... ระเบียงความรู้ อ่านเพื่อเพิ่มพูน ... ... สัพเพเหระ สารพันเรื่องราว ในห้วงหนึ่งของชีวิตแต่ละช่วงวัย
วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ชีววิทยา-การสังเคราะห์ด้วยแสง
ชีววิทยา-การสังเคราะห์ด้วยแสง
1. ข้อความเปรียบเทียบการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงและการหายใจต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง
1. การหายใจมีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนจากสารที่มีกำลังรีดิวซ์ต่ำไปสูง การสังเคราะห์ด้วยแสงมีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนจากสารที่มีกำลังรีดิวซ์สูงไปต่ำ
2. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนในการหายใจ เป็นผลให้มีการสังเคราะห์ ATP แต่การสังเคราะห์ด้วยแสงไม่มี ATP เกิดขึ้น
3. ในการหายใจตัวให้อิเล็กตรอน คือ NADH ส่วนในการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้น ตัวให้อิเล็กตรอนคือ NADPH
4. การหายใจ การถ่ายทอดอิเล็กตรอนเกิดในของเหลวในไมโทคอนเดรีย ส่วนการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดในกรานาของคลอโรพลาสต์
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การหายใจ มีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนจากสารที่มีกำลังรีดิวซ์ต่ำไปสูง ส่วนการสังเคราะห์ด้วยแสงมีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนจากสารที่มีกำลังรีดิวซ์สูงไปต่ำ โดยเฉพาะในช่วงการถ่ายทอดอิเล็กตรอนชนิดเป็นวัฏจักร เป็นการเปรียบเทียบการถ่ายทอดอิเล็กตรอน ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงกับการหายใจระดับเซลล์
**************************************
**************************************
**************************************
4. รงควัตถุในข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการดูดพลังงานแสงในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
1. คาโรทีนอยด์
2. ไฟโตโครม
3. คลอโรฟิลล์ เอ
4. คลอโรฟิลล์ บี
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ไฟโตโครม ไม่เกี่ยวข้องกับการดูดพลังงานในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
**************************************
5. ผลผลิตของปฏิกิริยาใช้แสงที่ถูกนำมาใช้ต่อในขั้นตอนของปฏิกิริยาไม่ใช้แสง คือ
1. ATP และ ก๊าชออกซิเจน
2. ATP และ น้ำ
3. ATP และ NADPH
4. ก๊าซออกซิเจน และ NADPH
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ATP และ NADPH เป็นผลผลิตของปฏิกิริยาใช้แสงถูกนำมาใช้ต่อ ในขั้นตอนของปฏิกิริยาไม่ใช้แสงโดยนำมาใช้ในการเปลี่ยน PGA ให้เป็น PGAL
**************************************
**************************************
**************************************
**************************************
9. ออร์แกเนลล์ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง คือ ออร์แกเนลล์ใด และจะพบออร์แกเนลล์นี้มากในเซลล์ชนิดใดของพืช
1. คลอโรพลาสต์ อิปิเดอร์มิส
2. คลอโรฟิลล์ สปันจีเซลล์
3. คลอโรฟิลล์ เซลล์คุม
4. คลอโรพลาสต์ พาลิเสดเซลล์
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ออร์แกเนลล์ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง คือ คลอโรพลาสต์และจะพบออร์แกเนลล์นี้มากในพาลิเสดเซลล์ ซึ่งอยู่อย่างหนาแน่นในใบ
**************************************
10. ในพืชพวกโกสนที่มีใบสีเหลืองหรือสีแดง สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
1. ได้ เพราะแม้จะมีสีเหลืองก็มีคลอโรฟิลล์อยู่
2. ได้ เพราะมีสีเหลืองของแคโรทีนอยส์ ซึ่งสามารถดูดพลังงานแสงได้
3. ไม่ได้ เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์
4. ไม่ได้ เพราะมีแต่แคโรทีนอยส์
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ในพืชพวกโกสน ที่มีใบสีเหลืองหรือสีแดงสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เพราะในใบมีสีเหลืองของแคโรทีนอยส์ ซึ่งสามารถดูดพลังงานแสงได้
**************************************
11. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช มีการสลายสารประกอบที่เป็นวัตถุดิบ 2 อย่างด้วยกัน อยากทราบว่าวัตถุดิบอะไรสลายตัวเมื่อได้รับแสง
1. คาร์บอนไดออกไซด์
2. น้ำ
3. คลอโรฟิลล์
4 ออกซิเจน
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชมีการสลายสารประกอบที่เป็นวัตถุดิบ 2 อย่างด้วยกัน คือ น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำจะสลายตัวเมื่อได้รับแสงซึ่งอยู่ในช่วงแสงโดยน้ำที่แตกตัวจะปล่อย H+ (Proton) และออกซิเจนออกมา
**************************************
**************************************
13. สิ่งมีชีวิตพวกใดที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ แต่สามารถสังเคราะห์อาหารได้จากสารอนินทรีย์
1. เห็ดรา
2. แบคทีเรีย
3. โพรโทซัว
4. อะมีบา
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
แบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ แต่สามารถสังเคราะห์อาหารได้จากสารอนินทรีย์ แบคทีเรียสร้างอาหารได้เอง โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น Purple sulphur bacteria โดยมีแบคทีริโอคลอโรฟิลล์ดูดรับพลังงานแสง ส่วน Nitrifying bacteria สังเคราะห์อาหารโดยการเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นไนไตรต์ และเปลี่ยนไนไตรต์ให้เป็นไนเตรตในกระบวนการสังเคราะห์เคมี (Chemosynthesis)
**************************************
14. คาโรทีนอยด์ (Carotenoids) ในพืชเป็นรงควัตถุ (Pigment) ที่สำคัญในการสร้างวิตามินใด
1. A
2. B
3. C
4. D
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
คาโรทีนอยด์ (Carotenoids) ในพืชเป็นรงควัตถุที่สำคัญในการสร้างวิตามิน A
**************************************
15. ท่านคิดว่าการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในใบอ้อย สารผลลัพธ์ตัวแรกของการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ ควรจะเป็นสารตัวใด
1. PGA
2. PEP
3. OAA
4. CAM
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ในพืชพวกอ้อยการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ จะแตกต่างจากพืชทั่ว ๆ ไป เพราะพวกอ้อยหรือข้าวโพด มีบันเดิลชีทเซลล์ (Bundle Sheath cell) หรือเซลล์ห่อหุ้มท่อลำเลียง ซึ่งมีคลอโรพลาสต์ จึงมีการสังเคราะห์ด้วยแสงที่เซลล์ส่วนนี้ด้วยการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ครั้งแรกตรึงที่เนื้อเยื่อมีโซฟิลล์ โดยคาร์บอน 3 อะตอม (Phosphoenol pyruvic acid หรือ PEP) มารับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้สารประกอบคาร์บอน 4 อะตอม (Oxaloacetic acid หรือ OAA) จึงเรียกพืชพวกนี้ว่าพืช C4
สำหรับ CAM plants เป็นพืชพวกกระบองเพชร เป็นพืชอวบน้ำอยู่ในทะเลทราย การปิด/เปิดปากใบตรงกันข้ามกับพืชทั่วไป คือ มีการเปิดปากใบในตอนกลางคืนแทนการเปิดปากใบในตอนกลางวัน การเปิดปากใบสามารถรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปสังเคราะห์ด้วยแสงได้ กระบวนการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เช่นนี้เรียกว่า Crassulacean acid metabolism หรือ CAM ตามชื่อ Family Crassulaceae ซึ่งกระบวนการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของพืชชนิดนี้ได้พบครั้งแรก
**************************************
16. ใบของพืชมีลักษณะอย่างไร เพื่อให้มีการสร้างอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ
1. เป็นแผ่นแบนวางตัวในแนวที่รับแสงได้ดี
2. เป็นแผ่นแบนเพื่อให้เนื้อเยื่อลำเลียงทำงานได้ดี
3. แตกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อให้รับแสงได้ดี
4. แตกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อให้เนื้อเยื่อลำเลียงทำงานได้ดี
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
ใบของพืชเป็นแผ่นแบนวางตัวในแนวรับแสงได้ดี ทำให้มีการสร้างอาหารได้อย่างมีประสิทธภาพ
**************************************
**************************************
**************************************
19. การที่พืชดอกสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เพราะมีรงควัตถุชนิดใด
1. คลอโรฟิลล์ a, d และไฟโคบิลิน
2. คลอโรฟิลล์ a, b, c และคาโรทีนอยด์
3. คลอโรฟิลล์ a, b และคาโรทีนอยด์
4. คลอโรฟิลล์ a, d และคาโรทีนอยด์
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
พืชดอกสังเคราะห์ด้วยแสงได้เพราะมีคลอโรฟิลล์ a, b และ c และคาโรทีนอยด์
**************************************
20. ในการทดลองเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง มีการเติมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตในน้ำที่ใส่สาหร่ายหางกระรอก การเติมสารตัวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. กระตุ้นการสังเคราะห์ด้วยแสง
2. ให้คาร์บอนไดออกไซด์
3. ควบคุมสภาพความเป็นกรด-ด่าง
4. เป็นสารอาหารของสาหร่าย
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ในการทดลองเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงมีการเติมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ในน้ำที่ใส่สาหร่ายหางกระรอก การเติมสารตัวนี้เพื่อ เพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับน้ำจะได้เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มมากขึ้น
**************************************
21. อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงอาจวัดได้จาก
1. อัตราการดูดน้ำของพืช
2. ปริมาร ATP ที่เกิดขึ้น
3. อัตราการดูดแสงของรงควัตถุ
4. ปริมาณออกซิเจนที่เกิดขึ้น
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงอาจวัดได้จากปริมาณออกซิเจนที่เกิดขึ้น ถ้ามีออกซิเจนเกิดขึ้นมาก อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะมากด้วย
**************************************
22. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง การสังเคราะห์ ATP เกิดขึ้นที่ ............ ส่วนการสังเคราะห์น้ำตาลเกิดขึ้นที่ ...........
1. Mitochondria, Stroma
2. Stroma, Thylakoid
3. Thylakoid, Stroma
4. Thylakoid, Cytoplasm
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง การสังเคราะห์ ATP จะเกิดขึ้นที่ Thylakoid ส่วนการสังเคราะห์น้ำตาลจะเกิดขึ้นที่ Stroma ของ Chloroplast
**************************************
23. สารตัวแรกที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ
1. Glucose
2. Ribulose bisphosphate
3. Phosphoglyceric acid
4. Phosphoglyceraldehyde
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
Phosphoglyceric acid (PG) เป็นสารตัวแรกที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
**************************************
24.
จากกราฟ สรุปได้ว่า
1. เมื่ออุณหภูมิคงที่ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะคงที่
2. แสง และอุณหภูมิเป็นปัจจัยที่เป็นตัวจำกัดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง
3. อิทธิพลของอุณหภูมิต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลง เมื่อความเข้มของแสงน้อย
4. ความเข้มของแสงมีอิทธิพลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงมากกว่าอิทธิพลของอุณหภูมิ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
จากกราฟ แสดงให้เห็นว่า ความเข้มของแสงมีอิทธิพลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงมากกว่าอิทธิพลของอุณหภูมิ เพราะในช่วงความเข้มของแสงน้อย อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงค่อนข้างคงที่ไม่ว่าอุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 0-30 องศาเซลเซียส แต่เมื่ออุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงกลับลดลง เช่นเดียวกับช่วงความเข้มของแสงมาก อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงยิ่งเพิ่มตามอุณหภูมิแต่เมื่ออุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงกลับลดลงอย่างรวดเร็ว
**************************************
25. จากการผ่าตัดดูโครงสร้างภายในของใบ ท่านคิดว่าชุดปฏิกิริยาแสง (Light reaction) ของการสังเคราะห์ด้วยแสง น่าจะเกิดในเนื้อเยื่อส่วนใดของใบพืชมากที่สุด และมีเหตุผลใดสนับสนุน
1. เนื้อเยื่อพาลิเสด เพราะมีการเรียงตัวของเซลล์อยู่ชิดกันอยู่อย่างหนาแน่น
2. เนื้อเยื่อสปันจี เพราะเซลล์มีขนาดใหญ่ และมีจำนวนคลอโรพลาสต์ต่อเซลล์สูงมาก
3. เนื้อเยื่อสปันจี เพราะมีช่องอากาศในเนื้อเยื่อมาก ทำให้สะดวกต่อการแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน
4. เนื้อเยื่อพาลิเสด เพราะแต่ละเซลล์มีคลอโรพลาสต์อยู่หนาแน่นมาก
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
จากการผ่าตัดดูโครงสร้างภายในของพืช Light reaction ของการสังเคราะห์ด้วยแสง น่าจะเกิดจากเนื้อเยื่อพาลิเสดเพราะแต่ละเซลล์มีคลอโรพลาสต์อยู่หนาแน่นมาก และเซลล์อยู่กันอย่างหนาแน่น
**************************************
26. ในการทดลองหาปัจจัยบางประการที่มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง หลังจากที่ได้วางโคมไฟห่างจากขวดที่บรรจุสาหร่ายหางกระรอกเป็นระยะทางที่แน่นอนแล้ว ก็จะเกิดแก๊สออกซิเจนไปไล่ที่น้ำสีที่หลอดคะปิลลารี
แต่การเกิดแก๊สออกซิเจนของสาหร่ายนั้น มีปริมาณไม่คงที่ จนกว่าจะตั้งทิ้งไว้ให้เกิดปฏิริยาพักใหญ่ ๆ อยากทราบว่า ทำไมหลังจากที่ตั้งเครื่องมือทดลองไว้พักใหญ่แล้ว การเกิดปริมาณแก๊สออกซิเจนจึงคงที่
1. เพราะสารไฮโดรเจนคาร์บอเนตที่ใส่ลงไปในน้ำนั้นหมด
2. เพราะสาหร่ายหางกระรอกเกิดความล้า เนื่องจากต้องทำงานมาเป็นเวลานาน
3. เพราะเกิดการสะสมปริมาณแสงมากขึ้น จนเกินจุดที่สาหร่ายหางกระรอกจะนำไปใช้ได้
4. เพราะสาหร่ายหางกระรอกได้ปรับตัวตามสภาพสิ่งแวดล้อมใหม่ ทำให้เกิดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงได้สูงสุดตามสภาพนั้น
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ในการทดลองหาปัจจัยบางประการที่มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง หลังจากที่ได้วางโคมไฟห่างจากขวดที่บรรจุสาหร่ายหางกระรอกเป็นระยะทางที่แน่นอนแล้ว จะเกิดแก๊สออกซิเจนไปไล่น้ำสีที่อยู่ในหลอดคะปิลลารี แต่การเกิดแก๊สออกซิเจนของสาหร่ายนั้นปริมาณไม่คงที่ จนกว่าจะตั้งทิ้งไว้ให้เกิดปฏิกิริยาพักใหญ่ ๆ เพราะสาหร่ายหางกระรอกได้ปรับตัวตามสภาพสิ่งแวดล้อมใหม่ ทำให้เกิดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงได้สูงสุดตามสภาพนั้น
**************************************
**************************************
28. ทำไมการสังเคราะห์ด้วยแสงในพืชชั้นสูง จึงต้องอาศัยระบบรงควัตถุทั้ง 2 ระบบ
1. เพราะสามารถใช้แสงสีต่าง ๆ ได้มากกว่าการใช้ระบบเดียว
2. เพราะระบบเดียวไม่สามารถให้พลังงานแก่อิเล็กตรอนอย่างพอเพียงสำหรับการส่งให้ NADP+
3. เพราะรงควัตถุที่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสงมีหลายชนิด และทั้งหมดไม่สามารถมารวมกันอยู่ในระบบเดียวได้
4. เพราะระบบเดียวไม่สามารถให้พลังงานมากพอสำหรับการสังเคราะห์ ATP
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
การสังเคราะห์ด้วยแสงในพืชชั้นสูงต้องอาศัยระบบรงควัตถุทั้ง 2 ระบบ เพราะรงควัตถุแต่ละชนิดจับคลื่นแสงในช่วงความยาวคลื่นต่างกัน
**************************************
29. จากรายงานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมแห่งหนึ่ง เรื่อง "ผลของแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าในบ้านต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช" ผู้ทดลองได้นำพืชชนิดเดียวกัน อายุเท่ากัน มา 2 กระถาง กระถางแรกวางไว้นอกบ้านให้ได้รับแสงอาทิตย์เป็นปกติ กระถางที่สองเก็บไว้ในบ้านให้ได้รับแสงสว่างจากหลอดไฟในบ้าน หลังจากนั้น 7 วัน ทำการทดสอบปริมาณแป้งในใบของพืชในกระถางทั้งสอง พบว่าพืชที่ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรงมีแป้งเต็มใบ แต่พืชที่เก็บไว้ในบ้านไม่พบแป้งเลย
ผู้ทดลองจึงสรุปว่า แสงไฟในบ้านไม่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช การทดลองและสรุปผลแบบนี้ท่านคิดว่าถูกหรือผิด ด้วยเหตุผลประการใด
1. ถูก เพราะได้รายงานได้อย่างถูกต้องกับผลการทดลอง
2. ถูก เพราะการทดลองมีการเปรียบเทียบผลของตัวแปรกับกลุ่มควบคุมได้อย่งถูกต้อง
3. ผิด เพราะการทดลองที่ได้ผิดพลาดไปจากรายงานอื่นในเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง
4. ผิด เพราะผลของการสังเคราะห์ด้วยแสงไม่จำเป็นต้องได้แป้งเสมอไป
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
จากการทดลองนำพืชชนิดเดียวกันอายุเท่ากันมา 2 กระถาง กระถางแรกวางไว้นอกบ้านให้ได้รับแสงอาทิตย์ปกติ กระถางที่สองเก็บไว้ในบ้านได้รับแสงสว่างจากหลอดไฟภายในบ้าน หลังจากนั้น 7 วัน ทำการทดสอบปริมาณแป้งในใบของพืชในกระถางทั้งสอง พบว่าพืชที่ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรงมีแป้งเต็มใบ แต่พืชที่เก็บไว้ในบ้านไม่พบแป้งเลย ผู้ทดลองจึงสรุปว่า แสงไฟในบ้านไม่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช การทดลองและสรุปผลแบบนี้ผิด เพราะไฟในบ้านมีความเข้มน้อยจนอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงต่ำมาก เมื่อได้น้ำตาล น้ำตาลถูกนำไปใช้ในการหายใจระดับเซลล์จนหมดไม่เหลือสะสมไว้ในรูปของแป้ง
**************************************
30. ต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
1. พืชมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงได้มาก เมื่อพืชได้รับแสงสีเขียว
2. พืชมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงได้น้อยที่สุด เมื่อพืชได้รับแสงสีส้ม
3. แสงสีต่าง ๆ ที่คลอโรฟิลล์รับไว้ มีความสัมพันธ์กับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง
4. ทั้งข้อ 1 และข้อ 2
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
แสงสีต่าง ๆ ที่คลอโรฟิลล์รับไว้มีความสัมพันธ์กับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น คลื่นแสงสีส้มทำให้พืชมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงมาก ส่วนคลื่นแสงสีเขียว ทำให้พืชมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงน้อย
**************************************
31. ต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
1. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์ควบคุม อุณหภูมิจึงมีความสัมพันธ์ต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง
2. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมเคมิคัล (Thermochemical reaction) ขึ้นด้วย
3. กลไกของการสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นกระบวนการที่พืชเปลี่ยนสิ่งไร้ชีวิตไปสร้างอาหาร ซึ่งเป็นสารที่มีพลังงานศักย์สูง
4. ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ข้อความทั้ง 3 ข้อถูกต้อง คือ
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์ควบคุม อุณหภูมิจึงมีความสัมพันธ์ต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิด Thermochemical reaction ขึ้นด้วย และกลไกการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นกระบวนการที่พืชเปลี่ยนสิ่งไร้ชีวิตไปสร้างอาหาร ซึ่งเป็นสารที่มีพลังงานสูง
**************************************
32. โฟโตไลซิส (Photolysis) คือ
1. การสลายโมเลกุลของน้ำในปฏิกิริยาที่ใช้แสง ทำให้เกิด ATP และ NADPH + H ซึ่งถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงต่อไป
2. การสลายโมเลกุลของน้ำในปฏิกิริยาที่ใช้แสง ทำให้เกิด ATP และ NADPH + H ซึ่งถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาที่ใช้แสงต่อไปอีก
3. การสลายโมเลกุลของน้ำในปฏิกิริยาที่ใช้แสง ทำให้เกิด ATP และ NADPH ซึ่งถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงต่อไป
4. การสลายโมเลกุลของน้ำในปฏิกิริยาที่ใช้แสง ทำให้เกิด ATP และ NADPH ซึ่งถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาที่ใช้แสงต่อไปอีก
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
Photolysis คือ การสลายโมเลกุลของน้ำในปฏิกิริยาที่ใช้แสง ทำให้เกิด ATP และ NADPH + H+ ซึ่งถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงต่อไป
**************************************
33. การสังเคราะห์ด้วยแสง คือกระบวนการที่พืช
1.เปลี่ยนน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นสารอนินทรีย์
2. เปลี่ยนสารอินทรีย์ให้เป็นกลูโคส
3. เปลี่ยนสารอินทรีย์ให้เป็นสารอนินทรีย์
4. เปลี่ยนสารอนินทรีย์ให้เป็นกลูโคส
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การสังเคราะห์ด้วยแสง คือ กระบวนการที่พืชเปลี่ยนสารอนินทรีย์ให้เป็นกลูโคส
**************************************
34. ลักษณะต่อไปนี้ ข้อใดมีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์ด้วยแสงมากที่สุด
1. ใบทุกใบพยายามชูให้สม่ำเสมอกัน เพื่อรับแสงสว่าง ผิวใบมีคิวติเคิลหนา ป้องกันการระเหยน้ำ
2. ใบเรียงตัวสลับกัน เพื่อให้กลุ่มพาลิเสดเซลล์รับแสงมากที่สุด
3. ใบเรียงตัวสลับกัน แผ่นใบเรียบดูดแสงได้ดี
4. ใบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหนาแน่น แผ่นใบหนา มีกลุ่มเซลล์ไซเลม โฟลเอมจำนวนมาก
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การที่ใบเรียงตัวสลับกัน เพื่อให้กลุ่มพาลิเสดเซลล์รับแสงมากที่สุด ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสังเคราะห์ด้วยแสงมากที่สุด
**************************************
**************************************
**************************************
**************************************
**************************************
39. ช่วงแสงใดที่พืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีที่สุด
1. ช่วงแสง Far red
2. ช่วงแสงที่ตาสามารถมองเห็น
3. ช่วงแสงสีน้ำเงินและสีแดง
4. ช่วงแสงสีเหลืองและสีเขียว
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ช่วงแสงที่พืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีที่สุด คือ ช่วงแสงสีน้ำเงิน และแสงสีแดง
**************************************
40. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช สารตัวแรกที่ไปรวมตัวกับคาร์บอนไดออกไซด์
1. Phosphoglyceric acid
2. Ribulose bisphosphate
3. Phosphoglyceraldehyde
4. Glucose-6-phosphate
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช สารตัวแรกที่ไปรวมตัวกับคาร์บอนไดออกไซด์ คือ Ribulose bisphosphate (RuBP)
**************************************
41. ในป่าดงดิบหรือป่าทึบ พบว่ามีเอปิไฟท์ (Epiphyte) อยู่บนต้นไม้ใหญ่หนาแน่นกว่าในป่าละเมาะ หรือป่าเต็งรังเพราะ
1. เอปิไฟท์หนีความชื้นที่พื้นดินขึ้นไปบนยอด
2. เอปิไฟท์โตเร็วกว่าพืชยืนต้นขนาดใหญ่ จึงอยู่เหนือพืชใหญ่
3. เอปิไฟท์ต้องการแสงสว่างมาก จึงต้องขึ้นอยู่เหนือพืชใหญ่
4. เอปิไฟท์ไม่สามารถดูดอาหารจากดิน ไม่ต้องเป็นปรสิตของพืชใหญ่
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ในป่าดงดิบหรือป่าทึบ มีพืชพวกเอปิไฟท์ (Epiphyte) หรือพืชที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้อื่น แต่ไม่ใช่ปรสิต เช่น พวกกาฝาก ตัวอย่างของเอปิไฟท์ เช่น กระเช้าสีดา เถาวัลย์ กล้วยไม้ พืชพวกนี้ต้องการแสงสว่างแต่บริเวณแถบโคนต้นของไม้ใหญ่ แสงไม่พอจึงขึ้นไปอาศัยอยู่บนยอดของไม้ใหญ่เหล่านั้น
**************************************
42. เซลล์ใดที่ไม่พบกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ทั้ง ๆ ที่เป็นเซลล์ของใบ
1. Palisade cell
2. Spongy cell
3. Guard cell
4. Epidermis
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
Epidermis เป็นเซลล์ของใบซึ่งไม่มีคลอโรพลาสต์ ดังนั้นจึงไม่พบการสังเคราะห์ด้วยแสงที่เซลล์ Epidermis ไม่ว่าด้านบนหรือด้านล่าง แต่ Guard cell หรือเซลล์คุมเป็นเซลล์ชั้นเดียวกับ Epidermis แต่มีคลอโรพลาสต์ จึงมีการสังเคราะห์ด้วยแสงได้
**************************************
43. ในการทดสอบแป้งในใบนั้น ต้องสกัดคลอโรฟิลล์ออกจากใบ เหตุใดจึงใช้แอลกอฮอล์ร้อน ๆ สกัดคลอโรฟิลล์ ไม่ใช้น้ำร้อนสกัด เพราะ
1. ใช้น้ำร้อนทำให้แป้งในใบสุก
2. น้ำร้อนไม่ละลายคลอโรฟิลล์
3. น้ำถูกความร้อนกลายเป็นไอเร็ว
4. แอลกอฮอล์ทำให้บริสุทธิ์ง่ายกว่าน้ำ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การทดสอบแป้งในใบนั้นต้องสกัดคลอโรฟิลล์ออกจากใบเสียก่อน โดยใช้แอลกอฮอล์ร้อน ๆ สกัดออก เหตุที่ไม่ใช้น้ำร้อนสกัด เพราะน้ำร้อนไม่ละลายคลอโรฟิลล์ แต่แอลกอฮอล์สามารถละลายคลอโรฟิลล์ได้
**************************************
44. นักเรียนสามารถทดสอบว่า พืชมีการสังเคราะห์ด้วยแสงได้จาก
1. การวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้ไป
2. การวัดปริมาณแก๊สออกซิเจนที่เพิ่มขึ้น
3. การวัดปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น
4. การทดสอบแป้งในใบ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
นักเรียนสามารถทดสอบว่าพืชมีการสังเคราะห์ด้วยแสงได้จาก การทดสอบว่ามีแป้งในใบ ในระดับนักเรียนยังไม่มีเครื่องมือเครื่องใช้เพียงพอสำหรับวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้ไปหรือปริมาณออกซิเจนที่เพิ่มขึ้น หรือปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น
**************************************
45. ในพืชชั้นสูงนั้น พบว่าคลอโรฟิลล์นั้นอยู่ภายใน
1. Leucoplast
2. Chromoplast
3. Chloroplast
4. ทั้งข้อ 2 และข้อ 3
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ในพืชชั้นสูงนั้นคลอโรฟิลล์อยู่ใน Chromoplast หรือ Chloroplast แล้วแต่ชนิดของพืช เช่น ต้นโกสน ซึ่งมีใบสีต่าง ๆ นั้นเป็น Chromoplast แต่มีคลอโรฟิลล์อยู่ด้วยทำให้สังเคราะห์ด้วยแสงได้ แต่พืชสีเขียวอื่น ๆ คลอโรฟิลล์อยู่ใน Chloroplast
**************************************
46. หากจัดเรือนต้นไม้ชนิดที่ควบคุมความเข้มข้นของแสงด้วยหลอดไฟ แต่ปรากฏว่ามีแต่หลอดสีอยู่ทั้งหมดโดยไม่มีหลอดให้แสงขาวเลย จะใช้หลอดสีใดแทน จึงทำให้พืชสังเคราะห์ด้วยแสงได้
1. เหลืองส้ม
2. เขียว
3. แดง
4. น้ำเงินม่วง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
หากจำเป็นต้องใช้หลอดไฟที่ให้แสงสีต่าง ๆ แทนแสงขาวแล้ว แสงที่เหมาะที่สุดที่จะทำให้พืชสังเคราะห์ด้วยแสงได้ ควรเป็นแสงสีแดง เนื่องจากแสงสีแดงเป็นแสงที่คลอโรฟิลล์สามารถดูดไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงได้มากที่สุด และให้ประสิทธิภาพสูงสุด
**************************************
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
สมการ การสังเคราะห์ด้วยแสงที่ถูกต้องที่สุดควรเป็น
สำหรับข้อ 1 ไม่ถูก เนื่องจากการสังเคราะห์ด้วยแสงแล้วไม่ได้น้ำ
ข้อ 2 ไม่ถูกต้อง เนื่องจากใช้แสงกับคลอโรฟิลล์ ที่ถูกต้องเป็นแสงกับคลอโรพลาสต์
ข้อ 4 ไม่ถูกต้องที่การสังเคราะห์ด้วยแสงมิใช่ใช้เพียงเซลล์พืชโดยทั่วไปเท่านั้น เซลล์พืชต้องเป็นเซลล์ที่มีคลอโรพลาสต์จึงจะสังเคราะห์ด้วยแสงได้
**************************************
48. คลอโรพลาสต์และไมโทคอนเดรียนั้น มีโครงสร้างและส่วนประกอบภายในเหมือนกันที่
1. เยื่อชั้นเดียว และมีไซโทโครม
2. เยื่อชั้นเดียว และมีกรดนิวคลีอิก
3. เยื่อสองชั้น และมีกรดนิวคลีอิก
4. เยื่อสองชั้น และมีคลอโรฟิลล์
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ทั้งคลอโรพลาสต์และไมโทคอนเดรียนั้นเป็น Organelle ที่มีลักษณะเหมือนกันบางอย่าง คือเป็น Organelle ที่มีเยื่อ 2 ชั้นเหมือนกัน และมีกรดนิวคลีอิกอยู่ภายในเหมือนกัน
**************************************
49. นักวิทยาศาสตร์ที่พบว่าคลอโรพลาสต์สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้เองอย่างอิสระ คือ
1. Hill
2. Blackman
3. Calvin
4. Van Niel
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
ในปี ค.ศ. 1932 นักชีวเคมีชาวอังกฤษ ชื่อ Robin Hill ทำการแยกคลอโรพลาสต์ออกจากใบไม้ ใช้แสงน้ำและมีสารทำหน้าที่รับไฮโดรเจน (Hydrogen acceptor) พบว่าสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ นอกจากนั้นฮิลยังบอกได้ว่า มีการสร้างออกซิเจนในช่วงปฏิกิริยาใช้แสงโดยออกซิเจนนี้ได้มาจากน้ำ
สำหรับข้อ 2 Blackman เป็นนักสรีรวิทยาชาวอังกฤษ แสดงให้เห็นว่า ขั้นตอนของการสังเคราะห์ด้วยแสงแบ่งเป็น ปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง และปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง
สำหรับข้อ 3 Calvin เป็นผู้ค้นพบ ปฏิกิริยาตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทำให้เกิดการสร้างคาร์โบไฮเดรต
สำหรับข้อ 4 Van Niel เป็นคนตั้ง Hypothesis ที่ว่าออกซิเจนที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง ในพืชสีเขียวมาจากการแตกตัวของโมเลกุลของน้ำ ส่วนที่ทำชื่อให้ Van Niel มากคือ Purple Sulfer Bacteria สังเคราะห์กำมะถัน ดังสมการ
**************************************
จากภาพข้างล่าง จงใช้ตอบคำถามข้อ 50-53
50. หมายเลข 1 เรียกว่า
1. Epidermal cell
2. Spongy parenchyma
3. Palisade parenchyma
4. Mesophyll
เฉลยข้อ 3 1เหตุผล
Palisade parenchyma หรือ Palisade cell เป็นเซลล์ที่อัดแน่นลักษณะคล้ายเสารั้ว อยู่ถัดจาก Upper epidermis ลงมา เซลล์มีคลอโรพลาสต์จึงทำให้ด้านบนของใบมีสีเขียวเข้มกว่าทางด้านล่าง
ข้อ 1. Epidermal cell เป็นเซลล์ชั้นบน และชั้นล่างของใบ ซึ่งเรียกว่า Upper epidermis และ Lower epidermis ตามลำดับ เป็นเซลล์ที่ไม่มีคลอโรพลาสต์ ยกเว้นเซลล์คุมหรือ Guard cell ซึ่งมีคลอโรพลาสต์
ข้อ 2. Spongy parenchyma หรือ Spongy cell เป็นเซลล์ลักษณะคล้าย Palisade parenchyma คือ มีคลอโรพลาสต์แต่อยู่กันอย่างหลวม ๆ และอยู่ทางด้านล่างใกล้กับ Lower epidermis
ข้อ 4. Mesophyll คือ ชั้นกลางของใบ ชั้นนี้อยู่ระหว่าง Upper epidermis และ Lower epidermis ได้แก่ ชั้นของ Palisade cell และ Spongy cell เพราะบริเวณนั้นมีคลอโรพลาสต์มากกว่าบริเวณอื่น ๆ
**************************************
51. การสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดมากที่
1. 1 และ 2
2. 1 และ 3
3. 2 และ 3
4. 4 และ 5
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดมากที่ Palisade perenchyma และ Spongy cell เพราะบริเวณอื่น ๆ ไม่มีคลอโรพลาสต์
**************************************
52. หมายเลขใดนำน้ำมาใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
1. 2
2. 3
3. 4
4. 5
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การนำน้ำมาใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นพืชนำมาทางรากโดยการดูดน้ำ จากดินส่งสู่ใบทางไซเลม ซึ่งอยู่ในส่วนของเส้นใบนั้นเอง
**************************************
53. หมายเลขใด มีอิทธิพลต่อปริมาณของออกซิเจนที่ออกจากใบ
1. 1 และ 2
2. 3 และ 4
3. 4 และ 5
4. ทั้งข้อ 1, 2 และข้อ 3
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ปริมาณออกซิเจนที่ออกจากใบนั้นขึ้นกับ Palisade cell, Spongy cell ในกรณีของการสังเคราะห์ด้วยแสงแล้วได้รับออกซิเจนอันเป็นผลพลอยได้ ขึ้นกับการลำเลียงน้ำของเส้นใบและการปิด-เปิดปากใบ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์คุม
**************************************
54. ในการทดลองเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง นักเรียนคนหนึ่งทดลองกับต้นชบา โดยใช้พาราฟินเหลวฉาบทั้งหน้าใบและหลังใบทั้งหมดทุกใบ จากนั้นนำไปรับแสงเป็นเวลาครึ่งวัน แล้วเด็ดใบมาทดสอบแป้ง พบว่าไม่มีแป้งในใบ แสดงว่า
1. น้ำไม่สามารถเข้าไปในใบ
2. คลอโรพลาสต์หมดสภาพที่จะรับแสง
3. ใบรับออกซิเจนไม่ได้
4. ใบรับคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การทดลองใช้สารฉาบใบ เช่น พาราฟินเหลวหรือสารอื่นทำให้ปากใบถูกปิด ดังนั้นถึงจะนำใบไปรับแสงก็จะไม่เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสง เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ไม่สามารถเข้าทางปากใบ ทำให้ตรวจไม่พบว่ามีแป้งในใบ
**************************************
55. พืชใช้วัตถุดิบชนิดใดบ้างสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสง
1. น้ำ, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, Mineral salts
2. น้ำ, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, Chlorophyll
3. น้ำ, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
4. น้ำ, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, แสงสว่าง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
วัตถุดิบสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสงมีเพียงน้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น ส่วนคลอโรฟิลล์เป็น Pigment อยู่ในเซลล์ที่ทำการสังเคราะห์ด้วยแสงและแสงสว่างเป็นพลังงานที่ได้จากดวงอาทิตย์ มิใช่วัตถุดิบ
**************************************
56. มัดท่อน้ำท่ออาหารของใบ อยู่ในส่วนใด
1. ในชั้น Epidermis
2. ชั้นของ Spongy cell
3. ชั้นของ Palisage cell
4. ชั้นของ Mesophyll
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
มัดท่อน้ำท่ออาหารของใบหรือเส้นใบ หรือ Vascular bundle และ Vein นั้นอยู่ในชั้น Mesophyll และมักอยู่ในบริเวณ Spongy cell
**************************************
นั้นผู้ค้นพบและพยายามใช้อธิบายเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ
1. Priestley
2. Van Helmont
3. Ingen Housz
4. Van Neil
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
Van Neil เป็นคนค้นพบการทำงานของ Purple sulfer bacteria ว่ามีการสังเคราะห์ซัลเฟอร์ได้จากไฮโดรเจนซัลไฟด์ ดังสมการ
แต่ในพืชสีเขียวทั่ว ๆ ไป จะเป็น
**************************************
58. ภาพแสดงกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ข้อใดถูกต้อง
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
รูปกล่องเปรียบเทียบเหมือนที่อยู่ของคลอโรพลาสต์ ซึ่งเกิดปฏิกิริยาสังเคราะห์ด้วยแสงสองช่วง คือ ช่วงใช้แสงเป็นการแยกน้ำออกมาทำให้ได้ออกซิเจน และไฮโดรเจนที่เหลือจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ กลายเป็นคาร์โบไฮเดรตในช่วงที่ไม่ต้องใช้แสง
**************************************
จากรูปข้างล่างเป็นการทดลองเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง
59. หมายเลข 2 คือ
1. แผ่นกระดาษแก้วเจาะรูตรงกลางเป็นรูปตัวแอล
2. แผ่นดีบุกเจาะรูตรงกลางเป็นรูปตัวแอล
3. แผ่นกระจกใสเจาะรูตรงกลางเป็นรูปตัวแอล
4. แผ่นกระจกฝ้าเจาะรูตรงกลางเป็นรูปตัวแอล
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
หมายเลข 2 เป็นดีบุกบาง ๆ หรือ Aluminium foil ที่เจาะเป็นรูปตัว L นำไปปะติดกับใบซึ่งยังติดกับต้นอยู่ จากนั้นนำไปไว้ในที่สว่างให้มีการสังเคราะห์ด้วยแสง
**************************************
60. หมายเลข 3 คือ
1. บริเวณที่มีสีเขียว แสดงว่ามีการสังเคราะห์ด้วยแสง
2. บริเวณที่มีสีม่วงน้ำเงิน แสดงว่ามีการสังเคราะห์ด้วยแสง
3. บริเวณที่มีสีเหลือง แสดงว่ามีการสังเคราะห์ด้วยแสง
4. บริเวณที่มีสีขาว แสดงว่ามีการสังเคราะห์ด้วยแสง
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
หมายเลข 3 คือ บริเวณที่มีสีม่วงน้ำเงิน เมื่อทดสอบการสังเคราะห์ด้วยแสงของใบตามกรรมวิธีใช้น้ำยาไอโอดีน ทดสอบ เนื่องจากบริเวณนั้นเป็นบริเวณที่มีแสงตกกระทบ ทำให้สามารถสร้างแป้งได้
**************************************
61.ในระยะ A ใบควรจะ
1. ติดอยู่กับลำต้น แล้วนำไปรับแสง
2. เด็ดออกจากลำต้น แล้วนำไปรับแสง
3. เด็ดออกจากลำต้น แล้วนำไปไว้ในที่มืด
4. ติดอยู่กับลำต้น แล้วนำไปไว้ในที่มืด
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การทดลองนี้ใบควรติดอยู่กับลำต้น แล้วนำไปรับแสง ทำให้สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เพราะมี การลำเลียงน้ำจากลำต้นสู่ใบได้
**************************************
62. ในการสังเคราะห์ด้วยแสง ไม่จำเป็นต้องใช้
1. ก๊าซออกซิเจน
2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3. แสง
4. อุณหภูมิคงที่
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การสังเคราะห์ด้วยแสงไม่จำเป็นต้องใช้อุณหภูมิที่คงที่ แต่ออกซิเจนจำเป็นจะต้องใช้ สำหรับเซลล์ที่มีคลอโรพลาสต์ สังเคราะห์ด้วยแสง
**************************************
63. การทดสอบแป้งในใบไม้นั้น ควรเลือกใบชนิดใดนำมาทดสอบ
1. ใบอ่อน ๆ
2. ใบแก่ ๆ
3.ใบขนาดใหญ่
4. ใบขนาดเล็ก
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
การทดสอบแป้งในใบนั้น ควรเลือกใบขนาดใหญ่มาทดสอบ เพราะมีการสังเคราะห์ด้วยแสงเห็นได้ชัดเจนกว่าเมื่อทดสอบตามกระบวนการ โดยใช้น้ำยาไอโอดีน ส่วนใบอ่อน ๆ หรือใบแก่ ๆ ปริมาณคลอโรพลาสต์อาจไม่เพียงพอเช่นเดียวกับในใบขนาดเล็ก
**************************************
64. ปากใบมีหน้าที่
1. คายน้ำ ปล่อยออกซิเจน
2. คายน้ำ ปล่อยออกซิเจน รับคาร์บอนไดออกไซด์
3. คายคาร์บอนไดออกไซด์ รับออกซิเจน
4. คายน้ำ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ปากใบอยู่ในชั้นเอพิเดอร์มิส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอพิเดอร์มิสชั้นล่าง ปากใบเป็นทางปล่อยน้ำและแก๊สออกซิเจนพร้อมกับรับคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
**************************************
65. คลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้น ทำหน้าที่
1. จับพลังงานแสง
2. จับคาร์บอนไดออกไซด์
3. รีดิวซ์คาร์บอนไดออกไซด์
4. สร้างกลูโคส
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
คลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุในพืช ทำหน้าที่รับหรือจับพลังงานแสงโดยเฉพาะ แล้วทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกไปเพื่อไปใช้แยกโมเลกุลของน้ำ
**************************************
66. ใบไม้ทั่ว ๆ ไปด้านหลังใบสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ เนื่องจาก
1. ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านหลังใบมีสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ
2. ชั้นคิวติเคิลของด้านท้องใบหนามากกว่าด้านหลังใบ
3. คลอโรพลาสต์ด้านหลังใบจะมีมากกว่าด้านท้องใบ
4. คลอโรพลาสต์ด้านหลังใบมีสีเข้มมากกว่าด้านท้องใบ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ด้านหลังใบมีสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ เพราะทางด้านหลังใบมีปริมาณคลอโรพลาสต์มากกว่าเนื่องจากทางด้านหลังใบเป็น Palisade cell ที่อัดกันแน่น
**************************************
67. เซลล์คุมและเอพิเดอร์มิสด้านล่างของใบนั้นเป็นเซลล์แถวเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่
1. เอพิเดอร์มิสมีนิวเคลียส เซลล์คุมไม่มีนิวเคลียส
2. เอพิเดอร์มิสไม่มีนิวเคลียส เซลล์คุมมีนิวเคลียส
3. เอพิเดอร์มิสมีคลอโรพลาสต์ เซลล์คุมไม่มีคลอโรพลาสต์
4. เอพิเดอร์มิสไม่มีคลอโรพลาสต์ เซลล์คุมมีคลอโรพลาสต์
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
โดยทั่วไปเอพิเดอร์มิสด้านล่างและเซลล์คุมเป็นเซลล์แถวเดียวกัน แต่เอพิเดอร์มิสไม่มีคลอโรพลาสต์ เซลล์คุมมีคลอโรพลาสต์ ดังนั้น เซลล์คุมจึงมีการสังเคราะห์ด้วยแสง
**************************************
จากรูป จงตอบคำถามข้อ 68-72
แผนภาพแสดงชุดการทดลองเพื่อวัดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง
68. การที่โคมไฟอยู่ห่างจากพืชที่ใช้สังเคราะห์ด้วยแสงในระยะต่าง ๆ นั้น มีผลต่อความเข้มของแสงที่พืชได้รับอย่างไร
1. ยิ่งเลื่อนโคมไฟเข้าใกล้ ความเข้มของแสงยิ่งลดลง
2. ยิ่งเลื่อนโคมไฟเข้าใกล้ ความเข้มของแสงยิ่งเพิ่มขึ้น
3. การเลื่อนโคมไฟใกล้หรือไกล ไม่มีผลต่อความเข้มของแสง เพราะมีน้ำในบีกเกอร์เป็นตัวปรับแสงให้คงที่อยู่เสมอ
4. การเลื่อนโคมไฟใกล้หรือไกล มีผลเฉพาะต่อน้ำและขวดแก้ว แต่ไม่มีผลต่อพืช
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การใช้โคมไฟส่องไปยังพืชนั้น ระยะทางระหว่างพืชและโคมไฟมีความสำคัญต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง กล่าวคือ ในระยะห่าง ความเข้มข้นของแสงจะน้อยกว่าระยะทางใกล้ ๆ ระหว่างโคมไฟกับพืชในขณะที่ใช้หลอดไฟหลอดเดียวกัน
**************************************
69. ความเข้มของแสงและอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
1. มี เมื่อความเข้มของแสงเพิ่ม อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มตาม
2. มี เมื่อความเข้มของแสงเพิ่ม อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงลด
3. มี เมื่อความเข้มของแสงลด อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่ม
4. ไม่มี ไม่ว่าความเข้มข้นของแสงอยู่เท่าใดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงคงที่เสมอ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
ความเข้มของแสงและอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงมีความสัมพันธ์กัน โดยเมื่อเพิ่มความเข้มของแสง อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความเข้มของคาร์บอนไดออกไซด์มีปริมาณสูง
**************************************
70. ในการทดลองนี้เหตุใดจึงต้องใช้ขวดที่มีพืชแช่น้ำในบีกเกอร์
1. เพื่อรักษาอุณหภูมิในขวดให้คงที่ตลอดเวลา
2. เพื่อรักษาอุณหภูมิของพืชในขวดให้คงที่ตลอดเวลา
3. น้ำในบีกเกอร์จะเป็นตัวควบคุมไม่ให้อุณหภูมิของขวดเปลี่ยน
4. ถูกทั้งข้อ 1, 2 และข้อ 3
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การทดลองนี้ไฟทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการทดลองจึงต้องแช่ขวดสาหร่ายไว้ในน้ำอีกต่อหนึ่ง เพื่อลดอุณหภูมิ หรือรักษาอุณหภูมิในขวดสาหร่าย และอุณหภูมิของสาหรายไม่ให้ร้อนเกินไปจนสาหร่ายตาย ดังนั้นน้ำในบีกเกอร์จะเป็นตัวควบคุมไม่ให้อุณหภูมิของขวดเปลี่ยนแปลง
**************************************
71. ในการทดลองนี้ เหตุใดจึงเติมผงซักฟอกลงไปด้วยเล็กน้อย
1. เพื่อให้เห็นสีได้ชัดเจนขึ้น
2. เพื่อให้สีเคลื่อนที่ได้ดีขึ้น
3. เพื่อมิให้สีติดข้างหลอดแก้ว
4. เพื่อมิให้สีเคลื่อนที่เร็วเกินไป
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
การเติมผงซักฟอกลงไปในสีที่หลอดรูปตัวยู เพื่อมิให้สีติดกับหลอดแก้วจะทำให้การสังเกตระยะต่าง ๆ ผิดไป
**************************************
72. การทดลองนี้ หากต้องการให้อุณหภูมิคงที่ตลอดเวลาจะทำได้โดย
1. ใช้บีกเกอร์ขนาดใหญ่ขึ้น
2. ใส่น้ำให้มากกว่าเดิม
3. อาจเติมน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ลงไปในบีกเกอร์
4. ทั้งข้อ 1, 2 และข้อ 3
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การทดลองนี้ หากต้องการอุณหภูมิคงที่ ต้องใช้บีกเกอร์ขนาดใหญ่ขึ้น ใส่น้ำมากขึ้น อุณหภูมิของขวดจะคงที่ได้ เนื่องจากน้ำจะเป็นตัวระบายความร้อนอย่างดี หากไม่มีบีกเกอร์ขนาดใหญ่ต้องใช้บีกเกอร์เดิม อาจต้องเติมน้ำแข็งลงไปเพื่อควบคุมอุณหภูมิ
**************************************
73. กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางของโคมไฟกับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ได้จากการทดลองจะเป็นดังนี้
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
กราฟแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างระยะทางระหว่างขวด และโคมไฟกับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง กล่าวคือ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเปลี่ยนแปลงตามความเข้มของแสง เมื่อเปลี่ยนความเข้มของแสง โดยการเปลี่ยนระยะของหลอดไฟ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเปลี่ยนแปลงตามระยะของหลอดไฟ ยิ่งใกล้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงยิ่งเพิ่ม
**************************************
จากข้อมูลในกราฟข้างล่างใช้ตอบคำถามข้อ 74-77
กราฟการเปลี่ยนแปลงของอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และความเข้มของแสงที่ต่างกัน 3 ระดับ
74. หากความเข้มของแสงคงที่ ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์จะมีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงอย่างไร
1. เมื่อความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า 0.10% หากเพิ่มความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มตาม
2. เมื่อความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่า 0.10% หากเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์อีก อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะไม่เปลี่ยน
3. ความเข้มของแสงจะไม่มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเลย ไม่ว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จะมากหรือน้อยเพียงไร
4. ทั้งข้อ 1 และข้อ 2
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
เมื่อความเข้มข้นของแสงคงที่ ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยช่วงที่ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ยังน้อยอยู่ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้น เมื่อความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมาขึ้น จนเมื่อความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ถึงระดับหนึ่ง อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะคงที่ ถึงแม้จะเพิ่มความเข้มข้นคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้นอีก อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็จะไม่เพิ่มขึ้น
**************************************
75. ถ้าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์คงที่ ความเข้มของแสงจะมีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือไม่
1. ไม่มี เพราะอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงขึ้นกับความเข้มข้นของแสงเท่านั้น
2. ไม่มี เพราะอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะคงที่อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเปลี่ยนความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์หรือความเข้มของแสง
3. มี อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มเมื่อความเข้มของแสงมากขึ้น ยกเว้นคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 0.02% ถึงแม้จะเปลี่ยนความเข้มของแสง อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็ไม่เปลี่ยน
4. มี อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลงเมื่อความเข้มของแสงมากขึ้น ยกเว้นคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 0.02% ถึงแม้จะเปลี่ยนความเข้มของแสง อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็ไม่เปลี่ยน
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ถ้าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์คงที่ ความเข้มของแสงมีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มของแสงมากขึ้น ยกเว้น หากความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 0.02% ถึงแม้จะเพิ่มความเข้มของแสงจากน้อยเป็นปานกลาง และมากก็ไม่ทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มขึ้น
**************************************
76. ความเข้มข้นที่น้อยที่สุดของคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดได้มากที่สุด คือประมาณ
1. 0.001%
2. 0.01%
3. 0.1%
4. 1.0%
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ความเข้มข้นที่น้อยที่สุดของคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดได้มากที่สุด คือ ประมาณ 0.1%
**************************************
77. การสังเคราะห์อาหารของพืชและการสังเคราะห์อาหารในแบคทีเรียบางชนิด ต่างกันที่
1. ชนิดของแก๊สที่เกิด
2. แหล่งของพลังงานที่ใช้ในการสร้างอาหาร
3. หน้าที่ในกลุ่มของสิ่งมีชีวิต
4. ไม่ต่างกันเลย
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การสังเคราะห์อาหารของพืช และการสังเคราะห์อาหารในแบคทีเรียบางชนิดต่างกันที่ชนิดของแก๊สที่เกิด คือ พืชสังเคราะห์อาหารแล้วได้แก๊สออกซิเจน ส่วนแบคทีเรียบางชนิดสังเคราะห์อาหารแล้วไม่ได้แก๊สออกซิเจน
**************************************
78.
ผลการทดลองนี้แสดงว่า
1. พืชสีเขียวทำให้อากาศเสียเป็นอากาศดี
2. พืชสีเขียวทำให้อากาศดีเป็นอากาศเสีย
3. หนูทำให้อากาศเสียเป็นอากาศดี
4. หนูทำให้อากาศที่ใช้ในการลุกไหม้แล้วให้ติดไฟได้ดี
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การทดลองนี้ทำใน ค.ศ. 1772 Joseph Priestley นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นผู้ทดลอง พบว่าพืชสีเขียวสามารถเปลี่ยนอากาศเสีย ซึ่งทำให้เทียนดับและหนูตาย เป็นอากาศดี ซึ่งทำให้สามารถจุดเทียนไขติดได้อีก
**************************************
79. หลายครั้งที่พริสท์ลีย์แบ่งอากาศ หลังจากเทียนไขลุกไหม้และดับแล้วออกเป็น 2 ส่วน เอาพืชสีเขียวใส่ไว้ในส่วนหนึ่ง และปล่อยให้อีกส่วนหนึ่งคงบรรจุอยู่ในภาชนะแก้วที่คว่ำไว้ในน้ำ แต่ไม่มีพืช ทุกครั้งที่จุดเทียนไขจะพบว่าเทียนไขจะไม่ดับในอากาศส่วนแรก แต่จะดับในอากาศส่วนที่สอง พริสท์ลีย์ทำเช่นนี้เพื่อ
1. หากทดลองอันแรกไม่สำเร็จยังมีอากาศอีกชุดเอาไว้ทดสอบ
2. การทดลองจะได้เชื่อถือได้มากขึ้น เพราะทดลองเหมือน ๆ กัน หลาย ๆ หน
3. การทดลองจะได้เชื่อถือได้มากขึ้น เพราะทดลองแล้วพบว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น เนื่องมาจากพืชสีเขียว
4. การทดลองอาจผิดพลาดได้ หากไม่แบ่งแก๊สที่เกิดเพื่อไว้ทดลองอีก
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
พริสท์ลีย์แบ่งอากาศ หลังจากเทียนไขลุกไหม้และดับแล้วออกเป็น 2 ส่วน เอาพืชสีเขียวใส่ไว้ในส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะแก้วที่คว่ำไว้ในน้ำแต่ไม่มีพืช ทุกครั้งที่จุดเทียนจะพบว่าเทียนไขไม่ดับทันทีในอากาศส่วนแรก แต่จะดับในอากาศส่วนที่สอง พริสท์ลีย์ทำเช่นนั้นเพื่อเอาไว้เปรียบเทียบ ซึ่งทำให้สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากพืชสีเขียวไม่ใช่เกิดจากปัจจัยอื่น
**************************************
80. ถ้าต้องการทดสอบว่า การสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้แสงตลอดเวลา ควรจะทำ
1. การทดลอง 2 ชุด ชุดหนึ่งเปิดไฟตลอด ชุดหนึ่งปิดไฟตลอด
2. การทดลอง 2 ชุด ชุดหนึ่งเปิดไฟตลอด ชุดหนึ่งเปิด-ปิดไฟสลับตลอด
3. การทดลอง 2 ชุด ทั้งสองชุดเปิด-ปิดไฟสลับตลอด
4. การทดลอง 2 ชุด สองชุด เปิดไฟตลอด
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การทดสอบว่าการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้แสงตลอดเวลานั้นใช้ทดลองเปรียบเทียบ 2 ชุด ชุดหนึ่งเปิดไฟตลอดเวลา อีกชุดหนึ่งปิด-เปิดไฟสลับ ในเวลาเท่ากัน จะได้คาร์โบไฮเดรตปริมาณเท่า ๆ กัน แล้วแสดงว่า การให้แสงตลอดเวลานั้นไม่สำคัญ
**************************************
จากภาพข้างล่าง จงตอบคำถามข้อ 81-85
81. ส่วนใดของภาพ มีเอนไซม์ช่วยสังเคราะห์ด้วยแสง
1. 1 และ 2
2. 4 และ 5
3. 3 และ 4
4. 2 และ 4
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
ตำแหน่งที่ 2 คือ บริเวณกรานุม (Granum) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวกับกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในช่วงปฏิกิริยาใช้แสง ในส่วนตำแหน่ง 1 เป็นสโตรมา (Stroma) ซึ่งมีเอนไซม์ที่ใช้ในช่วงปฏิกิริยาไม่ใช้แสง
**************************************
82. หมายเลขใด คือ สโตรมา
1. 1
2. 2
3. 3
4. 4
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
สโตรมา (Stroma) เป็นบริเวณของเหลวไม่มีสี ที่อาบอยู่รอบ ๆ สโตรมาลาเมลลา และไทลาคอยด์ ในส่วนนี้จะมีเอนไซม์ที่นำไปใช้ในปฏิกิริยาช่วงวัฏจักรแคลวินซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสง จึงเป็นตำแหน่งที่เกิดของปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงด้วย
**************************************
83. พบคลอโรฟิลล์ในหมายเลขใดบ้าง
1. 2
2. 1 และ 2
3. 2 และ 3
4. 1, 2 และ 3
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
บริเวณที่มีคลอโรฟิลล์ คือ บริเวณลาเมลลา ลาเมลลาประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ซึ่งมีคลอโรฟิลล์และรงควัตถุประกอบ (Accessory pigment) ต่าง ๆ เช่น คาร์โรตินอยด์ (Carotenoids) ติดอยู่ด้วย ที่ผิวหน้าของแผ่นไทลาคอยส์จะมีแกรนูล (Granule) อยู่เป็นจำนวนมาก แกรนูลที่มีขนาดใหญ่เป็นแหล่งรับพลังงาน ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มของรงควัตถุในรงควัตถุระบบ 1 และรงควัตถุระบบ 2 ซึ่งก็คือ ควอนตาโซม ดังนั้นในปฏิกิริยาที่ใช้แสงซึ่งทำให้อิเล็กตรอนมีพลังงานสูงขึ้น จึงเกิดขึ้นที่แหล่งเหล่านี้ ส่วนแกรนูลที่มีขนาดเล็กคาดว่าเป็นที่อยู่ของเอนไซม์ชนิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในปฏิกิริยาที่ใช้แสง
**************************************
84. ปฏิกิริยาเคมีต่อไปนี้ เกิดขึ้นที่หมายเลขใด
1. 2
2. 3
3. 2 และ 3
4. 1, 2 และ 3
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
บริเวณกรานุม และบริเวณลาเมลลา เป็นบริเวณที่มีปฏิกิริยาการแยกน้ำโดยใช้แสง หรือ Photolysis ในช่วงการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร (Noncyclic electron transfer)
**************************************
85. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเข้าร่วมในปฏิกิริยาเคมีที่หมายเลขใด
1. 1
2. 2
3. 3
4. 2 และ 3
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเข้าร่วมปฏิกิริยาในช่วงวัฏจักรแคลวินซึ่งไม่ต้องใช้แสง บริเวณที่เกิดคือบริเวณสโตรมา
**************************************
86. ถ้าต้องการทดสอบว่า แสงมีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงต้อง
1. ทดสอบเฉพาะในที่ ๆ มีแสง
2. ทดลองเฉพาะในที่มืด
3. ทดลอง 2 ชุด ชุดหนึ่งอยู่ในที่มืด อีกชุดอยู่ในที่ ๆ มีแสง
4. ทดลองซ้ำ ๆ ชุดเฉพาะในที่ ๆ มีแสง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
การจะทดสอบว่าแสงมีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงต้องทดลอง 2 ชุด โดยให้ชุดหนึ่งอยู่ในที่มืด อีกชุดอยู่ในที่มีแสงเปรียบเทียบกันจะพบว่าชุดที่อยู่ในแสงเท่านั้นที่พืชสร้างคาร์โบไฮเดรตได้
**************************************
จากแผนภาพข้างล่าง จงตอบคำถามข้อ 87-91
87. หมายเลข 1 ควรเป็นอะไร
1. ก๊าซออกซิเจน
2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3. น้ำ
4. ATP
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
หมายเลข 1 ควรเป็นน้ำ เนื่องจากเป็นช่วงของปฏิกิริยาที่ใช้แสง สารที่พืชใช้คือน้ำ
**************************************
88. หมายเลขใดควรเป็นก๊าซออกซิเจน
1. 1
2. 2
3. 3
4. 2 และ 5
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ในปฏิกิริยาที่ใช้แสงเมื่อมีน้ำเข้าทำปฏิกิริยา น้ำจะถูกแยกโดยกระบวนการ Photolysis ทำให้ได้ก๊าซออกซิเจนเกิดขึ้น
**************************************
89. หมายเลข 5 น่าจะเป็นอะไร
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
หลังจากเกิดปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงสิ้นสุดลง สารที่จะได้ คือ กลูโคส
**************************************
90. หมายเลข 4 ควรเป็น
1. ก๊าซออกซิเจน
2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3. ATP
4. น้ำ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ในปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสง ส่วนที่นำเข้าสู่ปฏิกิริยาควรเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
**************************************
91. หมายเลข 3 ควรเป็น
1. ATP
2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3. Electron
4. ไม่มีคำตอบเลย
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
จากปฏิกิริยาที่ใช้แสงสามารถสร้างสารเคมีให้พลังงานสูง คือ ATP จาก ADP + Pi
**************************************
92. ลำดับการเปลี่ยนแปลงของสารในวัฏจักรแคลวิน เป็นดังนี้
1. PGAL ---> PGA ---> RuBP
2. PGA ---> RuBP ---> PGAL
3. RuBP ---> PGA ---> PGAL
4. ถูกทั้งข้อ 1, 2 และข้อ 3
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ลำดับการเปลี่ยนแปลงของสารในวัฏจักรแคลวิน จะเริ่มตั้งแต่
แผนภาพแสดงผลที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงในปฏิกิริยาที่ใช้แสงและปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงในคลอโรพลาสต์
**************************************
93. การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเพื่อให้ได้น้ำตาลกลูโคสออกมา 1 โมเลกุล ต้องเกิดปฏิกิริยาตามวัฏจักรแคลวินกี่รอบ
1. 1 รอบ
2. 2 รอบ
3. 3 รอบ
4. 6 รอบ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเพื่อให้ได้น้ำตาลกลูโคสออกมา 1 โมเลกุล ต้องเกิดปฏิกิริยาตามวงจรแคลวิน 6 รอบ เนื่องจากในวงจรแคลวินนั้น เกิด 3 รอบ จึงจะได้ PGAL 6 โมเลกุล ซึ่งพืชเก็บสะสมไว้ 1 โมเลกุล อีก 5 โมเลกุลจะเข้าสู่วงจรแคลวินอีก เพื่อทำให้เกิด 3 RuBP แต่ 2 PGAL จึงให้ 1 กลูโคส ดังนั้น จึงเกิดวงจรแคลวิน 6 รอบ จะได้ 1 กลูโคส
**************************************
94. ในวัฏจักรแคลวิน พืชต้องการให้กลูโคสออกมา 1 โมเลกุล จะต้องใช้พลังงานไปเท่าใด
**************************************
95. ปฏิกิริยาในช่วงใดของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ให้ก๊าซออกซิเจนออกมา
1. Dark reaction
2. Cyclic electron transfer
3. Noncyclic electron transfer
4. ทั้งข้อ 1 และข้อ 3
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
เฉพาะปฏิกิริยาในช่วง Noncyclic electron transfer หรือ Photolysis จึงจะมีการแยกน้ำทำให้ได้ออกซิเจน
**************************************
96. การสังเคราะห์กลูโคสสัมพันธ์กับปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในระยะ
1. Aerobic respiration
2. Anaerobic respiration
3. ในระยะที่ไม่ใช้แสงของการสังเคราะห์ด้วยแสง
4. ในระยะที่ใช้แสงของการสังเคราะห์ด้วยแสง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
การสังเคราะห์กลูโคสเกิดในช่วงไม่ใช้แสงของปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือวงจรแคลวินนั่นเอง
**************************************
97. ในวัฏจักรแคลวิน พืชสีเขียวต้องการได้ PGAL 1 โมเลกุล โดยใช้
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
**************************************
98. การสร้างน้ำตาลในพืช จะต้องเริ่มต้นจาก
1. ATP
2. RuBP
3. NADPH2
4. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การสร้างน้ำตาลในพืชเริ่มจาก RuBP รวมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่วงจรแคลวินซึ่งไม่ต้องใช้แสง
**************************************
99. ปฏิกิริยาในช่วงใดของการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ให้ก๊าซออกซิเจนและน้ำออกมา
1. วัฏจักรแคลวิน
2. Cyclic electron transfer
3. Noncyclic electron transfer
4. ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
**************************************
100. ขั้นตอนการสังเคราะห์แป้งในพืช คือ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
RuBP รวมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลายเป็น PGA ซึ่งกลายเป็น PGAL และ 2 PGAL กลายเป็น 1 กลูโคส กลูโคสรวมกันหลาย ๆ โมเลกุลกลายเป็นแป้ง
**************************************
1. ข้อความเปรียบเทียบการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงและการหายใจต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง
1. การหายใจมีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนจากสารที่มีกำลังรีดิวซ์ต่ำไปสูง การสังเคราะห์ด้วยแสงมีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนจากสารที่มีกำลังรีดิวซ์สูงไปต่ำ
2. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนในการหายใจ เป็นผลให้มีการสังเคราะห์ ATP แต่การสังเคราะห์ด้วยแสงไม่มี ATP เกิดขึ้น
3. ในการหายใจตัวให้อิเล็กตรอน คือ NADH ส่วนในการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้น ตัวให้อิเล็กตรอนคือ NADPH
4. การหายใจ การถ่ายทอดอิเล็กตรอนเกิดในของเหลวในไมโทคอนเดรีย ส่วนการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดในกรานาของคลอโรพลาสต์
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การหายใจ มีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนจากสารที่มีกำลังรีดิวซ์ต่ำไปสูง ส่วนการสังเคราะห์ด้วยแสงมีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนจากสารที่มีกำลังรีดิวซ์สูงไปต่ำ โดยเฉพาะในช่วงการถ่ายทอดอิเล็กตรอนชนิดเป็นวัฏจักร เป็นการเปรียบเทียบการถ่ายทอดอิเล็กตรอน ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงกับการหายใจระดับเซลล์
**************************************
**************************************
**************************************
4. รงควัตถุในข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการดูดพลังงานแสงในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
1. คาโรทีนอยด์
2. ไฟโตโครม
3. คลอโรฟิลล์ เอ
4. คลอโรฟิลล์ บี
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ไฟโตโครม ไม่เกี่ยวข้องกับการดูดพลังงานในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
**************************************
5. ผลผลิตของปฏิกิริยาใช้แสงที่ถูกนำมาใช้ต่อในขั้นตอนของปฏิกิริยาไม่ใช้แสง คือ
1. ATP และ ก๊าชออกซิเจน
2. ATP และ น้ำ
3. ATP และ NADPH
4. ก๊าซออกซิเจน และ NADPH
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ATP และ NADPH เป็นผลผลิตของปฏิกิริยาใช้แสงถูกนำมาใช้ต่อ ในขั้นตอนของปฏิกิริยาไม่ใช้แสงโดยนำมาใช้ในการเปลี่ยน PGA ให้เป็น PGAL
**************************************
**************************************
**************************************
9. ออร์แกเนลล์ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง คือ ออร์แกเนลล์ใด และจะพบออร์แกเนลล์นี้มากในเซลล์ชนิดใดของพืช
1. คลอโรพลาสต์ อิปิเดอร์มิส
2. คลอโรฟิลล์ สปันจีเซลล์
3. คลอโรฟิลล์ เซลล์คุม
4. คลอโรพลาสต์ พาลิเสดเซลล์
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ออร์แกเนลล์ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง คือ คลอโรพลาสต์และจะพบออร์แกเนลล์นี้มากในพาลิเสดเซลล์ ซึ่งอยู่อย่างหนาแน่นในใบ
**************************************
10. ในพืชพวกโกสนที่มีใบสีเหลืองหรือสีแดง สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
1. ได้ เพราะแม้จะมีสีเหลืองก็มีคลอโรฟิลล์อยู่
2. ได้ เพราะมีสีเหลืองของแคโรทีนอยส์ ซึ่งสามารถดูดพลังงานแสงได้
3. ไม่ได้ เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์
4. ไม่ได้ เพราะมีแต่แคโรทีนอยส์
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ในพืชพวกโกสน ที่มีใบสีเหลืองหรือสีแดงสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เพราะในใบมีสีเหลืองของแคโรทีนอยส์ ซึ่งสามารถดูดพลังงานแสงได้
**************************************
1. คาร์บอนไดออกไซด์
2. น้ำ
3. คลอโรฟิลล์
4 ออกซิเจน
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชมีการสลายสารประกอบที่เป็นวัตถุดิบ 2 อย่างด้วยกัน คือ น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำจะสลายตัวเมื่อได้รับแสงซึ่งอยู่ในช่วงแสงโดยน้ำที่แตกตัวจะปล่อย H+ (Proton) และออกซิเจนออกมา
**************************************
**************************************
13. สิ่งมีชีวิตพวกใดที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ แต่สามารถสังเคราะห์อาหารได้จากสารอนินทรีย์
1. เห็ดรา
2. แบคทีเรีย
3. โพรโทซัว
4. อะมีบา
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
แบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ แต่สามารถสังเคราะห์อาหารได้จากสารอนินทรีย์ แบคทีเรียสร้างอาหารได้เอง โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น Purple sulphur bacteria โดยมีแบคทีริโอคลอโรฟิลล์ดูดรับพลังงานแสง ส่วน Nitrifying bacteria สังเคราะห์อาหารโดยการเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นไนไตรต์ และเปลี่ยนไนไตรต์ให้เป็นไนเตรตในกระบวนการสังเคราะห์เคมี (Chemosynthesis)
**************************************
14. คาโรทีนอยด์ (Carotenoids) ในพืชเป็นรงควัตถุ (Pigment) ที่สำคัญในการสร้างวิตามินใด
1. A
2. B
3. C
4. D
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
คาโรทีนอยด์ (Carotenoids) ในพืชเป็นรงควัตถุที่สำคัญในการสร้างวิตามิน A
**************************************
15. ท่านคิดว่าการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในใบอ้อย สารผลลัพธ์ตัวแรกของการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ ควรจะเป็นสารตัวใด
1. PGA
2. PEP
3. OAA
4. CAM
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ในพืชพวกอ้อยการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ จะแตกต่างจากพืชทั่ว ๆ ไป เพราะพวกอ้อยหรือข้าวโพด มีบันเดิลชีทเซลล์ (Bundle Sheath cell) หรือเซลล์ห่อหุ้มท่อลำเลียง ซึ่งมีคลอโรพลาสต์ จึงมีการสังเคราะห์ด้วยแสงที่เซลล์ส่วนนี้ด้วยการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ครั้งแรกตรึงที่เนื้อเยื่อมีโซฟิลล์ โดยคาร์บอน 3 อะตอม (Phosphoenol pyruvic acid หรือ PEP) มารับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้สารประกอบคาร์บอน 4 อะตอม (Oxaloacetic acid หรือ OAA) จึงเรียกพืชพวกนี้ว่าพืช C4
สำหรับ CAM plants เป็นพืชพวกกระบองเพชร เป็นพืชอวบน้ำอยู่ในทะเลทราย การปิด/เปิดปากใบตรงกันข้ามกับพืชทั่วไป คือ มีการเปิดปากใบในตอนกลางคืนแทนการเปิดปากใบในตอนกลางวัน การเปิดปากใบสามารถรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปสังเคราะห์ด้วยแสงได้ กระบวนการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เช่นนี้เรียกว่า Crassulacean acid metabolism หรือ CAM ตามชื่อ Family Crassulaceae ซึ่งกระบวนการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของพืชชนิดนี้ได้พบครั้งแรก
**************************************
16. ใบของพืชมีลักษณะอย่างไร เพื่อให้มีการสร้างอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ
1. เป็นแผ่นแบนวางตัวในแนวที่รับแสงได้ดี
2. เป็นแผ่นแบนเพื่อให้เนื้อเยื่อลำเลียงทำงานได้ดี
3. แตกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อให้รับแสงได้ดี
4. แตกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อให้เนื้อเยื่อลำเลียงทำงานได้ดี
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
ใบของพืชเป็นแผ่นแบนวางตัวในแนวรับแสงได้ดี ทำให้มีการสร้างอาหารได้อย่างมีประสิทธภาพ
**************************************
**************************************
**************************************
19. การที่พืชดอกสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เพราะมีรงควัตถุชนิดใด
1. คลอโรฟิลล์ a, d และไฟโคบิลิน
2. คลอโรฟิลล์ a, b, c และคาโรทีนอยด์
3. คลอโรฟิลล์ a, b และคาโรทีนอยด์
4. คลอโรฟิลล์ a, d และคาโรทีนอยด์
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
พืชดอกสังเคราะห์ด้วยแสงได้เพราะมีคลอโรฟิลล์ a, b และ c และคาโรทีนอยด์
**************************************
20. ในการทดลองเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง มีการเติมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตในน้ำที่ใส่สาหร่ายหางกระรอก การเติมสารตัวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. กระตุ้นการสังเคราะห์ด้วยแสง
2. ให้คาร์บอนไดออกไซด์
3. ควบคุมสภาพความเป็นกรด-ด่าง
4. เป็นสารอาหารของสาหร่าย
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ในการทดลองเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงมีการเติมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ในน้ำที่ใส่สาหร่ายหางกระรอก การเติมสารตัวนี้เพื่อ เพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับน้ำจะได้เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มมากขึ้น
**************************************
21. อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงอาจวัดได้จาก
1. อัตราการดูดน้ำของพืช
2. ปริมาร ATP ที่เกิดขึ้น
3. อัตราการดูดแสงของรงควัตถุ
4. ปริมาณออกซิเจนที่เกิดขึ้น
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงอาจวัดได้จากปริมาณออกซิเจนที่เกิดขึ้น ถ้ามีออกซิเจนเกิดขึ้นมาก อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะมากด้วย
**************************************
22. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง การสังเคราะห์ ATP เกิดขึ้นที่ ............ ส่วนการสังเคราะห์น้ำตาลเกิดขึ้นที่ ...........
1. Mitochondria, Stroma
2. Stroma, Thylakoid
3. Thylakoid, Stroma
4. Thylakoid, Cytoplasm
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง การสังเคราะห์ ATP จะเกิดขึ้นที่ Thylakoid ส่วนการสังเคราะห์น้ำตาลจะเกิดขึ้นที่ Stroma ของ Chloroplast
**************************************
23. สารตัวแรกที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ
1. Glucose
2. Ribulose bisphosphate
3. Phosphoglyceric acid
4. Phosphoglyceraldehyde
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
Phosphoglyceric acid (PG) เป็นสารตัวแรกที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
**************************************
24.
จากกราฟ สรุปได้ว่า
1. เมื่ออุณหภูมิคงที่ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะคงที่
2. แสง และอุณหภูมิเป็นปัจจัยที่เป็นตัวจำกัดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง
3. อิทธิพลของอุณหภูมิต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลง เมื่อความเข้มของแสงน้อย
4. ความเข้มของแสงมีอิทธิพลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงมากกว่าอิทธิพลของอุณหภูมิ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
จากกราฟ แสดงให้เห็นว่า ความเข้มของแสงมีอิทธิพลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงมากกว่าอิทธิพลของอุณหภูมิ เพราะในช่วงความเข้มของแสงน้อย อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงค่อนข้างคงที่ไม่ว่าอุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 0-30 องศาเซลเซียส แต่เมื่ออุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงกลับลดลง เช่นเดียวกับช่วงความเข้มของแสงมาก อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงยิ่งเพิ่มตามอุณหภูมิแต่เมื่ออุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงกลับลดลงอย่างรวดเร็ว
**************************************
25. จากการผ่าตัดดูโครงสร้างภายในของใบ ท่านคิดว่าชุดปฏิกิริยาแสง (Light reaction) ของการสังเคราะห์ด้วยแสง น่าจะเกิดในเนื้อเยื่อส่วนใดของใบพืชมากที่สุด และมีเหตุผลใดสนับสนุน
1. เนื้อเยื่อพาลิเสด เพราะมีการเรียงตัวของเซลล์อยู่ชิดกันอยู่อย่างหนาแน่น
2. เนื้อเยื่อสปันจี เพราะเซลล์มีขนาดใหญ่ และมีจำนวนคลอโรพลาสต์ต่อเซลล์สูงมาก
3. เนื้อเยื่อสปันจี เพราะมีช่องอากาศในเนื้อเยื่อมาก ทำให้สะดวกต่อการแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน
4. เนื้อเยื่อพาลิเสด เพราะแต่ละเซลล์มีคลอโรพลาสต์อยู่หนาแน่นมาก
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
จากการผ่าตัดดูโครงสร้างภายในของพืช Light reaction ของการสังเคราะห์ด้วยแสง น่าจะเกิดจากเนื้อเยื่อพาลิเสดเพราะแต่ละเซลล์มีคลอโรพลาสต์อยู่หนาแน่นมาก และเซลล์อยู่กันอย่างหนาแน่น
**************************************
26. ในการทดลองหาปัจจัยบางประการที่มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง หลังจากที่ได้วางโคมไฟห่างจากขวดที่บรรจุสาหร่ายหางกระรอกเป็นระยะทางที่แน่นอนแล้ว ก็จะเกิดแก๊สออกซิเจนไปไล่ที่น้ำสีที่หลอดคะปิลลารี
แต่การเกิดแก๊สออกซิเจนของสาหร่ายนั้น มีปริมาณไม่คงที่ จนกว่าจะตั้งทิ้งไว้ให้เกิดปฏิริยาพักใหญ่ ๆ อยากทราบว่า ทำไมหลังจากที่ตั้งเครื่องมือทดลองไว้พักใหญ่แล้ว การเกิดปริมาณแก๊สออกซิเจนจึงคงที่
1. เพราะสารไฮโดรเจนคาร์บอเนตที่ใส่ลงไปในน้ำนั้นหมด
2. เพราะสาหร่ายหางกระรอกเกิดความล้า เนื่องจากต้องทำงานมาเป็นเวลานาน
3. เพราะเกิดการสะสมปริมาณแสงมากขึ้น จนเกินจุดที่สาหร่ายหางกระรอกจะนำไปใช้ได้
4. เพราะสาหร่ายหางกระรอกได้ปรับตัวตามสภาพสิ่งแวดล้อมใหม่ ทำให้เกิดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงได้สูงสุดตามสภาพนั้น
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ในการทดลองหาปัจจัยบางประการที่มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง หลังจากที่ได้วางโคมไฟห่างจากขวดที่บรรจุสาหร่ายหางกระรอกเป็นระยะทางที่แน่นอนแล้ว จะเกิดแก๊สออกซิเจนไปไล่น้ำสีที่อยู่ในหลอดคะปิลลารี แต่การเกิดแก๊สออกซิเจนของสาหร่ายนั้นปริมาณไม่คงที่ จนกว่าจะตั้งทิ้งไว้ให้เกิดปฏิกิริยาพักใหญ่ ๆ เพราะสาหร่ายหางกระรอกได้ปรับตัวตามสภาพสิ่งแวดล้อมใหม่ ทำให้เกิดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงได้สูงสุดตามสภาพนั้น
**************************************
**************************************
28. ทำไมการสังเคราะห์ด้วยแสงในพืชชั้นสูง จึงต้องอาศัยระบบรงควัตถุทั้ง 2 ระบบ
1. เพราะสามารถใช้แสงสีต่าง ๆ ได้มากกว่าการใช้ระบบเดียว
2. เพราะระบบเดียวไม่สามารถให้พลังงานแก่อิเล็กตรอนอย่างพอเพียงสำหรับการส่งให้ NADP+
3. เพราะรงควัตถุที่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสงมีหลายชนิด และทั้งหมดไม่สามารถมารวมกันอยู่ในระบบเดียวได้
4. เพราะระบบเดียวไม่สามารถให้พลังงานมากพอสำหรับการสังเคราะห์ ATP
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
การสังเคราะห์ด้วยแสงในพืชชั้นสูงต้องอาศัยระบบรงควัตถุทั้ง 2 ระบบ เพราะรงควัตถุแต่ละชนิดจับคลื่นแสงในช่วงความยาวคลื่นต่างกัน
**************************************
29. จากรายงานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมแห่งหนึ่ง เรื่อง "ผลของแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าในบ้านต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช" ผู้ทดลองได้นำพืชชนิดเดียวกัน อายุเท่ากัน มา 2 กระถาง กระถางแรกวางไว้นอกบ้านให้ได้รับแสงอาทิตย์เป็นปกติ กระถางที่สองเก็บไว้ในบ้านให้ได้รับแสงสว่างจากหลอดไฟในบ้าน หลังจากนั้น 7 วัน ทำการทดสอบปริมาณแป้งในใบของพืชในกระถางทั้งสอง พบว่าพืชที่ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรงมีแป้งเต็มใบ แต่พืชที่เก็บไว้ในบ้านไม่พบแป้งเลย
ผู้ทดลองจึงสรุปว่า แสงไฟในบ้านไม่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช การทดลองและสรุปผลแบบนี้ท่านคิดว่าถูกหรือผิด ด้วยเหตุผลประการใด
1. ถูก เพราะได้รายงานได้อย่างถูกต้องกับผลการทดลอง
2. ถูก เพราะการทดลองมีการเปรียบเทียบผลของตัวแปรกับกลุ่มควบคุมได้อย่งถูกต้อง
3. ผิด เพราะการทดลองที่ได้ผิดพลาดไปจากรายงานอื่นในเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง
4. ผิด เพราะผลของการสังเคราะห์ด้วยแสงไม่จำเป็นต้องได้แป้งเสมอไป
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
จากการทดลองนำพืชชนิดเดียวกันอายุเท่ากันมา 2 กระถาง กระถางแรกวางไว้นอกบ้านให้ได้รับแสงอาทิตย์ปกติ กระถางที่สองเก็บไว้ในบ้านได้รับแสงสว่างจากหลอดไฟภายในบ้าน หลังจากนั้น 7 วัน ทำการทดสอบปริมาณแป้งในใบของพืชในกระถางทั้งสอง พบว่าพืชที่ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรงมีแป้งเต็มใบ แต่พืชที่เก็บไว้ในบ้านไม่พบแป้งเลย ผู้ทดลองจึงสรุปว่า แสงไฟในบ้านไม่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช การทดลองและสรุปผลแบบนี้ผิด เพราะไฟในบ้านมีความเข้มน้อยจนอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงต่ำมาก เมื่อได้น้ำตาล น้ำตาลถูกนำไปใช้ในการหายใจระดับเซลล์จนหมดไม่เหลือสะสมไว้ในรูปของแป้ง
**************************************
30. ต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
1. พืชมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงได้มาก เมื่อพืชได้รับแสงสีเขียว
2. พืชมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงได้น้อยที่สุด เมื่อพืชได้รับแสงสีส้ม
3. แสงสีต่าง ๆ ที่คลอโรฟิลล์รับไว้ มีความสัมพันธ์กับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง
4. ทั้งข้อ 1 และข้อ 2
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
แสงสีต่าง ๆ ที่คลอโรฟิลล์รับไว้มีความสัมพันธ์กับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น คลื่นแสงสีส้มทำให้พืชมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงมาก ส่วนคลื่นแสงสีเขียว ทำให้พืชมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงน้อย
**************************************
31. ต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
1. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์ควบคุม อุณหภูมิจึงมีความสัมพันธ์ต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง
2. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมเคมิคัล (Thermochemical reaction) ขึ้นด้วย
3. กลไกของการสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นกระบวนการที่พืชเปลี่ยนสิ่งไร้ชีวิตไปสร้างอาหาร ซึ่งเป็นสารที่มีพลังงานศักย์สูง
4. ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ข้อความทั้ง 3 ข้อถูกต้อง คือ
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์ควบคุม อุณหภูมิจึงมีความสัมพันธ์ต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิด Thermochemical reaction ขึ้นด้วย และกลไกการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นกระบวนการที่พืชเปลี่ยนสิ่งไร้ชีวิตไปสร้างอาหาร ซึ่งเป็นสารที่มีพลังงานสูง
**************************************
32. โฟโตไลซิส (Photolysis) คือ
1. การสลายโมเลกุลของน้ำในปฏิกิริยาที่ใช้แสง ทำให้เกิด ATP และ NADPH + H ซึ่งถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงต่อไป
2. การสลายโมเลกุลของน้ำในปฏิกิริยาที่ใช้แสง ทำให้เกิด ATP และ NADPH + H ซึ่งถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาที่ใช้แสงต่อไปอีก
3. การสลายโมเลกุลของน้ำในปฏิกิริยาที่ใช้แสง ทำให้เกิด ATP และ NADPH ซึ่งถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงต่อไป
4. การสลายโมเลกุลของน้ำในปฏิกิริยาที่ใช้แสง ทำให้เกิด ATP และ NADPH ซึ่งถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาที่ใช้แสงต่อไปอีก
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
Photolysis คือ การสลายโมเลกุลของน้ำในปฏิกิริยาที่ใช้แสง ทำให้เกิด ATP และ NADPH + H+ ซึ่งถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงต่อไป
**************************************
33. การสังเคราะห์ด้วยแสง คือกระบวนการที่พืช
1.เปลี่ยนน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นสารอนินทรีย์
2. เปลี่ยนสารอินทรีย์ให้เป็นกลูโคส
3. เปลี่ยนสารอินทรีย์ให้เป็นสารอนินทรีย์
4. เปลี่ยนสารอนินทรีย์ให้เป็นกลูโคส
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การสังเคราะห์ด้วยแสง คือ กระบวนการที่พืชเปลี่ยนสารอนินทรีย์ให้เป็นกลูโคส
**************************************
34. ลักษณะต่อไปนี้ ข้อใดมีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์ด้วยแสงมากที่สุด
1. ใบทุกใบพยายามชูให้สม่ำเสมอกัน เพื่อรับแสงสว่าง ผิวใบมีคิวติเคิลหนา ป้องกันการระเหยน้ำ
2. ใบเรียงตัวสลับกัน เพื่อให้กลุ่มพาลิเสดเซลล์รับแสงมากที่สุด
3. ใบเรียงตัวสลับกัน แผ่นใบเรียบดูดแสงได้ดี
4. ใบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหนาแน่น แผ่นใบหนา มีกลุ่มเซลล์ไซเลม โฟลเอมจำนวนมาก
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การที่ใบเรียงตัวสลับกัน เพื่อให้กลุ่มพาลิเสดเซลล์รับแสงมากที่สุด ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสังเคราะห์ด้วยแสงมากที่สุด
**************************************
**************************************
**************************************
**************************************
**************************************
39. ช่วงแสงใดที่พืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีที่สุด
1. ช่วงแสง Far red
2. ช่วงแสงที่ตาสามารถมองเห็น
3. ช่วงแสงสีน้ำเงินและสีแดง
4. ช่วงแสงสีเหลืองและสีเขียว
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ช่วงแสงที่พืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีที่สุด คือ ช่วงแสงสีน้ำเงิน และแสงสีแดง
**************************************
40. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช สารตัวแรกที่ไปรวมตัวกับคาร์บอนไดออกไซด์
1. Phosphoglyceric acid
2. Ribulose bisphosphate
3. Phosphoglyceraldehyde
4. Glucose-6-phosphate
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช สารตัวแรกที่ไปรวมตัวกับคาร์บอนไดออกไซด์ คือ Ribulose bisphosphate (RuBP)
**************************************
41. ในป่าดงดิบหรือป่าทึบ พบว่ามีเอปิไฟท์ (Epiphyte) อยู่บนต้นไม้ใหญ่หนาแน่นกว่าในป่าละเมาะ หรือป่าเต็งรังเพราะ
1. เอปิไฟท์หนีความชื้นที่พื้นดินขึ้นไปบนยอด
2. เอปิไฟท์โตเร็วกว่าพืชยืนต้นขนาดใหญ่ จึงอยู่เหนือพืชใหญ่
3. เอปิไฟท์ต้องการแสงสว่างมาก จึงต้องขึ้นอยู่เหนือพืชใหญ่
4. เอปิไฟท์ไม่สามารถดูดอาหารจากดิน ไม่ต้องเป็นปรสิตของพืชใหญ่
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ในป่าดงดิบหรือป่าทึบ มีพืชพวกเอปิไฟท์ (Epiphyte) หรือพืชที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้อื่น แต่ไม่ใช่ปรสิต เช่น พวกกาฝาก ตัวอย่างของเอปิไฟท์ เช่น กระเช้าสีดา เถาวัลย์ กล้วยไม้ พืชพวกนี้ต้องการแสงสว่างแต่บริเวณแถบโคนต้นของไม้ใหญ่ แสงไม่พอจึงขึ้นไปอาศัยอยู่บนยอดของไม้ใหญ่เหล่านั้น
**************************************
42. เซลล์ใดที่ไม่พบกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ทั้ง ๆ ที่เป็นเซลล์ของใบ
1. Palisade cell
2. Spongy cell
3. Guard cell
4. Epidermis
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
Epidermis เป็นเซลล์ของใบซึ่งไม่มีคลอโรพลาสต์ ดังนั้นจึงไม่พบการสังเคราะห์ด้วยแสงที่เซลล์ Epidermis ไม่ว่าด้านบนหรือด้านล่าง แต่ Guard cell หรือเซลล์คุมเป็นเซลล์ชั้นเดียวกับ Epidermis แต่มีคลอโรพลาสต์ จึงมีการสังเคราะห์ด้วยแสงได้
**************************************
43. ในการทดสอบแป้งในใบนั้น ต้องสกัดคลอโรฟิลล์ออกจากใบ เหตุใดจึงใช้แอลกอฮอล์ร้อน ๆ สกัดคลอโรฟิลล์ ไม่ใช้น้ำร้อนสกัด เพราะ
1. ใช้น้ำร้อนทำให้แป้งในใบสุก
2. น้ำร้อนไม่ละลายคลอโรฟิลล์
3. น้ำถูกความร้อนกลายเป็นไอเร็ว
4. แอลกอฮอล์ทำให้บริสุทธิ์ง่ายกว่าน้ำ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การทดสอบแป้งในใบนั้นต้องสกัดคลอโรฟิลล์ออกจากใบเสียก่อน โดยใช้แอลกอฮอล์ร้อน ๆ สกัดออก เหตุที่ไม่ใช้น้ำร้อนสกัด เพราะน้ำร้อนไม่ละลายคลอโรฟิลล์ แต่แอลกอฮอล์สามารถละลายคลอโรฟิลล์ได้
**************************************
44. นักเรียนสามารถทดสอบว่า พืชมีการสังเคราะห์ด้วยแสงได้จาก
1. การวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้ไป
2. การวัดปริมาณแก๊สออกซิเจนที่เพิ่มขึ้น
3. การวัดปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น
4. การทดสอบแป้งในใบ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
นักเรียนสามารถทดสอบว่าพืชมีการสังเคราะห์ด้วยแสงได้จาก การทดสอบว่ามีแป้งในใบ ในระดับนักเรียนยังไม่มีเครื่องมือเครื่องใช้เพียงพอสำหรับวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้ไปหรือปริมาณออกซิเจนที่เพิ่มขึ้น หรือปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น
**************************************
45. ในพืชชั้นสูงนั้น พบว่าคลอโรฟิลล์นั้นอยู่ภายใน
1. Leucoplast
2. Chromoplast
3. Chloroplast
4. ทั้งข้อ 2 และข้อ 3
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ในพืชชั้นสูงนั้นคลอโรฟิลล์อยู่ใน Chromoplast หรือ Chloroplast แล้วแต่ชนิดของพืช เช่น ต้นโกสน ซึ่งมีใบสีต่าง ๆ นั้นเป็น Chromoplast แต่มีคลอโรฟิลล์อยู่ด้วยทำให้สังเคราะห์ด้วยแสงได้ แต่พืชสีเขียวอื่น ๆ คลอโรฟิลล์อยู่ใน Chloroplast
**************************************
46. หากจัดเรือนต้นไม้ชนิดที่ควบคุมความเข้มข้นของแสงด้วยหลอดไฟ แต่ปรากฏว่ามีแต่หลอดสีอยู่ทั้งหมดโดยไม่มีหลอดให้แสงขาวเลย จะใช้หลอดสีใดแทน จึงทำให้พืชสังเคราะห์ด้วยแสงได้
1. เหลืองส้ม
2. เขียว
3. แดง
4. น้ำเงินม่วง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
หากจำเป็นต้องใช้หลอดไฟที่ให้แสงสีต่าง ๆ แทนแสงขาวแล้ว แสงที่เหมาะที่สุดที่จะทำให้พืชสังเคราะห์ด้วยแสงได้ ควรเป็นแสงสีแดง เนื่องจากแสงสีแดงเป็นแสงที่คลอโรฟิลล์สามารถดูดไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงได้มากที่สุด และให้ประสิทธิภาพสูงสุด
**************************************
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
สมการ การสังเคราะห์ด้วยแสงที่ถูกต้องที่สุดควรเป็น
สำหรับข้อ 1 ไม่ถูก เนื่องจากการสังเคราะห์ด้วยแสงแล้วไม่ได้น้ำ
ข้อ 2 ไม่ถูกต้อง เนื่องจากใช้แสงกับคลอโรฟิลล์ ที่ถูกต้องเป็นแสงกับคลอโรพลาสต์
ข้อ 4 ไม่ถูกต้องที่การสังเคราะห์ด้วยแสงมิใช่ใช้เพียงเซลล์พืชโดยทั่วไปเท่านั้น เซลล์พืชต้องเป็นเซลล์ที่มีคลอโรพลาสต์จึงจะสังเคราะห์ด้วยแสงได้
**************************************
48. คลอโรพลาสต์และไมโทคอนเดรียนั้น มีโครงสร้างและส่วนประกอบภายในเหมือนกันที่
1. เยื่อชั้นเดียว และมีไซโทโครม
2. เยื่อชั้นเดียว และมีกรดนิวคลีอิก
3. เยื่อสองชั้น และมีกรดนิวคลีอิก
4. เยื่อสองชั้น และมีคลอโรฟิลล์
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ทั้งคลอโรพลาสต์และไมโทคอนเดรียนั้นเป็น Organelle ที่มีลักษณะเหมือนกันบางอย่าง คือเป็น Organelle ที่มีเยื่อ 2 ชั้นเหมือนกัน และมีกรดนิวคลีอิกอยู่ภายในเหมือนกัน
**************************************
49. นักวิทยาศาสตร์ที่พบว่าคลอโรพลาสต์สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้เองอย่างอิสระ คือ
1. Hill
2. Blackman
3. Calvin
4. Van Niel
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
ในปี ค.ศ. 1932 นักชีวเคมีชาวอังกฤษ ชื่อ Robin Hill ทำการแยกคลอโรพลาสต์ออกจากใบไม้ ใช้แสงน้ำและมีสารทำหน้าที่รับไฮโดรเจน (Hydrogen acceptor) พบว่าสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ นอกจากนั้นฮิลยังบอกได้ว่า มีการสร้างออกซิเจนในช่วงปฏิกิริยาใช้แสงโดยออกซิเจนนี้ได้มาจากน้ำ
สำหรับข้อ 2 Blackman เป็นนักสรีรวิทยาชาวอังกฤษ แสดงให้เห็นว่า ขั้นตอนของการสังเคราะห์ด้วยแสงแบ่งเป็น ปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง และปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง
สำหรับข้อ 3 Calvin เป็นผู้ค้นพบ ปฏิกิริยาตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทำให้เกิดการสร้างคาร์โบไฮเดรต
สำหรับข้อ 4 Van Niel เป็นคนตั้ง Hypothesis ที่ว่าออกซิเจนที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง ในพืชสีเขียวมาจากการแตกตัวของโมเลกุลของน้ำ ส่วนที่ทำชื่อให้ Van Niel มากคือ Purple Sulfer Bacteria สังเคราะห์กำมะถัน ดังสมการ
**************************************
จากภาพข้างล่าง จงใช้ตอบคำถามข้อ 50-53
50. หมายเลข 1 เรียกว่า
1. Epidermal cell
2. Spongy parenchyma
3. Palisade parenchyma
4. Mesophyll
เฉลยข้อ 3 1เหตุผล
Palisade parenchyma หรือ Palisade cell เป็นเซลล์ที่อัดแน่นลักษณะคล้ายเสารั้ว อยู่ถัดจาก Upper epidermis ลงมา เซลล์มีคลอโรพลาสต์จึงทำให้ด้านบนของใบมีสีเขียวเข้มกว่าทางด้านล่าง
ข้อ 1. Epidermal cell เป็นเซลล์ชั้นบน และชั้นล่างของใบ ซึ่งเรียกว่า Upper epidermis และ Lower epidermis ตามลำดับ เป็นเซลล์ที่ไม่มีคลอโรพลาสต์ ยกเว้นเซลล์คุมหรือ Guard cell ซึ่งมีคลอโรพลาสต์
ข้อ 2. Spongy parenchyma หรือ Spongy cell เป็นเซลล์ลักษณะคล้าย Palisade parenchyma คือ มีคลอโรพลาสต์แต่อยู่กันอย่างหลวม ๆ และอยู่ทางด้านล่างใกล้กับ Lower epidermis
ข้อ 4. Mesophyll คือ ชั้นกลางของใบ ชั้นนี้อยู่ระหว่าง Upper epidermis และ Lower epidermis ได้แก่ ชั้นของ Palisade cell และ Spongy cell เพราะบริเวณนั้นมีคลอโรพลาสต์มากกว่าบริเวณอื่น ๆ
**************************************
51. การสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดมากที่
1. 1 และ 2
2. 1 และ 3
3. 2 และ 3
4. 4 และ 5
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดมากที่ Palisade perenchyma และ Spongy cell เพราะบริเวณอื่น ๆ ไม่มีคลอโรพลาสต์
**************************************
52. หมายเลขใดนำน้ำมาใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
1. 2
2. 3
3. 4
4. 5
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การนำน้ำมาใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นพืชนำมาทางรากโดยการดูดน้ำ จากดินส่งสู่ใบทางไซเลม ซึ่งอยู่ในส่วนของเส้นใบนั้นเอง
**************************************
53. หมายเลขใด มีอิทธิพลต่อปริมาณของออกซิเจนที่ออกจากใบ
1. 1 และ 2
2. 3 และ 4
3. 4 และ 5
4. ทั้งข้อ 1, 2 และข้อ 3
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ปริมาณออกซิเจนที่ออกจากใบนั้นขึ้นกับ Palisade cell, Spongy cell ในกรณีของการสังเคราะห์ด้วยแสงแล้วได้รับออกซิเจนอันเป็นผลพลอยได้ ขึ้นกับการลำเลียงน้ำของเส้นใบและการปิด-เปิดปากใบ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์คุม
**************************************
54. ในการทดลองเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง นักเรียนคนหนึ่งทดลองกับต้นชบา โดยใช้พาราฟินเหลวฉาบทั้งหน้าใบและหลังใบทั้งหมดทุกใบ จากนั้นนำไปรับแสงเป็นเวลาครึ่งวัน แล้วเด็ดใบมาทดสอบแป้ง พบว่าไม่มีแป้งในใบ แสดงว่า
1. น้ำไม่สามารถเข้าไปในใบ
2. คลอโรพลาสต์หมดสภาพที่จะรับแสง
3. ใบรับออกซิเจนไม่ได้
4. ใบรับคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การทดลองใช้สารฉาบใบ เช่น พาราฟินเหลวหรือสารอื่นทำให้ปากใบถูกปิด ดังนั้นถึงจะนำใบไปรับแสงก็จะไม่เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสง เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ไม่สามารถเข้าทางปากใบ ทำให้ตรวจไม่พบว่ามีแป้งในใบ
**************************************
55. พืชใช้วัตถุดิบชนิดใดบ้างสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสง
1. น้ำ, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, Mineral salts
2. น้ำ, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, Chlorophyll
3. น้ำ, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
4. น้ำ, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, แสงสว่าง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
วัตถุดิบสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสงมีเพียงน้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น ส่วนคลอโรฟิลล์เป็น Pigment อยู่ในเซลล์ที่ทำการสังเคราะห์ด้วยแสงและแสงสว่างเป็นพลังงานที่ได้จากดวงอาทิตย์ มิใช่วัตถุดิบ
**************************************
56. มัดท่อน้ำท่ออาหารของใบ อยู่ในส่วนใด
1. ในชั้น Epidermis
2. ชั้นของ Spongy cell
3. ชั้นของ Palisage cell
4. ชั้นของ Mesophyll
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
มัดท่อน้ำท่ออาหารของใบหรือเส้นใบ หรือ Vascular bundle และ Vein นั้นอยู่ในชั้น Mesophyll และมักอยู่ในบริเวณ Spongy cell
**************************************
นั้นผู้ค้นพบและพยายามใช้อธิบายเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ
1. Priestley
2. Van Helmont
3. Ingen Housz
4. Van Neil
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
Van Neil เป็นคนค้นพบการทำงานของ Purple sulfer bacteria ว่ามีการสังเคราะห์ซัลเฟอร์ได้จากไฮโดรเจนซัลไฟด์ ดังสมการ
แต่ในพืชสีเขียวทั่ว ๆ ไป จะเป็น
**************************************
58. ภาพแสดงกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ข้อใดถูกต้อง
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
รูปกล่องเปรียบเทียบเหมือนที่อยู่ของคลอโรพลาสต์ ซึ่งเกิดปฏิกิริยาสังเคราะห์ด้วยแสงสองช่วง คือ ช่วงใช้แสงเป็นการแยกน้ำออกมาทำให้ได้ออกซิเจน และไฮโดรเจนที่เหลือจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ กลายเป็นคาร์โบไฮเดรตในช่วงที่ไม่ต้องใช้แสง
**************************************
จากรูปข้างล่างเป็นการทดลองเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง
59. หมายเลข 2 คือ
1. แผ่นกระดาษแก้วเจาะรูตรงกลางเป็นรูปตัวแอล
2. แผ่นดีบุกเจาะรูตรงกลางเป็นรูปตัวแอล
3. แผ่นกระจกใสเจาะรูตรงกลางเป็นรูปตัวแอล
4. แผ่นกระจกฝ้าเจาะรูตรงกลางเป็นรูปตัวแอล
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
หมายเลข 2 เป็นดีบุกบาง ๆ หรือ Aluminium foil ที่เจาะเป็นรูปตัว L นำไปปะติดกับใบซึ่งยังติดกับต้นอยู่ จากนั้นนำไปไว้ในที่สว่างให้มีการสังเคราะห์ด้วยแสง
**************************************
60. หมายเลข 3 คือ
1. บริเวณที่มีสีเขียว แสดงว่ามีการสังเคราะห์ด้วยแสง
2. บริเวณที่มีสีม่วงน้ำเงิน แสดงว่ามีการสังเคราะห์ด้วยแสง
3. บริเวณที่มีสีเหลือง แสดงว่ามีการสังเคราะห์ด้วยแสง
4. บริเวณที่มีสีขาว แสดงว่ามีการสังเคราะห์ด้วยแสง
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
หมายเลข 3 คือ บริเวณที่มีสีม่วงน้ำเงิน เมื่อทดสอบการสังเคราะห์ด้วยแสงของใบตามกรรมวิธีใช้น้ำยาไอโอดีน ทดสอบ เนื่องจากบริเวณนั้นเป็นบริเวณที่มีแสงตกกระทบ ทำให้สามารถสร้างแป้งได้
**************************************
61.ในระยะ A ใบควรจะ
1. ติดอยู่กับลำต้น แล้วนำไปรับแสง
2. เด็ดออกจากลำต้น แล้วนำไปรับแสง
3. เด็ดออกจากลำต้น แล้วนำไปไว้ในที่มืด
4. ติดอยู่กับลำต้น แล้วนำไปไว้ในที่มืด
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การทดลองนี้ใบควรติดอยู่กับลำต้น แล้วนำไปรับแสง ทำให้สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เพราะมี การลำเลียงน้ำจากลำต้นสู่ใบได้
**************************************
62. ในการสังเคราะห์ด้วยแสง ไม่จำเป็นต้องใช้
1. ก๊าซออกซิเจน
2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3. แสง
4. อุณหภูมิคงที่
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การสังเคราะห์ด้วยแสงไม่จำเป็นต้องใช้อุณหภูมิที่คงที่ แต่ออกซิเจนจำเป็นจะต้องใช้ สำหรับเซลล์ที่มีคลอโรพลาสต์ สังเคราะห์ด้วยแสง
**************************************
63. การทดสอบแป้งในใบไม้นั้น ควรเลือกใบชนิดใดนำมาทดสอบ
1. ใบอ่อน ๆ
2. ใบแก่ ๆ
3.ใบขนาดใหญ่
4. ใบขนาดเล็ก
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
การทดสอบแป้งในใบนั้น ควรเลือกใบขนาดใหญ่มาทดสอบ เพราะมีการสังเคราะห์ด้วยแสงเห็นได้ชัดเจนกว่าเมื่อทดสอบตามกระบวนการ โดยใช้น้ำยาไอโอดีน ส่วนใบอ่อน ๆ หรือใบแก่ ๆ ปริมาณคลอโรพลาสต์อาจไม่เพียงพอเช่นเดียวกับในใบขนาดเล็ก
**************************************
64. ปากใบมีหน้าที่
1. คายน้ำ ปล่อยออกซิเจน
2. คายน้ำ ปล่อยออกซิเจน รับคาร์บอนไดออกไซด์
3. คายคาร์บอนไดออกไซด์ รับออกซิเจน
4. คายน้ำ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ปากใบอยู่ในชั้นเอพิเดอร์มิส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอพิเดอร์มิสชั้นล่าง ปากใบเป็นทางปล่อยน้ำและแก๊สออกซิเจนพร้อมกับรับคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
**************************************
65. คลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้น ทำหน้าที่
1. จับพลังงานแสง
2. จับคาร์บอนไดออกไซด์
3. รีดิวซ์คาร์บอนไดออกไซด์
4. สร้างกลูโคส
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
คลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุในพืช ทำหน้าที่รับหรือจับพลังงานแสงโดยเฉพาะ แล้วทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกไปเพื่อไปใช้แยกโมเลกุลของน้ำ
**************************************
66. ใบไม้ทั่ว ๆ ไปด้านหลังใบสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ เนื่องจาก
1. ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านหลังใบมีสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ
2. ชั้นคิวติเคิลของด้านท้องใบหนามากกว่าด้านหลังใบ
3. คลอโรพลาสต์ด้านหลังใบจะมีมากกว่าด้านท้องใบ
4. คลอโรพลาสต์ด้านหลังใบมีสีเข้มมากกว่าด้านท้องใบ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ด้านหลังใบมีสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ เพราะทางด้านหลังใบมีปริมาณคลอโรพลาสต์มากกว่าเนื่องจากทางด้านหลังใบเป็น Palisade cell ที่อัดกันแน่น
**************************************
67. เซลล์คุมและเอพิเดอร์มิสด้านล่างของใบนั้นเป็นเซลล์แถวเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่
1. เอพิเดอร์มิสมีนิวเคลียส เซลล์คุมไม่มีนิวเคลียส
2. เอพิเดอร์มิสไม่มีนิวเคลียส เซลล์คุมมีนิวเคลียส
3. เอพิเดอร์มิสมีคลอโรพลาสต์ เซลล์คุมไม่มีคลอโรพลาสต์
4. เอพิเดอร์มิสไม่มีคลอโรพลาสต์ เซลล์คุมมีคลอโรพลาสต์
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
โดยทั่วไปเอพิเดอร์มิสด้านล่างและเซลล์คุมเป็นเซลล์แถวเดียวกัน แต่เอพิเดอร์มิสไม่มีคลอโรพลาสต์ เซลล์คุมมีคลอโรพลาสต์ ดังนั้น เซลล์คุมจึงมีการสังเคราะห์ด้วยแสง
**************************************
จากรูป จงตอบคำถามข้อ 68-72
แผนภาพแสดงชุดการทดลองเพื่อวัดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง
68. การที่โคมไฟอยู่ห่างจากพืชที่ใช้สังเคราะห์ด้วยแสงในระยะต่าง ๆ นั้น มีผลต่อความเข้มของแสงที่พืชได้รับอย่างไร
1. ยิ่งเลื่อนโคมไฟเข้าใกล้ ความเข้มของแสงยิ่งลดลง
2. ยิ่งเลื่อนโคมไฟเข้าใกล้ ความเข้มของแสงยิ่งเพิ่มขึ้น
3. การเลื่อนโคมไฟใกล้หรือไกล ไม่มีผลต่อความเข้มของแสง เพราะมีน้ำในบีกเกอร์เป็นตัวปรับแสงให้คงที่อยู่เสมอ
4. การเลื่อนโคมไฟใกล้หรือไกล มีผลเฉพาะต่อน้ำและขวดแก้ว แต่ไม่มีผลต่อพืช
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การใช้โคมไฟส่องไปยังพืชนั้น ระยะทางระหว่างพืชและโคมไฟมีความสำคัญต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง กล่าวคือ ในระยะห่าง ความเข้มข้นของแสงจะน้อยกว่าระยะทางใกล้ ๆ ระหว่างโคมไฟกับพืชในขณะที่ใช้หลอดไฟหลอดเดียวกัน
**************************************
69. ความเข้มของแสงและอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
1. มี เมื่อความเข้มของแสงเพิ่ม อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มตาม
2. มี เมื่อความเข้มของแสงเพิ่ม อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงลด
3. มี เมื่อความเข้มของแสงลด อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่ม
4. ไม่มี ไม่ว่าความเข้มข้นของแสงอยู่เท่าใดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงคงที่เสมอ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
ความเข้มของแสงและอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงมีความสัมพันธ์กัน โดยเมื่อเพิ่มความเข้มของแสง อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความเข้มของคาร์บอนไดออกไซด์มีปริมาณสูง
**************************************
70. ในการทดลองนี้เหตุใดจึงต้องใช้ขวดที่มีพืชแช่น้ำในบีกเกอร์
1. เพื่อรักษาอุณหภูมิในขวดให้คงที่ตลอดเวลา
2. เพื่อรักษาอุณหภูมิของพืชในขวดให้คงที่ตลอดเวลา
3. น้ำในบีกเกอร์จะเป็นตัวควบคุมไม่ให้อุณหภูมิของขวดเปลี่ยน
4. ถูกทั้งข้อ 1, 2 และข้อ 3
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การทดลองนี้ไฟทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการทดลองจึงต้องแช่ขวดสาหร่ายไว้ในน้ำอีกต่อหนึ่ง เพื่อลดอุณหภูมิ หรือรักษาอุณหภูมิในขวดสาหร่าย และอุณหภูมิของสาหรายไม่ให้ร้อนเกินไปจนสาหร่ายตาย ดังนั้นน้ำในบีกเกอร์จะเป็นตัวควบคุมไม่ให้อุณหภูมิของขวดเปลี่ยนแปลง
**************************************
71. ในการทดลองนี้ เหตุใดจึงเติมผงซักฟอกลงไปด้วยเล็กน้อย
1. เพื่อให้เห็นสีได้ชัดเจนขึ้น
2. เพื่อให้สีเคลื่อนที่ได้ดีขึ้น
3. เพื่อมิให้สีติดข้างหลอดแก้ว
4. เพื่อมิให้สีเคลื่อนที่เร็วเกินไป
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
การเติมผงซักฟอกลงไปในสีที่หลอดรูปตัวยู เพื่อมิให้สีติดกับหลอดแก้วจะทำให้การสังเกตระยะต่าง ๆ ผิดไป
**************************************
72. การทดลองนี้ หากต้องการให้อุณหภูมิคงที่ตลอดเวลาจะทำได้โดย
1. ใช้บีกเกอร์ขนาดใหญ่ขึ้น
2. ใส่น้ำให้มากกว่าเดิม
3. อาจเติมน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ลงไปในบีกเกอร์
4. ทั้งข้อ 1, 2 และข้อ 3
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การทดลองนี้ หากต้องการอุณหภูมิคงที่ ต้องใช้บีกเกอร์ขนาดใหญ่ขึ้น ใส่น้ำมากขึ้น อุณหภูมิของขวดจะคงที่ได้ เนื่องจากน้ำจะเป็นตัวระบายความร้อนอย่างดี หากไม่มีบีกเกอร์ขนาดใหญ่ต้องใช้บีกเกอร์เดิม อาจต้องเติมน้ำแข็งลงไปเพื่อควบคุมอุณหภูมิ
**************************************
73. กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางของโคมไฟกับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ได้จากการทดลองจะเป็นดังนี้
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
กราฟแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างระยะทางระหว่างขวด และโคมไฟกับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง กล่าวคือ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเปลี่ยนแปลงตามความเข้มของแสง เมื่อเปลี่ยนความเข้มของแสง โดยการเปลี่ยนระยะของหลอดไฟ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเปลี่ยนแปลงตามระยะของหลอดไฟ ยิ่งใกล้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงยิ่งเพิ่ม
**************************************
จากข้อมูลในกราฟข้างล่างใช้ตอบคำถามข้อ 74-77
กราฟการเปลี่ยนแปลงของอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และความเข้มของแสงที่ต่างกัน 3 ระดับ
74. หากความเข้มของแสงคงที่ ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์จะมีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงอย่างไร
1. เมื่อความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า 0.10% หากเพิ่มความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มตาม
2. เมื่อความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่า 0.10% หากเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์อีก อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะไม่เปลี่ยน
3. ความเข้มของแสงจะไม่มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเลย ไม่ว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จะมากหรือน้อยเพียงไร
4. ทั้งข้อ 1 และข้อ 2
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
เมื่อความเข้มข้นของแสงคงที่ ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยช่วงที่ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ยังน้อยอยู่ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้น เมื่อความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมาขึ้น จนเมื่อความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ถึงระดับหนึ่ง อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะคงที่ ถึงแม้จะเพิ่มความเข้มข้นคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้นอีก อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็จะไม่เพิ่มขึ้น
**************************************
75. ถ้าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์คงที่ ความเข้มของแสงจะมีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือไม่
1. ไม่มี เพราะอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงขึ้นกับความเข้มข้นของแสงเท่านั้น
2. ไม่มี เพราะอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะคงที่อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเปลี่ยนความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์หรือความเข้มของแสง
3. มี อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มเมื่อความเข้มของแสงมากขึ้น ยกเว้นคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 0.02% ถึงแม้จะเปลี่ยนความเข้มของแสง อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็ไม่เปลี่ยน
4. มี อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลงเมื่อความเข้มของแสงมากขึ้น ยกเว้นคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 0.02% ถึงแม้จะเปลี่ยนความเข้มของแสง อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็ไม่เปลี่ยน
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ถ้าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์คงที่ ความเข้มของแสงมีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มของแสงมากขึ้น ยกเว้น หากความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 0.02% ถึงแม้จะเพิ่มความเข้มของแสงจากน้อยเป็นปานกลาง และมากก็ไม่ทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มขึ้น
**************************************
76. ความเข้มข้นที่น้อยที่สุดของคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดได้มากที่สุด คือประมาณ
1. 0.001%
2. 0.01%
3. 0.1%
4. 1.0%
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ความเข้มข้นที่น้อยที่สุดของคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดได้มากที่สุด คือ ประมาณ 0.1%
**************************************
77. การสังเคราะห์อาหารของพืชและการสังเคราะห์อาหารในแบคทีเรียบางชนิด ต่างกันที่
1. ชนิดของแก๊สที่เกิด
2. แหล่งของพลังงานที่ใช้ในการสร้างอาหาร
3. หน้าที่ในกลุ่มของสิ่งมีชีวิต
4. ไม่ต่างกันเลย
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การสังเคราะห์อาหารของพืช และการสังเคราะห์อาหารในแบคทีเรียบางชนิดต่างกันที่ชนิดของแก๊สที่เกิด คือ พืชสังเคราะห์อาหารแล้วได้แก๊สออกซิเจน ส่วนแบคทีเรียบางชนิดสังเคราะห์อาหารแล้วไม่ได้แก๊สออกซิเจน
**************************************
78.
ผลการทดลองนี้แสดงว่า
1. พืชสีเขียวทำให้อากาศเสียเป็นอากาศดี
2. พืชสีเขียวทำให้อากาศดีเป็นอากาศเสีย
3. หนูทำให้อากาศเสียเป็นอากาศดี
4. หนูทำให้อากาศที่ใช้ในการลุกไหม้แล้วให้ติดไฟได้ดี
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การทดลองนี้ทำใน ค.ศ. 1772 Joseph Priestley นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นผู้ทดลอง พบว่าพืชสีเขียวสามารถเปลี่ยนอากาศเสีย ซึ่งทำให้เทียนดับและหนูตาย เป็นอากาศดี ซึ่งทำให้สามารถจุดเทียนไขติดได้อีก
**************************************
79. หลายครั้งที่พริสท์ลีย์แบ่งอากาศ หลังจากเทียนไขลุกไหม้และดับแล้วออกเป็น 2 ส่วน เอาพืชสีเขียวใส่ไว้ในส่วนหนึ่ง และปล่อยให้อีกส่วนหนึ่งคงบรรจุอยู่ในภาชนะแก้วที่คว่ำไว้ในน้ำ แต่ไม่มีพืช ทุกครั้งที่จุดเทียนไขจะพบว่าเทียนไขจะไม่ดับในอากาศส่วนแรก แต่จะดับในอากาศส่วนที่สอง พริสท์ลีย์ทำเช่นนี้เพื่อ
1. หากทดลองอันแรกไม่สำเร็จยังมีอากาศอีกชุดเอาไว้ทดสอบ
2. การทดลองจะได้เชื่อถือได้มากขึ้น เพราะทดลองเหมือน ๆ กัน หลาย ๆ หน
3. การทดลองจะได้เชื่อถือได้มากขึ้น เพราะทดลองแล้วพบว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น เนื่องมาจากพืชสีเขียว
4. การทดลองอาจผิดพลาดได้ หากไม่แบ่งแก๊สที่เกิดเพื่อไว้ทดลองอีก
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
พริสท์ลีย์แบ่งอากาศ หลังจากเทียนไขลุกไหม้และดับแล้วออกเป็น 2 ส่วน เอาพืชสีเขียวใส่ไว้ในส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะแก้วที่คว่ำไว้ในน้ำแต่ไม่มีพืช ทุกครั้งที่จุดเทียนจะพบว่าเทียนไขไม่ดับทันทีในอากาศส่วนแรก แต่จะดับในอากาศส่วนที่สอง พริสท์ลีย์ทำเช่นนั้นเพื่อเอาไว้เปรียบเทียบ ซึ่งทำให้สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากพืชสีเขียวไม่ใช่เกิดจากปัจจัยอื่น
**************************************
80. ถ้าต้องการทดสอบว่า การสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้แสงตลอดเวลา ควรจะทำ
1. การทดลอง 2 ชุด ชุดหนึ่งเปิดไฟตลอด ชุดหนึ่งปิดไฟตลอด
2. การทดลอง 2 ชุด ชุดหนึ่งเปิดไฟตลอด ชุดหนึ่งเปิด-ปิดไฟสลับตลอด
3. การทดลอง 2 ชุด ทั้งสองชุดเปิด-ปิดไฟสลับตลอด
4. การทดลอง 2 ชุด สองชุด เปิดไฟตลอด
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การทดสอบว่าการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้แสงตลอดเวลานั้นใช้ทดลองเปรียบเทียบ 2 ชุด ชุดหนึ่งเปิดไฟตลอดเวลา อีกชุดหนึ่งปิด-เปิดไฟสลับ ในเวลาเท่ากัน จะได้คาร์โบไฮเดรตปริมาณเท่า ๆ กัน แล้วแสดงว่า การให้แสงตลอดเวลานั้นไม่สำคัญ
**************************************
จากภาพข้างล่าง จงตอบคำถามข้อ 81-85
81. ส่วนใดของภาพ มีเอนไซม์ช่วยสังเคราะห์ด้วยแสง
1. 1 และ 2
2. 4 และ 5
3. 3 และ 4
4. 2 และ 4
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
ตำแหน่งที่ 2 คือ บริเวณกรานุม (Granum) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวกับกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในช่วงปฏิกิริยาใช้แสง ในส่วนตำแหน่ง 1 เป็นสโตรมา (Stroma) ซึ่งมีเอนไซม์ที่ใช้ในช่วงปฏิกิริยาไม่ใช้แสง
**************************************
82. หมายเลขใด คือ สโตรมา
1. 1
2. 2
3. 3
4. 4
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
สโตรมา (Stroma) เป็นบริเวณของเหลวไม่มีสี ที่อาบอยู่รอบ ๆ สโตรมาลาเมลลา และไทลาคอยด์ ในส่วนนี้จะมีเอนไซม์ที่นำไปใช้ในปฏิกิริยาช่วงวัฏจักรแคลวินซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสง จึงเป็นตำแหน่งที่เกิดของปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงด้วย
**************************************
83. พบคลอโรฟิลล์ในหมายเลขใดบ้าง
1. 2
2. 1 และ 2
3. 2 และ 3
4. 1, 2 และ 3
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
บริเวณที่มีคลอโรฟิลล์ คือ บริเวณลาเมลลา ลาเมลลาประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ซึ่งมีคลอโรฟิลล์และรงควัตถุประกอบ (Accessory pigment) ต่าง ๆ เช่น คาร์โรตินอยด์ (Carotenoids) ติดอยู่ด้วย ที่ผิวหน้าของแผ่นไทลาคอยส์จะมีแกรนูล (Granule) อยู่เป็นจำนวนมาก แกรนูลที่มีขนาดใหญ่เป็นแหล่งรับพลังงาน ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มของรงควัตถุในรงควัตถุระบบ 1 และรงควัตถุระบบ 2 ซึ่งก็คือ ควอนตาโซม ดังนั้นในปฏิกิริยาที่ใช้แสงซึ่งทำให้อิเล็กตรอนมีพลังงานสูงขึ้น จึงเกิดขึ้นที่แหล่งเหล่านี้ ส่วนแกรนูลที่มีขนาดเล็กคาดว่าเป็นที่อยู่ของเอนไซม์ชนิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในปฏิกิริยาที่ใช้แสง
**************************************
84. ปฏิกิริยาเคมีต่อไปนี้ เกิดขึ้นที่หมายเลขใด
1. 2
2. 3
3. 2 และ 3
4. 1, 2 และ 3
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
บริเวณกรานุม และบริเวณลาเมลลา เป็นบริเวณที่มีปฏิกิริยาการแยกน้ำโดยใช้แสง หรือ Photolysis ในช่วงการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร (Noncyclic electron transfer)
**************************************
85. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเข้าร่วมในปฏิกิริยาเคมีที่หมายเลขใด
1. 1
2. 2
3. 3
4. 2 และ 3
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเข้าร่วมปฏิกิริยาในช่วงวัฏจักรแคลวินซึ่งไม่ต้องใช้แสง บริเวณที่เกิดคือบริเวณสโตรมา
**************************************
86. ถ้าต้องการทดสอบว่า แสงมีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงต้อง
1. ทดสอบเฉพาะในที่ ๆ มีแสง
2. ทดลองเฉพาะในที่มืด
3. ทดลอง 2 ชุด ชุดหนึ่งอยู่ในที่มืด อีกชุดอยู่ในที่ ๆ มีแสง
4. ทดลองซ้ำ ๆ ชุดเฉพาะในที่ ๆ มีแสง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
การจะทดสอบว่าแสงมีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงต้องทดลอง 2 ชุด โดยให้ชุดหนึ่งอยู่ในที่มืด อีกชุดอยู่ในที่มีแสงเปรียบเทียบกันจะพบว่าชุดที่อยู่ในแสงเท่านั้นที่พืชสร้างคาร์โบไฮเดรตได้
**************************************
จากแผนภาพข้างล่าง จงตอบคำถามข้อ 87-91
87. หมายเลข 1 ควรเป็นอะไร
1. ก๊าซออกซิเจน
2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3. น้ำ
4. ATP
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
หมายเลข 1 ควรเป็นน้ำ เนื่องจากเป็นช่วงของปฏิกิริยาที่ใช้แสง สารที่พืชใช้คือน้ำ
**************************************
88. หมายเลขใดควรเป็นก๊าซออกซิเจน
1. 1
2. 2
3. 3
4. 2 และ 5
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ในปฏิกิริยาที่ใช้แสงเมื่อมีน้ำเข้าทำปฏิกิริยา น้ำจะถูกแยกโดยกระบวนการ Photolysis ทำให้ได้ก๊าซออกซิเจนเกิดขึ้น
**************************************
89. หมายเลข 5 น่าจะเป็นอะไร
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
หลังจากเกิดปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงสิ้นสุดลง สารที่จะได้ คือ กลูโคส
**************************************
90. หมายเลข 4 ควรเป็น
1. ก๊าซออกซิเจน
2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3. ATP
4. น้ำ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
ในปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสง ส่วนที่นำเข้าสู่ปฏิกิริยาควรเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
**************************************
91. หมายเลข 3 ควรเป็น
1. ATP
2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3. Electron
4. ไม่มีคำตอบเลย
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
จากปฏิกิริยาที่ใช้แสงสามารถสร้างสารเคมีให้พลังงานสูง คือ ATP จาก ADP + Pi
**************************************
92. ลำดับการเปลี่ยนแปลงของสารในวัฏจักรแคลวิน เป็นดังนี้
1. PGAL ---> PGA ---> RuBP
2. PGA ---> RuBP ---> PGAL
3. RuBP ---> PGA ---> PGAL
4. ถูกทั้งข้อ 1, 2 และข้อ 3
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ลำดับการเปลี่ยนแปลงของสารในวัฏจักรแคลวิน จะเริ่มตั้งแต่
แผนภาพแสดงผลที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงในปฏิกิริยาที่ใช้แสงและปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงในคลอโรพลาสต์
**************************************
93. การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเพื่อให้ได้น้ำตาลกลูโคสออกมา 1 โมเลกุล ต้องเกิดปฏิกิริยาตามวัฏจักรแคลวินกี่รอบ
1. 1 รอบ
2. 2 รอบ
3. 3 รอบ
4. 6 รอบ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเพื่อให้ได้น้ำตาลกลูโคสออกมา 1 โมเลกุล ต้องเกิดปฏิกิริยาตามวงจรแคลวิน 6 รอบ เนื่องจากในวงจรแคลวินนั้น เกิด 3 รอบ จึงจะได้ PGAL 6 โมเลกุล ซึ่งพืชเก็บสะสมไว้ 1 โมเลกุล อีก 5 โมเลกุลจะเข้าสู่วงจรแคลวินอีก เพื่อทำให้เกิด 3 RuBP แต่ 2 PGAL จึงให้ 1 กลูโคส ดังนั้น จึงเกิดวงจรแคลวิน 6 รอบ จะได้ 1 กลูโคส
**************************************
94. ในวัฏจักรแคลวิน พืชต้องการให้กลูโคสออกมา 1 โมเลกุล จะต้องใช้พลังงานไปเท่าใด
**************************************
95. ปฏิกิริยาในช่วงใดของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ให้ก๊าซออกซิเจนออกมา
1. Dark reaction
2. Cyclic electron transfer
3. Noncyclic electron transfer
4. ทั้งข้อ 1 และข้อ 3
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
เฉพาะปฏิกิริยาในช่วง Noncyclic electron transfer หรือ Photolysis จึงจะมีการแยกน้ำทำให้ได้ออกซิเจน
**************************************
96. การสังเคราะห์กลูโคสสัมพันธ์กับปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในระยะ
1. Aerobic respiration
2. Anaerobic respiration
3. ในระยะที่ไม่ใช้แสงของการสังเคราะห์ด้วยแสง
4. ในระยะที่ใช้แสงของการสังเคราะห์ด้วยแสง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
การสังเคราะห์กลูโคสเกิดในช่วงไม่ใช้แสงของปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือวงจรแคลวินนั่นเอง
**************************************
97. ในวัฏจักรแคลวิน พืชสีเขียวต้องการได้ PGAL 1 โมเลกุล โดยใช้
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
**************************************
98. การสร้างน้ำตาลในพืช จะต้องเริ่มต้นจาก
1. ATP
2. RuBP
3. NADPH2
4. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การสร้างน้ำตาลในพืชเริ่มจาก RuBP รวมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่วงจรแคลวินซึ่งไม่ต้องใช้แสง
**************************************
99. ปฏิกิริยาในช่วงใดของการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ให้ก๊าซออกซิเจนและน้ำออกมา
1. วัฏจักรแคลวิน
2. Cyclic electron transfer
3. Noncyclic electron transfer
4. ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
**************************************
100. ขั้นตอนการสังเคราะห์แป้งในพืช คือ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
RuBP รวมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลายเป็น PGA ซึ่งกลายเป็น PGAL และ 2 PGAL กลายเป็น 1 กลูโคส กลูโคสรวมกันหลาย ๆ โมเลกุลกลายเป็นแป้ง
**************************************