Anti-aging เปิดปรากฏการณ์อ่อนวัยในแบบบูรณาการ (2)
ตอนที่แล้วเราได้พูดถึง การมีสุขภาพดี อายุยืนยาว เป็นหนุ่มสาวได้แม้อายุจะเข้าเลข 5 ไปแล้ว แถมยังดูเต่งตึงไปพร้อมๆ กับสุขภาพที่ดี และจะให้เป็นจริงได้จะต้องดูแลในหลายๆ มิติ ดูแลแบบบูรณาการหลายๆ ด้าน เหมือนการต่อจิ๊กซอว์ ซึ่งทั้งหมอและคนที่ไม่อยากแก่ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อการชะลอวัยอย่างได้ผล
ตอนนี้ขอพูดในเรี่องของอาหารการกินก่อน อย่างที่มีคนมักพูดว่า "กินอย่างไร ได้อย่างนั้น” กินอาหารดีๆ มีประโยชน์นอกจากร่างกายสดชื่นแข็งแรงแล้วยังส่งผลถึงสุขภาพผิวพรรณที่เปล่งปลั่งมีนํ้ามีนวล สวย ดูสุขภาพดีอ่อนกว่าวัยอีกด้วย
เมื่อมีโอกาสได้พูดคุยกับคุณหมอและผู้เชี่ยวชาญ ด้าน Anti-aging มาหลายท่านก็เลยได้ความรู้ใหม่ๆ มาอัพเดทให้ตัวเอง โดยเฉพาะการกินนั้นนับว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภารกิจต้านแก่อื่นๆ ขอยืนยันก่อน
เริ่มจากการกินเพี่อสุขภาพ โดยเฉพาะลดหวาน มัน เค็ม ทานแป้งขัดสีให้น้อย หรืออย่างอาหารที่แปรรูปจนไม่รู้ว่าหน้าตาที่แท้จริงของมันมาจากอะไร แบบนี้ก็ควรหลีกเลี่ยง ทั้งนี้ เขาไม่ได้บอกให้เราหันมากินอาหารแบบออร์แกนิกส์ หรืออาหารแมคโครไบโอติกส์นะคะ (ถ้าได้ก็ยิ่งวิเศษ) แต่ต้องพิจารณาหรือดูร่างกายของตนเองว่าต้องการอะไร ควรลดอะไร เพิ่มอะไร แต่หากตามใจปากก็ตัวใครตัวมันนะคะ เพราะถ้าเป็นแบบนั้นก็จบตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้น
รอความแก่ได้เลย
แหมจะว่าไปพูดแบบนี้ก็ทำร้ายจิตใจคนไม่อยากแก่มั่กๆ เลยล่ะ แต่ที่พูดเนี่ยพูดจริงๆ ถ้าหากสามารถฝ่าด่านเรื่องตามใจปากไปได้ก็ขึ้นสู่บันไดขั้นที่ 2 คือ การกินอาหารอย่างช้าๆ นอกจากจะทำให้การย่อยอาหารทรงประสิทธิภาพแล้ว การเคี้ยวช้าๆ ยังทำให้เราอิ่มเร็ว จากนั้นเลือกกินอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่มีนํ้าตาลตํ่า เช่น กล้วย แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี่ ลด ข้าวขาว ขนมปังสังขยา มันฝรั่ง ไอศกรีม โดนัท นํ้าอัดลม รวมทั้งอาหารจังก์ฟู้ดทั้งหลาย หันมากินอาหารต้านแก่ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าดีจริงๆ (รับประกันคุณภาพ) นั่นก็คือ
ปลาแซลมอน และกุ้ง ที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ ทำให้หัวใจ มีสุขภาพดี กินนมถั่วเหลือง ช่วยลดความดัน เพิ่มไขมันดี HDL-C หรือแอปเปิ้ล (ทั้งเปลือก) มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องสมองจากการถูกทำลาย
แต่ถ้าหากตอนนี้กลัวสารกัมมันตรังสี เพราะแซลมอน ส่วนใหญ่สั่งตรงจากญี่ปุ่น ก็หันมากินปลาบ้านเราเช่นปลาทู ปลาช่อน ก็ได้ผลดีเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังต้องหันมากินผักผลไม้หลากสีในทุกๆ วัน โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีส่วนสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระจำพวกผัก ผลไม้ สีเหลือง แดง-ส้ม อย่างมะละกอ เบอร์รี่ กระเจี๊ยบ แคนตาลูป มะม่วงสุก แก้วมังกร ทับทิม องุ่น ฯลฯ
ส่วนผักใบเขียวก็ควรกินอย่างสมํ่าเสมอ โดยจะต้องเลือกวัตถุดิบที่สด สะอาด ปลอดภัย เพื่อจะได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและดูอ่อนกว่าวัย
... ระเบียงความรู้ อ่านเพื่อเพิ่มพูน ... ... สัพเพเหระ สารพันเรื่องราว ในห้วงหนึ่งของชีวิตแต่ละช่วงวัย
วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555
กระเจี๊ยบแดงคู่แข่งเบอร์รี่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa L
ชื่อสามัญ กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ผักเก็งเก็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ส้มปู
ภญ.วัจนา ตั้งความเพียร
กระเจี๊ยบแดงจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กที่มีประโยชน์มากมายทั้งในการใช้เป็นเครื่องดี่มและสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพ
ส่วนที่ใช้ของกระเจี๊ยบแดงคนทั่วไปมักแยกว่า ดอกกระเจี๊ยบนั้นแท้จริงแล้วคือส่วนของกลีบเลี้ยงหรือฐานรองดอก ที่อุดมไปด้วย Anthrocyanin เป็นสารที่ทำให้กระเจี๊ยบมีสีแดง และเป็นกลุ่มเดียวกับที่พบในผลไม้ตระกูลเบอรี่แต่ต้องบอกว่าประโยชน์ของกระเจี๊ยบเหนือกว่าหลายเท่าตัวนัก ไม่ว่าจะเป็นมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ปกป้องตับจากการถูกทำลาย ปกป้องไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว รวมถึงการปกป้องโรคหัวใจขาดเลือดได้ นํ้าต้มกระเจี๊ยบมีรสเปรี้ยวอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอสูง มีคุณสมบัติที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าช่วยขับปัสสาวะ ขับยูริค ป้องกันนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และลดความดันโลหิต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เริ่มมีอาการความดันโลหิตสูงหรือรับประทานยาลดความดันไม่เกิน 2 ชนิด หากรับประทานกระเจี๊ยบร่วมด้วยก็มีประโยชน์ให้ควบคุมความดันโลหิตสูงได้ดียิ่งขึ้น ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ควบคุมน้ำหนักสำหรับคนที่มีนํ้าหนักตัวเกินมาตรฐาน
จากการศึกษาในหนูอ้วนที่ได้รับนํ้าต้มกระเจี๊ยบ ป้อนให้กินต่อเนื่องเป็นเวลา 2 เดีอน พบว่าช่วยให้นํ้าหนักตัวของหนูลดลงได้ โดยไม่มีผลต่อตับและไต และหากท่านเป็นผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง หรือ Metabolic syndrome (หมายถึง ผู้ที่มีภาวะดี้อต่ออินซูลิน ภาวะอ้วน รอบพุงใหญ่ ซึ่งมักมีระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย) การรับประทานกระเจี๊ยบจะมีผลดีอย่างมาก โดยผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าการรับประทานกระเจี๊ยบต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน ระดับนํ้าตาลในเลือดลดลง ระดับไขมันในเลีอดทั้งคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ LDL ลดลง และยังเพิ่มไขมันชนิดดีคือ HDL ได้ด้วย
วิธีรับประทานก็ใช้กระเจี๊ยบสดหรือแห้ง ราว 5 - 10 กรัม ต้มกับน้ำประมาณ 300 ซีซี อาจใช้วิธีการชงแบบชาหรือต้มรับประทานวันละ 2 - 3 ครั้ง
เป็นข้อมูลสนับสนุนสำหรับสมุนไพรที่ตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพในโลคยุคดิจิตอล 'กระเจี๊ยบแดง' อีกทางเลือกเพื่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa L
ชื่อสามัญ กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ผักเก็งเก็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ส้มปู
ภญ.วัจนา ตั้งความเพียร
กระเจี๊ยบแดงจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กที่มีประโยชน์มากมายทั้งในการใช้เป็นเครื่องดี่มและสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพ
ส่วนที่ใช้ของกระเจี๊ยบแดงคนทั่วไปมักแยกว่า ดอกกระเจี๊ยบนั้นแท้จริงแล้วคือส่วนของกลีบเลี้ยงหรือฐานรองดอก ที่อุดมไปด้วย Anthrocyanin เป็นสารที่ทำให้กระเจี๊ยบมีสีแดง และเป็นกลุ่มเดียวกับที่พบในผลไม้ตระกูลเบอรี่แต่ต้องบอกว่าประโยชน์ของกระเจี๊ยบเหนือกว่าหลายเท่าตัวนัก ไม่ว่าจะเป็นมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ปกป้องตับจากการถูกทำลาย ปกป้องไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว รวมถึงการปกป้องโรคหัวใจขาดเลือดได้ นํ้าต้มกระเจี๊ยบมีรสเปรี้ยวอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอสูง มีคุณสมบัติที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าช่วยขับปัสสาวะ ขับยูริค ป้องกันนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และลดความดันโลหิต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เริ่มมีอาการความดันโลหิตสูงหรือรับประทานยาลดความดันไม่เกิน 2 ชนิด หากรับประทานกระเจี๊ยบร่วมด้วยก็มีประโยชน์ให้ควบคุมความดันโลหิตสูงได้ดียิ่งขึ้น ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ควบคุมน้ำหนักสำหรับคนที่มีนํ้าหนักตัวเกินมาตรฐาน
จากการศึกษาในหนูอ้วนที่ได้รับนํ้าต้มกระเจี๊ยบ ป้อนให้กินต่อเนื่องเป็นเวลา 2 เดีอน พบว่าช่วยให้นํ้าหนักตัวของหนูลดลงได้ โดยไม่มีผลต่อตับและไต และหากท่านเป็นผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง หรือ Metabolic syndrome (หมายถึง ผู้ที่มีภาวะดี้อต่ออินซูลิน ภาวะอ้วน รอบพุงใหญ่ ซึ่งมักมีระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย) การรับประทานกระเจี๊ยบจะมีผลดีอย่างมาก โดยผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าการรับประทานกระเจี๊ยบต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน ระดับนํ้าตาลในเลือดลดลง ระดับไขมันในเลีอดทั้งคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ LDL ลดลง และยังเพิ่มไขมันชนิดดีคือ HDL ได้ด้วย
วิธีรับประทานก็ใช้กระเจี๊ยบสดหรือแห้ง ราว 5 - 10 กรัม ต้มกับน้ำประมาณ 300 ซีซี อาจใช้วิธีการชงแบบชาหรือต้มรับประทานวันละ 2 - 3 ครั้ง
เป็นข้อมูลสนับสนุนสำหรับสมุนไพรที่ตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพในโลคยุคดิจิตอล 'กระเจี๊ยบแดง' อีกทางเลือกเพื่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้น
9 กลุ่มยาแม่ควรเลี่ยง เพื่อลูกรอด
เป็นที่ทราบดีว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งท้องทุกคนย่อมมีความปรารถนาสูงสุดที่จะเห็นลูกน้อยของตนเอง ลืมตาออกมาดูโลกพร้อมกับร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง แต่ระยะเวลาร่วม 9 เดือนก่อนจะถึงวันแห่งความฝันนั้น ถือเป็นหน้าที่ของคุณแม่ที่จะต้องคัดสรร แต่สิ่งที่ดีที่สุดเข้าสู่ร่างกาย เพี่อให้ชีวิตน้อยๆ ในท้องของคุณได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์เพี่อการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างเหมาะสม นอกจากอาหารแล้ว ยาที่คุณแม่ทั้งหลายรับประทานเข้าไปก็ถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะถึงแม้ว่ายาบางชนิดจะมีคุณในการรักษาโรค แต่ก็อาจให้โทษที่ร้ายแรงแก่ลูกในท้องอย่างคาดไม่ถึง ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาจึงยังคงเป็นที่กังวลและสงสัยกันในหมู่คุณแม่ทั้งหลายอยู่มาก ดังนั้นเพื่อช่วยคลายความกังวลดังกล่าว จึงขออาสานำข้อมูล 9 กลุ่มยาที่ได้รับการพิสูจน์และมีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่ามีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์มาบอกกล่าวให้คุณแม่ทั้งหลายได้รับทราบ และรีบถอยห่างให้ไกลโดยเริ่มกันที่กลุ่มแรกคือ
1. ยารักษาความดันโลหิต
โดยเฉพาะในส่วนที่ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง พบรายการยาที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ Nifedipine ยาความดันที่ใช้กรณีอาการรุนแรงและรักษาด้วยยาตัวอื่นไม่ได้ผล อาจส่งผลให้เกิดการยับยั้งการคลอดจึงควรหลีกเลี่ยงในระยะใกล้คลอด Propranolol ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดนี้ช่วงไตรมาส 2 - 3 เพราะจะทำให้ทารกมีนํ้าหนักตัวน้อย และ Enalapril หากใช้ ในไตรมาส 2 - 3 จะทำให้ทารกมีร่างกายผิดปกติ ความคันโลหิตตํ่าอย่างรุนแรง และการทำงานของไตบกพร่อง
2. ยาฆ่าเชื้อ
มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อแบคทีเรียและรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ อาทิ ทอนซิลอักเสบ หูอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ บิด ไทฟอยด์ พบรายชื่อยาที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่ Tetracycline ควรงดใช้ในช่วงตั้งครรภ์ 5 - 6 เดือนไปแล้ว เพราะจะทำให้กระดูกและฟันของทารกที่กำลังสร้างตัวเกิดความผิดปกติ เปลี่ยนสี และเป็นเหตุให้ทารกพิการแต่กำเนิด Indomethacin ยารักษาโรคข้อกระดูกอักเสบที่ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกิน 48 ชั่วโมง หรือหลังอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ โดยเฉพาะระยะใกล้คลอด เพราะอาจทำให้ทารกผิดปกติและส่งผลให้คลอดช้ากว่ากำหนด
3. ยาแก้ปวด
ลดอักเสบ ที่คุณแม่ทั้งหลายคงคุ้นชินในการรับประทานเพื่อระงับอาการปวดและลดการอักเสบมีชนิดยาที่ควรเลี่ยง ดังนี้ คือ Hyoscine-N-butylbromide ใช้ลดการปวดเกร็งท้องซึ่งคุณแม่ยังคงใช้ได้แต่ควรงดเมื่อใกล้คลอด เพราะจะทำให้ลูกหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ Colchicine ยารักษาข้ออักเสบจากโรคเกาด์ ที่นอกจากจะส่งผลต่อผู้ชาย ทำให้จำนวนอสุจิลดลงแล้ว ยังส่งผลต่อหญิงตั้งครรภ์โดยทำให้เกิดความผิดปกติในทารกอย่าง Down’s syndrome ได้อีกด้วย
4. ยาแก้ไอ
ที่มีทั้งชนิดนํ้าและชนิดเม็ดเหมาะสมในการใช้รักษาอาการไอที่แตกต่างกัน ตามลักษณะและความรุนแรง พบยาที่คุณแม่ควรเลี่ยง คือ Diazepam ถ้าใช้ในไตรมาสที่ 1 ทารกอาจปากแหว่ง เพดานโหว่ หากใช้ไตรมาส 2 ระบบเลือด และหัวใจอาจผิดปกติ และถ้าใช้ต่อเนื่องนานๆ ในปริมาณมากช่วงใกล้คลอด อาจทำให้กล้ามเนื้อทารกอ่อนแรง เซื่องซึม ไม่ดูดนม เกร็ง สั่น และท้องเสียได้ Actifed เป็นยาแก้ไอที่ควรงดในไตรมาสแรกเพราะอาจทำให้ระบบหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ และแท้งได้ ส่วนยาแก้ไอชนิดที่ไม่มีไอโอดีนนั้น ไม่ควรใช้เลย เพราะอาจทำไห้ทารกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมอง
5. ยาฆ่าเชื้อรา
มีฤทธิ์ในการยับยั้งและต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรค มียาที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง คือ Griseofulvin หากใช้ยาดังกล่าวในไตรมาสแรกอาจทำให้ทารกผิดปกติมากกว่าในช่วงไตรมาส 2 - 3 เช่น ทำให้หัวใจผิดปกติ และหากเป็นลูกแฝด อาจส่งผลให้เกิดการแยกตัวได้ไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะถ้าใช้ ภายใน 20 วันแรกหลังตกไข่
6. ยาขยายหลอดเลือด
เป็นยาที่ใช้รักษาเพื่อลดการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ พบชื่อยาที่อาจส่งผลต่อลูกในท้อง ดังนี้คือ Cinnarizine คุณแม่ควรเลี่ยงถ้าไม่จำเป็น เพราะการใช้ยาต้านอิสตามีนชนิดนี้ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดความผิดปกติของกระจกตาได้ Salbutamol เป็นยาที่ใช้ในคุณแม่ผู้ที่มีความดันโลหิตตํ่ารุนแรง เกิดภาวะนํ้าตาลตํ่า และ Theophylline ยาขยายหลอดลม หากมีความจำเป็นต้องใช้ควรเฝ้าระวังใกล้ชิดและควรงดการใช้ในระยะใกล้คลอด เพี่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว
7. ยารักษาเบาหวาน
มีบทบาทในการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมายด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย มีทั้งแบบชนิดรับประทานและแบบฉีดอินซูลิน ซึ่งแบบที่เป็นอันตรายต่อทารกนั้นคือแบบรับประทาน เช่น Glibenclamide, Metformin และ Glipizide ที่อาจส่งผลข้างเคียงทำให้ทารกมีระดับนํ้าตาลในเลือดตํ่า เกิดภาวะแทรกซ้อนในกรณีที่แม่ควบคุมระดับนํ้าตาลไม่คงที่และอาจส่งผลถึงขั้นพิการได้
8. ยารักษาอาการชัก
ส่วนใหญ่มักทำให้ทารกเกิดความพิการมีใบหน้าผิดปกติ จมูกแบน ตาห่าง หนังตาตก บางชนิด อาจทำให้เลือดของทารกแข็งตัวช้า เพื่อเป็นการป้องกันการส่งผลกระทบต่อลูกในท้อง คุณแม่ทั้งหลายจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเหล่านี้ ได้แก่ Phenobarbital, Phenytoin และ Carbamazepine หากมีความจำเป็นต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขการใช้ยาและควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
9. ยารักษาสิว
ที่ถึงแม้ว่าจะช่วยให้คุณแม่ที่รักสวยรักงามได้มีใบหน้าผ่องใสไร้สิว แต่พบว่ามียาบางตัวที่ไม่เหมาะ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และส่งผลให้ทารกที่เกิดมามีความผิดปกติได้ เช่น Tetracycline, Doxycycline และ Minoeyeline เป็นยากินรักษาสิวที่ใช้กันมาก แต่มีผลต่อกระดูกและฟันของเด็กอ่อนในครรภ์ ยากลุ่มวิตามินเอ พวกเรตินอยด์ หรือ Isotretinoin จะทำให้ทารกในครรภ์ปัญญาอ่อน พิการ ศีรษะโตหรือเล็กผิดปกติ ใบหน้าและตาผิดรูปได้
อธิบายกันมาจนถึงบรรทัดนี้คงพอจะทำให้คุณแม่ทั้งหลายได้มีสติและระมัดระวังการใช้ยาเพื่อรักษาโรคต่างๆ ขณะตั้งครรภ์มากยิ่งขึ้นเพราะสิ่งที่คุณแม่ควรคำนึงถึงมากที่สุดนอกจากการรักษาอาการเจ็บป่วยให้หายแล้ว ยังหมายถึง ผลกระทบต่อลูกในท้องที่ควรใส่ใจเสียตั้งแต่ตอนนี้เพื่อการเริ่มต้นอย่างสมบูรณ์แข็งแรงของชีวิตน้อยๆ ที่คุณรัก
เป็นที่ทราบดีว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งท้องทุกคนย่อมมีความปรารถนาสูงสุดที่จะเห็นลูกน้อยของตนเอง ลืมตาออกมาดูโลกพร้อมกับร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง แต่ระยะเวลาร่วม 9 เดือนก่อนจะถึงวันแห่งความฝันนั้น ถือเป็นหน้าที่ของคุณแม่ที่จะต้องคัดสรร แต่สิ่งที่ดีที่สุดเข้าสู่ร่างกาย เพี่อให้ชีวิตน้อยๆ ในท้องของคุณได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์เพี่อการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างเหมาะสม นอกจากอาหารแล้ว ยาที่คุณแม่ทั้งหลายรับประทานเข้าไปก็ถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะถึงแม้ว่ายาบางชนิดจะมีคุณในการรักษาโรค แต่ก็อาจให้โทษที่ร้ายแรงแก่ลูกในท้องอย่างคาดไม่ถึง ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาจึงยังคงเป็นที่กังวลและสงสัยกันในหมู่คุณแม่ทั้งหลายอยู่มาก ดังนั้นเพื่อช่วยคลายความกังวลดังกล่าว จึงขออาสานำข้อมูล 9 กลุ่มยาที่ได้รับการพิสูจน์และมีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่ามีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์มาบอกกล่าวให้คุณแม่ทั้งหลายได้รับทราบ และรีบถอยห่างให้ไกลโดยเริ่มกันที่กลุ่มแรกคือ
1. ยารักษาความดันโลหิต
โดยเฉพาะในส่วนที่ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง พบรายการยาที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ Nifedipine ยาความดันที่ใช้กรณีอาการรุนแรงและรักษาด้วยยาตัวอื่นไม่ได้ผล อาจส่งผลให้เกิดการยับยั้งการคลอดจึงควรหลีกเลี่ยงในระยะใกล้คลอด Propranolol ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดนี้ช่วงไตรมาส 2 - 3 เพราะจะทำให้ทารกมีนํ้าหนักตัวน้อย และ Enalapril หากใช้ ในไตรมาส 2 - 3 จะทำให้ทารกมีร่างกายผิดปกติ ความคันโลหิตตํ่าอย่างรุนแรง และการทำงานของไตบกพร่อง
2. ยาฆ่าเชื้อ
มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อแบคทีเรียและรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ อาทิ ทอนซิลอักเสบ หูอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ บิด ไทฟอยด์ พบรายชื่อยาที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่ Tetracycline ควรงดใช้ในช่วงตั้งครรภ์ 5 - 6 เดือนไปแล้ว เพราะจะทำให้กระดูกและฟันของทารกที่กำลังสร้างตัวเกิดความผิดปกติ เปลี่ยนสี และเป็นเหตุให้ทารกพิการแต่กำเนิด Indomethacin ยารักษาโรคข้อกระดูกอักเสบที่ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกิน 48 ชั่วโมง หรือหลังอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ โดยเฉพาะระยะใกล้คลอด เพราะอาจทำให้ทารกผิดปกติและส่งผลให้คลอดช้ากว่ากำหนด
3. ยาแก้ปวด
ลดอักเสบ ที่คุณแม่ทั้งหลายคงคุ้นชินในการรับประทานเพื่อระงับอาการปวดและลดการอักเสบมีชนิดยาที่ควรเลี่ยง ดังนี้ คือ Hyoscine-N-butylbromide ใช้ลดการปวดเกร็งท้องซึ่งคุณแม่ยังคงใช้ได้แต่ควรงดเมื่อใกล้คลอด เพราะจะทำให้ลูกหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ Colchicine ยารักษาข้ออักเสบจากโรคเกาด์ ที่นอกจากจะส่งผลต่อผู้ชาย ทำให้จำนวนอสุจิลดลงแล้ว ยังส่งผลต่อหญิงตั้งครรภ์โดยทำให้เกิดความผิดปกติในทารกอย่าง Down’s syndrome ได้อีกด้วย
4. ยาแก้ไอ
ที่มีทั้งชนิดนํ้าและชนิดเม็ดเหมาะสมในการใช้รักษาอาการไอที่แตกต่างกัน ตามลักษณะและความรุนแรง พบยาที่คุณแม่ควรเลี่ยง คือ Diazepam ถ้าใช้ในไตรมาสที่ 1 ทารกอาจปากแหว่ง เพดานโหว่ หากใช้ไตรมาส 2 ระบบเลือด และหัวใจอาจผิดปกติ และถ้าใช้ต่อเนื่องนานๆ ในปริมาณมากช่วงใกล้คลอด อาจทำให้กล้ามเนื้อทารกอ่อนแรง เซื่องซึม ไม่ดูดนม เกร็ง สั่น และท้องเสียได้ Actifed เป็นยาแก้ไอที่ควรงดในไตรมาสแรกเพราะอาจทำให้ระบบหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ และแท้งได้ ส่วนยาแก้ไอชนิดที่ไม่มีไอโอดีนนั้น ไม่ควรใช้เลย เพราะอาจทำไห้ทารกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมอง
5. ยาฆ่าเชื้อรา
มีฤทธิ์ในการยับยั้งและต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรค มียาที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง คือ Griseofulvin หากใช้ยาดังกล่าวในไตรมาสแรกอาจทำให้ทารกผิดปกติมากกว่าในช่วงไตรมาส 2 - 3 เช่น ทำให้หัวใจผิดปกติ และหากเป็นลูกแฝด อาจส่งผลให้เกิดการแยกตัวได้ไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะถ้าใช้ ภายใน 20 วันแรกหลังตกไข่
6. ยาขยายหลอดเลือด
เป็นยาที่ใช้รักษาเพื่อลดการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ พบชื่อยาที่อาจส่งผลต่อลูกในท้อง ดังนี้คือ Cinnarizine คุณแม่ควรเลี่ยงถ้าไม่จำเป็น เพราะการใช้ยาต้านอิสตามีนชนิดนี้ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดความผิดปกติของกระจกตาได้ Salbutamol เป็นยาที่ใช้ในคุณแม่ผู้ที่มีความดันโลหิตตํ่ารุนแรง เกิดภาวะนํ้าตาลตํ่า และ Theophylline ยาขยายหลอดลม หากมีความจำเป็นต้องใช้ควรเฝ้าระวังใกล้ชิดและควรงดการใช้ในระยะใกล้คลอด เพี่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว
7. ยารักษาเบาหวาน
มีบทบาทในการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมายด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย มีทั้งแบบชนิดรับประทานและแบบฉีดอินซูลิน ซึ่งแบบที่เป็นอันตรายต่อทารกนั้นคือแบบรับประทาน เช่น Glibenclamide, Metformin และ Glipizide ที่อาจส่งผลข้างเคียงทำให้ทารกมีระดับนํ้าตาลในเลือดตํ่า เกิดภาวะแทรกซ้อนในกรณีที่แม่ควบคุมระดับนํ้าตาลไม่คงที่และอาจส่งผลถึงขั้นพิการได้
8. ยารักษาอาการชัก
ส่วนใหญ่มักทำให้ทารกเกิดความพิการมีใบหน้าผิดปกติ จมูกแบน ตาห่าง หนังตาตก บางชนิด อาจทำให้เลือดของทารกแข็งตัวช้า เพื่อเป็นการป้องกันการส่งผลกระทบต่อลูกในท้อง คุณแม่ทั้งหลายจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเหล่านี้ ได้แก่ Phenobarbital, Phenytoin และ Carbamazepine หากมีความจำเป็นต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขการใช้ยาและควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
9. ยารักษาสิว
ที่ถึงแม้ว่าจะช่วยให้คุณแม่ที่รักสวยรักงามได้มีใบหน้าผ่องใสไร้สิว แต่พบว่ามียาบางตัวที่ไม่เหมาะ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และส่งผลให้ทารกที่เกิดมามีความผิดปกติได้ เช่น Tetracycline, Doxycycline และ Minoeyeline เป็นยากินรักษาสิวที่ใช้กันมาก แต่มีผลต่อกระดูกและฟันของเด็กอ่อนในครรภ์ ยากลุ่มวิตามินเอ พวกเรตินอยด์ หรือ Isotretinoin จะทำให้ทารกในครรภ์ปัญญาอ่อน พิการ ศีรษะโตหรือเล็กผิดปกติ ใบหน้าและตาผิดรูปได้
อธิบายกันมาจนถึงบรรทัดนี้คงพอจะทำให้คุณแม่ทั้งหลายได้มีสติและระมัดระวังการใช้ยาเพื่อรักษาโรคต่างๆ ขณะตั้งครรภ์มากยิ่งขึ้นเพราะสิ่งที่คุณแม่ควรคำนึงถึงมากที่สุดนอกจากการรักษาอาการเจ็บป่วยให้หายแล้ว ยังหมายถึง ผลกระทบต่อลูกในท้องที่ควรใส่ใจเสียตั้งแต่ตอนนี้เพื่อการเริ่มต้นอย่างสมบูรณ์แข็งแรงของชีวิตน้อยๆ ที่คุณรัก
วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555
ปรับภูมิต้านทานชีวิตด้วยจีนวิถี "ป๋าก้วน"
พจ.โสรัจ นิโรธสมาปัติ
คณ:การแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ป๋าก้วน คืออะไร
ป๋าก้วน ภาษาไทยเรียกว่า การครอบแก้ว (cupping) เป็นวิธีการรักษาภายนอกของชาวจีน ซึ่งได้มีการบันทึกกันมากว่า 2000 ปีแล้ว โดยใช้ทฤษฎีการแพทย์แผนจีนเป็นพื้นฐาน ใช้แก้วหรือกระบอกไม้ไผ่เป็นอุปกรณ์ และใช้ความร้อนขับไล่อากาศในแก้วออก เพี่อให้เกิดสูญญากาศแล้วนำแก้วหรือกระบอกไม้ไผ่ครอบบนจุดฝังเข็ม หรือบริเวณผิวกายที่ต้องการรักษา แก้วหรือกระบอกไม้ไผ่จะดูดผิวให้นูนขึ้นมา ทำให้บริเวณที่ถูกครอบเกิดภาวะเลือดคั่งเป็นสีแดง หรือสีดำ หรืออาจมีไอนํ้าจับอยู่ที่แก้ว การครอบแก้วจะใช้เวลาครั้งละ 5 - 15 นาที และจึงจะเอาแก้วออก ส่วนรอยเลือดคั่งจะค่อยๆ จางและหายไปภายใน 1 สัปดาห์
ป๋าก้วน ทำงานอย่างไร
หลักการในการรักษาด้วยวิธีครอบแก้วคือ การกระตุ้นให้เกิดภาวะเลือดคั่ง เพิ่มการเปลี่ยนถ่ายออกซิเจนให้กับเซลล์ ทำให้เส้นเลือดฝอยแตก เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และ Hemoglobin ถูกปล่อยออกมา เมื่อใช้ร่วมกับการกระตุ้นด้วยความร้อน ทำให้หลอดเลือดถูกขยาย เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่ครอบ จึงช่วยปรับภาวะเลือดคั่ง เพิ่มเมตาบอลิซึม ช่วยขับของเสียและพิษในร่างกายออก เพิ่มการเปลี่ยนถ่ายสารต่างๆ บริเวณผนังหลอดเลือด กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีฃื้น และปรับระบบภูมิต้านทานในร่างกาย ซึ่งก็คือวิธี "ใช้ระบบเลือดของตัวเองรักษาตัวเอง" นั่นเอง
สำหรับทางการแพทย์แผนจีน เนื่องจากมีเส้นลมปราณและจุดฝังเข็มกระจายอยู่ทั่วร่างกาย ซึ่งเส้นลมปราณเหล่านี้ก็ได้เชื่อมโยงกับอวัยวะภายใน ทำให้อวัยวะภายในกับร่างกายภายนอกเป็นหนึ่งเดียวกัน การครอบแก้วเป็นการปรับหยินหยางให้สมดุลกัน ขจัดตัวก่อโรคที่อยู่ในร่างกายออกไป และทะลวงเส้นลมปราณ ปรับการไหลเวียนของชี่และเลือด ทำให้ชี่และเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายทั้งภายในและภายนอกได้อย่างปกติ
ป๋าก้วน ใช้รักษาอะไร
การครอบแก้วในวงการแพทย์แผนจีนได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง จากเริ่มแรกที่ใช้รักษาแผลฝีหนอง ปัจจุบันพัฒนาให้ใช้กับอาการต่างๆ ได้กว่า 100 ชนิดครอบคลุมถึงโรคทางอายุรกรรม กุมารเวช นรีเวช ผิวหนัง เป็นต้น โดยการครอบแก้วสามารถลดอาการปวดได้เป็นอย่างดี เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาการปวดตามข้อต่อ ปวดเอวจากกล้ามเนื้อเอวเคล็ด อาการปวดตามกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ ครอบแก้วยังสามารถใช้รักษาอาการหอบหืด หลอดลมอักเสบ ไอกรน ปวดประจำเดือน ประจำเดือนผิดปกติ งูสวัด อัมพฤกษ์ใบหน้า และอื่นๆ ได้อีกมากมาย
ข้อพึงระวัง
การครอบแก้วไม่ควรทำกับผู้ที่มีระบบเลือดแข็งตัวช้า หรือผู้ที่มีเลือดออกแล้วเลือดไม่หยุดไหล หรือผู้ที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือผู้ที่ผิวหนังแพ้ง่าย หรือเป็นโรคติดต่อ เป็นมะเร็งผิวหนัง หรือมีเส้นเลือดขอด สตรีมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงที่ประจำเดือนมา หรือผู้ที่มีโรคหัวใจระยะรุนแรง ไม่ควรรับการรักษาด้วยวิธีครอบแก้ว
การครอบแก้วเป็นวิธีการรักษาที่ไม่เจ็บ เป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายตํ่า ได้ผลดี ไม่มีผลข้างเคียง เหมาะสำหรับทุกวัย
พจ.โสรัจ นิโรธสมาปัติ
คณ:การแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ป๋าก้วน คืออะไร
ป๋าก้วน ภาษาไทยเรียกว่า การครอบแก้ว (cupping) เป็นวิธีการรักษาภายนอกของชาวจีน ซึ่งได้มีการบันทึกกันมากว่า 2000 ปีแล้ว โดยใช้ทฤษฎีการแพทย์แผนจีนเป็นพื้นฐาน ใช้แก้วหรือกระบอกไม้ไผ่เป็นอุปกรณ์ และใช้ความร้อนขับไล่อากาศในแก้วออก เพี่อให้เกิดสูญญากาศแล้วนำแก้วหรือกระบอกไม้ไผ่ครอบบนจุดฝังเข็ม หรือบริเวณผิวกายที่ต้องการรักษา แก้วหรือกระบอกไม้ไผ่จะดูดผิวให้นูนขึ้นมา ทำให้บริเวณที่ถูกครอบเกิดภาวะเลือดคั่งเป็นสีแดง หรือสีดำ หรืออาจมีไอนํ้าจับอยู่ที่แก้ว การครอบแก้วจะใช้เวลาครั้งละ 5 - 15 นาที และจึงจะเอาแก้วออก ส่วนรอยเลือดคั่งจะค่อยๆ จางและหายไปภายใน 1 สัปดาห์
ป๋าก้วน ทำงานอย่างไร
หลักการในการรักษาด้วยวิธีครอบแก้วคือ การกระตุ้นให้เกิดภาวะเลือดคั่ง เพิ่มการเปลี่ยนถ่ายออกซิเจนให้กับเซลล์ ทำให้เส้นเลือดฝอยแตก เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และ Hemoglobin ถูกปล่อยออกมา เมื่อใช้ร่วมกับการกระตุ้นด้วยความร้อน ทำให้หลอดเลือดถูกขยาย เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่ครอบ จึงช่วยปรับภาวะเลือดคั่ง เพิ่มเมตาบอลิซึม ช่วยขับของเสียและพิษในร่างกายออก เพิ่มการเปลี่ยนถ่ายสารต่างๆ บริเวณผนังหลอดเลือด กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีฃื้น และปรับระบบภูมิต้านทานในร่างกาย ซึ่งก็คือวิธี "ใช้ระบบเลือดของตัวเองรักษาตัวเอง" นั่นเอง
สำหรับทางการแพทย์แผนจีน เนื่องจากมีเส้นลมปราณและจุดฝังเข็มกระจายอยู่ทั่วร่างกาย ซึ่งเส้นลมปราณเหล่านี้ก็ได้เชื่อมโยงกับอวัยวะภายใน ทำให้อวัยวะภายในกับร่างกายภายนอกเป็นหนึ่งเดียวกัน การครอบแก้วเป็นการปรับหยินหยางให้สมดุลกัน ขจัดตัวก่อโรคที่อยู่ในร่างกายออกไป และทะลวงเส้นลมปราณ ปรับการไหลเวียนของชี่และเลือด ทำให้ชี่และเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายทั้งภายในและภายนอกได้อย่างปกติ
ป๋าก้วน ใช้รักษาอะไร
การครอบแก้วในวงการแพทย์แผนจีนได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง จากเริ่มแรกที่ใช้รักษาแผลฝีหนอง ปัจจุบันพัฒนาให้ใช้กับอาการต่างๆ ได้กว่า 100 ชนิดครอบคลุมถึงโรคทางอายุรกรรม กุมารเวช นรีเวช ผิวหนัง เป็นต้น โดยการครอบแก้วสามารถลดอาการปวดได้เป็นอย่างดี เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาการปวดตามข้อต่อ ปวดเอวจากกล้ามเนื้อเอวเคล็ด อาการปวดตามกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ ครอบแก้วยังสามารถใช้รักษาอาการหอบหืด หลอดลมอักเสบ ไอกรน ปวดประจำเดือน ประจำเดือนผิดปกติ งูสวัด อัมพฤกษ์ใบหน้า และอื่นๆ ได้อีกมากมาย
ข้อพึงระวัง
การครอบแก้วไม่ควรทำกับผู้ที่มีระบบเลือดแข็งตัวช้า หรือผู้ที่มีเลือดออกแล้วเลือดไม่หยุดไหล หรือผู้ที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือผู้ที่ผิวหนังแพ้ง่าย หรือเป็นโรคติดต่อ เป็นมะเร็งผิวหนัง หรือมีเส้นเลือดขอด สตรีมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงที่ประจำเดือนมา หรือผู้ที่มีโรคหัวใจระยะรุนแรง ไม่ควรรับการรักษาด้วยวิธีครอบแก้ว
การครอบแก้วเป็นวิธีการรักษาที่ไม่เจ็บ เป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายตํ่า ได้ผลดี ไม่มีผลข้างเคียง เหมาะสำหรับทุกวัย
วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555
ประเพณีเนื่องในการเกิด -2- ตั้งครรภ์
ดูเหมือนจะถือคติกันแต่ก่อนว่าเมื่อตั้งครรภ์ ผู้มีครรภ์มักจะฝันอย่างแปลกๆ เป็นนิมิตบอกให้รู้ล่วงหน้า ว่าบุตรในครรภ์จะเป็นชายหรือหญิง มีลักษณะดีหรือชั่ว เมื่อเติบโตไปภายหน้าจะเป็นคนชนิดไร ดังตัวอย่างใน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดขุนช้างมีว่า
ฝ่ายนางเทพทองนั้นนอนหลับ พลิกกลับก็เพ้อละเมอฝัน
ว่าช้างพลายตายกลิ้งตลิ่งชัน พองขึ้นหัวนั้นเน่าโขลงไป
ยังมีนกตะกรุมหัวเหม่ บินเตร่เร่มาแต่ป่าใหญ่
อ้าปากคาบช้างแล้ววางไป เข้าในหอกลางที่นางนอน
ในฝันนั้นว่านางเรียกนก เชิญเจ้าขรัวหัวถกมานี่ก่อน
นางควักได้ตัวเจ้าหัวกล้อน กอดนกกับช้างนอนสบายใจ
ครั้นตื่นฟื้นตัวปลุกผัวพลัน เหียนรากตัวสั่นไม่กลั้นได้
ให้เหม็นช้างเหม็นนกติดอกใจ โฮกๆ อีพ่อข้าไหว้ช่วยทุบคอ
ขุนศรีวิชัยตกใจจ้าน ลุกขึ้นลนลานตาปอหลอ
เอามือเข้ากำขยำคอ พอหายรากเล่าต่อความฝันไป
ขุนศรีวิชัยทำนายฝัน อ่อเจ้าจะมีครรภ์หาเป็นไรไม่
ลูกของเราจะเป็นชายทำนายไว้ เหมือนนกตะกรุมตัวใหญ่คาบช้างมา
จะบริบูรณ์พูนสวัสดิ์แล้วเจ้าพี่ แต่ลูกของเรานี้ขายหน้า
หัวล้านแต่กำเนิดเ กิดมา จะมั่งมีเงินตรากว่าห้าเกวียน
เมื่อฝันเป็นเรื่องอย่างใด ต้องแก้ฝันบอกแก่ผู้รู้ ให้ทำนายทายทัก การทำนายฝันก็เป็นการดี เพราะถ้าผู้ฝันๆ ไปในทางที่นึกเห็นว่าเป็นร้าย ก็จะทำให้คิดมาก มีใจคอไม่ใคร่ดี ก็จะทำให้ผู้แก้ฝันค่อยสบายใจขึ้น นี่กล่าว เฉพาะผู้ที่ยังเชื่อถือเรื่องฝันว่าเป็นนิมิตบอกร้ายดี ถ้าไม่ถือก็แล้วกันไป
คนที่ตั้งท้องโดยธรรมดาย่อมไม่รู้ตัวในทีแรกว่าตั้งท้อง ป่วยการ กล่าวไปใยถึงเรื่องฝัน เห็นมีอยู่ดกดื่นแต่ในเรื่องละคร เมื่อตั้งครรภ์แล้วเป็นฝันและทำนาย ดูจะเป็นคติของการแต่งหนังสือ ไม่ใช่คติของคนธรรมดา ถ้าแต่งหนังสือแล้ว เมื่อจะตั้งท้องก็ต้องฝันว่ากินอะไรที่กินไม่ได้ ลางทีผู้ตั้งท้อง เคยได้ยินได้ฟังเรื่องอย่างนี้มามาก ก็จับเอาไปฝัน แล้วก็ถือเป็นคติกันมา ว่าฝันแล้วต้องแก้ฝันและทำนายฝัน ดั่งนี้ก็เป็นได้ แต่เป็นเรื่องของบุคคล ไม่ใช่เป็นคติที่เชื่อถือกันทั่วไป
ระยะเวลาตั้งแต่ตั้งครรภ์จนกว่าถืงเวลาคลอด ถือกันว่าเป็นตอน ที่มีภัยอันตรายอยู่รอบข้าง ผู้มีครรภ์ต้องเสี่ยงต่ออันตรายต่างๆ จนกว่าจะพ้นไป ทำให้ใจคอไม่สบาย ขวัญไม่ดี เหตุฉะนี้จึงต้องหาอุบายป้องกัน และปัดเป่าด้วยอุปเท่ห์วิธีต่างๆ เช่น หาตะกรุดพิสมรสำหรับผูกข้อมือ หรือคล้องเฉวียงบ่าไว้กันตัว (พิสมร เป็นแผ่นใบลานลงอักขระพระคาถาเรียกว่าลงคุณพระ แลัวพับเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กๆ ร้อยเชือกหรือด้ายเป็นปกติ ผูกหรือคล้องไว้ นานๆ หลายเดือน หนักเข้าขี้ไคลจับเสียดำ เพราะมันเป็นเชือกใส่อยู่ ตลอดไปจนคลอดลูก ออกไฟแล้วจึงเอาออก เก็บไว้ในโถขมิ้นและเครื่องออกลูก แปลกที่พิสมรนี้มีชื่อและรูปลักษณะคล้ายเครื่องรางสำหรับผูกคอกันภัยของชาวชนที่นับถือลัทธิอิสลาม ซึ่งลงอักขระเป็นคุณพระอ้าหล่า เรียกว่า บิสมลละห) การผูกตะกรุดพิสมร เป็นเรื่องปัดผีร้าย ซึ่งอาจมากระทำให้ผู้มีครรภ์ถึงอันตรายได้ ในสมัยที่มีความเชื่อกันอย่างนี้ทั่วไป อะไรๆ ที่เป็นเหตุร้ายอันจะพึงมีมา ก็เหมาเอาว่ามาจากผี ยิ่งเป็นเรื่องของหญิงมีครรภ์ด้วยแล้ว อาจตายได้ทั้งแม่และลูก ถ้าไม่ป้องกันไว้ให้ ดี เรื่องเหล่านี้คงได้ยินได้ฟังและถือกันมา ว่าแม่และเด็กที่ตายในระยะตอนนี้
ถ้าตายก่อนคลอด เรียกว่าตายทั้งกลม กลม เป็นภาษาเขมร แปลว่า ทั้งหมด คือตายหมดทั้งแม่และลูก
ถ้าตายเมื่อคลอดแล้วเรียกว่าตายพราย มักเป็นผีพรายดุร้าย อาละวาดคอยจ้องแต่จะทำลายหญิงมีครรภ์เพราะมันน้อยใจ ก็ยิ่งทำให้คนหวาดหวั่นพรั่นกลัว ใจคอไม่สู้ดี มีอุปเท่ห์อย่างไร ที่จะใช้เป็นเครื่องป้องกันได้ก็ใช้
อีกอย่างหนึ่ง หญิงมีครรภ์มักมีความรู้สึกเป็นคนคิดมาก ชอบคิด เป็นต่างๆ นานา และเป็นคิดข้างร้ายมากกว่าคิดข้างดี เมื่อมีของศักดิ์สิทธิ์ เชื่อมั่นว่าใช้เป็นเครื่องกันภัยได้ ใจก็คลายความหวาดกลัว เรื่องคิดเห็นอย่างนี้ ไม่ใช่มีแต่ของเรา ถึงคนชาติอื่นก็มีเหมือนกัน เช่น ตามคติของอินเดีย ผีชอบรบกวนทำลายเด็กและผู้หญิง เพราะเป็นพวกอ่อนแอ ส่วนผู้ชายใจแข็งผีไม่กล้ารบกวน เข้าทำนองสุนัขชอบกัดเด็กและผู้หญิง เวลามีครรภ์และเวลาคลอด เขามีเรื่องป้องกันผีที่จะมาทำอันตรายอยู่มากประการเหมือนกัน ซึ่งจะนำมากล่าวไว้ด้วยโดยลำดับ
หญิงมีครรภ์จะไปเผาศพหรือไปเยี่ยมคนมีไข้หนักไม่ได้ นี่เห็นจะป้องกันเรื่องคิดมาก อันอาจทำให้เสียขวัญแสลงทางใจ จะไปดูคนอื่นเขากำลังคลอดลูกก็ไม่ได้ เพราะจะทำให้เขาคลอดไม่ได้ ด้วยเด็กในท้องจะอายกัน เลยพาลไม่ออก ถ้าจะเดาเอาเหตุผลที่ห้าม คงเป็นเพราะผู้ที่ไปอาจเสียขวัญ ที่เห็นการคลอดเจ็บปวดมาก ก็จะทำให้ตนไม่สบายใจไปด้วยก็เป็นได้ เวลาพระสงฆ์ท่านทำสังฆกรรมสวดญัตติ ก็ห้ามไม่ให้หญิงมีครรภ์ เข้าไปภายในเขตพิธีมณฑล ถือกันว่าจะคลอดลูกยาก เห็นจะถือเอาเสียงของคำ ญัตติ ว่าใกล้กับเสียงคำว่า ยัด กระมัง จึงได้ห้ามแท้จริง อาจเป็นเรื่องของพิธีกรรมที่ต้องการความบริสุทธิ์ในกิจที่ทำก็เป็นได้ เพราะตามคติของอินเดีย เมื่อทำพิธีกรรม ได้ความว่าเขาห้ามไม่ให้ผู้หญิงมีครรภ์หรือใครแปลกปลอมล่วงลํ้าเข้าไป ด้วยถือว่าจะเป็นมลทินแก่พิธีที่ทำ นอกจากนี้ยังห้ามไม่ให้ตกปลา ฆ่าสัตว์ กล่าวเท็จ ตอกและตรึงตะปูหรือหมุดเย็บปากหมอนปากที่นอนซึ่งยัดนุ่นไว้ แต่ยังไม่ได้เย็บปาก เพราะจะเป็นเหตุให้ลามปามไปถึงเวลาคลอด เกิดอุปัทวเหตุปิดช่องปิตรูในทำนองเดียวกัน จะนั่งนอนหรือยืนค้างคาประตูไม่ได้ จะขึ้นลงกระได ต้องขึ้นลงรวดเดียว จะหยุดพักค้างคากลางกระไดไม่ได้ เหตุที่ห้ามเหล่านี้ เห็นได้ง่ายว่าทำไมจึงห้าม และมักจะถือกันมาก เวลานอนต้องนอนตะแคงข้าง ห้ามนอนหงาย ว่าเด็กจะเบ่งให้ท้องแตก สอบถามผู้ที่เขาเคยมีท้อง เขาบอกว่านอนหงาย จะรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย
เวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสให้เอาเข็มเย็บผ้ากลัดชายพกไว้ว่า เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกที่เกิดมาเป็นคนตาเหล่ หรือมีร่างกายหน้าตาพิกลพิการ มีปากแหว่งเป็นอย่างพระอาทิตย์พระจันทร์เวลาคราส เป็นต้น คติที่เชื่อถือนี้คล้ายคลึงกับคติของชาวอินเดียที่นับถือลัทธิศาสนาอิสลาม เขาถือว่าเวลามีจันทรคราส เป็นคราวปีศาจกินดวงจันทร์ ห้ามหญิงมีครรภ์หรือญาติพี่น้องกินอะไรไม่ได้ในขณะนั้น สูบบุหรี่ก็ไม่ได้ เพราะเป็นเวลาพวกผีกำลังออกมาพลุกพล่าน ยิ่งกว่านี้ ถ้ากินหมากพลูในเวลานั้น ลูกที่คลอดจะมีใบหูพับอย่างใบพลู (พลูแขกเวลากินใช้พับ ไม่ใช้จีบเหมือนของเรา) จะบิดหรือตัดอะไร ก็ไม่ได้ เพราะจะทำให้เด็กที่เกิดมามีนิ้วพิการหรือริมฝีปากเจ่อ (Crooke’s Northern India, p. 203) ทำไมจึงใช้เข็มกลัดไว้ที่ชายพก จะว่ากันตาเหล่ ก็ไม่เข้าใจ ดีร้ายจะเป็นเรื่องป้องกันผีซึ่งแขกเขาว่าเวลานั้นผีกำลังออกมา พลุกพล่าน และอะไรที่ผีกลัวไม่เท่ากับเหล็กมีคม
อันเป็นคติที่เชื่อกันอยู่มากชาติ ดังเล่าไว้ที่อื่นแล้ว (ดูในเรื่อง ประเพณี เนื่องในการตาย) เรื่องป้องกันไม่ให้เด็กที่เกิดมาเป็นพิการ ของเรายังมีห้าม ไม่ให้คนทุพพลภาพและคนขี้เหร่เดินกรายมาข้างหลังคนมีท้อง เพราะเกรงว่าจะติดต่อเป็นเช่นนั้นแก่เด็กในท้องด้วย
ห้ามหญิงมีครรภ์ลูบตัวในเวลากลางคืน เพราะถือว่าเวลาคลอด จะปวดน้ำคร่ำมากหรือคลอดเป็นแฝดนํ้า ถ้าจำเป็นต้องอาบนํ้า ก็ควรแก้ผ้าอาบนํ้า จึงจะไม่เป็นไร ผู้หญิงแต่ก่อนไม่ใคร่อาบนํ้าบ่อยๆ อย่างดีก็ลูบตัวแทน ลูบตัวในที่นี้ ไม่ใช่มีความหมายว่าลูบตัวตรงๆ แต่เป็นเรื่องเอานํ้ารด ร่างกายตอนบนให้เปียก ส่วนร่างกายตอนล่างซึ่งมีผ้านุ่ง ไม่ให้ถูกนํ้าเปียก เวลาจะลูบตัว ให้ถลกชายผ้านุ่งขึ้นสูงอย่างหยักรั้ง โค้งหลังให้มาก แล้วเอานํ้าในภาชนะรดลงไปให้พอดีกลางหลัง ถ้าโค้งหลังไม่มากหรือราดนํ้าไม่ตรงกลางหลังพอดี นํ้าอาจไหลลงไปเปียกผ้านุ่งได้ เรื่องลูบตัวแทนอาบนํ้าทั้งตัว เดี๋ยวนี้ไม่ใคร่มีใครทำกัน ผิดกว่าเมื่อก่อนซึ่งยังนิยมทำกันอยู่ เรื่องจะเกิดจากไม่อยากผลัดผ้านุ่งบ่อยๆ หรืออยู่ในลักษณะที่ซึ่งไม่มีผ้าจะผลัด และต้นเหตุเดิมอาจเป็นเพราะอัตคัดนํ้า ต้องออมนํ้าไว้ใช้เพราะไม่มีภาชนะเช่น ตุ่มไหไว้เพียงพอ ถ้าจะต้องอาบก็ต้องไปที่ตีนท่าตีนนํ้า มืดๆ ค่ำๆ มองไม่ค่อยเห็น อาจหกล้มหรือเป็นอันตรายจากสัตว์ร้ายก็ได้ จึงไม่ให้อาบนํ้าเวลากลางคืน นี่เป็นนึกเอาตามสภาพความเป็นอยู่ของถิ่นชนบท ซึ่งในครั้งดั้งเดิม จะเป็นเช่นนี้มาก่อน
เรื่องห้ามหญิงมีครรภ์ไม่ให้อาบนํ้าหรือลูบตัวในเวลากลางคืน ไม่มีแต่คติของเรา ต่างชาติเท่าที่ทราบมาก็มีห้ามเหมือนกัน เช่นตามคติของญวน ก็ห้ามอาบนํ้าในเวลากลางคืนว่า จะทำให้ร่างกายของหญิงมีครรภ์เย็นจัดไป เวลาคลอดจะคลอดไม่ไต้ง่าย คติของอินเดีย นอกจากห้ามอาบนํ้ายังห้ามสยายผม เวลานอนห้ามหนุนศีรษะให้สูง หรือนอนให้ศีรษะอยู่ต่ำก็ไม่ได้ เรื่องห้ามอาบน้ำนี้ ตามที่มีผู้เล่าให้ฟังว่า ชาวบ้านในลางท้องถิ่นของเรา (เสียใจที่จำไม่ได้ว่าเป็นท้องถิ่นใด) ในวันสิ้นเดือนหญิงมีครรภ์ควรหาช่องทางเปลือยกายอาบนํ้าในเวลากลางคืน แต่ระวังอย่าให้ใครเห็น ถ้าเห็นจะเป็นอย่างไร ผู้เล่าไม่ให้เหตุผล ว่าถ้าทำไต้อย่างนี้จะคลอดง่าย คติเรื่องเปลือยกายนี้แปลก ถือกันว่าผีกลัวมาก เห็นจะเป็นพวกผีที่มีวัฒนธรรมเช่นถ้าจะไปเก็บใบยามารักษาโรค ผู้เก็บต้องเปลือยกายเข้าไป อย่าให้เงาทับต้นยา ถ้าผีสิงอยู่บนต้นไม้ทำอาการหลอนหลอก ต้องเปลือยกายเอาผ้าและหญ้าคาไปผูกไว้ที่ต้นไม้นั้น เวลาเข้าไปผูกให้กลั้นใจ ผูกแล้วผีจะลงจากต้นไม้ มาหลอนหลอกอีกต่อไปไม่ได้
หญิงมีครรภ์ต้องหางานออกแรงกำลัง เซ่นหาบนํ้าตำข้าวเป็นต้น ซึ่งเป็นหน้าที่และงานตามปกติของหญิงในชนบท ทั้งนี้เพื่อให้ท้องหลวม และไม่ให้ทารกในครรภ์อ้วนมากและโตจนเกินไป จะคลอดยาก นี่ก็ตรงกับ คติของญวนที่แนะนำให้ทำงานหนักเป็นทำนองเดียวกัน นอกนี้เขามีห้ามไม่ให้เอื้อมมือจนสุดแขน ว่าทารกอยู่ในครรภ์จะดูดสายสะดือไม่ได้สะดวก เพราะสายรกจะร่นขึ้นไปสูง และห้ามไม่ให้ตอกตรึงตะปูเหมือนคติของเรา แต่มีกว้างออกไป ห้ามจนกระทั่งคนอื่นที่อยู่ในบ้านเดียวกันว่าจะทำให้ทารกในครรภ์มีร่างกายพิการได้
เรื่องข้อห้ามของเรา ไม่ให้หญิงมีครรภ์ตกปลาฆ่าสัตว์และกล่าวเท็จ เห็นจะต้องการให้มีใจบริสุทธิ์ เป็นทำนองเดียวกับของอินเดีย ที่ให้กล่าวแต่คำที่เป็นสิริมงคลและทำพลีบูชาตามลัทธิ นี่กีเป็นการดี กล่าวกันว่าจะทำให้หญิงมีครรภ์มีผิวพรรณผุดผ่องและมีใจสบาย ดังในเรื่อง ขุนช้างขุนแผน แห่งหนึ่งกล่าวว่า
จะกล่าาถึงทองประสีมีครรภ์แก่ งามแท้เผ้าผมก็สมหน้า
ผิวพรรณดั่งสุวรรณมาทาบทา ดวงหน้าดั่งดวงจันทร์เมื่อวันเพ็ง
แก้มทั้งสองข้างดั่งปรางทอง เต้านมทั้งสองก็ครัดเคร่ง
ผิวเนื้อเป็นนวลควรแลเล็ง ดูปลั่งเปล่งหน้าชมสมพอตัว
จำศีลภาวนาเป็นเนืองนิตย์ น้อมจิตนบนิ้วขึ้นเหนือหัว
ภาวนาบูชาด้วยดอกบัว ไม่กลัวที่จะเป็นอันตราย
ข้อความที่นำมาอ้างนี้ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนแต่ก่อนว่า หญิงมีครรภ์ควรปฏิบัติตนอย่างไร นอกนี้ยังนำเอาดอกบัวที่บูชาพระมาต้มกินเมื่อเวลาท้องแก่ ถือว่าเป็นยาครรภ์รักษา เพื่อให้ทารกมีร่างกายแข็งแรง และป้องกันอาเจียนของมารดาซึ่งเกิดจากอาการแพ้ท้อง ลางทีเขานำเอาดอกบัวไปให้พระสงฆ์ลงคุณพระหรือเสกเป่า อย่างนี้ยังมีถือและทำกันอยู่ในทุกวันนี้ เป็นเรื่องเชื่อมั่นในพระพุทธคุณ หนุนใจให้บังเกิดศรัทธา มีอารมณ์ผ่องใส ช่วยได้มากเหมือนกัน ถ้าจะให้ดีเอาเกสรบัวหลวงกับเทียนดำห่อผ้าเป็นลูกประคบต้มกับนํ้ามะพร้าวอ่อน ก็เป็นยาครรภ์รักษาได้โดยตรง นํ้ามะพร้าวมีคุณสมบัติลางอย่างสำหรับบำรุงครรภ์คนแต่ก่อนใช้มาแล้วเห็นคุณ จึงได้ถือเป็นตำรากันมา คนสมัยนี้อาจไม่เห็นด้วย แต่ที่ไม่เห็นด้วย ใช่ว่าท่านได้พิสูจน์แยกธาตุหรือวิเคราะห์สิ่งที่มีอยู่ในนํ้ามะพร้าวว่ามีแร่ธาตุอะไรบ้างก็หาไม่ เมื่อยังไม่ได้พิสูจน์ให้ถ่องแท้ตามหลักวิทยาศาสตร์ ก็ยังลง ความเห็นเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดให้เด็ดขาดไปไม่ได้ เมื่อเร็วๆ นี้ อ่านพบใน หนังสือพิมพ์ฝรั่งฉบับหนึ่งว่า นํ้ามะพร้าวมีอะไรลางอย่างอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นเครื่องเลี้ยงทารกในท้องได้เป็นอย่างดี
ยังมีคติเกี่ยวกับเวลามีครรภ์อีกอย่างหนึ่ง คือถ้าจะให้เลี้ยงลูกง่าย หญิงมีครรภ์ต้องหาโอกาสลอดท้องช้าง แต่ต้องเสือกช้างที่มีเมตตาจิต ลอดท้องช้างแล้วลูกที่ออกมาจะเลี้ยงง่าย จะด้วยเหตุผลกลไรไม่ทราบชัด แต่ก็ประหลาด ที่การเชื่อถือตามทำนองนี้มีคล้ายคลึงกันอยู่หลายชาติ เช่น ชาวอาหรับและอิหร่านถือว่าหญิงมีครรภ์ได้ลอดท้องอูฐแล้วจะคลอดลูกง่าย ฝรั่งชาวบ้านในประเทศสวีเดน ถ้าต้องการให้คลอดลูกง่าย ต้องไปลอด โพรงคนรู คือช่องสุมทุมพุ่มไม้ ลางทีก็ลอดรูใต้ก้อนหิน หรือลอดวงเหล็กที่รัดถัง ถือจนกระทั่งเด็กเจ็บ ก็ให้เด็กลอดท้องสัตว์หรือลอดโพรงเสีย ๓ ครั้ง ก็หายเจ็บ
นอกจากคติความเชื่อถือเป็นอย่างกระจุกกระจิกดังกล่าวมานี้ มีเรื่องที่จำเป็นต้องกระทำอยู่อย่างหนึ่งคือ ต้องฝากท้องกับหมอตำแย เสียเงินค่าฝากท้องเป็นทำนองเงิน ค่ามัดจำ ตามธรรมเนียม กึ่งตำลึงหรือตำลึงหนึ่ง คือ ๒ บาท หรือ ๔ บาท หรือจะมากน้อยกว่านี้เท่าใดก็ตามเรื่อง แล้วแต่ฐานะของผู้ฝากและท้องถิ่น เมื่อฝากท้องแล้ว ถ้ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เกี่ยวกับเรื่องครรภ์ ก็ไปตามหมอตำแยมาช่วยเหลือได้ไม่ว่าเวลาไร ตามปกติมักเป็นเรื่องมาผืนท้อง คือเอามือช้อนท้องเพื่อฝืนเด็กไม่ให้ดำต่ำลงต่ำ เพราะจะทำให้ผู้มีครรภ์เดินไม่สะดวกด้วยเด็กลงมาถ่วงต่ำอยู่
หญิงมีครรภ์มักมีอาการอยากกินของแปลกๆ โดยมากมักเป็นสิ่งของที่มนุษย์เขาไม่กินกันเป็นปกติ อาการที่มีขึ้นอย่างนี้เรียกว่าแพ้ท้อง อันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงประสาทในร่างกาย เป็นไปในทางจิตวิทยา กระทำให้อยากกินของเปรี้ยวจัดเค็มจัดหรือของแปลกๆ ผิดปกติไปชั่วคราวหนึ่ง และมีอาการคลื่นเหียนอาเจียนบ่อยๆ นี่กล่าวตามความเห็นของแพทย์ในปัจจุบัน อาจสอบถามดูได้ อาการแพ้ท้องนั้น ลางทีอยากกินกระเดียดไปทางข้างตะกละ จะเป็นเพราะแกล้งทำเป็นพูดว่าอยากกิน หรือว่าคนมีท้องอยากกินจริงๆ ก็ไม่ทราบ เพราะเรื่องเก็งใจผู้หญิงนั้น เก็งยากนัก จะยกตัวอย่างเรื่องแพ้ท้องในหนังสือเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ขึ้นมากล่าว ดังต่อไปนี้
จะกล่าวถึงนางเทพทอง ท้องนั้นโตใหญ่ขึ้นคํ้าหน้า
ลุกนั่งอึดอัดถัดไปมา ให้อยากเหล้าเนื้อพล่าตัวสั่นรัว
น้ำลายไหลรี่ดังผีกระสือ ร้องไห้ครางฮืออ้อนวอนผัว
เหมือนหนึ่งตาหลวงเข้าประจำตัว ยิ่งให้กินตล:ยั่วยิ่งเป็นไป
ปลาไหลไก่กบทั้งเต่าฝา แย้บึ่งอึ่งนาไม่พอไส้
หยิบคำโตๆ โม้เข้าไป ประเดี๋ยวเหล้าสิ้นไหไม่ซื้อทัน
ของแปลกที่คนแพ้ท้องชอบกิน มี ขี้ไต้ ดินสอหิน ดินสอพอง ข้าวสาร ดินเผา (ดินเลนเอามาแผ่ตากผึ่งแดดแล้วเผา) เป็นต้น ดินสอหินนั้นแต่ก่อนเห็นมีกองขายกันตามร้าน (เคยเห็นที่เสาชิงช้า ภายหลังเห็นมีขายที่สะพานหัน) บัดนี้ไม่เห็นสะดุดตาอีก เห็นจะหมดสมัยแฟชั่นเลิกกินกันแล้ว ดินสอหินอย่างนี้ไม่ใช่แท่งเล็กเรียวยาว อย่างที่เด็กนักเรียนเขียนบนกระดานชนวนแต่เป็นดินสอดินชนิดหนึ่ง สีเหลืองนวลและยุ่ย สำหรับใช้เขียนบนกระดานดำ และสมุดดำอย่างชอล์ก ถ้าเป็นชนิดดี เรียกว่าดินสอแม่หม้าย เพราะเขียนได้ง่ายไม่ต้องแตะนํ้าลายบ่อยๆ เพื่อให้ยุ่ยเขียนออก หญิงลางคนเมื่อแพ้ท้อง ให้มีอาการคลื่นเหียนและเหม็นสาบผัวของตัวเอง ผัวเข้าใกล้ไม่ได้ ต้องไปนอนเสียต่างหาก หรือมิฉะนั้นต้องนอนหลีกให้ห่างเสียจากกันขืนเข้าใกล้ได้ กลิ่นเหม็นสาบก็เกิดอาการคลื่นเหียน แปลกมากอยู่
ในคัมภีร์ พรหมจินดา กล่าวถึงอาการแพ้ท้องไว้ว่า
ถ้ามารดาอยากกินมัจฉมังษา เนื้อ ปลา และ สิ่งของสดคาว ท่านว่าสัดว์นรกมาปฏิสนธิ
ถ้าอยากกินนํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย นํ้าดาล ท่านว่ามาแต่สวรรค์ลงมาเกิด
ถ้าอยากกินสรรพผลไม้ ท่านว่าดิรัจฉานมาปฏิสนธิ
ถ้าอยากกินดิน ท่านว่าพรหมลงมาปฏิสนธิ (เพราะพรหมลงมากินง้วนดิน)
ถ้าอยากกินสิ่งเผ็ดร้อน ท่านว่ามนุษย์ลงมาปฏิสนธิ
เห็นจะเป็นด้วยคดิที่ว่าอยากกินดิน ท่านว่าพรหมมาปฏิสนธิ จึงทำให้หญิงแต่ก่อนอยากกินดินสอหินและดินเผา พรหมจะได้ลงมาเกิดเป็นลูกตน อนึ่ง ระหว่างที่มีครรภ์ต้องประคับประคองบำรุงรักษาลูกในท้อง แม้อยากกินอาหารที่เผ็ดร้อนซึ่งเป็นของที่ชอบใจก็ต้องอด งดเว้นไม่บริโภค จะนั่งนอนหรือเคลื่อนย้ายเดินไปมา ก็ระวังร่างกายไว้ให้ดี อย่าให้มีหกล้ม กระทบกระเทือนจนเกินไป ทั้งนี้เพื่อให้บุตรในครรภ์ไม่เจ็บป่วยเป็นอันตราย ด้วยเหตุต่างๆ
เมื่อครรภ์แก่ย่างเข้าเดือนที่ ๗ ที่ ๘ หนังท้องรอบสะดือจะยืดและงํ้าปิดรูสะดือ ถ้างํ้าบนเรียกว่าสะดือคว่ำ ถ้างํ้าล่างเรียกว่าสะดือหงาย หญิงใดสะดือหงาย ทายว่าลูกในครรภ์จะเป็นชาย ถ้ามีสะดือคว่ำจะเป็นหญิง เห็นจะเป็นทายเอาตามลักษณะที่คว่ำหงาย มีครรภ์แก่ในระยะนี้ท้องจะยื่น โย้ออก หนังท้องตึงมาก จึงต้องมียาทาท้องเพื่อกันคราก ว่าเป็นเพราะเด็กในครรภ์เติบโตขึ้น ถ่วงหนังท้องตึงจนริคราก ยานั้นใช้เปลือกลูกมะตูมตากแห้ง ฝนกับนํ้าปูนใสในฝาละมี หญิงลางคนมีลายขาวเป็นทางๆ ที่ท้อง ว่าเป็นเพราะท้องครากเนื่องจากคลอดลูก นอกจากยาทาท้อง ยังมีการถีบหน้าขา ว่าจะให้เส้นตะเกียบหย่อน จะได้คลอดง่ายแล้วยังต้องกินยาครรภ์ รักษาดังกล่าวมาแล้วด้วย
ตอนท้องแก่ชายผู้เป็นสามีจะต้องไปตัดฟืนมาไว้ สำหรับให้ภรรยา อยู่ไฟในเมื่อคลอดลูกแล้ว คนอื่นไปตัดแทนไม่ได้ท่านห้าม ฟืนนั้นให้เลือกเอาไม้สะแกหรือไม้มะขาม และต้องเป็นฟืนท่อนโตๆ ที่เลือกแต่ไม้สองชนิดนี้ เพราะในลางท้องถิ่นมีขึ้นอยู่ตามป่าละเมาะ หาได้ไม่ยาก และว่าไม้สองอย่างนี้เมื่อไหม้เป็นถ่านแล้วมีขึ้เถ้าน้อย ไม่รบกวนทำความรำคาญให้มาก ถ้าเป็นท้องถิ่นอื่นซึ่งไม่มีไม้สองชนิดนี้ อาจเปลี่ยนเป็นไม้อื่นแล้ว แต่ความคุ้นเคยจัดเจนกันมา ตัดเอาแล้วบั่นทอนเป็นท่อนดีแล้ว ให้เอามาตั้งสุมไว้ในที่สมควร ลางท้องถิ่นมีคติถือว่าการตัดฟืนสำหรับอยู่ไฟนั้น ควรจะตัดเวลาใกล้กำหนดคลอดหรือในราวเดือนที่ ๘ นับแต่เดือนตั้งครรภ์และชนิดของฟืนนอกจากเป็นไม้สะแกหรือไม้มะขาม ควรจะมีไม้ทองหลางด้วย แต่ไม้ทองหลางนั้นเขาว่าเป็นควันมาก เห็นจะใส่ไฟพอเป็นพิธี ที่ให้ใช้ไม้ทองหลางด้วย ว่าอยู่ไฟไม้ทองหลางกันปวดมดลูกและแก้พิษเลือด แต่ถ้าเป็นท้องสาวให้ใช้ฟืนไม้เบญจพรรณ ว่าจะได้คุ้นกับการอยู่ไฟด้วยไม้ต่างๆ ได้ดี เมื่อคลอดลูกคนหลังๆ การตัดฟืนถือกันว่าเป็นเสี่ยงทาย ถ้าตัดไม้ฟืนเป็นขนาดยาว ลูกที่เกิดมาจะเป็นชาย ถ้าตัดเป็นขนาดสั้นจะได้ลูกเป็นผู้หญิง นื่ก็เป็นเรื่องทายเอาตามลักษณะสั้นยาว เข้าทำนองเดียวกับเรื่องสะดือหงาย สะดือคว่ำ เวลารวมฟืนให้เป็นกองก็เหมือนกัน ถ้ากองฟืนตรงกลางเห็นนูนสูงขึ้น เด็กจะเป็นชาย ถ้ากลางไม่นูนคือราบเป็นปกติ เด็กจะเป็นหญิง เป็นเรื่องเสี่ยงทายมาตะเภาเดียวกัน
ตามคติของมอญ จะต้องตัดฟืนสำหรับอยู่ไฟในเดือนที่ ๗ และที่ ๘ จะลงมือตัดในเดือนที่ ๗ ในวันสิ้นเดือนวันเดียวก็ได้ ถึงจะตัดไว้ไม่ได้พอก็ไม่เป็นไร เอาเคล็ดว่าได้เริ่มตัดในเดือน ๗ เท่านี้ก็พอ นอกนั้นจะตัดต่อไปในเดือน ๘ ก็ได้ ที่ให้ตัดในเวลาใกล้กำหนดคลอด ว่าต้องการไม้ที่ยังสดอยู่ เพราะจะได้มีทั้งไฟและควัน (แต่ของไทย ใช้ฟืนหมาดๆ ไม่สดไม่แห้งนัก ด้วยต้องการไม่ให้ไหม้เร็ว และให้เป็นถ่านไม่ต้องการให้เป็นควันมาก) เวลาตัดไม้ต้นแรก ต้องให้ต้นล้มราบลงกับดิน อย่าให้ไม้ล้มไปพาดค้างอยู่กับไม้อื่นหรือสิ่งไร มิฉะนั้นจะใช้เป็นฟืนอยู่ไฟไม่ได้ (เพราะมันไปค้างอยู่ จะลามปามติดต่อมาถึงการ คลอดลูกด้วย) (Haliday’s The Talaing p.55)
คติที่กำหนดให้สามีเป็นผู้ตัดฟืนเอง เห็นจะสืบมาแต่ดั้งเดิม เมื่อยังไม่มีการจ้างออนหรือซื้อหากัน และเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่ต้องถึงกับ บอกแขกแบกหาม ครอบครัวใครก็ต้องทำของตนเองพึ่งตนเอง ครั้นในระยะ ต่อมา แม้จะจ้างให้ใครไปตัดหรือซื้อหาฟืนได้สะดวกแล้ว ผู้ที่ถือคติเดิม เคร่งครัด ยังปฏิบัติอยู่ก็มี นับว่าเป็นการดีเหมือนกัน เป็นเครื่องแสดงนํ้าใจ ของคู่ผัวตัวเมียให้เห็น ภรรยาผู้มีครรภ์ก็คงสบายใจ แต่คตินี้ถ้าว่าในท้องถิ่น ที่หาฟืนยาก หรือเป็นสมัยที่เจริญก้าวหน้ามาแล้ว ก็เห็นจะมีผู้ยังดื้อถืออยู่น้อยคน เพราะหมดประโยชน์แห่งความจำเป็นและพ้นสมัยแล้ว ขืนพระพฤติ ก็เป็นเรื่องลำบาก ไม่ก้าวหน้า และไม่เหมาะแก่สมัย
กองฟืนที่ตั้งสุมไว้ ต้องเอาหนามพุทราสะ (มอญใช้หนามไผ่) ว่า เป็นเครื่องป้องกันผี เวลาตัดให้ว่าคาถาดังนี้
นโมพุทฺธตสฺส เมื่อถึงคำว่า ตัส ให้เอามีดตัดทันที (คาถาบทนี้ต้องการเคล็ดเอาเสียงของคำที่คล้ายคลึงกัน คือ นโม = หนาม พุทธตัสสะ = พุทรา) อย่างไรก็ดี ที่เอาหนามสะกองฟืนไว้เป็นการดี นอกจากป้องกันผี ยังป้องกันสัตว์และพวกเด็กๆ ที่ซนขึ้นไปเหยียบย่ำทำให้ กองฟืนทลายลง ทำไมต้องใช้หนามพุทราสะ จะใช้หนามชนิดอื่นไม่ได้ หรือ ตอบว่า เห็นจะได้เหมือนกัน แต่หนามพุทราหาง่าย มีขึ้นอยู่ตามป่าและในที่ทั่วไป เลยเหมาเอาว่า มีชื่อเป็นมงคลนาม ดั่งแจ้งอยู่ข้างบนนี้ด้วย
ข้อใหญ่ใจความของการสะหนามอยู่ที่เรื่องกันผี ถ้ายิ่งเป็นผีกระสือด้วยแล้ว เป็นกลัวหนามมากกว่าผีชนิดอื่น เพราะผีกระสือนั้นกล่าวกันว่าเป็นคนๆ เรานี่เอง โดยมากมักเป็นผู้หญิงมีอายุ เวลากลางคืนเดือนมืดตอนดึกสงัด ใครๆ กำลังหลับนอนกันหมดแล้ว หญิงที่เป็นกระสือจะออกเที่ยวหากิน ถอดแต่หัวและตับไตไส้พุงออกจากร่างไปเท่านั้น เมื่อไปถึงที่ไหน จะเห็นเป็นไฟ มีแสงเรืองๆ เขียวๆ วาบๆ วามๆ เป็นดวงโต สิ่งที่ผีกระสือ ชอบกินคือของสดคาวและคูถ ยิ่งมีหญิงคลอดลูกใหม่ๆ และมีเด็กแดงๆ ด้วย ผีกระสือเป็นชอบนัก มักหาโอกาสเข้าไปสิงอยู่ในท้องหญิง แล้วกินเครื่องใน คือ ตับไตไส้พุงของหญิงและทารกอย่างอร่อย เหตุนี้คนที่ผอมแห้งเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกหรือผลไม้ เช่น กล้วยลูกเล็กๆ แฟบๆ ไม่สู้มีเนื้อ จึงเรียกว่าคนกระสือดูด หรือกล้วยกระสือดูด เรื่องเอาหนามสะกันมันไว้ จะต้องสะตลอดจนใต้ถุนรุนช่องที่มีร่องมีรูด้วย เพราะผีกระสือไปไหนลากเอาไส้พุงของมันไปด้วย ถ้าขืนฝ่าหนามเข้าไป เป็นถูกหนามเกี่ยวไส้พุงเอาไว้ เพราะฉะนั้นมันจึงกลัวหนามนัก เมื่อผีกระสือกินของที่มันชอบกินตามปกติ คือคูถเสร็จแล้วปากมันก็เปื้อนเปรอะ ถ้าเห็นผ้าของใครตากหรือพาด ห้อยทิ้งไว้ในเวลาค่ำคืนนอกห้องเรือน มันก็เอาผ้านั้นเช็ดปากของมันเสีย ถ้ารุ่งเช้าเห็นผ้าที่ตากทิ้งไว้เป็นรอยเปื้อนสีแดงตุ่นๆ เป็นวงกลมๆ อยู่ตามผ้า ก็รู้ว่าถูกผีกระสือเช็ด ถ้าอยากจะรู้ว่าใครเป็นผีกระสือ ให้เอาผ้าที่เปื้อนนี้ต้ม หญิงที่เป็นผีกระสือจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนปาก ทนไม่ไหว ต้องมาขอซื้อผ้าผืนนั้นไป ผ้าที่ถูกผีกระสือเช็ดเป็นวงกลมๆ นี้ มักเป็นในหน้าฝน เหตุเกิดเพราะผ้าชื้นไม่ได้แดดเกิดเป็นราขึ้น ถ้าผึ่งแดดนานๆ วงนั้นก็หายไปเอง ที่บอกว่ากระสือมันเช็ดปาก ก็เป็นการดี จะได้ระวังไม่ทิ้งผ้าไว้ให้ตากนํ้าค้างจนขึ้นราเสียหาย
คนเป็นกระสือนั้น ว่าตายยากตายเย็นนัก เวลาจะตายต้องทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนั้น ไม่ตายได้ง่ายๆ จนกว่าลูกหลานคนใดรับทายาทเป็นผีกระสือต่อไป โดยรับเอานํ้าลายของกระสือบ้วนใส่ให้ คนที่เป็นผีกระสือจึงจะตายได้ เรื่องนํ้าลายนี้แปลก มันถือกันว่าเป็นของขลังหรือของอะไรในลักษณะนั้นอย่างชอบกล ทางภาคอีสานถือกันว่าถ้าคนเป็นผีปอบถ่มนํ้าลายรดถูกใคร ผู้นั้นจะต้องเป็นผีปอบ จำพวกเดียวกับผีกระสือของภาคนั้น ข้าพเจ้าเมื่อเด็กเคยอยู่ในถิ่นที่มีผีกระสือชุกชุม เป็นถิ่นที่มีพวกเชื้อมอญเชื้อทวายอยู่มาก เคยได้ยินได้ฟังเรื่องผีกระสืออยู่บ่อยๆ ที่ข้างบ้านข้าพเจ้ามียายแก่คนหนึ่ง นอนเจ็บอยู่นาน ชาวบ้านเขาว่าแกเป็นผีกระสือ ตายยากนัก เพราะไม่มีลูกหลานคนใดรับนํ้าลายเป็นผีกระสือต่อไป ข้าพเจ้ากลัวจนไม่กล้ากลํ้ากราย ลํ้าเข้าไปเล่นซนในบริเวณบ้านของแก ต่อมาแกก็ตาย จะเป็นเพราะมีใครรับเป็นทายาทหรือไม่ ข้าพเจ้าไม่ทราบ แต่จำเรื่องได้แม่น จึงนำมาเล่าไว้ในที่นี้ด้วย พอดีมาเมื่อเร็วๆ นี้ ยายแก่คนหนึ่งเคยอยู่บ้านข้าพเจ้ามาตั้งแต่ยังสาวมาหาข้าพเจ้าจึงถือโอกาสถามแกถึงเรื่องนี้ แกบอกว่ายายแก่ผีกระสือคนนั้นไม่มีลูกหลานรับเป็นทายาทกระสือ จึงต้องให้แมวรับแทน คือเอานํ้าลายของแกไปป้ายที่แมว แกจึงได้ตาย สนุกดี
ท่านผู้ใหญ่เคยปรารภเรื่องผีกระสือให้ข้าพเจ้าฟังว่า อันชื่อว่ากระสือนี้ชอบกล โลกถือเอาแสงสว่างโดยจำเพาะเป็นกระสือ เช่น หนอนกระสือ โคมกระสือ เป็นต้น และเพราะรู้กันอยู่ว่ากระสือนั้นมีแต่ตัวเมียจึงจัดขึ้นให้ มีตัวผู้ด้วยเรียกว่ากระหาง แต่ที่พูดกันก็เป็นตลกให้เห็นเป็นขึ้นอยู่ในตัวว่า เอากระด้งทำปีกเอาสาก (ตำข้าว) ทำหาง ตามที่ว่านั้นที่เป็นครึ่งคนครึ่งนก แต่ครั้นทำรูปครึ่งนกเข้าจริงกลับเรียกว่า อรหันต์ ข้อนี้ก็ประหลาด ทำไม จึงเอาชื่อผู้สำเร็จมีฌาน เป็นด้น มาใช้เรียกชื่อโสโครกเช่นนั้นก็ไม่ทราบ
ทางภาคพายัพ สะหนามอย่างเดียวยังไม่ไว้ใจ เขายังล้อมเป็นรั้วที่ใด้ถุนเรือนตรงห้องที่คลอดลูกด้วย ล้อมแล้วเอาเรียวหนามไปสะไว้รอบๆ ในห้องคลอดบนเรือนก็วงล้อมด้วยสายสิญจน์ แขวนผ้าประเจียดเลขยัญไว้ทุกทิศ แล้วยังเอาร่างแหขึงเพดานเป็นอย่างรูปมีจอมแห ที่ทำแข็งแรงเช่นนี้ว่ากันผีโพง (เห็นจะเป็นผีโพลง คือมีแสงโพลงอย่างผีกระสือ) มันมักเจาะพื้น เรือน (เห็นจะเป็นพื้นฟาก) ขึ้นมาดูดเลือดของคนคลอดลูกตรงที่นอน มันชอบกินเลือดตรงขั้วหัวใจของแม่ลูกอ่อนที่กำลังอยู่ไฟ และมันสามารถจำแลงตัวเป็นแมว หมู นก หรืออะไรก็ได้ จึงต้องระวังกันอย่างแข็งแรง
ดูเหมือนจะถือคติกันแต่ก่อนว่าเมื่อตั้งครรภ์ ผู้มีครรภ์มักจะฝันอย่างแปลกๆ เป็นนิมิตบอกให้รู้ล่วงหน้า ว่าบุตรในครรภ์จะเป็นชายหรือหญิง มีลักษณะดีหรือชั่ว เมื่อเติบโตไปภายหน้าจะเป็นคนชนิดไร ดังตัวอย่างใน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดขุนช้างมีว่า
ฝ่ายนางเทพทองนั้นนอนหลับ พลิกกลับก็เพ้อละเมอฝัน
ว่าช้างพลายตายกลิ้งตลิ่งชัน พองขึ้นหัวนั้นเน่าโขลงไป
ยังมีนกตะกรุมหัวเหม่ บินเตร่เร่มาแต่ป่าใหญ่
อ้าปากคาบช้างแล้ววางไป เข้าในหอกลางที่นางนอน
ในฝันนั้นว่านางเรียกนก เชิญเจ้าขรัวหัวถกมานี่ก่อน
นางควักได้ตัวเจ้าหัวกล้อน กอดนกกับช้างนอนสบายใจ
ครั้นตื่นฟื้นตัวปลุกผัวพลัน เหียนรากตัวสั่นไม่กลั้นได้
ให้เหม็นช้างเหม็นนกติดอกใจ โฮกๆ อีพ่อข้าไหว้ช่วยทุบคอ
ขุนศรีวิชัยตกใจจ้าน ลุกขึ้นลนลานตาปอหลอ
เอามือเข้ากำขยำคอ พอหายรากเล่าต่อความฝันไป
ขุนศรีวิชัยทำนายฝัน อ่อเจ้าจะมีครรภ์หาเป็นไรไม่
ลูกของเราจะเป็นชายทำนายไว้ เหมือนนกตะกรุมตัวใหญ่คาบช้างมา
จะบริบูรณ์พูนสวัสดิ์แล้วเจ้าพี่ แต่ลูกของเรานี้ขายหน้า
หัวล้านแต่กำเนิดเ กิดมา จะมั่งมีเงินตรากว่าห้าเกวียน
เมื่อฝันเป็นเรื่องอย่างใด ต้องแก้ฝันบอกแก่ผู้รู้ ให้ทำนายทายทัก การทำนายฝันก็เป็นการดี เพราะถ้าผู้ฝันๆ ไปในทางที่นึกเห็นว่าเป็นร้าย ก็จะทำให้คิดมาก มีใจคอไม่ใคร่ดี ก็จะทำให้ผู้แก้ฝันค่อยสบายใจขึ้น นี่กล่าว เฉพาะผู้ที่ยังเชื่อถือเรื่องฝันว่าเป็นนิมิตบอกร้ายดี ถ้าไม่ถือก็แล้วกันไป
คนที่ตั้งท้องโดยธรรมดาย่อมไม่รู้ตัวในทีแรกว่าตั้งท้อง ป่วยการ กล่าวไปใยถึงเรื่องฝัน เห็นมีอยู่ดกดื่นแต่ในเรื่องละคร เมื่อตั้งครรภ์แล้วเป็นฝันและทำนาย ดูจะเป็นคติของการแต่งหนังสือ ไม่ใช่คติของคนธรรมดา ถ้าแต่งหนังสือแล้ว เมื่อจะตั้งท้องก็ต้องฝันว่ากินอะไรที่กินไม่ได้ ลางทีผู้ตั้งท้อง เคยได้ยินได้ฟังเรื่องอย่างนี้มามาก ก็จับเอาไปฝัน แล้วก็ถือเป็นคติกันมา ว่าฝันแล้วต้องแก้ฝันและทำนายฝัน ดั่งนี้ก็เป็นได้ แต่เป็นเรื่องของบุคคล ไม่ใช่เป็นคติที่เชื่อถือกันทั่วไป
ระยะเวลาตั้งแต่ตั้งครรภ์จนกว่าถืงเวลาคลอด ถือกันว่าเป็นตอน ที่มีภัยอันตรายอยู่รอบข้าง ผู้มีครรภ์ต้องเสี่ยงต่ออันตรายต่างๆ จนกว่าจะพ้นไป ทำให้ใจคอไม่สบาย ขวัญไม่ดี เหตุฉะนี้จึงต้องหาอุบายป้องกัน และปัดเป่าด้วยอุปเท่ห์วิธีต่างๆ เช่น หาตะกรุดพิสมรสำหรับผูกข้อมือ หรือคล้องเฉวียงบ่าไว้กันตัว (พิสมร เป็นแผ่นใบลานลงอักขระพระคาถาเรียกว่าลงคุณพระ แลัวพับเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กๆ ร้อยเชือกหรือด้ายเป็นปกติ ผูกหรือคล้องไว้ นานๆ หลายเดือน หนักเข้าขี้ไคลจับเสียดำ เพราะมันเป็นเชือกใส่อยู่ ตลอดไปจนคลอดลูก ออกไฟแล้วจึงเอาออก เก็บไว้ในโถขมิ้นและเครื่องออกลูก แปลกที่พิสมรนี้มีชื่อและรูปลักษณะคล้ายเครื่องรางสำหรับผูกคอกันภัยของชาวชนที่นับถือลัทธิอิสลาม ซึ่งลงอักขระเป็นคุณพระอ้าหล่า เรียกว่า บิสมลละห) การผูกตะกรุดพิสมร เป็นเรื่องปัดผีร้าย ซึ่งอาจมากระทำให้ผู้มีครรภ์ถึงอันตรายได้ ในสมัยที่มีความเชื่อกันอย่างนี้ทั่วไป อะไรๆ ที่เป็นเหตุร้ายอันจะพึงมีมา ก็เหมาเอาว่ามาจากผี ยิ่งเป็นเรื่องของหญิงมีครรภ์ด้วยแล้ว อาจตายได้ทั้งแม่และลูก ถ้าไม่ป้องกันไว้ให้ ดี เรื่องเหล่านี้คงได้ยินได้ฟังและถือกันมา ว่าแม่และเด็กที่ตายในระยะตอนนี้
ถ้าตายก่อนคลอด เรียกว่าตายทั้งกลม กลม เป็นภาษาเขมร แปลว่า ทั้งหมด คือตายหมดทั้งแม่และลูก
ถ้าตายเมื่อคลอดแล้วเรียกว่าตายพราย มักเป็นผีพรายดุร้าย อาละวาดคอยจ้องแต่จะทำลายหญิงมีครรภ์เพราะมันน้อยใจ ก็ยิ่งทำให้คนหวาดหวั่นพรั่นกลัว ใจคอไม่สู้ดี มีอุปเท่ห์อย่างไร ที่จะใช้เป็นเครื่องป้องกันได้ก็ใช้
อีกอย่างหนึ่ง หญิงมีครรภ์มักมีความรู้สึกเป็นคนคิดมาก ชอบคิด เป็นต่างๆ นานา และเป็นคิดข้างร้ายมากกว่าคิดข้างดี เมื่อมีของศักดิ์สิทธิ์ เชื่อมั่นว่าใช้เป็นเครื่องกันภัยได้ ใจก็คลายความหวาดกลัว เรื่องคิดเห็นอย่างนี้ ไม่ใช่มีแต่ของเรา ถึงคนชาติอื่นก็มีเหมือนกัน เช่น ตามคติของอินเดีย ผีชอบรบกวนทำลายเด็กและผู้หญิง เพราะเป็นพวกอ่อนแอ ส่วนผู้ชายใจแข็งผีไม่กล้ารบกวน เข้าทำนองสุนัขชอบกัดเด็กและผู้หญิง เวลามีครรภ์และเวลาคลอด เขามีเรื่องป้องกันผีที่จะมาทำอันตรายอยู่มากประการเหมือนกัน ซึ่งจะนำมากล่าวไว้ด้วยโดยลำดับ
หญิงมีครรภ์จะไปเผาศพหรือไปเยี่ยมคนมีไข้หนักไม่ได้ นี่เห็นจะป้องกันเรื่องคิดมาก อันอาจทำให้เสียขวัญแสลงทางใจ จะไปดูคนอื่นเขากำลังคลอดลูกก็ไม่ได้ เพราะจะทำให้เขาคลอดไม่ได้ ด้วยเด็กในท้องจะอายกัน เลยพาลไม่ออก ถ้าจะเดาเอาเหตุผลที่ห้าม คงเป็นเพราะผู้ที่ไปอาจเสียขวัญ ที่เห็นการคลอดเจ็บปวดมาก ก็จะทำให้ตนไม่สบายใจไปด้วยก็เป็นได้ เวลาพระสงฆ์ท่านทำสังฆกรรมสวดญัตติ ก็ห้ามไม่ให้หญิงมีครรภ์ เข้าไปภายในเขตพิธีมณฑล ถือกันว่าจะคลอดลูกยาก เห็นจะถือเอาเสียงของคำ ญัตติ ว่าใกล้กับเสียงคำว่า ยัด กระมัง จึงได้ห้ามแท้จริง อาจเป็นเรื่องของพิธีกรรมที่ต้องการความบริสุทธิ์ในกิจที่ทำก็เป็นได้ เพราะตามคติของอินเดีย เมื่อทำพิธีกรรม ได้ความว่าเขาห้ามไม่ให้ผู้หญิงมีครรภ์หรือใครแปลกปลอมล่วงลํ้าเข้าไป ด้วยถือว่าจะเป็นมลทินแก่พิธีที่ทำ นอกจากนี้ยังห้ามไม่ให้ตกปลา ฆ่าสัตว์ กล่าวเท็จ ตอกและตรึงตะปูหรือหมุดเย็บปากหมอนปากที่นอนซึ่งยัดนุ่นไว้ แต่ยังไม่ได้เย็บปาก เพราะจะเป็นเหตุให้ลามปามไปถึงเวลาคลอด เกิดอุปัทวเหตุปิดช่องปิตรูในทำนองเดียวกัน จะนั่งนอนหรือยืนค้างคาประตูไม่ได้ จะขึ้นลงกระได ต้องขึ้นลงรวดเดียว จะหยุดพักค้างคากลางกระไดไม่ได้ เหตุที่ห้ามเหล่านี้ เห็นได้ง่ายว่าทำไมจึงห้าม และมักจะถือกันมาก เวลานอนต้องนอนตะแคงข้าง ห้ามนอนหงาย ว่าเด็กจะเบ่งให้ท้องแตก สอบถามผู้ที่เขาเคยมีท้อง เขาบอกว่านอนหงาย จะรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย
เวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสให้เอาเข็มเย็บผ้ากลัดชายพกไว้ว่า เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกที่เกิดมาเป็นคนตาเหล่ หรือมีร่างกายหน้าตาพิกลพิการ มีปากแหว่งเป็นอย่างพระอาทิตย์พระจันทร์เวลาคราส เป็นต้น คติที่เชื่อถือนี้คล้ายคลึงกับคติของชาวอินเดียที่นับถือลัทธิศาสนาอิสลาม เขาถือว่าเวลามีจันทรคราส เป็นคราวปีศาจกินดวงจันทร์ ห้ามหญิงมีครรภ์หรือญาติพี่น้องกินอะไรไม่ได้ในขณะนั้น สูบบุหรี่ก็ไม่ได้ เพราะเป็นเวลาพวกผีกำลังออกมาพลุกพล่าน ยิ่งกว่านี้ ถ้ากินหมากพลูในเวลานั้น ลูกที่คลอดจะมีใบหูพับอย่างใบพลู (พลูแขกเวลากินใช้พับ ไม่ใช้จีบเหมือนของเรา) จะบิดหรือตัดอะไร ก็ไม่ได้ เพราะจะทำให้เด็กที่เกิดมามีนิ้วพิการหรือริมฝีปากเจ่อ (Crooke’s Northern India, p. 203) ทำไมจึงใช้เข็มกลัดไว้ที่ชายพก จะว่ากันตาเหล่ ก็ไม่เข้าใจ ดีร้ายจะเป็นเรื่องป้องกันผีซึ่งแขกเขาว่าเวลานั้นผีกำลังออกมา พลุกพล่าน และอะไรที่ผีกลัวไม่เท่ากับเหล็กมีคม
อันเป็นคติที่เชื่อกันอยู่มากชาติ ดังเล่าไว้ที่อื่นแล้ว (ดูในเรื่อง ประเพณี เนื่องในการตาย) เรื่องป้องกันไม่ให้เด็กที่เกิดมาเป็นพิการ ของเรายังมีห้าม ไม่ให้คนทุพพลภาพและคนขี้เหร่เดินกรายมาข้างหลังคนมีท้อง เพราะเกรงว่าจะติดต่อเป็นเช่นนั้นแก่เด็กในท้องด้วย
ห้ามหญิงมีครรภ์ลูบตัวในเวลากลางคืน เพราะถือว่าเวลาคลอด จะปวดน้ำคร่ำมากหรือคลอดเป็นแฝดนํ้า ถ้าจำเป็นต้องอาบนํ้า ก็ควรแก้ผ้าอาบนํ้า จึงจะไม่เป็นไร ผู้หญิงแต่ก่อนไม่ใคร่อาบนํ้าบ่อยๆ อย่างดีก็ลูบตัวแทน ลูบตัวในที่นี้ ไม่ใช่มีความหมายว่าลูบตัวตรงๆ แต่เป็นเรื่องเอานํ้ารด ร่างกายตอนบนให้เปียก ส่วนร่างกายตอนล่างซึ่งมีผ้านุ่ง ไม่ให้ถูกนํ้าเปียก เวลาจะลูบตัว ให้ถลกชายผ้านุ่งขึ้นสูงอย่างหยักรั้ง โค้งหลังให้มาก แล้วเอานํ้าในภาชนะรดลงไปให้พอดีกลางหลัง ถ้าโค้งหลังไม่มากหรือราดนํ้าไม่ตรงกลางหลังพอดี นํ้าอาจไหลลงไปเปียกผ้านุ่งได้ เรื่องลูบตัวแทนอาบนํ้าทั้งตัว เดี๋ยวนี้ไม่ใคร่มีใครทำกัน ผิดกว่าเมื่อก่อนซึ่งยังนิยมทำกันอยู่ เรื่องจะเกิดจากไม่อยากผลัดผ้านุ่งบ่อยๆ หรืออยู่ในลักษณะที่ซึ่งไม่มีผ้าจะผลัด และต้นเหตุเดิมอาจเป็นเพราะอัตคัดนํ้า ต้องออมนํ้าไว้ใช้เพราะไม่มีภาชนะเช่น ตุ่มไหไว้เพียงพอ ถ้าจะต้องอาบก็ต้องไปที่ตีนท่าตีนนํ้า มืดๆ ค่ำๆ มองไม่ค่อยเห็น อาจหกล้มหรือเป็นอันตรายจากสัตว์ร้ายก็ได้ จึงไม่ให้อาบนํ้าเวลากลางคืน นี่เป็นนึกเอาตามสภาพความเป็นอยู่ของถิ่นชนบท ซึ่งในครั้งดั้งเดิม จะเป็นเช่นนี้มาก่อน
เรื่องห้ามหญิงมีครรภ์ไม่ให้อาบนํ้าหรือลูบตัวในเวลากลางคืน ไม่มีแต่คติของเรา ต่างชาติเท่าที่ทราบมาก็มีห้ามเหมือนกัน เช่นตามคติของญวน ก็ห้ามอาบนํ้าในเวลากลางคืนว่า จะทำให้ร่างกายของหญิงมีครรภ์เย็นจัดไป เวลาคลอดจะคลอดไม่ไต้ง่าย คติของอินเดีย นอกจากห้ามอาบนํ้ายังห้ามสยายผม เวลานอนห้ามหนุนศีรษะให้สูง หรือนอนให้ศีรษะอยู่ต่ำก็ไม่ได้ เรื่องห้ามอาบน้ำนี้ ตามที่มีผู้เล่าให้ฟังว่า ชาวบ้านในลางท้องถิ่นของเรา (เสียใจที่จำไม่ได้ว่าเป็นท้องถิ่นใด) ในวันสิ้นเดือนหญิงมีครรภ์ควรหาช่องทางเปลือยกายอาบนํ้าในเวลากลางคืน แต่ระวังอย่าให้ใครเห็น ถ้าเห็นจะเป็นอย่างไร ผู้เล่าไม่ให้เหตุผล ว่าถ้าทำไต้อย่างนี้จะคลอดง่าย คติเรื่องเปลือยกายนี้แปลก ถือกันว่าผีกลัวมาก เห็นจะเป็นพวกผีที่มีวัฒนธรรมเช่นถ้าจะไปเก็บใบยามารักษาโรค ผู้เก็บต้องเปลือยกายเข้าไป อย่าให้เงาทับต้นยา ถ้าผีสิงอยู่บนต้นไม้ทำอาการหลอนหลอก ต้องเปลือยกายเอาผ้าและหญ้าคาไปผูกไว้ที่ต้นไม้นั้น เวลาเข้าไปผูกให้กลั้นใจ ผูกแล้วผีจะลงจากต้นไม้ มาหลอนหลอกอีกต่อไปไม่ได้
หญิงมีครรภ์ต้องหางานออกแรงกำลัง เซ่นหาบนํ้าตำข้าวเป็นต้น ซึ่งเป็นหน้าที่และงานตามปกติของหญิงในชนบท ทั้งนี้เพื่อให้ท้องหลวม และไม่ให้ทารกในครรภ์อ้วนมากและโตจนเกินไป จะคลอดยาก นี่ก็ตรงกับ คติของญวนที่แนะนำให้ทำงานหนักเป็นทำนองเดียวกัน นอกนี้เขามีห้ามไม่ให้เอื้อมมือจนสุดแขน ว่าทารกอยู่ในครรภ์จะดูดสายสะดือไม่ได้สะดวก เพราะสายรกจะร่นขึ้นไปสูง และห้ามไม่ให้ตอกตรึงตะปูเหมือนคติของเรา แต่มีกว้างออกไป ห้ามจนกระทั่งคนอื่นที่อยู่ในบ้านเดียวกันว่าจะทำให้ทารกในครรภ์มีร่างกายพิการได้
เรื่องข้อห้ามของเรา ไม่ให้หญิงมีครรภ์ตกปลาฆ่าสัตว์และกล่าวเท็จ เห็นจะต้องการให้มีใจบริสุทธิ์ เป็นทำนองเดียวกับของอินเดีย ที่ให้กล่าวแต่คำที่เป็นสิริมงคลและทำพลีบูชาตามลัทธิ นี่กีเป็นการดี กล่าวกันว่าจะทำให้หญิงมีครรภ์มีผิวพรรณผุดผ่องและมีใจสบาย ดังในเรื่อง ขุนช้างขุนแผน แห่งหนึ่งกล่าวว่า
จะกล่าาถึงทองประสีมีครรภ์แก่ งามแท้เผ้าผมก็สมหน้า
ผิวพรรณดั่งสุวรรณมาทาบทา ดวงหน้าดั่งดวงจันทร์เมื่อวันเพ็ง
แก้มทั้งสองข้างดั่งปรางทอง เต้านมทั้งสองก็ครัดเคร่ง
ผิวเนื้อเป็นนวลควรแลเล็ง ดูปลั่งเปล่งหน้าชมสมพอตัว
จำศีลภาวนาเป็นเนืองนิตย์ น้อมจิตนบนิ้วขึ้นเหนือหัว
ภาวนาบูชาด้วยดอกบัว ไม่กลัวที่จะเป็นอันตราย
ข้อความที่นำมาอ้างนี้ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนแต่ก่อนว่า หญิงมีครรภ์ควรปฏิบัติตนอย่างไร นอกนี้ยังนำเอาดอกบัวที่บูชาพระมาต้มกินเมื่อเวลาท้องแก่ ถือว่าเป็นยาครรภ์รักษา เพื่อให้ทารกมีร่างกายแข็งแรง และป้องกันอาเจียนของมารดาซึ่งเกิดจากอาการแพ้ท้อง ลางทีเขานำเอาดอกบัวไปให้พระสงฆ์ลงคุณพระหรือเสกเป่า อย่างนี้ยังมีถือและทำกันอยู่ในทุกวันนี้ เป็นเรื่องเชื่อมั่นในพระพุทธคุณ หนุนใจให้บังเกิดศรัทธา มีอารมณ์ผ่องใส ช่วยได้มากเหมือนกัน ถ้าจะให้ดีเอาเกสรบัวหลวงกับเทียนดำห่อผ้าเป็นลูกประคบต้มกับนํ้ามะพร้าวอ่อน ก็เป็นยาครรภ์รักษาได้โดยตรง นํ้ามะพร้าวมีคุณสมบัติลางอย่างสำหรับบำรุงครรภ์คนแต่ก่อนใช้มาแล้วเห็นคุณ จึงได้ถือเป็นตำรากันมา คนสมัยนี้อาจไม่เห็นด้วย แต่ที่ไม่เห็นด้วย ใช่ว่าท่านได้พิสูจน์แยกธาตุหรือวิเคราะห์สิ่งที่มีอยู่ในนํ้ามะพร้าวว่ามีแร่ธาตุอะไรบ้างก็หาไม่ เมื่อยังไม่ได้พิสูจน์ให้ถ่องแท้ตามหลักวิทยาศาสตร์ ก็ยังลง ความเห็นเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดให้เด็ดขาดไปไม่ได้ เมื่อเร็วๆ นี้ อ่านพบใน หนังสือพิมพ์ฝรั่งฉบับหนึ่งว่า นํ้ามะพร้าวมีอะไรลางอย่างอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นเครื่องเลี้ยงทารกในท้องได้เป็นอย่างดี
ยังมีคติเกี่ยวกับเวลามีครรภ์อีกอย่างหนึ่ง คือถ้าจะให้เลี้ยงลูกง่าย หญิงมีครรภ์ต้องหาโอกาสลอดท้องช้าง แต่ต้องเสือกช้างที่มีเมตตาจิต ลอดท้องช้างแล้วลูกที่ออกมาจะเลี้ยงง่าย จะด้วยเหตุผลกลไรไม่ทราบชัด แต่ก็ประหลาด ที่การเชื่อถือตามทำนองนี้มีคล้ายคลึงกันอยู่หลายชาติ เช่น ชาวอาหรับและอิหร่านถือว่าหญิงมีครรภ์ได้ลอดท้องอูฐแล้วจะคลอดลูกง่าย ฝรั่งชาวบ้านในประเทศสวีเดน ถ้าต้องการให้คลอดลูกง่าย ต้องไปลอด โพรงคนรู คือช่องสุมทุมพุ่มไม้ ลางทีก็ลอดรูใต้ก้อนหิน หรือลอดวงเหล็กที่รัดถัง ถือจนกระทั่งเด็กเจ็บ ก็ให้เด็กลอดท้องสัตว์หรือลอดโพรงเสีย ๓ ครั้ง ก็หายเจ็บ
นอกจากคติความเชื่อถือเป็นอย่างกระจุกกระจิกดังกล่าวมานี้ มีเรื่องที่จำเป็นต้องกระทำอยู่อย่างหนึ่งคือ ต้องฝากท้องกับหมอตำแย เสียเงินค่าฝากท้องเป็นทำนองเงิน ค่ามัดจำ ตามธรรมเนียม กึ่งตำลึงหรือตำลึงหนึ่ง คือ ๒ บาท หรือ ๔ บาท หรือจะมากน้อยกว่านี้เท่าใดก็ตามเรื่อง แล้วแต่ฐานะของผู้ฝากและท้องถิ่น เมื่อฝากท้องแล้ว ถ้ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เกี่ยวกับเรื่องครรภ์ ก็ไปตามหมอตำแยมาช่วยเหลือได้ไม่ว่าเวลาไร ตามปกติมักเป็นเรื่องมาผืนท้อง คือเอามือช้อนท้องเพื่อฝืนเด็กไม่ให้ดำต่ำลงต่ำ เพราะจะทำให้ผู้มีครรภ์เดินไม่สะดวกด้วยเด็กลงมาถ่วงต่ำอยู่
หญิงมีครรภ์มักมีอาการอยากกินของแปลกๆ โดยมากมักเป็นสิ่งของที่มนุษย์เขาไม่กินกันเป็นปกติ อาการที่มีขึ้นอย่างนี้เรียกว่าแพ้ท้อง อันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงประสาทในร่างกาย เป็นไปในทางจิตวิทยา กระทำให้อยากกินของเปรี้ยวจัดเค็มจัดหรือของแปลกๆ ผิดปกติไปชั่วคราวหนึ่ง และมีอาการคลื่นเหียนอาเจียนบ่อยๆ นี่กล่าวตามความเห็นของแพทย์ในปัจจุบัน อาจสอบถามดูได้ อาการแพ้ท้องนั้น ลางทีอยากกินกระเดียดไปทางข้างตะกละ จะเป็นเพราะแกล้งทำเป็นพูดว่าอยากกิน หรือว่าคนมีท้องอยากกินจริงๆ ก็ไม่ทราบ เพราะเรื่องเก็งใจผู้หญิงนั้น เก็งยากนัก จะยกตัวอย่างเรื่องแพ้ท้องในหนังสือเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ขึ้นมากล่าว ดังต่อไปนี้
จะกล่าวถึงนางเทพทอง ท้องนั้นโตใหญ่ขึ้นคํ้าหน้า
ลุกนั่งอึดอัดถัดไปมา ให้อยากเหล้าเนื้อพล่าตัวสั่นรัว
น้ำลายไหลรี่ดังผีกระสือ ร้องไห้ครางฮืออ้อนวอนผัว
เหมือนหนึ่งตาหลวงเข้าประจำตัว ยิ่งให้กินตล:ยั่วยิ่งเป็นไป
ปลาไหลไก่กบทั้งเต่าฝา แย้บึ่งอึ่งนาไม่พอไส้
หยิบคำโตๆ โม้เข้าไป ประเดี๋ยวเหล้าสิ้นไหไม่ซื้อทัน
ของแปลกที่คนแพ้ท้องชอบกิน มี ขี้ไต้ ดินสอหิน ดินสอพอง ข้าวสาร ดินเผา (ดินเลนเอามาแผ่ตากผึ่งแดดแล้วเผา) เป็นต้น ดินสอหินนั้นแต่ก่อนเห็นมีกองขายกันตามร้าน (เคยเห็นที่เสาชิงช้า ภายหลังเห็นมีขายที่สะพานหัน) บัดนี้ไม่เห็นสะดุดตาอีก เห็นจะหมดสมัยแฟชั่นเลิกกินกันแล้ว ดินสอหินอย่างนี้ไม่ใช่แท่งเล็กเรียวยาว อย่างที่เด็กนักเรียนเขียนบนกระดานชนวนแต่เป็นดินสอดินชนิดหนึ่ง สีเหลืองนวลและยุ่ย สำหรับใช้เขียนบนกระดานดำ และสมุดดำอย่างชอล์ก ถ้าเป็นชนิดดี เรียกว่าดินสอแม่หม้าย เพราะเขียนได้ง่ายไม่ต้องแตะนํ้าลายบ่อยๆ เพื่อให้ยุ่ยเขียนออก หญิงลางคนเมื่อแพ้ท้อง ให้มีอาการคลื่นเหียนและเหม็นสาบผัวของตัวเอง ผัวเข้าใกล้ไม่ได้ ต้องไปนอนเสียต่างหาก หรือมิฉะนั้นต้องนอนหลีกให้ห่างเสียจากกันขืนเข้าใกล้ได้ กลิ่นเหม็นสาบก็เกิดอาการคลื่นเหียน แปลกมากอยู่
ในคัมภีร์ พรหมจินดา กล่าวถึงอาการแพ้ท้องไว้ว่า
ถ้ามารดาอยากกินมัจฉมังษา เนื้อ ปลา และ สิ่งของสดคาว ท่านว่าสัดว์นรกมาปฏิสนธิ
ถ้าอยากกินนํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย นํ้าดาล ท่านว่ามาแต่สวรรค์ลงมาเกิด
ถ้าอยากกินสรรพผลไม้ ท่านว่าดิรัจฉานมาปฏิสนธิ
ถ้าอยากกินดิน ท่านว่าพรหมลงมาปฏิสนธิ (เพราะพรหมลงมากินง้วนดิน)
ถ้าอยากกินสิ่งเผ็ดร้อน ท่านว่ามนุษย์ลงมาปฏิสนธิ
เห็นจะเป็นด้วยคดิที่ว่าอยากกินดิน ท่านว่าพรหมมาปฏิสนธิ จึงทำให้หญิงแต่ก่อนอยากกินดินสอหินและดินเผา พรหมจะได้ลงมาเกิดเป็นลูกตน อนึ่ง ระหว่างที่มีครรภ์ต้องประคับประคองบำรุงรักษาลูกในท้อง แม้อยากกินอาหารที่เผ็ดร้อนซึ่งเป็นของที่ชอบใจก็ต้องอด งดเว้นไม่บริโภค จะนั่งนอนหรือเคลื่อนย้ายเดินไปมา ก็ระวังร่างกายไว้ให้ดี อย่าให้มีหกล้ม กระทบกระเทือนจนเกินไป ทั้งนี้เพื่อให้บุตรในครรภ์ไม่เจ็บป่วยเป็นอันตราย ด้วยเหตุต่างๆ
เมื่อครรภ์แก่ย่างเข้าเดือนที่ ๗ ที่ ๘ หนังท้องรอบสะดือจะยืดและงํ้าปิดรูสะดือ ถ้างํ้าบนเรียกว่าสะดือคว่ำ ถ้างํ้าล่างเรียกว่าสะดือหงาย หญิงใดสะดือหงาย ทายว่าลูกในครรภ์จะเป็นชาย ถ้ามีสะดือคว่ำจะเป็นหญิง เห็นจะเป็นทายเอาตามลักษณะที่คว่ำหงาย มีครรภ์แก่ในระยะนี้ท้องจะยื่น โย้ออก หนังท้องตึงมาก จึงต้องมียาทาท้องเพื่อกันคราก ว่าเป็นเพราะเด็กในครรภ์เติบโตขึ้น ถ่วงหนังท้องตึงจนริคราก ยานั้นใช้เปลือกลูกมะตูมตากแห้ง ฝนกับนํ้าปูนใสในฝาละมี หญิงลางคนมีลายขาวเป็นทางๆ ที่ท้อง ว่าเป็นเพราะท้องครากเนื่องจากคลอดลูก นอกจากยาทาท้อง ยังมีการถีบหน้าขา ว่าจะให้เส้นตะเกียบหย่อน จะได้คลอดง่ายแล้วยังต้องกินยาครรภ์ รักษาดังกล่าวมาแล้วด้วย
ตอนท้องแก่ชายผู้เป็นสามีจะต้องไปตัดฟืนมาไว้ สำหรับให้ภรรยา อยู่ไฟในเมื่อคลอดลูกแล้ว คนอื่นไปตัดแทนไม่ได้ท่านห้าม ฟืนนั้นให้เลือกเอาไม้สะแกหรือไม้มะขาม และต้องเป็นฟืนท่อนโตๆ ที่เลือกแต่ไม้สองชนิดนี้ เพราะในลางท้องถิ่นมีขึ้นอยู่ตามป่าละเมาะ หาได้ไม่ยาก และว่าไม้สองอย่างนี้เมื่อไหม้เป็นถ่านแล้วมีขึ้เถ้าน้อย ไม่รบกวนทำความรำคาญให้มาก ถ้าเป็นท้องถิ่นอื่นซึ่งไม่มีไม้สองชนิดนี้ อาจเปลี่ยนเป็นไม้อื่นแล้ว แต่ความคุ้นเคยจัดเจนกันมา ตัดเอาแล้วบั่นทอนเป็นท่อนดีแล้ว ให้เอามาตั้งสุมไว้ในที่สมควร ลางท้องถิ่นมีคติถือว่าการตัดฟืนสำหรับอยู่ไฟนั้น ควรจะตัดเวลาใกล้กำหนดคลอดหรือในราวเดือนที่ ๘ นับแต่เดือนตั้งครรภ์และชนิดของฟืนนอกจากเป็นไม้สะแกหรือไม้มะขาม ควรจะมีไม้ทองหลางด้วย แต่ไม้ทองหลางนั้นเขาว่าเป็นควันมาก เห็นจะใส่ไฟพอเป็นพิธี ที่ให้ใช้ไม้ทองหลางด้วย ว่าอยู่ไฟไม้ทองหลางกันปวดมดลูกและแก้พิษเลือด แต่ถ้าเป็นท้องสาวให้ใช้ฟืนไม้เบญจพรรณ ว่าจะได้คุ้นกับการอยู่ไฟด้วยไม้ต่างๆ ได้ดี เมื่อคลอดลูกคนหลังๆ การตัดฟืนถือกันว่าเป็นเสี่ยงทาย ถ้าตัดไม้ฟืนเป็นขนาดยาว ลูกที่เกิดมาจะเป็นชาย ถ้าตัดเป็นขนาดสั้นจะได้ลูกเป็นผู้หญิง นื่ก็เป็นเรื่องทายเอาตามลักษณะสั้นยาว เข้าทำนองเดียวกับเรื่องสะดือหงาย สะดือคว่ำ เวลารวมฟืนให้เป็นกองก็เหมือนกัน ถ้ากองฟืนตรงกลางเห็นนูนสูงขึ้น เด็กจะเป็นชาย ถ้ากลางไม่นูนคือราบเป็นปกติ เด็กจะเป็นหญิง เป็นเรื่องเสี่ยงทายมาตะเภาเดียวกัน
ตามคติของมอญ จะต้องตัดฟืนสำหรับอยู่ไฟในเดือนที่ ๗ และที่ ๘ จะลงมือตัดในเดือนที่ ๗ ในวันสิ้นเดือนวันเดียวก็ได้ ถึงจะตัดไว้ไม่ได้พอก็ไม่เป็นไร เอาเคล็ดว่าได้เริ่มตัดในเดือน ๗ เท่านี้ก็พอ นอกนั้นจะตัดต่อไปในเดือน ๘ ก็ได้ ที่ให้ตัดในเวลาใกล้กำหนดคลอด ว่าต้องการไม้ที่ยังสดอยู่ เพราะจะได้มีทั้งไฟและควัน (แต่ของไทย ใช้ฟืนหมาดๆ ไม่สดไม่แห้งนัก ด้วยต้องการไม่ให้ไหม้เร็ว และให้เป็นถ่านไม่ต้องการให้เป็นควันมาก) เวลาตัดไม้ต้นแรก ต้องให้ต้นล้มราบลงกับดิน อย่าให้ไม้ล้มไปพาดค้างอยู่กับไม้อื่นหรือสิ่งไร มิฉะนั้นจะใช้เป็นฟืนอยู่ไฟไม่ได้ (เพราะมันไปค้างอยู่ จะลามปามติดต่อมาถึงการ คลอดลูกด้วย) (Haliday’s The Talaing p.55)
คติที่กำหนดให้สามีเป็นผู้ตัดฟืนเอง เห็นจะสืบมาแต่ดั้งเดิม เมื่อยังไม่มีการจ้างออนหรือซื้อหากัน และเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่ต้องถึงกับ บอกแขกแบกหาม ครอบครัวใครก็ต้องทำของตนเองพึ่งตนเอง ครั้นในระยะ ต่อมา แม้จะจ้างให้ใครไปตัดหรือซื้อหาฟืนได้สะดวกแล้ว ผู้ที่ถือคติเดิม เคร่งครัด ยังปฏิบัติอยู่ก็มี นับว่าเป็นการดีเหมือนกัน เป็นเครื่องแสดงนํ้าใจ ของคู่ผัวตัวเมียให้เห็น ภรรยาผู้มีครรภ์ก็คงสบายใจ แต่คตินี้ถ้าว่าในท้องถิ่น ที่หาฟืนยาก หรือเป็นสมัยที่เจริญก้าวหน้ามาแล้ว ก็เห็นจะมีผู้ยังดื้อถืออยู่น้อยคน เพราะหมดประโยชน์แห่งความจำเป็นและพ้นสมัยแล้ว ขืนพระพฤติ ก็เป็นเรื่องลำบาก ไม่ก้าวหน้า และไม่เหมาะแก่สมัย
กองฟืนที่ตั้งสุมไว้ ต้องเอาหนามพุทราสะ (มอญใช้หนามไผ่) ว่า เป็นเครื่องป้องกันผี เวลาตัดให้ว่าคาถาดังนี้
นโมพุทฺธตสฺส เมื่อถึงคำว่า ตัส ให้เอามีดตัดทันที (คาถาบทนี้ต้องการเคล็ดเอาเสียงของคำที่คล้ายคลึงกัน คือ นโม = หนาม พุทธตัสสะ = พุทรา) อย่างไรก็ดี ที่เอาหนามสะกองฟืนไว้เป็นการดี นอกจากป้องกันผี ยังป้องกันสัตว์และพวกเด็กๆ ที่ซนขึ้นไปเหยียบย่ำทำให้ กองฟืนทลายลง ทำไมต้องใช้หนามพุทราสะ จะใช้หนามชนิดอื่นไม่ได้ หรือ ตอบว่า เห็นจะได้เหมือนกัน แต่หนามพุทราหาง่าย มีขึ้นอยู่ตามป่าและในที่ทั่วไป เลยเหมาเอาว่า มีชื่อเป็นมงคลนาม ดั่งแจ้งอยู่ข้างบนนี้ด้วย
ข้อใหญ่ใจความของการสะหนามอยู่ที่เรื่องกันผี ถ้ายิ่งเป็นผีกระสือด้วยแล้ว เป็นกลัวหนามมากกว่าผีชนิดอื่น เพราะผีกระสือนั้นกล่าวกันว่าเป็นคนๆ เรานี่เอง โดยมากมักเป็นผู้หญิงมีอายุ เวลากลางคืนเดือนมืดตอนดึกสงัด ใครๆ กำลังหลับนอนกันหมดแล้ว หญิงที่เป็นกระสือจะออกเที่ยวหากิน ถอดแต่หัวและตับไตไส้พุงออกจากร่างไปเท่านั้น เมื่อไปถึงที่ไหน จะเห็นเป็นไฟ มีแสงเรืองๆ เขียวๆ วาบๆ วามๆ เป็นดวงโต สิ่งที่ผีกระสือ ชอบกินคือของสดคาวและคูถ ยิ่งมีหญิงคลอดลูกใหม่ๆ และมีเด็กแดงๆ ด้วย ผีกระสือเป็นชอบนัก มักหาโอกาสเข้าไปสิงอยู่ในท้องหญิง แล้วกินเครื่องใน คือ ตับไตไส้พุงของหญิงและทารกอย่างอร่อย เหตุนี้คนที่ผอมแห้งเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกหรือผลไม้ เช่น กล้วยลูกเล็กๆ แฟบๆ ไม่สู้มีเนื้อ จึงเรียกว่าคนกระสือดูด หรือกล้วยกระสือดูด เรื่องเอาหนามสะกันมันไว้ จะต้องสะตลอดจนใต้ถุนรุนช่องที่มีร่องมีรูด้วย เพราะผีกระสือไปไหนลากเอาไส้พุงของมันไปด้วย ถ้าขืนฝ่าหนามเข้าไป เป็นถูกหนามเกี่ยวไส้พุงเอาไว้ เพราะฉะนั้นมันจึงกลัวหนามนัก เมื่อผีกระสือกินของที่มันชอบกินตามปกติ คือคูถเสร็จแล้วปากมันก็เปื้อนเปรอะ ถ้าเห็นผ้าของใครตากหรือพาด ห้อยทิ้งไว้ในเวลาค่ำคืนนอกห้องเรือน มันก็เอาผ้านั้นเช็ดปากของมันเสีย ถ้ารุ่งเช้าเห็นผ้าที่ตากทิ้งไว้เป็นรอยเปื้อนสีแดงตุ่นๆ เป็นวงกลมๆ อยู่ตามผ้า ก็รู้ว่าถูกผีกระสือเช็ด ถ้าอยากจะรู้ว่าใครเป็นผีกระสือ ให้เอาผ้าที่เปื้อนนี้ต้ม หญิงที่เป็นผีกระสือจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนปาก ทนไม่ไหว ต้องมาขอซื้อผ้าผืนนั้นไป ผ้าที่ถูกผีกระสือเช็ดเป็นวงกลมๆ นี้ มักเป็นในหน้าฝน เหตุเกิดเพราะผ้าชื้นไม่ได้แดดเกิดเป็นราขึ้น ถ้าผึ่งแดดนานๆ วงนั้นก็หายไปเอง ที่บอกว่ากระสือมันเช็ดปาก ก็เป็นการดี จะได้ระวังไม่ทิ้งผ้าไว้ให้ตากนํ้าค้างจนขึ้นราเสียหาย
คนเป็นกระสือนั้น ว่าตายยากตายเย็นนัก เวลาจะตายต้องทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนั้น ไม่ตายได้ง่ายๆ จนกว่าลูกหลานคนใดรับทายาทเป็นผีกระสือต่อไป โดยรับเอานํ้าลายของกระสือบ้วนใส่ให้ คนที่เป็นผีกระสือจึงจะตายได้ เรื่องนํ้าลายนี้แปลก มันถือกันว่าเป็นของขลังหรือของอะไรในลักษณะนั้นอย่างชอบกล ทางภาคอีสานถือกันว่าถ้าคนเป็นผีปอบถ่มนํ้าลายรดถูกใคร ผู้นั้นจะต้องเป็นผีปอบ จำพวกเดียวกับผีกระสือของภาคนั้น ข้าพเจ้าเมื่อเด็กเคยอยู่ในถิ่นที่มีผีกระสือชุกชุม เป็นถิ่นที่มีพวกเชื้อมอญเชื้อทวายอยู่มาก เคยได้ยินได้ฟังเรื่องผีกระสืออยู่บ่อยๆ ที่ข้างบ้านข้าพเจ้ามียายแก่คนหนึ่ง นอนเจ็บอยู่นาน ชาวบ้านเขาว่าแกเป็นผีกระสือ ตายยากนัก เพราะไม่มีลูกหลานคนใดรับนํ้าลายเป็นผีกระสือต่อไป ข้าพเจ้ากลัวจนไม่กล้ากลํ้ากราย ลํ้าเข้าไปเล่นซนในบริเวณบ้านของแก ต่อมาแกก็ตาย จะเป็นเพราะมีใครรับเป็นทายาทหรือไม่ ข้าพเจ้าไม่ทราบ แต่จำเรื่องได้แม่น จึงนำมาเล่าไว้ในที่นี้ด้วย พอดีมาเมื่อเร็วๆ นี้ ยายแก่คนหนึ่งเคยอยู่บ้านข้าพเจ้ามาตั้งแต่ยังสาวมาหาข้าพเจ้าจึงถือโอกาสถามแกถึงเรื่องนี้ แกบอกว่ายายแก่ผีกระสือคนนั้นไม่มีลูกหลานรับเป็นทายาทกระสือ จึงต้องให้แมวรับแทน คือเอานํ้าลายของแกไปป้ายที่แมว แกจึงได้ตาย สนุกดี
ท่านผู้ใหญ่เคยปรารภเรื่องผีกระสือให้ข้าพเจ้าฟังว่า อันชื่อว่ากระสือนี้ชอบกล โลกถือเอาแสงสว่างโดยจำเพาะเป็นกระสือ เช่น หนอนกระสือ โคมกระสือ เป็นต้น และเพราะรู้กันอยู่ว่ากระสือนั้นมีแต่ตัวเมียจึงจัดขึ้นให้ มีตัวผู้ด้วยเรียกว่ากระหาง แต่ที่พูดกันก็เป็นตลกให้เห็นเป็นขึ้นอยู่ในตัวว่า เอากระด้งทำปีกเอาสาก (ตำข้าว) ทำหาง ตามที่ว่านั้นที่เป็นครึ่งคนครึ่งนก แต่ครั้นทำรูปครึ่งนกเข้าจริงกลับเรียกว่า อรหันต์ ข้อนี้ก็ประหลาด ทำไม จึงเอาชื่อผู้สำเร็จมีฌาน เป็นด้น มาใช้เรียกชื่อโสโครกเช่นนั้นก็ไม่ทราบ
ทางภาคพายัพ สะหนามอย่างเดียวยังไม่ไว้ใจ เขายังล้อมเป็นรั้วที่ใด้ถุนเรือนตรงห้องที่คลอดลูกด้วย ล้อมแล้วเอาเรียวหนามไปสะไว้รอบๆ ในห้องคลอดบนเรือนก็วงล้อมด้วยสายสิญจน์ แขวนผ้าประเจียดเลขยัญไว้ทุกทิศ แล้วยังเอาร่างแหขึงเพดานเป็นอย่างรูปมีจอมแห ที่ทำแข็งแรงเช่นนี้ว่ากันผีโพง (เห็นจะเป็นผีโพลง คือมีแสงโพลงอย่างผีกระสือ) มันมักเจาะพื้น เรือน (เห็นจะเป็นพื้นฟาก) ขึ้นมาดูดเลือดของคนคลอดลูกตรงที่นอน มันชอบกินเลือดตรงขั้วหัวใจของแม่ลูกอ่อนที่กำลังอยู่ไฟ และมันสามารถจำแลงตัวเป็นแมว หมู นก หรืออะไรก็ได้ จึงต้องระวังกันอย่างแข็งแรง
วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555
กรดไขมันจำเป็นกับการเจริญเติบโตในระยะเริ่มต้น
พัฒนาการของร่างกายที่กำลิบเจริญเติบโตซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับกรดไขมันจำเป็นชนิดต่างๆ (Essential Fatty Acids หรือ EFAs) มี 2 ระบบที่สำคัญ คือระบบประสาท (เช่น เซลล์ประสาทในสมอง) แล:ดวงตา โดยกรดไขมันจำเป็นชนิดต่างๆ เป็นส่วนปร:กอบที่สำคัญในผนังเซลล์ของเซลล์ที่เพิ่งเกิดใหม่ (Membrane Cell] มีผลช่วยให้อวัยวะต่างๆ เหล่านั้นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
กรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexa-enoic acid, DHA) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโครงสร้างที่ถูกต้องของเซลล์โฟโตรีเซ็พเตอร์ (เซลล์ที่ทำหน้าที่รับแสงสว่างทุกเฉดสีและถ่ายทอดต่อไปยังสมอง) กระบวนการนี้ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม หากร่างกายได้รับกรดไขมันดีเอชเอในปริมาณที่ไม่พอเพียงในระยะสำคัญของการเจริญเติบโต การพัฒนาของเซลล์เมมเบรนและอวัยวะต่างๆ อาจบกพร่องได้ มีงานวิจัยที่เฉพาะเจาะจงกับทารกในวัยกำลังเจริญเติบโต แสดงให้เห็นว่ากรดไขมันดีเอชเอมีความสำคัญเพียงใดต่อการเจริญเติบโตเป็นปกติของร่างกาย
น้ำนมมารดาอุดมไปต้วยกรดไขมันจำเป็นหลากหลายชนิด เด็กทารกที่ได้ดี่มนมมารดาจะได้รับกรดไขมันดีเอชเอ (DHA) และกรดไขมันเอเอ (AA) จากมารดาในปริมาณที่พอเพียง (Arachidonic Acid หรือ AA เป็นกรดไขมันจำเป็นที่สำคัญอย่างยิ่งอีกชนิดหนึ่งต่อการ เจริญเติบโตในระยะเริ่มต้น) แต่มีข้อแนะนำประการหนึ่งในที่นี้คือ ผู้ เป็นมารดาจะต้องได้รับหรือผลิตสารอาหารที่สำคัญเหล่านี้ให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยด้วยเช่นกัน ซึ่งแหล่งของกรดไขมัน ดีเอชเอที่หาไต้ง่ายและดีที่สุดก็คือกรดไขมันจากปลานั่นเอง
งานวิจัยที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งของมหาวิทยาลัยบริสทอลในประเทศอังกฤษ ได้ทำการทดลองโดยจัดโภชนาการที่อุดมไปด้วย กรดไขมันจากปลาให้แก่สตรีมีครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ รายงานการวิจัยพบว่าสตรีที่ได้รับประทานกรดไขมันจากปลาในระหว่างการตั้งครรภ์ให้กำเนิดบุตรที่มีพัฒนาการด้านการมองเห็นดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ ทั้งนี้ จากการตรวจวัดระดับความชัดเจนต้านการมองเห็นเมื่อเด็กมีอายุ 3 ปี โดยมีเด็กเข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งหมด 435 คน พบว่าเด็กที่ตอบสนอง ต่อการมองเห็นได้ดีที่สุดคือเด็กที่ผู้เป็นมารดาไต้รับกรดไขมันจากปลาอย่างน้อยเดีอนละสองครั้ง
นักวิจัยยังได้สังเกตพบว่าเด็กที่ได้ดื่มนมมารดานานอย่างน้อย 4 เดือนหลังถือกำเนิดจากครรภ์ เป็นเด็กที่มีพัฒนาการด้านการมองเห็นดีกว่าอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้ตั้งข้อสังเกตไว้อีกว่าน่าจะมีความแตกต่างหลายประการระหว่างนํ้านมมารดาและนมผงสำเร็จรูป และพัฒนาการด้านการมองเห็นของเด็กจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในกรณีที่มารดาซึ่งให้นมบุตรมีระดับกรดไขมันดีเอชเอในเลือดในปริมาณสูง ตลอดจนบริโภคกรดไขมันจากปลาในปริมาณมากด้วยเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกหลายเรื่องที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของกรดไขมันจำเป็นชนิดต่างๆ ที่มีต่อทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย และกระบวนการรับรู้ของทารกที่ดี่มนมผงสำเร็จรูป โดยให้เด็กทารกได้รับนมผงสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป รวมทั้งนมผงสำเร็จรูปชนิดเพิ่มกรดไขมันดีเอชเอและกรดไขมันเอเอ แต่การทดลองยังให้ผลคละกันไป เนื่องจากบางรายงานระบุว่ากรดไขมันดีเอชเอและเอเอช่วยในการพัฒนากระบวนการรับรู้และทักษะการ เคลื่อนไหวของทารก แต่บางรายงานสรุปว่ากรดไขมันทั้งสองชนิดนี้ไม่มีผลใดๆ ต่อพัฒนาการด้านกระบวนการรับรู้ในเด็กทารกที่ครบกำหนดคลอด แต่จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด ยกตัวอย่างจากทารกจำนวน 470 คนที่คลอดก่อนกำหนด พบว่านมผงสำเร็จรูปที่เพิ่มกรดไขมันดีเอชเอ 0.16% และ กรดไขมันเอเอ 0.42% ช่วยให้ทารกมีพัฒนาการด้านทักษะการ เคลื่อนไหวและประสิทธิภาพในการมองเห็นที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่ได้รับนมผงสำเร็จรูปชนิดไม่ผสมกรดไขมัน
ในประเด็นดังกล่าวนี้ งานวิจัยที่โดดเด่นอย่างมากชึ่งถูกตีพิมพ์ ในปี 1998 แสดงให้เห็นว่าทารกที่ได้รับนมผสมสูตรเพิ่มกรดไขมันจำเป็นชนิดต่างๆ (กรดไขมันดีเอชเอ 0.15% ถึง 0.25% + กรดไขมันเอเอ 0.2% ถึง 0.3%) ในทารกอายุ 10 เดือนเมื่อได้รับนมสูตรนี้เป็นระยะเวลา 4 เดือนแรก ทารกมีทักษะในการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น
ยังไม่มีงานวิจัยทางคลินิกใดๆ ที่บ่งชี้ถึงปริมาณที่แน่นอนของกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่จำเป็นต่อการพัฒนาที่สมบูรณ์ของทารกในครรภ์มารดา อย่างไรก็ตาม มีข้อสรุปประการหนึ่งที่หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าหากสตรีในระยะตั้งครรภ์และระหว่างให้นมบุตร บริโภคปลาในปริมาณที่เพียงพอ (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งหรือ 1 เซิร์ฟวิ่ง) ทารกก็จะได้รับสารอาหารที่สำคัญเหล่านี้จากมารดาในปริมาณที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
พัฒนาการของร่างกายที่กำลิบเจริญเติบโตซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับกรดไขมันจำเป็นชนิดต่างๆ (Essential Fatty Acids หรือ EFAs) มี 2 ระบบที่สำคัญ คือระบบประสาท (เช่น เซลล์ประสาทในสมอง) แล:ดวงตา โดยกรดไขมันจำเป็นชนิดต่างๆ เป็นส่วนปร:กอบที่สำคัญในผนังเซลล์ของเซลล์ที่เพิ่งเกิดใหม่ (Membrane Cell] มีผลช่วยให้อวัยวะต่างๆ เหล่านั้นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
กรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexa-enoic acid, DHA) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโครงสร้างที่ถูกต้องของเซลล์โฟโตรีเซ็พเตอร์ (เซลล์ที่ทำหน้าที่รับแสงสว่างทุกเฉดสีและถ่ายทอดต่อไปยังสมอง) กระบวนการนี้ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม หากร่างกายได้รับกรดไขมันดีเอชเอในปริมาณที่ไม่พอเพียงในระยะสำคัญของการเจริญเติบโต การพัฒนาของเซลล์เมมเบรนและอวัยวะต่างๆ อาจบกพร่องได้ มีงานวิจัยที่เฉพาะเจาะจงกับทารกในวัยกำลังเจริญเติบโต แสดงให้เห็นว่ากรดไขมันดีเอชเอมีความสำคัญเพียงใดต่อการเจริญเติบโตเป็นปกติของร่างกาย
น้ำนมมารดาอุดมไปต้วยกรดไขมันจำเป็นหลากหลายชนิด เด็กทารกที่ได้ดี่มนมมารดาจะได้รับกรดไขมันดีเอชเอ (DHA) และกรดไขมันเอเอ (AA) จากมารดาในปริมาณที่พอเพียง (Arachidonic Acid หรือ AA เป็นกรดไขมันจำเป็นที่สำคัญอย่างยิ่งอีกชนิดหนึ่งต่อการ เจริญเติบโตในระยะเริ่มต้น) แต่มีข้อแนะนำประการหนึ่งในที่นี้คือ ผู้ เป็นมารดาจะต้องได้รับหรือผลิตสารอาหารที่สำคัญเหล่านี้ให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยด้วยเช่นกัน ซึ่งแหล่งของกรดไขมัน ดีเอชเอที่หาไต้ง่ายและดีที่สุดก็คือกรดไขมันจากปลานั่นเอง
งานวิจัยที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งของมหาวิทยาลัยบริสทอลในประเทศอังกฤษ ได้ทำการทดลองโดยจัดโภชนาการที่อุดมไปด้วย กรดไขมันจากปลาให้แก่สตรีมีครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ รายงานการวิจัยพบว่าสตรีที่ได้รับประทานกรดไขมันจากปลาในระหว่างการตั้งครรภ์ให้กำเนิดบุตรที่มีพัฒนาการด้านการมองเห็นดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ ทั้งนี้ จากการตรวจวัดระดับความชัดเจนต้านการมองเห็นเมื่อเด็กมีอายุ 3 ปี โดยมีเด็กเข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งหมด 435 คน พบว่าเด็กที่ตอบสนอง ต่อการมองเห็นได้ดีที่สุดคือเด็กที่ผู้เป็นมารดาไต้รับกรดไขมันจากปลาอย่างน้อยเดีอนละสองครั้ง
นักวิจัยยังได้สังเกตพบว่าเด็กที่ได้ดื่มนมมารดานานอย่างน้อย 4 เดือนหลังถือกำเนิดจากครรภ์ เป็นเด็กที่มีพัฒนาการด้านการมองเห็นดีกว่าอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้ตั้งข้อสังเกตไว้อีกว่าน่าจะมีความแตกต่างหลายประการระหว่างนํ้านมมารดาและนมผงสำเร็จรูป และพัฒนาการด้านการมองเห็นของเด็กจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในกรณีที่มารดาซึ่งให้นมบุตรมีระดับกรดไขมันดีเอชเอในเลือดในปริมาณสูง ตลอดจนบริโภคกรดไขมันจากปลาในปริมาณมากด้วยเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกหลายเรื่องที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของกรดไขมันจำเป็นชนิดต่างๆ ที่มีต่อทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย และกระบวนการรับรู้ของทารกที่ดี่มนมผงสำเร็จรูป โดยให้เด็กทารกได้รับนมผงสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป รวมทั้งนมผงสำเร็จรูปชนิดเพิ่มกรดไขมันดีเอชเอและกรดไขมันเอเอ แต่การทดลองยังให้ผลคละกันไป เนื่องจากบางรายงานระบุว่ากรดไขมันดีเอชเอและเอเอช่วยในการพัฒนากระบวนการรับรู้และทักษะการ เคลื่อนไหวของทารก แต่บางรายงานสรุปว่ากรดไขมันทั้งสองชนิดนี้ไม่มีผลใดๆ ต่อพัฒนาการด้านกระบวนการรับรู้ในเด็กทารกที่ครบกำหนดคลอด แต่จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด ยกตัวอย่างจากทารกจำนวน 470 คนที่คลอดก่อนกำหนด พบว่านมผงสำเร็จรูปที่เพิ่มกรดไขมันดีเอชเอ 0.16% และ กรดไขมันเอเอ 0.42% ช่วยให้ทารกมีพัฒนาการด้านทักษะการ เคลื่อนไหวและประสิทธิภาพในการมองเห็นที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่ได้รับนมผงสำเร็จรูปชนิดไม่ผสมกรดไขมัน
ในประเด็นดังกล่าวนี้ งานวิจัยที่โดดเด่นอย่างมากชึ่งถูกตีพิมพ์ ในปี 1998 แสดงให้เห็นว่าทารกที่ได้รับนมผสมสูตรเพิ่มกรดไขมันจำเป็นชนิดต่างๆ (กรดไขมันดีเอชเอ 0.15% ถึง 0.25% + กรดไขมันเอเอ 0.2% ถึง 0.3%) ในทารกอายุ 10 เดือนเมื่อได้รับนมสูตรนี้เป็นระยะเวลา 4 เดือนแรก ทารกมีทักษะในการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น
ยังไม่มีงานวิจัยทางคลินิกใดๆ ที่บ่งชี้ถึงปริมาณที่แน่นอนของกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่จำเป็นต่อการพัฒนาที่สมบูรณ์ของทารกในครรภ์มารดา อย่างไรก็ตาม มีข้อสรุปประการหนึ่งที่หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าหากสตรีในระยะตั้งครรภ์และระหว่างให้นมบุตร บริโภคปลาในปริมาณที่เพียงพอ (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งหรือ 1 เซิร์ฟวิ่ง) ทารกก็จะได้รับสารอาหารที่สำคัญเหล่านี้จากมารดาในปริมาณที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
เลือด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชีวิต (8) ดัชนีบ่งชี้การทำงานของไต
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลือด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชืวิต ตอนที่ 8 นี้ เป็น ภาคต่อของการวิเคราะห์ดัชนีบ่งชี้การทำงานของไต ซึ่งตอนที่แล้วมีการบอกกล่าวกันไปเกี่ยวกับรายการ ตรวจวิเคราะห์บียูเอ็นและครีอะตินิน สำหรับในตอนนี้ เราจะมาคุยกันถึงแง่มุมเสริมสำหรับการตรวจในรายละเอียดบางรายการเพิ่มเติม และอย่างที่เกริ่นไว้ในฉบับที่แล้วว่า เราจะมาขยายความถึงรายการตรวจวิเคราะห์ปริมาณกรดยูริคกันว่า ทำไมรายการนี้บางครั้งถึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับการวิเคราะห์การทำงานของไต แต่ในใบขอตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการของบางแห่งอาจแยกรายการนี้เป็นรายการเดี่ยวออกมา
ตอนที่แล้วมีการพูดถึงค่าปกติ และความสัมพันธ์เชิงสัดส่วนระหว่างค่าของบียูเอ็นและครีอะตินีนในเลือดไปแล้ว ตอนนี้ขอเสริมข้อมูลที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับ การประเมินสภาวะการทำงานของไต ซึ่งเรียกว่าการดูค่า Creatinine clearance คือ เป็นการวิเคราะห์ความสามารถ หรืออัตราเร็วฃองไตในการขับออกหรือการกำจัดสารครีอะตินีนออกมาในปัสสาวะ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ค่าครีอะตินีน โดยตรงจากการเก็บปัสสาวะในระยะเวลา 24 ชั่วโมง หรือ หากไม่สามารถกระทำได้ อาจใช้วิธีการคำนวณจากสูตรที่ อาศัยค่าของอายุ นํ้าหนัก และระดับครีอะตินีนในเลือดก็ได้ ที่กล่าวถึงตัวนี้เพราะมีความสำคัญ ถึงแม้ว่ารายการนี้ไม่ได้ เป็นหัวข้อของการเจาะตรวจเลือดและการตรวจประเมิน สภาวะสุขภาพตามปกติ แต่รายการตรวจนี้เป็นการวิเคราะห์ เพื่อแสดงความสมบูรณ์ของไตได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งท่าน ผู้อ่านอาจจำชื่อไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจวิเคราะห์ รวมทั้ง เพื่อการสื่อสารทำความเข้าใจกับแพทย์ที่ทำการตรวจรักษา ก็ได้ครับ
มารู้จักกันเกี่ยวกับกรดยูริคกันสักนิดครับ กรดยูริค เกิดจากสารพิวรีนที่เป็นองค์ประกอบของดีเอ็นเอในนิวเคลียสของเซลล์ทุกชนิด เช่น เซลล์ร่างกายของเราที่มีการเสื่อมสลายในแต่ละวัน และเซลล์ต่างๆ จากอาหาร ทั้งนี้ ระดับกรดยูริคในกระแสเลือดจะถูกควบคุมอย่างสมดุล โดยที่ประมาณการว่า 2 ใน 3 ของกรดยูริคในร่างกายจะถูกขับออกทางไต และส่วนที่เหลือจะขับออกทางนํ้าลาย น้ำดี นํ้าย่อย หรือถูก สลายในลำไส้ผ่านการช่วยเหลือของจุลินทรีย์บ้าง โดยค่าปกติของระดับกรดยูริคในเลือดสำหรับผู้ชายและผู้หญิง จะอยู่ระหว่าง 3.4 - 7.0 และ 2.4 - 5.7 มิลลิกรัมต่อปริมาณเลือด 100 มิลลิลิตร ตามลำดับ (ในใบรายงานผลเลือด จะใช้สัญลักษณ์เป็นมิลลิกรัมต่อเดซิลิตร; mg/ dL)
หากท่านผู้อ่านไปรับบริการตรวจระดับกรดยูริคในเลือดจากโรงพยาบาล หรือคลินิกเทคนิคการแพทย์แล้ว พบว่า ค่าที่ได้นั้นสูงเกินเกณฑ์ ซึ่งสาเหตุที่ระดับกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น อาจมาจาก
1) การรับประทาน อาหารที่มิพิวรีนสูงและในปริมาณที่มาก เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ยอดผัก หน่อไม้ กระถิน รวมถึง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (เบียรและไวน์) อีกด้วย
2) การที่ร่างกายมีความลามารถในการควบคุมสมดุลของกรดยูริคลดลงไป ทั้งจากกรรมพันธุ์เอง มีการติดเชื้อ หรือการเป็นมะเร็งบางชนิด รวมไปถึง
3) อาจมาจากภาวะการทำงานของไตที่ผิดปกติจากโรคต่าง ๆ และผลจากการใช้ยาบางประเกท ซึ่งผลพวงจากการมีระดับกรดยูริคในเลือดสูงขึ้นนั้น อาจนำไปสู่การเป็นโรคบางโรค เช่น โรคเก๊าต์ได้ เนื่องจากโรคเก๊าต์ เกิดจากภาวะที่กรดยูริคมีปริมาณสูงเกินจนนำไปสู่การ สะสมในข้อโดยเป็นผลึกรูปเข็ม ส่งผลทำให้เกิดอาการ อักเสบของข้อแบบเฉียบพลัน แต่อยากเรียนให้ทุกท่านทราบไว้ว่า ไม่จำเป็นว่าภาวะกรดยูริคในเลือดสูงจะต้องเป็นโรคเก๊าต์เสมอไปนะครับ (ซึ่งท่านผู้อ่านที่สนใจเนื้อหาเกี่ยวกับโรคเก๊าต์สามารถติดตามบทความ ย้อนหลังในคอลัมน์ Body focus ฉบับเดือนสิงหาคม และกันยายน 2553 ได้นะครับ)
เอาล่ะครับ หลังจากที่พอรู้จักกันเกี่ยวกับกรดยูริคบ้างแล้ว คราวนี้กลับมาประเด็นที่ว่า ทำไม รายการตรวจนี้บางครั้งถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับการวิเคราะห์สภาวะการทำงานของไตได้ เนื่องจาก หากมีปัญหาการทำงานของไตที่ผิดปกติ ส่งผลทำให้การขับออกกรดยูริคผิดปกติ จึงมีระดับคั่งค้างในเลือดได้ แต่การตรวจกรดยูริคนี้จะไม่นิยมตรวจเพื่อเป็นการบ่งชี้การทำงานของไตโดยตรง เนื่องจาก มีความผิดปกติ หรือปัจจัยอื่น ๆ หลายประการที่มีผลทำให้ระดับ กรดยูริคในเลือดสูง โดยไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับไต ก็ได้ ดังนั้น รายการตรวจที่ใช้กันจริงๆ ก็คือ การ ตรวจบียูเอ็น และครีอะตินีนจากในเลือด รวมทั้งการ วิเคราะห์ค่า Creatinine, clearance ที่กล่าวถึงข้างต้น รวมถึงยังสามารถวิเคราะห์ร่วมกับผลของระดับโปรตีน และอัลบูมินในเลือด การตรวจหาเม็ดเลือด และอัลบูมินในปัสสาวะอีกด้วย
จากที่เราทราบข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์ การทำงานของไตกันไปแล้ว ก็หวังว่า ท่านผู้อ่านทุกท่านคงให้ความใส่ใจกับอวัยวะที่สำคัญมากคู่นี้กันให้ มากขึ้นนะครับ จะทานอาหารชนิดไหน จะเติมเครื่องปรุงอะไร จะดื่มเครื่องดื่ม หรือบริโภคอะไร ก็ควร คำนึงถึงว่า ไตของเราต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นหรือเปล่า อยากให้อวัยวะนี้อยู่รับใช้เราไปนานๆ เราก็ต้อง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหมั่นตรวจเช็คประเมิน สภาวะสุขภาพกันอยู่เสมอ ก็จะเป็นแนวทางให้พวกเรา สามารถดูแลและวางแผนการสร้างเสริมสุขภาพของ พวกเราให้ดีไปได้ตลอดกันนะครับ
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลือด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชืวิต ตอนที่ 8 นี้ เป็น ภาคต่อของการวิเคราะห์ดัชนีบ่งชี้การทำงานของไต ซึ่งตอนที่แล้วมีการบอกกล่าวกันไปเกี่ยวกับรายการ ตรวจวิเคราะห์บียูเอ็นและครีอะตินิน สำหรับในตอนนี้ เราจะมาคุยกันถึงแง่มุมเสริมสำหรับการตรวจในรายละเอียดบางรายการเพิ่มเติม และอย่างที่เกริ่นไว้ในฉบับที่แล้วว่า เราจะมาขยายความถึงรายการตรวจวิเคราะห์ปริมาณกรดยูริคกันว่า ทำไมรายการนี้บางครั้งถึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับการวิเคราะห์การทำงานของไต แต่ในใบขอตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการของบางแห่งอาจแยกรายการนี้เป็นรายการเดี่ยวออกมา
ตอนที่แล้วมีการพูดถึงค่าปกติ และความสัมพันธ์เชิงสัดส่วนระหว่างค่าของบียูเอ็นและครีอะตินีนในเลือดไปแล้ว ตอนนี้ขอเสริมข้อมูลที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับ การประเมินสภาวะการทำงานของไต ซึ่งเรียกว่าการดูค่า Creatinine clearance คือ เป็นการวิเคราะห์ความสามารถ หรืออัตราเร็วฃองไตในการขับออกหรือการกำจัดสารครีอะตินีนออกมาในปัสสาวะ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ค่าครีอะตินีน โดยตรงจากการเก็บปัสสาวะในระยะเวลา 24 ชั่วโมง หรือ หากไม่สามารถกระทำได้ อาจใช้วิธีการคำนวณจากสูตรที่ อาศัยค่าของอายุ นํ้าหนัก และระดับครีอะตินีนในเลือดก็ได้ ที่กล่าวถึงตัวนี้เพราะมีความสำคัญ ถึงแม้ว่ารายการนี้ไม่ได้ เป็นหัวข้อของการเจาะตรวจเลือดและการตรวจประเมิน สภาวะสุขภาพตามปกติ แต่รายการตรวจนี้เป็นการวิเคราะห์ เพื่อแสดงความสมบูรณ์ของไตได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งท่าน ผู้อ่านอาจจำชื่อไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจวิเคราะห์ รวมทั้ง เพื่อการสื่อสารทำความเข้าใจกับแพทย์ที่ทำการตรวจรักษา ก็ได้ครับ
มารู้จักกันเกี่ยวกับกรดยูริคกันสักนิดครับ กรดยูริค เกิดจากสารพิวรีนที่เป็นองค์ประกอบของดีเอ็นเอในนิวเคลียสของเซลล์ทุกชนิด เช่น เซลล์ร่างกายของเราที่มีการเสื่อมสลายในแต่ละวัน และเซลล์ต่างๆ จากอาหาร ทั้งนี้ ระดับกรดยูริคในกระแสเลือดจะถูกควบคุมอย่างสมดุล โดยที่ประมาณการว่า 2 ใน 3 ของกรดยูริคในร่างกายจะถูกขับออกทางไต และส่วนที่เหลือจะขับออกทางนํ้าลาย น้ำดี นํ้าย่อย หรือถูก สลายในลำไส้ผ่านการช่วยเหลือของจุลินทรีย์บ้าง โดยค่าปกติของระดับกรดยูริคในเลือดสำหรับผู้ชายและผู้หญิง จะอยู่ระหว่าง 3.4 - 7.0 และ 2.4 - 5.7 มิลลิกรัมต่อปริมาณเลือด 100 มิลลิลิตร ตามลำดับ (ในใบรายงานผลเลือด จะใช้สัญลักษณ์เป็นมิลลิกรัมต่อเดซิลิตร; mg/ dL)
หากท่านผู้อ่านไปรับบริการตรวจระดับกรดยูริคในเลือดจากโรงพยาบาล หรือคลินิกเทคนิคการแพทย์แล้ว พบว่า ค่าที่ได้นั้นสูงเกินเกณฑ์ ซึ่งสาเหตุที่ระดับกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น อาจมาจาก
1) การรับประทาน อาหารที่มิพิวรีนสูงและในปริมาณที่มาก เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ยอดผัก หน่อไม้ กระถิน รวมถึง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (เบียรและไวน์) อีกด้วย
2) การที่ร่างกายมีความลามารถในการควบคุมสมดุลของกรดยูริคลดลงไป ทั้งจากกรรมพันธุ์เอง มีการติดเชื้อ หรือการเป็นมะเร็งบางชนิด รวมไปถึง
3) อาจมาจากภาวะการทำงานของไตที่ผิดปกติจากโรคต่าง ๆ และผลจากการใช้ยาบางประเกท ซึ่งผลพวงจากการมีระดับกรดยูริคในเลือดสูงขึ้นนั้น อาจนำไปสู่การเป็นโรคบางโรค เช่น โรคเก๊าต์ได้ เนื่องจากโรคเก๊าต์ เกิดจากภาวะที่กรดยูริคมีปริมาณสูงเกินจนนำไปสู่การ สะสมในข้อโดยเป็นผลึกรูปเข็ม ส่งผลทำให้เกิดอาการ อักเสบของข้อแบบเฉียบพลัน แต่อยากเรียนให้ทุกท่านทราบไว้ว่า ไม่จำเป็นว่าภาวะกรดยูริคในเลือดสูงจะต้องเป็นโรคเก๊าต์เสมอไปนะครับ (ซึ่งท่านผู้อ่านที่สนใจเนื้อหาเกี่ยวกับโรคเก๊าต์สามารถติดตามบทความ ย้อนหลังในคอลัมน์ Body focus ฉบับเดือนสิงหาคม และกันยายน 2553 ได้นะครับ)
เอาล่ะครับ หลังจากที่พอรู้จักกันเกี่ยวกับกรดยูริคบ้างแล้ว คราวนี้กลับมาประเด็นที่ว่า ทำไม รายการตรวจนี้บางครั้งถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับการวิเคราะห์สภาวะการทำงานของไตได้ เนื่องจาก หากมีปัญหาการทำงานของไตที่ผิดปกติ ส่งผลทำให้การขับออกกรดยูริคผิดปกติ จึงมีระดับคั่งค้างในเลือดได้ แต่การตรวจกรดยูริคนี้จะไม่นิยมตรวจเพื่อเป็นการบ่งชี้การทำงานของไตโดยตรง เนื่องจาก มีความผิดปกติ หรือปัจจัยอื่น ๆ หลายประการที่มีผลทำให้ระดับ กรดยูริคในเลือดสูง โดยไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับไต ก็ได้ ดังนั้น รายการตรวจที่ใช้กันจริงๆ ก็คือ การ ตรวจบียูเอ็น และครีอะตินีนจากในเลือด รวมทั้งการ วิเคราะห์ค่า Creatinine, clearance ที่กล่าวถึงข้างต้น รวมถึงยังสามารถวิเคราะห์ร่วมกับผลของระดับโปรตีน และอัลบูมินในเลือด การตรวจหาเม็ดเลือด และอัลบูมินในปัสสาวะอีกด้วย
จากที่เราทราบข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์ การทำงานของไตกันไปแล้ว ก็หวังว่า ท่านผู้อ่านทุกท่านคงให้ความใส่ใจกับอวัยวะที่สำคัญมากคู่นี้กันให้ มากขึ้นนะครับ จะทานอาหารชนิดไหน จะเติมเครื่องปรุงอะไร จะดื่มเครื่องดื่ม หรือบริโภคอะไร ก็ควร คำนึงถึงว่า ไตของเราต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นหรือเปล่า อยากให้อวัยวะนี้อยู่รับใช้เราไปนานๆ เราก็ต้อง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหมั่นตรวจเช็คประเมิน สภาวะสุขภาพกันอยู่เสมอ ก็จะเป็นแนวทางให้พวกเรา สามารถดูแลและวางแผนการสร้างเสริมสุขภาพของ พวกเราให้ดีไปได้ตลอดกันนะครับ
เลือด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชีวิต (14) ดัชนีบ่งชี้สมดุลของแร่ธาตุ
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา
คณะเทคนิคการเ[พทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตอนนี้ จะขอแนะนำรายการตรวจทางห้องปฎิบัติการเทคนิคการแพทย์ ในอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ก็คือ ดัชนีบ่งชี้สมดุล ของแร่ธาตุในร่างกาย ที่เรียกว่า อิเลกโตรไลต์ (Electrolytes) กัน นะครับ คำว่า “อิเลกโตรไลต์’’ คือ สารที่เมื่อละลายอยู่ในนํ้า หรืออยู่ในเลือด จะแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้าหรือที่เรียกว่าไอออน (Ion) โดยหากแตกตัวแล้วให้ประจุเป็นบวก เช่น Na+ (โซเดียมไอออน) K+ (โปแตสเชียมไอออน) Mg2+ (แมกนีเซียมไอออน) Ca2+ (แคลเซียมไอออน) หรือให้ประจุเป็นลบ ได้แก่ Cl- (คลอไรด์ไอออน) HC03- (ไบคาร์บอเนต) ซึ่งหากในสารละลายนั้นมีปริมาณประจุบวกและ ลบเท่าๆ กัน จะทำให้สารละลายนั้นสามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ โดยร่างกายของเราจะได้รับอิเลกโตรไลต์เหล่านี้โดยส่วนมากจาก อาหารแล้วถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งหน้าที่หลักๆ ของอิเลกโตรไลต์ ได้แก่ การควบคุมความดันออสโมติก (Osmotic pressure) ในหลอดเลือด รวมถึงควบคุมการกระจายตัว ของนํ้าไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อสร้างสภาวะสมดุล นอกจากนั้น ยังทำหน้าที่ในการควบคุมภาวะกรด-ด่างของร่างกาย ในขณะที่อิเลกโตรไลต์บางตัวยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ชนิดต่างๆ รวมทั้งการเสริมสร้างระบบการทำงานของหัวใจและการยืดหดตัวของกล้ามเนื้ออีกด้วย หากร่างกายขาดแร่ธาตุหรืออิเลกโตรไลต์ชนิดต่างๆ ก็จะมีผลต่อการทำงานของเซลล์ และส่งผลต่อสภาวะทางสุขภาพและโรคภัยต่างๆ ตามมาได้ ดังนั้น ร่างกายจึงมีกระบวนการควบคุมสมดุลของอิเลกโตรไลต์ผ่านทางฮอร์โมนชนิดต่างๆ อาทิ ฮอร์โมนเรนิน (Renin) ซึ่งผลิตจากไต ฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (Aldosterone) ผลิตจากต่อมอะดรีนัล (Adrenal gland) ฮอร์โมนแอนตี้ไดยูเรติก (Antidiuretic hormone;ADH) ผลิตจากต่อมพิทูอิทารี (Pituitary gland) และฮอร์โมนแองจิโอเทนซิน (Angiotensin) ที่มีการสั่งการมาจากอวัยวะต่างๆ เช่น สมองหรือหัวใจ ซึ่งหากมีแร่ธาตุชนิดใดตํ่าหรือสูงเกินไปจนจะเกิดอันตราย ร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนเหล่านี้ออกมา เพื่อปรับสภาวะจนมีค่าอิเลกโตรไลต์เข้าสู่สมดุลปกติต่อไป
สำหรับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์ระดับอิเลกโตรไลต์นั้น จะเห็นว่า จากใบขอตรวจจะมีรายการตรวจมากถึง 8 รายการนะครับ ซึ่งเราก็จะมาว่ากันต่อในรายละเอียดเป็นกลุ่มย่อยๆ กัน ขอเริ่มจากกลุ่มย่อยแรกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องรู้จักกันไว้ จะมีด้วยกัน 4 รายการ คือ โซเดียม (Na+) โปแตสเซียม (K+) คลอไรด์ (Cl-) และคาร์บอนไดออกไซด์ (C02) หรือเรียกว่า ไบคาร์บอเนต (HC03-) ก็ได้นะครับ โดยการตรวจวิเคราะห์หาอิเลกโตรไลตํโดยทั่วไป จะเป็นการตรวจ Na+ K+ Cl- และ HC03- ควบคู่กัน เนื่องจาก อิเลกโตรไลต์เหล่านี้ จะอยู่ในร่างกายในลักษณะที่สมดุลกัน ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงระดับของตัวใดตัวหนึ่ง ก็จะมีผลทำให้ตัวอื่นเปลี่ยนแปลงไปด้วย เอาล่ะครับ เรามาเริ่ม ทำความรู้จักกันเกี่ยวกับอิเลกโตรไลต์ตัวแรก คือ โซเดียม (Na+) กันก่อนนะครับ โดยโซเดียมนั้นจัดเป็นสารอิเลกโตรไลต์สำคัญที่ มีปริมาณมากกว่าอิเลกโตรไลต์ชนิดอื่นโดยปริมาณของโซเดียมประมาณร้อยละ 40 จะเป็นส่วนประกอบในรูปสารประกอบเชิงซ้อน ของโครงสร้างกระดูกและฟัน (ซึ่งโดยส่วนใหญ่ไม่อยู่ในรูปที่สามารถแลกเปลี่ยนกับแหล่งอื่นๆ ได้) ในขณะที่อีกร้อยละ 50 และ 10 จะอยู่ ในนํ้าภายนอกเซลล์และภายในเซลล์ ตามลำดับนั่นก็หมายความ ว่า โซเดียมมีความเข้มข้นสูงที่สุดภายนอกเซลล์และมีคุณสมบัติ ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้น้อย จึงมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยปรับแรง ดันออสโมติก และควบคุมการกระจายตัวของนํ้าในส่วนต่างๆ เพื่อ ป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียนํ้ามากเกินไป โดยในแต่ละวัน เราจะได้รับ โซเดียมจากอาหารและแร่ธาตุต่างๆ ในปริมาณที่มากเกินพอ เช่น จากนํ้าปลา ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง แหนม นํ้าพริกกะปิ เป็นต้น โดยโซเดียมเกือบทั้งหมดจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วที่บริเวณลำไล้เล็กส่วนต้น ในขณะที่การขับออกโซเดียมส่วนใหญ่จะผ่านทางปัสสาวะ จะมีการขับออกทางเหงื่อและอุจจาระอยู่บ้าง ทั้งนี้ในภาวะปกติ ไต เป็นอวัยวะที่สำคัญในการควบคุมระดับโซเดียมจากที่ได้รับจาก อาหารและการขับออกให้ใกล้เคียงกัน โดยจะมีการดูดกลับโซเดียม ที่บริเวณไตด้วย ค่าปกติของระดับโซเดียมจะอยู่ในช่วงประมาณ 137 - 145 mmol/L (หน่วยนี้เรียกว่า มิลลิโมลต่อปริมาณเลือด 1 ลิตรนะครับ ในขณะที่อาจมีการรายงานในลักษณะอื่นที่เรียกว่า mEq/L หรือมิลลิอิควิวาเลนต์ต่อลิตรก็ได้ เนื่องจากอิเลกโตรไลต์มี การแตกตัวเป็นประจุ จึงมีการนำค่าประจุมาใช้ในการคิดคำนวณ ด้วย)
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา
คณะเทคนิคการเ[พทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตอนนี้ จะขอแนะนำรายการตรวจทางห้องปฎิบัติการเทคนิคการแพทย์ ในอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ก็คือ ดัชนีบ่งชี้สมดุล ของแร่ธาตุในร่างกาย ที่เรียกว่า อิเลกโตรไลต์ (Electrolytes) กัน นะครับ คำว่า “อิเลกโตรไลต์’’ คือ สารที่เมื่อละลายอยู่ในนํ้า หรืออยู่ในเลือด จะแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้าหรือที่เรียกว่าไอออน (Ion) โดยหากแตกตัวแล้วให้ประจุเป็นบวก เช่น Na+ (โซเดียมไอออน) K+ (โปแตสเชียมไอออน) Mg2+ (แมกนีเซียมไอออน) Ca2+ (แคลเซียมไอออน) หรือให้ประจุเป็นลบ ได้แก่ Cl- (คลอไรด์ไอออน) HC03- (ไบคาร์บอเนต) ซึ่งหากในสารละลายนั้นมีปริมาณประจุบวกและ ลบเท่าๆ กัน จะทำให้สารละลายนั้นสามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ โดยร่างกายของเราจะได้รับอิเลกโตรไลต์เหล่านี้โดยส่วนมากจาก อาหารแล้วถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งหน้าที่หลักๆ ของอิเลกโตรไลต์ ได้แก่ การควบคุมความดันออสโมติก (Osmotic pressure) ในหลอดเลือด รวมถึงควบคุมการกระจายตัว ของนํ้าไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อสร้างสภาวะสมดุล นอกจากนั้น ยังทำหน้าที่ในการควบคุมภาวะกรด-ด่างของร่างกาย ในขณะที่อิเลกโตรไลต์บางตัวยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ชนิดต่างๆ รวมทั้งการเสริมสร้างระบบการทำงานของหัวใจและการยืดหดตัวของกล้ามเนื้ออีกด้วย หากร่างกายขาดแร่ธาตุหรืออิเลกโตรไลต์ชนิดต่างๆ ก็จะมีผลต่อการทำงานของเซลล์ และส่งผลต่อสภาวะทางสุขภาพและโรคภัยต่างๆ ตามมาได้ ดังนั้น ร่างกายจึงมีกระบวนการควบคุมสมดุลของอิเลกโตรไลต์ผ่านทางฮอร์โมนชนิดต่างๆ อาทิ ฮอร์โมนเรนิน (Renin) ซึ่งผลิตจากไต ฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (Aldosterone) ผลิตจากต่อมอะดรีนัล (Adrenal gland) ฮอร์โมนแอนตี้ไดยูเรติก (Antidiuretic hormone;ADH) ผลิตจากต่อมพิทูอิทารี (Pituitary gland) และฮอร์โมนแองจิโอเทนซิน (Angiotensin) ที่มีการสั่งการมาจากอวัยวะต่างๆ เช่น สมองหรือหัวใจ ซึ่งหากมีแร่ธาตุชนิดใดตํ่าหรือสูงเกินไปจนจะเกิดอันตราย ร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนเหล่านี้ออกมา เพื่อปรับสภาวะจนมีค่าอิเลกโตรไลต์เข้าสู่สมดุลปกติต่อไป
สำหรับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์ระดับอิเลกโตรไลต์นั้น จะเห็นว่า จากใบขอตรวจจะมีรายการตรวจมากถึง 8 รายการนะครับ ซึ่งเราก็จะมาว่ากันต่อในรายละเอียดเป็นกลุ่มย่อยๆ กัน ขอเริ่มจากกลุ่มย่อยแรกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องรู้จักกันไว้ จะมีด้วยกัน 4 รายการ คือ โซเดียม (Na+) โปแตสเซียม (K+) คลอไรด์ (Cl-) และคาร์บอนไดออกไซด์ (C02) หรือเรียกว่า ไบคาร์บอเนต (HC03-) ก็ได้นะครับ โดยการตรวจวิเคราะห์หาอิเลกโตรไลตํโดยทั่วไป จะเป็นการตรวจ Na+ K+ Cl- และ HC03- ควบคู่กัน เนื่องจาก อิเลกโตรไลต์เหล่านี้ จะอยู่ในร่างกายในลักษณะที่สมดุลกัน ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงระดับของตัวใดตัวหนึ่ง ก็จะมีผลทำให้ตัวอื่นเปลี่ยนแปลงไปด้วย เอาล่ะครับ เรามาเริ่ม ทำความรู้จักกันเกี่ยวกับอิเลกโตรไลต์ตัวแรก คือ โซเดียม (Na+) กันก่อนนะครับ โดยโซเดียมนั้นจัดเป็นสารอิเลกโตรไลต์สำคัญที่ มีปริมาณมากกว่าอิเลกโตรไลต์ชนิดอื่นโดยปริมาณของโซเดียมประมาณร้อยละ 40 จะเป็นส่วนประกอบในรูปสารประกอบเชิงซ้อน ของโครงสร้างกระดูกและฟัน (ซึ่งโดยส่วนใหญ่ไม่อยู่ในรูปที่สามารถแลกเปลี่ยนกับแหล่งอื่นๆ ได้) ในขณะที่อีกร้อยละ 50 และ 10 จะอยู่ ในนํ้าภายนอกเซลล์และภายในเซลล์ ตามลำดับนั่นก็หมายความ ว่า โซเดียมมีความเข้มข้นสูงที่สุดภายนอกเซลล์และมีคุณสมบัติ ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้น้อย จึงมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยปรับแรง ดันออสโมติก และควบคุมการกระจายตัวของนํ้าในส่วนต่างๆ เพื่อ ป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียนํ้ามากเกินไป โดยในแต่ละวัน เราจะได้รับ โซเดียมจากอาหารและแร่ธาตุต่างๆ ในปริมาณที่มากเกินพอ เช่น จากนํ้าปลา ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง แหนม นํ้าพริกกะปิ เป็นต้น โดยโซเดียมเกือบทั้งหมดจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วที่บริเวณลำไล้เล็กส่วนต้น ในขณะที่การขับออกโซเดียมส่วนใหญ่จะผ่านทางปัสสาวะ จะมีการขับออกทางเหงื่อและอุจจาระอยู่บ้าง ทั้งนี้ในภาวะปกติ ไต เป็นอวัยวะที่สำคัญในการควบคุมระดับโซเดียมจากที่ได้รับจาก อาหารและการขับออกให้ใกล้เคียงกัน โดยจะมีการดูดกลับโซเดียม ที่บริเวณไตด้วย ค่าปกติของระดับโซเดียมจะอยู่ในช่วงประมาณ 137 - 145 mmol/L (หน่วยนี้เรียกว่า มิลลิโมลต่อปริมาณเลือด 1 ลิตรนะครับ ในขณะที่อาจมีการรายงานในลักษณะอื่นที่เรียกว่า mEq/L หรือมิลลิอิควิวาเลนต์ต่อลิตรก็ได้ เนื่องจากอิเลกโตรไลต์มี การแตกตัวเป็นประจุ จึงมีการนำค่าประจุมาใช้ในการคิดคำนวณ ด้วย)
วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555
เลือด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชีวิต (13) ดัชนีบ่งชี้การทำงานของหัวใจ
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สำหรับตอนนี้ เราจะมาว่ากันถึงรายการตรวจที่ใช้ในการบ่งชี้การทำงานของหัวใจ ที่เรียกว่า Cardiac profile กันนะครับ ซึ่งจากใบขอส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการจะเห็นมีรายการหลักที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม คือ ครีเอตีนไคเนส (Creatine kinase; CK หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ครีเอตีน ฟอลโฟไคเนส Creatine Phosphokinase; CPK) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบได้ในเนื้อเยื่อและเซลล์หลายชนิด เช่น เซลล์กล้ามเนื้อลาย เนื้อเยื่อสมอง และเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ โดยมีบทบาทที่สำคัญต่อการเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการแลกเปลี่ยนสารพลังงานภายในเซลล์ กล่าวคือ หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับเซลล์เหล่านี้ ก็จะทำให้มีการเอ่อท้นของเอนไซม์ CK เข้าสู่กระแสเลือดทำให้มีระดับที่ลูงขึ้น ทั้งนี้ค่าปกติของ เอนไซม์ CK ในกระแสเลือด สำหรับผู้ชายและผู้หญิง คือ 39 - 308 และ 26 - 192 ยูนิตของเอนไซม์ต่อปริมาณเลือด 1 ลิตร ตามลำดับ (ในใบรายงานผลจะเขียนหน่วยใน ลักษณะ U/L นะครับ) โดยระดับของเอนไซม์ CK ที่สูงขึ้น สามารถนำมาวิเคราะห์ต่อได้ว่าเป็นชนิดของเอนไซม์ย่อย (ที่เรียกว่า ไอโซเอนไซม์; Isoenzyme) ที่มีแหล่งมาจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อชนิดใด ได้แก่ CK-MM (พบมากประมาณ 90 - 100% โดยพบในเซลล์กล้ามเนื้อโครงสร้างของร่างกาย และเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจได้บ้าง), CK-BB (พบประมาณไม่ เกิน 10% โดยมีแหล่งจากเซลล์สมอง เซลล์ปอด เซลล์ในช่องทางเดินอาหาร และช่องทางเดินปัสสาวะ) และ CK-MB (โดยปกติไม่ควรพบค่านี้ โดยแหล่งที่สำคัญมาจากกล้ามเนื้อหัวใจ) อนี่ง พวกเราคงจะพอสังเกตกันได้ ว่า ค่าของ CK-MM จะพบเป็นลัดส่วนมากที่สุดของค่าเอนไซม์ CK ในกระแสเลือด เนื่องจาก ในแต่ละวันจะมีการเสื่อมสลายของเซลล์กล้ามเนื้อในระดับปกติอยู่โดยตลอด ทว่า จะไม่พบค่าของ CK-MB ยกเว้นมีความผิดปกติเกิดขึ้น ดังนั้น การตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการทำงานของหัวใจ มักจะตรวจเลือดเพี่อวิเคราะห์หาระดับเอนไซม์ CK ร่วมกับระดับของเอนไซม์ย่อย CK-MB
จากที่กล่าวมา ซีเคเอ็มบี (CK-MB) จะพบมากในกล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะมีค่าสูงขึ้นเมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเกิดความเสียหายขึ้น ค่าปกติของ CK-MB ในเลือด คือ 0 - 25 U/L ดังนั้น จึงถูกนำมาใช้ในการตรวจประเมินภาวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction; AMI) โดยอาศัย คุณสมบัติที่ว่า CK-MB จะมีระดับการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 2 - 3 ชั่วโมงหลังเกิดอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งมักเป็นอาการเริ่มต้นของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย โดยจะขึ้นถึงระดับสูงสุดประมาณ 24 ชั่วโมง และจะลดระดับกลับคืนสู่ค่าปกติภายในเวลาประมาณ 3 วันหลังปรากฏอาการ ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงที่สามารถตรวจติดตามได้ในลักษณะนี้ จึงทำให้การตรวจวิเคราะห์ CK-MB จึงยังเป็นที่นิยมใช้มาโดยตลอด ถึงแม้ว่า ณ ปัจจุบันจะมีการพัฒนารายการทดสอบอื่น ๆ มาใช้ในการตรวจวินิจฉัยร่วมด้วยก็ตาม
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สำหรับตอนนี้ เราจะมาว่ากันถึงรายการตรวจที่ใช้ในการบ่งชี้การทำงานของหัวใจ ที่เรียกว่า Cardiac profile กันนะครับ ซึ่งจากใบขอส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการจะเห็นมีรายการหลักที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม คือ ครีเอตีนไคเนส (Creatine kinase; CK หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ครีเอตีน ฟอลโฟไคเนส Creatine Phosphokinase; CPK) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบได้ในเนื้อเยื่อและเซลล์หลายชนิด เช่น เซลล์กล้ามเนื้อลาย เนื้อเยื่อสมอง และเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ โดยมีบทบาทที่สำคัญต่อการเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการแลกเปลี่ยนสารพลังงานภายในเซลล์ กล่าวคือ หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับเซลล์เหล่านี้ ก็จะทำให้มีการเอ่อท้นของเอนไซม์ CK เข้าสู่กระแสเลือดทำให้มีระดับที่ลูงขึ้น ทั้งนี้ค่าปกติของ เอนไซม์ CK ในกระแสเลือด สำหรับผู้ชายและผู้หญิง คือ 39 - 308 และ 26 - 192 ยูนิตของเอนไซม์ต่อปริมาณเลือด 1 ลิตร ตามลำดับ (ในใบรายงานผลจะเขียนหน่วยใน ลักษณะ U/L นะครับ) โดยระดับของเอนไซม์ CK ที่สูงขึ้น สามารถนำมาวิเคราะห์ต่อได้ว่าเป็นชนิดของเอนไซม์ย่อย (ที่เรียกว่า ไอโซเอนไซม์; Isoenzyme) ที่มีแหล่งมาจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อชนิดใด ได้แก่ CK-MM (พบมากประมาณ 90 - 100% โดยพบในเซลล์กล้ามเนื้อโครงสร้างของร่างกาย และเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจได้บ้าง), CK-BB (พบประมาณไม่ เกิน 10% โดยมีแหล่งจากเซลล์สมอง เซลล์ปอด เซลล์ในช่องทางเดินอาหาร และช่องทางเดินปัสสาวะ) และ CK-MB (โดยปกติไม่ควรพบค่านี้ โดยแหล่งที่สำคัญมาจากกล้ามเนื้อหัวใจ) อนี่ง พวกเราคงจะพอสังเกตกันได้ ว่า ค่าของ CK-MM จะพบเป็นลัดส่วนมากที่สุดของค่าเอนไซม์ CK ในกระแสเลือด เนื่องจาก ในแต่ละวันจะมีการเสื่อมสลายของเซลล์กล้ามเนื้อในระดับปกติอยู่โดยตลอด ทว่า จะไม่พบค่าของ CK-MB ยกเว้นมีความผิดปกติเกิดขึ้น ดังนั้น การตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการทำงานของหัวใจ มักจะตรวจเลือดเพี่อวิเคราะห์หาระดับเอนไซม์ CK ร่วมกับระดับของเอนไซม์ย่อย CK-MB
จากที่กล่าวมา ซีเคเอ็มบี (CK-MB) จะพบมากในกล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะมีค่าสูงขึ้นเมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเกิดความเสียหายขึ้น ค่าปกติของ CK-MB ในเลือด คือ 0 - 25 U/L ดังนั้น จึงถูกนำมาใช้ในการตรวจประเมินภาวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction; AMI) โดยอาศัย คุณสมบัติที่ว่า CK-MB จะมีระดับการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 2 - 3 ชั่วโมงหลังเกิดอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งมักเป็นอาการเริ่มต้นของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย โดยจะขึ้นถึงระดับสูงสุดประมาณ 24 ชั่วโมง และจะลดระดับกลับคืนสู่ค่าปกติภายในเวลาประมาณ 3 วันหลังปรากฏอาการ ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงที่สามารถตรวจติดตามได้ในลักษณะนี้ จึงทำให้การตรวจวิเคราะห์ CK-MB จึงยังเป็นที่นิยมใช้มาโดยตลอด ถึงแม้ว่า ณ ปัจจุบันจะมีการพัฒนารายการทดสอบอื่น ๆ มาใช้ในการตรวจวินิจฉัยร่วมด้วยก็ตาม
วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555
เลือด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชีวิต (12) ดัชนีบ่งชี้การทำงานของตับอ่อน
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ในตอนนี้ เราจะมาเรียนรู้กันถึงกลุ่มการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการเทคนิคการแพทย์ ในส่วนที่เป็นการบ่งชี้เกี่ยวกับการทำงานของตับอ่อน ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอวัยวะอื่นกันเลยทีเดียว
ตับอ่อน (Pancreas) เป็นอวัยวะภายในช่องท้องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในร่างกายใน 2 ประเด็น คือ
1) การเป็นต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland) ที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลายชนิด โดยตัวหนึ่งที่มีความสำคัญมากที่พวกเราเคยได้ยินกันอยู่เสมอ คือ ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ที่มีบทบาทในการควบคุม (ลด) ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด และ
2) การช่วยในระบบย่อยอาหาร โดยสร้างนํ้าย่อย (Pancreatic Juice) ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นเอนไซม์หลายชนิดที่ช่วยในการย่อยสลายอาหารจำพวกแป้ง โปรตีน และไขมันให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่สามารถดูดซึมจากผนังสำไส้เข้าสู่ร่างกายได้
เอาล่ะครับ หลังจากที่พวกเราพอรู้จักกันเกี่ยวกับหน้าที่ของตับอ่อนบ้างแล้ว คราวนี้ลองมาดูถึงความผิดปกติ หรือโรคที่พบได้เกี่ยวกับตับอ่อน ซึ่งเท่าที่พบ ได้แก่ ตับอ่อนอักเสบ (ทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง) ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากนิ่วในถุงนํ้าดีและท่อทางเดินน้ำดี หรือพบได้ในคนที่ดี่มเหล้ามาเป็นเวลานาน รวมทั้งในบางกรณีอาจพบเจอได้ในภาวะการติดเชื้อไวรัสหรือการกินยาบางชนิดหรือการมีอาการบาดเจ็บภายในช่องท้องจากการกระแทกก็ได้ ซึ่งหากมีการอักเสบเกิดขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดท้องและปวดร้าวกลางหลังอย่างรุนแรง และมักมีอาการคลี่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารร่วมด้วย นอกเหนือไปจากภาวะตับอ่อนอักเสบแล้ว ยังมีโรคอีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ้าง ก็คือ มะเร็งของตับอ่อน ซึ่งสาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด โดยอาจเกิดจากการเกิดเนื้องอกในตับอ่อนและกลายเป็นมะเร็งขึ้น โดยมักมีอาการปวดท้อง ปวดหลัง เบื่ออาหาร ซูบผอมลง และพบภาวะดีซ่าน (ตาเหลือง ตัวเหลือง) ที่เคยกล่าวถึงในตอนที่แล้ว
สำหรับการตรวจติดตามภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตับอ่อนทางห้องปฏิบัติการนั้น จะมีการเจาะเลือดเพี่อตรวจวิเคราะห์ปริมาณเอนไซม์ชนิดต่างๆ ซึ่งที่สำคัญคือ เอนไซม์อะไมเลสจากตับอ่อน (Pancreatic amylase) และไลเปส (Lipase) ดังแสดงในใบขอส่งตรวจ โดยค่าปกติของเอนไซม์อะไมเลส อยู่ระหว่าง 28 - 100 ยูนิตต่อเลือดปริมาณหนึ่งลิตร ในใบรายงานผลจะเขียนว่า U/L ในขณะที่ไลเปสจะมีค่า 23 - 300 ยูนิตต่อลิตร (U/L) สำหรับการวินิจฉัยภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute pancreatitis) ค่าของเอนไซม์อะไมเลสในเลือดจะสูงขึ้นภายใน 2 - 6 ชั่วโมง หลังเริ่มมีอาการ และจะขึ้นสูงสุดภายใน 12 - 24 ชั่วโมง ซึ่งหากไม่มีอาการอักเสบเพิ่มขึ้นอีก ค่านี้จะกลับสู่ระดับปกติภายในไม่กี่วัน สำหรับการตรวจวัดระดับเอนไซม์ไลเปสนั้น จะใช้ในการวินิจฉัยภาวะตับอ่อนอักเสบเช่นกัน เนื่องจากเอนไซม์ชนิดนี้ เกือบทั้งหมดถูกสร้างจากตับอ่อน เพื่อส่งต่อไปยังลำไส้เล็กเพี่อช่วยในการย่อยอาหารประเภทไขมัน ดังนั้น หากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย จะทำให้ระดับเอนไซม์ไลเปสสูงขึ้นในกระแสเลือด ประมาณ 5 - 10 เท่าของค่าปกติภายใน 24 - 48 ชั่วโมง และยังคงสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน 5 - 7 วัน
หวังว่าความรู้ ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับผลเลือด และค่าความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะเป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้ท่านผู้อ่านทุกท่านสามารถรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย เพี่อให้สามารถนำกลับมาใช้ใน การดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและคนที่เรารักให้ดี ตลอดไปนะครับ ด้วยความปรารถนาดีจาก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล "สถาบันชั้นนำ มุ่งพัฒนาเพื่อสังคม”
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ในตอนนี้ เราจะมาเรียนรู้กันถึงกลุ่มการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการเทคนิคการแพทย์ ในส่วนที่เป็นการบ่งชี้เกี่ยวกับการทำงานของตับอ่อน ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอวัยวะอื่นกันเลยทีเดียว
ตับอ่อน (Pancreas) เป็นอวัยวะภายในช่องท้องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในร่างกายใน 2 ประเด็น คือ
1) การเป็นต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland) ที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลายชนิด โดยตัวหนึ่งที่มีความสำคัญมากที่พวกเราเคยได้ยินกันอยู่เสมอ คือ ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ที่มีบทบาทในการควบคุม (ลด) ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด และ
2) การช่วยในระบบย่อยอาหาร โดยสร้างนํ้าย่อย (Pancreatic Juice) ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นเอนไซม์หลายชนิดที่ช่วยในการย่อยสลายอาหารจำพวกแป้ง โปรตีน และไขมันให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่สามารถดูดซึมจากผนังสำไส้เข้าสู่ร่างกายได้
เอาล่ะครับ หลังจากที่พวกเราพอรู้จักกันเกี่ยวกับหน้าที่ของตับอ่อนบ้างแล้ว คราวนี้ลองมาดูถึงความผิดปกติ หรือโรคที่พบได้เกี่ยวกับตับอ่อน ซึ่งเท่าที่พบ ได้แก่ ตับอ่อนอักเสบ (ทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง) ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากนิ่วในถุงนํ้าดีและท่อทางเดินน้ำดี หรือพบได้ในคนที่ดี่มเหล้ามาเป็นเวลานาน รวมทั้งในบางกรณีอาจพบเจอได้ในภาวะการติดเชื้อไวรัสหรือการกินยาบางชนิดหรือการมีอาการบาดเจ็บภายในช่องท้องจากการกระแทกก็ได้ ซึ่งหากมีการอักเสบเกิดขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดท้องและปวดร้าวกลางหลังอย่างรุนแรง และมักมีอาการคลี่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารร่วมด้วย นอกเหนือไปจากภาวะตับอ่อนอักเสบแล้ว ยังมีโรคอีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ้าง ก็คือ มะเร็งของตับอ่อน ซึ่งสาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด โดยอาจเกิดจากการเกิดเนื้องอกในตับอ่อนและกลายเป็นมะเร็งขึ้น โดยมักมีอาการปวดท้อง ปวดหลัง เบื่ออาหาร ซูบผอมลง และพบภาวะดีซ่าน (ตาเหลือง ตัวเหลือง) ที่เคยกล่าวถึงในตอนที่แล้ว
สำหรับการตรวจติดตามภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตับอ่อนทางห้องปฏิบัติการนั้น จะมีการเจาะเลือดเพี่อตรวจวิเคราะห์ปริมาณเอนไซม์ชนิดต่างๆ ซึ่งที่สำคัญคือ เอนไซม์อะไมเลสจากตับอ่อน (Pancreatic amylase) และไลเปส (Lipase) ดังแสดงในใบขอส่งตรวจ โดยค่าปกติของเอนไซม์อะไมเลส อยู่ระหว่าง 28 - 100 ยูนิตต่อเลือดปริมาณหนึ่งลิตร ในใบรายงานผลจะเขียนว่า U/L ในขณะที่ไลเปสจะมีค่า 23 - 300 ยูนิตต่อลิตร (U/L) สำหรับการวินิจฉัยภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute pancreatitis) ค่าของเอนไซม์อะไมเลสในเลือดจะสูงขึ้นภายใน 2 - 6 ชั่วโมง หลังเริ่มมีอาการ และจะขึ้นสูงสุดภายใน 12 - 24 ชั่วโมง ซึ่งหากไม่มีอาการอักเสบเพิ่มขึ้นอีก ค่านี้จะกลับสู่ระดับปกติภายในไม่กี่วัน สำหรับการตรวจวัดระดับเอนไซม์ไลเปสนั้น จะใช้ในการวินิจฉัยภาวะตับอ่อนอักเสบเช่นกัน เนื่องจากเอนไซม์ชนิดนี้ เกือบทั้งหมดถูกสร้างจากตับอ่อน เพื่อส่งต่อไปยังลำไส้เล็กเพี่อช่วยในการย่อยอาหารประเภทไขมัน ดังนั้น หากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย จะทำให้ระดับเอนไซม์ไลเปสสูงขึ้นในกระแสเลือด ประมาณ 5 - 10 เท่าของค่าปกติภายใน 24 - 48 ชั่วโมง และยังคงสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน 5 - 7 วัน
หวังว่าความรู้ ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับผลเลือด และค่าความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะเป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้ท่านผู้อ่านทุกท่านสามารถรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย เพี่อให้สามารถนำกลับมาใช้ใน การดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและคนที่เรารักให้ดี ตลอดไปนะครับ ด้วยความปรารถนาดีจาก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล "สถาบันชั้นนำ มุ่งพัฒนาเพื่อสังคม”
เลือด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชีวิต (19) ดัชนีบ่งชี้สมดุลของแร่ธาตุ
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุรยา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหาที่เราจะกล่าวถึงกันยังคง เกี่ยวกับแร่ธาตุที่สำคัญในกระแสเลือด นั่นก็คือ แคลเซียม ไอออน ซึ่งจากใบขอส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ จะเห็นว่า มีรายการตรวจอยู่ 2 รายการ คือ Ionized calcium และ Total calcium เมื่อกล่าวถึงคำว่าแคลเซียม หลายท่านคงนึกถึงเรื่องของกระดูกและฟันรวมถึงอาจคิดว่าการตรวจระดับแคลเซียมในเลือดนั้น จะเป็นการวัดความแข็งแกร่งของกระดูก หรืออาจตรวจสอบว่า ร่างกายเกิดมีสภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) ขึ้นหรือไม่ แต่ที่จริงแล้ว แคลเซียมไอออนซึ่งจัดเป็นไอออนประจุบวก (Cation) อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งร่างกายของเราได้รับจากทางอาหาร โดยประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของแคลเซียมในอาหารที่กินเข้าไป จะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก โดยอาศัยวิตามินดีเป็นตัวช่วยในการดูดซึม และร่างกายมีการขับแคลเซียมออกจากร่างกายทางปัสสาวะและอุจจาระ โดยแคลเซียมมีบทบาทที่สำคัญต่อร่างกายในอีกหลายส่วน อาทิ การควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ การช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด การช่วยส่งกระแสประสาทไป-กลับระหว่างสมองและอวัยวะต่างๆ การช่วยควบคุมการหลั่งฮอร์โมนและสารสื่อประสาท ตลอดจนช่วยให้ผนัง เซลล์ต่างๆ มีความเสถียรอีกด้วย ดังนั้น การตรวจเลือดเพื่อวิเคราะห์ หาค่าระดับแคลเซียมในกระแสเลือดนั้นจึงมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ ในการบ่งชี้ถึงกระบวนการควบคุมแคลเซียมในทั้งระบบว่ามีความผิดปกติหรือไม่ รวมทั้งยังสามารถใช้ในการสะท้อนความผิดปกติของ การควบคุมระดับแคลเซียมโดยฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Parathyroid hormone; PTH) อีกด้วย นั่นก็หมายความว่า การตรวจระดับแคลเซียมในเลือดนั้น ไม่ได้ใช้เพื่อการวิเคราะห์ภาวะกระดูกพรุนโดยตรง แต่อาจนำข้อมูลมาใช้ประกอบกันได้บ้าง เนื่องจากการตรวจมวลกระดูกโดยปกตินั้น จะใช้วิธีการตรวจโดยการสแกนกระดูกข้อมือ ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Bone densitometer หรืออาจวิเคราะห์จาก ภาวะการทำลายกระดูกที่ผิดปกติโดยการตรวจจากปัสสาวะก็ได้
อย่างที่ทุกท่านเข้าใจกันว่า แคลเซียมมีความสัมพันธ์กับกระดูก เนื่องจาก ประมาณร้อยละ 99 ของแคลเซียมจะอยู่ในรูปของ ไฮดรอกซี อะพาไพต์(Hydroxyapatite) ซึ่งมีลักษณะแข็ง จึงเป็นองค์ประกอบหลักของกระดูกและฟัน ในขณะที่ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 1 จะอยู่ในรูปที่สามารถละลายนํ้าได้ ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ
1) ในรูปที่แตกตัวเป็นประจุและอยู่ในรูปอิสระ ที่เรียกว่า Ionized calcium หรือ Free calcium
2) ส่วนที่จับอยู่กับโปรตีนในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจับกับโปรตีนส่วนใหญ่ในเลือดที่ชื่อว่า อัลบูมิน (Albumin) และ
3) ส่วนที่เหลือจะจับอยู่กับธาตุหรือหมู่เคมีอื่น เช่น ฟอสเฟต คาร์บอเนต เป็นต้น ซึ่งแคลเซียมในรูปที่เรืยกว่า Ionized calcium นี้ จะเป็นตัวหลักที่สำคัญในการควบคุมกระบวนการต่างๆ ที่กล่าวถึงในช่วงต้นนั่นเอง
จากความสำคัญดังกล่าว การเจาะตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ จึงนิยมตรวจทั้งค่าของ Ionized calcium และแคลเซียมโดยรวม (Total calcium) ซึ่งค่าแคลเซียมโดยรวมนั้น หมายถึง ผลรวมของค่า Ionized calcium และแคลเซียมที่จับอยู่กับโปรตีนในเลือดเป็นสำคัญ ซึ่งค่าปกติของ Ionized calcium และ Total calcium อยู่ในช่วง 4.6 - 5.3 มิลลิกรัมต่อปริมาณเลือดหนึ่งร้อยมิลลิลิตร (เขียนเป็นหน่วย ในลักษณะ mg/dL หรือ mg%) และ 8.6 - 10.2 mg/dL ตามลำดับ
ค่า Ionized calcium ที่ตํ่าผิดปกติ อาจมีสาเหตุมาจาก มีระดับ พาราไทรอยด์ฮอร์โมนที่ตํ่าเกิน รวมถึงร่างกายมีการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้ไม่ดีทั้งจากการขาดแคลนวิตามินดี ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ หรืออาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซียมที่ลดลงอีกด้วย นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากภาวะตับอ่อนอักเสบ หรือความผิดปกติของไตเกิดขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากในเลือดมีค่า Ionized calcium ในระดับที่สูงผิดปกติ อาจมีสาเหตุมาจากการมีระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนสูงเกินไป การมีหรือได้รับวิตามินดีที่มากเกินไป รวมถึงในบางกรณี อาจเกิดจากโรคมะเร็งบางชนิดโดยเฉพาะที่แพร่ไปที่กระดูก เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน ค่า Total calcium ที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเกิดในลักษณะที่ตํ่าหรือสูงเกิน ก็มักมีสาเหตุในลักษณะที่คล้ายกับภาวะ ที่เกิดขึ้นกับความผิดปกติของ Ionized calcium ที่เกิดขึ้น เนื่องจากทั้งสองตัวนื้มีความลัมพันธ์ในเชิงผลรวมต่อกัน
นอกเหนือไปจากสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติดังกล่าวข้างต้นแล้วนั้น สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งต้องให้ความใส่ใจ ก็คือ ผลพวงต่อเนื่องที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายมีระดับแคลเซียมผิดปกติ เช่น การมีระดับแคลเซียมในเลือดสูงเกินไป (Hypercalcemia) แคลเซียมส่วนเกินเหล่านี้ อาจไปเกาะจับ หรือสะสมตามข้อต่อของกระดูก เช่น หัวไหล่ ข้อศอก กระดูกสันหลัง รวมทั้งอาจก่อให้เกิด โรคนิ่วในไตได้ ในขณะที่ หากร่างกายมีระดับแคลเซียมที่ต่ำมากๆ (Hypocalcemia) อาจส่งผลต่ออาการหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ จนอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น โดยปกติ หากมีการตรวจว่ามีค่าแคลเซียมในเลือดสูงหรือตํ่าไปกว่าเกณฑ์ปกติ ก็จำเป็นที่จะต้องตรวจหาค่าพาราไทรอยด์ฮอร์โมนควบคู่กันด้วย เพื่อที่จะหาสาเหตุที่แท้จริง และนำไปสู่แนวทางการรักษาหรือแก้ไขต่อไป
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุรยา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหาที่เราจะกล่าวถึงกันยังคง เกี่ยวกับแร่ธาตุที่สำคัญในกระแสเลือด นั่นก็คือ แคลเซียม ไอออน ซึ่งจากใบขอส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ จะเห็นว่า มีรายการตรวจอยู่ 2 รายการ คือ Ionized calcium และ Total calcium เมื่อกล่าวถึงคำว่าแคลเซียม หลายท่านคงนึกถึงเรื่องของกระดูกและฟันรวมถึงอาจคิดว่าการตรวจระดับแคลเซียมในเลือดนั้น จะเป็นการวัดความแข็งแกร่งของกระดูก หรืออาจตรวจสอบว่า ร่างกายเกิดมีสภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) ขึ้นหรือไม่ แต่ที่จริงแล้ว แคลเซียมไอออนซึ่งจัดเป็นไอออนประจุบวก (Cation) อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งร่างกายของเราได้รับจากทางอาหาร โดยประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของแคลเซียมในอาหารที่กินเข้าไป จะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก โดยอาศัยวิตามินดีเป็นตัวช่วยในการดูดซึม และร่างกายมีการขับแคลเซียมออกจากร่างกายทางปัสสาวะและอุจจาระ โดยแคลเซียมมีบทบาทที่สำคัญต่อร่างกายในอีกหลายส่วน อาทิ การควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ การช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด การช่วยส่งกระแสประสาทไป-กลับระหว่างสมองและอวัยวะต่างๆ การช่วยควบคุมการหลั่งฮอร์โมนและสารสื่อประสาท ตลอดจนช่วยให้ผนัง เซลล์ต่างๆ มีความเสถียรอีกด้วย ดังนั้น การตรวจเลือดเพื่อวิเคราะห์ หาค่าระดับแคลเซียมในกระแสเลือดนั้นจึงมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ ในการบ่งชี้ถึงกระบวนการควบคุมแคลเซียมในทั้งระบบว่ามีความผิดปกติหรือไม่ รวมทั้งยังสามารถใช้ในการสะท้อนความผิดปกติของ การควบคุมระดับแคลเซียมโดยฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Parathyroid hormone; PTH) อีกด้วย นั่นก็หมายความว่า การตรวจระดับแคลเซียมในเลือดนั้น ไม่ได้ใช้เพื่อการวิเคราะห์ภาวะกระดูกพรุนโดยตรง แต่อาจนำข้อมูลมาใช้ประกอบกันได้บ้าง เนื่องจากการตรวจมวลกระดูกโดยปกตินั้น จะใช้วิธีการตรวจโดยการสแกนกระดูกข้อมือ ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Bone densitometer หรืออาจวิเคราะห์จาก ภาวะการทำลายกระดูกที่ผิดปกติโดยการตรวจจากปัสสาวะก็ได้
อย่างที่ทุกท่านเข้าใจกันว่า แคลเซียมมีความสัมพันธ์กับกระดูก เนื่องจาก ประมาณร้อยละ 99 ของแคลเซียมจะอยู่ในรูปของ ไฮดรอกซี อะพาไพต์(Hydroxyapatite) ซึ่งมีลักษณะแข็ง จึงเป็นองค์ประกอบหลักของกระดูกและฟัน ในขณะที่ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 1 จะอยู่ในรูปที่สามารถละลายนํ้าได้ ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ
1) ในรูปที่แตกตัวเป็นประจุและอยู่ในรูปอิสระ ที่เรียกว่า Ionized calcium หรือ Free calcium
2) ส่วนที่จับอยู่กับโปรตีนในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจับกับโปรตีนส่วนใหญ่ในเลือดที่ชื่อว่า อัลบูมิน (Albumin) และ
3) ส่วนที่เหลือจะจับอยู่กับธาตุหรือหมู่เคมีอื่น เช่น ฟอสเฟต คาร์บอเนต เป็นต้น ซึ่งแคลเซียมในรูปที่เรืยกว่า Ionized calcium นี้ จะเป็นตัวหลักที่สำคัญในการควบคุมกระบวนการต่างๆ ที่กล่าวถึงในช่วงต้นนั่นเอง
จากความสำคัญดังกล่าว การเจาะตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ จึงนิยมตรวจทั้งค่าของ Ionized calcium และแคลเซียมโดยรวม (Total calcium) ซึ่งค่าแคลเซียมโดยรวมนั้น หมายถึง ผลรวมของค่า Ionized calcium และแคลเซียมที่จับอยู่กับโปรตีนในเลือดเป็นสำคัญ ซึ่งค่าปกติของ Ionized calcium และ Total calcium อยู่ในช่วง 4.6 - 5.3 มิลลิกรัมต่อปริมาณเลือดหนึ่งร้อยมิลลิลิตร (เขียนเป็นหน่วย ในลักษณะ mg/dL หรือ mg%) และ 8.6 - 10.2 mg/dL ตามลำดับ
ค่า Ionized calcium ที่ตํ่าผิดปกติ อาจมีสาเหตุมาจาก มีระดับ พาราไทรอยด์ฮอร์โมนที่ตํ่าเกิน รวมถึงร่างกายมีการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้ไม่ดีทั้งจากการขาดแคลนวิตามินดี ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ หรืออาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซียมที่ลดลงอีกด้วย นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากภาวะตับอ่อนอักเสบ หรือความผิดปกติของไตเกิดขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากในเลือดมีค่า Ionized calcium ในระดับที่สูงผิดปกติ อาจมีสาเหตุมาจากการมีระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนสูงเกินไป การมีหรือได้รับวิตามินดีที่มากเกินไป รวมถึงในบางกรณี อาจเกิดจากโรคมะเร็งบางชนิดโดยเฉพาะที่แพร่ไปที่กระดูก เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน ค่า Total calcium ที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเกิดในลักษณะที่ตํ่าหรือสูงเกิน ก็มักมีสาเหตุในลักษณะที่คล้ายกับภาวะ ที่เกิดขึ้นกับความผิดปกติของ Ionized calcium ที่เกิดขึ้น เนื่องจากทั้งสองตัวนื้มีความลัมพันธ์ในเชิงผลรวมต่อกัน
นอกเหนือไปจากสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติดังกล่าวข้างต้นแล้วนั้น สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งต้องให้ความใส่ใจ ก็คือ ผลพวงต่อเนื่องที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายมีระดับแคลเซียมผิดปกติ เช่น การมีระดับแคลเซียมในเลือดสูงเกินไป (Hypercalcemia) แคลเซียมส่วนเกินเหล่านี้ อาจไปเกาะจับ หรือสะสมตามข้อต่อของกระดูก เช่น หัวไหล่ ข้อศอก กระดูกสันหลัง รวมทั้งอาจก่อให้เกิด โรคนิ่วในไตได้ ในขณะที่ หากร่างกายมีระดับแคลเซียมที่ต่ำมากๆ (Hypocalcemia) อาจส่งผลต่ออาการหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ จนอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น โดยปกติ หากมีการตรวจว่ามีค่าแคลเซียมในเลือดสูงหรือตํ่าไปกว่าเกณฑ์ปกติ ก็จำเป็นที่จะต้องตรวจหาค่าพาราไทรอยด์ฮอร์โมนควบคู่กันด้วย เพื่อที่จะหาสาเหตุที่แท้จริง และนำไปสู่แนวทางการรักษาหรือแก้ไขต่อไป
เลือด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชีวิต (16) ดัชนีบ่งชี้สมดุลของแร่ธาตุ
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้ง ตอนนี้ เรายังคงอยู่กัน ที่หัวข้อการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ในกลุ่มอิเลกโตรไลต์ซึ่งที่ผ่านมา เราเกริ่น ไปแล้วถึงไอออน 2 ชนิด คือ โซเดียม (Na+) และโพแทสเซียม (K+) ต่อไปที่จะทำความรู้จัก ก็คือ คลอไรด์ (Cl-) ซึ่งจัดเป็นไอออนประจุลบที่มีความสำคัญอย่างมากที่อยู่ในส่วนที่เป็นนํ้าเลือด และของเหลวภายนอกเซลล์ทั่วร่างกาย หากจำได้จะ เห็นว่าโซเดียมไอออนซึ่งเป็นไอออนประจุบวกจะมีปริมาณมาก ในบริเวณที่อยู่นอกเซลล์เช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงระดับ ของคลอไรด์มักมีสาเหตุร่วมที่เกี่ยวข้องกับระดับโซเดียม ทั้งนี้ เนื่องจากคลอไรด์มักจะมีการเคลื่อนที่ตามโซเดียมทำให้มี ความสัมพันธ์ต่อการขึ้น/ลงของระดับโซเดียม สำหรับหน้าที่ของคลอไรด์นั้นนับว่ามีบทบาทที่สำคัญในการรักษาปริมาตรนํ้าและสมดุลระหว่างของเหลวภายในและภายนอกเซลล์ เพื่อควบคุมการกระจายตัวของนํ้าในส่วนต่างๆ ให้เหมาะสม นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับการรักษาความเป็นกรด-ด่างของร่างกายอีกด้วย
ร่างกายได้รับคลอไรด์จากการรับประทานอาหารโดยเฉพาะที่มีส่วนประกอบของเกลือ เนื่องจากเกลือที่พวกเรารู้จักกัน จะเป็นสารประกอบระหว่างโซเดียมและคลอไรด์ เรียกว่า โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) โดยค่าปกติของคลอไรด์ไนนํ้าเลือด จะอยู่ระหว่าง 95-105 mmol/L (หน่วยนี้เรียกว่า มิลลิโมลต่อปริมาณเลือด 1 ลิตรนะครับ หรืออาจมีการรายงานในลักษณะอื่นที่เรียกว่า mEq/L ซึ่งก็คือ มิลลิอิควิวาเลนต์ต่อลิตรก็ได้) หากร่างกายมีระดับคลอไรด์ที่สูงผิดปกติ ก็จะมีการขับทิ้งออก ทางไตผ่านนํ้าปัสสาวะ
ค่าที่ผิดปกติของคลอไรด์ในเชิงตํ่า เรียกทางการแพทย์ว่า Hypochloremia มักมีสาเหตุมาจากโรคไตอักเสบ ซึ่งส่งผลให้มีการดูดกลับคลอไรด์ที่ท่อไตได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ รวมทั้งยังพบได้จากการที่ร่างกายเกิดการอาเจียนมากเกินไป หรือพบในกรณีผู้ป่วยที่ต้องมีการดูดเอาของเหลวออกจากกระเพาะอาหารเป็นเวลานาน และที่ได้กล่าวว่า การ เปลี่ยนแปลงระดับคลอไรด์มักมีสาเหตุร่วมกับระดับโซเดียมนั้น จากที่เคยกล่าวถึงในตอนก่อนๆ เกี่ยวกับโรคที่เรียกว่า Addison’s disease ซึ่งมีผลทำให้เกิดการขาดฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (Aldosterone) ทำให้ไตดูดกลับโซเดียมได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้คลอไรด์มีระดับที่ลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้ หากร่างกาย มีระดับคลอไรด์ตํ่าเกินไป จะมีผลต่ออาการแสดงต่างๆ ดังนี้ กล้ามเนื้อหดเกร็ง หรือกระตุก รวมทั้งอาจพบการหายใจเร็ว และหายใจอย่างตื้นๆ
ในขณะที่หากร่างกายมีค่าคลอไรด์ที่สูงผิดปกติ ที่เรืยกว่า Hyperchloremia (Hyper หมายถึง สูง ส่วน Hypo หมายถึง ตํ่า) โดยมีสาเหตุจาก การที่ร่างกายมีการเสียนํ้าหรือมีภาวะขาดนํ้า การกินอาหารที่มีคลอไรด์หรือเกลือมากเกินไป บางกรณี ยังพบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับนํ้าเกลือติดต่อกันเป็นเวลานานอีกด้วย นอกเหนือไปจากการได้รับคลอไรด์จากภายนอกแล้ว หากร่างกายมีความผิดปกติภายใน เช่น ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับไต ทั้งการเกิดนิ่วในไตทำให้มีการอุดตันของการขับทิ้งนํ้าปัสสาวะ หรือกรณีที่ไตมีการทำงานที่ผิดปกติ ทำให้มีการดูดกลับโซเดียมมาก จึงมีผลให้ค่าคลอไรด์สูงขึ้นด้วย และ เช่นเดียวกับที่เคยกล่าวถึงไปแล้วเกี่ยวกับโรค Cushing’s syndrome ซึ่งมีผลทำให้มีการผลิตฮอร์โมนกลุ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์จากการทำงานของต่อมหมวกไตมากกว่าปกติ ทำให้ไตมีการดูดกลับโซเดียมมากเกิน และมีผลทำให้ระดับคลอไรด์สูงขึ้นด้วย ซึ่งผลพวงที่เกิดขึ้นทำให้พบอาการแสดงต่างๆ อาทิ การหอบ การหายใจลึก และอาจหมดสติได้
อิเลกโตรไลต์ตัวที่ 4 ตามที่แสดงในภาพ ที่เราจะมาทำความรู้จักกัน คือ คาร์บอนไดออกไซด์ (C02) หรือ ไบคาร์บอเนต (HC03) โดยการตรวจวิเคราะห์ค่าระดับคาร์บอนไดออกไซด์รวม (Total C02) ที่มีอยู่ในเลือดนั้น จะช่วยบ่งชี้ภาวะความเป็นกรด-ด่างในเลือดได้ เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์จะละลายอยู่ในเลือดในรูปต่างๆ โดยที่สำคัญ คือ ไบคาร์บอเนต (HCO3) ซึ่งเป็นไอออนประจุลบที่มีการกระจายตัวอยู่ในของเหลวภายนอกเซลล์ในปริมาณที่รองลงมาจากคลอไรด์ซึ่งในตอนหน้า เราจะมาลงในรายละเอียด กันนะครับ
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้ง ตอนนี้ เรายังคงอยู่กัน ที่หัวข้อการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ในกลุ่มอิเลกโตรไลต์ซึ่งที่ผ่านมา เราเกริ่น ไปแล้วถึงไอออน 2 ชนิด คือ โซเดียม (Na+) และโพแทสเซียม (K+) ต่อไปที่จะทำความรู้จัก ก็คือ คลอไรด์ (Cl-) ซึ่งจัดเป็นไอออนประจุลบที่มีความสำคัญอย่างมากที่อยู่ในส่วนที่เป็นนํ้าเลือด และของเหลวภายนอกเซลล์ทั่วร่างกาย หากจำได้จะ เห็นว่าโซเดียมไอออนซึ่งเป็นไอออนประจุบวกจะมีปริมาณมาก ในบริเวณที่อยู่นอกเซลล์เช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงระดับ ของคลอไรด์มักมีสาเหตุร่วมที่เกี่ยวข้องกับระดับโซเดียม ทั้งนี้ เนื่องจากคลอไรด์มักจะมีการเคลื่อนที่ตามโซเดียมทำให้มี ความสัมพันธ์ต่อการขึ้น/ลงของระดับโซเดียม สำหรับหน้าที่ของคลอไรด์นั้นนับว่ามีบทบาทที่สำคัญในการรักษาปริมาตรนํ้าและสมดุลระหว่างของเหลวภายในและภายนอกเซลล์ เพื่อควบคุมการกระจายตัวของนํ้าในส่วนต่างๆ ให้เหมาะสม นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับการรักษาความเป็นกรด-ด่างของร่างกายอีกด้วย
ร่างกายได้รับคลอไรด์จากการรับประทานอาหารโดยเฉพาะที่มีส่วนประกอบของเกลือ เนื่องจากเกลือที่พวกเรารู้จักกัน จะเป็นสารประกอบระหว่างโซเดียมและคลอไรด์ เรียกว่า โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) โดยค่าปกติของคลอไรด์ไนนํ้าเลือด จะอยู่ระหว่าง 95-105 mmol/L (หน่วยนี้เรียกว่า มิลลิโมลต่อปริมาณเลือด 1 ลิตรนะครับ หรืออาจมีการรายงานในลักษณะอื่นที่เรียกว่า mEq/L ซึ่งก็คือ มิลลิอิควิวาเลนต์ต่อลิตรก็ได้) หากร่างกายมีระดับคลอไรด์ที่สูงผิดปกติ ก็จะมีการขับทิ้งออก ทางไตผ่านนํ้าปัสสาวะ
ค่าที่ผิดปกติของคลอไรด์ในเชิงตํ่า เรียกทางการแพทย์ว่า Hypochloremia มักมีสาเหตุมาจากโรคไตอักเสบ ซึ่งส่งผลให้มีการดูดกลับคลอไรด์ที่ท่อไตได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ รวมทั้งยังพบได้จากการที่ร่างกายเกิดการอาเจียนมากเกินไป หรือพบในกรณีผู้ป่วยที่ต้องมีการดูดเอาของเหลวออกจากกระเพาะอาหารเป็นเวลานาน และที่ได้กล่าวว่า การ เปลี่ยนแปลงระดับคลอไรด์มักมีสาเหตุร่วมกับระดับโซเดียมนั้น จากที่เคยกล่าวถึงในตอนก่อนๆ เกี่ยวกับโรคที่เรียกว่า Addison’s disease ซึ่งมีผลทำให้เกิดการขาดฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (Aldosterone) ทำให้ไตดูดกลับโซเดียมได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้คลอไรด์มีระดับที่ลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้ หากร่างกาย มีระดับคลอไรด์ตํ่าเกินไป จะมีผลต่ออาการแสดงต่างๆ ดังนี้ กล้ามเนื้อหดเกร็ง หรือกระตุก รวมทั้งอาจพบการหายใจเร็ว และหายใจอย่างตื้นๆ
ในขณะที่หากร่างกายมีค่าคลอไรด์ที่สูงผิดปกติ ที่เรืยกว่า Hyperchloremia (Hyper หมายถึง สูง ส่วน Hypo หมายถึง ตํ่า) โดยมีสาเหตุจาก การที่ร่างกายมีการเสียนํ้าหรือมีภาวะขาดนํ้า การกินอาหารที่มีคลอไรด์หรือเกลือมากเกินไป บางกรณี ยังพบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับนํ้าเกลือติดต่อกันเป็นเวลานานอีกด้วย นอกเหนือไปจากการได้รับคลอไรด์จากภายนอกแล้ว หากร่างกายมีความผิดปกติภายใน เช่น ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับไต ทั้งการเกิดนิ่วในไตทำให้มีการอุดตันของการขับทิ้งนํ้าปัสสาวะ หรือกรณีที่ไตมีการทำงานที่ผิดปกติ ทำให้มีการดูดกลับโซเดียมมาก จึงมีผลให้ค่าคลอไรด์สูงขึ้นด้วย และ เช่นเดียวกับที่เคยกล่าวถึงไปแล้วเกี่ยวกับโรค Cushing’s syndrome ซึ่งมีผลทำให้มีการผลิตฮอร์โมนกลุ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์จากการทำงานของต่อมหมวกไตมากกว่าปกติ ทำให้ไตมีการดูดกลับโซเดียมมากเกิน และมีผลทำให้ระดับคลอไรด์สูงขึ้นด้วย ซึ่งผลพวงที่เกิดขึ้นทำให้พบอาการแสดงต่างๆ อาทิ การหอบ การหายใจลึก และอาจหมดสติได้
อิเลกโตรไลต์ตัวที่ 4 ตามที่แสดงในภาพ ที่เราจะมาทำความรู้จักกัน คือ คาร์บอนไดออกไซด์ (C02) หรือ ไบคาร์บอเนต (HC03) โดยการตรวจวิเคราะห์ค่าระดับคาร์บอนไดออกไซด์รวม (Total C02) ที่มีอยู่ในเลือดนั้น จะช่วยบ่งชี้ภาวะความเป็นกรด-ด่างในเลือดได้ เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์จะละลายอยู่ในเลือดในรูปต่างๆ โดยที่สำคัญ คือ ไบคาร์บอเนต (HCO3) ซึ่งเป็นไอออนประจุลบที่มีการกระจายตัวอยู่ในของเหลวภายนอกเซลล์ในปริมาณที่รองลงมาจากคลอไรด์ซึ่งในตอนหน้า เราจะมาลงในรายละเอียด กันนะครับ
ไขข้อข้องใจเป็นต้อหิน หายหรือบอด
นพ.พรเทพ พงศ์ทวิกร
ศูนย์จักษุและต้อกร:จก รพ.บ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)
ตอนที่แล้วได้พูดถึงต้อหินไว้บางส่วนครับ ก็มีบางท่านโทรมาถามทันทีว่าเป็นต้อหินรักษาหายหรือเปล่า ตาจะบอดไหม วันนี้เราจะคุยกันครับ แม้ว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับต้อหินจะก้าวหน้าไปมาก มีงานวิจัยเกี่ยวกับต้อหินแต่ละปีเป็นร้อยเรื่องแต่ความรู้ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า กลไกการทำลายเส้นประสาทตาในต้อหินเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือกล่าวง่ายๆ ว่า สาเหตุต้อหินยังคงเป็นเรื่องลึกลับอยู่
ถ้าเช่นนั้น ในขณะที่เรายังไม่ทราบกลไกการเกิด ต้อหิน แล้วเราจะยับยั้ง หรือหยุดต้อหินได้อย่างไร แม้ว่าเราจะหยุดมันไม่ได้แต่ความรู้ปัจจุบันพบว่าเราสามารถชะลอมันได้ครับ
งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ถ้าเราสามารถควบคุมความดันตาไปอยู่ที่จุดที่เหมาะสมของแต่ละคน จะช่วยลดการทำลายจากต้อหินลงได้ครับ นอกจากนี้การช่วยให้เลือดไปเลี้ยงขั้วประสาทตาได้มากขึ้น ก็มีส่วนช่วยลดการทำลาย จากต้อหินเช่นกัน
ปัจจุบันการรักษาต้อหินจึงมุ่งเน้นไปในการลดความดันตาและส่งเสริมให้มีเลือดไปเลี้ยงขั้วประสาทตาเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันมีการรักษาต้อหินอยู่ 4 วิธีครับ
- วิธีแรก คือการใช้ยาลดความดันตา หรือบางคนเรียก ยาต้อหิน
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาหยอดครับ ยาชนิดนี้มีหลายชนิด มีความปลอดภัยสูง และประสิทธิภาพดี โดยเฉพาะยาหยอดสามารถใช้ระยะยาวๆ ได้
- วิธีที่สอง คือการใช้เลเซอร์ เป็นวิธีที่คนไข้นิยมถามครับว่าจะยิงเลเซอร์ได้ไหม เห็นว่ายิงแล้วหาย ?
แต่ในความเป็นจริงคือ การยิงเลเซอร์จะใช้ยิงม่านตาให้เป็นรู ในรายที่เป็นต้อหินชนิดมุมปิด หรือยิงกระตุ้นมุมตาในรายต้อหินชนิดมุมเปิดบางชนิดครับ แม้การยิงเลเซอร์อาจช่วยลดความดันตาได้บางส่วน แต่งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ยังมีการทำลายของต้อหินอยู่ ดังนั้น อย่านิ่งนอนใจ แม้ว่ายิงเลเซอร์แล้วก็ควรไปพบจักษุแพทย์เป็นระยะด้วย
- วิธีที่สาม คือการผ่าตัด
เป็นวิธีการระบายนํ้าในลูกตาออกสู่ใต้เยื่อบุตา เป็นวิธีการที่ใช้ลดความดันตาได้แรง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าวิธีอื่น เช่น การติดเชื้อ เลือดออกใต้จอตา ปัจจุบันวิธีนี้แพทย์จะนิยมใช้ในราย ที่ใช้วิธีอื่นคุมความดันตาไม่ได้ผลครับ การผ่าตัดเป็นเพียงการลดความดันตาวิธีหนึ่งซึ่งช่วยชะลอการทำลายของต้อหิน ไม่ได้ช่วยให้ประสาทตากลับฟื้นคืนใหม่ได้
ดังนั้นการผ่าดัดต้อหินจืงไม่ได้ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น
- วิธีสุดท้าย การใช้ยาที่จะช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงที่ขั้วประสาทตา
ที่นิยมคือ ยาที่สกัดจากใบแปะก๊วย พบว่าช่วยให้มีเลือดไหลเวียนไปที่ขั้วประสาทตามากขึ้นครับ
การเลือกวิธีใดขึ้นกับข้อมูลที่จักษุแพทย์ต้องพิจารณา เช่น เป็นต้อหิน ชนิดไหน ความดันตาสูงมากแค่ไหน ขั้วประสาทตาโดนทำลายไปมากเท่าไร ลานสายตาเป็นเช่นไร ในบางราย แพทย์อาจเลือกวิธีเดียวหรือหลายวิธีผสมกันครับ คนที่เป็นต้อหินตอนนี้อยู่คงสงสัยว่าความดันตาที่เหมาะสมมันต้องเท่าไร ถ้าตอนนี้ความดันตา 15 มิลลิเมตรปรอท มันโอไหม? ความดันตาที่เหมาะสม แต่ละคนไม่เท่ากันครับ บางราย 15 ก็โอเคแล้ว แต่ บางรายต้องตํ่ากว่านั้น แพทย์จะใช้การเปลี่ยนแปลงของขั้วประสาทตาและลานสายตา ในการติดตาม และประเมินผู้ป่วย ถ้าขั้วประสาทตาและลานสายตา ไม่เปลี่ยนแปลงอาจสรุปได้คร่าวๆ ว่า ความดันตา นั้นโอเค แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแพทย์อาจจำเป็น ต้องปรับยาและเปลี่ยนวิธีการครับ
รู้อย่างนี้แล้ว ซื้อยามาหยอดเองไม่ได้นะครับ ต้องพบจักษุแพทย์เพื่อประเมินและปรับวิธีการรักษาครับ
สุดท้ายนี้ คงมีคนสงสัยว่าการนวดตาที่กำลังฮิต จะช่วยรักษาต้อหินได้ไหม ขอตอบอย่างนี้ครับ การนวดตาหรือกดไปบนลูกตาจะเพิ่มแรงดันลูกตาในขณะกด ซึ่งน่าจะเป็นผลเสียต่อเส้นประสาทตามากกว่า นอกจากนี้ยังไม่มีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ที่ยืนยันว่าการนวดดังกล่าวจะรักษาต้อหินได้ครับ
นพ.พรเทพ พงศ์ทวิกร
ศูนย์จักษุและต้อกร:จก รพ.บ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)
ตอนที่แล้วได้พูดถึงต้อหินไว้บางส่วนครับ ก็มีบางท่านโทรมาถามทันทีว่าเป็นต้อหินรักษาหายหรือเปล่า ตาจะบอดไหม วันนี้เราจะคุยกันครับ แม้ว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับต้อหินจะก้าวหน้าไปมาก มีงานวิจัยเกี่ยวกับต้อหินแต่ละปีเป็นร้อยเรื่องแต่ความรู้ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า กลไกการทำลายเส้นประสาทตาในต้อหินเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือกล่าวง่ายๆ ว่า สาเหตุต้อหินยังคงเป็นเรื่องลึกลับอยู่
ถ้าเช่นนั้น ในขณะที่เรายังไม่ทราบกลไกการเกิด ต้อหิน แล้วเราจะยับยั้ง หรือหยุดต้อหินได้อย่างไร แม้ว่าเราจะหยุดมันไม่ได้แต่ความรู้ปัจจุบันพบว่าเราสามารถชะลอมันได้ครับ
งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ถ้าเราสามารถควบคุมความดันตาไปอยู่ที่จุดที่เหมาะสมของแต่ละคน จะช่วยลดการทำลายจากต้อหินลงได้ครับ นอกจากนี้การช่วยให้เลือดไปเลี้ยงขั้วประสาทตาได้มากขึ้น ก็มีส่วนช่วยลดการทำลาย จากต้อหินเช่นกัน
ปัจจุบันการรักษาต้อหินจึงมุ่งเน้นไปในการลดความดันตาและส่งเสริมให้มีเลือดไปเลี้ยงขั้วประสาทตาเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันมีการรักษาต้อหินอยู่ 4 วิธีครับ
- วิธีแรก คือการใช้ยาลดความดันตา หรือบางคนเรียก ยาต้อหิน
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาหยอดครับ ยาชนิดนี้มีหลายชนิด มีความปลอดภัยสูง และประสิทธิภาพดี โดยเฉพาะยาหยอดสามารถใช้ระยะยาวๆ ได้
- วิธีที่สอง คือการใช้เลเซอร์ เป็นวิธีที่คนไข้นิยมถามครับว่าจะยิงเลเซอร์ได้ไหม เห็นว่ายิงแล้วหาย ?
แต่ในความเป็นจริงคือ การยิงเลเซอร์จะใช้ยิงม่านตาให้เป็นรู ในรายที่เป็นต้อหินชนิดมุมปิด หรือยิงกระตุ้นมุมตาในรายต้อหินชนิดมุมเปิดบางชนิดครับ แม้การยิงเลเซอร์อาจช่วยลดความดันตาได้บางส่วน แต่งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ยังมีการทำลายของต้อหินอยู่ ดังนั้น อย่านิ่งนอนใจ แม้ว่ายิงเลเซอร์แล้วก็ควรไปพบจักษุแพทย์เป็นระยะด้วย
- วิธีที่สาม คือการผ่าตัด
เป็นวิธีการระบายนํ้าในลูกตาออกสู่ใต้เยื่อบุตา เป็นวิธีการที่ใช้ลดความดันตาได้แรง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าวิธีอื่น เช่น การติดเชื้อ เลือดออกใต้จอตา ปัจจุบันวิธีนี้แพทย์จะนิยมใช้ในราย ที่ใช้วิธีอื่นคุมความดันตาไม่ได้ผลครับ การผ่าตัดเป็นเพียงการลดความดันตาวิธีหนึ่งซึ่งช่วยชะลอการทำลายของต้อหิน ไม่ได้ช่วยให้ประสาทตากลับฟื้นคืนใหม่ได้
ดังนั้นการผ่าดัดต้อหินจืงไม่ได้ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น
- วิธีสุดท้าย การใช้ยาที่จะช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงที่ขั้วประสาทตา
ที่นิยมคือ ยาที่สกัดจากใบแปะก๊วย พบว่าช่วยให้มีเลือดไหลเวียนไปที่ขั้วประสาทตามากขึ้นครับ
การเลือกวิธีใดขึ้นกับข้อมูลที่จักษุแพทย์ต้องพิจารณา เช่น เป็นต้อหิน ชนิดไหน ความดันตาสูงมากแค่ไหน ขั้วประสาทตาโดนทำลายไปมากเท่าไร ลานสายตาเป็นเช่นไร ในบางราย แพทย์อาจเลือกวิธีเดียวหรือหลายวิธีผสมกันครับ คนที่เป็นต้อหินตอนนี้อยู่คงสงสัยว่าความดันตาที่เหมาะสมมันต้องเท่าไร ถ้าตอนนี้ความดันตา 15 มิลลิเมตรปรอท มันโอไหม? ความดันตาที่เหมาะสม แต่ละคนไม่เท่ากันครับ บางราย 15 ก็โอเคแล้ว แต่ บางรายต้องตํ่ากว่านั้น แพทย์จะใช้การเปลี่ยนแปลงของขั้วประสาทตาและลานสายตา ในการติดตาม และประเมินผู้ป่วย ถ้าขั้วประสาทตาและลานสายตา ไม่เปลี่ยนแปลงอาจสรุปได้คร่าวๆ ว่า ความดันตา นั้นโอเค แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแพทย์อาจจำเป็น ต้องปรับยาและเปลี่ยนวิธีการครับ
รู้อย่างนี้แล้ว ซื้อยามาหยอดเองไม่ได้นะครับ ต้องพบจักษุแพทย์เพื่อประเมินและปรับวิธีการรักษาครับ
สุดท้ายนี้ คงมีคนสงสัยว่าการนวดตาที่กำลังฮิต จะช่วยรักษาต้อหินได้ไหม ขอตอบอย่างนี้ครับ การนวดตาหรือกดไปบนลูกตาจะเพิ่มแรงดันลูกตาในขณะกด ซึ่งน่าจะเป็นผลเสียต่อเส้นประสาทตามากกว่า นอกจากนี้ยังไม่มีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ที่ยืนยันว่าการนวดดังกล่าวจะรักษาต้อหินได้ครับ
วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555
ยารักษาเบาหวานและการตรวจวัดน้ำตาลด้วยตนเองที่บ้าน
ภาวะนํ้าตาลสูงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองนั้น อาจแบ่งออกได้เป็นระดับนํ้าตาลที่สูง ภายหลังการรับประทานอาหาร และนํ้าตาล ที่สูงแม้ในขณะที่อดอาหาร กลไกที่สำคัญของการเกิดนํ้าตาลในเลือดที่สูงนิ้เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ร่วมกับความผิดปกติของเบต้าเซลล์ที่ตับอ่อน ไม่สามารถสร้างและหลั่งอินซูลินได้เพียงพอ การรักษาในระยะแรกนั้น มุ่งเน้นที่การควบคุมอาหาร ซึ่งจะลดระดับนํ้าตาลภายหลังการรับประทานอาหารลงได้ การลดนํ้าหนักตัวลงร่วมกับการออกกำลังกายจะช่วยให้ภาวะดื้อต่ออินซูลินดีขึ้น จนทำให้ระดับนํ้าตาล ในขณะอดอาหาร (นํ้าตาลในตอนเช้า) ลดลงได้ อย่างไรก็ตามเมื่อการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายไม่เป็นผล จำเป็นต้องได้รับยาซึ่งจะออกฤทธิ๋ลดระดับนํ้าตาลในเลือด ยาต่างๆ เหล่านี้ในปัจจุบันมีมากมาย และมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันไป แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกยา ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย การเลือกใช้ยาแต่ละชนิดควรต้องพิจารณาถึงข้อบ่งชี้ของการใช้ยา ข้อห้าม รวมทั้งอาการอันไม่พึงประสงค์ต่างๆ การใช้ยาต่างๆ เหล่านี้ ควรต้องคำนึงถึงปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีโรคต่างๆ หลายอย่างร่วมด้วยการได้รับยาหลาย ๆ ชนิดรวมกันมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนการใช้ยาได้โดยง่าย
ยาชนิดรับประทานคืออะไร
• ยาเบาหวานชนิดเม็ด ใช้เพื่อลดระดับนํ้าตาล ในเลือด
• ยาเบาหวานชนิดเม็ด มิใช่อินซูลิน อินซูลินไม่สามารถใช้รับประทานได้ เนื่องจากอินซูลินเป็นโปรตีนที่ถูกทำลายได้ด้วยนํ้าย่อย เช่น โปรตีนชนิดอื่นๆ
• ยาชนิดเม็ดจะมีประสิทธิภาพเมื่อตับอ่อนยังผลิต อินซูลินได้บ้าง
สำหรับการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะด้วยตนเองที่บ้าน อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน และจะหลั่งออกมาเมื่อมีการกระตุ้นจากอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นํ้าตาลกลูโคส อินซูลินทำหน้าที่พากลูโคสเข้าสู่เซลล์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่อื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ ควบคุมระดับไขมันในเลือด เป็นต้น
โรคเบาหวานโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่ 2 เกิดจาก ร่างกายขาดอินซูลิน โดยที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินออกมาไม่เพียงพอหรืออินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยกว่าปกติ เนื่องจากเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้กลูโคสไม่ถูกพาเข้าสู่เซลล์ ทั้งสองสาเหตุทำให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงผิดปกติได้ ในระยะแรกของโรคเบาหวาน การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย รวมทั้งการใช้ยาเม็ดลดระดับนํ้าตาล จะช่วยแก้ไขภาวะเหล่านี้ได้ แต่เมื่อโรคดำเนินไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง จะพบว่า ผู้ป่วยจำนวนมาก จะเริ่มใช้ยาเม็ดไม่ได้ผล เนื่องจากตับอ่อน เสื่อมสภาพลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่สามารถสร้างและหลั่งอินซูลินออกมาได้เพียงพอ เป็นเหตุให้ระดับนํ้าตาลสูง จนควบคุมไม่ได้ เมื่อถึงระยะนี้จำเป็นต้องได้รับอินซูลินจากภายนอกเพิ่มเติม จืงจะสามารถรักษาระดับนํ้าตาลให้กลับมาเป็นปกติได้อีก
อินซูลินเป็นสารประกอบโปรตีน ไม่สามารถรับประทาน ได้เหมือนยาเม็ดทั่วไป จำเป็นต้องฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ด้วยการฉีดยาที่ถูกต้อง
ภาวะนํ้าตาลสูงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองนั้น อาจแบ่งออกได้เป็นระดับนํ้าตาลที่สูง ภายหลังการรับประทานอาหาร และนํ้าตาล ที่สูงแม้ในขณะที่อดอาหาร กลไกที่สำคัญของการเกิดนํ้าตาลในเลือดที่สูงนิ้เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ร่วมกับความผิดปกติของเบต้าเซลล์ที่ตับอ่อน ไม่สามารถสร้างและหลั่งอินซูลินได้เพียงพอ การรักษาในระยะแรกนั้น มุ่งเน้นที่การควบคุมอาหาร ซึ่งจะลดระดับนํ้าตาลภายหลังการรับประทานอาหารลงได้ การลดนํ้าหนักตัวลงร่วมกับการออกกำลังกายจะช่วยให้ภาวะดื้อต่ออินซูลินดีขึ้น จนทำให้ระดับนํ้าตาล ในขณะอดอาหาร (นํ้าตาลในตอนเช้า) ลดลงได้ อย่างไรก็ตามเมื่อการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายไม่เป็นผล จำเป็นต้องได้รับยาซึ่งจะออกฤทธิ๋ลดระดับนํ้าตาลในเลือด ยาต่างๆ เหล่านี้ในปัจจุบันมีมากมาย และมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันไป แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกยา ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย การเลือกใช้ยาแต่ละชนิดควรต้องพิจารณาถึงข้อบ่งชี้ของการใช้ยา ข้อห้าม รวมทั้งอาการอันไม่พึงประสงค์ต่างๆ การใช้ยาต่างๆ เหล่านี้ ควรต้องคำนึงถึงปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีโรคต่างๆ หลายอย่างร่วมด้วยการได้รับยาหลาย ๆ ชนิดรวมกันมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนการใช้ยาได้โดยง่าย
ยาชนิดรับประทานคืออะไร
• ยาเบาหวานชนิดเม็ด ใช้เพื่อลดระดับนํ้าตาล ในเลือด
• ยาเบาหวานชนิดเม็ด มิใช่อินซูลิน อินซูลินไม่สามารถใช้รับประทานได้ เนื่องจากอินซูลินเป็นโปรตีนที่ถูกทำลายได้ด้วยนํ้าย่อย เช่น โปรตีนชนิดอื่นๆ
• ยาชนิดเม็ดจะมีประสิทธิภาพเมื่อตับอ่อนยังผลิต อินซูลินได้บ้าง
สำหรับการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะด้วยตนเองที่บ้าน อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน และจะหลั่งออกมาเมื่อมีการกระตุ้นจากอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นํ้าตาลกลูโคส อินซูลินทำหน้าที่พากลูโคสเข้าสู่เซลล์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่อื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ ควบคุมระดับไขมันในเลือด เป็นต้น
โรคเบาหวานโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่ 2 เกิดจาก ร่างกายขาดอินซูลิน โดยที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินออกมาไม่เพียงพอหรืออินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยกว่าปกติ เนื่องจากเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้กลูโคสไม่ถูกพาเข้าสู่เซลล์ ทั้งสองสาเหตุทำให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงผิดปกติได้ ในระยะแรกของโรคเบาหวาน การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย รวมทั้งการใช้ยาเม็ดลดระดับนํ้าตาล จะช่วยแก้ไขภาวะเหล่านี้ได้ แต่เมื่อโรคดำเนินไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง จะพบว่า ผู้ป่วยจำนวนมาก จะเริ่มใช้ยาเม็ดไม่ได้ผล เนื่องจากตับอ่อน เสื่อมสภาพลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่สามารถสร้างและหลั่งอินซูลินออกมาได้เพียงพอ เป็นเหตุให้ระดับนํ้าตาลสูง จนควบคุมไม่ได้ เมื่อถึงระยะนี้จำเป็นต้องได้รับอินซูลินจากภายนอกเพิ่มเติม จืงจะสามารถรักษาระดับนํ้าตาลให้กลับมาเป็นปกติได้อีก
อินซูลินเป็นสารประกอบโปรตีน ไม่สามารถรับประทาน ได้เหมือนยาเม็ดทั่วไป จำเป็นต้องฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ด้วยการฉีดยาที่ถูกต้อง
เลือด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชีวิต (7) ดัชนีบ่งชี้การทำงานของไต
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุรยา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลีอด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชีวิต ตอนที่ 7 นี้ เราจะมาคุย กันถึงรายการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการเทคนิคการแพทย์ ในกลุ่มที่ 3 คือ การวิเคราะห์สภาวะการทำงานของ ไต (Renal profile) จากภาพจะเห็นว่า มีรายการตรวจหลักอยู่ 2 รายการ คือ บียูเอ็น (Blood Urea Nitrogen; BUN) ครีอะตินีน (Creatinine) และจะมีอีกรายการ คือ กรดยูริค (Uric acid) ซึ่งหลายท่านอาจจะสงลัยและพอรู้มาว่า การตรวจวิเคราะห์ปริมาณกรดยูริค เป็นการประเมินความเสี่ยงต่อการ เป็นโรคเก๊าต์มีใช่หรือ ทำไมรายการนี้ ถึงมาอยู่ในกลุ่มการทำงานของไตได้ ขออุบไว้ในตอนต่อๆ ไป สำหรับในตอนนี้ เราจะมาว่ากันถึง 2 ตวแรกกันก่อนนะครับ
การตรวจบียูเอ็น เป็นการตรวจวิเคราะห์ปริมาณของไนโตรเจนที่อยู่ในเลือดในรูปของยูเรีย โดยปกติยูเรียจัดเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยสลายโปรตีนที่เรารับประทานเข้าไป โดยยูเรียจะถูกสร้างขึ้นที่ตับและถูกกำจัดออกจากเลือด โดยกรองผ่านทางไต จากหลักการนี้ จึงทำให้บียูเอ็นถูกนำมาใช้ในการประเมินศักยภาพการทำงานของไตในการกำจัดสารนี้ออกจากเลือด ซึ่งค่าปกติของระดับบียูเอ็นในเลือดจะอยู่ระหว่าง 7 - 20 มิลลิกรัมต่อปริมาณเลือด 100 มิลลิลิตร (เรียกว่า มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร; mg/dL) ดังนั้น หากไตมีสภาวะการทำงานที่บกพร่อง ก็จะส่งผลทำให้มีการสะสมบียูเอ็นในกระแสเลือดมากขึ้น ทว่า ค่าบียูเอ็นที่สูงเกิน 20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ไม่ได้เป็นตัวที่ชี้วัดว่าเป็นโรคไตเสมอไป เนื่องจาก ยังมีปัจจัย อื่นอีกหลายประการที่ทำให้ค่าบียูเอ็นมีระดับสูงได้ อาทิ ภาวะช็อค ภาวะการขาดนํ้า (Dehydration) การมีสภาวะ เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร (Gl bleeding) การมีภาวะการสลายโปรตีนที่ผิดปกติหรือการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงเกินไป ตลอดจนการได้รับยาบางชนิด ดังนั้น การจะบ่งชี้ว่า ไตมีปัญหาหรือมีการทำงานที่ผิดปกติ จะต้องมีการตรวจ ทดสอบและการคำนวณอื่นๆ เข้ามาใช้ประกอบด้วย ในทางตรงกันข้าม หากค่าบียูเอ็นตํ่ามากๆ มักไม่ค่อยพบเจอ แต่ก็อาจมีสาเหตุมาจากภาวะผิดปกติของตับ ภาวะทุพโภชนาการหรือการอดอาหาร ตลอดจนการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก เป็นต้น
สำหรับครีอะตินิน เป็นสารที่เป็นผลพวงจากการเผาผลาญอาหารเพื่อใช้พลังงานในกล้ามเนื้อ และซึมผ่านออกมาในกระแสเลือดเพื่อไปกรองผ่านและกำจัดทิ้งที่ไตและออกมาในปัสสาวะ ดังนั้น จึงมีการนำครีอะตินินมาใช้เป็นดัชนีบ่งชี้การทำงานของไต เนื่องจาก ปริมาณการย่อยสลายของสารในกล้ามเนื้อ เพื่อเปลี่ยนเป็นครีอะตินีนในแต่ละวันค่อนข้างคงที่ อีกทั้งครีอะตินินจะไม่มีการถูกดูดกลับที่ไตซึ่งแตกต่างจากบียูเอ็น จึงเป็นตัวบ่งชี้การทำงานของไตหรือความผิดปกติที่มีต่อไตได้เป็นอย่างดี ค่าปกติของครีอะตินีนในเลือดจะมีค่าระหว่าง 0.5 - 1.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อนึ่ง ค่าครีอะตินีนที่สูงกว่าปกติจะพบได้ในโรคไต และอาจพบเจอได้บ้างในโรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ในขณะที่ ค่าตํ่าก็อาจพบได้ในคนที่กำลังตั้งครรภ์ หรือผู้สูงอายุที่มีมวลของกล้ามเนื้อลดลง เป็นต้น
นอกเหนือไปจากการอ่านค่าบียูเอ็น และครีอะตินีน ในกระแสเลือดจากใบรายงานผลแล้วนั้น เรายังสามารถนำค่าการตรวจวิเคราะห์มาหาความสัมพันธ์เชิงสัดส่วนที่เรียกว่า "BUN:Creatinine ratio" อีกด้วย ตัวอย่างเช่น หากค่าบียูเอ็นและครีอะตินีนที่ตรวจได้เท่ากับ 10 และ 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ตามลำดับ เมื่อนำมาหารกันจะได้ค่า เท่ากับ 10 หรือคิดเป็นลัดส่วน 10 ต่อ 1 ซึ่งค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 10 - 15 ต่อ 1 นั่นหมายความว่า การดูดกลับบียูเอ็นที่ไตจะยังอยู่ในช่วงปกติ แต่หากค่าสูงกว่า 15 ต่อ 1 จะหมายความว่า มีการดูดกลับของบียูเอ็นมากกว่าปกติ ทำให้มีการคั่งของบียูเอ็นในกระแสเลือด หากมองอีกมุมหนึ่ง การสลายของกล้ามเนื้อ รวมทั้งการขับออก ครีอะตินีนทางปัสสาวะยังคงเท่าเดิม ซึ่งส่งผลให้ค่าครีอะตินีนในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง โดยเมื่อเทียบสัดส่วนแล้วจะพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของค่าบียูเอ็นกว่าค่าของครีอะตินินมาก โดยในกรณีนี้จะบ่งชี้ว่า ไม่มีภาวะผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณไต เนื่องจากไตยังสามารถกรองครีอะตินีนได้เป็นอย่างดี แสดงว่าเกิดปัญหาหรือความผิดปกติในตำแหน่งก่อนเข้าสู่ไต (Prerenal) หรือหลังออกจากไต (Postrenal) ดังแสดงในภาพ ในทางตรงกันข้ามหากค่า ตํ่ากว่า 10 ต่อ 1 จะบ่งบอกว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณไต (Intrarenal) ทำให้การกรองผ่านทั้งบียูเอ็น และครีอะตินีนเกิดขึ้นได้ไม่ดี ทำให้เกิดการคั่งของทั้ง บียูเอ็นและครีอะตินีนในกระแสเลือด ซึ่งถึงแม้ว่าในเลือด จะมีค่าบียูเอ็นที่สูง ทว่า จากการที่ครีอะตินีนมีค่าสูงขึ้นด้วย จึงทำให้สัดส่วนมีค่าใกล้เคียงปกติ หรือค่าตํ่าลงได้ ดังนั้น จึงต้องดูทั้งค่าในเลือด และการคำนวณประกอบกัน
ตอนหน้าเราจะกลับมาว่ากันต่อ เกี่ยวกับการแปลผล ในรายละเอียดและรายการตรวจวิเคราะห์ปริมาณกรดยูริค
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุรยา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลีอด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชีวิต ตอนที่ 7 นี้ เราจะมาคุย กันถึงรายการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการเทคนิคการแพทย์ ในกลุ่มที่ 3 คือ การวิเคราะห์สภาวะการทำงานของ ไต (Renal profile) จากภาพจะเห็นว่า มีรายการตรวจหลักอยู่ 2 รายการ คือ บียูเอ็น (Blood Urea Nitrogen; BUN) ครีอะตินีน (Creatinine) และจะมีอีกรายการ คือ กรดยูริค (Uric acid) ซึ่งหลายท่านอาจจะสงลัยและพอรู้มาว่า การตรวจวิเคราะห์ปริมาณกรดยูริค เป็นการประเมินความเสี่ยงต่อการ เป็นโรคเก๊าต์มีใช่หรือ ทำไมรายการนี้ ถึงมาอยู่ในกลุ่มการทำงานของไตได้ ขออุบไว้ในตอนต่อๆ ไป สำหรับในตอนนี้ เราจะมาว่ากันถึง 2 ตวแรกกันก่อนนะครับ
การตรวจบียูเอ็น เป็นการตรวจวิเคราะห์ปริมาณของไนโตรเจนที่อยู่ในเลือดในรูปของยูเรีย โดยปกติยูเรียจัดเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยสลายโปรตีนที่เรารับประทานเข้าไป โดยยูเรียจะถูกสร้างขึ้นที่ตับและถูกกำจัดออกจากเลือด โดยกรองผ่านทางไต จากหลักการนี้ จึงทำให้บียูเอ็นถูกนำมาใช้ในการประเมินศักยภาพการทำงานของไตในการกำจัดสารนี้ออกจากเลือด ซึ่งค่าปกติของระดับบียูเอ็นในเลือดจะอยู่ระหว่าง 7 - 20 มิลลิกรัมต่อปริมาณเลือด 100 มิลลิลิตร (เรียกว่า มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร; mg/dL) ดังนั้น หากไตมีสภาวะการทำงานที่บกพร่อง ก็จะส่งผลทำให้มีการสะสมบียูเอ็นในกระแสเลือดมากขึ้น ทว่า ค่าบียูเอ็นที่สูงเกิน 20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ไม่ได้เป็นตัวที่ชี้วัดว่าเป็นโรคไตเสมอไป เนื่องจาก ยังมีปัจจัย อื่นอีกหลายประการที่ทำให้ค่าบียูเอ็นมีระดับสูงได้ อาทิ ภาวะช็อค ภาวะการขาดนํ้า (Dehydration) การมีสภาวะ เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร (Gl bleeding) การมีภาวะการสลายโปรตีนที่ผิดปกติหรือการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงเกินไป ตลอดจนการได้รับยาบางชนิด ดังนั้น การจะบ่งชี้ว่า ไตมีปัญหาหรือมีการทำงานที่ผิดปกติ จะต้องมีการตรวจ ทดสอบและการคำนวณอื่นๆ เข้ามาใช้ประกอบด้วย ในทางตรงกันข้าม หากค่าบียูเอ็นตํ่ามากๆ มักไม่ค่อยพบเจอ แต่ก็อาจมีสาเหตุมาจากภาวะผิดปกติของตับ ภาวะทุพโภชนาการหรือการอดอาหาร ตลอดจนการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก เป็นต้น
สำหรับครีอะตินิน เป็นสารที่เป็นผลพวงจากการเผาผลาญอาหารเพื่อใช้พลังงานในกล้ามเนื้อ และซึมผ่านออกมาในกระแสเลือดเพื่อไปกรองผ่านและกำจัดทิ้งที่ไตและออกมาในปัสสาวะ ดังนั้น จึงมีการนำครีอะตินินมาใช้เป็นดัชนีบ่งชี้การทำงานของไต เนื่องจาก ปริมาณการย่อยสลายของสารในกล้ามเนื้อ เพื่อเปลี่ยนเป็นครีอะตินีนในแต่ละวันค่อนข้างคงที่ อีกทั้งครีอะตินินจะไม่มีการถูกดูดกลับที่ไตซึ่งแตกต่างจากบียูเอ็น จึงเป็นตัวบ่งชี้การทำงานของไตหรือความผิดปกติที่มีต่อไตได้เป็นอย่างดี ค่าปกติของครีอะตินีนในเลือดจะมีค่าระหว่าง 0.5 - 1.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อนึ่ง ค่าครีอะตินีนที่สูงกว่าปกติจะพบได้ในโรคไต และอาจพบเจอได้บ้างในโรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ในขณะที่ ค่าตํ่าก็อาจพบได้ในคนที่กำลังตั้งครรภ์ หรือผู้สูงอายุที่มีมวลของกล้ามเนื้อลดลง เป็นต้น
นอกเหนือไปจากการอ่านค่าบียูเอ็น และครีอะตินีน ในกระแสเลือดจากใบรายงานผลแล้วนั้น เรายังสามารถนำค่าการตรวจวิเคราะห์มาหาความสัมพันธ์เชิงสัดส่วนที่เรียกว่า "BUN:Creatinine ratio" อีกด้วย ตัวอย่างเช่น หากค่าบียูเอ็นและครีอะตินีนที่ตรวจได้เท่ากับ 10 และ 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ตามลำดับ เมื่อนำมาหารกันจะได้ค่า เท่ากับ 10 หรือคิดเป็นลัดส่วน 10 ต่อ 1 ซึ่งค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 10 - 15 ต่อ 1 นั่นหมายความว่า การดูดกลับบียูเอ็นที่ไตจะยังอยู่ในช่วงปกติ แต่หากค่าสูงกว่า 15 ต่อ 1 จะหมายความว่า มีการดูดกลับของบียูเอ็นมากกว่าปกติ ทำให้มีการคั่งของบียูเอ็นในกระแสเลือด หากมองอีกมุมหนึ่ง การสลายของกล้ามเนื้อ รวมทั้งการขับออก ครีอะตินีนทางปัสสาวะยังคงเท่าเดิม ซึ่งส่งผลให้ค่าครีอะตินีนในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง โดยเมื่อเทียบสัดส่วนแล้วจะพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของค่าบียูเอ็นกว่าค่าของครีอะตินินมาก โดยในกรณีนี้จะบ่งชี้ว่า ไม่มีภาวะผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณไต เนื่องจากไตยังสามารถกรองครีอะตินีนได้เป็นอย่างดี แสดงว่าเกิดปัญหาหรือความผิดปกติในตำแหน่งก่อนเข้าสู่ไต (Prerenal) หรือหลังออกจากไต (Postrenal) ดังแสดงในภาพ ในทางตรงกันข้ามหากค่า ตํ่ากว่า 10 ต่อ 1 จะบ่งบอกว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณไต (Intrarenal) ทำให้การกรองผ่านทั้งบียูเอ็น และครีอะตินีนเกิดขึ้นได้ไม่ดี ทำให้เกิดการคั่งของทั้ง บียูเอ็นและครีอะตินีนในกระแสเลือด ซึ่งถึงแม้ว่าในเลือด จะมีค่าบียูเอ็นที่สูง ทว่า จากการที่ครีอะตินีนมีค่าสูงขึ้นด้วย จึงทำให้สัดส่วนมีค่าใกล้เคียงปกติ หรือค่าตํ่าลงได้ ดังนั้น จึงต้องดูทั้งค่าในเลือด และการคำนวณประกอบกัน
ตอนหน้าเราจะกลับมาว่ากันต่อ เกี่ยวกับการแปลผล ในรายละเอียดและรายการตรวจวิเคราะห์ปริมาณกรดยูริค
เลือด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชีวิต (15) ดัชนีบ่งชี้สมดุลของแร่ธาตุ
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตอนนี้ เป็นภาคต่อของการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ในกลุ่มอิเลกโตรไลต์ ซึ่งตอนที่แล้ว เราได้พูดถึงไอออนตัวแรก ที่มีความสำคัญกันไปแล้วคือโซเดียม ซึ่งได้กล่าวแล้วว่า ค่าปกติของระดับโซเดียมในเลือดจะอยู่ในช่วงประมาณ 137 - 145 mmol/L (อ่านว่า มิลลิโมลต่อปริมาณเลือด 1 ลิตร) ค่าที่ตํ่ากว่าปกติมากๆ (Hyponatremia) อาจมีสาเหตุมาจากการมีภาวะอักเสบที่ไต ทำให้การดูดกลับโซเดียมบริเวณไตเกิดขึ้นน้อยกว่าปกติ รวมถึง อาจมาจากการสูญเสียโซเดียมจากภาวะอุจจาระร่วงเป็นเวลานาน หรือการได้รับยาขับปัสสาวะ (เช่น ยาที่ใช้ร่วมในการรักษาความดันโลหิตสูง) ในบางกรณีอาจมาจากการขาดฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (Aldosterone) จากโรคทีเรียกว่า Addison’s disease ทำให้ไตดูดกลับโซเดียมได้ไม่เต็มที่
นอกจากนั้น ยังพบการขับออกโซเดียมทางปัสสาวะในรูปต่างๆ มากขึ้นในผู้ปวยที่เป็นโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) หรือมีภาวะเบาจืด (Diabetes insipidus) ได้อีกด้วย ซึ่งหากร่างกายมีระดับโซเดียมที่ตํ่าลง จะมีอาการแสดงที่พบบ่อย ได้แก่ การอ่อนเปลี้ยเพลียแรง เฉื่อยชา กระหายนํ้า ปวดศีรษะ ความคิดสับสน และซึมลงจนกระทั่งอาจหมดสติได้ ในทางตรงกันข้าม จะพบระดับของโซเดียมที่สูงกว่าปกติ (Hypernatremia) ในหลายกรณี อาทิ การกินเค็มมากกว่าปกติ การที่ร่างกายมีการเสียนํ้า หรือมีภาวะขาดน้ำจากการท้องร่วง ท้องเสีย โดยไม่มีการดื่มนํ้าทดแทน ส่งผลทำให้ค่าของโซเดียมในเลือดเข้มข้นขึ้น รวมถึงยังอาจเกิดขึ้นจากโรคบางชนิด ในสภาวะที่เลือดมีระดับโซเดียมสูงเกิน จะทำให้มีอาการแสดงดังนี้ กระหายนํ้า คอแห้ง กระสับกระส่าย และในบางครั้งอาจพบอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง และชักกระตุกได้
สำหรับตัวต่อไป คือ โปแตสเชียม (K+) ซึ่งเป็นไอออนประจุบวกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยจะพบปริมาณมากในของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ (ซึ่งเป็นในทางตรงกันข้ามกับโซเดียมที่มีมากที่สุดภายนอกเซลล์) นั่นก็หมายความว่า ภายในเซลล์ เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์เนื้อเยื่อซนิดต่างๆ จะมีปริมาณโปแตสเซียมในระดับประมาณ 100 - 150 mmol/L ในขณะที่ค่าปกติของโปแตสเซียมในกระแสเลือด (หมายถึงสภาวะภายนอกเซลล์) จะมีอยู่เพียง 3.5 - 5.1 mmol/L โดยร่างกายได้รับโปแตสเชียมจากอาหารผ่านการดูดซึมในระบบทางเดินอาหารโดยถูกนำเข้าสู่เซลล์เพื่อรักษาสมดุลของไอออนไว้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย โดยส่วนใหญ่ จะถูกขับออกทางไตผ่านนํ้าปัสสาวะ ทั้งนี้ การขับออกทางไตนี้ จะไม่มีการควบคุมการดูดกลับของโปแตสเชียมเฉกเช่นเดียวกับ การควบคุมระดับโซเดียมอีกด้วย
โปแตสเชียมมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากต่อการทำงานของหัวใจ เนื่องจากหากอัตราส่วนของความเข้มข้นโปแตสเซียมที่อยู่ภายในและภายนอกเซลล์มีความผิดปกติไป จะส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจจนทำให้เต้นไม่เป็นจังหวะหรือผิดจังหวะได้ หรือยิ่งไปกว่านั้นอีก หากระดับโปแตสเชียมตํ่าลงมากๆ จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น จนอาจมีผลทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหากับโรคหัวใจ หรืออยู่ในระหว่างการบำบัดรักษา รวมทั้ง ในกรณีผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ซึ่งต้องได้รับยาลดความดันและยาขับปัสสาวะอยู่นั้นจำเป็นต้องตรวจติดตาม ระดับโปแตสเชียมในเลือดอยู่เสมอ ซึ่งหากร่างกายมีระดับโปแตสเชียมตํ่าลง โดยไม่สามารถชดเชยได้จากอาหารจนเพียงพอ จะทำให้เกิดสภาวะโปแตสเชียมตํ่าในกระแสเลือด (Hypokalemia) ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดอาการแสดง อาทิ การอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง สับสน กระลับกระส่าย การหยุดหายใจและการมีคลื่นหัวใจผิดปกติ ในทางตรงกันข้าม โดยปกติมักไม่ค่อยพบเจอสภาวะที่มีโปแตสเซียมสูงในกระแสเลือด (Hyperkalemia) เนื่องจาก หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปจากอาหาร ไตก็สามารถกำจัดทิ้งได้หมด ยกเว้นกรณีที่ไตมีการทำงานบกพร่อง มีการอุดตันในท่อทางเดินปัสสาวะ รวมถึงมีการหลั่งฮอรํโมนแอลโดสเตอโรนน้อยเกินไป
สำหรับการเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยระดับโปแตสเซียมในเลือดนั้น จะมีการเจาะเลือดดำจากแขน ประมาณ 5 มิลลิลิตร ใส่ในหลอดที่ไม่มีสารกันเลือดแข็งตัว หรืออาจใช้หลอดที่มีสารกันเลือดแข็งชนิด Lithium-heparin ก็ได้ โดยมีข้อควรระวัง คือ เมื่อเจาะแล้วต้องรีบส่งไปยังห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์โดยเร็วที่สุด (ปกติควรวิเคราะห์ ภายใน 1 ชั่วโมง) และจะต้องรีบปั่นแยกซีรั่มหรือพลาสม่า (นํ้าเลือด) ออกจากเม็ดเลือดแดงโดยเร็ว มิฉะนั้น จะมีปริมาณ โปแตสเชียมที่สูงขึ้นเกินความจริง เนื่องจากโปแตสเซียมที่ปะปนออกมาจากเซลล์เม็ดเลือดแดงนั่นเอง
ตอนต่อๆ ไป เราจะมาว่ากันต่อที่อิเลกโตรไลต์ตัวที่สามและสี่ คือ คลอไรด์ (Cl) และคาร์บอนไดออกไซด์ (C02) หรือไบคาร์บอเนต (HC03) กันนะครับ
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตอนนี้ เป็นภาคต่อของการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ในกลุ่มอิเลกโตรไลต์ ซึ่งตอนที่แล้ว เราได้พูดถึงไอออนตัวแรก ที่มีความสำคัญกันไปแล้วคือโซเดียม ซึ่งได้กล่าวแล้วว่า ค่าปกติของระดับโซเดียมในเลือดจะอยู่ในช่วงประมาณ 137 - 145 mmol/L (อ่านว่า มิลลิโมลต่อปริมาณเลือด 1 ลิตร) ค่าที่ตํ่ากว่าปกติมากๆ (Hyponatremia) อาจมีสาเหตุมาจากการมีภาวะอักเสบที่ไต ทำให้การดูดกลับโซเดียมบริเวณไตเกิดขึ้นน้อยกว่าปกติ รวมถึง อาจมาจากการสูญเสียโซเดียมจากภาวะอุจจาระร่วงเป็นเวลานาน หรือการได้รับยาขับปัสสาวะ (เช่น ยาที่ใช้ร่วมในการรักษาความดันโลหิตสูง) ในบางกรณีอาจมาจากการขาดฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (Aldosterone) จากโรคทีเรียกว่า Addison’s disease ทำให้ไตดูดกลับโซเดียมได้ไม่เต็มที่
นอกจากนั้น ยังพบการขับออกโซเดียมทางปัสสาวะในรูปต่างๆ มากขึ้นในผู้ปวยที่เป็นโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) หรือมีภาวะเบาจืด (Diabetes insipidus) ได้อีกด้วย ซึ่งหากร่างกายมีระดับโซเดียมที่ตํ่าลง จะมีอาการแสดงที่พบบ่อย ได้แก่ การอ่อนเปลี้ยเพลียแรง เฉื่อยชา กระหายนํ้า ปวดศีรษะ ความคิดสับสน และซึมลงจนกระทั่งอาจหมดสติได้ ในทางตรงกันข้าม จะพบระดับของโซเดียมที่สูงกว่าปกติ (Hypernatremia) ในหลายกรณี อาทิ การกินเค็มมากกว่าปกติ การที่ร่างกายมีการเสียนํ้า หรือมีภาวะขาดน้ำจากการท้องร่วง ท้องเสีย โดยไม่มีการดื่มนํ้าทดแทน ส่งผลทำให้ค่าของโซเดียมในเลือดเข้มข้นขึ้น รวมถึงยังอาจเกิดขึ้นจากโรคบางชนิด ในสภาวะที่เลือดมีระดับโซเดียมสูงเกิน จะทำให้มีอาการแสดงดังนี้ กระหายนํ้า คอแห้ง กระสับกระส่าย และในบางครั้งอาจพบอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง และชักกระตุกได้
สำหรับตัวต่อไป คือ โปแตสเชียม (K+) ซึ่งเป็นไอออนประจุบวกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยจะพบปริมาณมากในของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ (ซึ่งเป็นในทางตรงกันข้ามกับโซเดียมที่มีมากที่สุดภายนอกเซลล์) นั่นก็หมายความว่า ภายในเซลล์ เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์เนื้อเยื่อซนิดต่างๆ จะมีปริมาณโปแตสเซียมในระดับประมาณ 100 - 150 mmol/L ในขณะที่ค่าปกติของโปแตสเซียมในกระแสเลือด (หมายถึงสภาวะภายนอกเซลล์) จะมีอยู่เพียง 3.5 - 5.1 mmol/L โดยร่างกายได้รับโปแตสเชียมจากอาหารผ่านการดูดซึมในระบบทางเดินอาหารโดยถูกนำเข้าสู่เซลล์เพื่อรักษาสมดุลของไอออนไว้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย โดยส่วนใหญ่ จะถูกขับออกทางไตผ่านนํ้าปัสสาวะ ทั้งนี้ การขับออกทางไตนี้ จะไม่มีการควบคุมการดูดกลับของโปแตสเชียมเฉกเช่นเดียวกับ การควบคุมระดับโซเดียมอีกด้วย
โปแตสเชียมมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากต่อการทำงานของหัวใจ เนื่องจากหากอัตราส่วนของความเข้มข้นโปแตสเซียมที่อยู่ภายในและภายนอกเซลล์มีความผิดปกติไป จะส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจจนทำให้เต้นไม่เป็นจังหวะหรือผิดจังหวะได้ หรือยิ่งไปกว่านั้นอีก หากระดับโปแตสเชียมตํ่าลงมากๆ จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น จนอาจมีผลทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหากับโรคหัวใจ หรืออยู่ในระหว่างการบำบัดรักษา รวมทั้ง ในกรณีผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ซึ่งต้องได้รับยาลดความดันและยาขับปัสสาวะอยู่นั้นจำเป็นต้องตรวจติดตาม ระดับโปแตสเชียมในเลือดอยู่เสมอ ซึ่งหากร่างกายมีระดับโปแตสเชียมตํ่าลง โดยไม่สามารถชดเชยได้จากอาหารจนเพียงพอ จะทำให้เกิดสภาวะโปแตสเชียมตํ่าในกระแสเลือด (Hypokalemia) ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดอาการแสดง อาทิ การอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง สับสน กระลับกระส่าย การหยุดหายใจและการมีคลื่นหัวใจผิดปกติ ในทางตรงกันข้าม โดยปกติมักไม่ค่อยพบเจอสภาวะที่มีโปแตสเซียมสูงในกระแสเลือด (Hyperkalemia) เนื่องจาก หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปจากอาหาร ไตก็สามารถกำจัดทิ้งได้หมด ยกเว้นกรณีที่ไตมีการทำงานบกพร่อง มีการอุดตันในท่อทางเดินปัสสาวะ รวมถึงมีการหลั่งฮอรํโมนแอลโดสเตอโรนน้อยเกินไป
สำหรับการเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยระดับโปแตสเซียมในเลือดนั้น จะมีการเจาะเลือดดำจากแขน ประมาณ 5 มิลลิลิตร ใส่ในหลอดที่ไม่มีสารกันเลือดแข็งตัว หรืออาจใช้หลอดที่มีสารกันเลือดแข็งชนิด Lithium-heparin ก็ได้ โดยมีข้อควรระวัง คือ เมื่อเจาะแล้วต้องรีบส่งไปยังห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์โดยเร็วที่สุด (ปกติควรวิเคราะห์ ภายใน 1 ชั่วโมง) และจะต้องรีบปั่นแยกซีรั่มหรือพลาสม่า (นํ้าเลือด) ออกจากเม็ดเลือดแดงโดยเร็ว มิฉะนั้น จะมีปริมาณ โปแตสเชียมที่สูงขึ้นเกินความจริง เนื่องจากโปแตสเซียมที่ปะปนออกมาจากเซลล์เม็ดเลือดแดงนั่นเอง
ตอนต่อๆ ไป เราจะมาว่ากันต่อที่อิเลกโตรไลต์ตัวที่สามและสี่ คือ คลอไรด์ (Cl) และคาร์บอนไดออกไซด์ (C02) หรือไบคาร์บอเนต (HC03) กันนะครับ
วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555
เลือด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชีวิต (9) ดัชนีบ่งชี้การทำงานของตับ
ตอนนี้ก็เป็นตอนที่ 9 กันแล้วนะครับ ซึ่งในช่วงต่อไปนี้ จะเป็นการแนะนำให้รู้จักกับรายการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติ การเทคนิคการแพทย์กันอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญ อย่างมากในการบ่งชี้การทำงานของตับ (Liver function test) จากภาพใบขอส่งตรวจจะเห็นว่า การตรวจเลือดในกลุ่มนี้ จะมีรายการอยู่หลายอย่างประกอบกัน ซึ่งเราจะมาไล่เรียงกันต่อไปทีละตัวนะครับ
ตับ
นับเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งของร่างกาย เนื่องจากตับช่วยในการกำจัดพิษของสารและยาต่าง ๆ ตับช่วยในการสร้างนํ้าดีเพี่อช่วยย่อยอาหารจำพวกไขมัน ตับเป็นแหล่งสะสมไกลโคเจนจากนํ้าตาลกลูโคส เพื่อใช้ในกระบวนการสะสมพลังงาน ตับช่วยในการสร้างโปรตีนหลายชนิด สร้างไขมันคอเลสเตอรอล รวมทั้งสร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบางส่วนอีกด้วย ดังนั้น หากเราไม่ดูแลตับของเราให้ดี ตับก็คงจะไม่อยู่รับใช้เราไปได้นานๆ ซึ่งมีสาเหตุหลายประการที่ส่งผลต่อตับและการทำงานของตับ อาทิ การดื่มสุรา หรือการกินยาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ การได้รับสารเคมีและสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย รวมทั้งการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิดต่างๆ รวมไปถึงการเกิดมะเร็งตับอีกด้วย
เอาล่ะครับ คราวนี้ กลับมาทำความรู้จักกันเกี่ยวกับ รายการตรวจวิเคราะห์ที่ใช้เพี่อเป็นดัชนีบ่งชี้การทำงานของตับกันดีกว่า จะเห็นว่า มีรายการตรวจหลักที่ใช้อยู่ ประมาณ 8 รายการ ซึ่งหากแบ่งเป็นกลุ่ม น่าจะแบ่งได้ เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 Total protein และ Albumin
กลุ่มที่ 2 Total billirubin และ Direct billirubin และ
กลุ่มที่ 3 จะเกี่ยวข้องกับเอนไซม์หลายตัว เช่น AST, ALT, Alkaline phosphatase และ Gamma GT
ในขณะที่ ในบางครั้งผู้เชี่ยวชาญอาจจำแนกรายการต่างๆ เหล่านี้ออก เป็น 2 กลุ่ม คือ
รายการตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของตับหรือทางเดินนํ้าดี และ
การตรวจวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการ ทำหน้าที่ของตับก็ได้ครับ
สำหรับในกลุ่มที่ 1 การตรวจวิเคราะห์ปริมาณโปรตีน รวมจากในกระแสเลือด (Total protein ค่าปกติอยู่ระหว่าง 6 - 8 กรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร) และโปรตีนที่ชื่อว่า อัลบูมีน (Albumin ค่าปกติอยู่ระหว่าง 3.5 - 4 กรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร) ซึ่งใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของตับ ทั้งนี้ เนื่องจาก อัลบูมิน เป็นโปรตีนสำคัญที่ถูกสร้างจากตับ และมีอายุอยู่ในกระแสเลือดประมาณ 20 วัน นั่นหมายความว่า หากตับมีการสร้างอัลบูมินลดลง (โดยมีข้อแม้ว่า ผู้ที่รับการตรวจนั้นไม่ได้ขาดสารอาหาร) ก็จะบ่งชี้ได้ว่า ตับทำหน้าที่ได้ไม่ดี ซึ่งจะพบได้มากในรายที่เป็นโรคตับเรื้อรัง ในขณะที่ ตับยังทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีน อีกกลุ่มหนึ่ง ที่เรียกว่า กลอบูลิน (Globulin) อีกด้วย ดังนั้น หากทำการวิเคราะห์ค่าปริมาณโปรตีนโดยรวมในกระแสเลือด และนำมาหักลบด้วยค่าอัลบูมิน ก็พอจะ ทราบถึงค่าของกลอบูลินได้
ผลพวงจากการที่ร่างกายมีค่าของอัลบูมินที่ตํ่าลง อาจส่งผลที่สำคัญต่อการเกิดภาวะการบวมนํ้าโดยเฉพาะที่หลังเท้า แต่อย่างไรก็ตาม ค่าของอัลบูมินที่ตํ่าลง มิได้ เกิดขึ้นเฉพาะในโรคตับเรื้อรัง แต่ยังสามารถพบได้ในภาวะความผิดปกติอื่นๆ ได้อีก เช่น การเป็นโรคไตอักเสบหรือ เกิดไตรั่วที่มีการกรองสารและการดูดกลับที่ผิดปกติ การขาดสารอาหาร การมีภาวะการดูดซึมสารอาหารจากลำไส้ที่ผิดปกติ และยังสามารถพบในคนที่มีภาวะท้องมาน (Ascites) และผู้ที่บาดเจ็บจากไฟไหม้ (Burn) อีกด้วย ดังนั้น การจะบ่งชี้ถึงภาวะการทำงานของตับที่ผิดปกติไป จะต้องตรวจรายการอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งเราจะมากล่าวถึงใน รายละเอียดในตอนต่อๆ ไปกันนะครับ
ตอนนี้ก็เป็นตอนที่ 9 กันแล้วนะครับ ซึ่งในช่วงต่อไปนี้ จะเป็นการแนะนำให้รู้จักกับรายการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติ การเทคนิคการแพทย์กันอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญ อย่างมากในการบ่งชี้การทำงานของตับ (Liver function test) จากภาพใบขอส่งตรวจจะเห็นว่า การตรวจเลือดในกลุ่มนี้ จะมีรายการอยู่หลายอย่างประกอบกัน ซึ่งเราจะมาไล่เรียงกันต่อไปทีละตัวนะครับ
ตับ
นับเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งของร่างกาย เนื่องจากตับช่วยในการกำจัดพิษของสารและยาต่าง ๆ ตับช่วยในการสร้างนํ้าดีเพี่อช่วยย่อยอาหารจำพวกไขมัน ตับเป็นแหล่งสะสมไกลโคเจนจากนํ้าตาลกลูโคส เพื่อใช้ในกระบวนการสะสมพลังงาน ตับช่วยในการสร้างโปรตีนหลายชนิด สร้างไขมันคอเลสเตอรอล รวมทั้งสร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบางส่วนอีกด้วย ดังนั้น หากเราไม่ดูแลตับของเราให้ดี ตับก็คงจะไม่อยู่รับใช้เราไปได้นานๆ ซึ่งมีสาเหตุหลายประการที่ส่งผลต่อตับและการทำงานของตับ อาทิ การดื่มสุรา หรือการกินยาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ การได้รับสารเคมีและสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย รวมทั้งการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิดต่างๆ รวมไปถึงการเกิดมะเร็งตับอีกด้วย
เอาล่ะครับ คราวนี้ กลับมาทำความรู้จักกันเกี่ยวกับ รายการตรวจวิเคราะห์ที่ใช้เพี่อเป็นดัชนีบ่งชี้การทำงานของตับกันดีกว่า จะเห็นว่า มีรายการตรวจหลักที่ใช้อยู่ ประมาณ 8 รายการ ซึ่งหากแบ่งเป็นกลุ่ม น่าจะแบ่งได้ เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 Total protein และ Albumin
กลุ่มที่ 2 Total billirubin และ Direct billirubin และ
กลุ่มที่ 3 จะเกี่ยวข้องกับเอนไซม์หลายตัว เช่น AST, ALT, Alkaline phosphatase และ Gamma GT
ในขณะที่ ในบางครั้งผู้เชี่ยวชาญอาจจำแนกรายการต่างๆ เหล่านี้ออก เป็น 2 กลุ่ม คือ
รายการตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของตับหรือทางเดินนํ้าดี และ
การตรวจวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการ ทำหน้าที่ของตับก็ได้ครับ
สำหรับในกลุ่มที่ 1 การตรวจวิเคราะห์ปริมาณโปรตีน รวมจากในกระแสเลือด (Total protein ค่าปกติอยู่ระหว่าง 6 - 8 กรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร) และโปรตีนที่ชื่อว่า อัลบูมีน (Albumin ค่าปกติอยู่ระหว่าง 3.5 - 4 กรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร) ซึ่งใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของตับ ทั้งนี้ เนื่องจาก อัลบูมิน เป็นโปรตีนสำคัญที่ถูกสร้างจากตับ และมีอายุอยู่ในกระแสเลือดประมาณ 20 วัน นั่นหมายความว่า หากตับมีการสร้างอัลบูมินลดลง (โดยมีข้อแม้ว่า ผู้ที่รับการตรวจนั้นไม่ได้ขาดสารอาหาร) ก็จะบ่งชี้ได้ว่า ตับทำหน้าที่ได้ไม่ดี ซึ่งจะพบได้มากในรายที่เป็นโรคตับเรื้อรัง ในขณะที่ ตับยังทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีน อีกกลุ่มหนึ่ง ที่เรียกว่า กลอบูลิน (Globulin) อีกด้วย ดังนั้น หากทำการวิเคราะห์ค่าปริมาณโปรตีนโดยรวมในกระแสเลือด และนำมาหักลบด้วยค่าอัลบูมิน ก็พอจะ ทราบถึงค่าของกลอบูลินได้
ผลพวงจากการที่ร่างกายมีค่าของอัลบูมินที่ตํ่าลง อาจส่งผลที่สำคัญต่อการเกิดภาวะการบวมนํ้าโดยเฉพาะที่หลังเท้า แต่อย่างไรก็ตาม ค่าของอัลบูมินที่ตํ่าลง มิได้ เกิดขึ้นเฉพาะในโรคตับเรื้อรัง แต่ยังสามารถพบได้ในภาวะความผิดปกติอื่นๆ ได้อีก เช่น การเป็นโรคไตอักเสบหรือ เกิดไตรั่วที่มีการกรองสารและการดูดกลับที่ผิดปกติ การขาดสารอาหาร การมีภาวะการดูดซึมสารอาหารจากลำไส้ที่ผิดปกติ และยังสามารถพบในคนที่มีภาวะท้องมาน (Ascites) และผู้ที่บาดเจ็บจากไฟไหม้ (Burn) อีกด้วย ดังนั้น การจะบ่งชี้ถึงภาวะการทำงานของตับที่ผิดปกติไป จะต้องตรวจรายการอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งเราจะมากล่าวถึงใน รายละเอียดในตอนต่อๆ ไปกันนะครับ
เลือด...ของเหลวมหัศจรรย์แห่งชีวิต (10) ดัชนีบ่งชี้การทำงานของตับ
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ในตอนนิ้จะเป็นภาคต่อของการตรวจวิเคราะห์ ทางห้องปฎิบัติการเทคนิคการแพทย์ เพี่อบ่งชี้ สภาวะการทำงานของตับ (Liver function test) ซึ่งในตอนนี้ มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่บ่งชี้เกี่ยวกับอันตรายที่ เกิดขึ้นกับเซลล์ตับ ได้แก่ AST และ ALT และอีกกลุ่ม เป็นการวิเคราะห์ว่ามีภาวะการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดีหรือไม่ ได้แก่ Alkaline Phosphatase และ Gamma GT
มาเริ่มกันจากเอนไซม์ 2 ตัวแรกทีชื่อว่า
Aspartate aminotransferase (AST) หรือในใบขอส่งตรวจอาจเรียกว่า SGOT (Serum glutamic oxaloacetic transaminase) โดยเอนไซม์ AST นี้ จะพบมากในเซลล์หัวใจ กล้ามเนื้อ ตับ ไต และปอด
ส่วน Alanine aminotransferase (ALT) หรือ SGPT (Serum glutamic pyruvic transaminase) เป็นเอนไซม์ที่พบมากในเซลล์ตับ ดังนั้น หากมีการทำลาย หรือมีการอักเสบเกิดขึ้นที่เซลล์ตับ อาทิ ตับแข็ง (Hepatic cirrhosis) ตับอักเสบจากการติตเขึ้อไวรัส (Viral hepatitis) เนื้องอกในตับ (Liver tumor) ตับถูกทำลายจากพิษของยา สารเคมี หรือแอลกอฮอล์ ซึ่งจะมีผลให้เกิดการรั่วของเอนไชม์ ALT ในปริมาณที่มากจากเซลล์ตับออกสู่กระแสเลือด นอกจากนั้น ยังมีการปลดปล่อยเอนไซม์ AST ออก มาร่วมด้วย ส่งผลทำให้มีระดับเอนไซม์ทั้งสองที่สูงขึ้น โดยค่าปกติของเอนไซม์ AST และ ALT จะน้อยกว่า 40 ยูนิต ต่อปริมาณเลือด 1 ลิตร (ในใบรายงานผลจะเขียนว่า น้อย กว่า 40 U/L) โดยหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น จะมีค่าของเอนไซม์เปลี่ยนแปลง ดังนี้
1) กรณีโรคตับอักเสบเรื้อรังหรือตับแข็ง จะพบว่า มีการเพิ่มขึ้นของระดับเอนไซม์ AST ประมาณ 2 - 3 เท่าจากค่าปกติเท่านั้น หรือในบางครั้งอาจอยู่ในระดับปกติ เพราะตับแข็งที่มีสาเหตุจากพิษสุราเรื้อรัง จะมีการดำเนินของโรคอย่างช้าๆ ทำให้เซลล์ตับมีการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย อีกทั้งจะพบว่าระดับของเอนไซม์ ALT จะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าค่าของ AST ดังนั้น ในบางกรณี อาจนำค่าอัตราส่วนระหว่าง AST ต่อ ALT เข้ามาช่วยวิเคราะห์ได้ โดยเมื่อนำค่า AST มาหารด้วยค่า ALT จะมีอัตราส่วนประมาณ 2 - 2.5
2) กรณีที่มีการอักเสบของตับอย่างเฉียบพลันจากไวรัส ระดับของเอนไซม์ทั้งสองชนิดจะสูงขึ้นไปจนถึงหลักร้อยหรือหลักพันยูนิต โดยจะสูงอยู่นาน 2 - 3 สัปดาห์แรกจากที่เริ่มเป็น และอัตราส่วนของ AST : ALT จะเท่ากับ 1 หรือน้อยกว่า 1 อนึ่ง นอกเหนือไปจากการตรวจวิเคราะห์ระดับเอนไซม์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นกับตับแล้ว การตรวจระตับเอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้ ยังใช้ในการติดตามผลการรักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัส โดยตรวจติดตามการลดลงของค่าเอนไซม์เมื่อร่างกายดีขึ้นได้อีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม อย่างที่กล่าวตั้งแต่ช่วงต้นว่า เอนไซม์ AST นั้นไม่จำเพาะกับเซลล์ตับ ดังนั้น สภาวะที่ร่างกายมีการทำลายเซลล์อื่นๆ มากผิดปกติ เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การอักเสบของตับและไต รวมถึงมีการออกกำลังกายอย่างหนัก ก็จะมีผลทำไห้เอนไซม์นื้เพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับการตรวจวิเคราะห์ภาวะการอุดตันของท่อทางเดินนํ้าดี ทั้งในส่วนของท่อนํ้าดีใหญ่ และขนาดเล็กๆ ในตับนั้น ซึ่งมีผลทำให้เกิดการคั่งของน้ำดีในตับหรือในท่อน้ำดีจะอาศัยการตรวจวิเคราะห์ระดับเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส (Alkaline Phosphatase) และเอนไซม์ Gamma Glutamyl Transpeptidase (Gamma GT; GGT) โดยเอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้จะมีค่าที่สูงขึ้นมากในกรณีมีการอุดกั้นของท่อทางเดินนํ้าดีใหญ่บางส่วนหรือทั้งหมดอันมีผลมาจากนิ่วหรือเนื้องอก โดยค่าปกติของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอลฟาเทส จะอยู่ระหว่าง 30 - 110 ยูนิตต่อเลือด 1 ลิตร และค่าปกติของ GGT คือ 8 - 61 และ 5 - 36 U/L สำหรับผู้ชาย และผู้หญิง ตามลำดับ ทว่า เอนไซม์อัลคาไลน์ฟอลฟาเทสเป็นเอนไซม์ที่พบได้ทั้งใน ตับ กระดูก ไต และลำไส้ ในขณะที่ เอนไซม์ GGT จะพบมากในตับ ดังนั้น การตรวจพบว่ามีระดับของเอนไซม์ อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสควบคู่กับเอนไซม์ GGT ที่สูงขึ้น จะเป็นการช่วยยืนยันว่าร่างกายมีปัญหาที่ตับหรือท่อทางเดินนํ้าดี เนื่องจาก หากเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับกระดูกหรือลำไส้นั้น ค่าของ GGT จะไม่เพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง ในทางตรงกันข้าม หากมีระดับ GGT ที่สูงขึ้นเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของค่าเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส มักเกิดจากผลของแอลกอฮอล์
ต่อไป เราจะมาทำความเข้าใจกันเกี่ยวกับรายการตรวจวิเคราะห์ที่เหลีอ และการขยายความเกี่ยวกับข้อมูลที่หลายท่านเคยได้ยินมาเกี่ยวกับ ตัวเหลือง ตาเหลือง ขึ้น ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจในส่วนนี้กันต่อไปนะครับ
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ในตอนนิ้จะเป็นภาคต่อของการตรวจวิเคราะห์ ทางห้องปฎิบัติการเทคนิคการแพทย์ เพี่อบ่งชี้ สภาวะการทำงานของตับ (Liver function test) ซึ่งในตอนนี้ มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่บ่งชี้เกี่ยวกับอันตรายที่ เกิดขึ้นกับเซลล์ตับ ได้แก่ AST และ ALT และอีกกลุ่ม เป็นการวิเคราะห์ว่ามีภาวะการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดีหรือไม่ ได้แก่ Alkaline Phosphatase และ Gamma GT
มาเริ่มกันจากเอนไซม์ 2 ตัวแรกทีชื่อว่า
Aspartate aminotransferase (AST) หรือในใบขอส่งตรวจอาจเรียกว่า SGOT (Serum glutamic oxaloacetic transaminase) โดยเอนไซม์ AST นี้ จะพบมากในเซลล์หัวใจ กล้ามเนื้อ ตับ ไต และปอด
ส่วน Alanine aminotransferase (ALT) หรือ SGPT (Serum glutamic pyruvic transaminase) เป็นเอนไซม์ที่พบมากในเซลล์ตับ ดังนั้น หากมีการทำลาย หรือมีการอักเสบเกิดขึ้นที่เซลล์ตับ อาทิ ตับแข็ง (Hepatic cirrhosis) ตับอักเสบจากการติตเขึ้อไวรัส (Viral hepatitis) เนื้องอกในตับ (Liver tumor) ตับถูกทำลายจากพิษของยา สารเคมี หรือแอลกอฮอล์ ซึ่งจะมีผลให้เกิดการรั่วของเอนไชม์ ALT ในปริมาณที่มากจากเซลล์ตับออกสู่กระแสเลือด นอกจากนั้น ยังมีการปลดปล่อยเอนไซม์ AST ออก มาร่วมด้วย ส่งผลทำให้มีระดับเอนไซม์ทั้งสองที่สูงขึ้น โดยค่าปกติของเอนไซม์ AST และ ALT จะน้อยกว่า 40 ยูนิต ต่อปริมาณเลือด 1 ลิตร (ในใบรายงานผลจะเขียนว่า น้อย กว่า 40 U/L) โดยหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น จะมีค่าของเอนไซม์เปลี่ยนแปลง ดังนี้
1) กรณีโรคตับอักเสบเรื้อรังหรือตับแข็ง จะพบว่า มีการเพิ่มขึ้นของระดับเอนไซม์ AST ประมาณ 2 - 3 เท่าจากค่าปกติเท่านั้น หรือในบางครั้งอาจอยู่ในระดับปกติ เพราะตับแข็งที่มีสาเหตุจากพิษสุราเรื้อรัง จะมีการดำเนินของโรคอย่างช้าๆ ทำให้เซลล์ตับมีการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย อีกทั้งจะพบว่าระดับของเอนไซม์ ALT จะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าค่าของ AST ดังนั้น ในบางกรณี อาจนำค่าอัตราส่วนระหว่าง AST ต่อ ALT เข้ามาช่วยวิเคราะห์ได้ โดยเมื่อนำค่า AST มาหารด้วยค่า ALT จะมีอัตราส่วนประมาณ 2 - 2.5
2) กรณีที่มีการอักเสบของตับอย่างเฉียบพลันจากไวรัส ระดับของเอนไซม์ทั้งสองชนิดจะสูงขึ้นไปจนถึงหลักร้อยหรือหลักพันยูนิต โดยจะสูงอยู่นาน 2 - 3 สัปดาห์แรกจากที่เริ่มเป็น และอัตราส่วนของ AST : ALT จะเท่ากับ 1 หรือน้อยกว่า 1 อนึ่ง นอกเหนือไปจากการตรวจวิเคราะห์ระดับเอนไซม์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นกับตับแล้ว การตรวจระตับเอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้ ยังใช้ในการติดตามผลการรักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัส โดยตรวจติดตามการลดลงของค่าเอนไซม์เมื่อร่างกายดีขึ้นได้อีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม อย่างที่กล่าวตั้งแต่ช่วงต้นว่า เอนไซม์ AST นั้นไม่จำเพาะกับเซลล์ตับ ดังนั้น สภาวะที่ร่างกายมีการทำลายเซลล์อื่นๆ มากผิดปกติ เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การอักเสบของตับและไต รวมถึงมีการออกกำลังกายอย่างหนัก ก็จะมีผลทำไห้เอนไซม์นื้เพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับการตรวจวิเคราะห์ภาวะการอุดตันของท่อทางเดินนํ้าดี ทั้งในส่วนของท่อนํ้าดีใหญ่ และขนาดเล็กๆ ในตับนั้น ซึ่งมีผลทำให้เกิดการคั่งของน้ำดีในตับหรือในท่อน้ำดีจะอาศัยการตรวจวิเคราะห์ระดับเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส (Alkaline Phosphatase) และเอนไซม์ Gamma Glutamyl Transpeptidase (Gamma GT; GGT) โดยเอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้จะมีค่าที่สูงขึ้นมากในกรณีมีการอุดกั้นของท่อทางเดินนํ้าดีใหญ่บางส่วนหรือทั้งหมดอันมีผลมาจากนิ่วหรือเนื้องอก โดยค่าปกติของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอลฟาเทส จะอยู่ระหว่าง 30 - 110 ยูนิตต่อเลือด 1 ลิตร และค่าปกติของ GGT คือ 8 - 61 และ 5 - 36 U/L สำหรับผู้ชาย และผู้หญิง ตามลำดับ ทว่า เอนไซม์อัลคาไลน์ฟอลฟาเทสเป็นเอนไซม์ที่พบได้ทั้งใน ตับ กระดูก ไต และลำไส้ ในขณะที่ เอนไซม์ GGT จะพบมากในตับ ดังนั้น การตรวจพบว่ามีระดับของเอนไซม์ อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสควบคู่กับเอนไซม์ GGT ที่สูงขึ้น จะเป็นการช่วยยืนยันว่าร่างกายมีปัญหาที่ตับหรือท่อทางเดินนํ้าดี เนื่องจาก หากเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับกระดูกหรือลำไส้นั้น ค่าของ GGT จะไม่เพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง ในทางตรงกันข้าม หากมีระดับ GGT ที่สูงขึ้นเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของค่าเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส มักเกิดจากผลของแอลกอฮอล์
ต่อไป เราจะมาทำความเข้าใจกันเกี่ยวกับรายการตรวจวิเคราะห์ที่เหลีอ และการขยายความเกี่ยวกับข้อมูลที่หลายท่านเคยได้ยินมาเกี่ยวกับ ตัวเหลือง ตาเหลือง ขึ้น ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจในส่วนนี้กันต่อไปนะครับ