วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คู่มือสอนดี-ตอนที่ 1 เปิดโลกแห่งการสอน


คู่มือสอนดี-ตอนที่ 1 เปิดโลกแห่งการสอน-1of2_Force8949

คู่มือสอนดี-ตอนที่ 1 เปิดโลกแห่งการสอน-2of2_Force8949

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร การสุ่มตัวอย่าง


ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร การสุ่มตัวอย่าง

**********************************************************
ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร การสุ่มตัวอย่าง Force8949.7z.001
(199 MB)
http://www.mediafire.com/?l15ln1aa19x5xyb
ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร การสุ่มตัวอย่าง Force8949.7z.002
(199 MB)
http://www.mediafire.com/?tyb6kzwzsm8qaf0
ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร การสุ่มตัวอย่าง Force8949.7z.003
(65.38 MB)
http://www.mediafire.com/?7ulxqz7fenqhq5h
***********************************************************

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร การประมาณค่า (1)


ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร การประมาณค่า (1)

****************************************************************
ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร การประมาณค่า (1) Force8949.7z.001
(199 MB)
http://www.mediafire.com/?cssrlr209yhbs7d
ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร การประมาณค่า (1) Force8949.7z.002
(199 MB)
http://www.mediafire.com/?o5t71do2a16a8xa
ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร การประมาณค่า (1) Force8949.7z.003
(65.15 MB)
http://www.mediafire.com/?2e29qwqhjy2xea1
****************************************************************

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การทดสอบสมมติฐาน (2)


ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การทดสอบสมมติฐาน (2)_Force8949-1of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การทดสอบสมมติฐาน (2)_Force8949-2of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การทดสอบสมมติฐาน (2)_Force8949-3of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การทดสอบสมมติฐาน (2)_Force8949-4of4


วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การถดถอยเชิงเส้นและสหสัมพันธ์


ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การถดถอยเชิงเส้นและสหสัมพันธ์_Force8949-1of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การถดถอยเชิงเส้นและสหสัมพันธ์_Force8949-2of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การถดถอยเชิงเส้นและสหสัมพันธ์_Force8949-3of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การถดถอยเชิงเส้นและสหสัมพันธ์_Force8949-4of4


ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-กฏความน่าจะเป็น


ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-กฏความน่าจะเป็น_Force8949-1of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-กฏความน่าจะเป็น_Force8949-2of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-กฏความน่าจะเป็น_Force8949-3of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-กฏความน่าจะเป็น_Force8949-4of4

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การวิเคราะห์ความแปรปรวน (3)


ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การวิเคราะห์ความแปรปรวน (3)_Force8949-1of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การวิเคราะห์ความแปรปรวน (3)_Force8949-2of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การวิเคราะห์ความแปรปรวน (3)_Force8949-3of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การวิเคราะห์ความแปรปรวน (3)_Force8949-4of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง


ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง_Force8949-1of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง_Force8949-2of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง_Force8949-3of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง_Force8949-4of4


ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง


ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง_Force8949-1of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง_Force8949-2of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง_Force8949-3of4

ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร-การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง_Force8949-4of4

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข้าวบอก เครื่องสังเวยวิญญาณเจ้าป่าช้า หรือ "เจ้าเปรว"


ข้าวบอก

ข้าวบอก คือเครื่องสังเวยวิญญาณเจ้าป่าช้า หรือ "เจ้าเปรว" ซึ่งมีชื่อว่า ตากาลา ยายกาลี เพื่อฝากฝังวิญญาณผู้ตายให้เข้าไปอาศัยในป่าช้านั้น มิฉะนั้นเจ้าเปรวจะขับไล่วิญญาณผู้ตายไม่ยอมให้อยู่ด้วย "ข้าวบอก" ก็คือข้าวสำหรับบอกกล่าว
.......... ข้าวบอก ประกอบด้วยข้าวปากหม้อ ปลามีหัวมีหาง สตางค์ เป็นค่าซื้อที่เผาที่ฝัง (ซื้อจากเจ้าเปรว) บางท้องถิ่นมีวิธีการหุง ข้าวบอกที่พิสดาร คือใช้วิธีหุงปล่อยทิ้ง คือไม่ต้องไปสนใจไยดีว่า จะสุกหรือไม่สุก หุงแล้วใช้ผ้าขาวคลุมปากเครื่องหุงนำไปทั้งเครื่องหุงและข้าว
.......... เมื่อเคลื่อนศพออกจากบ้าน จะต้องให้ลูกหรือหลานคนสุดท้องของผู้ตายนุ่งขาวห่มขาวถือข้าวบอก (ใส่รวมกันในโถหรือถ้วย) เดินตามศพ เมื่อไปถึงป่าช้าให้วางข้าวบอกไว้ข้างศพ เมื่อถึงเวลาเผาศพให้วางบนเชิงตะกอนหรือบนกองฟืนที่จัดเตรียมไว้เผาศพ

ข้าวเปียก หรือข้าวต้มเปียก คือข้าวต้มขาวนั่นเอง


ข้าวเปียก

ข้าวเปียก หรือข้าวต้มเปียก คือข้าวต้มขาวนั่นเอง ข้าวชนิดนี้นอกจากใช้รับประทานกันกับข้าวอย่างที่เรียกว่า "ข้าวต้มกุ๊ย" แล้ว ยังใช้เซ่นสังเวยภูตผีบางจำพวก มีผีอีหนุ้ย และครูหมอตายาย เป็นต้น การเซ่นสังเวยจะเรียกข้าวเปียกเป็น "หาม'' เช่น เมื่อป่วยกระเสาะกระแสะ และเชื่อว่าอาการไข้นั้นเกิดจากผีให้โทษ ก็จะบนบานว่าให้หายเสีย แล้วจะให้กินข้าวเปียกกี่หามก็ว่าไป เมื่อหายก็ต้องต้มข้าวเปียก แล้วตักใส่ถ้วยเท่าจำนวนหามที่บนไว้ เวลาเซ่นสังเวยจะต้องใช้คนสองคนช่วยกันหาม (ยกด้วยมืออย่างธรรมดา) ทีละถ้วยจนครบจำนวนที่บนไว้ เมื่อเซ่นสังเวยเสร็จแล้ว ข้าวเปียกนั้นก็ใช้รับประทานได้ตามปรกติ

ข้าวยำ อาหารคาวของชาวใต้ ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามเรียก นาซิกาบู


ข้าวยำ 

เป็นอาหารคาวของชาวใต้ ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามเรียก นาซิกาบู (นาซิ = ข้าว, กาบู = ยำ) ข้าวยำประกอบด้วยข้าวสุกราดด้วยน้ำบูดู (บางถิ่นเรียกน้ำเคย) มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งป่น และผักสดหลายชนิดหั่นปนกันลงไป แล้วคลุกให้เข้ากัน
เครื่องปรุงสำคัญของข้าวยำ ได้แก่ ข้าวที่หุงไม่แฉะ บางทีก็ใช้ข้าวหุงด้วยใบยอ (ลักษณะเป็นสีเทาหรือคล้ำ การหุงข้าวด้วยใบยอทำโดยเอานํ้าซึ่งคั้นจากใบยอมาหุง เป็นการเพิ่มรสให้หอมชวนรับประทานยิ่งขึ้น) มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งจืดป่น พริกแห้งคั่วแล้วป่น และผักชนิดต่างๆ ผักที่นิยมใช้ในการปรุงข้าวยำ ได้แก่ เมล็ดกระถิน สะตอหั่นฝอย ถั่วงอกเด็ดราก ถั่วฝักยาวหั่นฝอย แตงกวา ตะไคร้หั่นฝอย ส้มโอหรือมะขามดิบหรือมะม่วง หรือมะนาว หั่นฝอย เครื่องปรุงเหล่านื้จะเตรียมหั่นใส่ภาชนะไว้พร้อมที่จะปรุงรับประทานได้ทันที
นํ้าบูดูหรือนํ้าเคยที่ราดข้าวยำด้องเป็นบูดูชั้นดี หรือถ้าได้บูดูชนิดเป็นตัว (ตัวปลาที่ใช้หมักไม่เปื่อยจนเหลว) ยิ่งดี นำบูดูมาต้มน้ำด้วยไฟอ่อนๆ กับตะไคร้ทุบ หอมทุบ นํ้าตาลปีบหรือนํ้าตาลแว่น ใบมะกรูด และข่าทุบ พอเดือดมีกลิ่นหอมและน้ำข้นเล็กน้อยจึงยกลง รสนํ้าบูดูจะค่อนไปทางหวาน
เมื่อจะรับประทานข้าวยำก็ตักข้าวใส่จาน ราดน้ำบูดูพอควร แล้วโรยด้วยมะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งป่น และผักชนิดต่างๆ คลุกให้เข้ากัน บีบมะนาวอีกเล็กน้อย (แต่ถ้าผักที่เตรียมไว้มีพวกส้มอยู่แล้วไม่ต้องใช้มะนาวปรุงรสอีก) ถ้าชอบเผ็ดก็ใส่พริกป่นตามชอบ บางท้องที่นิยมรับประทานข้าวยำกับไข่ต้ม
โดยทั่วไปแล้วคนปักษ์ใต้นิยมรับประทานข้าวยำเป็นอาหารเช้าหรือกลางวัน ส่วนมื้อเย็นก็รับประทานได้ แต่ไม่สู้นิยมกันนัก ข้าวยำมีขายตามตลาดนัดหรือตลาดสด หรือร้านอาหารไทยที่จำหน่ายอาหารประเภทข้าวราดแกง ที่บรรจุห่อใบตองเร่ขายก็มี ราคาข้าวยำถูกกว่าข้าวราดแกงธรรมดา แม่บ้านนิยมทำรับประทานในครอบครัวเช่นกัน
ข้าวยำมีคุณค่าทางอาหารสูง เพราะมีทั้งโปรตีนและวิตามิน ประการสำคัญคือไม่ทำให้ร่างกายอ้วน เพราะไม่มีไขมัน

ข้าวยำใบยอ


ข้าวยำใบยอ 

เป็นข้าวยำชนิดหนึ่ง คล้ายกับข้าวยำธรรมดา ผิดกันตรงใช้ใบยอเป็นเครื่องปรุงเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง (ดู ข้าวยำ)
การหุงข้าว
เอาใบยอ (ใบยอที่นำมาทำห่อหมก) เอามาตำให้ละเอียดละลายนํ้าและกรองเอาแต่นํ้าหุงกับข้าวสารที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว กะดูให้น้ำท่วมข้าวสารประมาณ 2 ข้อนิ้วชี้ การหุงข้าวอย่าให้ข้าวแฉะถ้าแฉะข้าวยำจะไม่อร่อย ข้าวนิ้จะกินกับนํ้าเคยข้าวยำ เส้นหมี่ผัดและเครื่องหมวดข้าวยำ (ผัก)
นํ้าเคยข้าวยำ
เอาเคยนํ้าหรือบูดูใส่หม้อตั้งไฟใส่นํ้านิดหน่อย ใส่หัวข่าทุบพอแตก ตะไคร้ทุบพอแตก หอมเล็ก ใบมะกรูด นํ้าตาลปีบเคี่ยวให้ข้นแล้วกรองเอาแต่บูดูนํ้าแล้วเอาตั้งไฟอีกครั้ง ฉีกใบมะกรูดใส่ให้มีกลิ่นหอม น้ำบูดูหรือน้ำเคยจะมีรสหวานเค็ม
เส้นหมี่ผัด
ขูดมะพร้าวคั้นเอาหัวกะทิตั้งไฟให้เดือดแตกมัน ใส่หอมเล็กหั่นฝอย เหยาะซีอิ๊วดำนิดหน่อยพอมีสี ใส่น้ำตาลปีบและใส่เส้นหมี่ลงผัดจนแห้ง
เครื่องปรุงข้าวยำ
ได้แก่ มะม่วง มะขาม มะมุด มะปริง ขูดหรือไสหรือหั่นให้ละเอียดจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่ฤดูนั้นจะมีส้มอะไร หรือจะใช้มะนาวแทนก็ได้แต่รสไม่อร่อย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งตำละเอียด พริกขี้หนูแห้งคั่วตำละเอียด เมล็ดกระถิน เกสรชมพู่มะเหมี่ยว ใบชะพลู ใบพาโหม ใบมะกรูดอ่อน ตะไคร้หั่นฝอย เอาเครื่องปรุงดังกล่าวมาคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน นอกจากนี้อาจจะมี ถั่วงอกสด ถั่วฝักยาวสดหั่นฝอย เป็นผักกินแนมด้วย
การผสมข้าวยำรับประทาน ต้องประมาณเครื่องทั้งหมดให้พอดี ถ้าผสมไม่ได้ส่วนจะทำให้ข้าวยำไม่อร่อย และผสมตามขั้นตอนดังนี้ เอาข้าวใส่จานพอประมาณ ใส่ส้ม ราดน้ำบูดู ใส่มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้ง เส้นหมี่ผัด ผัก พริกป่น (เดี๋ยวนี้ข้าวยำจะใส่ข้าวตังทอดกรอบด้วยและรับประทานกับไข่ต้ม) ข้าวยำใบยอไม่ใช่มีรสชาติอร่อยอย่างเดียว ผู้เฒ่าผู้แก่ยังบอกว่า การหุงข้าวด้วยใบยอยังเป็นยาระบายท้องและผักข้าวยำบางชนิด เป็นยาระบายลมอีกด้วย

ข้าวยำยา หรือข้าวยำสยา


ข้าวยำยา

ข้าวยำยา หรือข้าวยำสยา เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่หุงรับประทานเป็นครั้งคราว ที่เรียกว่าข้าวยำยาเพราะใช้น้ำหุงที่เป็นพืชร้อยแปดชนิด พืชที่เอามาตำเอาน้ำหุงข้าวนี้บางชนิดเอาทุกส่วนตั้งแต่รากถึงผล แต่จะเอามาอย่างละนิดหน่อยเท่านั้น ตัวอย่างพืช เช่น ใบตะไคร้ กระทือทั้งใบและหัว ใบขมิ้น ใบยอ ใบไพล ใบคนที ใบข่า ใบก้างปลาหมอ พาโหม (กะพังโหม) ขิง ใบช้องนางคลี่ ฯลฯ ซึ่งเป็นพืชจำพวกที่มีรสเผ็ดร้อน เมื่อได้มาครบตามที่ต้องการ นำมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำไปหุงข้าวเหมือน ข้าวยำใบพันสมอ (ดู ข้าวยำใบพันสมอ) เมื่อข้าวสุกจะเป็นสีเขียวคล้ำ
.......... เมื่อหุงข้าวสุกแล้วจะปรุงเป็นข้าวยำเหมือนข้าวยำทั่วไป หรือถ้าจะให้เป็นยาจริงๆ จะไม่ใส่ส้ม เครื่องปรุงรสใส่เฉพาะผักที่มีรสฝาด ตะไคร้ มะพร้าวคั่วกับปลาย่างเล็กน้อยและนํ้าบูดูสด
.......... ข้าวยำนี้จะมีรสเผ็ดร้อน ค่อนข้างขม จึงนิยมรับประทานเป็นครั้งคราวในหน้าฝน หรือหุงให้คนป่วย คนคลอดใหม่ๆ รับประทาน เป็นต้น

ข้าวหมกดิน วิธีการหุงข้าว ในกรณีที่ไม่มีภาชนะหุง


ข้าวหมกดิน

ข้าวหมกดิน เป็นวิธีการหุงข้าววิธีหนึ่ง ในกรณีที่ไม่มีภาชนะหุง การหุงด้วยวิธีนี้ทำโดยเอาข้าวสารใส่ผ้าขาวม้าหรือผ้าอื่น ผูกให้มิดชิด นำไปแช่น้ำให้เมล็ดข้าวสารพอง นำมาวางลงกับพื้นดินใช้ดินทรายกลบรอบๆ ห่อข้าวสาร แล้วก่อไฟไว้ข้างบน กะดูว่าข้าวที่อยู่ด้านบนสุกแล้วเขี่ยไฟออก พลิกอีกด้านหนึ่งขึ้น กลบดิน แล้วสุมไฟใหม่ พอข้าวสุกก็เอาออกมารับประทานได้

ข้าวหมกแพะ อาหารที่นิยมรับประทานในงานใหญ่ๆ ของชาวไทยมุสลิม


ข้าวหมกแพะ

ข้าวหมกแพะ เป็นอาหารที่นิยมปรุงเพื่อใช้รับประทานในงานใหญ่ๆ ของชาวไทยมุสลิม เช่น งานรับแขกผู้ใหญ่ งานมงคลสมรส และงานประเพณีต่างๆ ลักษณะเป็นข้าวมันสีเหลือง ที่มีเครื่องปรุงผสม และมีเนื้อแพะเป็นชิ้นโตๆ รวมอยู่ด้วย คล้ายข้าวหมกไก่ เครื่องปรุงของข้าวหมกแพะสำหรับเนื้อแพะประมาณ 10 กิโลกรัม ประกอบด้วย ข้าวสารซึ่งเป็นข้าวเจ้า 12 ลิตร น้ำมันพึช 700 - 800 กรัม นํ้าที่ใช้ต้มเนื้อแพะแล้วเพื่อใช้สำหรับหุงข้าวปริมาณ 10 ลิตร หัวกระเทียม 3 หัว หัวหอม 1 กิโลกรัม ขิง 2 แง่ง ขมิ้น 2 แง่ง เกลือแกงปริมาณพอสมควร นํ้าตาลทรายพอประมาณ มะเขือเทศ 1 - 2 กิโลกรัม เนยเหลว 200 กรัม เครื่องเทศจำพวกผักชี ยี่หร่า กานพลู ไม้หวาน ลูกกระวานและดอกจันทน์ ปริมาณพอเหมาะสม
.......... วิธีปรุง
ทำตามลำดับขั้นดังนี้
(1) ซอยหัวหอมและหัวกระเทียมให้เป็นชิ้นเล็กๆ พร้อมทั้งตำหัวขิง ขมิ้น และเครื่องเทศ ให้ละเอียดแล้วเจียวกับนํ้ามันพืชและเนยเหลวให้มีสีเหลืองพอเหมาะ
(2) สับเนื้อแพะให้เป็นชิ้นขนาดโตตามต้องการแล้วต้มให้สุก
(3) ซาวข้าวสารเสร็จแล้วก็ใส่นํ้าซึ่งใช้ต้มเนื้อแพะที่เตรียมไว้แล้วผสมกับข้าวสารในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 พร้อมด้วยเนื้อแพะ ซึ่งต้มสุกแล้ว
(4) ใส่เครื่องปรุงซึ่งเจียวไว้แล้วพร้อมทั้งมะเขือเทศ ที่ผ่าซีกลงในหม้อซึ่งจะใช้หุงข้าว
(5) หุงข้าวพร้อมเครื่องปรุงทั้งหมดให้สุกก็เป็นอันเสร็จ
.......... วิธีรับประทาน
ตักข้าวซึ่งหุงเรียบร้อยแล้ว พร้อมเนื้อแพะ และเครื่องปรุง แล้วรับประทานกับ "ซามาลาดอ" (ดู ซามาลาดอ) และผักกาดหอมหรือผักอื่นๆ ตามความต้องการ

ข้าวเหนียวหน้าแกง


ข้าวเหนียวหน้าแกง 

เป็นอาหารคาวชนิดหนึ่ง ตามชนบทนิยมทำเพื่อนำไปเลี้ยงพวกเพื่อนๆ ตอนไหว้วานไปปลูกข้าว หรือเก็บเกี่ยวข้าว
ข้าวเหนียวหน้าแกงประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ข้าวเหนียวกับแกง (ไก่หรือกุ้ง)
ข้าวเหนียว
ทำโดยเอาข้าวเหนียวมาล้างน้ำให้สะอาดแช่ให้เมล็ดพองได้ที่เทนํ้าออก
นำข้าวเหนียวไปนึ่งให้สุกเอาใส่ภาชนะ
คั้นมะพร้าวเอาแต่หัวกะทิผสมเกลือพอมีรสเค็มและนำไปคนให้เข้ากับข้าวเหนียวที่นึ่งสุกและกำลังร้อนๆ เรียกว่า "มูน" หรือ "หลบข้าวเหนียว"
แกง
ทำโดยเอาไก่มาล้างนํ้าให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ พักไว้หรืออาจใช้กุ้งแทนไก่ก็ได้
ทำเครื่องแกงโดยเอากระเทียม หอม ตะไคร้ พริกแห้งดอกใหญ่ (เอาเมล็ดออกแล้วแช่นํ้า)
พริกไทย โขลกให้ละเอียด ใส่กะปิเล็กน้อยอย่าให้มีกลิ่น คั้นมะพร้าวเอาหัวกะทิใส่กระทะตั้งไฟพอเดือดใส่เครื่องแกงลงผัดพร้อมด้วยเนื้อไก่ หรือกุ้งที่เตรียมไว้ น้ำตาลแว่น เกลือเล็กน้อย ผัดให้เนื้อไก่หรือกุ้งสุกและให้นํ้าแกงพอดีกับเนื้อไก่หรือกุ้งเมื่อแกงสุกได้ที่ดีแล้ว หั่นใบมะกรูดอ่อนๆ ให้เป็นฝอยใส่อีกครั้งเพื่อให้มีกลิ่นหอม
แกงนี้ปรุงให้มีรสปานกลาง ถ้ารสจัดไม่อร่อย ชิมดูให้มีรสหวานเค็มเล็กน้อย
เวลารับประทานตักข้าวเหนียวใส่จานและตักแกง ราดบนข้าวเหนียว ข้าวเหนียวหน้าแกงมีรสชาติ หอม หวาน มัน เค็ม

ข้าวยำใบพันสมอ หรือ ข้าวยำนราธิวาส


ข้าวยำใบพันสมอ

ข้าวยำใบพันสมอ หรือเรียกกันว่า ข้าวยำนราธิวาส เป็นอาหารอย่างหนึ่งของชาวนราธิวาส นิยมหุงด้วยข้าวเก่าค้างปี เพราะหุงแล้วข้าวจะแห้งและร่วนดี ใบพันสมอที่ใช้ทำนํ้าหุง เป็นไม้เถาชอบขึ้นตามป่าละเมาะในที่ลุ่มดินเหนียวปนดินร่วน มีนํ้าขังบางฤดู ลักษณะเถาเหนียว มีใบอ่อนขึ้นไม่ขาดระยะ ลักษณะใบค่อนข้างหนา สั้นป้อม เก็บใบนี้มาตำให้ละเอียดแล้วนำไปคั้นเอาน้ำ ทำนาหุง น้ำนี้ก่อนจะหุงเป็นสีเขียว เมื่อหุงสุกข้าวจะกลายเป็นสีม่วงเข้ม
.......... สำหรับเครื่องปรุงประกอบด้วย น้ำบูดูสด มะพร้าวคั่ว ปลาย่างฉีกฝอย พริกไทยป่น มะม่วงหรือมะขาม ผักต่างๆ เช่น ตะไคร้ ดอกกาหลา ถั่วฝักยาว ถั่วงอก ยอดตาเป็ด ลูกไตเบา (กระถิน) ยอดหมักแพ ยอดแหร (มะม่วงหิมพานต์) ยอดราม เป็นด้น ผักทุกชนิดจะหั่นฝอย
.......... ข้าวยำใบพันสมอนี้ ถ้าไม่มีใบพันสมอจะใช้ใบยอแทนก็ได้ แต่กลิ่นใบยอไม่หอมชวนรับประทานเท่า ปัจจุบันความนิยมในการรับประทานข้าวยำใบพันสมอเปลี่ยนไป คือน้ำบูดูที่ใช้จะปรุงให้มีรสหวานเหมือนน้ำเคยข้าวยำภาคใต้ทั่วไป เครื่องปรุงก็เพิ่มกุ้งแห้ง ปลาย่างแทนที่จะฉีกฝอยก็ป่นผสมผงชูรส การซื้อขายข้าวยำก็แพร่หลายขึ้น สมัยก่อนข้าวยำใบพันสมอจะมีขายเฉพาะงานวัดหรือตามงานต่างๆ นอกเมืองเท่านั้น คนเที่ยวงานสมัยก่อนหากกินข้าวยำไม่เป็นหรือเห็นข้าวยำใบพันลมอเป็นข้าวที่ไม่น่ากิน หากออกไปเที่ยวงานตามวัดบ้านนอกจะต้องอดข้าว เพราะร้านขายข้าวทุกร้านจะขายแต่ข้าวยำใบพันสมอและเป็นข้าวยำที่ใช้น้ำบูดูสดด้วย

ขี้ปลาเออะ อาหารพื้นเมีองที่นิยมกันในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและชุมพร


ขี้ปลาเออะ
เป็นอาหารพื้นเมีองอย่างหนึ่งที่นิยมกันในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและชุมพร ใช้ขี้ปลาหรือพุงปลา (ไตปลา) หมักผสมเครื่องปรุง
ขี้ปลาที่ใช้หมักส่วนมากนิยมใช้ปลาทู วิธีทำขี้ปลาก็คือ ล้วงควักเอาไส้ปลาออกมารีดขี้ออก แล้วหมักเกลือเก็บไว้ในโถหรือในขวดปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ราว 15 - 20 วันก็นำไปปรุงได้
การปรุงขี้ปลาเออะ
เครื่องปรุงมี พริกขี้หนู หอม กระเทียม ตะไคร้ พริกไทย ใบมะกรูด ขมิ้น กะทิ มะนาว และนํ้าตาล วิธีปรุง เอาขี้ปลาตั้งไฟให้สุก แล้วเอาเครื่องปรุงที่โขลกเสร็จแล้วใส่ลงไป พอเครื่องแกงสุกก็ราดหัวกะทิ พอเดือดคนให้เข้ากัน ปรุงรสให้ออกเค็ม เผ็ด ออกเปรี้ยวๆ หวานนิดหน่อย ยกลง
ขี้ปลาเออะใช้รับประทานกับข้าวสวยทำนองเดียวกับแกงเผ็ด จึงต้องมีผักเหนาะ ส่วนมากนิยมผักสดและควรเป็นผักที่ช่วยลดรสเผ็ด เช่น เอาะดิบ (คูน) แตงกวา ถั่วฝักยาว ยอดมะม่วงหิมพานต์ บางคนชอบเหนาะด้วยหัวม่วง (ขมิ้นขาว)
แต่ก่อนนี้ภาคใต้ตอนบนอันไต้แก่ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ไม่ค่อยมีแกงพุงปลาหรือแกงไตปลา พุงปลา ไตปลา หรือที่สุราษฎร์ธานี มักจะเรียกว่าขี้ปลานั้น นิยมเอามา "เออะ" ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แกงพุงปลาหรือแกงไตปลาเพิ่งมีทำกันในสุราษฎร์ธานีเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง คงได้แบบอย่างมาจากภาคใต้ตอนล่างๆ ลงไป สมัยก่อนนั้นหากอัตคัดหมูเห็ดเป็ดไก่เข้าจริงๆ ก็มักจะหันมาพึ่งขี้ปลาเออะเป็นหลัก

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมการใช้สอย - ขี้เถ้า


วัฒนธรรมการใช้สอย - ขี้เถ้า

ขี้เถ้า หรือ เถ้า หมายถึงส่วนที่เป็นผงละเอียดของเชื้อเพลิง ที่เหลือจากไฟเผามอดแล้ว ครัวเรือนภาคใต้สมัยก่อนก็เหมือนๆ กับในภูมิภาคอื่นทั่วไป คือนิยมใช้ฟืนหรือถ่านในการหุงต้มอาหาร และให้ความร้อนเพื่อประโยชน์อย่างอื่นทั้งในสังคมชนบทและสังคมเมือง แม้ในปัจจุบันนี้บ้านเมืองจะมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น มีเครื่องหุงต้มและอุปกรณ์ให้ความร้อนในลักษณะต่างๆ ที่ไม่ต้องใช้ฟืนและถ่านมากขึ้น เช่น การใช้แก๊ส และเครื่องไฟฟ้า เป็นต้น แต่ชาวภาคใต้จำนวนไม่น้อยยังคงใช้ฟืนและถ่านกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมชนบททั่วไป ขึ้เถ้า จึงเป็นสิ่งที่ชาวบ้านรู้จักกันดี และโดยเฉพาะในสมัยก่อนชาวใต้ รู้จักนำเอาขี้เถ้ามาปรับใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันหลากหลายลักษณะ จนเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับการสั่งสมและสืบต่อกันเรื่อยมา แม้ปัจจุบันนี้บ้านเมืองจะเจริญขึ้นมาก แต่วัฒนธรรมการใช้ขี้เถ้าหลายลักษณะยังคงดำรงอยู่ในสังคมชาวภาคใต้ ลักษณะการใช้ประโยชน์จากขี้เถ้าของชาวภาคใต้ที่นิยมกันทั่วไปคือ

1. ใช้ไนการขัดถู 
ซึ่งชาวภาคใต้นิยมเรียกกันว่า "ขัดขี้เถ้า" หรือ "ถูขี้เถ้า" หมายถึงการใช้ขี้เถ้าล้วนๆ หรือขี้เถ้าผสมสิ่งอื่นขัดถูสิ่งต่างๆ พอจะแบ่งออกตามสิ่งที่นิยมขัดถูได้ดังนี้

.......... (ก) ใช้ขัดถูสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ นิยมกันมากในการใช้ขัดถูเครื่องใช้ในครัวเรือนที่ทำด้วยโลหะ กระเบื้องและแก้ว เช่น หม้อ กระทะ ถ้วยชาม แก้วน้ำ เป็นต้น

.......... ชาวภาคใต้นิยมใช้ขี้เถ้าขัดถูสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ มาช้านานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมสมัยก่อนซึ่งยังไม่ค่อยมีเครื่องมือหรือวัสดุสำหรับขัดถูเหมือนในสมัยนี้ ประกอบกับครัวเรือนชาวใต้สมัยก่อนนิยมใช้ฟืนหรือถ่านในการหุงต้มดังกล่าวแล้ว จึงทำให้ข้างหม้อ กะทะ หรือภาชนะหุงต้มอื่นๆ มีเขม่าควันไฟจับเป็นคราบดำเร็ว แม้จะมีที่รองสำหรับกันควันไฟแล้วก็ตาม (ดู ก้นหม้อ) จึงจำเป็นต้องขัดถูบ่อยๆ สิ่งที่ชาวบ้านสมัยก่อน นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องขัดถูมากอย่างหนึ่งคือ ขี้เถ้า เพราะหาได้ง่ายและมีคุณภาพในการขัดถูดีด้วย นอกจากนั้นแล้วยังใช้ ขี้เถ้าขัดถูเพื่อกำจัดคราบมันหรือความสกปรกของถ้วยชาม ช้อน กระทะ หม้อ แก้วน้ำ ฯลฯ

.......... วิธีขัดถูด้วยขี้เถ้าคือ เอาภาชนะหรือสิ่งของที่จะขัดถูชุบนํ้าให้เปียกจนทั่วหรือจะแช่นํ้าไว้ก่อนสักระยะหนึ่งก็ยิ่งดี เอาขี้เถ้าจำนวนหนึ่งใส่ถ้วยหรือกะลา (ชาวใต้เรียก "พรก") โดยอาจใช้เป็นขี้เถ้าแห้งหรือใส่น้ำพอขี้เถ้าแฉะๆ ก็ได้ แล้วเอาเศษผ้าหรือเปลือกมะพร้าว (ชาวใต้เรียก "พดพร้าว") จุ่มลงในขี้เถ้าและหยิบให้ติดขี้เถ้าขึ้นมาจำนวนหนึ่ง แล้วนำมาขัดถูภาชนะหรือสิ่งของนั้น ขัดซ้ำไปมาหลายๆ ครั้งจนสะอาดเป็นที่พอใจแล้ว จึงล้างด้วยน้ำสะอาดภายหลัง ถ้าภาชนะหุงต้มติดคราบดำของควันไฟหนาไป หรือติดคราบมันมาก หรือสกปรกเกินไปก็มักจะเอาขี้เถ้าผสมกับทรายละเอียดแล้วใช้ขัด

.......... (ข) ใช้ขัดถูฟัน ในสมัยก่อนที่จะมียาสีฟันหรือยาสีฟันจะแพร่หลาย ชาวบ้านใช้สิ่งต่างๆ ขัดฟัน เช่น เปลือกหมาก ผงถ่านไฟ ขี้เถ้า ฯลฯ ขี้เถ้าที่ใช้ในการขัดถูฟันจะต่างกับขี้เถ้าที่ใช้ในการขัดถูสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ อยู่บ้าง กล่าวคือในการขัดถูสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ใช้ขี้เถ้าของไม้ทั่วไป แต่ในการขัดถูฟัน ผู้ใช้จะเลือกขี้เถ้าของไม้บางชนิดที่เห็นว่าไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อร่างกายเท่านั้น เช่น ไม่ใช้ขี้เถ้าของไม้ที่มียางเป็นพิษหรือไม้ที่ทำให้เกิดอาการคัน เป็นต้น เวลาใช้ใช้เฉพาะขี้เถ้าหรือบางคนอาจใช้ขี้เถ้าผสมเกลือผง (ถ้าเป็นเกลือเม็ดก็ตำให้เป็นผงคลุกเข้ากับขึ้เถ้า) แล้วใช้นิ้วมือ หรือเปลือกหมากอ่อน หรือเศษผ้าที่สะอาด จุ่มขื้เถ้านั้นขัดถูฟัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้นิ้วชี้ของมือที่ถนัดจุ่มขี้เถ้าขัดถูฟัน จะทำให้ฟันขาวสะอาดและช่วยดับกลิ่นได้ด้วย

.......... (ค) ใช้ขัดถูเพื่อชักเงาเขาสัตว์ เขาสัตว์ต่างๆ เช่น เขาวัว เขาควาย เขากวาง ฯลฯ ชาวบ้านนิยมนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น ทำตูด (ดู ตูด) ด้ามมีด ที่แขวนเสื้อผ้า หรือนำมาประกอบ เป็นเครื่องประดับบ้าน เขาสัตว์ต่างๆ เหล่านี้นอกจากมีความเป็นมันเงาในตัวมันเองแล้ว ชาวบ้านสมัยก่อนยังรู้จักเสริมให้เป็นเงาแวววาวขึ้นอีก โดยการเอาขี้เถ้าของไม้ผสมกับน้ำมันก๊าด แล้วนำไปขัดถูเขาสัตว์เหล่านั้น ทั้งนี้มักจะขัดถูหลังจากที่ได้ใช้เศษแถ้วที่คมๆ ขูดเขาสัตว์นั้นแล้ว เป็นการใช้ขี้เถ้าขัดถูเพื่อให้เกิดเงาแวววาวเท่านั้น มิได้หวังผลในด้านขูดผิวหรือตกแต่งรูปเขาสัตว์

.......... เนื่องจากขี้เถ้ามีประโยชน์ในการขัดถูหลายลักษณะดังกล่าวแล้ว และเป็นที่นิยมใช้กันมากมาช้านานแล้วนี่เอง จึงเกิดเป็นสำนวนที่ใช้พูดกันในกลุ่มชาวภาคใต้อย่างหนึ่งว่า "เอาไปขัดขี้เถ้า" หรือ "ขัดขี้เถ้า" ซึ่งหมายถึงเอาสิ่งนั้น ไปทำให้สะอาด หรือทำให้ดีเสียก่อนนั่นเอง

2. ใช้เป็นนํ้ากระสายยาหรือน้ำยา 
ชาวใต้ทั้งที่เป็นไทยพุทธ และไทยมุสลิมรู้จักนำเอาขี้เถ้ามาใช้ประโยชน์ด้านนี้มานานแล้วเช่นกัน ซึ่งใช้เป็นกระสายยาหลายขนานเพื่อรักษาโรคต่างๆ เช่น แก้นิ่ว กัดเถาดานในท้อง ดับพิษไข้พิษสัตว์ เป็นต้น ขี้เถ้าจากกระดูกสัตว์นำมาเป็นกระสายยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้โดยตรง ชาวไทยมุสลิมใช้ขี้เถ้าในการทำน้ำยา "อาเฮปะนาวา ฮาตีฮาบู" เพื่อรักษาผู้ที่เป็นไข้ต่างๆ เช่น ไข้จับสั่น ไข้ทรพิษ ไข้ทับระดู ไข้อีสุกอีใส ฯลฯ โดยการเอาขี้เถ้าตรงใจกลางเตาไฟ (ฮาตี - ใจ, ฮาบู - ขี้เถ้า, ฮาตีฮาบู - ขี้เถ้าที่อยู่ใจกลางเตาไฟ) กับข้าวสาร อย่างละขยุ้มใส่ลงในภาชนะซึ่งมีน้ำใส่อยู่แล้ว กวนให้เข้าก้น แล้วปล่อยให้ตกตะกอน จะได้นํ้าส่วนที่ใสซึ่งเป็นน้ำยาชนิดนี้ นำไปดื่มแก้ไข้ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การทำน้ำยานี้แม้จะมีวิธีการอย่างง่ายๆ ใครๆ ทำได้ก็จริง แต่ผู้ป่วยมักจะนิยมให้หมอทำให้ เพราะเชื่อว่ามีความขลังกว่าทำเอง น้ำยาชนิดนี้เชื่อกันว่าเป็นเสมือนแม่ยาทีเดียว การรักษาไข้ดังกล่าวตามแบบพื้นบ้านมักจะให้ ผู้ป่วยดื่มน้ำยานี้ก่อน นอกจากจะไม่หายจริงๆ จึงใช้ยาอื่นต่อไป (ดู น้ำยา น้ำมนต์ หมากเสก - การรักษาโรคของไทยมุสลิม) นอกจากนั้นแล้วชาวภาคใต้ยังรู้จักใช้เฉพาะน้ำขี้เถ้าช่วยในการบำบัดบางอย่างด้วย เช่น เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดถูกปลิงเข้าทวารหน้ก วิธีบำบัดอย่างหนึ่งที่คนสมัยก่อนใช้คือ เอาขี้เถ้าละลายน้ำ แล้วกรองหรือตั้งไว้ให้ตกตะกอน เอาน้ำส่วนที่ใสให้ผู้นั้นดื่มก็จะทำให้ปลิงตายและช่วยขับปลิงออกมาได้ เหล่านี้เป็นต้น
.......... การนำเอาขี้เถ้ามาใช้ประโยชน์ในการบำบัดรักษานี้ แม้ในวงการแพทย์แผนโบราณก็ยังคงใช้อยู่ไม่น้อย

3. ใช้ทำนํ้าด่างซักเสื้อผ้าหรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่น 
ชาวบ้านสมัยก่อนใช้ขี้เถ้าทั่วไปทำน้ำด่างซักผ้าแทนการใช้สบู่หรือผงซักฟอก โดยการเอาขี้เถ้ามาละลายน้ำแล้ววางไว้ให้ตกตะกอน บางคนอาจแช่ไว้ข้ามคืนก็มีเพื่อให้เป็นนํ้าด่างเข้มข้นขึ้น แล้วเอานํ้าส่วนที่ใสมาใช้แช่ผ้าและซักผ้า บางคนก็ทำน้ำด่างขี้เถ้า โดยเอาขี้เถ้าห่อผ้าแล้วต้ม แล้วจึงเอาน้ำนั้นมาใช้ซักเสื้อผ้า และบางคนเอาขี้เถ้าห่อผ้าแล้วต้มปนกับเสื้อผ้าที่จะซักเลยก็มี หลังจากซักเสื้อผ้าด้วยนํ้าด่างขี้เถ้าแล้วก็ซักด้วยนํ้าธรรมดาอีกสักครั้งสองครั้งจนสะอาด

.......... บางคนใช้ประโยชน์จากน้ำด่างขี้เถ้าด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ใช้ในการต้มขนมซั้ง (ขนมจ้าง - ทำด้วยข้าวเหนียวห่อด้วยใบไผ่) ขี้เถ้าที่ใช้ในการนี้มักจะนิยมใช้ขี้เถ้าจากทางมะพร้าว กะลามะพร้าว และเปลือกผลทุเรียน โดยเอามาแช่น้ำปล่อยให้ตกตะกอน แล้วเอานํ้าส่วนที่ใสซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "น้ำดัง" (คือ "น้ำด่าง" นั่นเอง) ใส่ภาชนะต้มขนมซั้ง เป็นต้น

4. ใช้ผสมดินเหนียวเพื่อนำดินไปใช้ประโยชน์ต่างๆ 
ขี้เถ้า ที่ชาวบ้านนำมาใช้ประโยชน์ด้านนี้ใช้ได้กับขี้เถ้าทั่วไป แต่ที่นิยมกันมากมักเป็นขี้เถ้าจากแกลบ โดยการเอาขี้เถ้ามาผสมและคลุกเคล้าให้เข้ากันดีกับดินเหนียวจนดูเป็นเนื้อเดียวก้น ขี้เถ้าจะทำให้ดินเหนียวมีความเหนียวตัวมากยิ่งขี้น สามารถเกาะยึดตัวกันได้ดี แม้ถูกความร้อนก็ไม่แตกร้าวได้ง่าย จึงเหมาะที่จะนำดินนั้นไปปั้นเป็นภาชนะต่างๆ หรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น ในปัจจุบันนี้การใช้ประโยชน์จากขี้เถ้าในลักษณะนี้ก็ยังปรากฎให้เห็นอยู่มาก

5.ใช้กำจัดศัฅรูบางชนิดของพืชและสัฅว์เลี้ยง 
ขี้เถ้าที่ใช้ประโยชน์ด้านนี้เป็นขี้เถ้าจากเชื้อเพลิงทั่วไป ที่ชาวบ้านภาคใต้ นิยมปฏิบัติกันคือ

.......... (ก) ใช้กำจัดเพลี้ยบางชนิดที่กัดกินใบ ผล หรือยอดอ่อนของพืชที่ปลูก เช่น แตงกวา แตงโม ถั่วฝักยาว ข้าวโพด มะเขือยาว ฯลฯ ทำให้พืชนั้นไม่เจริญเติบโตเต็มที่ หรืออาจถึงตายได้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าพืชนั้น "ถูกยาธิ" (ยาธิ หมายถึง พยาธิ) หรือ "ถูกคร็อม" (ดู ถูกคร็อม) ทางแก้ของชาวบ้านที่นิยมกันวิธีหนึ่งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้คือ ใช้ผงขี้เถ้าโรยลงบนพืชนั้นให้ทั่วบริเวณที่ถูกคร็อม เชื่อว่าจะทำให้คร็อมหายไปได้ภายใน 2 - 3 วัน

.......... (ข) ใช้กำจัดสัดว์จำพวกเห็บ หมัด เหา ฯลฯ ที่มีบนตัวสัตว์เลี้ยง ซึ่งส่วนมากจะเป็นกับสัตว์เลี้ยงประเภทที่เลี้ยงไว้ดูเล่น เช่น สุนัข แมว เป็นต้น โดยการใช้ผงขี้เถ้าทาคลุกบนตัวสัตว์นั้นๆ เช่นเดียวกัน เชื่อว่าจะทำให้พวกเห็บ หมัด เหา ฯลฯ เหล่านั้น ตายไปในที่สุด

6. ใช้คลุกตัวสัตว์เพื่อช่วยในการถอนขนสัตว์ 
มักใช้ในกรณีที่เป็นการถอนขนสัตว์ที่มีขนอ่อนและสั้น เช่น การถอนขน กระรอก กระจง เป็นต้น ขี้เถ้าที่ใช้ประโยชน์ด้านนี้เป็นขี้เถ้าจากเชื้อเพลิงทั่วไป โดยการนำเอาผงขี้เถ้ามาทาคลุกที่ตัวสัตว์ที่ฆ่าแล้ว จะทำให้สามารถถอนขนสัตว์เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นก็นำสัตว์นั้นไปล้างและใช้ประกอบอาหารตามต้องการ

7. ใช้รูดไหล 
ก่อนที่จะนำปลาไหล ไปประกอบอาหารจะต้องกำจัดเมือกที่ตัวปลาไหลเสียก่อน ซึ่งอาจใช้หลายวิธี วิธีหนึ่งที่ชาวภาคใต้นิยมใช้กันมากคือการใช้สิ่งต่างๆ ที่มีความระคายเคืองมารูดที่ตัวปลาไหล ซึ่งเรียกว่า "รูดไหล" (ดู รูดไหล) สิ่งที่ชาวบ้านใช้ในการรูดไหลมากอย่างหนึ่งคือ ขี้เถ้า โดยการใช้มือกอบขี้เถ้ามาจำนวนหนึ่ง แล้วรูดที่ตัวปลาไหล (ซึ่งแขวนห้อยไว้) ตั้งแต่ส่วนหัวลงมาตลอดหาง ทำเช่นนี้หลายครั้งจะทำให้น้ำเมือกที่ตัวปลาไหลหมดไปได้ บางครั้งมีการนำขี้เถ้าไปใช้รูดนํ้าเมือกที่ผิวสัดว์อื่นๆ บ้างเหมือนกัน เช่น ใช้รูดเมือกที่ผิวของปลากด ปลาดุก เป็นต้น แต่ไม่เป็นที่นิยมกันมากนัก เพราะสัดว์เหล่านี้ มีนํ้าเมือกที่ผิวไม่มากเหมือนปลาไหล การใช้ประโยชน์จากขี้เถ้าด้านนี้จึงใช้รูดปลาไหลกันเป็นพื้น

.......... นอกจากนั้นแล้วชาวภาคใต้ยังมีการนำขี้เถ้าไปใช้ประโยชน์อื่นๆ อีกหลายลักษณะ แต่ไม่ค่อยจะเป็นที่นิยมกันทั่วไปเหมือนลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เช่น การใช้ขี้เถ้าไล่มดแดง โดยเอาผงขี้เถ้าโรยที่บริเวณที่มีมดแดงมาก จะทำให้มดแดงตายหรือหนีไป บางครั้งขี้เถ้าก็เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องความเชื่อของชาวบ้านด้วย เช่น เชื่อว่าถ้าผู้ใดจะเดินทางในวันพฤหัสบดี ก่อนลงจากเรือน ให้เอาขี้เถ้าจากกลางเตาไฟเจิมหน้าผากผู้นั้น โดยกระทำพอเป็นเคล็ด เชื่อว่าจะทำให้การเดินทางในครั้งนั้นประสบแต่โชคดี เหล่านี้เป็นต้น

ข้าวเตี้ย


ข้าวเตี้ย 

เป็นข้าวพื้นเมืองชนิดหนึ่ง เจริญงอกงามดีบริเวณที่เป็นดินเหนียว มีนํ้าอุดมสมบูรณ์ นิยมปลูกในนาดอน ลำต้นสูงประมาณ 80 - 90 เซนติเมตร รวงข้าวสั้นและเล็ก ยาวประมาณ 5 นิ้ว สีของรวงขณะเก็บเกี่ยวได้สีออกขาว เมล็ดข้าวยาว เมื่อเป็นข้าวสารจะมีสีขาวใส เมื่อนำไปหุงข้าวจะนิ่มมีกลิ่นหอม รสชาติเป็นที่นิยมทั่วไป
ข้าวเตี้ยเป็นข้าวเบา (ออกรวงเร็ว) เมื่อปักดำหรือหว่านแล้ว ประมาณ 3 - 4 เดือน ก็เก็บเกี่ยวได้

ขาวผ่อง : พรรณข้าว


ขาวผ่อง : พรรณข้าว

ขาวผ่อง เป็นข้าวพื้นเมืองชนิดหนึ่ง เจริญงอกงามดีบริเวณที่เป็นดินเหนียวปนทราย มีนํ้าอุดมสมบูรณ์ (นาตื้น) ลักษณะลำต้นแข็งอวบโต สูงประมาณ 130 - 150 เซนติเมตร รวงยาวประมาณ 7 นิ้ว คอรวงยาว สีของรวงขณะเก็บเกี่ยวได้นั้นมีสีเหลืองเข้ม เมล็ดข้าวมีขนาดใหญ่และสั้น เมื่อเป็นเมล็ดข้าวสารจะมีสีขาว เมื่อนำไปหุงข้าวจะนิ่มรสชาติเป็นที่นิยมทั่วไป
.......... ขาวผ่องเป็นข้าวเบา (ออกรวงเร็ว) เมื่อปักดำหรือหว่านแล้ว ประมาณ 4 - 5 เดือนจึงเก็บเกี่ยวได้

ข้าวจังหวัด : พรรณข้าว


ข้าวจังหวัด : พรรณข้าว

ข้าวจังหวัด เป็นข้าวชนิดหนึ่ง เจริญงอกงามดีในบริเวณที่เป็นดินเหนียว นิยมปลูกในนาดอน ลักษณะลำต้นสูงประมาณ 130 - 150 เซนติเมตร ลำต้นกลมและแข็ง รวงยาวประมาณ 6 - 7 นิ้ว คอรวงยาว สีของรวงขณะเก็บเกี่ยวได้นั้นจะมีสีเหลืองเข้มจนเกือบเป็นสีแดง เมล็ดข้าวมีขนาดเล็กและสั้น เมื่อเป็นเมล็ดข้าวสารจะเป็นสีขาว นำไปหุงข้าวไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป รสชาติเป็นที่นิยมทั่วไป
.......... ข้าวจังหวัดเป็นข้าวหนัก (ออกรวงช้า) เมื่อปักดำหรือหว่านแล้วประมาณ 5 - 6 เดือน จึงเก็บเกี่ยวได้

ข้าวเดาะ


ข้าวเดาะ

ข้าวเดาะ ข้าวเสก ก็ว่า เป็นข้าวที่หมอไสยศาสตร์เสกให้ผู้ที่ก้างปลาติดคอ กินเพื่อให้ก้างปลาหลุดออก วิธีทำข้าวเดาะ หมอจะปั้นข้าวเย็นขึ้นสามก้อนขนาดพอกลืนได้ แล้วเสกคาถาดังนี้
.......... "นะหลุ้ย โมหลุด พุทถอน ธาคลอน ยะหลุด
..........   พุทโธ โธพุท หลุดนะ คลอนธา ยะพุท หลุดนะ"
เสร็จแล้วเอาข้าวเย็นนั้นให้ผู้ที่ก้างปลาติดคอกลืน (ห้ามเคื้ยว) จนครบสามก้อน เชื่อว่าก้างปลาจะหลุดออก

ข้าวเจ้าหลาม


ข้าวเจ้าหลาม

คือข้าวที่ทำให้สุกโดยเอาข้าวสารห่อใบไม้ ใส่ในกระบอกแล้วเผาไฟไห้สุก เป็นวิธีที่นิยมทำกันมากในเขตจังหวัดระนองในสมัยก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อออกป่า ปัจจุบันไม่นิยมทำเพราะหุงด้วยวิธีอื่นสะดวกกว่า
วิธีหลามข้าว
นำข้าวสารเจ้ามาล้างให้สะอาด แล้วห่อด้วยใบไม้ (นิยมห่อด้วยใบไม้พื้นเมึอง 2 ชนิดคือ ใบลูกเลือดและใบกระเส็ด เพราะจะทำให้ข้าวที่หลามไต้มีรสหอมน่ารับประทาน) ห่อแบบข้าวต้มมัด แต่ไม่ด้องผูกเชือก นำข้าวสารที่ห่อเรียบร้อยแล้ว 2 ห่อมาประกบกัน ใส่ลงในกระบอกไม้ไผ่ แต่ละกระบอกใส่ประมาณ 2 - 3 คู่ ใส่นํ้าให้ท่วมห่อคู่บนสุด แล้วนำไปหลาม คอยหมุนกระบอกไปเรื่อยๆ เพื่อให้ข้าวสุกทั่ว จนนํ้างวดเหลือประมาณครึ่งหนึ่ง เจาะก้นกระบอกไม้ไผ่ให้นํ้าหยดออกจนหมด แล้วผ่ากระบอกนำมารับประทานกับกับข้าวที่เตรียมไว้
พระบาทสมเด็จฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จประพาสแขวงอำเภอกระบุรี เมื่อ ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) ทรงเล่าไว้ในจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. 128 ว่า
"การเลี้ยงที่บกอินทนิล ท่านพระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนองเป็นผู้จัด มีของแปลกอยู่ คือ ข้าวหลามอย่างหนึ่ง ข้าวหลามนี้ไม่ใช่อย่างที่ชาวบางกอกโดยมากเข้าใจกัน คือไม่ใช่ข้าวเหนียวหลามอย่างที่กินกับตังเมหลอด นี่เป็นข้าวเจ้าหลามแล้วห่อกับใบไม้ คือใช้หลามแทนหุงข้าวนั้น รสชาติก็แปลกดี"
การหลามข้าวเจ้าแบบที่กล่าวมาแล้วนี้ ถ้าผู้หลามไม่ชำนาญพอ ใส่ข้าวสารแต่ละห่อมากเกินไป จะทำให้ข้าวเกาะเป็นก้อนแข็ง จึงต้องใส่ข้าวสารให้พอดี และเมื่อหลามเสร็จจะต้องรีบรับประทานแต่ยังร้อนๆ มิเช่นนั้นจะแข็งและค่อนข้างจืดชืด

ขนม - ขี้มอด


ขนม - ขี้มอด

ขนมขี้มอด เป็นอาหารหวานชนิดหนึ่ง มีรสหวาน มัน กรอบ เป็นที่นิยมรับประทานเป็นอาหารว่างของชาวบ้านภาคใต้โดยทั่วไป ทำโดยแช่ข้าวสารเจ้าในน้ำธรรมดาทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำใส่ตะแกรงตั้งทิ้งไว้ให้สะเด็ดนํ้า จากนั้นจึงนำข้าวสารมาตำในครกตำข้าวจนแหลกละเอียด แล้วนำแป้งข้าวเจ้าที่ตำจนแหลกแล้วนั้น มาร่อนในเครื่องร่อนแป้งหรือที่ชาวบ้านแถบจังหวัดตรังเรียกว่า "ท้ายตาว" ก็จะได้ผงแป้งที่ร่วงผ่านตะแกรงร่อนและกากข้าวที่ยังคงค้างอยู่บนท้ายตาวหรือตะแกรงร่อน นำกากข้าวที่ค้างอยู่ในท้ายตาวไปตำใหม่จนแหลกละเอียด และนำมาร่อนใหม่อีกครั้ง ทำเช่นนั้นไปเรื่อยๆ จนไม่มีเหลือกากข้าวก็จะได้แป้งข้าวเจ้าผงตามจำนวนที่ต้องการ จากนั้นนำมะพร้าวที่ยังไม่แก่จัดซึ่งขูดเตรียมไว้ก่อนแล้วใส่ผสมกับแป้งข้าวเจ้าในกระทะในอัตราส่วนแป้งกับมะพร้าว 1 ต่อ 1  ยกตั้งไฟอ่อนๆ และคั่วไปเรื่อยๆ จนกระทั่งแป้งและมะพร้าวเริ่มสุกเป็นสีเหลืองอ่อนๆ หรือสีนํ้าตาลอ่อนๆ ชิมดูถ้ารู้สึกกรอบดีแล้วก็ตักใส่ภาชนะ ใส่น้ำตาลในอัตราส่วนที่พอหวานและเติมเกลือเพื่อแต่งรสอีกเล็กน้อย คลุกให้เข้ากันวางไว้ให้เย็นแล้วใช้รับประทานได้เลย
.......... โดยปกติเมื่อทำเสร็จแล้วชาวบ้านภาคใต้โดยเฉพาะในเขตจังหวัดตรังมักจะนิยมห่อขนมขี้มอดไว้ในกรวยกระดาษและปิดปากกรวยไว้อย่างมิดชิด ทั้งนี้เพื่อป้องกันลมเข้าขนมอันทำให้หมดความกรอบไปได้ ส่วนใหญ่ขนมขี้มอดผู้ใหญ่มักทำให้เด็กๆ ลูกหลานนำไปกินหรือเอาไปขายที่โรงเรียน เมื่อจะกินก็ฉีกปากกรวยหรือท้ายกรวยเทเข้าปากได้เลย
.......... มีขนมอีกชนิดหนึ่ง เรียก "ขนมขี้มอด" เช่นเดียวกัน แต่ทำต่างกัน ทำโดยใช้แป้งข้าวเจ้าคั่วรวมกับมะพร้าวขูด ใช้อัตราส่วนแป้ง 1 ลิตรต่อมะพร้าว 2 - 3 ซีก คั่วจนแป้งและมะพร้าวออกสีเหลือง มีกลิ่นหอม จากนั้นนำไปกวนกับนํ้าตาลโตนดหรือน้ำตาลปึกซึ่งเคี่ยวไว้ได้ที่แล้ว กวนจนกระทั่งเหนียวหนืดจับกันเป็นก้อน เทใส่ถาดตั้งไว้ให้เย็น แล้วตัดเป็นชิ้นๆ รับประทานได้

ขนม - ข้าวอวน


ขนม - ข้าวอวน

ข้าวอวน เป็นขนมชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายขนมขี้มอด ปรุงจากข้าวอวนตำละเอียด คลุกผสมกับนํ้าตาลและเกลือ ข้าวที่ใช้ทำข้าวอวนจะใช้ข้าวเจ้าซึ่ง "เริ่มดีอวน" คือปลายรวงเริ่มจะสุกออกสีเป็นสีเหลือง หรือใช้ข้าวที่ออกรวงจากแขนงของต้นข้าวที่แตกออกหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวจากต้นเดิมหมดแล้ว โดยเก็บมาจากไร่หรือนานำมาขูดให้เมล็ดข้าวหลุดจากฟางโดยใช้ "ไม้ขูดอวน" (ทำจากไม้ไผ่คล้ายกับไม้บรรทัด ยาวขนาด 3 - 4 นิ้วฟุต) วิธีขูดจะกำไม้ขูดไว้ในมือข้างหนึ่ง มืออีกข้างหนึ่งกำรวงข้าว ครั้งละไม่เกิน 10 รวง เวลาขูดจะวางไม้ควํ่าทับรวงข้าวและกดรวงข้าวให้ประกบแน่นกับคมของไม้ แล้วดึงรวงข้าวหรือดึงไม้ ขูดจนตลอดปลายรวงแล้วกลับมาขูดใหม่จนข้าวทุกเมล็ดแยกจากฟางหมด ต่อไปก็นำเมล็ดข้าวไปคั่วในกระทะ ในขณะที่คั่วจะต้องคนอยู่เกือบตลอดเวลา เพื่อให้ความร้อนทั่วถึงสมํ่าเสมอจนเปลือกของข้าวเกรียม จากนั้นก็เอามาวางทิ้งระยะให้ข้าวที่คั่วแล้วเย็น จึงนำไปตำในครกตำข้าว ตำแหลกแล้วก็ฝัดด้วยกระด้ง แยกแกลบข้าวออกทิ้งเลือกกากออกให้หมด นำข้าวสารที่ได้ใปตำหรือ "ซ้อม" ในครกตำข้าวอีกครั้งหนึ่ง โดยพยายามตำให้ข้าวสารแตกละเอียดมากที่สุดเสร็จแล้วนำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับน้ำตาลและเกลือก็รับประทานได้

การเล่นของเด็ก - ขี้ตู่กลางนา


การเล่นของเด็ก - ขี้ตู่กลางนา
ขี้ตู่กลางนา เป็นการเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก เล่นได้ทั้งชายและหญิง ไม่จำกัดจำนวน อุปกรณ์หาอะไรก็ได้ที่เป็นวัตถุขนาดพอกำมิด 1 ชิ้น เช่น เหรียญ ก้อนหิน ยางลบ ฯลฯ แล้วเลือกผู้ทายคนหนึ่ง คนที่เหลือนั่งล้อมรอบคนทาย พอเริ่มเล่นก็บอกผู้ทายว่า ให้ทายให้ถูกว่าวัตถุชิ้นนั้น (บอกชื่อวัตถุ) อยู่ที่ใคร โดยผู้เล่นอื่นๆ เอามือไว้ข้างหลัง ทำท่าส่งวัตถุชิ้นนั้นให้แก่กัน ขณะที่ทำท่าส่งวัตถุให้แก่กัน จะร้องเพลงยั่วผู้ทายพร้อมๆ กันว่า "ขี้ตู่กลางนา ขี้ตาตุ๊กแก ขี้มูกยายแก่ ออละแล้ ออละชอน" พอเพลงจบ ผู้ร้องเพลงทำท่าหลอกผู้ทายต่อไป อาจจะให้เข้าใจผิดว่าวัตถุนั้นอยู่หรือไม่อยู่ที่ตนก็ได้ ผู้ทายจะเฝ้าสังเกต แล้วทายว่าวัตถุนั้นอยู่ที่ใคร ถ้าทายถูก ผู้ถึอของนั้นไว้ต้องเล่นเป็นคนทายคนต่อไป ถ้าทายไม่ถูกก็ต้องเป็นคนทายต่อไปอีก การเล่นขี้ตู่กลางนาฝึกการใช้ไหวพริบ การสังเกตพิรุธ เพราะคนที่ถือของไว้จริงๆ มักแสดงพิรุธให้เห็น

ข้าวหม้อ แกงหม้อ เป็นประเพณีการจัดเลี้ยงอาหารแบบหนึ่งในชนบทภาคใต้


ข้าวหม้อ แกงหม้อ
ข้าวหม้อ แกงหม้อ เป็นประเพณีการจัดเลี้ยงอาหารแบบหนึ่งในชนบทภาคใต้ โดยมากจัดขึ้นเพื่อเลี้ยงรับรองแก่แขกต่างถิ่น ซึ่งเป็นคณะใหญ่ๆ ที่เดินทางมาจัดกิจกรรมเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นนั้นๆ หรือมาร่วมกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีต่อกัน หรือเป็นคณะบุคคลที่เดินทางผ่านมาและขอร้องให้ท้องถิ่นนั้นเลี้ยงรับรอง และบางทีอาจจัดขึ้นเพื่อร่วมกันเลี้ยงแสดงความยินดีแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งในท้องถิ่นนั้นเองที่มีตำแหน่งหน้าที่หรือมียศสูงขึ้น

ขนม - ข้าวต้มญวน


ขนม - ข้าวต้มญวน
ข้าวต้มญวน เป็นขนมชนิดหนึ่ง ทำโดยเอาข้าวสารเหนียวล้างให้สะอาด นำมาแช่นํ้าให้เมล็ดพองได้ที่ เอาใบตองมาฉีกออกเป็นแผ่นๆ กว้างขนาด 10 นิ้ว เอาใบตอง 2 แผ่นวางซ้อนกัน เอาข้าวเหนียวดิบที่แช่น้ำแล้วใส่ลงในใบตองพอประมาณ เอากล้วยน้ำว้าที่พอสุกวางลงบนข้าวเหนียวและเอาข้าวเหนียวทาบลงบนกล้วยอีกครั้ง ให้ปิดกล้วยให้มิดแล้วห่อใบตองให้มิดชิด มัดด้วยเชือกกล้วยให้แน่นไม่ให้นํ้าเข้าได้ตอนต้ม ลักษณะของข้าวต้มญวน จะห่อใหญ่มากกว่าข้าวต้มมัดธรรมดา แล้วเอาใส่ภาชนะใส่นํ้าให้ท่วมห่อข้าวต้ม ตั้งไฟประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง เมื่อสุกแล้ววางไว้ให้เย็นก่อนจึงแกะใบตองออกแล้วนำมาตัดเป็นชิ้นกลมๆ ตามขวางของข้าวต้ม ขูดมะพร้าวแก่คลุกเกลือพอมีรสเค็ม แล้วเอาข้าวต้มญวนที่ตัดเป็นชิ้นๆ แล้วมาคลุกกับมะพร้าว ก่อนรับประทานเอานํ้าตาลทรายโรยบนขนมก่อน และถ้าจะให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทานยิ่งขึ้นก็โรยงาคั่วลงไปด้วย

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ของแสลง


ของแสลง
ของแสลง ภาษาถิ่นเรียกว่า "ของแหลง" คือของแสลงโรค หมายถึงถ้าเป็นโรคนั้นๆ ก็ห้ามไม่ให้รับประทานของแสลง เพราะจะทำให้อาการของโรคกำเริบ

ตามหลักแพทย์แผนโบราณเชื่อกันว่าของต่อไปนี้แสลงโรคดังนี้


โรคไข้ทั่วไป
ห้ามของที่มีรสร้อน (เผ็ด) สุรา เบียร์ ข้าวเหนียว แกงขี้เหล็ก หน่อไม้ดอง น้ำตาลสด ผักดอง มันสำปะหลัง ลูกตะลิงปลิง ละมุด มะเฟือง แตงโม ขนุน บวบ ลางสาด ลองกอง ลูกู มังคุด ลำไย จำปาดะ มะละกอ เงาะ ทุเรียน น้ำมะพร้าว ขนมจีน กล้วยเขียว กล้วยไล กล้วยกุ้ง ฯลฯ


โรคกระเพาะ
ห้ามรับประทาน กล้วย น้ำแข็ง ข้าวเหนียว ถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ ปลาหมึก ผักดองทุกชนิด หน่อไม้ ลูกตาลอ่อน มังคุด ขนุน ลำไย น้ำส้มตาลโตนด น้ำส้มสายชู และของที่มีรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด ห้ามเด็ดขาด


โรคดีซ่าน
ห้ามรับประทานผลไม้ที่มีรสมันทุกชนิด เช่น มะพร้าว ถั่ว ปลาที่มีมันมาก เนื้อที่มีรสมัน ของเปรี้ยวจัด เค็มจัด


โรคตานเด็ก
ห้ามรับประทาน น้ำแข็ง กล้วย ข้าวเหนียว ถั่วใต้ดิน ปลาทู ปลาที่มีรสมันและรสคาวทุกชนิด มันสำปะหลัง ไอศกรีม กระถิน


โรคนิ่ว
ห้ามรับประทาน น้ำตามภูเขา ผักรสฝาด ลูกเนียง


โรคเบาหวาน
ห้ามของที่มีรสหวานจัด ปลาที่มีเมือก ปลาที่มีพิษ เช่น ปลาดุก ปลากระเบน ปลาขี้ตัง


โรคปวดเมื่อย
ห้ามรับประทานน้ำแข็ง ข้าวเหนียว ทุเรียน หน่อไม้


โรคผิวหนัง (รวมทั้งมะเร็ง ริดสีดวงทวาร ริดสีดวงจมูก และโรคน้ำเหลืองเสีย)
ห้ามของต่อไปนี้คือ เนื้อ เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่มีน้ำมันและรสคาว เช่น ปลากระเบน ปู กุ้ง ปลาฉลาม ปลาไหล ตะพาบน้ำ อีเก้ง เม่น ฯลฯ ปลาทู นอกจากนี้ห้าม หน่อไม้ ข้าวเหนียว น้ำแข็ง สุรา เบียร์ ผักดอง ทุเรียน ลางสาด ลองกอง ลูกกอ ของที่มีรสเปรี้ยวและมันจัด


โรคฟัน
ห้ามของหวานจัดทุกชนิด และปลาไหล


โรคริดสีดวงจมูก
ห้ามเนื้อสัตว์ที่มีรสมันและคาว กุ้ง ปู ไก่ กระเทียมดอง สะตอดอง สะตอ


โรคริดสีดวงทวาร
ห้ามสัตว์ 2 เท้า สัตว์ 4 เท้า ปลาไม่มีเกล็ด เช่น ปลาไหล


โรคเริม
ห้าม กุ้ง ปลาเนื้ออ่อน ปลาแก้มชํ้า ปลาโสด


โรคโลหิตจาง
ห้ามของที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำส้มต่างๆ ผักดองทุกชนิด


โรคสตรี เช่นที่เกี่ยวกับมดลูก มุตกิด ระดูขาว
ห้ามน้ำมันมะพร้าว ผักดองทุกชนิด เช่น ผักเสี้ยนดอง (รับประทานแล้วออกฤทธิ์ทันที) ใบมะม่วงหิมพานต์ หน่อไม้ ข้าวเหนียว ปลาร้า (แบบปักษ์ใต้) น้ำส้มสายชู น้ำส้มตาลโตนด ปลาที่มันและคาว ประเภทไม่มีเกล็ด (เช่น ปลาเนื้ออ่อน) สะตอ ลูกเนียง และผักที่มีรสฝาด


โรคสตรีหลังคลอด
ห้ามอาหารที่มีรสเย็นทุกชนิด แมงดานา มะม่วงขนุน จำปาดะ มะเขือพวง ละมุด มะมุด เห็ด หอย หน่อไม้ ปลาที่มีพิษทุกชนิด เช่น ปลาดุก ปลาขี้ตัง เนื้อสัตว์ที่มันและคาว ปลาที่ไม่มีเกล็ด ของที่มีกลิ่นที่ผู้ป่วยไม่ชอบทุกชนิด


โรคไอ
ห้ามนํ้าหวาน น้ำแข็ง กล้วย ข้าวเหนียว ของทอดมัน เช่น ถั่วทอด กล้วยแขก เงาะ ลำไย ของรสมัน และของรสหวาน

ไก่กอและ


ไก่กอและ
ไก่กอและ คือแกงไก่แบบพื้นบ้านของชาวไทยมุสลิม เป็นอาหารที่แพร่หลายในจังหวัดชายแดนภาคใต้
วิธีปรุง
เคี่ยวกะทิจนแตกมัน เอาเครื่องแกงซึ่งใช้พริกแห้ง หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ เมล็ดผักชี ยี่หร่า ลูกจันทน์และกานพลู ซึ่งตำละเอียดแล้วใส่ลงไป ผัดให้เข้ากันจนส่งกลิ่นหอม ใส่ไก่ซึ่งสับเป็นชิ้นใหญ่ๆ เคี่ยวจนเนื้อเปื่อยนุ่ม แล้วใส่กะปิเผา น้ำปลา มะขามเปียก และลูกกระวาน เคี่ยวและคั่วให้เข้ากันแล้วยกลง เป็นไดไก่กอและ
แกงชนิดนี้ค่อนข้างอ่อนเครื่องเทศ จึงมักกินคู่กับฆูลาบือซาร์ คือ แกงกะหรี่เนื้อ เพราะแก่เครื่องเทศกว่า ชาวไทยมุสลิมถือว่าไก่กอและเป็นแกงชั้นดี จึงนิยมเลี้ยงในงานที่มีเกียรติ ราคาจำหน่ายก็แพงกว่าแกงทั่ว ๆ ไป

ไก่กรุก



เป็นชื่อมนตร์เสน่ห์อย่างหนึ่ง ที่ผู้ชายทำเสน่ห์ให้หญิงคนที่หมายปองรับรักตน โดยเอาวัตถุที่ไก่ตัวผู้จิกเรียกตัวเมียไปนั่งอยู่เหนือลม ผู้หญิงคนที่หมายปองอยู่ใต้ลม เอาวัตถุที่ไก่ตัวผู้จิกนั้นห่อชายผ้าถุง หรือผ้าเช็ดหน้า ฟั่นให้เขม็งเกลียวแล้วว่าคาถากำกับดังนี้ "โอมไก่กรุกไก่กริก โอมจวนร้องเรียก โอมเจียกร้องหา สัมเพชนา พหูชนา อิฅถีชนา พะกันตุเม โอมเพี้ยง" เมื่อว่าคาถาจบแล้วก็ผูกชายผ้าถุง หรือผ้าเช็ดหน้าให้มั่นคง เชื่อกันว่าหญิงผู้นั้นจะมีจิตผูกพันกับผู้ที่ทำเสน่ห์นี้โดยมิรู้คลาย

การเล่นของเด็ก-ขบเมล็ดพิกุล

เป็นการเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก นิยมเล่นกันในกลุ่ม เด็กชายทั้งไทยพุทธและมุสลิม ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น เล่นกันเป็นคู่ สถานที่เล่นมักเป็นบริเวณใต้ต้นพิกุล ในฤดูผลสุก หรือมิฉะนั้นก็เก็บรวบรวมเมล็ดพิกุลนำไปเล่นกันที่หนึ่งที่ใดตามความสมัครใจ โดยนำผลพิกุลสุกมาแกะเอาเนื้อออกให้หมดเหลือแต่เมล็ด เมล็ดพิกุลส่วนหัวมีลักษณะเหมือนอ้าปาก ผู้เล่นจับเมล็ดพิกุลคนละเมล็ด สอดส่วนปากเมล็ดเข้าหากัน แล้วออกแรงงัด เมล็ดของใครปากแตกหักก็ทิ้งไป ถือเป็นแพ้ เอาเมล็ดอื่นออกมางัดกันใหม่ การเล่นไม่เลือกคู่ เมล็ดของใครปากแข็งก็มักถูกเพื่อนๆ รุมประลอง

ติวเข้มเติมเต็มความรู้ ภาษาไทย-เทคนิคการทำข้อสอบ อ.วรธน อนันตวงษ์


ติวเข้มเติมเต็มความรู้ ภาษาไทย-เทคนิคการทำข้อสอบ อ.วรธน อนันตวงษ์_Force8949-1of4

ติวเข้มเติมเต็มความรู้ ภาษาไทย-เทคนิคการทำข้อสอบ อ.วรธน อนันตวงษ์_Force8949-2of4

ติวเข้มเติมเต็มความรู้ ภาษาไทย-เทคนิคการทำข้อสอบ อ.วรธน อนันตวงษ์_Force8949-3of4

ติวเข้มเติมเต็มความรู้ ภาษาไทย-เทคนิคการทำข้อสอบ อ.วรธน อนันตวงษ์_Force8949-4of4