรรมได้
2. พินัยกรรมมีผลใช้ได้ เพราะเป็นเรื่องที่นางสาวน้ำอ้อยได้ทำเองเฉพาะตัว
3. พินัยกรรมเป็นโมฆะ เพราะไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมให้ทำได้
4. พินัยกรรมมีผลใช้ได้ เพราะนางสาวน้ำอ้อยเสียชีวิตในขณะบรรลุนิติภาวะแล้ว
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
นางสาวน้ำอ้อยได้ทำพินัยกรรมขณะมีอายุ 14 ปี ซึ่งตามกฎหมายถือว่านางสาวน้ำอ้อยยังมิได้บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับคำยินยอมจากผู้ปกครอง หรือผู้แทนโดยชอบธรรม ดังนั้นพินัยกรรมของนางสาวน้ำอ้อยจึงถือเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้ได้
******************************************
12. สิทธิของบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อใด
1. เมื่ออยู่ในครรภ์มารดานับตั้งแต่มารดาเริ่มตั้งครรภ์
2. เมื่อคลอดจากครรภ์มารดาด้วยความปลอดภัย
3. เมื่อบิดามารดาแจ้งการเกิดต่อเจ้าหน้าที่ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
4. เมื่อบิดามารดารับรองว่าเป็นบุตร
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
สิทธิของบุคคลนับตั้งแต่การเริ่มมีชีวิต ทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดาถือว่ามีสิทธิที่จะรักษาชีวิตของตน
******************************************
13. นาย ก ให้นาย ข ยืมเงินไป 50,000 บาท พอถึงกำหนดชำระคืนนาย ข ไม่ชำระคืน นาย ก ขู่ว่าจะฟ้องศาล นาย ข วิตกกังวลมาก ทำให้หัวใจวายตายในวันรุ่งขึ้น ดังนี้ นาย ก จะมีความผิดอย่างใดหรือไม่
1. ผิด ฐานละเมิดทำให้นาย ข ตาย
2. ผิด ทำให้นาย ข ตายโดยประมาท
3. ผิด ทำให้นาย ข ตายโดยไม่เจตนา
4. ไม่มีความผิด
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
จากกรณีนี้ นาย ก ให้นาย ข ยืมเงิน แต่นาย ข ไม่ให้คืนตามกำหนด นาย ก ขู่ว่าจะฟ้องศาล นาย ข วิตกกังวลมาก ทำให้หัวใจวายตายในวันรุ่งขึ้น ดังนั้นนาย ก ไม่มีความผิด เพราะนาย ก ไม่มีเจตนาจะฆ่านาย ข แต่เหตุที่นาย ข ตายเป็นผลจากสุขภาพของนาย ข เอง กฎหมายจึงไม่สามารถเอาผิดกับนาย ก ได้
******************************************
14. ศาลใดเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มากที่สุด
1. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
2. ศาลล้มละลาย
3. ศาลแพ่ง
4. ศาลภาษีอากร
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ศาลที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้คือ ศาลล้มละลาย ซึ่งเป็นศาลชั้นต้น
******************************************
15. ข้อใดแสดงว่ามนุษย์แตกต่างจากสัตว์สังคมชนิดอื่นมากที่สุด
1. มนุษย์แบ่งงานกันทำมากกว่าสัตว์
2. มนุษย์พึ่งพาอาศัยกันมากกว่าสัตว์
3. มนุษย์มีระเบียบสังคมมากกว่าสัตว์
4. มนุษย์เปลี่ยนแปลงแบบแผนความสัมพันธ์ได้มากกว่าสัตว์
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากสัตว์อื่นตรงที่มนุษย์มีความสามารถในการสร้างสรรค์ระเบียบทางสังคมขึ้นมา และดำเนินชีวิตตามระเบียบแบบแผนที่สร้างขึ้นมานั้น ตลอดจนยังรู้จักพัฒนาสิ่งที่ตนสร้างขึ้นให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น และถ่ายทอดไปยังอนุชนรุ่นหลังด้วย
******************************************
16. การนั่งพับเพียบเปิบข้าวด้วยมือ กับการนั่งยอง ๆ พุ้ยข้าวด้วยตะเกียบ แสดงถึงสิ่งใด
1. เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
2. กระบวนการทางวัฒนธรรม
3. ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม
4. การกระจายทางวัฒนธรรม
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การนั่งพับเพียบเปิบข้าวด้วยมือ กับการนั่งยอง ๆ พุ้ยข้าวด้วยตะเกียบ แสดงถึงวิถีชีวิต (Way of Life) หรือแผนดำเนินชีวิต (Design for Living) ของกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังคม ถือว่าเป็นกระบวนการทางวัฒนธรรมที่สมาชิกสามารถเรียนรับถ่ายทอดไปด้วยทางตรงและทางอ้อมและกลุ่มคนสามารถเลือกใช้ ปรับปรุง รักษา หรือเลิกใช้ได้
******************************************
17. วัฒนธรรมส่วนใดกำหนดและชี้นำพฤติกรรมของคนไทยในสังคมโดยตรง
1. โลกทัศน์
2. ค่านิยม
3. วิถีประชา
4. กฎหมาย
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่คนสนใจ สิ่งที่คนปรารถนาจะได้ ปรารถนาจะเป็น หรือกลับกลายมาเป็นสิ่งที่คนถือว่าเป็นสิ่งบังคับ ต้องทำต้องปฏิบัติ เป็นสิ่งที่คนบูชายกย่อง และมีความสุขที่จะได้เห็น ได้ฟัง ได้เป็นเจ้าของ ซึ่งนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่เป็นจุดประสงค์ของสังคม ชี้นำพฤติกรรมของคนไทยในสังคมโดยตรง เป็นสิ่งที่ผู้คนในสังคมอยากจะดำเนินไปถึงจุด ๆ นั้น เช่น ความร่ำรวย การมีตำแหน่งทางราชการ
******************************************
18. สถาบันทางสังคมใดทำหน้าที่กำหนดสถานภาพของบุคคลในสังคม
1. ครอบครัว
2. การศึกษา
3. เศรษฐกิจ
4. การเมืองการปกครอง
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันหลักที่สำคัญที่สุด สถาบันครอบครัวจะมอบสถานภาพให้แก่บุคคลนับตั้งแต่เกิดจากครรภ์มารดา เป็นสภาพที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น บุคลิกภาพ ความเป็นเพศหญิง เพศชาย วงศ์สกุลใด เชื้อชาติใด เป็นต้น
******************************************
19. การเสนอข่าวเปิดโปงการกระทำผิดของบุคคลต่าง ๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์และทางโทรทัศน์ เป็นกลไกการจัดระเบียบทางสังคมแบบใด
1. วิถีประชา
2. บทบาท
3. หน้าที่
4. การขัดเกลาทางสังคม
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การเสนอข่าวของกลุ่มสื่อมวลชนผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ เป็นต้น เป็นบทบาทของสื่อมวลชน ซึ่งมีหน้าที่ สิทธิ ตำแหน่ง หรือสถานภาพที่กำหนดไว้ ซึ่งบทบาทเป็นกลไกการจัดระเบียบทางสังคมอย่างหนึ่งด้วย
******************************************
20. ค่านิยมในสังคมไทยข้อใดสมควรได้รับการแก้ไขเพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
1. ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
2. ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
3. คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร
4. ชีวิตเป็นไปตามกรรมที่ทำไว้
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ค่านิยมในสังคมไทยที่เห็นว่า "ชีวิตเป็นไปตามกรรมที่ทำไว้" ควรได้รับการแก้ไขเพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า เพราะถ้าผู้นำหรือประชาชนมีความเชื่อเรื่องของผลที่ได้รับเป็นเพราะกรรมของตนเอง ตัวอย่างเช่น "การที่เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ เป็นเพราะกรรมของประเทศของเรา เราควรยอมรับชะตากรรมนั้นเสีย" ก็จะทำให้การพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าเป็นไปได้ยาก
******************************************
21. ข้อใดเป็นวิธีการแก้ปัญหาสังคมได้ดีที่สุด
1. จัดตั้งหน่วยงานสำหรับแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการเฉพาะ
2. ออกกฎหมายให้เข้มงวดและชำระโทษอย่างเด็ดขาด
3. กำหนดวิธีการแก้ปัญหาให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพ
4. ปลูกฝังจิตสำนึกและความรับผิดชอบด้วยการให้การศึกษาและอบรม
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
วิธีการแก้ปัญหาสังคมได้ดีที่สุดคือ สมาชิกในสังคมยึดถือและปฏิบัติตามระเบียบ แบบแผนกฎเกณฑ์ หรือคตินิยมที่สังคมกำหนดไว้ โดยการให้การศึกษา อบรม เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการเคารพกฎและกติกาของสังคม
******************************************
22. ข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
1. ระบบเครือญาติมีความสำคัญน้อยลง
2. การนำระบบเงินตรามาใช้ในการแลกเปลี่ยน
3. ความผูกพันของสมาชิกในครอบครัวมีน้อยลง
4. การเปลี่ยนแปลงบทบาทของสตรีภายหลังจากการเข้าสู่ตลาดแรงงาน
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นอยู่เสมอ สาเหตุหลักเนื่องจากปัญหาที่มนุษย์ประสบ ประกอบกับความต้องการของมนุษย์เปลี่ยนไป เช่น การเปลี่ยนความเชื่อเรื่องบทบาทของสตรี ในสังคมเกษตรกรรมเชื่อว่าสตรีต้องเป็นแม่บ้านอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ดูแลงานเฉพาะภายในบ้าน คอยปรนนิบัติสามี แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป ความต้องการเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน สตรีจึงเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ ค่านิยมแบบเก่า และหันเข้ามาสู่ตลาดแรงงาน ทำให้ปัจจุบันผู้หญิงทำงานนอกบ้านมากขึ้น ดังนั้นคำตอบข้อ 4 จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่ชัดเจนที่สุด
******************************************
23. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ของไทย ได้ปรับทิศทางและกระบวนการพัฒนาประเทศใหม่โดยเน้นข้อใด
1. เน้นการพัฒนาประชาธิปไตยและคุณภาพประชากร
2. เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนและไม่ทำลายสภาพแวดล้อม
3. เน้นการพัฒนาทุกด้านให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบโดยมีคนเป็นเป้าหมายหลัก
4. เน้นการพัฒนาเป็นด้าน ๆ เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาการเมือง การพัฒนาคุณภาพประชากร เป็นต้น
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
จุดมุ่งหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ของไทย ได้ปรับทิศทางและกระบวนการพัฒนาประเทศใหม่โดยเน้นการพัฒนาคนและสังคม ดังนั้นเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือของการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิตของคนได้อย่างแท้จริง
******************************************
24. ข้อใดเป็นคำสอนที่สำคัญที่สุดที่พระเยซูทรงประกาศแก่ปวงชน
1. "อย่าฆ่าคน"
2. "อย่าคิดมิชอบ"
3. "จงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง"
4. "จงนมัสการพระเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียว"
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
คำสอนที่สำคัญที่สุดที่พระเยซูทรงประกาศแก่ปวงชน คือ "จงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง" ซึ่งพระองค์เน้นเกี่ยวกับการให้มีความรัก ความเมตตา กรุณา เสียสละ และให้อภัยเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย
******************************************
25. ทำไมศาสนาอิสลามจึงห้ามมุสลิมบูชาเครื่องรางของขลัง
1. เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นความงมงายที่ไร้เหตุผล
2. เพราะเครื่องรางของขลังเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
3. เพราะเครื่องรางของขลังทำให้มองไม่เห็นพระเจ้า
4. เพราะเป็นการ "ตั้งภาคี" เสมอกับพระอัลลอฮ์
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ศาสนาอิสลามมีความเชื่อว่า พระเจ้าคือผู้สร้างสรรค์สิ่งทั้งปวง อิสลามิกชนทุกคนจะต้องนับถือพระเจ้า การเชื่อหรือนับถือรูปเคารพที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้นผิด เพราะเป็นการสร้างขึ้นมาเสมอด้วยพระเจ้า
******************************************
26. เพราะเหตุใดเผ่าอารยันในยุคพระเวทจึงยกย่องธรรมชาติว่าเป็นเทพเจ้า
1. เพราะเชื่อว่าธรรมชาติมีความลี้ลับซับซ้อน
2. เพราะเชื่อว่าธรรมชาติมีวิญญาณเช่นเดียวกับมนุษย์
3. เพราะเชื่อว่าธรรมชาติมีพลังอำนาจจึงเกิดความหวาดกลัว
4. เพราะเชื่อว่าธรรมชาติให้คุณและโทษแก่ผู้ที่นับถือได้
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
จากความเชื่อดั้งเดิมของชนเผ่าอารยันในยุคพระเวท เชื่อว่าธรรมชาติมีวิญญาณเช่นเดียวกับมนุษย์ เช่น พระวิษณุ (พระนารายณ์ = ผู้รักษา) พระพรหม (ผู้สร้าง) พระศิวะ (พระอิศวร = ผู้ทำลาย) พระอินทร์มีชีวิตดำเนินไปเช่นมนุษย์ และพระพายหรือพระวายุ (ลม) ก็มีวิญญาณมีชีวิตวิถีแบบมนุษย์ แต่เทพเจ้าทั้งหลายจะมีฤทธามากกว่ามนุษย์
******************************************
27. ข้อใดสอดคล้องกับ "กฎแห่งกรรม" ในพระพุทธศาสนา
1. คนบางคนทำชั่วแต่ได้ดี
2. ปลูกพืชใดย่อมได้ผลนั้น
3. สรรพสิ่งดำเนินไปอย่างมีระเบียบ
4. ความบังเอิญในชีวิตเกิดขึ้นตลอดเวลา
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
กฎแห่งกรรม คือผลของการกระทำของเรา หากทำสิ่งใดย่อมได้รับผลตามการกระทำนั้น ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ทำความชั่วย่อมได้รับผลชั่ว ซึ่งสอดคล้องกับคำตอบข้อ 2 "ปลูกพืชใดย่อมได้ผลนั้น"
******************************************
28. ประสิทธิภาพในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึงข้อใด
1. ได้ผลผลิตที่ต้องการตามเวลาที่กำหนด
2. ได้ผลผลิตที่ต้องการโดยใช้เวลาน้อยที่สุด
3. ได้ผลผลิตมากที่สุดจากทรัพยากรที่กำหนด
4. ได้ผลผลิตมากที่สุดโดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ความมีประสิทธิภาพในทางเศรษฐศาสตร์ คือ ความสามารถในการบริหารการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธภาพสูงสุด กล่าวคือ ประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้ได้ผลผลิตมากที่สุด และคุณภาพดี ผู้บริโภคพึงพอใจต่อสินค้าและบริการมากที่สุด
******************************************
29. ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1. ประชาชนได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึง
2. มีการดำเนินงานของเอกชนในรูปของสหกรณ์จำนวนมาก
3. กลไกราคาเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
4. รัฐเข้าควบคุมและดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคเป็นส่วนใหญ่
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้แก่
1. เอกชนมีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้อย่างเสรีตามกฎหมาย
2. การดำเนินการผลิตเป็นของเอกชน
3. กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปโดยผ่านกลไกของราคา
4. กำไรเป็นเครื่องจูงใจในการประกอบการผลิต
5. มีการแข่งขันในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ ราคา และบริการ
6. ใช้ทุนสูงและเทคโนโลยีก้าวหน้า
******************************************
30. ข้อใดเป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาค
1. การมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดจำนวนมากทำให้ราคาทุเรียนตกต่ำ
2. วิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 ส่งผลกระทบให้เกิดการว่างงานจำนวนมาก
3. รัฐบาลเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณเพื่อกระตุ้นสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ
4. รัฐบาลใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
ขอบข่ายของเศรษฐศาสตร์ มี 2 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro Econnomic Theory) เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นหน่วยย่อยในระดับบุคคล ครัวเรือน หรือหน่วยธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง เช่น รายได้ของแต่ละบุคคล หรือผลผลิตสวนส้ม ซึ่งเป็นผลผลิตหนึ่งทางด้านการเกษตร
2. ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macro Econnomic Theory) เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นส่วนรวมหรือมวลรวมระดับประเทศ เช่น ภาวะเงินฝืด เงินเฟ้อ รายได้ประชาชาติ อัตราการจ้างงานของประเทศ การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นต้น
******************************************
31. ข้อใดอธิบายความสัมพันธ์ตามกฎของอุปสงค์
1. การที่ปริมาณเสนอซื้อแก๊สหุงต้มต่ำลงเป็นผลจากการประกาศขึ้นราคาแก๊สของรัฐ
2. การที่กลุ่มประเทศโอเปคเข้าควบคุมปริมาณการผลิตน้ำมันเป็นผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น
3. การที่ผลไม้ชนิดอื่น ๆ ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติเป็นผลให้ราคาเงาะสูงขึ้น
4. การที่ปริมาณเสนอซื้อกาแฟ A ลดต่ำลงเป็นผลจากการที่ราคากาแฟ B ลดต่ำลง
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
กฎของอุปสงค์ - ถ้าราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ความต้องการซื้อสินค้าและบริการลดน้อยลง ถ้าราคาสินค้าและบริการลดลง ความต้องการซื้อสินค้าและบริการจะสูงขึ้น กล่าวคือ ความสัมพันธ์ตามกฎของอุปสงค์ (Law of Demand) แปรผกผันกับราคาสินค้าและบริการ ดังนั้นการที่ปริมาณเสนอซื้อแก๊สหุงต้มต่ำลง แสดงว่าปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการลดลง (อุปสงค์) เป็นผลมาจากการประกาศขึ้นราคาแก๊สของรัฐบาล
******************************************
32. ข้อความใดไม่ถูกต้อง
1. ปริมาณเสนอซื้อและปริมาณเสนอขาย จะเป็นตัวปรับราคาสินค้าที่ไม่สมดุลให้เข้าสู่ดุล
2. ราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขาย จะเป็นตัวปรับปริมาณสินค้าที่ไม่สมดุลให้เข้าสู่ดุล
3. อุปสงค์ส่วนเกินและอุปทานส่วนเกิน จะเป็นตัวปรับราคาสินค้าที่ไม่สมดุลให้เข้าสู่ดุล
4. อุปสงค์ส่วนเกินจะเป็นตัวปรับราคาสินค้าที่ไม่สมดุล และอุปทานส่วนเกินจะเป็นตัวปรับปริมาณสินค้าที่ไม่สมดุลให้เข้าสู่ดุล
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
กฎของอุปสงค์และกฎของอุปทานนั้นจะมีผลโดยตรงต่อราคาสินค้าและบริการ ดังนั้นปริมาณเสนอซื้อ (อุปสงค์) และปริมาณเสนอขาย (อุปทาน) จะมีความสัมพันธ์กับราคาสินค้าและบริการ ดังนั้นข้อความในตัวเลือกข้อ 1, 2 และ 3 ถูกต้อง แต่ตัวเลือกในข้อ 4 ไม่ถูกต้องเพราะอุปสงค์ส่วนเกิน (สินค้าขาดตลาด) และอุปทานส่วนเกิน (สินค้าล้นตลาด) จะเป็นตัวปรับราคาสินค้าและบริการที่ไม่สมดุลให้เข้าสู่ดุล
******************************************
33. การนำสินแร่เหล็กมาถลุงเป็นเหล็กก้อน และนำเหล็กก้อนมารีดเป็นแผ่น แล้วนำเหล็กแผ่นไปประกอบเป็นตัวถังรถยนต์ เป็นกระบวนการในข้อใด
1. ผลิตสินค้าสนองความต้องการของผู้บริโภค
2. ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการผลิต
3. สร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์
4. พัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
การนำสินแร่เหล็กมาถลุงเป็นเหล็กก้อน และนำเหล็กก้อนมารีดเป็นแผ่น แล้วนำเหล็กแผ่นไปประกอบเป็นตัวถังรถยนต์ เป็นกระบวนการสร้างอรรถประโยชน์โดยการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของสินค้าให้เป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่ง นับได้ว่าเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์
******************************************
34. รายรับใดไม่เป็นส่วนหนึ่งของรายได้ประชาชาติ
1. เงินได้ของนาย ก จากการไปทำงานในต่างประเทศ
2. เงินได้ของนาย ข จากการทำงานเป็นบริกรในโรงแรม
3. เงินได้ของนาย ค จากการให้โรงงานเช่าที่ดินมรดก
4. เงินได้ของนาย ง จากการให้พ่อค้ากู้ยืมเงิน
เฉลยข้อ 4. เหตุผล
รายได้ประชาชาติ (National Income = NI) หมายถึง มูลค่าของผลิตภัณฑ์ประชาขาติ หมายความถึงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ในประเทศ และถือราคาตามท้องตลาดในขณะนั้น ภายในระยะเวลา 1 ปี หรือหมายความถึงผลรวมของรายได้ทั้งหมดที่บุคคลทุกคนในประเทศได้รับ ซึ่งอยู่ในรูปของค่าเช่า ค่าจ้างและเงินเดือน ดอกเบี้ยและกำไรในระยะเวลาเดียวกัน ดังนั้นคำตอบข้อ 1, 2 และ 3 เป็นส่วนหนึ่งของรายได้ประชาชาติ ส่วนคำตอบข้อ 4 ไม่เป็นส่วนหนึ่งของรายได้ประชาชาติ
******************************************
35. หนี้ที่เกิดจากการที่รัฐบาลขายพันธบัตรให้ประชาชนเพื่อนำเงินมาใช้จ่าย เรียกว่าอะไร
1. หนี้ของกระทรวงการคลัง
2. หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน
3. หนี้งบประมาณแผ่นดิน
4. หนี้สาธารณะ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ถ้ารัฐบาลมีเงินไม่พอกับการใช้จ่ายบริหารประเทศ รัฐบาลจะต้องกู้ยืมเงินจากภายในหรือต่างประเทศ หนี้ที่รัฐบาลก่อขึ้นมานี้เรียกว่า "หนี้สาธารณะ" หนี้ประเภทนี้ประชาชนของประเทศทุกคนเป็นผู้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการชำระหนี้โดยการเสียภาษีให้กับรัฐบาล หรือรัฐบาลออกพันธบัตรเพื่อขายให้แก่ประชาชน เพื่อนำเงินมาใช้จ่าย รัฐบาลจะแบ่งรายได้ที่ได้รับจากประชาชนในด้านต่าง ๆ ไปชำระหนี้สาธารณะ
******************************************
36. ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมตามโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมขนาดย่อมจะตั้งอยู่ในเขตใด
1. เขตแหลมฉบัง
2. เขตฉะเชิงเทรา
3. เขตระยอง
4. เขตชลบุรี
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ได้มีแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เพื่อพัฒนาบริเวณแถบนี้ให้เป็นพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรม โดยอาศัยก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และได้กำหนดเขตจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้นที่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี กับมาบตาพุด จังหวัดระยอง ให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ส่วนเขตฉะเชิงเทรานั้นให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดย่อม
******************************************
37. ถ้าการส่งออกของประเทศไทยใน พ.ศ.2544 ลดลง ประเทศจะประสบกับปัญหาใด
1. ดุลบัญชีทุนขาดดุลมากขึ้น
2. ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง
3. ดุลบัญชีเงินโอนเกินดุลลดลง
4. ดุลการชำระเงินเกินดุลมากขึ้น
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ พิจารณาจากบัญชีการเงินระหว่างประเทศ 2 บัญชี มีดังนี้
1. บัญชีเดินสะพัด เป็นบัญชีที่รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับมูลค่าของการค้าระหว่างประเทศ (ดุลการค้า) การบริการระหว่างประเทศ (ดุลบริการ) และการโอนเงินหรือการบริจาคเงินระหว่างประเทศ (ดุลบริจาค)
2. บัญชีทุนเคลื่อนย้าย เป็นบัญชีที่รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับมูลค่าการลงทุนระหว่างประเทศ ดังนั้นถ้าการส่งออกของประเทศไทยใน พ.ศ.2544 ลดลง จะส่งผลต่อดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง
******************************************
38. ข้อใดแสดงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับสูงสุด
1. ตลาดร่วมและสหภาพเศรษฐกิจ
2. ตลาดร่วมและสหภาพศุลกากร
3. เขตการค้าเสรีและตลาดร่วม
4. สหภาพเศรษฐกิจและสหภาพศุลกากร
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จำแนกออกได้หลายประเภท หลายลักษณะ ซึ่งมีการพัฒนาจากระดับพื้นฐานไปสู่ระดับสูงตามลำดับ ได้แก่ การให้สิทธิพิเศษทางการค้า การตั้งเขตการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดร่วม และสหภาพเศรษฐกิจ
ดังนั้นตลาดร่วมและสหภาพเศรษฐกิจเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในระดับสูงสุด
- ตลาดร่วม คือลักษณะของการให้สิทธิพิเศษทางการค้า การตั้งเขตการค้าเสรี และสหภาพศุลกากร รวมกันทั้ง 3 ลักษณะ และยังรวมไปถึงการเคลื่อนย้ายเงินทุนและแรงงานระหว่างประเทศโดยเสรี
- สหภาพเศรษฐกิจ คือการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศระดับสูงสุด ประเทศสมาชิกทุกประเทศดำเนินนโยบายด้านการเงิน การคลัง การค้า การเกษตร และอุตสาหกรรมเป็นนโยบายเดียวกัน เช่น ใช้เงินสกุลเดียวกัน และมีธนาคารกลางยุโรป เป็นต้น
******************************************
39. ข้อใดทำให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันทางการค้ากับต่างประเทศได้มากขึ้น
1. การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. การอ่อนตัวของค่าเงินบาท
3. การลดอัตราดอกเบี้ย
4. การเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันทางการค้ากับต่างประเทศได้มากขึ้น เพราะการอ่อนตัวของค่าเงินบาทสามารถเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศได้ เพราะการที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวจะส่งผลให้ราคาสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศมีราคาถูกลง ทำให้ตลาดต่างประเทศสนใจและสามารถขายแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ในปริมาณมากขึ้น ซึ่งในขณะเดียวกันสินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้ามาขายในประเทศจะมีราคาสูงขึ้น ทำให้ยอดสั่งซื้อลดลง
******************************************
40. ตัวเลขในหน่วยเงินสกุลเดียวกันข้อใดใช้เปรียบเทียบฐานะเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
1. ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ
2. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติต่อหัว
3. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่แท้จริง
4. ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศที่แท้จริงต่อหัว
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การเปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จะต้องเปรียบเทียบจากผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product : GNP) ซึ่งเป็นรายได้ของประชาชนในประเทศ และรายได้ของประชาชนที่ทำได้ในต่างประเทศมารวมกัน แล้วหาค่าเฉลี่ยต่อหัวมาใช้เปรียบเทียบ
******************************************
41. ข้อใดเป็นลักษณะที่ถูกต้องของแต่ละภูมิภาค
1. ภาคตะวันออกมีภูมิประเทศตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่ม ฝนตกชุก ดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์
2. ภาคตะวันตกมีภูมิประเทศเป็นทิวเขาสลับหุบเขา ปริมาณน้ำฝนน้อย ทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างอุดมสมบูรณ์
3. ภาคกลางมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ เป็นแหล่งเกษตรกรรม ทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่มีปัญหาดินเปรี้ยว
4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีภูมิประเทศเป็นแอ่งที่ราบ ทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่มีปัญหาดินเค็ม
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ข้อ 1, 3 และ 4 ไม่ถูกต้อง เพราะ
- ภาคตะวันออก มีลักษณะภูมิประเทศทางตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ และที่ราบลูกฟูก มีที่ราบสูงต่ำสลับเนินเขาเตี้ย ๆ ซึ่งเกิดจากการผุกร่อนของหินบริเวณลาดเขา มีลักษณะเป็นดินตะกอนที่อุดมสมบูรณ์และมีฝนตกชุก
- ภาคตะวันตก มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเขตเทือกเขาสูงทางภาคตะวันตก และมีเขตที่ราบขั้นบันไดอยู่ถัดไปทางตะวันออกของเขตเทือกเขา มีลักษณะสูงทางตะวันตก และลดหลั่นไปทางตะวันออก เขตนี้ค่อนข้างแห้งแล้ว ฝนตกน้อย เพราะเป็นเขตเงาฝน แต่พื้นที่ภาคตะวันตกเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุนานาชนิด และแหล่งป่าไม้ที่สำคัญของประเทศ
- ภาคกลาง มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำบริเวณภาคกลางตอนบนและล่าง บริเวณขอบด้านตะวันตกและตะวันออกของภาคเป็นแหล่งเกษตรกรรม เพราะพื้นที่อุดมสมบูรณ์ แต่มีปัญหาการทรุดตัวของแผ่นดิน การล่วงล้ำของน้ำทะเลเข้ามาในพื้นที่ และปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งที่ราบ และเทือกเขาด้านตะวันตกและด้านใต้ของภาค ความอุดมสมบูรณ์ของดินค่อนข้างน้อย เพราะเป็นดินปนทรายอุ้มน้ำไม่ได้ดี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ปัญหาดิน ปัญหาการขาดแคลนน้ำ และปัญหาฝนทิ้งช่วง
******************************************
42. ภูมิประเทศตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำมีลักษณะเรียงลำดับกันอย่างไร
1. ที่ราบลุ่ม ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม ที่ราบดินตะกอนรูปพัด
2. ที่ราบดินตะกอนรูปพัด ที่ราบลุ่ม ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม
3. ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม ที่ราบดินตะกอนรูปพัด ที่ราบลุ่ม
4. ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม ที่ราบลุ่ม ที่ราบดินตะกอนรูปพัด
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ลักษณะภูมิประเทศตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ มีลักษณะเรียงลำดับดังนี้
1. ที่ราบดินตะกอนรูปพัด เกิดจากการทับถมบริเวณเชิงเขา อาจเรียกว่า ที่ราบดินตะกอนเชิงเขารูปพัด
2. ที่ราบลุ่ม เกิดจากการทับถมบริเวณที่ราบ 2 ฟากฝั่งแม่น้ำ จึงเรียกว่า ที่ราบลุ่มแม่น้ำ
3. ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม เกิดจากการทับถมบริเวณปากแม่น้ำหรือปากอ่าว จึงเรียกว่า ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
******************************************
43. เพราะเหตุใดอากาศบนยอดเขาจึงเย็นกว่าบริเวณเชิงเขา
1. บริเวณยอดเขามีความกดอากาศต่ำ
2. บริเวณยอดเขามีป่าไม้ปกคลุมอย่างหนาแน่น
3. บริเวณยอดเขามีพื้นที่ที่ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์น้อย
4. บริเวณยอดเขาได้รับอิทธิพลจากการคายความร้อนจากผิวโลกน้อย
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
อากาศบริเวณบนยอดเขามีอุณหภูมิเย็นกว่าบริเวณเชิงเขา ทั้งนี้เป็นเพราะความสูงของอากาศจะแปรผกผันกับอุณหภูมิของอากาศ แสดงว่าถ้าความสูงเพิ่มขึ้น อุณหภูมิของอากาศจะลดลง และประกอบกับอุณหภูมิของพื้นผิวโลกได้รับอิทธิพลจากการคายความร้อนมากกว่าบริเวณยอดเขา ดังนั้นอากาศบริเวณยอดเขาจึงเย็นกว่าพื้นผิวโลก
******************************************
44. ช่วงเดือนเมษายนของทุกปีมีปรากฏการณ์ใดในประเทศไทย
1. มีฝนตกกระจายทั่วไปเพราะเป็นเดือนเริ่มต้นฤดูฝน
2. มีช่วงเวลากลางวันนานกว่า 12 ชั่วโมง เพราะซีกโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์
3. มีช่วงเวลากลางคืนนานกว่า 12 ชั่วโมง เพราะซีกโลกเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์
4. มีฝนตกบริเวณชายฝั่งทะเลเพราะได้รับอิทธิพลจากลมพายุ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยซึ่งเริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง โดยเฉพาะในเดือนเมษายนจะมีอากาศร้อนจัด ในระยะนี้ดวงอาทิตย์กำลังเคลื่อนผ่านเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทางซีกโลกเหนือ ทำให้มีช่วงเวลากลางวันนานกว่า 12 ชั่วโมง อุณหภูมิประจำวันอยู่ระหว่าง 33 องศาเซลเซียส ถึง 42 องศาเซลเซียส
******************************************
45. พรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า คือข้อใด
1. ร่องน้ำลึกแม่น้ำปาย สันปันน้ำทิวเขาหลวงพระบางและสันปันน้ำทิวเขาตะนาวศรี
2. ร่องน้ำลึกแม่น้ำรวก สันปันน้ำทิวเขาหลวงพระบางและสันปันน้ำทิวเขาสันกำแพง
3. ร่องน้ำลึกแม่น้ำเมย สันปันน้ำทิวเขาถนนธงชัยและสันปันน้ำทิวเขาตะนาวศรี
4. ร่องน้ำลึกแม่น้ำยวม สันปันน้ำทิวเขาถนนธงชัยและสันปันน้ำทิวเขาสันกำแพง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ในการกำหนดเขตแดนระหว่างประเทศส่วนใหญ่มักจะกำหนดจากพรมแดนธรรมชาติเป็นแนวแบ่งเขตแดน โดยจะใช้สันปันน้ำของทิวเขา และร่องน้ำลึกของแม่น้ำ ซึ่งพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยกับพม่า ได้แก่
- สันปันน้ำทิวเขาแดนลาว ทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาตะนาวศรี
- ร่องน้ำลึกของแม่น้ำรวก แม่น้ำสาย แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเมย แม่น้ำระนอง และแม่น้ำกระบุรี
******************************************
46. ลักษณะชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามันตรงกับข้อใด
1. ด้านอ่าวไทยมีพื้นที่ที่เหมาะกับเกษตรกรรม ด้านอันดามันมีท่าเรือน้ำลึกตามธรรมชาติ
2. ด้านอ่าวไทยเป็นชายฝั่งแบบยุบจม ทำการประมงได้ดี ด้านอันดามันเป็นชายฝั่งแบบยกตัว มีเกาะสำคัญเหมาะแก่การท่องเที่ยว
3. ด้านอ่าวไทยมีที่ราบแคบ เป็นแหล่งประมงที่สำคัญของประเทศ ด้านอันดามันมีที่ราบพอสมควร เป็นบริเวณป่าชายเลนที่สำคัญที่สุดของประเทศ
4. ด้านอ่าวไทยมีชายฝั่งเว้าแหว่ง เป็นบริเวณป่าชายเลนที่สำคัญของประเทศ ด้านอันดามันมีชายฝั่งค่อนข้างเรียบ เป็นแหล่งประมงที่สำคัญของประเทศ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
- ลักษณะทางกายภาพด้านอ่าวไทย เป็นชายฝั่งยกตัว ทำให้ท้องทะเลบริเวณนี้ตื้น ประกอบกับจะมีคลื่นนำเอาตะกอนต่าง ๆ มาทับถมบริเวณชายฝั่งให้มีลักษณะเป็นสันทราย จึงทำให้เกิดความลำบากในการสร้างและพัฒนาให้เป็นท่าเรือน้ำลึก แต่บริเวณชายฝั่งที่ราบค่อนข้างกว้างเหมาะกับการทำเกษตรกรรม
- ลักษณะทางกายภาพด้านอันดามัน เป็นชายฝั่งยุบตัว มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ ขนานไปกับชายฝั่งทะเล บางแห่งไม่มีที่ราบ เพราะมีเทือกเขาตั้งประชิดติดทะเล กลายเป็นหน้าผาทะเลหลายแห่ง ชายฝั่งด้านนี้มีลักษณะเป็นชายฝั่งน้ำลึก เว้าแหว่ง เกาะแก่งมากมาย เพราะเกิดจากการทรุดตัวของเปลือกโลก
******************************************
47. ภาคตะวันออกและภาคใต้ มีความคล้ายคลึงกันอย่างไร
1. แม่น้ำส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ และมีป่าชายเลนบริเวณชายฝั่ง
2. อิทธิพลของลมมรสุมนำฝนมาตกในปริมาณใกล้เคียงกัน
3. มีการปลูกพืชและประเภทของอุตสาหกรรมคล้ายกัน
4. วิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของชนกลุ่มน้อยคล้ายคลึงกัน
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
ภาคตะวันออกและภาคใต้ มีลักษณะภูมิประเทศที่คล้ายคลึงกัน คือมีเทือกเขาสูงทอดยาวเป็นแนวบริเวณตอนกลางของภาค วางตัวในแนวเหนือใต้ ทำให้ขวางกั้นทิศทางของลมมรสุม จึงทำให้ลักษณะภูมิอากาศของภาคใต้และภาคตะวันออกคล้ายคลึงกัน (ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน) แม่น้ำในภาคใต้และภาคตะวันออกส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ทั้งนี้เพราะต้นกำเนิดของแม่น้ำตั้งอยู่ไม่ไกลจากชายฝั่งทะเล และบริเวณปากแม่น้ำจะมีการทับถมของตะกอน จึงทำให้มีป่าชายเลนบริเวณชายฝั่ง
******************************************
48. เพราะเหตุใดป่าชายเลนจึงเป็นป่าที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
1. เป็นป่าไม้ผลัดใบและเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำหลายประเภท
2. เป็นป่าไม้ผลัดใบและมีไม้คุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด
3. เป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบและเหมาะสำหรับเป็นแหล่งนันทนาการ
4. เป็นป่าไม้ผลัดใบและเป็นประโยชน์ต่อการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ป่าชายเลน เป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากป่าชนิดอื่น เพราะพืชที่เกิดในป่าชายเลนมีรากแตกต่างจากพืชทั่ว ๆ ไป คือ รากจะโผล่ขึ้นมาเหนือเลนเพื่อช่วยในการหายใจ เลนที่เกิดขึ้นมาเกิดจากการตกตะกอนของโคลนเลนปากแม่น้ำ พืชที่ขึ้นในป่าชายเลน ได้แก่ โกงกาง ต้นแสม ต้นจาก ต้นประสัก ต้นตะบูน ฯลฯ
ความสำคัญของป่าชายเลน คือ เป็นแหล่งขยายพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย หอยแครง เป็นต้น เป็นแหล่งผลผลิตเชื้อเพลิง ได้แก่ ถ่านจากไม้โกงกาง ซึ่งจัดว่าเป็นถ่านที่ดีที่สุด ป่าชายเลนยังช่วยให้แผ่นดินงอกใหม่เนื่องจากการตกตะกอน และเป็นฉากกำบังพายุ ลม รวมทั้งการพังทลายของดินอันเนื่องมาจากลมมรสุมและรากของพืชในป่าชายเลนช่วยกรองของเสียและสารพิษต่าง ๆ ที่ไหลมาจากแผ่นดิน
******************************************
49. วัตถุประสงค์ของการทำขั้นบันไดดินบริเวณพื้นที่ไหล่เขาคือข้อใด
1. ชะลอความเร็วของน้ำไหล
2. แก้ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน
3. ป้องกันการยุบตัวและพังทลายของดิน
4. ลดความแรงของเม็ดฝนที่กระแทกกับหน้าดิน
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
บริเวณพื้นที่ไหล่เขาจะมีความลาดชันสูง เมื่อฝนตกการไหลของน้ำลงสู่เชิงเขาจะมีความรุนแรงและรวดเร็ว เป็นผลให้ดินถูกชะล้างและพังทลายได้ง่าย ดังนั้นจึงมีการทำขั้นบันได โดยสร้างคันดินหรือแนวหินขวางความลาดเอียงของพื่นที่ แล้วปลูกพืชบนขั้นบันได ทำให้ชะลอความเร็วในการไหลบ่าของน้ำ จึงช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน
******************************************
50. ปัจจัยควบคุมการเกิดของดินตรงกับข้อใด
1. ภูมิประเทศ ปริมาณน้ำฝน แสงแดด ชนิดของแร่
2. ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิดดิน สิ่งมีชีวิต เวลา
3. ภูมิอากาศ วัตถุต้นกำเนิดดิน การกระทำของมนุษย์ เวลา
4. การกระทำของมนุษย์ วัตถุต้นกำเนิดดิน น้ำฝน แสงแดด อุณหภูมิ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ปัจจัยการกำเนิดดิน นอกจากอาศัยวัตถุต้นกำเนิดดินและสารอินทรีย์แล้ว ยังต้องการปัจจัยอื่นอีก เช่น ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เวลา สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ช่วยให้หินแตกเป็นดินได้ง่ายและเร็วขึ้น
******************************************
51. เหตุใดอากาศชื้นจึงทำให้ดินของประเทศไทยขาดความอุดมสมบูรณ์
1. เพราะทำให้การสร้างตัวของดินช้า
2. เพราะทำให้การสะสมของชั้นดินมีน้อย
3. เพราะทำให้อนินทรียวัตถุผุพังเร็ว
4. เพราะทำให้อินทรียวัตถุสลายตัวเร็ว
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การที่ประเทศไทยมีภูมิอากาศร้อนขึ้น ส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งนี้เพราะความชื้นทำให้อินทรียวัตถุมีการย่อยสลายอย่างรวดเร็ว ดังนั้นดินในประเทศไทยจึงมีอินทรียวัตถุสลายตัวผสมอยู่มาก จึงทำให้ดินมีความเป็นกรดสูง และขาดความอุดมสมบูรณ์
******************************************
52. บ่อน้ำร้อนเกิดจากปรากฏการณ์ใด
1. ความร้อนจากแหล่งถ่านหินและน้ำมันแทรกตัวขึ้นมาจนน้ำใต้ดินมีอุณหภูมิสูงและดันตัวขึ้นมา
2. ความร้อนจากใต้พิภพแทรกตัวขึ้นมาจนน้ำใต้ดินมีอุณหภูมิสูงและดันตัวขึ้นมา
3. ความร้อนจากหินหนืดใต้พิภพทำให้น้ำใต้ดินดันตัวขึ้นมาและพุ่งเป็นช่วง ๆ
4. ความร้อนจากภูเขาไฟส่งถ่ายความร้อนที่มีอยู่จนน้ำใต้ดินมีอุณหภูมิสูงและดันตัวขึ้นมา
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
บ่อน้ำร้อนเกิดจากการถ่ายความร้อนจากหินหนืดใต้พิภพที่ปะทุและดันตัวอยู่ตลอดเวลา ความร้อนจากหินหนืดส่งผ่านไปยังแหล่งน้ำใต้ดิน เมื่อน้ำใต้ดินมีอุณหภูมิสูงขึ้นจึงดันตัวขึ้นมา
******************************************
53. เพราะเหตุใดชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนจึงไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย
1. พื้นที่ชายฝั่งทะเลมีคลื่นและลมแรง
2. ลักษณะชายฝั่งทะเลเป็นหาดโคลน
3. มีเรือเข้าออกบริเวณปากแม่น้ำเป็นประจำ
4. มีประชากรตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ตลอดชายฝั่ง
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
บริเวณชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยเป็นชายฝั่งยกตัว ทำให้ท้องทะเลบริเวณนี้ตื้น และประกอบกับมีคลื่นพัดพานำเอาตะกอนมาทับถมบริเวณชายฝั่งจนมีลักษณะเป็นสันทราย และชายหาดเป็นหาดโคลนเนื่องจากการทับถมของตะกอน จึงไม่เหมาะกับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
******************************************
54. ข้อใดเป็นวิธีการใช้ปุ๋ยที่ดีที่สุดของเกษตรกรเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิต
1. ใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกอย่างละเท่า ๆ กัน
2. เลือกปุ๋ยที่สามารถใช้กับพืชได้หลายชนิด
3. เลือกปุ๋ยโดยพิจารณาจากสมบัติของดินและพืชที่ปลูก
4. ใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกสลับกันในการปลูกพืชแต่ละครั้ง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ปุ๋ยซึ่งเป็นอาหารของพืช แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยธรรมชาติที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ซากพืช ซากสัตว์ เศษใบไม้ ฯลฯ ที่ให้แร่ธาตุแก่ดินทั้งไนโตรเจน (N) โพแทสเซียม (K) และฟอสฟอรัส (P) ปุ๋ยชนิดนี้มีราคาถูกมาก เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ฯลฯ
2. ปุ๋ยอนินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ หรือเรียกว่า ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชนิดนี้ให้แร่ธาตุที่จำเพาะที่พืชต้องการได้ แต่มีราคาค่อนข้างสูง และเมื่อใช้ไประยะเวลานานจะทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ
ดังนั้นในการเลือกใช้ปุ๋ยเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกร จะต้องพิจารณาจากคุณสมบัติของดิน ปริมาณแร่ธาตุในดิน และชนิดของพืชที่ปลูก
******************************************
55. การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทย ก่อให้เกิดปัญหาพื้นฐานด้านใดมากที่สุด
1. สังคม-การเมือง
2. สังคม-เศรษฐกิจ
3. เศรษฐกิจ-การเมือง
4.การศึกษา-วัฒนธรรม
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทย ก่อให้เกิดปัญหาพื้นฐานด้านการศึกษา และวัฒนธรรม
- ด้านการศึกษา ทำให้ประชาชนได้รับการศึกษาได้กว้างขวางและแพร่หลายมากขึ้น เช่น การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การเรียนผ่านระบบ Internet และบทเรียนช่วยสอน (CAI) เป็นต้น
- ด้านวัฒนธรรม ผลกระทบของการแพร่กระจายของวัฒนธรรมต่างชาติ โดยเฉพาะผ่านสื่อไอทีหรือ Internet ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะควบคุมดูแล และความที่คนไทยไม่รู้จักใช้สื่อ Internet ในทางก่อประโยชน์ มักจะใช้ในทางที่ไม่ถูกไม่ควรจนก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย
******************************************
56. การใช้เทคโนโลยีก่อให้เกิดปัญหาในข้อใดน้อยที่สุด
1. การตกต่ำของราคาผลผลิตเกษตร
2. การลดลงของพื้นที่ป่าไม้และสัตว์ป่า
3. การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก
4. การทรุดตัวของแผ่นดิน
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การใช้เทคโนโลยีก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านสภาพแวดล้อม ความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ทำให้ปริมาณทรัพยากรธรรมชาติลดน้อยลง และในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมมักมีกากวัสดุที่เหลือใช้และเกิดปัญหาต่อส่วนรวม เช่น พิษจากโลหะหนักทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ควันจากการเผาไหม้
2. ด้านการประยุกต์ใช้ทางการทหาร เช่น อาวุธที่มีขีดความสามารถทำลายล้างสูง ระเบิดเคมี ระเบิดเชื้อโรค หรือระเบิดปรมาณู สิ่งเหล่านี้จะทำลายชีวิต ทรัพย์สิน และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ นับเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดของมนุษยชาติ
3. ด้านเกษตรกรรม เทคโนโลยีช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตร และควบคุมผลผลิตทางการเกษตรให้ออกมาในฤดูกาลที่ต้องการ แต่หากนำเทคโนโลยีมาใช้อาจทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากเกินไปจนล้นตลาด ราคาของผลผลิตตกต่ำลงได้
ฯลฯ
ส่วนการทรุดตัวของแผ่นดิน เป็นผลที่เกิดจากภัยธรรมชาติ มิใช่เกิดจากเทคโนโลยี
******************************************
57. ข้อใดไม่ใช่การนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร
1. การจัดระบบข้อมูลข่าวสารภายใน
2. การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี
3. การติดตั้งเครื่องจักรเครื่องมือขนาดเล็ก
4. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบสายงานภายใน
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
คำตอบข้อ 1, 2 และ 3 จัดว่าเป็นการนำเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และมีศักยภาพในการแข่งขัน ส่วนคำตอบข้อ 4 ไม่ถูกต้อง เพราะการเปลี่ยนรูปแบบสายงานภายในเป็นการจัดรูปแบบองค์กรให้มีความเหมาะสมกับการงานที่ต้องรับผิดชอบ
******************************************
58. กระบวนการในการผลิตเทคโนโลยีมีลำดับขั้นตอนอย่างไร
1. การออกแบบ การพัฒนา การผลิต การวิจัย
2. การออกแบบ การวิจัย การพัฒนา การผลิต
3. การวิจัย การออกแบบ การพัฒนา การผลิต
4. การวิจัย การพัฒนา การออกแบบ การผลิต
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การผลิตเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการพัฒนา สามารถกระทำได้ดังนี้
1. การวิจัย (Research) หมายถึง การใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบเพื่อเพิ่มขยายความรู้ที่มีอยู่เดิม โดยมีจุดประสงค์ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
2. การพัฒนา (Development) หมายถึง การดำเนินงานที่มีระบบเพื่อมุ่งไปสู่การผลิตสิ่งใหม่ ๆ โดยใช้ความรู้หรือข้อมูลที่ได้จากการวิจัย หรือประสบการณ์จากการปฏิบัติ เช่น วัสดุ ผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงการสร้างกระบวนการใหม่ ระบบใหม่ เพื่อปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ที่มีการผลิตอยู่แล้ว หรือใช้งานอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น
3. การออกแบบ (Design) หมายถึง การนำความรู้และข้อมูลที่ได้จากการพัฒนามาใช้ในการออกแบบขั้นละเอียดเพื่อแปลงผลงานวิจัยและพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะออกสู่ตลาดและสามารถจำหน่ายให้แก่ผู้ใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
******************************************
59. การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้เพราะเหตุใด
1. การสร้างดุลแห่งอำนาจและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ
2. การมีเชื้อชาติและศาสนาเดียวกัน
3. การตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันของโลก
4. การมีอุดมการณ์ทางการเมืองเดียวกัน
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้เนื่องจากสาเหตุดังนี้
1. การเผยแพร่แนวคิดของนักคิดบางคนที่ต้องการสนับสนุนให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศ
2. ความต้องการพึ่งพาอาศัยทางด้านเศรษฐกิจ
3. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มนุษย์สามารถผลิตอาวุธที่ร้ายแรงมาใช้ทำลายซึ่งกันและกันได้ แต่ละประเทศจึงหันมาร่วมมือกันเพื่อหาทางยุติความขัดแย้ง
4. การมองเห็นปัญหาร่วมกันของประเทศต่าง ๆ จึงทำให้เกิดความร่วมมือประสานประโยชน์ขึ้นมา
5. การแสวงหาแนวทางป้องกัน การสร้างดุลแห่งอำนาจระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันมิให้ชาติหนึ่งใช้กำลังทหารเข้ารุกรานชาติอื่น
6. การสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพราะความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและสงคราม
******************************************
60. ลัทธิเสรีนิยมส่งเสริมระบบเศรษฐกิจใด
1. พาณิชย์นิยม
2. ทุนนิยม
3. สังคมนิยม
4. รัฐสวัสดิการ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) หลักสำคัญคือ เน้นเสรีภาพของบุคคลเป็นสำคัญ โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสวงหาความสุขส่วนบุคคล ไม่ถือว่าลัทธิการเมืองหรือลัทธิเศรษฐกิจ แต่เป็นแนวคิดและความเชื่ออย่างหนึ่ง และผลกระทบของลัทธิเสรีนิยมช่วยสนับสนุนลัทธิการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และลัทธิเศรษฐกิจแบบทุนนิยม(Capitalism)
******************************************
61. เหตุใดรัฐบาลตาลีบันของอัฟกานิสถานจึงสั่งทำลายพระพุทธรูป
1. เพื่อต่อต้านพระพุทธศาสนา
2. เพื่อให้ประชาชนยึดมั่นในศาสนาอิสลาม
3. เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายต่อต้านรูปเคารพ
4. เพื่อกระตุ้นลัทธิชาตินิยม
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
รัฐบาลตาลีบันของประเทศอัฟกานิสถาน มีคำสั่งให้ทำลายพระพุทธรูปหินแกะสลักที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เมืองบามิยันนั้น สาเหตุเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของศาสนาอิสลามที่ห้ามมิให้สร้างรูปเคารพ และห้ามกราบไหว้หรือนับถือรูปเคารพอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์
******************************************
62. การพัฒนากำลังคนในช่วงอายุใดที่รัฐต้องรับภาระอย่างมาก
1. 0-5 ปี
2. 6-17 ปี
3. 18-22 ปี
4. 23-60 ปี
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
รัฐบาลจะต้องรับภาระในการพัฒนากำลังคนในช่วงอายุ 6-17 ปี เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพจะต้องได้รับการศึกษาที่ดี ในช่วงวัยดังกล่าวเป็นช่วงของการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา หรือเรียกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งรัฐจะต้องจัดให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และพัฒนาประเทศ
******************************************
63. การที่มีประชากรเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญต่าง ๆ แต่ยกเว้นข้อใด
1. การขาดแคลนอาหารบริโภค
2. ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
3. ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ
4. ความขัดแย้งทางศาสนาในภูมิภาคต่าง ๆ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทำให้เกิดปัญหาสำคัญที่ตามมา เช่น ปัญหาการขาดแคลนอาหารบริโภค ปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ และปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ อาทิเช่น ภาวะยากจน ด้อยการศึกษา สุขภาพอนามัยอ่อนแอ และแหล่งชุมชนแออัด ฯลฯ
******************************************
64. ปัญหาสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในด้านใดที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 เป็นต้นมา
1. การกระจายรายได้ให้ทั่วถึง
2. การลงทุนจากต่างชาติ
3. การเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบท
4. การยกเว้นภาษีสินค้าเพื่อการส่งออก
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจมุ่งขยายการผลิตทางการเกษตร ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมให้สามารถขยายการผลิตเพื่อส่งออก ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่ประชาชนระหว่างเมืองและชนบท จัดการกระจายรายได้ให้ทั่วถึง ปรับปรุงคุณภาพประชากร ตลอดจนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
******************************************
65. ข้อใดมีส่วนน้อยที่สุดในการก่อให้เกิดความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ
1. การมีรูปแบบทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน
2. การมีสภาพทางภูมิศาสตร์แตกต่างกัน
3. การมีรูปร่างหน้าตาผิวพรรณแตกต่างกัน
4. การมีความเชื่อทางศาสนาแตกต่างกัน
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
วัฒนธรรมของสังคมและภูมิภาคใด ๆ จะมีลักษณะอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการที่จะเป็นตัวกำหนด เช่น สังคมที่ตั้งอยู่ในอาณาบริเวณที่แห้งแล้ง สภาพภูมิศาสตร์ย่อมจะกำหนดลักษณะของเสื้อผ้า การแต่งกาย การประกอบอาชีพ ลักษณะบ้านเรือน การตั้งบ้านเรือน และองค์ประกอบสำคัญบางประการที่มีอิทธิพลต่อลักษณะวัฒนธรรม เช่น การติดต่อสัมพันธ์กับสังคมอื่น ความเจริญก้าวหน้าทางสังคม ความเจริญด้านคมนาคม ความเชื่อทางศาสนา ฯลฯ ดังนั้นคำตอบข้อ 1, 2 และ 4 จึงมีส่วนเกี่ยวข้องและมีอิทธิพลมากที่สุดต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรม ส่วนคำตอบข้อ 3 มีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
******************************************
66. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่หลักขององค์การการค้าโลก
1. แก้ไขข้อพิพาททางการค้า เป็นเวทีเจรจาต่อรองในปัญหาการค้าระหว่างกัน
2. ป้องกันการกีดกันทางการค้า แสวงหาความร่วมมือและพัฒนาการค้าของโลก
3. เสริมสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของทุกชาติไม่ให้เอาเปรียบทางการค้า
4. ส่งเสริมการค้าเสรี และรักษาความเป็นธรรมในระบบการค้าของโลก
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดหย่อนข้อกีดกันทางการค้า และปัญหาทางการค้าระหว่างประเทศ ขยายการผลิตและแลกเปลี่ยนสินค้า โดยมีหน้าที่หลักคือ ออกกฎระเบียบ และกำกับดูแลให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามกฏเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ ทั้งทางสินค้า การบริการ การลงทุน และทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้วางไว้ร่วมกัน องค์การการค้าโลกมีอำนาจในการตัดสินข้อพิพาท และยุติปัญหาทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงการให้ความร่วมมือกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก เพื่อวางนโยบายเศรษฐกิจของโลกให้มีความสอดคล้องกัน
ดังนั้นคำตอบข้อ 1, 2 และ 4 ถูกต้อง เพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรง ส่วนคำตอบข้อ 3 ไม่ถูกต้องเพราะองค์การการค้าโลกไม่มีนโยบายในการส่งเสริมความมั่นคั่งทางเศรษฐกิจของทุกชาติ
******************************************
67. ข้อใดมิใช่ลักษณะดั้งเดิมของสังคมไทย
1. นับถือผีและธรรมชาติ
2. ยึดมั่นในระบบครอบครัว
3. เคารพและยกย่องคนรวย
4. ช่วยเหลือกันด้วยแรงงาน
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ลักษณะดั้งเดิมของสังคมไทยในอดีต จะยึดมั่นในระบบครอบครัว มีความผูกพันกันในระบบเครือญาติ เคารพเชื่อฟังกันตามลำดับอาวุโส และมีความสำคัญมากต่อระบบครอบครัว คนไทยนับถือพุทธศาสนา แต่ยังยึดถือความเชื่อในผีสางเทวดาปะปนกับแนวปฏิบัติของพุทธศาสนาและมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยแรงงานจนเกิดเป็นประเพณี เช่น การเก็บเกี่ยวข้าว หรือที่เรียกว่า การลงแขก ส่วนคำตอบข้อ 3 ไม่ถูกต้อง
******************************************
68. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
1. การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
2. การผนึกกำลังเพื่อปราบปรามอาณาจักรสุโขทัย
3. การแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างฝ่ายทหารและพลเรือน
4. การถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มเจ้านายและกลุ่มขุนนาง
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
สาเหตุของการปฏิรูปการปกครองในสมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทองหรือพระบรมไตรโลกนาถ เพื่อต้องการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางด้วยการขยายระบบบริหารราชการของเมืองหลวงออกไปควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ โดยแยกทหารและพลเรือนออกจากกัน และยกเลิกเมืองลูกหลวง (หน้าด่าน) และลดฐานะลงเป็นเมืองจัตวา มีผู้รั้งซึ่งเป็นเจ้าเมืองที่ไม่มีอำนาจการปกครองดูแล เนื่องจากพระราชโอรสแห่งเมืองลูกหลวงมักแย่งชิงราชบัลลังก์กัน และต้องการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกลุ่มเจ้านายและกลุ่มขุนนาง
******************************************
69. สินค้าสำคัญในการค้าระหว่างไทยกับต่างประเทศในสมัยอยุธยาคืออะไร
1. ของป่าไทยและสินค้าญี่ปุ่น
2. ของป่าไทยและสินค้าจีน
3. ข้าวไทยและสินค้าจีน
4. ข้าวไทยและสินค้าญี่ปุ่น
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
สินค้าสำคัญในการค้าระหว่างไทยกับต่างประเทศในสมัยอยุธยาคือ ข้าวไทย เป็นสินค้าออกที่สำคัญและไทยยังมีการติดต่อค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ที่สำคัญที่สุดและทำรายได้ให้แก่อยุธยามากที่สุดคือ การค้าสำเภากับจีน แต่เป็นการค้าในระบบบรรณาการ โดยนำสินค้าไปกับเรือคณะฑูตที่ส่งเครื่องราชบรรณาการไปแสดงความสวามิภักดิ์ต่อจักรพรรดิจีน ซึ่งสินค้าที่ไปกับขบวนเรือฑูตจะได้รับการยกเว้นภาษี และเมื่อซื้อกลับมาก็ไม่เสียภาษีเช่นกัน
******************************************
70. "สมุดปกเหลือง" ที่พิมพ์ขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลง พ.ศ.2475 ไม่นาน เกี่ยวกับเรื่องอะไร
1. อุดมการณ์ของคณะราษฎร
2. แถลงการณ์โจมตีคณะราษฎร
3. นโยบายทางการเมืองของรัฐบาล
4. เค้าโครงการเศรษฐกิจ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
นโยบายเศรษฐกิจของคณะราษฎรที่ตีพิมพ์ขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 หรือเรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" เป็นเค้าโครงนโยบายเศรษฐกิจของคณะราษฎรในหลัก 6 ประการ ได้กำหนดหลักการเกี่ยวกับเศรษฐกิจไว้ว่า "...จะรักษาเอกราชทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง..." และ "จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะหางานใหม่ให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ให้ราษฎรอดอยาก" หลัก 6 ประการ และหลักการทางเศรษฐกิจนี้ รัฐบาลชุดต่าง ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2475-2490 ได้ประกาศเป็นนโยบายของรัฐโดยตลอด
******************************************
71. เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนที่ไทยจะเข้าร่วมรบเป็นฝ่ายญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2
1. การรณรงค์เพื่อ "รัฐนิยม" ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม
2. การเรียกร้องดินแดนเขมรส่วนในคืนจากฝรั่งเศส
3. การก่อตั้งขบวนการเสรีไทย
4. การสร้างทางรถไฟสายมรณะ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
เมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2481 - 2487) รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง เพื่อให้คนไทยทุกคนมีงานทำ และประกอบอาชีพขจัดการครอบงำทางเศรษฐกิจของต่างชาติ เช่น การสงวนอาชีพให้คนไทย กำหนดเขตหวงห้ามไม่ให้คนจีนอยู่อาศัย เรียกร้องให้คนไทยใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ ฯลฯ
ส่วนเหตุการณ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดระหว่างหลังจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 ปี ( พ.ศ. 2482 - 2488) ในช่วงแรกไทยดำเนินนโยบายเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดทำให้ได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แต่เมื่อเข้าร่วมสงครามแล้วรัฐบาลมีนโยบายชาตินิยมเข้มงวดขึ้น ยึดโอนกิจการของชาติฝ่ายพันธมิตรมาดำเนินการเอง ในที่สุดญี่ปุ่นจึงเข้ามาควบคุมการค้าขายทางทะเลทั้งหมด และบังคับให้ไทยค้าขายกับญี่ปุ่นชาติเดียว และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ มีการก่อตั้งขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น ญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟสายมรณะเพื่อใช้ไทยเป็นทางผ่าน และหลังสงครามไทยจึงเรียกร้องดินแดนเขมรส่วนในคืนจากฝรั่งเศส
******************************************
72. ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่สามารถพัฒนาประเทศกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้เพราะเหตุใด
1. ญี่ปุ่นมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี
2. ญี่ปุ่นเป็นนักลอกเลียนแบบที่เก่ง
3. ญี่ปุ่นใช้งบประมาณด้านการทหารน้อยมาก
4. ญี่ปุ่นเปลี่ยนมาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 สูญเสียดินแดน และเศรษฐกิจของประเทศทรุดโทรมอย่างมาก แต่ต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2494 จนถึงปัจจุบัน เศรษฐกิจญี่ปุ่นนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถปรับปรุงแก้ไขเศรษฐกิจของประเทศจากความย่อยยับของสงครามได้ โดยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาด้านเงินกู้การเป็นตลาดรับซื้อ และตามโครงการชดใช้ค่าปฏิมากรรมสงคราม ญี่ปุ่นมีโครงการช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประกอบกับญี่ปุ่นทุ่มงบประมาณในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจมากกว่าการทหาร จึงทำให้ญี่ปุ่นได้กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก
******************************************
73. ไทยส่งทหารไปร่วมรักษาความสงบในดินแดนติมอร์ตะวันออกด้วยเหตุผลใด
1. เป็นไปตามข้อตกลงทางทหารระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย
2. เป็นไปตามข้อตกลงทางทหารของกลุ่มประเทศอาเซียน
3. เป็นการร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียแปซิฟิก
4. เป็นการร่วมมือกับกองกำลังขององค์การสหประชาชาติ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ประเทศไทยได้ส่งทหารไปร่วมรักษาความสงบในดินแดนติมอร์ตะวันออก เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงร่วมกันกับกองกำลังขององค์การสหประชาชาติ ในการรักษาสันติภาพของประเทศในโลก เมื่อเกิดกรณีพิพาทและความขัดแย้งระหว่างประเทศอินโดนีเซียกับประเทศติมอร์ตะวันออก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของกองกำลังจากประเทศสมาชิก
******************************************
74. ฟิลิปปินส์แตกต่างจากประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุดในข้อใด
1. ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์
2. มีปัญหาทางการเมืองเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อย
3. มีพัฒนาการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยก้าวหน้าที่สุด
4. มีความผูกพันทางวัฒนธรรมกับอินโดนีเซีย
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
ประเทศฟิลิปปินส์มีความแตกต่างจากประเทศอื่นในเอชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุดคือ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ประมาณร้อยละ 83 ของประชากรทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทั้งนี้เพราะฟิลิปปินส์เคยตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกเป็นระยะเวลาถึง 427 ปี ได้แก่ ประเทศสเปน 377 ปี และสหรัฐอเมริกา 48 ปี ตามลำดับ และระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกญี่ปุ่นยึดครอง
******************************************
75. คณะกรรมการฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ หรือสล๊อก (SLORC) เกี่ยวข้องกับประเทศใด
1. พม่า
2. ลาว
3. เวียดนาม
4. กัมพูชา
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
คณะกรรมการฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ หรือสล๊อก (SLORC : The State Law and Order Restoration Council) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดย นายพลซอหม่อง (Saw Manng) เพื่อรับผิดชอบในการบริหารประเทศของรัฐบาลทหารพม่า
******************************************
76. ผลสำคัญที่สุดจากชัยชนะของญี่ปุ่นต่อรัสเซียใน ค.ศ. 1905 คือข้อใด
1. รัสเซียมีเกียรติภูมิตกต่ำลงในสายตาของมหาอำนาจ
2. ทำให้ญี่ปุ่นขยายอำนาจเข้าไปในเกาหลีและจีน
3. เกิดความรู้สึกชาตินิยมในหมู่ชาวเอเชีย
4. ญี่ปุ่นกลายเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศของชาติในเอเชีย
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ผลสำคัญที่สุดจากชัยชนะของญี่ปุ่นต่อรัสเซียใน ค.ศ. 1904 - 1905 ส่งผลต่อกลุ่มประเทศในเอชียที่อยู่ภายใต้การปกครองอาณานิคมของตะวันตก ทำให้เชื่อมั่นว่าชาวเอเชียจากประเทศเล็ก ๆ อาจสามารถเอาชนะชาวยุโรปจากประเทศใหญ่ ๆ ได้ จึงทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมเพิ่มมากขึ้นในอีกหลายประเทศในเอเชีย
******************************************
77. ข้อใดคือมรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของสมัยกลางที่มีผลต่อโลกตะวันตกในระยะยาว
1. การสำรวจทางทะเล
2. การปฏิวัติทางการค้า
3. การเกิดมหาวิทยาลัย
4. การเกิดความคิดภูมิธรรม
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของสมัยกลางที่มีผลต่อโลกตะวันตกในระยะยาวคือ การเกิดมหาวิทยาลัย โดยในคริสต์ศตวรรษที่ 11 - 12 มหาวิทยาลัยเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีมหาวิทยาลัยปารีสเป็นผู้นำยุโรปเหนือ และมหาวิทยาลัยโบโลนญา ในประเทศอิตาลีเป็นผู้นำด้านยุโรปใต้ ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่มักเป็นพระหรือลูกหลานของขุนนางและพ่อค้า
******************************************
78. ผลงานศิลปะของลีโอนาร์โด ดา วินชี และไมเคิล แอนเจโล ใช้ความรู้ด้านใดมากที่สุด
1. กลศาสตร์
2. คณิตศาสตร์
3. ดาราศาสตร์
4. กายวิภาคศาสตร์
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
- ผลงานศิลปะของไมเคิล แอนเจโล (Michel Angelo) ได้แก่ วิหารเซนต์พอล ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ให้ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรม และผลงานชิ้นสำคัญได้แก่ รูปแกะสลักเดวิด (David) แสดงให้เห็นลักษณะกล้ามเนื้อที่สมบูรณ์ของมนุษย์ และรูปแกะสลักหินอ่อนพิเอตา (Pieta) ที่แสดงความรู้สึกเศร้าโศก
- ผลงานของลีโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo Da Vinci) ผลงานสำคัญได้แก่ ภาพ "อาหารเย็นมื้อสุดท้าย" (The Last Supper) และภาพโมนาลิซา (Mona Lisa) ซึ่งใช้ลักษณะการวาดที่คำนึงถึงแสงเงา คติประกอบของภาพ มีการวาดภาพที่มีความตื้นลึก เรียกว่า ภาพเปอร์สเปกตีฟ (Perspective)
ซึ่งผลงานของทั้งสองท่านใช้ความรู้ในด้านกายวิภาคศาสตร์ เพื่อเน้นความสมจริงมากที่สุด
******************************************
79. การกำหนดให้วันที่ 14 กรกฎาคม เป็นวันชาติฝรั่งเศส เป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ใด
1. การประกาศยกเลิกอภิสิทธิ์ของชนชั้นขุนนาง
2. การที่ชาวปารีสบุกทำลายสถานจองจำนักโทษทางการเมือง
3. การเรียกประชุมสภาฐานันดรหลังจากว่างเว้นมาร้อยกว่าปี
4. การที่นักปฏิวัติประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐและล้มเลิกระบอบกษัตริย์
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการปฏิวัติของชนชั้นกลาง โดยมีเจตนารมณ์พื้นฐานในเรื่องเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ (Liberty Equality and Fraternity) เนื่องจากประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสจากความล้มเหลวในการปกครองของระบอบกษัตริย์ ในขณะที่ชนชั้นเจ้าและขุนนางกลับมีความเป็นอยู่อย่างสุขสบายจึงนำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ ค.ศ. 1789 และสามารถล้มระบอบกษัตริย์ได้ มีการประกาศหลักสิทธิมนุษยชนและพลเมือง (The Declaration of the Rights of Man and Citizen) และกำหนดให้วันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันชาติของฝรั่งเศส
******************************************
80. การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานจากเครื่องจักรไอน้ำและถ่านหินมาเป็นพลังงานชนิดใด
1. พลังงานไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน
2. พลังงานไฟฟ้า ก๊าซชีวภาพ และน้ำมัน
3. พลังงานน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานลม
4. พลังงานไฟฟ้า ก๊าซชีวภาพ และพลังงานลม
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2 (ค.ศ. 1830 - 1870) ได้มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานจากเครื่องจักรไอน้ำและถ่านหินมาเป็นการนำเอาพลังงานน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้า มาใช้ในกิจการอุตสาหกรรม อีกทั้งมีการนำเอาเหล็กกล้ามาใช้แทนที่เหล็กจนได้ชื่อว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมเหล็กกล้า (Age of Steel) และการกำเนิดอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล อุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น
******************************************