วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

ลมพิษและอาการบวมจากภูมิแพ้

ลมพิษและอาการบวมจากภูมิแพ้
แม้ว่าลมพิษและอาการบวมที่เกิดจากภูมิแพ้จะรักษาเหมือน ๆ กัน
แต่อาการแสดงของทั้งสองอาการนี้แตกต่างกัน
ลมพิษจะมีอาการคันมาก หากเกาอาการจะลามไปมากขึ้น
ส่วนอาการบวมที่เกิดจากภูมิแพ้นั้นมักจะไม่มีอาการคัน
และอาการทั้งสองประการนี้อาจจะเกิดกับคนที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้เลยก็เป็นได้

ลมพิษเกิดขึ้นได้ค่อนข้างบ่อย แม้ว่าจะมีสาเหตุจากภูมิแพ้
แต่ลมพิษก็เกิดขึ้นได้หากมีตัวแปรอื่นมากระตุ้น
ผื่นของลมพิษตรงกลางของผื่นนูนสีค่อนข้างซีด
ส่วนขอบรอบนั้นมีสีแดง ผื่นนี้เกิดขึ้นเฉพาะผิวตื้น ๆ เท่านั้น
ปฏิกิริยาทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากสารก่ออาการแพ้
ทำให้เส้นเลือดเล็ก ๆ ใต้ผิวหนังขยายตัว น้ำในหลอดเลือดจึง
ซึมออกไปนอกเส้นเลือดทำให้บริเวณนั้นเกิดอาการบวมและแดง
ส่วนอาการคันนั้นเกิดจากฮีสตามีนที่ออกมาคั่งอยู่บริเวณนั้นมาก

ส่วนอาการบวมที่เกิดจากภูมิแพ้นั้นปฏิกิริยาเกิดขึ้นในชั้นผิวหนัง
ที่ลึกกว่าลมพิษ ส่วนมากอาการบวมมักจะเกิดขึ้นที่หน้า รอบริมฝีปาก
ลิ้น และบริเวณรอบตา บางครั้งมือเท้าก็บวมไปด้วย
อาการบวมเป่งมากกว่าอาการบวมของลมพิษ ถ้าอาการบวม
เกิดขึ้นในลำคอ เช่น การกลืนแอสไพรินแล้วแพ้ เป็นต้น
อาจจะทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่ออกถึงตายได้

ลมพิษเป็นอาการที่ไม่รุนแรงนัก
กล่าวกันว่าคนเรา 20% เป็นลมพิษได้ครั้งหนึ่งในชีวิต
ลมพิษเกิดขึ้นกับคนอายุเท่าใดก็ได้
แต่ส่วนมากมักจะเริ่มเป็นกันเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น จากสถิติพบว่า
-50% ของคนที่เป็นลมพิษจะมีอาการบวมจากการแพ้ร่วมด้วย
-40% เป็นลมพิษแต่เพียงอย่างเดียว
-10% มีอาการบวมจากภูมิแพ้แต่เพียงอย่างเดียว

ส่วนสาเหตุของการแพ้จะเกิดจากอะไรนั้นหากเพิ่งเริ่มเป็น
จะหาสาเหตุได้ง่ายกว่า ส่วนมากอาหารที่กินเข้าไปก่อนที่อาการจะเกิด
1-2 ชั่วโมงมักจะเป็นต้นเหตุ ถ้าหาสาเหตุพบแล้ววิธีป้องกัน
ไม่ให้เกิดอาการของลมพิษและอาการบวมได้ดีที่สุดก็คือ
ไม่กินอาหารชนิดที่แพ้เข้าไป แต่ถ้าไม่สามารถหาสาเหตุได้
ก็คงต้องกินยาต้านฮีสตามีนหรือยาประเภททีโอฟิลลีน
หรือบางครั้งอาจจะต้องใช้ยาทั้งสองตัวควบกันจึงจะได้ผล
คนที่เป็นลมพิษควรหลีกเลี่ยงการกินแอสไพริน และสารเคมี
ที่ใช้ผสมอาหารทุกอย่าง เช่น สี สารกันบูด และยีสต์ เป็นต้น

ถ้าอาการเกิดในเด็ก สาเหตุของการแพ้อาจจะเกิดจาก
นมวัว ไข่ อาหารทะเลประเภทปลา ปลาหมึก กุ้งและปู เป็นต้น

ลมพิษ
ที่จริงอาการของลมพิษไม่รุนแรง แต่เป็นอาการที่
สร้างความรำคาญให้กับผู้เป็น ผื่นของลมพิษขึ้นได้ทั่วทั้งตัว
บางครั้งก็ขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ กระจัดกระจาย แต่บางครั้งก็เกิดเป็นปื้น
เส้นผ่าศูนย์กลางหลาย ๆ เซนติเมตร

ผื่นของลมพิษเกิดขึ้นได้ในทันทีและหายไปเอง
มีน้อยที่ผื่นจะเป็นอยู่กระทั่ง 24-48 ชั่วโมง ถ้าลมพิษขึ้น
สักเดือนละ 1 ครั้ง ก็ถือว่าเป็นอาการอย่างเฉียบพลัน
แต่ถ้าเป็นแล้วเป็นอีกก็อาจจะถือว่าเป็นอาการที่เรื้อรัง

สาเหตุของลมพิษ
มีอาหารหลายชนิดที่ทำให้เกิดลมพิษ
เช่น หอย ปลา กุ้ง ปู ปลาหมึก ลูกนัต ถั่วลิสงและไข่ เป็นต้น
สารที่ใช้ใส่ลงไปในอาหารหลายชนิดก็เป็นสาเหตุของลมพิษได้
เช่น ทาร์ทราซีนและสีใส่อาหารชนิดเอโซ สารกันบูดชนิดเบนโซเอท
และซาลิซิเลท สารตัวหลังนี้ใช้เป็นส่วนผสมของของใช้จำเป็น
ในชีวิตประจำวันหลาย ๆ อย่างเช่น น้ำยาฆ่าเชื้อ ยาสีฟัน น้ำหอม
ไอศกรีม ขนมเค้ก ขนมหวาน เครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม เยลลีและแยม เป็นต้น

สำหรับซาลิซิเลทเองที่พบได้ในธรรมชาติก็มี
เช่น ในผลไม้และพืชบางชนิด ตัวยาแอสไพรินเอง
ก็คือซาลิซิเลทชนิดหนึ่งที่มนุษย์เราสังเคราะห์ขึ้นมา

และมีรายงานว่าเด็กบางคนเกิดอาการหอบภายหลังจากกินถั่วลิสงด้วย
ซึ่งส่วนมากจะพบในเด็กเล็กต่ำกว่า 6 ปี

จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่เป็นลมพิษ 300 คน
รวบรวมสารอาหารที่ทำให้แพ้ได้ดังนี้
แพ้ไข่ 17 ราย
แพ้สตรอเบอร์รี่ 16 ราย
ส้ม 15 ราย
ปลา 15 ราย
ช็อกโกแลต 14 ราย
แพ้ถั่ว 13 ราย
มะเขือเทศ 12 ราย
นม 11 ราย
กุ้ง 9 ราย
ลูกนัต 9 ราย
แพ้เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 6 ราย
แพ้เนื้อหมู 5 ราย
แพ้แป้งสาลี 5 ราย

ยาก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของลมพิษได้เช่นเดียวกัน
ผู้ป่วยลมพิษหลายคนไม่ทราบมาก่อนว่ายาที่กินเข้าไป
มีแอสไพรินเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ดังนั้นก่อนที่จะซื้อยาแก้ปวดทุกครั้ง
ต้องถามเภสัชกรด้วยว่า ยาที่ซื้อไปนั้นมีตัวยาอะไรเป็นส่วนผสมอยู่บ้าง
นอกจากนี้ยาที่มักทำให้แพ้ก็คือ เพนิซิลลินที่อาจจะทำให้เกิดลมพิษ
หรืออาการบวมได้มาก ๆ นอกจากนี้ยังมี ยาแก้ไอบางตัว
ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาระงับประสาท ยาขับปัสสาวะ และกระสายยาบางตัว เช่น ควินิน

เชื้อราที่สูดเข้าไปทางจมูกก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดลมพิษค่อนข้างบ่อย
บางคนเกิดลมพิษภายหลังจากไปตัดหญ้ามา
แสดงว่าสูดเอาสปอร์หรือละอองของเชื้อราที่อยู่ตามหญ้าเข้าไป เป็นต้น

การสัมผัสถูกสารบางอย่างก็สามารถทำให้เกิดลมพิษได้
เช่น สัมผัสถูกน้ำลายของหมาในบ้าน
บางคนก็เป็นลมพิษเพราะไปนั่งเก้าอี้พลาสติกหรือเก้าอี้ที่ทำจาก
ไฟเบอร์สังเคราะห์ บางครั้งก็เป็นเพราะไปสัมผัสถูกสีย้อม

และแม้ว่าลมพิษจะเกิดขึ้นเพราะมีสารก่ออาการแพ้เป็นต้นเหตุ
แต่บางครั้งลมพิษก็เกิดขึ้นได้เนื่องจากเงื่อนไขอื่น ๆ เช่น อาการหวัด
อาการติดเชื้อที่ทำให้เกิดอาการไข้ร่วมด้วยเมื่อร้อน ถูกกด
หรือถูกแสงสว่าง บางคนก็เกิดเพราะถูกอากาศเย็น
เช่น ไปว่ายน้ำในสระที่น้ำค่อนข้างเย็น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตราย
เนื่องจากไม่สามารถช่วยตัวเองในน้ำได้ดีพอและเสี่ยงต่อการจมน้ำตาย
แต่บางคนก็เกิดลมพิษหลังจากการอาบน้ำอุ่น

ลมพิษที่เกิดจากการออกกำลังกาย
ลมพิษที่เกิดจากการออกกำลังกายเป็นลมพิษที่เพิ่งค้นพบกันเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง
ลมพิษชนิดนี้มักเกิดภายหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
เช่น การวิ่ง ครั้งแรกอาจจะเป็นลมพิษก่อนแล้วกลายเป็นอาการบวม
ผู้ใดที่มักเป็นลมพิษในวันที่อากาศร้อนให้ระวังเอาไว้ว่า
อาจจะเป็นลมพิษได้หากต้องออกกำลังกายนาน ๆ
การที่ต้องระวังตัวเพราะบางครั้งอาการที่เป็นอาจจะรุนแรง
ถึงกับเป็นอนาฟัยแลกติกช็อคได้

อาการบวมที่เกิดจากภูมิแพ้
ปฏิกิริยาของภูมิแพ้แบบนี้เกิดขึ้นในชั้นใต้ผิวหนังที่ลึก
จึงไม่เกิดอาการคัน แต่จะให้ความรู้สึกที่ตึง และเจ็บแบบแสบ ๆ
อาการบวมของภูมิแพ้จะบวมมากกว่าลมพิษหลายเท่า
บางครั้งถ้าเป็นที่หน้า หน้าจะบวมจนผิดรูปไป
หนังตาอาจจะบวมจนตาปิด ริมฝีปากอาจจะหนาจนยื่น
และถ้าเกิดอาการบวมที่แขนขา แขนขาจะใหญ่ขึ้นเป่งตึงจนงอไม่ได้

หากอาการบวมลามไปถึงลำคอจะทำให้เกิดอันตรายรุนแรง
ถึงตายได้จากการหายใจไม่ออก
ในกรณีที่เกิดอาการอึดอัดร่วมด้วย จึงไม่ควรรีรอที่จะนำผู้ป่วย
ส่งหมอโดยเร็ว อาการดังกล่าวนี้จะสนองต่อการรักษาด้วยยา
ต้านฮีสตามีนได้เป็นอย่างดี หรือถ้าอาการรุนแรงมากหมออาจจะ
ต้องฉีดอะดรีนาลิน หากผู้ป่วยคนใดเคยมีอาการบวมในลำคอแบบที่กล่าวมา
ควรจะสวมสร้อย หรือมีบัตรติดตัวแจ้งอาการดังกล่าวไว้
เผื่อว่าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นหมอผู้ทำการรักษาจะได้รู้
และจัดการรักษาได้ทันท่วงที ในผู้ป่วยบางรายหมอประจำตัวอาจจะ
แนะนำให้พกอะดรีนาลินชนิดฉีดติดตัว
เพื่อจะได้ช่วยเหลือตัวเองได้ทัน หากอาการบวมเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน

อาการบวมจากภูมิแพ้ยังต่างจากลมพิษ
เพราะสารที่สูดเข้าไปมักจะไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้
ดังนั้นการทดสอบทางผิวหนังในกรณีที่มีอาการบวมเพราะแพ้
จึงไม่ให้ประโยชน์แต่อย่างใด
และนอกจากนี้ยายังเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยว่าทำให้เกิดอาการบวมได้

วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2558

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 704

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 704


คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 703

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 703

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 702

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 702

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 701

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 701


คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 700

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 700

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 699

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 699


คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 698

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 698





คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 697

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 697

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 696

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 696

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 695

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 695

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 694

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 694

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 693

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 693


คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 692

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 692



คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 691

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 691


คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 690

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 690


คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 689

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 689



คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 688

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 688

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 687

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 687

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 686

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 686


คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 685

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 685




คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 684

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 684


คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 683

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 683

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 682

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 682


คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 681

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 681

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 680

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 680

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 679

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 679

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 678

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 678


คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 677

คณิตศาสตร์ ฟังก์ชั่น ข้อที่ 677