วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สารพันปัญหาแม่ตั้งครรภ์-ท้องลม, เด็กในท้องดิ้นมาก, น้ำคร่ำน้อย

สารพันปัญหาแม่ตั้งครรภ์-ท้องลม, เด็กในท้องดิ้นมาก, น้ำคร่ำน้อย
ถาม---1. ดิฉันมีเพื่อนเป็นท้องลมค่ะ อยากทราบว่าคืออะไร
              มีอันตรายแค่ไหน ต้องขูดมดลูกหรือไม่
           2. การที่เด็กในท้องดิ้นมาก ถือว่าแข็งแรงหรือว่าไม่มีความสุขคะ
               เพราะเขาดิ้นตลอด ไม่เป็นเวลาเลย
           3. การมีน้ำคร่ำน้อยเกิดจากอะไรคะ มีผลเสียอย่างไรต่อลูกและตัวแม่บ้าง
ตอบ---1. "ท้องลม" เข้าใจว่ามาจากศัพท์ทางการแพทย์ที่เรียกว่า "Blighted ovum"
                หมายถึงการตั้งครรภ์ที่มีแต่ถุงเยื่อหุ้มเด็ก แต่ไม่พบตัวอ่อนของทารก
                ศัพท์นี้ได้บัญญัติขึ้นตั้งแต่เริ่มมีเครื่องอัลตราซาวนด์ที่สามารถ
                ตรวจรายละเอียดของครรภ์ที่ยังอ่อนได้ เราถือหลักว่า
                ถ้าวัดขนาดถุงเยื่อหุ้มเด็กได้เกิน 2.5 ซม. แล้วจะพบตัวอ่อนของทารก
                หากไม่แน่ใจและถ้าคุณแม่ยังไม่มีอาการเลือดออก
                เราอาจติดตามการตรวจต่ออีก 2 สัปดาห์ ถ้ามั่นใจว่าเป็นท้องลมแล้ว
                การขูดมดลูกด้วยวิธีการที่นุ่มนวลถูกต้อง ก็จะช่วยป้องกัน
                ปัญหาการตกเลือดจากการรอแท้งเองตามธรรมชาติค่ะ แต่ถ้าคุณแม่
                อยากจะรอให้แท้งเองอาจมีการตกเลือดตามมาได้ค่ะ ถ้าการแท้งนั้นไม่ครบสมบูรณ์
            2. ลูกในครรภ์จะดิ้นแรงจนคุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นได้
                เมื่ออายุครรภ์ได้ 16-20 สัปดาห์
                ลูกจะดิ้นด้วยคำสั่งของสมองเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
                และการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะระบบโครงสร้าง
               คือกระดูกและกล้ามเนื้อหลัง 28 สัปดาห์ที่ประสาทการรับรู้คือการเห็น
               และการได้ยินใกล้เคียงผู้ใหญ่แล้ว เขาจะดิ้นอย่างมีจุดมุ่งหมายมากขึ้น
               ดังนั้นการดิ้นของเขาก็เหมือนสื่อภาษาที่ให้คุณแม่รับรู้สุขทุกข์ของลูก
               เวลาลูบท้องคุยกับเขาเบา ๆ หรือเปิดฟังเพลงที่เขาชอบ
               เขาก็จะดิ้นเบา ๆ แสดงอาการพึงพอใจได้ค่ะ
            3. น้ำคร่ำถูกผลิตจากเยื่อหุ้มเด็กในระยะแรก และเมื่อไตของเด็ก
                 เริ่มทำงานส่วนหนึ่งของน้ำคร่ำก็มาจากปัสสาวะของเด็ก
                ดังนั้นเด็กที่มีความพิการในระบบทางเดินปัสสาวะที่ทำให้ขับถ่ายปัสสาวะ
               ได้น้อยก็จะมีน้ำคร่ำน้อย ที่รุนแรงคือไม่มีไตเลยทั้งสองข้าง ซึ่งพบได้น้อยมาก
                ส่วนใหญ่น้ำคร่ำน้อยมักเกิดขึ้นในเด็กตัวเล็กน้ำหนักน้อย โตไม่สมวัย
**********************************
รศ.พญ.เฉลิมศรี ธนันตเศรษฐ
**********************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น